Thu Apr 20 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง แนวทางการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน พ.ศ. 2566


ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง แนวทางการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน พ.ศ. 2566

ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง แนวทางการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดแนวทางการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉินในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้การจ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอานาจตามความในมาตรา 31 วรรคหนึ่ ง และมาตรา 36 (2) แห่งพระราชบัญญัติ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ประกอบข้อ 7 ของเอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกาหนดค่าใช้จ่ายในการดาเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง แนวทางการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ข้อ 3 ในประกาศนี้ “ สานักงาน ” หมายความว่า สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้ ไม่หมายความรวมถึง สำนักงานสาขา “ สถานบริการ ” หมายความว่า สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตามกฎหมาย ว่าด้วยสถานพยาบาล “ ผู้รับบริการ ” หมายความว่า ผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ “ ค่าใช้จ่าย ” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขที่สถานบริการมีสิทธิได้รับจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน เจ็บป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน เจ็บป่วยฉุ กเฉินไม่รุนแรง ข้อ 4 ให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรักษาการตามประกาศนี้ หมวด 1 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ข้อ 5 การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต กรณีผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน และผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง ให้เป็นไปตามข้อบังคับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยการใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขกรณีที่มีเหตุสมควร กรณีอุบัติเหตุ หรือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ้ หนา 111 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

หมวด 2 วิธีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ข้อ 6 ให้สถานบริ การที่ให้บริการบันทึกและส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่าย โดยให้สถานบริการ บันทึกรายละเอียดการขอรับค่าใช้จ่ายตามแบบที่กาหนดและบันทึกข้อมูลผ่าน Web online ( UCEP ) ( Non UCEP ) พร้อมทั้งแนบเอกสารเพื่อเรียกเก็บค่าใช้จ่ายผ่าน Web online ( UCEP ) ( Non UCEP ) ด้วย หรือกรณีที่ไม่สามารถบันทึกและส่งข้อมูลผ่าน Web online ( UCEP ) ( Non UCEP ) ได้ ให้บันทึกข้อมูล เพื่อเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเป็นเอกสาร ทั้งนี้ การส่งข้อมูลและการบันทึกข้อมูลเพื่อเรียกเก็บค่าใช้จ่าย ให้เป็นไปตามที่สำนักงานกำหนด ข้อ 7 การบันทึกและส่ง ข้อมูลเพื่อเรียกเก็บค่าใช้จ่ายผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ที่สถานพยาบาล รับรักษาไว้ค้างคืนภายในระยะเวลาเจ็ดสิบสองชั่วโมง สาหรับผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม หรือกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน หรือจากส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ ห รือหน่วยงานอื่นของรัฐ สานักงานจะตรวจสอบความถูกต้องในการจ่ายค่าใช้จ่าย และสรุปค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งแจ้งให้กองทุนของผู้มีสิทธิทราบ เพื่อจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่สถานพยาบาล ที่ให้บริการในอัตราค่าใช้จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล โดยให้นำความตามข้อ 6 และตามหมวด 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด 3 เงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ข้อ 8 ในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ให้สถานบริการแนบเอกสารที่จาเป็นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาผ่านโปรแกรม UCEP และ Non UCEP หรือตามแนวทางที่สำนักงานกำหนด ข้อ 9 สำนักงานจะดำเนินการพิจารณา และจะจ่ายค่าใช้จ่ายให้หน่วยบริการ ตามที่ประมวลผลได้ ข้อ 10 สำนักงานจะดำเนินการประมวลผลและแจ้งรายงานการจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่ สถานบริการทุกวันที่ 1 และวันที่ 16 ของเดือน ข้อ 11 หากพบความผิดปกติอื่นใดของข้อมูลการเบิกจ่ายของหน่วยบริการนั้น ๆ สานักงาน จะดำเนินการตรวจสอบหลักฐานการให้บริการหากพบความผิดปกติอื่นใดของข้อมูลการเบิกจ่าย ของหน่วยบริการ โดยตรวจสอบหลักฐานการให้บริการ และกาหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบบริการ ทางการแพทย์กรณีผู้ป่วยฉุก เฉินวิกฤต ตามเอกสารหมายเลข 1 และกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน หรือผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง ตามเอกสารหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ ้ หนา 112 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ข้อ 12 สำนักงานจะพิจารณาปฏิเสธการจ่ายค่าใช้จ่าย ในกรณีอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ 12.1 การให้บริการไม่เป็นไปตามหลักเก ณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ตามหมวด 1 12.2 กรณีที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการแล้วพบว่าไม่ผ่านเกณฑ์ การตรวจสอบหลักฐานการให้บริการตามข้อ 11 ประกาศ ณ วันที่ 20 ม กราคม พ.ศ. 25 6 6 จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ้ หนา 113 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

เอกสารหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง แนวทางการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน พ.ศ. 256 6 ลงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2566 เอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการตรวจสอบและเกณฑ์การตรวจสอบการจ่ายค่าใช้จ่าย การให้บริการสาธารณสุข กรณีอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉินตามนโยบาย “ เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่ ” Universal Coverage for Emergency Patients ( UCEP ) 1 . สานักงานจะตรวจสอบจากเอกสารหลักฐานเวชระเบียน หรือหลักฐานการให้บริการที่บันทึก ในแพลตฟอร์ม ( Platform ) อื่น ๆ ตามที่สำนักงานกาหนด ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้ 1 . 1 เอกสารหลักฐานเวชระเบียนผู้ป่วยนอก ที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบครั้งนั้น 1 . 2 เอกสารหลักฐานเวชระเบียนผู้ป่ว ยใน ที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบครั้งนั้น 1 . 2 . 1 แบบบันทึกสรุปการจำหน่าย ( Discharge summary ) 1 . 2 . 2 เอกสารหลักฐานบันทึกการซักประวัติ การตรวจร่างกายของแพทย์ ( history, physical examination, admission note ) และหรือ เอกสารการประเมินต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย เช่น ใบประเมินระบบประสาท NIHSS, Barthel ’ s Index, MRS เป็นต้น 1 . 2 . 3 เอกสารหลักฐานบันทึกความก้าวหน้า ( Progress Note ) ของแพทย์ 1 . 2 . 4 เอกสารหลักฐานบันทึกการสั่งการรักษา ( Doctor ’ s order ) 1 . 2 . 5 เอกสารหลักฐานบันทึกการปรึกษาโรคระหว่างแผนกหรือกลุ่มงานของแพทย์ ( Consultation record ) (ถ้ามี ) 1 . 2 . 6 เอกสารบันทึกวิสัญญี ( Anesthetic record ) (ถ้ามี) 1 . 2 . 7 เอกสารหลักฐานบันทึกการผ่าตัด ( operative note ) หรือ procedure note กรณีผู้ป่วยที่มีการทำหัตถการ 1 . 2 . 8 เอกสารหลักฐานบันทึกการติดตามเฝ้าระวังก่อนคลอด ระหว่างคลอดและ หลังคลอด ( Labour record ) (ถ้ามี) 1 . 2 . 9 เอกสารหลักฐานผลกำรตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือบันทึกผลการตรวจวินิจฉัยต่าง ๆ ทั้งนี้ ผลการตรวจทางรังสีวิทยา ผลการตรวจด้วยเครื่องมือเฉพาะ ควรมีรายงานผลการตรวจวินิจฉัยโดยรังสีแพทย์ หรือแพทย์เฉพาะทาง ตามข้อกำหนดสถานพยาบาลหรือราชวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง 1 . 2 . 10 เอกสารหลักฐานหลักฐานการให้บริการ เช่น การฉีดยา การทำแผล การให้เลือด การให้สารน้า เป็นต้น โดยพบผู้ให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพลงนามกำกับ 1 . 2 . 11 เอกสารหลักฐานบันทึกการให้การฟื้นฟูสมรรถภาพ หรือการทากายภาพบาบัด ( Rehabilitation record ) (ถ้ามี) 1 . 2 . 12 เอกสารหลักฐานบันทึกของบุคค ลากรทางการแพทย์ในการให้บริการ เช่นบันทึก ของเภสัชกร เป็นต้น 1.2.13 เอกสาร…

  • 2 - 1 . 2 . 13 เอกสารหลักฐานบันทึกทางการพยาบาล ( Nurses ’ s note ) 1 . 2 . 14 เอกสารหลักฐานบันทึกสัญญาณชีพหรือฟอร์มปรอท ( Graphic sheet ) 1 . 2 . 15 เอกสารหลักฐานบันทึกการให้ยา ( Medication sheet ) การให้สารน้ำและการให้เลือด Intake - Output sheet 1 . 2 . 16 เอกสารหลักฐานการใช้อุปกรณ์อวัยวะเทียม เช่น sticker หรือ serial number เป็นต้น ในกรณีที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ภายนอกร่างกาย ควรมีหลักฐานการรับ - จ่ายอุปกรณ์อวัยวะเทียม ได้แก่ ใบสั่งยา และบันทึกการรับอุปกรณ์รายบุคคล เป็นต้น 1 . 2 . 17 เอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วย (ถ้ามี) เช่น ใบส่งต่อ ผลการตรวจจากหน่วยบริการอื่น เอกสารการใช้รถส่งต่อ เป็นต้น 1 . 3 เอกสารหลักฐานใบแสดงรายการค่าใช้จ่ายรายวัน ข้อมูลที่ต้องปรากฏ ได้แก่ 1 . 3 . 1 ชื่อสถานพยาบาลหรือหน่วยบริการที่ให้บริการ วันที่ให้บริกา ร 1 . 3 . 2 ข้อมูลชื่อ - สกุลผู้รับบริการ และหรือ HN จานวนเงินที่ขอเบิก และควรมีเลข ประจำตัวประชาชน เพื่อให้สามารถตรวจสอบความถูกต้องของผู้รับบริการ 1 . 3 . 3 รายการในแต่ละรายการที่ขอเบิก ระบุจำนวนของแต่ละรายการ และราคา 1 . 4 Invoice ใบแจ้งหนี้ 1 . 5 ใบ Refer (กรณีรับ Refer จากโรงพยาบาลอื่น) 1 . 6 เอกสารหลักฐานการประเมินความฉุกเฉินจาก สพฉ. 1 . 7 เอกสารหลักฐานการแจ้งเข้ารับบริการให้สานักงานทราบ เพื่อประสานหน่วยบริการ ประจำหรือหน่วยบริการอื่นพิจารณารับย้ายผู้ป่วย 2 . สานักงานจะกาหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบหลักฐาน การจ่ายค่าใช้จ่าย เพื่อ บริการสาธารณสุข ตามแนวทางที่สำนักงานกาหนด ดังนี้ 2 . 1 เป็นการให้บริการผู้ป่วยกรณีอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ตาม ข้อบังคับ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยการใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขกรณีที่มีเหตุสมควร กรณีอุบัติเหตุ หรือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน 2 . 2 หลักเกณฑ์ในการตรว จสอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานับตั้งแต่รับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต จนถึงเวลา 72 ชั่วโมง พิจารณาเอกสารหลักฐานการให้บริการเพื่อประกอบการตรวจสอบการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย จำแนกตามหมวดรายการ ดังนี้ 2 . 2 . 1 หมวดที่ 1 ค่าห้องและค่าอาหาร หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ ดังนี้ ( 1 ) พบคำสั่งแพทย์ให้นอนโรงพยาบาล และคาสั่งแพทย์ในการให้พักรักษาในห้อง ประเภทใด เช่น ห้องสามัญ ห้องผู้ป่วยหนัก ( 2 ) พบหลักฐานการเข้าพักรักษาในห้องแต่ละประเภท เช่น บันทึกทางการพยาบาล เป็นต้น 2.2.2 หมวดที่ 2 …

  • 3 - 2 . 2 . 2 หมวดที่ 2 ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ค่ำใช้จ่ายตามรายการ ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบาบัดรักษาโรค ซึ่งสอดคล้องกับการรักษาและเป็นไปตามลักษณะรายการ อุปกรณ์ตามประกาศ หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ มีดังนี้ ( 1 ) พบบันทึกการสั่งอวัยวะเทียมหรืออุปกรณ์ในการบาบัดรักษาโรค ในเวชระเบียน ที่สอดคล้องกับการวินิจฉัยโรคของแพทย์และหัตถการ ( 2 ) พบหลักฐานการเบิกจ่ายอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ( 3 ) กรณีอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบาบัดรักษาโรคที่ใช้ภายในร่างกาย ต้องมีหลักฐานการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว ได้แก่ บันทึกการสั่ง บันทึกการทาหัตถการและหลักฐานกำรใช้อุปกรณ์ ในเวชระเบียน ลักษณะรายการอุปกรณ์ตรงตามประกาศ 2 . 2 . 3 หมวดที่ 3 ค่ายาและสารอาหารทางเส้นเลือด หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ มีดังนี้ ( 1 ) พบบันทึกการสั่งยาในเวชระเบียน ( 2 ) บันทึกการสั่งยาที่ระบุรายละเอียด ชื่อยา (และหรือขนาด) วิธีใช้ ( 3 ) กรณีมีการสั่งการรักษาผ่านระบบคอมพิวเ ตอร์ ต้องสามารถตรวจสอบได้ว่า เป็นการบันทึกข้อมูลของแพทย์หรือผู้สั่งการรักษาท่านใด และการสั่งการรักษานั้นต้องมีระบบที่ไม่สามารถ ทำย้อนหลังหรือแก้ไขโดยผู้อื่นได้ 2 . 2 . 4 หมวดที่ 5 ค่าเวชภัณฑ์มิใช่ยา ค่าเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา หมายถึง ค่าวัสดุทางการแพทย์ ที่ใช้เพื่อการบาบัดรักษาผู้ป่วย หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ พบหลักฐานบันทึกการสั่งจ่ายเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา หรือการที่ผู้มีสิทธิ์ได้รับเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ตามที่หน่วยบริการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย 2 . 2 . 5 หมวดที่ 6 ค่าบริการโลหิตและส่วนประกอบของโลหิต ค่าจัดการบริการการให้โลหิต หรื อส่วนประกอบของโลหิต เช่น โลหิต ( whole blood ) เม็ดโลหิตแดง ( packed red cell ) พลาสมาสด ( fresh plasma หรือ fresh frozen plasma ) เกล็ดโลหิต ( platelet concentrate ) พลาสมา ( plasma ) โดยให้รวมค่าอุปกรณ์บรรจุน้ายาที่ใช้ในการเตรียมการตรวจทางเทคนิคตลอดจนค่าบริการในกำรให้ด้วย หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ มีดังนี้ ( 1 ) พบบันทึกคาสั่งแพทย์ หรือกรณีมีการสั่งการรักษาผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ต้องสามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นการบันทึกข้อมูลของแพทย์หรือผู้สั่งการรักษาท่านใด และการสั่งการรักษานั้น ต้องมีระบบที่ไม่สามารถทาย้อนหลังหรือแก้ไขโดยผู้อื่นได้ ( 2 ) พบหลักฐานบันทึกการให้โลหิตและส่วนประกอบของโลหิตและใบคล้องเลือด หลักฐานการให้บริการต้องตรงกับประเภทของโลหิตและส่วนประกอบของโลหิตตามที่ขอเบิกชดเชย ( 3 ) จ่ายชดเชยให้ตามจานวนที่จองและใช้จริงเท่านั้น ยกเว้นผู้ป่วยเสียชีวิตหรือ มีบันทึกเหตุผลทางการแพทย์ และได้เบิกจำกธนาคารเลือดแล้ว 2.2.6 หมวดที่ 7 …

  • 4 - 2 . 2 . 6 หมวดที่ 7 ค่าตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคทางการแพทย์และพยาธิวิทยา ค่าบริการ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ค่าตรวจน้าตาลในเลือด ค่าตรวจปัสสาวะ ค่าตรวจชิ้นเนื้อ เป็นต้น หลักเกณฑ์ ในการตรวจสอบ มีดังนี้ ( 1 ) พบบันทึกคาสั่งแพทย์ ( 2 ) พบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือพบบันทึกผลอ่านของแพทย์ ในเวชระเบียน ( 3 ) กรณีส่งตรวจนอกโรงพยาบาลเนื่องจากไม่มีบริการตรวจของโรงพยาบาล ให้มีสาเนาใบส่งตรวจนอกหน่วยบริการเก็บไว้เป็นหลักฐานในเวชระเบียน และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และหรือมีหลักฐานการเรียกเก็บค่า ใช้จ่ายจากหน่วยตรวจ 2 . 2 . 7 หมวดที่ 8 ค่าตรวจวินิจฉัยและรักษาทางรังสีวิทยา ค่าตรวจวินิจฉัยและรักษา ทางรังสี หมายถึง ค่าบริการทางรังสีวิทยาทั้งในการตรวจวินิจฉัยและ การรักษา เช่น การทา X - ray, CT scan, ultrasonography, MRI, radionuclide scan และรังสีรักษาต่าง ๆ เป็นต้ น หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ มีดังนี้ ( 1 ) พบบันทึกคาสั่งแพทย์ในการส่งตรวจครบถ้วนทุกรายการ หรือกรณีมีการสั่ง การรักษาผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ต้องสามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นการบันทึกข้อมูลของแพทย์หรือผู้สั่งการรักษา ท่านใด และการสั่งการรักษานั้นต้องมีระบบที่ไม่สามารถทาย้อนหลังหรือแก้ไขโดยผู้อื่นได้ ( 2 ) พบผลการตรวจวินิจฉัยและรักษาทางรังสีวิทยา หรือพบบันทึกผลอ่าน ของแพทย์ในเวชระเบียน (ต้องพบผล official report ในกรณี CT, MRI, bone density, radionuclide ) หรือ พบผลการตรวจวินิจฉัยและรั กษาทางรังสีวิทยา ( 3 ) กรณีส่งตรวจนอกโรงพยาบาลเนื่องจากไม่มีบริการตรวจของโรงพยาบาล ให้มีสาเนาใบส่งตรวจนอกหน่วยบริการ เก็บไว้เป็นหลักฐานในเวชระเบียน และผลการตรวจวินิจฉัยและรักษา ทางรังสีวิทยา และหรือมีหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากหน่วยที่ตรวจ ( 4 ) ในกรณีที่มีการทา intervention ต้องมีการบันทึกวิธีหรือขั้นตอนการทำหัตถการ และรายงานผลของการทำหัตถการนั้น 2 . 2 . 8 หมวดที่ 9 ค่าตรวจวินิจฉัยโดยวิธีพิเศษอื่น ๆ ค่าตรวจวินิจฉัยโดยวิธีพิเศษอื่น ๆ หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีอื่นนอกเหนือจาก การตรวจทางเทคนิคการแพทย์และพยาธิ วิทยา และรังสีวิทยา เช่น EKG, echocardiography เป็นต้น หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ มีดังนี้ ( 1 ) พบบันทึกคาสั่งแพทย์ ( 2 ) พบผลการตรวจวินิจฉัยโดยวิธีพิเศษอื่น ๆ หรือพบบันทึกผลอ่านของแพทย์ ในเวชระเบียน หรือพบผลการตรวจวินิจฉัย ( 3 ) กรณีส่งตรวจนอกโรงพยาบาลเนื่องจากไม่มีบริการตรวจข องโรงพยาบาล ให้มีสำเนาใบส่งตรวจ 2.2.9 หมวดที่ 10…

  • 5 - 2 . 2 . 9 หมวดที่ 10 ค่าทาหัตถการหมายถึง ค่าบริการตามรายการหัตถการต่าง ๆ ที่เป็น การทำหัตถการ หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ มีดังนี้ ( 1 ) พบบันทึกคาสั่งแพทย์ และหลักฐานการทาหัตถการ ในเวชระเบียนหรือ ใบบันทึกการทำหัตถการ ( 2 ) พบหลักฐานบันทึกรายละเอียดการทาหัตถการ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน วิชาชีพกำหนด 2 . 2 . 10 หมวดที่ 11 ค่าบริการวิสัญญี หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ พบหลักฐานบันทึก รายละเอียดการบริการทางวิสัญญี 2 . 2 . 11 หมวดที่ 12 ค่าบริการวิชาชีพ (แพทย์/เภสัชกร/พยาบาล/อื่น ๆ) ค่าบริการ ของบุคคลากรทาง การแพทย์ในการดูแลรักษา ทำหัตถการหรือให้คำปรึกษา หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ มีดังนี้ ( 1 ) พบหลักฐานการดูแลรักษาของบุคลากรทางการแพทย์ เช่น progress note, nurse note เป็นต้น ( 2 ) พบหลักฐานบันทึกรายละเอียดการทาหัตถการ การให้บริการตามรายการ ที่ขอเบิกชดเชย ( 3 ) ค่าบริการทางการพยาบำล หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ พบบันทึกทางการ พยาบาลที่ให้บริการแก่ผู้ป่วย และพบการลงนามของพยาบาลกำกับ 2 . 2 . 12 หมวดที่ 16 ค่าบริการอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลโดยตรง ค่าบริการ อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลโดยตรง ซึ่งตามประกาศหมายถึงค่าบริการ Ambulance ALS รั บ - ส่ง ผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงรถ Ambulance ALS ตามระยะทาง รวมไป - กลับ หลักเกณฑ์ ในการตรวจสอบ คือพบหลักฐานบันทึกการใช้พาหนะส่งต่อ เช่น ใบขออนุญาต หรือ อนุมัติใช้ยานพาหนะ ของหน่วยบริการ หรือ สถานพยาบาล ที่ระบุจุดหมายปลายทางที่นำส่ง 2 . 3 ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังเวลา 72 ชั่วโมงนับตั้งแต่รับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต กรณีที่ไม่สามารถ ย้ายกลับเข้าหน่วยบริการได้ มีเกณฑ์ในการตรวจสอบดังนี้ 2 . 3 . 1 พบหลักฐานบันทึกของแพทย์ผู้รักษาในการประเมินและมีหลักฐานสนับสนุน ที่แสดงว่าผู้ป่วยว่ายังไม่พ้นภาวะวิกฤต หรือหลักฐำนที่หน่วยบริการเข้ารับบริการให้สำนักงานประสาน หน่วยบริการประจำหรือหน่วยบริการอื่นพิจารณารับย้ายผู้ป่วย แต่ไม่มีเตียงรับย้าย 2 . 3 . 2 เกณฑ์ในการตรวจสอบค่าใช้จ่ายตามรายการ ( 1 ) กรณีที่เป็นรายการที่อยู่ในหมวดรายการตามข้อ 2.2 เกณฑ์การตรวจสอบ ในแต่ละรายการ จะพิจารณาตามเกณฑ์ในข้อ 2.2 ( 2 ) กรณีที่ไม่ได้เป็นรายการที่อยู่ในหมวดรายการตามข้อ 2.2 เกณฑ์ในกา ร ตรวจสอบ ในแต่ละรายการจะพิจารณาตามเกณฑ์ ดังนี้ ค่าบริการทางกายภาพบาบัดและทางเวชกรรมฟื้นฟู หมายถึง ค่าบริการโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ค่าอาชีวบำบัด ค่ากิจกรรมบำบัด และค่าใ ช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการฟื้นฟู หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ พบบันทึกรายละเอียดการบริการแก่ผู้ป่วยในเวชระเบียน ครบถ้วน ทุกรายการ โดยผู้ประกอบวิชาชีพตรงตามสาขาการให้บริการ

เอกสารหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง แนวทางการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน พ.ศ. 256 6 ลงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2566 เอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการตรวจสอบและเกณฑ์การตรวจสอบการจ่ายค่าใช้จ่าย การใ ห้บริการสาธารณสุข กรณีอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน และกรณีอุบัติเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน ไม่รุนแรง 1. สานักงานจะตรวจสอบจากเอกสารหลักฐานเวชระเบียน หรือหลักฐานการให้บริการที่บันทึก ในแพลตฟอร์ม ( Platform ) อื่น ๆ ตามที่สำนักงานกาหนด ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลดั งต่อไปนี้ 1.1 เอกสารหลักฐานเวชระเบียนผู้ป่วยนอก ที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบครั้งนั้น 1.2 เอกสารหลักฐานเวชระเบียนผู้ป่วยใน ที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบครั้งนั้น 1.2.1 แบบบันทึกสรุปการจำหน่าย ( Discharge summary ) 1.2.2 เอกสารหลักฐานบันทึกการซักประวัติ การตรวจร่างกายของแพทย์ ( history, physical examination, admission note ) และหรือ เอกสารการประเมินต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย เช่น ใบประเมินระบบประสาท NIHSS, Barthel ’ s Index, MRS เป็นต้น 1.2.3 เอกสารหลักฐานบันทึกความก้าวหน้า ( Progress Note ) ของแพทย์ 1.2.4 เอกสารหลักฐานบันทึกการสั่งการรักษา ( Doctor ’ s order ) 1.2.5 เอกสารหลักฐานบันทึกการปรึกษาโรคระหว่างแผนกหรือกลุ่มงานของแพทย์ ( Consultation record ) (ถ้ามี) 1.2.6 เอกสารบันทึกวิสัญญี ( Anesthetic record ) (ถ้ามี) 1.2.7 เอกสารหลักฐานบันทึกการผ่าตัด ( operative note ) หรือ procedure note กรณีผู้ป่วยที่มีการทำหัตถการ 1.2.8 เอกสารหลักฐานบันทึกการติดตามเฝ้าระวังก่อนคลอด ระหว่างคลอดและ หลังคลอด ( Labour record ) (ถ้ามี) 1.2.9 เอกสารหลักฐานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือบันทึกผลการตรวจ วินิจฉัยต่าง ๆ ทั้งนี้ ผลการตรวจทางรัง สีวิทยา ผลการตรวจด้วยเครื่องมือเฉพาะ ควรมีรายงานผลการตรวจ วินิจฉัยโดยรังสีแพทย์ หรือแพทย์เฉพาะทาง ตามข้อกำหนดสถานพยาบาลหรือราชวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง 1.2.10 เอกสารหลักฐานหลักฐานการให้บริการ เช่น การฉีดยา การทาแผล การให้เลือด การให้สารน้า เป็นต้น โดยพบผู้ให้บริ การตามมาตรฐานวิชาชีพลงนามกำกับ 1.2.11 เอกสารหลักฐานบันทึกการให้การฟื้นฟูสมรรถภาพ หรือการทากายภาพบาบัด ( Rehabilitation record ) (ถ้ามี) 1.2.12 เอกสารหลักฐานบันทึกของบุคคลากรทางการแพทย์ในการให้บริการ เช่น บันทึกของเภสัชกร เป็นต้น 1.2.12 เอกสาร…

  • 2 - 1.2.13 เอกสารหลักฐานบันทึกทางการพยาบาล ( Nurses ’ s note ) 1.2.14 เอกสารหลักฐานบันทึกสัญญาณชีพหรือฟอร์มปรอท ( Graphic sheet ) 1.2.15 เอกสารหลักฐานบันทึกการให้ยา ( Medication sheet ) การให้สารน้าและ การให้เลือด Intake - Output sheet 1.2.16 เอกสารหลักฐานการใช้อุปกรณ์อวัยว ะเทียม เช่น sticker หรือ serial number เป็นต้น ในกรณีที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ภายนอกร่างกาย ควรมีหลักฐานการรับ - จ่ายอุปกรณ์อวัยวะเทียม ได้แก่ ใบสั่งยา และบันทึกการรับอุปกรณ์รายบุคคล เป็นต้น 1.2.17 เอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วย (ถ้ามี) เช่น ใบส่งต่อ ผลการตรวจจากหน่วยบริการอื่น เป็นต้น 1.3 เอกสารหลักฐานใบแสดงรายการค่าใช้จ่ายรายวัน ข้อมูลที่ต้องปรากฏ ได้แก่ 1.3.1 ชื่อสถานพยาบาลหรือหน่วยบริการที่ให้บริการ วันที่ให้บริการ 1.3.2 ข้อมูลชื่อ - สกุลผู้รับบริการ และหรือ HN จานวนเงินที่ขอเบิก และควรมีเลข ประจำตัวประชาชน เพื่อให้สามารถตรวจสอบความถูกต้องของผู้รับบริการ 1.3.3 ชื่อรายการในแต่ละรายการที่ขอเบิก ระบุจำนวนของแต่ละรายการ และราคา 1.4 Invoice / ใบแจ้งหนี้ 1.5 ใบ Refer (กรณีรับ Refer จากโรงพยาบาลอื่น) 1.6 เอกสารหลักฐานการประเมินความฉุกเฉิน จาก สพฉ. 1.7 เอกสารหลักฐานการแจ้งเข้ารับบริการให้สานักงานทราบ เพื่อประสานหน่วยบริการ ประจำหรือหน่วยบริการอื่นพิจารณารับย้ายผู้ป่วย 2. สำนักงานจะกำหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบสอบหลักฐานการจ่ำยค่าใช้จ่าย เพื่อ บริการ สาธารณสุขตามแนวทางที่สำนักงานกาหนด ดังนี้ 2.1 เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน หรือผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง ตาม ข้อบังคับคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยการใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขกรณีที่มีเหตุสมควร กรณีอุบัติเหตุ หรือ กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน 2.2 หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบค่าใช้จ่ายก่อนแจ้ง 24 ชั่วโมง 2.2 .1 กรณีผู้ป่วยนอก หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบดังนี้ (1) พบเอกสารหลักฐานเวชระเบียนผู้ป่วยนอกที่มีบันทึกการบริการ non UCEP ใน visit ที่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย (2) พบหลักฐานการให้บริการตามรายการที่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งมีแนวทาง ในการพิจารณาตรวจสอบในแต่ละรายการรายการ ตามข้อ 2.4 2.2.2 กรณี…

  • 3 - 2.2.2 กรณีผู้ป่วยใน หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบดังนี้ (1) พบเอกสารหลักฐานเวชระเบียนผู้ป่วยในที่มีบันทึกการบริการ non UCEP ใน admission ที่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย (2) พบเอกสารหลักฐานการให้บริการตามรายการที่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งมี แนวทาง ในการพิจารณาตรวจสอบในแต่ละรายการรายการ ตามข้อ 2.4 (3) พบเอกสารหลักฐานหลักบันทึกการผ่าตัด ( operative note ) ที่เป็นการ ผ่าตัดใหญ่ กรณีที่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายการให้บริการผ่าตัดใหญ่ที่ใช้เวลาในการผ่าตัดไม่เกิน 2 ชั่วโมง (4) พบเอกสารหลักฐานหลักฐานบันทึกการผ่าตัด ( operative note ) ที่เป็นการ ผ่าตัดใหญ่ และมีการบันทึกระยะเวลาของการผ่าตัดที่เกินกว่า 2 ชั่วโมง กรณีที่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย การให้บริการผ่าตัดใหญ่ที่ใช้เวลาในการผ่าตัดเกินกว่า 2 ชั่วโมง (5) พบเอกสารหลักฐานการรักษาพยาบาลและคำสั่งแพทย์ในการให้รักษาในห้อง ผู้ป่ วยหนัก ( Intensive Care Unit : ICU ) กรณีที่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายการบริการรักษาพยาบาลในห้องผู้ป่วยหนัก ( Intensive Care Unit : ICU ) (6) พบหลักฐานการให้บริการตามรายการที่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งมีแนวทาง ในการพิจารณาตรวจสอบในแต่ละรายการรายการ ตามข้อ 2.4 2.3 หลั กเกณฑ์ในการตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังเวลา 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่รับ ผู้ป่วยฉุกเฉิน กรณีที่ไม่สามารถย้ายกลับเข้าหน่วยบริการได้ 2.3.1 พบหลักฐานที่หน่วยบริการเข้ารับบริการให้สำนักงานประสานหน่วยบริการ ประจำหรือหน่วยบริการอื่นพิจารณารับย้ายผู้ป่วย แต่ไม่มีเ ตียงรับย้าย 2.3.2 พบหลักฐานการให้บริการตามรายการที่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งมีแนวทางในการ พิจารณาตรวจสอบในแต่ละรายการรายการ ตามข้อ 2.4 2.4 เกณฑ์ในการพิจารณาเอกสารหลักฐานการให้บริการเพื่อประกอบการตรวจสอบ การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายตามรายการ ดังนี้ 2.4.1 ค่าห้องแ ละค่าอาหาร หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ ดังนี้ (1) พบคำสั่งแพทย์ให้นอนโรงพยาบาล และคำสั่งแพทย์ในการให้พักรักษา ในห้องประเภทใด เช่นห้องสามัญ ห้องผู้ป่วยหนัก เป็นต้น (2) พบหลักฐานการเข้าพักรักษาในห้องแต่ละประเภท เช่น บันทึกทางการพยาบาล เป็นต้น 2.4.2 ค่าอวัยวะเทียมแ ละอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ค่าใช้จ่ายตามรายการ ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบาบัดรักษาโรค ซึ่งสอดคล้องกับการรักษา หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ มีดังนี้ (1 ) พบบันทึกการสั่งอวัยวะเทียมหรืออุปกรณ์ในการบาบัดรักษาโรค ในเวชระเบียน ที่สอดคล้องกับการวินิจฉัยโรคของแพทย์และหัตถการ (2) พบ…

  • 4 - (2) พบหลักฐานการเบิกจ่ายอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบาบัดรักษาโรค (3) กรณีอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบาบัดรักษาโรคที่ใช้ภายในร่างกาย พบหลักฐานการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว ได้แก่ บันทึกการสั่ง บันทึกการทาหัตถการและหลักฐานการใช้อุปกรณ์ ในเวชระเบียน 2.4.3 ค่ายาและสารอาหารทางเส้นเลือด หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ มีดังนี้ (1) พบบันทึกการสั่งยาในเวชระเบียน (2) บันทึกการสั่งยาที่ระบุรายละเอียด ชื่อยา (และหรือขนาด) วิธีใช้ (3) กรณีมีการสั่งการรักษาผ่านระบบค อมพิวเตอร์ ต้องสามารถตรวจสอบได้ ว่าเป็นการบันทึกข้อมูลของแพทย์หรือผู้สั่งการรักษาท่านใด และการสั่งการรักษานั้นต้องมีระบบที่ไม่สามารถ ทำย้อนหลังหรือแก้ไขโดยผู้อื่นได้ 2.4.4 ค่าเวชภัณฑ์มิใช่ยา ค่าเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา หมายถึง ค่าวัสดุทางการแพทย์ที่ใช้ เพื่อการบา บัดรักษาผู้ป่วย หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ พบหลักฐานบันทึกการสั่งจ่ายเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาหรือ การที่ผู้ป่วยได้รับเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ตามรายการที่หน่วยบริการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย 2.4.5 ค่าบริการโลหิตและส่วนประกอบของโลหิต ค่าจัดการบริการการให้โลหิตหรือ ส่วนประกอบของโลหิ ต เช่น โลหิต ( whole blood ) เม็ดโลหิตแดง ( packed red cell ) พลาสมาสด ( fresh plasma หรือ fresh frozen plasma ) เกล็ดโลหิต ( platelet concentrate ) พลาสมา ( plasma ) หลักเกณฑ์ ในการตรวจสอบ มีดังนี้ (1) พบบันทึกคาสั่งแพทย์ หรือกรณีมีการสั่งการรักษาผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ต้องสามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นการบันทึกข้อมูลของแพทย์หรือผู้สั่งการรักษาท่านใด และการสั่งการรักษานั้น ต้องมีระบบที่ไม่สามารถทาย้อนหลังหรือแก้ไขโดยผู้อื่นได้ (2) พบหลักฐานบันทึกการให้โลหิตและส่วนประกอบของโลหิตและใบคล้องเลือด หลักฐานการให้บริการต้องตรงกับประเภ ทของโลหิตและส่วนประกอบของโลหิตตามที่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย (3) จ่ายชดเชยให้ตามจำนวนที่จองและใช้จริงเท่านั้น ยกเว้นผู้ป่วยเสียชีวิต หรือมีบันทึกเหตุผลทางการแพทย์ และได้เบิกจากธนาคารเลือดแล้ว 2.4.6 ค่าตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคทางการแพทย์และพยาธิวิทยา ค่าบริการการตรวจ ทางห้องปฏิบัติการ เช่น ค่าตรวจน้าตาลในเลือด ค่าตรวจปัสสาวะ ค่าตรวจชิ้นเนื้อ เป็นต้น หลักเกณฑ์ในการ ตรวจสอบ มีดังนี้ (1) พบบันทึกคาสั่งแพทย์ (2) พบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือพบบันทึกผลอ่านของแพทย์ ในเวชระเบียน (3) กรณีส่งตรวจนอกโรงพยาบาล เนื่องจากไม่มีบริการตรวจของโรงพยาบาล ให้มีสาเนาใบส่งตรวจนอกหน่วยบริการเก็บไว้เป็นหลักฐานในเวชระเบียน และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และหรือมีหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากหน่วยตรวจ 2.4.7 ค่าตรวจ…

  • 5 - 2.4.7 ค่าตรวจวินิจฉัยและรักษาทางรังสีวิทยา ค่าตรวจวินิจฉั ยและรักษาทางรังสี หมายถึง ค่าบริการทางรังสีวิทยาทั้งในการตรวจวินิจฉัยและ การรักษา เช่น การทำ X - ray, CT scan, ultrasonography, MRI, radionuclide scan และรังสีรักษาต่าง ๆ เป็นต้น หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ ดังนี้ (1) พบบันทึกคาสั่งแพทย์ในการส่งตรวจครบถ้วนทุกรายกำร หรือกรณีมีการสั่ง การรักษาผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ต้องสามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นการบันทึกข้อมูลของแพทย์หรือผู้สั่งการรักษา ท่านใด และการสั่งการรักษานั้นต้องมีระบบที่ไม่สามารถทาย้อนหลังหรือแก้ไขโดยผู้อื่นได้ (2) พบผลการตรวจวินิจฉัยและรักษาทางรังสีวิทยา หรือพบบันทึ กผลอ่าน ของแพทย์ในเวชระเบียน (ต้องพบผล official report ในกรณี CT, MRI, bone density, radionuclide ) หรือ พบผลการตรวจวินิจฉัยและรักษาทางรังสีวิทยา (3) กรณีส่งตรวจนอกโรงพยาบาลเนื่องจากไม่มีบริการตรวจของโรงพยาบาล ให้มีสาเนาใบส่งตรวจนอกหน่วยบริการ เก็บไว้เป็นห ลักฐานในเวชระเบียน และผลการตรวจวินิจฉัยและรักษา ทางรังสีวิทยา และหรือมีหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากหน่วยที่ตรวจ (4 ) ในกรณีที่มีการทา intervention ต้องมีการบันทึกวิธีหรือขั้นตอนการทาหัตถการ และรายงานผลของการทำหัตถการนั้น 2.4.8 ค่าตรวจวินิจฉัยโดยวิธีพิเศษอื่น ๆ ค่าตรวจวินิจฉัยโดยวิธีพิเศษอื่น ๆ หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีอื่นนอกเหนือจาก การตรวจทางเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยา และ รังสีวิทยา เช่น EKG, echocardiography เป็นต้น หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ ดังนี้ (1) พบบันทึก คำสั่งแพทย์ (2) พบผลการตรวจวินิจฉัยโดยวิธีพิเศษอื่น ๆ หรือพบบันทึกผลอ่านของแพทย์ ในเวชระเบียน หรือพบผลการตรวจวินิจฉัย (3) กรณีส่งตรวจนอกโรงพยาบาลเนื่องจากไม่มีบริการตรวจของโรงพยาบาล ให้มีสำเนาใบส่งตรวจ 2.4.9 ค่าทาหัตถการ หมายถึง ค่าบริการเหมาตามรายการหัตถการต่าง ๆ ที่เป็นการ ทำหัตถการ หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ มีดังนี้ (1) พบบันทึกคาสั่งแพทย์ และหลักฐานการทาหัตถการ ในเวชระเบียนหรือ ใบบันทึกการทำหัตถการ ( operative note / procedure ) (2) พบหลักฐานบันทึกการทาหัตถการ ที่มีรายละเอียดการทาหัต ถการ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพกำหนด 2.4.10 ค่าบริการวิสัญญี หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ พบหลักฐานบันทึกรายละเอียด การบริการทางวิสัญญี 2.4.11 ค่าบริการ วิชาชีพ (แพทย์ เภสัชกร พยาบาล หรือ อื่น ๆ) ค่าบริการของบุคคลากร ทางการแพทย์ในการดูแลรักษา ทาหัตถการหรือใ ห้คาปรึกษา หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ พบหลักฐาน การดูแลรักษาของบุคลากรทางการแพทย์ เช่น progress note, nurse note เป็นต้น 2.4.12 ค่าบริการ…

  • 6 - 2.4.12 ค่าบริการทางกายภาพบำบัดและทางเวชกรรมฟื้นฟู หมายถึง ค่าบริการ โดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ค่าอาชีวบาบัด ค่ากิจกรรมบาบัด และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟู หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ พบบันทึกรายละเอียดการบริการแก่ผู้ป่วยในเวชระเบียน ครบถ้วนทุกรายการ โดยผู้ประกอบวิชาชีพตรงตามสาขาการให้บริการ 2.4.13 ค่าบริการทางการพยำบาล หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ พบบันทึกทางการพยาบาล ที่ให้บริการแก่ผู้ป่วย และพบการลงนามของพยาบาลกำกับ 2.4.14 ค่ารถพยาบาลหรือเรือพยาบาล หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบคือ พบหลักฐาน บันทึกการใช้พาหนะส่งต่อ เช่น ใบขออนุญาต หรือ อนุมัติใช้ยานพาหนะของหน่วยบริการ หรือ สถานพยาบาล ที่ระบุจุดหมายปลายทางที่นำส่ง