Thu Apr 20 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง พ.ศ. 2566


ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง พ.ศ. 2566

ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายการให้บริการสาธารณสุข กรณีบริการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้การจ่ายเงินกองทุน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติดาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 ข้อ 20.10.6 ข้อ 40.2.1 (1) และข้ อ 42.2 แห่งประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. 256 5 สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่าย เพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ข้อ 3 ในประกาศนี้ “ สานักงาน ” หมายความว่า สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้ ไม่หมายความรวมถึง สำนักงานสาขา “ ผู้รับบริการ ” หมายความว่า ผู้มีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขตามก ฎหมายว่าด้วย หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ “ หน่วยบริการ ” หมายความว่า สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามกฎหมายว่าด้วย หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ “ ค่าใช้จ่าย ” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขที่หน่วยบริการมีสิทธิได้รับ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชา ติ กรณีบริการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง “ บริการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง ” หมายความว่า การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกผ่านพ้น ภาวะวิกฤติและมีอาการคงที่ แต่ยังคงมีความผิดปกติของร่างกายบางส่วนอยู่ หรือมีข้อจำกัด ในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง จนครบ 6 เดือน ตั้งแต่ในโรงพยาบาลจนถึงบ้านและชุมชน ข้อ 4 ให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรักษาการตามประกาศนี้ ้ หนา 106 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

หมวด 1 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ข้อ 5 บริการดู แลผู้ป่วยระยะกลาง ประกอบด้วย 5.1 บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ระยะกลางแบบผู้ป่วยใน 5.2 บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ระยะกลางแบบผู้ป่วยนอก 5.3 บริการฝังเข็มหรือบริการฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง รายใหม่ที่ต้องฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ระยะกลาง ข้อ 6 การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ ระยะกลางแบบผู้ป่วยใน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ 6.1 เป็นการให้บริการแบบผู้ป่วยในสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หรือผู้ ป่วยบาดเจ็บ ที่ศีรษะและสมอง หรือผู้ป่วยบาดเจ็บทางไขสันหลัง หรือผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักจากภยันตรายชนิดไม่รุนแรง ตามคู่มือหรือแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด 6.2 ผู้รับบริการเป็นผู้ป่วยระยะกลางที่พ้นระยะวิกฤต มีสภาวะทางการแพทย์คงที่ และเป็นผู้ป่วยที่มีค่ำดัชนีบาร์เธลเอดีแอล น้อยกว่า 15 หรือตั้งแต่ 15 แต่มีความบกพร่อง หลายระบบร่วมด้วย 6.3 หน่วยบริการที่มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเป็นหน่วยที่สามารถให้บริการดูแลผู้ป่วย ระยะกลางแบบผู้ป่วยใน ในลักษณะ intermediate care ward หรือ intermediate care bed ตามคู่มือหรือแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด 6.4 สานักงานจะจ่ายค่าใช้จ่าย กรณีบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ระยะกลาง แบบผู้ป่วยใน ตามระบบการวินิจฉัยโรคร่วม ( Diagnostic Related Groups : DRGs ) รุ่นที่ 5 คานวณอัตราจ่ายตามน้าหนักสัมพัทธ์ที่ ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) ซึ่งอัตราที่ได้รับต่อหนึ่งหน่วยสัมพัทธ์ ขึ้นอยู่กับวงเงินที่ได้รับจัดสรรระดับเขต และผลงานการส่งข้อมูลผู้ป่วยในแต่ละเดือน โดยจะได้รับ ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นด้วยอัตรา 8 , 350 บาทต่อหนึ่งหน่วยน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) ก่อนมีการปรับลดค่าแรง ข้อ 7 การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ ระยะกลางแบบผู้ป่วยนอก ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 7.1 เป็นการให้บริการในหน่วยบริการเฉพาะแบบผู้ป่วยนอก หรือนอกหน่วยบริการ สาหรับผู้ป่วยโรคหล อดเลือดสมองหรือผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะและสมองหรือผู้ป่วยบาดเจ็บทางไขสันหลัง หรือผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักจากภยันตรายชนิดไม่รุนแรง ตามคู่มือหรือแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุข กำหนด ้ หนา 107 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

7.2 ผู้รับบริการเป็นผู้ป่วยระยะกลางที่พ้นระยะวิกฤต มีสภาวะทางการแพทย์คงที่ และเป็นผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีบาร์เธลเอดีแอล น้อยกว่า 15 หรือตั้งแต่ 15 แต่มีความบกพร่อง หลายระบบร่วมด้วย 7.3 หน่วยบริการที่มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเป็นหน่วยบริการที่สามารถให้บริการฟื้นฟู สมรรถภาพด้านการแพทย์ระยะกลางแบบผู้ป่วยนอกตามคู่มือหรือแนวทางที่กระ ทรวงสาธารณสุขกำหนด 7.4 สานักงานจะจ่ายค่าใช้จ่ายกรณีบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ระยะกลาง แบบผู้ป่วยนอก สาหรับหน่วยบริการที่ให้บริการกายภาพบาบัด กิจกรรมบาบัด หรือการแก้ไขการพูด ตามความเหมาะสมของผู้รับบริการแต่ละราย หากมีการให้บริการหลายหน่วยบริการให้นับจานวนครั้ง การให้บริการต่อเนื่องกัน ทั้งนี้ บริการกายภาพบาบัดไม่เกิน 20 ครั้ง ภายในระยะเวลา 6 เดือน นับจากวันที่เป็นผู้ป่วยระยะกลาง บริการกิจกรรมบาบัดและการแก้ไขการพูดรวมกันไม่เกิน 10 ครั้ง ภายในระยะเวลา 6 เดือนนับจากวันที่เป็นผู้ป่วยระยะกลาง ในอัตราดังต่อไปนี้ 7.4.1 ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ สาหรับบริการกายภาพบาบัด กิจกรรมบาบัด หรือการแก้ไขการพูด โดยผู้ประกอบโรคศิลปะในแต่ละสาขาที่ตรงกับกิจกรรมบริการ จ่ายตามจริง ไม่เกิน 450 บาทต่อครั้ง 7.4.2 ค่าบริการทางการแพทย์ เพิ่มเติมจากข้อ 7.4.1 สาหรับการให้บริการ ที่บ้าน หรือที่พักอาศัยของผู้ป่วยระยะกลาง ในกรณีผู้รับบริการมีข้อจากัดในการเดินทางมารับบริการ ที่หน่วยบริการ จ่ายตามจริงไม่เกิน 200 บาทต่อครั้ง ข้อ 8 การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุ ข กรณีบริการฝังเข็มหรือบริการฝังเข็ม ร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ ที่ต้องฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ระยะกลาง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 8.1 เป็นการให้บริการฝังเข็มหรือบริการฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้า ควบคู่ไปกับ บริการฟื้ นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ระยะกลาง สาหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ ทั้งแบบ ผู้ป่วยใน หรือผู้ป่วยนอกที่บ้านหรือที่พักอาศัยของผู้ป่วยระยะกลาง ตามแนวทางการจัดบริการฝังเข็ม โรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู ของกระทรวงสาธารณสุข 8.2 ผู้รับบริการเป็นผู้ป่วยระยะ กลางและเป็นผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีบาร์เธลเอดีแอล น้อยกว่า 15 หรือ ตั้งแต่ 15 แต่มีความบกพร่องหลายระบบ ร่วมด้วย ที่ได้รับบริการกายภาพบาบัด ตามข้อ 6 หรือ 7 8.3 หน่วยบริการที่มีสิทธิรับค่าใช้จ่ายเป็นหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนศักยภาพ การให บริการฝังเข็ม หรือบริการฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้า และให้บริการโดยแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรฝังเข็ม 3 เดือน ที่รับรองโดยกระทรวงสาธารณสุข หรือแพทย์แผนจีน ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผ นจีน ้ หนา 108 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

8.4 การให้บริการฝังเข็มในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูรายใหม่ ควรให้บริการอย่างน้อย 1 ถึง 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 10 ครั้ง และประเมินซ้า เมื่อครบ 10 ครั้ง เพื่อพิจารณารักษาต่ออีก 10 ครั้ง รวมเป็น 20 ครั้ง ทั้งนี้ อาจฝังเข็มห่างขึ้น ตามดุลยพินิจของแพทย์ โดยเป็นไปตามแนวทางการจัดบริการฝังเข็มโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู ของกระทรวงสาธารณสุข 8.5 สานักงานจะจ่ายค่าใช้จ่ายกรณีบริการฝังเข็มหรือบริการฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้า ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ตามรำยการและอัตรา ดังนี้ 8.5.1 จ่ายตามรายการบริการในอัตราครั้งละ 150 บาทรวมค่ำเข็ม ค่ากระตุ้นไฟฟำ และค่าบริการทางการแพทย์ไม่เกิน 20 ครั้ง ภายในระยะเวลา 6 เดือนนับจากวันที่ เป็นผู้ป่วยระยะกลาง โดยต้องมีการประเมินและบันทึกค่ำดัชนีบาร์เธลเอดีแอล ร่วมด้วยทุกครั้ง ที่ให้บริการ และหากมีการให้บริการหลายหน่วยบริการให้นับจำนวนครั้งการให้บริการต่อเนื่องกัน 8.5.2 จ่ายตามมาตรฐานบริการ ในอัตรา 1 , 000 บาท เมื่อหน่วยบริการ สามารถให้บริการฝังเข็มหรือบริการฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้าในผู้รับบริการรายเดิมตามข้อ 8.5.1 ครบ 20 ครั้ง เฉพาะในหน่วยบริการเดียวกัน หมวด 2 วิธีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ข้อ 9 ให้หน่วยบริการที่ให้บริการบันทึกและส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่าย หรือส่งข้อมูล ตามชุดข้อมูลมาตรฐานผ่านระบบโปรแกรมบันทึกข้อมูลและประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ ( e - Claim ) มายังสำนักงาน หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบข้อมูลของหน่วยบริการกับสำนักงาน หรือผ่านระบบโปรแกรมอื่นตามที่สำนักงานกำหนด หมวด 3 เงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ข้อ 10 ในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ให้หน่วยบริการจัดให้มีการพิสูจน์ตัวตนของผู้รับบริการเพื่อยืนยันการใช้สิทธิในการ เข้ารับบริการดูแล ผู้ป่วยระยะกลางทุกครั้งตามแนวทางที่สำนักงานกำหนด ยกเว้นการให้บริการประเภทผู้ป่วยใน ข้อ 11 สานักงานจะประมวลผลและแจ้งรายงานการจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยบริการเป็นรายเดือน โดยรายงานการจ่ายค่าใช้จ่ายจะแสดงสถานะข้อมูล ดังนี้ 12.1 ข้อมูลที่ ผ่านการตรวจสอบเบื้องต้น (ข้อมูล A : accept ) สานักงานจะจ่าย ค่าใช้จ่ายให้หน่วยบริการตามที่ประมวลผลได้ สำนักงานจะนำเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบ ก่อนการจ่ายค่าใช้จ่าย ้ หนา 109 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

12.2 ข้อมูลที่ไม่ผ่านจากการตรวจสอบเบื้องต้น (ข้อมูล C : cancel ) หน่วยบริการสามารถแก้ไขและส่งมาในระบบของสำนักงานอีกครั้ง 12.3 ข้อมูลปฏิเสธการจ่าย (ข้อมูล Deny ) หน่วยบริการสามารถขอทบทวน เพื่อขอรับค่าใช้จ่ายตามที่สำนักงานกำหนด ข้อ 12 หากพบความผิดปกติอื่นใดของข้อมูลผลงานหรือการเบิกจ่ายของหน่วยบริการนั้น ๆ สานักงานจะ ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการ โดยตรวจสอบหลักฐาน การให้บริการ ตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ 13 สำนักงานจะพิจารณาปฏิเสธการจ่าย ในกรณีอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ 13.1 การให้บริการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ตามหมวด 1 13.2 ตรวจสอบไม่พบการยืนยันตัวตนของผู้ป่วยเพื่อยืนยันการใช้สิทธิในการเข้ารับบริการ ตามแนวทางที่สำนักงานกำหนด 13.3 กรณีที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการแล้วพบว่าไม่ผ่าน เกณฑ์ การตรวจสอบหลักฐานการให้บริการตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 20 ม กราคม พ.ศ. 25 6 6 จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ้ หนา 110 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

เอกสารแนบท้ายประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง พ.ศ. 256 6 ลงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2566 การตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข และเกณฑ์ในการตรวจสอบเวชระเบียน หรือข้อมูลการให้บริการทางการแพทย์ของหน่วยบริการ สำหรับบริการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง รายการ รายการตรวจสอบหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย และเกณฑ์ในการตรวจสอบเวชระเ บียน 1. กรณีบริการดูแล ผู้ป่วยระยะกลาง แบบผู้ป่วยใน 1 . พบเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ให้บริการในกลุ่มโรคที่สำนักงานกาหนด เป็นกลุ่มเป้าหมาย และเป็นผู้ป่วยระยะกลางที่พ้นระยะวิกฤต มีสภาวะทางการแพทย์คงที่ 2 . พบการวินิจฉัย หลักฐานสนับสนุนการวินิจฉัยกลุ่มโรคที่สำนักงานกาหนด เป็นกลุ่มเป้าหมาย และ ประเมินเป็นผู้ป่วยระยะกลางที่พ้นระยะวิกฤต ที่มีสภาวะทางการแพทย์คงที่ และจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู 3 . เกณฑ์ในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการสาธารณสุข ตามแนวทางการพิจารณาเอกสารประกอบการตรวจสอบเวชระเบียน กรณีผู้ป่วยใน ตามหนังสือแนวทางกา รตรวจสอบเอกสารหลักฐาน การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ร่วม 3 กองทุน 4 . ตรวจสอบรหัสโรคและหัตถการตามแนวทางมาตรฐานในการให้รหัสโรคและ หัตถการ กรณีที่จ่ายตามระบบการวินิจฉัยโรคร่วม ( Diagnostic Related Groups : DRGs ) 5 . พบเอกสารหลักฐานเวชระเบียนที่มีบันทึกการ ประเมิน Barthel Score หรือ ADL ที่น้อยกว่า 15 หรือ ค่า Barthel Score หรือ ADL เท่ากับหรือมากกว่า 15 แต่มีความบกพร่องหลายระบบร่วมด้วย 6 . พบเอกสารหลักฐานเวชระเบียนที่มีบันทึกการบริการฟื้นฟู 2. กรณีบริการฟ นฟู สมรรถภาพด้าน การแพทย์ระยะ กลาง แบบผู้ป่วย นอก 1 . พบเอกสารหลักฐานเวชระเบียนที่หลักฐานสนับสนุนและการวินิจฉัยกลุ่มโรค ที่สำนักงานกำหนดเป็นกลุ่มเป้าหมาย 2 . พบเอกสารหลักฐานเวชระเบียนที่มีบันทึกของแพทย์ในการวินิจฉัย และ ประเมินเป็นผู้ป่วยระยะกลางที่พ้นระยะวิกฤตที่มีสภาวะทางการแพทย์คงที่ และจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูพบเอกสารหลักฐานเวชระเบียนที่มีบันทึก การประเมิน Barthel Score หรือ ADL ที่น้อยกว่า 15 หรือ ค่า Barthel Score หรือ ADL เท่ากับหรือมากกว่า 15 แต่มีความบกพร่องหลายระบบ ร่วมด้วย

รายการ รายการตรวจสอบหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย และเกณฑ์ในการตรวจสอบเวชระเ บียน 3 . พบเอกสารหลักฐานการให้บริการตามกิจกรรมที่หน่วยบริการเรีย กเก็บ ค่าใช้จ่าย หลักฐานการให้บริการดังกล่าวมีบันทึก สถานที่ของการให้บริการ รายละเอียดของกิจกรรม ระยะเวลาของการให้บริการในแต่ละครั้ง และลงลายมือชื่อของ บุคลากร ที่มีคุณสมบัติตามที่สำนักงานกำหนด ในการให้บริการ ทั้งนี้ จำนวนครั้งของการให้บริการและช่วงเวลาที่ให้ บริการ เป็นไปตามที่สำนักงานกำหนด 3. กรณีบริการ ฝังเข็มหรือ บริการฝังเข็ม ร่วมกับกระตุ้น ไฟฟ้าในผู้ป่วย โรคหลอดเลือด สมองรายใหม่ ที่ ต้องฟื้นฟู สมรรถภาพ ทางการแพทย์ ระยะกลาง 1 . ตรวจสอบพบการให้บริการในผู้ป่วยที่มีโรค และภาวะของโรคตามที่สำนักงาน กำหนด 2 . ตรวจสอบพบหลักฐานการให้บริการและกิจกรรมบริการ ที่มีลายมือชื่อ ของ บุคลากร ที่ให้บริการ ที่มีคุณสมบัติตามที่สำนักงานกำหนด ตามจำนวนครั้ง ที่หน่วยบริการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ จำนวนครั้งและช่วงเวลา ของการให้บริการเป็นไปตามที่สำนักงานกำหนด 3 . ตรวจสอบพบหลักฐานการให้ บริการที่มีการบันทึกการให้บริการ รายละเอียด ตำแหน่ง และ ระยะเวลาของการให้บริการในแต่ละครั้ง โดยต องมีการประเมิน และบันทึกคำ Barthel ADL index ร่วมด้วยทุกครั้งที่ให บริการ 4 . ตรวจสอบพบหลักฐานการให้บริการแก่ผู้ป่วยรายเดิมครบ 20 ครั้ง ในหน่วยบริการเดียวกัน และพบหลักฐานการประเมินและบันทึกคำ Barthel index ( BI ) ร่วมด้วยทุกครั้งที่ให บริการ ในกรณีที่จำยตามมาตรฐานบริการ ในอัตรา 1 , 000 บาท