ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2566
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2566
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนาเข้าผลส้มสดจากประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2566 กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลส้มสดนาเข้าเพื่อการค้าจากประเทศญี่ปุ่น เสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 (2) และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 อธิบดีกรมวิชาการเกษตร โดยคาแนะนาของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่อนไขการนาเข้าผลส้มส ดจากประเทศญี่ปุ่น ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสด จากประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2566” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนาเข้าผลส้มสดจากญี่ปุ่น พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2563 ข้อ 4 ชนิดพืชที่อนุญาต ชนิดและพันธุ์ของผลส้มสดที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้ามายังราชอาณาจักรไทยปรากฏ ตามเอกสารหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ 5 ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลส้มสดจากประเทศญี่ปุ่นปรากฏ ตาม เอกสารหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ 6 หน่วยงานที่รับผิดชอบ 6.1 ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร 6.2 ประเทศญี่ปุ่น คือ Plant Protection Division, Food Safety and Consumer Affairs Bureau, Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries ได้รับมอบหมาย ให้เป็นองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ ( National Plant Protection Organization ) อย่างเป็นทางการ ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งต่อ ไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “ NPPO ” ข้อ 7 การอนุญาตนำเข้า 7.1 ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร 7.2 สำหรับการนำเข้าผลส้มสดที่อยู่ภายใต้มาตรการบริหารจัดการสำหรับรา Elsinoë australis ทางเลือก ข ผู้ยื่นคำขออาจทำการเตรียมการทั้งหมดที่จำเป็นประกอบด้วย สถานที่ อุปกรณ์ วัสดุ และบุคลากรที่มีคุณสมบัติ เป็นต้น เพื่อรับภาระในการปฏิบัติหรือการบาบัด ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 94 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 เมษายน 2566
ด้านสุขอนามัยพืชสำหรับรา Elsinoë australis ถ้าพบรา Elsinoë australis ระหว่างการตรวจสอบสินค้า ที่ส่งมอบขาเข้า การอนุมัติในสถานที่ของสถานที่ปฏิบัติหรือบาบัดโดยสานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ต้องดาเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะมีการออกใบอนุญาตนำเข้า ข้อ 8 วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลส้มสดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นไปยังเมืองท่าปลายทาง ในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้าหรือทางอากาศ ข้อ 9 พื้นที่ผลิตที่อนุญาต 9.1 ผลส้มสดต้องผลิตในประเทศญี่ปุ่น และมาจากพื้นที่ที่กาหนดโดย NPPO ให้เป็นพื้นที่ผลิตสาหรับส่ง ออกไปยังราชอาณาจักรไทย และกรมวิชาการเกษตรได้ให้การอนุมัติแล้ว ก่อนที่จะส่งออก 9.2 ถ้า NPPO ขึ้นทะเบียนพื้นที่ผลิตแห่งใหม่ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งออกผลส้มสด ไปยังราชอาณาจักรไทย NPPO ต้องแจ้งและจัดหาข้อมูลของพื้นที่ผลิตแห่งใหม่ให้กรมวิชาการเกษตร กรมวิ ชาการเกษตรต้องอนุมัติพื้นที่ผลิตแห่งใหม่ก่อนที่จะมีการนาเข้าผลส้มสดมายังราชอาณาจักรไทย 9.3 ผลส้มสดจากพื้นที่ผลิตที่กำหนดไว้ในเอกสารหมายเลข 3 แนบท้ายประกาศนี้ ได้รับอนุญาตให้นำเข้ามายังราชอาณาจักรไทย ข้อ 10 แผนงาน NPPO ต้องจัดทาแผนงานให้แก่กรมวิชาการเกษตรเพื่ออนุมัติ แผนงานต้องอธิบาย ในรายละเอียดของกิจกรรมทั้งหมดที่ NPPO จะดาเนินการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุในประกาศนี้ ข้อ 11 ข้อกาหนดสำหรับสวน 11.1 สวนในพื้นที่ผลิตที่กำหนดซึ่งเกี่ยวข้องกับการส่งออกผลส้มสดไปยัง ราชอาณาจักรไทยต้องเป็นสวนที่ปลูกส้มเป็นการค้าและ NPPO ขึ้นทะเบียนเป็นสวนที่ขึ้นทะเบียน เพื่อส่งออก (รหัสหรือหมายเลขทะเบียนหน่วยผลิต) NPPO ต้องดาเนินการขึ้นทะเบียนสวนให้เสร็จสิ้น ก่อนเริ่มส่งออก 11.2 เกษตรกรเจ้าของสวนที่ขึ้นทะเบียนเพื่อส่งออกต้องมีการบริหารจัดการสวน ด้วยการรวมวิธีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีเข้ามาด้วยซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพทางด้านกักกันพืช โดยสิ่งเหล่านี้ประกอบด้วย การรักษาความสะอาดสวน และการนาการบริหารจัดการศัตรู พืชแบบผสมผสาน หรือมาตรการควบคุมศัตรูพืชอื่น ๆ มาใช้ปฏิบัติ เพื่อให้มั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ได้รับการบริหารจัดการอย่างเพียงพอ 11.3 NPPO ต้องจัดหาข้อมูลแผนงานการบริหารจัดการที่ดาเนินการสาหรับส้ม ตลอดฤดูกาลปลูกให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 94 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 เมษายน 2566
11.4 NPPO ต้องยื่นบัญชีรายชื่อสวนที่ขึ้นทะเบียนเพื่อส่งออก (ชื่อเกษตรกร ที่อยู่และข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ปลูก) ให้แก่กรมวิชาการเกษตรล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสองเดือนก่อนเริ่มปีส่งออก เป็นประจำทุกปี ทั้ งนี้ NPPO ต้องบ่งชี้ว่าสวนอยู่ภายใต้มาตรการบริหารจัดการสาหรับรา Elsinoë australis ทางเลือก ข ที่ระบุไว้ใน ข้อ 15 เพื่ออานวยความสะดวกให้กับการตรวจสอบขาเข้าและ การทำพิธีการขาเข้า ข้อ 12 ข้อกาหนดสำหรับโรงคัดบรรจุ 12.1 NPPO ต้องขึ้นทะเบียน (รหัสหรือหมายเลขทะเบียนโรงคัดบรรจุ) และติดตามโรงคัดบรรจุที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกผลส้มสดไปยังราชอาณาจักรไทย โรงคัดบรรจุ ต้องตั้งอยู่ภายในช่วงที่มีประสิทธิภาพของกับดักแกลลอน ( gallon trap ) NPPO ต้องดาเนินการ ขึ้นทะเบียนโรงคัดบรรจุให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่ม ส่งออก 12.2 โรงคัดบรรจุต้องนาผลส้มสดมาจากสวนที่ขึ้นทะเบียนเพื่อส่งออกในพื้นที่ผลิต ที่กาหนดเท่านั้น เพื่ออานวยความสะดวกให้กับการตรวจสอบย้อนกลับผลส้มสดส่งออก ต้องเก็บบันทึก รายชื่อสวนที่ขึ้นทะเบียนเพื่อส่งออกซึ่งจัดหาผลส้มสดสาหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมี พร้อมไว้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ 12.3 การดาเนินการของโรงคัดบรรจุเพื่อส่งออกผลส้มสดไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนของปีส่งออกเป็นประจำทุกปี NPPO ต้องยื่นบัญชีรายชื่อโรงคัดบรรจุ ที่ขึ้นทะเบียน (ชื่อ รหัส หรือหมายเลขทะเบียน ที่อยู่ และชื่อผู้จัดการ) ให้แก่กรมวิชาการเกษตร ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสองเดือนก่อนเริ่มปีส่งออกเป็นประจำทุกปี 12.4 ถ้า NPPO ขึ้นทะเบียนโรงคัดบรรจุแห่งใหม่ NPPO ต้องจัดหาข้อมูลของ โรงคัดบรรจุแห่งใหม่ (ชื่อ รหัสหรือหมายเลขทะเบียน ที่อยู่ และชื่อผู้จัดการ) ให้แก่กรมวิชาการเกษตร ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนก่อนเริ่มดาเนินการจริง 12.5 โรงคัดบรรจุต้องมีผู้ปฏิบัติงานด้านวิชาการ อย่างน้อย 1 คน ซึ่งได้รับการอบรม จาก NPPO โดยเป็นผู้ที่สามารถจดจาอาการความเสียหายจากศัตรูพืชบนผลส้มได้ ผู้ปฏิบัติงาน ด้านวิชาการต้องมีประสบการณ์ในวิธีการคัดแยกเพื่อคัดออกผลส้มสดที่สงสัยว่ามีการเข้าทาความเสียหาย จากศัตรูพืชตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ โรงคัดบรรจุต้องเก็บเอกสา ร การฝึกอบรมหรือบันทึกการฝึกอบรมสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านวิชาการ 12.6 เมื่อมีการนำผลส้มสดซึ่งผลิตมาจากสวนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเพื่อส่งออก ในพื้นที่ผลิตที่กาหนดมาเก็บรักษาไว้ในโรงคัดบรรจุเดียวกันกับผลส้มสดซึ่งผลิตมาจากสวนที่ขึ้นทะเบียน เพื่อส่งออก ต้องแยกและ เก็บรักษาผลส้มสดทั้งสองแหล่งออกจากกัน และต้องไม่คัดแยกและบรรจุ ผลส้มสดซึ่งผลิตมาจากสวนที่ขึ้นทะเบียนเพื่อส่งออกสาหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยในเวลาเดียวกัน กับผลไม้ชนิดอื่น ๆ ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 94 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 เมษายน 2566
ข้อ 13 ข้อกาหนดสำหรับศัตรูพืชกักกัน 13.1 แมลงวันผลไม้ Bactrocera tsuneonis ผลส้มสดสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องมีมาตรการบริหารจัดการ ความเสี่ยงสำหรับแมลงวันผลไม้ citrus fruit fly ( Bactrocera tsuneonis ) โดยผลส้มสดต้องมาจาก พื้นที่ผลิตที่ปลอดจากแมลงวันผลไม้ Bactrocera tsuneonis และต้องอยู่ภายใต้แผนงานการติดตาม ที่ตกลงโดย NPPO และกรมวิชาการเกษตร 13.2 รา Elsinoë australis ผลส้มสดสาหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องผ่านมาตรการบริหารจัดการ ความเสี่ยงสาหรับรา Elsinoë australis สาเหตุโรค sweet orange scab ที่ตกลงโดย NPPO และกรมวิชาการเกษตร ข้อ 14 มาตรการบริหารจัดการสำหรับแมลงวันผลไม้ Bactrocera tsuneonis 14.1 พื้นที่ผลิตที่กำหนดซึ่งเป็นแหล่งที่มาของผลส้มสดสำหรับส่งออกไปยัง ราชอาณาจักรไทยต้องมีอยู่ซึ่งระบบการติดตามสำหรับแมลงวันผลไม้ Bactrocera tsuneonis เพื่อให้มั่นใจว่าพื้นที่ดังกล่าวปลอดจากแมลงวันผลไม้ Bactrocera tsuneonis 14.2 NPPO ต้องแจ้งกรมวิชาการเกษตรโดยทันที ถ้าตรวจพบแมลงวันผลไม้ ชนิดอื่น ๆ ชนิดหนึ่งชนิดใด นอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ Bactrocera tsuneonis 14.3 การสำรวจแบบติดตาม ต้องดำเนินการ สำรวจโดยใช้กับดักแกลลอน และการสำรวจผลส้ม 14.3.1 การสำรวจโดยใช้กับดักแกลลอน (1) ระยะเวลาการสารวจ คือ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 31 ตุลาคม ระยะเวลานี้จะครอบคลุมช่วงชีวิตของระยะตัวเต็มวัยของแมลงวันผลไม้ Bactrocera tsuneonis จากเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนและเดือนที่ติดกัน (2) วางกับดักแกลลอนทุก ๆ 1 ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่ สวนส้มและพื้นที่ใกล้เคียง (3) กับดักแกลลอนจะใช้โปรตีนไฮโดรไลเซต ( protein hydrolyzate ) (โปรตีนในรูปของแข็ง อัตราร้อยละ 1.5 - 2.0) และสารฆ่าแมลงวาโปนา ( Vapona ® ) ซึ่งมี ไดคลอร์วอส ( Dichlorvos; DDVP ) เป็นสารออกฤทธิ์ ในอัตราร้อยละ 18.6 (4) เจ้าหน้าที่ของ NPPO ต้องตรวจกับดักแกลลอนทุก ๆ สองสัปดาห์ และต้องเปลี่ยนโปรตีนไฮโดรไลเซตทุก ๆ สองสัปดาห์ และสารฆ่าแมลงวาโปนาทุก ๆ สี่สัปดาห์ ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 94 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 เมษายน 2566
14.3.2 การสำรวจผลส้ม เจ้าหน้าที่ของ NPPO ต้องดาเนินการสารวจผลส้มในช่วงเวลา ที่อธิบายไว้ในข้อ 14.3.1 (1) และตรวจสอบผลส้มที่ร่วงหล่นหรือผลส้มที่เปลี่ยนสีว่ามีสาเหตุมาจาก แมลงวันผลไม้ Bactrocera tsuneonis หรือไม่ 14.4 NPPO ต้องจัดหาข้อมูลการสารวจแบบติดตามแมลงวันผลไม้ Bactrocera tsuneonis ประกอบด้วย จานวนและตาแหน่งที่ตั้งของกับดัก ข้อมูลชนิดของแมลงวันผลไม้และ แมลงชนิดอื่น ๆ ที่จับได้ในกับดักแมลงวันผลไม้ทั้งหมด และข้อมูลการสารวจผลส้มให้แก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ของกรมวิชากา รเกษตรสำหรับการพิสูจน์ยืนยันระหว่างการตรวจสอบขาออกร่วมกัน 14.5 ถ้าตรวจไม่พบแมลงวันผลไม้ Bactrocera tsuneonis ระหว่างระยะเวลา การติดตาม ต้องดาเนินการตามวิธีการ ดังต่อไปนี้ 14.5.1 NPPO จะขึ้นทะเบียนสวนเป็นสวนที่ขึ้นทะเบียนเพื่อส่งออก สำหรับส่งออกผลส้มสดไปยังราชอาณาจักรไทย 14.5.2 สวนที่ขึ้นทะเบียนเพื่อส่งออกมีสิทธิที่จะส่งออกผลส้มสดไปยัง ราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไปตามปีปฏิทิน ซึ่งถือว่า เป็นปีส่งออก 14.5.3 ผลส้มสดที่เก็บเกี่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน จากสวนที่ขึ้นทะเบียน เพื่อส่งออกจะได้รับอนุญาตให้ส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย 14.6 ถ้าตรวจพบแมลงวันผลไม้ Bactrocera tsuneonis ระหว่างระยะเวลา การติดตาม ต้องดาเนินการตามวิธีการ ดังต่อไปนี้ ห้ามส่งออกผลส้มสดจากสวนทั้งหมดในพื้นที่ผลิตที่ระบุไว้ในเอกสาร หมายเลข 3 แนบท้ายประกาศนี้ ไปยังราชอาณาจักรไทยระหว่างปีส่งออก ข้อ 15 มาตรการบริหารจัดการสำหรับรา Elsinoë australis ผลส้มสดต้องอยู่ภายใต้มาตรการบริหารจัดการสำหรับรา Elsinoë australis ทางเลือก ก หรือทางเลือก ข อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารหมายเลข 4 แนบท้ายประกาศนี้ก่อนส่งออก ข้อ 16 ข้อกาหนดสำหรับการบรรจุและฉลาก 16.1 วัสดุบรรจุภัณฑ์ต้องสะอาดและใหม่ 16.2 ต้องบรรจุผลส้มสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งปราศจากแมลงมีชีวิต ดิน ทราย และไม่มีการปะปนของชิ้นส่วนของพืชอื่น เช่น ใบ กิ่งก้าน เมล็ด เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใด ที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ ้ หนา 20 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 94 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 เมษายน 2566
16.3 ต้องบรรจุผลส้มสดในหีบห่อซึ่งไม่มีรูระบายอากาศ ถ้ามีรูหรือช่องเปิด ต้องปิดด้วยตาข่าย ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เกิน 1.6 มิลลิเมตร เพื่อป้องกัน การเข้าไปของแมลงศัตรูพืชกักกัน 16.4 ผลส้มสดสาหรับส่งออกที่ยังไม่ได้มีการขนเข้าตู้ขนส่งสินค้าโดยทันที ต้องได้รับ การเก็บรักษาไว้ภายใต้สภาพที่มีความปลอดภัยจากศัตรูพืชและต้องแยกออกจากผลไม้ชนิดอื่น ๆ ทั้งหมด ภายในห้องเย็น จนกว่าจะมีการขนเข้าสู่ตู้ขนส่งสินค้าอย่างปลอดภัยภายใต้การกำกับดูแลของ NPPO 16.5 ต้องแสดงข้อมูลที่จาเป็นบนหีบห่อเพื่ออานวยความสะดวกให้กับการทวนสอบ ย้อนกลับของแหล่งที่มาได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้ เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละหีบห่อ ได้แก่ - ผลผลิต หรือผลิตผลของญี่ปุ่น - ชื่อบริษัทส่งออก - ชื่อผลไม้ ได้แก่ สกุล ชนิด และพันธุ์ - รหัสหรือหมายเลขทะเบียนโรงคัดบร รจุ - รหัสหรือหมายเลขทะเบียนหน่วยผลิต 16.6 ถ้าส่งออกผลส้มสดไปยังราชอาณาจักรไทยในหีบห่อที่ไม่ได้มัดรวมกันต้องมี ข้อความต่อไปนี้ “ EXPORT TO THAILAND ” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละหีบห่อ อย่างไรก็ตาม ถ้าส่งออกผลส้มสดไปยังราชอาณาจักรไทยในหีบห่อที่ถูกมัดรวมกั นวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มีข้อความ ต่อไปนี้ “ EXPORT TO THAILAND ” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ 16.7 สินค้าที่ส่งมอบทั้งหมดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้วัสดุ บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืชที่เกี่ยวข้อง ข้อ 17 การตรวจสอบขาออก NPPO ต้องมั่นใจว่าได้ดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งกาหนดโดยกรมวิชาการเกษตรแล้ว ก่อนให้การรับรองผลส้มสดเพื่อส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย ดังต่อไ ปนี้ 17.1 ผลส้มสดได้รับการรับรองเพื่อส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยภายใต้การตรวจสอบ ขาออกร่วมกันหรือการตรวจประเมินระบบ อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อกาหนดสาหรับการตรวจสอบขาออก ร่วมกันและการตรวจประเมินระบบ มีรายละเอียดในแผนงาน 17.2 NPPO ต้องส่งหนังสืออย่างเป็นทางการถึงกรมวิชาการเกษตร เพื่อขอให้ กรมวิชาการเกษตรส่งพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับการตรวจสอบขาออกร่วมกันหรือการตรวจประเมินระบบ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนก่อนเริ่มปีส่งออกเป็นประจาทุกปี (วันที่ 1 พฤศจิกายนของทุกปี) หรือก่อนเริ่มกำรตรวจประเมินระบบ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางไปปฏิบัติงาน ของพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร ประเทศ ญี่ปุ่นต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 94 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 เมษายน 2566
17.3 ผลส้มสดสาหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องปราศจากศัตรูพืชกักกัน ตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ 17.4 เจ้าหน้าที่ของ NPPO และพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร (ในกรณีของการตรวจสอบขาออกร่วมกัน) หรือเจ้าหน้าที่ของ NPPO (ในกรณีของการตรวจประเมิน ระบบ) ต้องตรวจสอบสินค้าที่ส่งมอบที่ส่งออก สาหรับสิ นค้าที่ส่งมอบที่มีผลส้มสดจานวนน้อยกว่า 1 , 000 ผล ต้องเก็บตัวอย่างจานวน 450 ผล หรือทั้งหมด สาหรับสินค้าที่ส่งมอบที่มีผลส้มสด จำนวนมากกว่าหรือเท่ากับ 1 , 000 ผล ต้องเก็บตัวอย่างจำนวน 600 ผล 17.5 แมลงวันผลไม้ Bactrocera tsuneonis 17.5.1 ก่อนเริ่มรับรองผลส้มสดสาหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย เจ้าหน้าที่ของ NPPO และพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร หรือเจ้าหน้าที่ของ NPPO แล้วแต่กรณี ต้องตรวจสภาพโรงคัดบรรจุ และข้อมูลการสารวจแบบติดตามแมลงวันผลไม้ Bactrocera tsuneonis ตามที่ระบุไว้ในข้อ 14.4 17.5.2 ถ้าตรวจพบแมลงวันผลไม้ Bactrocera tsuneonis ต้องดาเนิน มาตรการ ดังต่อไปนี้ (1) ต้องปฏิเสธสินค้าที่ส่งมอบสาหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย อย่างไรก็ตาม สินค้าที่ส่งมอบซึ่งผ่านการตรวจสอบขาออกและได้รับใบรับรองสุขอนามัยพืชแล้ว จะได้รับอนุญาตให้ส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย (2) NPPO ต้องแจ้งกรมวิชาเกษตรโดยทันทีถึงผลการตรวจพบ และกรมวิชาการเกษตรจะระงับการนำเข้าโดยทันที (3) เจ้าหน้าที่ของ NPPO และพนักงานเจ้ำหน้าที่ของ กรมวิชาการเกษตร หรือเจ้าหน้าที่ของ NPPO แล้วแต่กรณี ต้องตรวจสอบหาความจริงถึงสาเหตุของ การเข้าทำความเสียหายดังกล่าว (4) NPPO ต้องแจ้งกรมวิชาการเกษตรโดยทันทีเกี่ยวกับสาเหตุ ของเหตุการณ์ดังกล่าวและเสนอการปฏิบัติการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกการระงับการนาเข้า เมื่อมีคาอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุของการไม่ปฏิบัติตามและมีการนาการปฏิบัติการแก้ไขมาใช้จนเป็นที่พอใจ ของกรมวิชาการเกษตร 17.6 รา Elsinoë australis 17.6.1 ทางเลือก ก ก่อนเริ่มรับรองผลส้มสดสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย เจ้าหน้าที่ ของ NPPO และพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร หรือเจ้าหน้าที่ของ NPPO แล้วแต่กรณี ต้องตรวจสภาพโรงคัดบรรจุ ทั้งนี้ ผลส้มสดต้องเป็นไปตามข้อกาหนดทั้งหมด ตามที่กาหนดไว้ใน ทางเลือ ก ก ในเอกสารหมายเลข 4 แนบท้ายประกาศนี้ ้ หนา 22 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 94 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 เมษายน 2566
17.6.2 ทางเลือก ข (1) ก่อนเริ่มรับรองผลส้มสดส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย เจ้าหน้าที่ของ NPPO และพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร หรือเจ้าหน้าที่ของ NPPO แล้วแต่กรณี ต้องตรวจสภาพโรงคัดบรรจุ และตรวจข้อมูลการสำรวจแบบติดตามรา Elsinoë australis ตามที่กาหนดไว้ใน ทางเลือก ข ในเอกสารหมายเลข 4 แนบท้ายประกาศนี้ (2) ผลส้มสดต้องได้รับการตรวจสอบและต้องไม่มีอาการของโรค 17.7 ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข 2 แนบท้าย ประกาศนี้ นอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ Bactrocera tsuneonis และรา Elsinoë australis สินค้าที่ส่งมอบต้องได้รับการปฏิบัติหรือบำบัดที่เหมาะสม (ถ้ามี) หรือนำออกจากการส่งออก 17.8 ถ้าตรวจไม่พบศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข 2 แนบท้าย ประกาศนี้ เจ้าหน้าที่ของ NPPO จะออกใบรับรองสุขอนามัยพืช ในกรณีการตรวจสอบขาออกร่วมกัน พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรจะลงนามบนพื้นที่ว่างของใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ 18 การออกใบรับรองสุขอนามัยพืช 18.1 ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย NPPO ต้นฉบับใบรับรอง สุขอนามัยพืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าที่ส่งมอบที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องมีการแจ้งเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “ The consignment of citrus fruit was produced in ( designated production area ) and prepared for export in accordance with the conditions for import of citrus fruit from Japan to Thailand .” และ “ The consignment of citrus fruit was produced in a pest free place of production for Bactrocera tsuneonis . ” และ (1) “ The citrus fruit in this consignment have been subjected to Option A and inspected to be free from Elsinoë australis . ” หรือ (2) “ The citrus fruit in this consignment have been subjected to Option B and inspected to be free from Elsinoë australis . ” 18.2 ต้องระบุชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ และชื่อพันธุ์ของส้ม และหมายเลข ตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลขผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้า (สำหรับการขนส่งทางน้า) ในใบรับรองสุขอนามัยพืช ้ หนา 23 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 94 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 เมษายน 2566
ข้อ 19 การตรวจสอบขาเข้า 19.1 เมื่อสินค้าที่ส่งมอบมาถึงด่านตรวจพืช (จุดการเข้ามา) ในราชอาณาจักรไทย การตรวจสอบขาเข้าจะดาเนินการหลังจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ยืนยันแต่ละเอกสารที่แนบมาพร้อมกับ สินค้าที่ส่งมอบที่เกี่ยวข้อง 19.2 สินค้าที่ส่งมอบทั้งหมดต้องปราศจากแมลงมีชีวิต อาการของโรคพืช เมล็ดพืชที่ปนเปื้อน ดิน ขยะ และเ ศษซากอื่น ๆ เมื่อมาถึงราชอาณาจักรไทย 19.3 พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มเก็บตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของสินค้าที่ส่งมอบ ตามดุลพินิจ และตรวจตราเพื่อลงความเห็นว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิต โดยปกติ จะส่งตัวอย่างไปทำการจำแนกชนิดในห้องปฏิบัติการ และต้องกักสินค้าที่ส่งมอบไว้จนกว่าจะทราบผล 19.4 สาหรับสินค้าที่ส่งมอบที่มีผลส้มสดจานวนน้อยกว่า 1 , 000 ผล ต้องเก็บ ตัวอย่างจานวน 450 ผล หรือทั้งหมด สาหรับสินค้าที่ส่งมอบที่มีผลส้มสดจานวนมากกว่าหรือเท่ากับ 1 , 000 ผล ต้องเก็บตัวอย่างจำนวน 600 ผล ถ้ำผลส้มสดอยู่ภายใต้มาตรการบริหารจัดการสาหรับรา Elsinoë australis ทางเลือก ข ตามที่กาหนดไว้ในเอกสารหมายเลข 4 แนบท้ายประกาศนี้ จะต้องส่งตัวอย่างผลส้มสด ไปยังกลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตรเพื่อการตรวจโรค 19.5 ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่กาหนดไว้ใน เอกสารหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ ระหว่างการตรวจสอบขาเข้า ต้องดาเนินมาตรการ ดังต่อไปนี้ 19.5.1 แมลงวันผลไม้ Bactrocera tsuneonis (1) ถ้าพบระยะที่มีชีวิตของแมลงวันผลไม้ Bactrocera tsuneonis ต้องส่งสินค้าที่ส่งมอบที่มีการเข้าทาความเสียหายออกไปนอกราชอาณาจักร หรือทาลาย อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเจ้าของเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะระงับการนาเข้าโดยทันทีและแจ้ง NPPO โดยทันที ถึงผลการตรวจพบ (2) NPPO ต้องตรวจสอบหาความจริงโดยทันทีถึงสาเหตุของ เหตุการณ์ดังกล่าวและเสนอการปฏิบัติการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกการระงับการนาเข้า เมื่อมีคาอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุของการไม่ปฏิบัติตามและมีการนาการปฏิบัติการแก้ไขมาใช้จนเป็น ที่พอใจของกรมวิชาการเกษตร 19.5.2 รำ Elsinoë australis (1) สาหรับผลส้มสดที่อยู่ภายใต้มาตรการบริหารจัดการ ทางเลือก ข ถ้าพบอาการของโรค sweet orange scab หรืออาการคล้ายโรค sweet orange scab ต้องดาเนินการ ตามทางเลือกต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเจ้าของ โดยเจ้าของเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ้ หนา 24 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 94 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 เมษายน 2566
ก. ดาเนินการทดสอบในห้องปฏิบัติการตามที่ตกลงกันไว้ เพื่อยืนยันว่ามีหรือไม่มีรา Elsinoë australis และสินค้าที่ส่งมอบจะถูกกักไว้จนกว่าจะทราบผล ทั้งนี้ ถ้าตรวจไม่พบรา Elsinoë australis จะปล่อยสินค้า ที่ส่งมอบ ถ้าตรวจพบรา Elsinoë australis ต้องทำลายสินค้า ที่ส่งมอบ หรือต้องอยู่ภายใต้การปฏิบัติหรือการบำบัดด้านสุขอนามัยพืชในสถานที่ปฏิบัติหรือบำบัดของ ผู้นาเข้าที่ได้รับอนุมัติก่อนหน้านี้จากสานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ผลส้มสด ต้องได้รับการปฏิบัติหรือบาบัดตามคาแนะนาที่ระบุบนฉลากด้วยการปฏิบัติหรือการบาบัด อย่างน้อย 1 วิธี ดังต่อไปนี้ อิมาซาลิล ( imazalil ) หรือ ไทอะเบนดาโซล ( thiabendazole ) และต้องได้รับการเคลือบผิว ด้วยขี้ผึ้ง ( wax ) ถ้าตรวจพบรา Elsinoë australis และไม่มีสถานที่ปฏิบัติ หรือบำบัด ต้องส่งสินค้าที่ส่งมอบออกไปนอกราชอาณาจักร หรือทำลาย หรือ ข. สินค้าที่ส่งมอบต้องอยู่ภายใต้การปฏิบัติหรือการบำบัด ด้านสุขอนามัยพืชในสถานที่ปฏิบัติหรือบาบัดของผู้นาเข้าที่ได้รับอนุมัติก่อนหน้านี้จากสานักวิจัยพัฒนาการ อารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ผลส้มสดต้องได้รับการปฏิบัติหรือบาบัดตามคาแนะนำที่ระบุบนฉลาก ด้วยการปฏิบัติหรือการบาบัด อย่างน้อย 1 วิธี ดังต่อไปนี้ อิมาซาลิล หรือ ไทอะเบนดาโซล และต้องได้รับการเคลือบผิวด้วยขี้ผึ้ง (2) ในกรณีจาแนกว่าเป็นรา Elsinoë australis กรมวิชาการเกษตร จะแจ้ง NPPO โดยทันทีถึงผลการตรวจพบ NPPO ต้องปฏิเสธการรับรองผลส้มสดจากสวนที่มีการ เข้าทำความเสียหายภายใต้มาตรการบริหารจัดการ ทางเลือก ข สำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย ระหว่างปีส่งออก 19.5.3 ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ Bactrocera tsuneonis และรา Elsinoë australis สินค้าที่ส่งมอบต้องได้รับการปฏิบัติหรือบาบัด ที่เหมาะสม (ถ้ามี) หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือทำลาย โดยเจ้าของเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย 19.6 ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารแนบหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ หรือสิ่งปนเปื้อน ที่มีศักยภาพก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขอนามัยพืชต่อ ราชอาณาจักรไทย ต้องจัดการสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งปนเปื้อนด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามี) หรือส่งออกไป นอกราชอาณาจักร หรือทาลาย โดยเจ้าของเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรอาจระงับการนาเข้า ผลส้มสดจากเส้น ทางที่ระบุเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการลงความเห็นการประเมินความเสี่ยงสิ่งมีชีวิต ที่ตรวจพบ ้ หนา 25 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 94 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 เมษายน 2566
19.7 กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิสั่งให้ส่งสินค้าที่ส่งมอบออกไปนอกราชอาณาจักร หรือทำลาย โดยเจ้าของเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ 19.7.1 ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท หรือตู้ขนส่งสินค้าหมายเลขไม่ตรง ตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช 19.7.2 ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลข ไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช 19.7.3 ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี หรือไม่ถูกต้อง 19.7.4 บรรจุภัณฑ์ชารุด และไม่เป็นไปตามข้อกาหนดสาหรับการป้องกัน แมลง ข้อ 20 การตรวจประเมินวิธีการส่งออก 20.1 การส่งออกผลส้มสดจากพื้นที่ผลิตที่ระบุไว้ในข้อ 9 ในประเทศญี่ปุ่นไปยัง ราชอาณาจักรไทย จะเริ่มหลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ตรวจประเมินวิธีการรับรองส่งออกแล้วเท่านั้น โดยประเทศญี่ปุ่นต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของการตรวจประเมินดังกล่าว 20.2 ในเหตุการณ์ระงับการนำเข้าหรือเหตุผิดปกติใด ๆ โดยที่กรมวิชาการเกษตร ลงความเห็นว่าการตรวจประเมินวิธีกำรรับรองส่งออกดังกล่าวมีความจาเป็น กรมวิชาการเกษตร อาจตรวจประเมินวิธีการรับรองส่งออกในประเทศญี่ปุ่นก่อนตัดสินใจให้มีการเริ่มต้นนาเข้าใหม่ โดยประเทศญี่ปุ่น ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายการตรวจประเมินเหล่านี้ ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 256 6 สุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ้ หนา 26 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 94 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 เมษายน 2566
เอกสารหมายเลข 1 รายชื่อชนิด และพันธุ์ ส้ม ที่ ได้รับอนุญาต แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจาก ประเทศ ญี่ปุ่น พ.ศ. 2566 1 . Citrus unshiu Marcovitch ซัทซู มา ออร์เรนจ์ ( Satsuma orange ) ซัทซูมา แมนดาริน ( Satsuma mandarin ) 2 . Citrus unshiu Marc . × Citrus reticulata ‘ Shiranuhi ’ ชิรานุอิ ออร์เรนจ์ ( Shiranuhi orange ) 3 . Citrus unshiu Marc . × Citrus sinensis ( L .) Osbeck คิโยมิ ออร์เรนจ์ ( Kiyomi orange ) 4 . Citrus natsudaidai Hayata นัทซึมิกัน ออร์เรนจ์ ( Natsumikan orange ) 5 . Citrus iyo Hort อิโยกัน ออร์เรนจ์ ( Iyokan orange ) 6 . Citrus hassaku Hort ฮาซซากุ ออร์เรนจ์ ( Hassaku orange ) 7 . Citrus Hybrid (‘ Kiyomi ’ × ‘ Encore ’) × ‘ Murcott ’ ซิโตกะ ออร์เรนจ์ ( Setoka orange ) 8 . Citrus Hybrid (‘ Kiyomi ’ × ( Citrus unshiu Marc . × Poncirus trifoli ata ( L .) Rafin ) × ‘ Page ’) อะมากุซะ ออร์เรนจ์ ( Amakusa orange )
เอกสารหมายเลข 2 รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลส้มสดจาก ประเทศ ญี่ปุ่น แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจาก ประเทศ ญี่ปุ่น พ . ศ . 2566 ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ แมลง Order Coleoptera Family Curculionidae Pantomorus cervinus Fuller ’ s rose beetle Order Diptera Family Tachinidae Eumeta japonica giant bagworm Eumeta minuscula tea bagworm Family Tephritidae Bactrocera tsuneonis citrus fruit fly Order Hemiptera Family Aleyrodidae Aleurothrixus floccosus woolly whitefly Dialeurodes citrifolii cloudy winged whitefly Parabemisia myricae myrica whitefly Family Coccidae Ceroplastes ceriferus Indian wax scale Ceroplastes japonicus Japanese wax scale Coccus longulus long brown scale Coccus pseudomagnoliarum citricola scale Pulvinaria polygonata cottony citrus scale Family Diaspidae Aspidiotus nerii aucuba scale Andaspis hawaiiensis armoured scale Chrysomphalus bifasciculatus false Florida red scale Comstockaspis perniciosa San Jose scale Hemiberlesia rapax greedy scale Howardia biclavis mining scale Lopholeucaspis cockerelli armoured scale
ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ Lopholeucaspis japonica pear white scale Morganella longispina plumose scale Parlatoria cinerea armoured scale Parlatoria proteus cattleya scale Pinnaspis strachani hibiscus snow scale Pseudaonidia duplex camphor scale Unaspis yanonensis arrowhead scale Family Pseudococcidae Planococcus kraunhiae Japanese mealybug Order Lepidoptera Family Noctuidae Peridroma saucia pearly underwing moth Family Oecophoridae Stathmopoda auriferella apple heliodinid Family Tortricidae Adoxophyes honmai - Adoxophyes sp . - Archips breviplicanus Asiatic leafroller Homona magnanima Oriental tea tortrix Order Thysanoptera Family Thripidae Chaetanaphothrips orchidii anthurium thrips ไร Family Eriophyidae Aculops pelekassi pink citrus rust mite Family Tetranychidae Eotetranychus asiaticus six - spotted spider mite Eotetranychus kankitus citrus yellow mite หอยทาก Acusta despecta snail Satsuma pagodula snail Acusta despecta sieboldiana snail
ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ เชื้อสาเหตุโรคพืช แบคทีเรีย Pseudomonas viridiflava bacterial leaf blight of tomato รา Diaporthe medusaea gummosis Elsinoë australis sweet orange scab Guignardia bidwellii black rot Mycosphaerella citri greasy spot Penicillium italicum blue mould Phoma erratica var . mikan fruit rot Phytophthora boehmeriae brown rot of citrus fruit
เอกสารหมายเลข 3 พื้นที่ผลิตที่ ได้รับอนุญาต แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจาก ประเทศ ญี่ปุ่น พ . ศ . 2566 พื้นที่ผลิตตามที่กาหนดไว้ในประกาศ ข้อ 9 และพิกัดภูมิศาสตร์ จังหวัด 1. พื้นที่ผลิต 1 ชิซึ โอกะ เมือง ฟูจิเอดะ พื้นที่ นิชิกาตะ 1 ละติจูด 34 ° 56 ’ 14 ” เหนือ ถึง 34 ° 57 ’ 12 ” เหนือ ลองจิจูด 138 ° 13 ’ 30 ” ตะวันออก ถึง 138 ° 14 ’ 13 ” ตะวันออก 2. พื้นที่ผลิต 2 ชิซึโอกะ เมือง ฟูจิเอดะ พื้นที่ นิชิกาตะ 2 ละติจูด 34 ° 55 ’ 47 ” เหนือ ถึง 34 ° 56 ’ 16 ” เหนือ ลองจิจูด 138 ° 12 ’ 59 ” ตะวันออก ถึง 138 ° 13 ’ 19 ” ตะวันออก 3. พื้นที่ผลิต 3 ชิซึโอกะ เมือง ฟูจิเอดะ พื้นที่ นิชิกาตะ 3 ละติจูด 34 ° 55 ’ 21 ” เหนือ ถึง 34 ° 55 ’ 44 ” เหนือ ลองจิจูด 138 ° 12 ’ 59 ” ตะวันออก ถึง 138 ° 13 ’ 23 ” ตะวันออก 4. พื้นที่ผลิต 4 ชิซึโอกะ เมือง ฟูจิเอดะ พื้นที่ นิชิกาตะ 4 ละติจูด 34 ° 54 ’ 53 ” เหนือ ถึง 34 ° 55 ’ 07 ” เหนือ ลองจิจูด 138 ° 13 ’ 49 ” ตะวันออก ถึง 138 ° 14 ’ 07 ” ตะวันออก 5. พื้นที่ผลิต 5 มิเอะ เมือง คุมาโนะ และ มิฮามะ พื้นที่ โควชิยามา 1 ละติจูด 33 ° 52 ’ 21 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 02 ’ 09 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 52 ’ 21 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 03 ’ 02 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 51 ’ 35 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 03 ’ 02 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 51 ’ 35 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 01 ’ 30 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 51 ’ 44 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 01 ’ 30 ” ตะวันออก
พื้นที่ผลิตตามที่กาหนดไว้ในประกาศ ข้อ 9 และพิกัดภูมิศาสตร์ จังหวัด 6. พื้นที่ผลิต 6 มิเอะ เมือง คุมาโนะ และ มิฮามะ พื้นที่ โควชิยามา 2 ละติจูด 33 ° 52 ’ 26 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 03 ’ 41 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 52 ’ 26 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 03 ’ 51 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 51 ’ 49 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 04 ’ 16 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 51 ’ 19 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 04 ’ 16 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 51 ’ 01 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 03 ’ 51 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 51 ’ 18 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 02 ’ 55 ” ตะวันออก 7. พื้นที่ผลิต 7 มิเอะ เมือง มิฮามะ และ คิโฮะ พื้นที่ ไอดะ 1 ละติจูด 33 ° 46 ’ 54 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 00 ’ 45 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 46 ’ 42 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 01 ’ 11 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 46 ’ 31 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 00 ’ 30 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 46 ’ 19 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 00 ’ 56 ” ตะวันออก 8. พื้นที่ผลิต 8 มิเอะ เมือง มิฮามะ พื้นที่ คามิอิชิกิ ละติจูด 33 ° 50 ’ 28 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 01 ’ 34 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 50 ’ 14 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 01 ’ 43 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 50 ’ 04 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 01 ’ 14 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 50 ’ 19 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 01 ’ 05 ” ตะวันออก 9. พื้นที่ผลิต 9 มิเอะ เมือง มิฮามะ พื้นที่ อะตะวา ละติจูด 33 ° 48 ’ 24 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 01 ’ 54 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 48 ’ 24 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 02 ’ 19 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 48 ’ 01 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 02 ’ 19 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 48 ’ 01 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 01 ’ 54 ” ตะวันออก 10. พื้นที่ผลิต 10 มิเอะ เมือง มิฮามะ และ คิโฮะ พื้นที่ ไอดะ 2 ละติจูด 33 ° 46 ’ 48 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 01 ’ 22 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 46 ’ 48 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 01 ’ 31 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 46 ’ 12 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 01 ’ 31 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 46 ’ 12 ” เหนือ ลองจิจูด 136 ° 01 ’ 22 ” ตะวันออก
พื้นที่ผลิตตามที่กาหนดไว้ในประกาศ ข้อ 9 และพิกัดภูมิศาสตร์ จังหวัด 11. พื้นที่ผลิต 11 ฟุกุโอกะ เมือง ยาเมะ ละติจูด 33 ° 11 ’ 11 ” เหนือ ลองจิจูด 130 ° 34 ’ 12 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 10 ’ 41 ” เหนือ ลองจิจูด 130 ° 33 ’ 58 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 10 ’ 7 ” เหนือ ลองจิจูด 130 ° 34 ’ 13 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 10 ’ 6 ” เหนือ ลองจิจูด 130 ° 35 ’ 23 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 10 ’ 46 ” เหนือ ลองจิจูด 130 ° 35 ’ 28 ” ตะวันออก ละติจูด 33 ° 11 ’ 11 ” เหนือ ลองจิจูด 130 ° 35 ’ 5 ” ตะวันออก
เอกสารหมายเลข 4 มาตรการบริหารจัดการสำหรับรา Elsinoë australis สาเหตุโรค sweet orange scab ( SOS ) แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจาก ประเทศ ญี่ปุ่น พ . ศ . 2566 ผลส้มสดชนิดและพันธุ์ที่ได้รับอนุญาตต้องอยู่ภายใต้ ทางเลือก ก หรือ ทางเลือก ข อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นมาตรการบริหารจัดการสำหรับรา Elsinoë australis ที่ตกลงร่วมกัน ดังต่อไปนี้ ทางเลือก ก ข้อ 1 ทำ ความสะอาดผลส้มสดโดยล้างด้วยน้ำ และ ข้อ 2 ปัด ผล ส้มสดด้วยแปรง และ ข้อ 3 ฆ่าเชื้อโรคที่ผิวด้วยการปฏิบัติหรือ การ บำบัดอย่างน้อย 1 วิธี ดังต่อไปนี้ และ ก. ทาให้ผลส้มสดเปียกอย่างทั่วถึงด้วยสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ ( sodium hypochlorite ) ความเข้มข้น 200 ส่วนในล้านส่วน ที่ความเป็นกรดด่างระหว่าง 6 . 0 ถึง 7 . 5 นานอย่างน้อย 2 นาที การปฏิบัติหรือ การ บำบัดต้องเป็นไปตามคาแนะนาที่ระบุบนฉลาก ข. ทำให้ผลส้มสดเปียกอย่างทั่วถึงด้วยสารละลายที่มีโซเดียม โอ - ฟีนิลฟีเนต ( sodium o - phenyl phenate ) ที่ความเข้มข้นระหว่างร้อยละ 1 . 86 ถึง 2 . 00 ของสารละลายทั้งหมด ถ้าสารละลา ยนั้นมีฟองที่เกิดจากสบู่หรือสารซักฟอกเห็นได้ชัดเจนให้ทำให้ผลส้มเปียกนาน 45 วินาที ถ้าสารละลายนั้นไม่มีฟองพอที่จะมองเห็นได้ให้ทาให้ผลส้มเปียก นาน 1 นาที การปฏิบัติหรือ การ บาบัดต้อง เป็นไปตามคาแนะนำที่ระบุบนฉลาก ค. ทำให้ผลส้มสดเปียกอย่างทั่วถึงด้วยสาร ละลายกรดเพอร์ออกซีอะซีติก ( peroxyacetic acid ) ความเข้มข้น 85 ส่วนในล้านส่วน นานอย่างน้อย 1 นาที การปฏิบัติหรือ การ บาบัดต้อง เป็นไปตามคาแนะนำที่ระบุบนฉลาก ข้อ 4 ผลส้มสดต้องผ่านการปฏิบัติหรือบาบัดเชื้อราอย่างน้อย 1 วิธี ในระหว่างการบรรจุ การปฏิบัติหรือ การ บำบัดต้องเป็นไปตามคาแนะนาที่ระบุบนฉลาก ดังต่อไปนี้ และ 4 . 1 อิมาซาลิล ( imazalil ) 4 . 2 ไทอะเบนดาโซล ( thiabendazole ) ข้อ 5 ผลส้มสดต้องผ่านการเคลือบผิวด้วยขี้ผึ้ง ( wax )
ทางเลือก ข ข้อ 1 ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับสวน 1.1 ผลส้มสดต้องมาจากสวนที่อยู่ภายใต้แผนงานฉีดพ่นสารป้องกันกาจัดรา Elsinoë australis และดำเนินการในเวลาที่เหมาะสม 1.2 NPPO ต้องดำเนินการตรวจสอบสวนอย่างเป็นทางการ 2 ครั้ง ในเวลา ที่แน่นอนระหว่างฤดูปลูกเพื่อตรวจว่ามีอาการของโรค sweet orange scab ( SOS ) หรืออาการคล้ายโรค SOS หรือไม่ โดยต้องเก็บตัวอย่างที่แสดงอาการน่าสงสัยส่งไปทดสอบที่ห้องปฏิบัติการเพื่อการยืนยันว่าเป็น รา Elsinoë australis ถ้ายืนยันว่าเป็นรา Elsinoë australis NPPO ต้องไม่ขึ้นทะเบียนสวนที่มีการเข้าทา ความเสียหายสาหรับส่งออกผลส้มสดไปยังราชอา ณาจักรไทย 1.3 NPPO ต้องพัฒนาวิธีการตรวจสอบสวนและต้องปรากฏในแผนงาน 1.4 NPPO ต้อง พัฒนาระเบียบ วิ ธีการวินิจฉัยสำหรับ รา Elsinoë australis ทั้งนี้ ต้อง ได้รับการยอมรับจากกรมวิชาการเกษตรและต้องปรากฏในแผนงาน 1.5 NPPO ต้องพัฒนาแนวทางปฏิบัติสา หรับเกษตรกรเกี่ยวกับแผนงานฉีดพ่นสาร ป้องกันกาจัดเชื้อราสาเหตุโรค SOS และการคัดเลือกผลส้มสดสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย ผลส้มสด ที่แสดงอาการของโรคต้องถูกคัดออกให้หมดก่อนมีการขนส่งไปยังโรงคัดบรรจุ ข้อ 2 ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับโรงคัดบรรจุ 2.1 เมื่อผลส้มสดมาถึงโรงคัดบรรจุ ผู้ปฏิบัติงานด้านวิชาการซึ่งได้รับการอบรมจาก NPPO ต้องตรวจสอบโรค SOS ด้วยสายตาบนผลส้มสดทั้งหมด (ร้อยละ 100) 2.2 โรงคัดบรรจุต้องมีผู้ปฏิบัติงานด้านวิชาการ อย่างน้อย 1 คน ซึ่งได้รับการอบรม จาก NPPO เกี่ยวกับการคัดเลือกผลส้ มสดสาหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย 2.3 NPPO ต้องพัฒนาแนวทางปฏิบัติสาหรับผู้ปฏิบัติงานด้านวิชาการเกี่ยวกับการ คัดเลือกผลส้มสดสาหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย ผลส้มสดที่แสดงอาการของโรคต้องถูกคัดออกให้หมด ก่อนมีการบรรจุ หีบห่อ ในโรงคัดบรรจุ ข้อ 3 ผลส้มสดต้ องได้รับการตรวจสอบและลงความเห็นว่าไม่มีอาการของโรค และต้องได้รับ การปฏิบัติหรือบำบัด ดังต่อไปนี้ 3.1 ทำความสะอาดผลส้มสดโดยล้างด้วยน้ำ และ 3.2 ปั ดผลส้มสดด้วยแปรง และ 3.3 ฆ่าเชื้อโรคที่ผิวด้วยการปฏิบัติหรือ การ บำบัดอย่างน้อย 1 วิธี ดังต่ อไปนี้ และ ก . ทำ ใ ห้ ผ ล ส้ ม ส ด เ ปี ย ก อ ย่ำ ง ทั่ ว ถึ ง ด้ ว ย สำ ร ล ะ ลำ ย โ ซ เ ดี ย ม ไ ฮ โ ป คลอไรต์ ( sodium hypochlorite ) ความเข้มข้น 200 ส่วนในล้านส่วน ที่ความเป็นกรดด่างระหว่าง 6 . 0 ถึง 7 . 5 นานอย่างน้อย 2 นาที การปฏิบัติหรือ การ บำบัดต้องเป็นไปตามคาแนะนาที่ระบุบนฉลาก
ข. ทาให้ผลส้มสดเปียกอย่างทั่วถึงด้วยสารละลายที่มีโซเดียม โอ - ฟีนิลฟีเนต ( sodium o - phenyl phenate ) ที่ความเข้มข้นระหว่างร้อยละ 1 . 86 ถึง 2 . 00 ของสารละลายทั้งหมด ถ้าสารละลายนั้นมีฟองที่เกิดจากสบู่หรือสารซักฟอกเห็นได้ชัดเจนให้ทำให้ผลส้มเปียกนาน 45 วินาที ถ้าสารละลายนั้นไม่มีฟองพอที่จะมองเห็นได้ให้ทาให้ผลส้มเปียก นาน 1 นาที การปฏิบัติหรือ การ บาบัดต้อง เป็นไปตามคาแนะนำที่ระบุบนฉลาก ค. ทำให้ผลส้มสดเปียกอย่างทั่วถึงด้วยสารละลายกรดเพอร์ออกซีอะซีติก ( peroxyacetic acid ) ความเข้มข้น 85 ส่วนในล้านส่วน นานอย่างน้ อย 1 นาที การปฏิบัติหรือ การ บาบัดต้อง เป็นไปตามคาแนะนำที่ระบุบนฉลาก