Thu Apr 27 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ให้หม้ออบลมร้อนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก


ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ให้หม้ออบลมร้อนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก

ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ให้หม้ออบลมร้อนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก . โดยที่ปรากฏว่าในปัจจุบันหม้ออบลมร้อน ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย เนื่องจาก มีวิธีการใช้งานที่ไม่ซับซ้อน รวมทั้งสามารถประกอบอาหารได้หลากหลาย ดังนั้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับ ความปลอดภัยในการใช้สินค้า และเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค จึงเห็นสมควรกาหนดให้ หม้ออบลมร้อนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก อาศัยอานาจตามความในมาต รา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “ หม้ออบลมร้อน ” หมายความว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการทำอาหาร โดยใช้ลมร้อนหมุนเวียนในภาชนะบรรจุ เช่น หม้อทอดไร้น้ามัน ข้อ 2 ให้หม้ออบลมร้อนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ 3 ฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 จะต้องระบุข้อความ รูป รอยประดิษฐ์หรือภาพ ตามความเหมาะสม แล้วแต่กรณี แต่ข้อความนั้นจะต้องตรงต่อความเป็นจริง ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เกี่ยวกับสาระสาคัญของสินค้านั้น และต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาไทยกากับภาษาต่างประเทศ เพื่ออธิบาย ให้เข้าใจความหมายของรูป รอยประดิษฐ์หรือภาพ ที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน ทั้ งนี้ ให้เป็นไปตาม ข้อ 4 และข้อ 5 ความในวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับกับฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากที่ผลิตขึ้นเพื่อการส่งออกและ ไม่ขายในประเทศไทย ข้อ 4 ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลาก จะต้องระบุข้อความ ดังต่อไปนี้ (1) ชื่อประเภทหรือชนิดของสินค้าที่แสดงให้เข้าใจได้ว่าสินค้านั้นคืออะไร (2) ชื่อหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้ผลิตเพื่อขายในประเทศไทย (3) ชื่อหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อขาย (4) กรณี ที่เป็นสินค้านำเข้าให้ระบุชื่อประเทศที่ผลิตด้วย (5) สถานที่ตั้งของผู้ผลิตเพื่อขาย หรือของผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย (6) ต้องแสดงขนาดหรือมิติ หรือปริมาณ หรือปริมาตร หรือน้ำหนักของสินค้านั้น แล้วแต่กรณี สำหรับหน่วยที่ใช้จะใช้ชื่อเต็มหรือชื่อย่อ หรือสัญลักษณ์แทนก็ได้ (7) ต้องแสดงวิธีใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าใจวัตถุประสงค์ในการใช้งานอย่างถูกต้อง เช่น กำหนดระยะเวลาและอุณหภูมิให้เหมาะสมกับชนิดของอาหาร ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 98 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 เมษายน 2566

(8) ข้อแนะนำในการใช้หรือการเก็บรักษาเพื่อให้ผู้ บริโภคใช้สินค้านั้นได้อย่างถูกต้อง เช่น ให้ตรวจสอบอุปกรณ์และศึกษาคู่มือก่อนการใช้งาน ให้ทำความสะอาดหม้ออบลมร้อนและตะแกรง ด้วยฟองน้ำนุ่มเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้สารเคลือบผิวหลุดร่อน (9) ข้อห้ามใช้ เช่น “ ห้ามนำภาชนะที่ทำจากพลาสติก โฟม และกระดาษ เข้าหม้ออบลมร้อน โดยเด็ดขาด ” (10) คำเตือน “ ห้ามใช้งานหม้ออบลมร้อนเมื่อพบว่าสารเคลือบผิวของหม้ออบลมร้อน หรือตะแกรงหลุดร่อนเนื่องจากอาหารมีโอกาสสัมผัสกับผิวโลหะส่วนเคลือบหลุดหรือส่วนที่เป็นสนิมโดยตรง ซึ่งอาจมีสารอันตรายหลุดออกมาปนเปื้อนกับอาหา รเกินกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยได้ ” และ “ โปรดระวังความร้อนขณะใช้งาน กรุณาสวมถุงมือ ” (11) การแสดงข้อความใน (9) และ (10) ต้องใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรอื่น และต้องใช้สีตัดกับสีพื้น โดยต้องสามารถเห็นและอ่านได้อย่างชัดเจนแตกต่างจากข้อความอื่น เพื่อให้ ผู้บริโภคสามารถใช้สินค้าได้อย่างปลอดภัย (12) วัน เดือน ปีที่ผลิต เว้นแต่ไม่สามารถระบุวันที่ผลิตที่ชัดเจนได้ ให้ระบุเฉพาะสัปดาห์ และปีที่ผลิต หรือเดือนและปีที่ผลิตได้ เพื่อให้เข้าใจในประโยชน์ของคุณภาพหรือคุณสมบัติของสินค้านั้น (13) วัน เดือน ปีที่หมดอายุ หรือวัน เดือน ปีที่ควรใช้ก่อน วัน เดือน ปีที่ระบุนั้น ให้ระบุเฉพาะในกรณีที่เป็นสินค้าที่มีอายุการใช้งาน เพื่อให้เข้าใจในประโยชน์ของคุณภาพหรือคุณสมบัติ ของสินค้านั้น (14) ราคา โดยระบุหน่วยเป็นบาท และจะระบุหน่วยเป็นเงินสกุลอื่นไว้ด้วยก็ได้ การแสดงข้อความใน (12) และ (13) ให้แสดงโดยเรียงลาดับ วัน เดือน ปี ทั้งนี้ อาจแสดง “ เดือน ” เป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้ สาหรับ “ ปี ” ให้ระบุเป็น “ พ.ศ. ” หรือ “ ค.ศ. ” ก็ได้ กรณีที่มี การแสดงวัน เดือน ปี ไม่เรียงตามลาดับ ต้องมีข้อความหรือตัวอักษรที่สื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจอย่างชัดเจน ถึงวิธีการแสดงข้อความดังกล่าวกำกับไว้ด้วย การแสดงข้อความในฉลากสินค้าต้องให้เห็นและอ่านได้ชัดเจน ขนาดของตัวอักษรที่ใช้จะต้อง สัมพันธ์กับขนาดของพื้นที่ฉลาก และขนาดความสูงของตัวอักษรจะต้องไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร เว้นแต่กรณีที่ฉลากที่มีเนื้อที่น้อยกว่า 35 ตารางเซนติเมตร ขนาดความสูงของตัวอักษรจะต้องไม่น้อยกว่า 1.5 มิลลิเมตร ข้อ 5 ในกรณีที่ไม่อาจแสดงฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากอย่างถูกต้องตามที่ระบุไว้ในข้ อ 3 และข้อ 4 รวมไว้ในตาแหน่งที่เดียวกัน เช่น ไม่อาจแสดงไว้ที่สินค้าได้ทั้งหมด ก็ให้แสดงข้อความ รูป รอยประดิษฐ์หรือภาพ อย่างหนึ่งอย่างใด ไว้ในส่วนหนึ่งส่วนใดที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุหรือหีบห่อ บรรจุสินค้า หรือสอดแทรกหรือรวมไว้กับสินค้าหรือภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุสินค้า หรือในเอกสาร หรือคู่มือสาหรับใช้ประกอบกับสินค้าหรือป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุหรือหีบห่อ บรรจุสินค้านั้น แต่เมื่อรวมการแสดงฉลากไว้ทุกแห่งแล้ว ต้องสามารถเห็นและอ่านได้ชั ดเจน ้ หนา 20 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 98 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 เมษายน 2566

ข้อ 6 ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 256 6 ธสรณ์อัฑฒ์ ธนิทธิพันธ์ ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 98 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 เมษายน 2566