Thu Apr 20 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ระเบียบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 497 ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง


ระเบียบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 497 ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง

ระเบียบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 497 ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง โดยที่เห็นสมควรปรับปรุงระเบียบ กฟผ . ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง เพื่อให้ทันสมัยและสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติในปัจจุบัน อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 และข้อ 5 แห่งข้อบังคับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 389 ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 497 ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม พ . ศ . 2566 เป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิก ( 1 ) ระเบียบ กฟผ . ฉบับที่ 356 ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับ การพาณิชย์โดยตรง ( 2 ) ระเบียบ กฟผ . ฉบับที่ 385 ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับ การพาณิชย์โดยตรง ( แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ) ( 3 ) ระเบียบ กฟผ . ฉบับที่ 399 ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับ การพาณิชย์โดยตรง ( แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ) ( 4 ) ระเบียบ กฟผ . ฉบับที่ 437 ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับ การพาณิชย์โดยตรง ( แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 3 ) ( 5 ) ระเบียบ กฟผ . ฉบับที่ 440 ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับ การพาณิชย์โดยตรง ( แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 4 ) ( 6 ) ระเบียบ กฟผ . ฉบับที่ 448 ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับ การพาณิชย์โดยตรง ( แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 5 ) ( 7 ) ระเบียบ กฟผ . ฉบับที่ 460 ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับ การพาณิชย์โดยตรง ( แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 6 ) ( 8 ) ระเบียบ กฟผ . ฉบับที่ 461 ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับ การพาณิชย์โดยตรง ( แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 7 ) ( 9 ) ระเบียบ กฟผ . ฉบับที่ 470 ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับ การพาณิชย์โดยตรง ( แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 8 ) ้ หนา 2 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( 10 ) ระเบียบ กฟผ . ฉบับที่ 475 ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับ การพาณิชย์โดยตรง ( แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 9 ) บรรดาระเบียบปฏิบัติอื่นใดในส่วนที่ได้กําหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือที่ขัดหรือแย้ง กับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 4 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดหา การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุ ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐว่าด้วยหลักเกณฑ์ การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง และที่คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐจะประกาศเพิ่มเติม เว้นแต่การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารเชื้อเพลิง ให้ผู้ว่าการหรือรองผู้ว่าการแต่ละสายงานเป็นผู้กําหนดรายละเอียดของงานที่เกี่ยวกับ การพาณิชย์โดยตรงตามวรรคหนึ่ง หมวด 1 ข้อกําหนดทั่วไป ข้อ 5 ในระเบียบนี้ ( 1 ) “ สัญญา ” หมายความว่า สัญญาซื้อขาย สัญญาจ้าง สัญญาจ้างที่ปรึกษา สัญญาเช่า อสังหาริมทรัพย์ สัญญาเช่าสังหาริมทรัพย์ สัญญาเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ สัญญาลีสซิ่ง ใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง ข้อตกลง ทั้งในรูปแบบที่เป็นหนังสือ หรือที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวกับการซื้อขาย การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา การเช่าอสังหาริมทรัพย์ การเช่าสังหาริมทรัพย์ การเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ และการลีสซิ่ง ซึ่งโดยปกติให้ทําเป็นภาษาไทย แต่ในกรณีจําเป็นจะทําเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ ( 2 ) “ เงินพึงได้ ” หมายความว่า เงินค่าพัสดุ ค่าจ้าง ค่าเช่า ค่าเช่าซื้อ หรือค่าลีสซิ่ง ที่คู่สัญญาจะได้รับจาก กฟผ . ทั้งนี้ ไม่ว่าจากสัญญาใดก็ตาม ( 3 ) “ หลักประกันการเสนอราคา ” หมายความว่า หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ที่ผู้เสนอราคาให้ กฟผ . ไว้ เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตนได้เสนอไว้ ( ก ) เงินสด เงินโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของ กฟผ . หรือเงินโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร ของ กฟผ . ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามวิธีการที่รองผู้ว่าการการเงินและบัญชี (CFO) กําหนด ( ข ) ดราฟท์ เช็คที่ธนาคารรับรอง (Certified Cheque) หรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย (Cashier Cheque) ซึ่งเป็นดราฟท์หรือเช็คลงวันที่ที่ยื่นต่อ กฟผ . หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน 15 วัน ( ค ) พันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตร กฟผ . หรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ําประกันเงินต้น และดอกเบี้ยซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เสนอราคาโดยชอบด้วยกฎหมาย ( ง ) หนังสือค้ําประกันของธนาคารในประเทศ ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( จ ) หนังสือค้ําประกันของบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาต ให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ําประกันตามประกาศของธนาคาร แห่งประเทศไทย ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ทราบ หนังสือค้ําประกันตาม ( ง ) และ ( จ ) จะต้องมีเงื่อนไขระบุให้ธนาคารในประเทศหรือ บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์รับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ในหนี้ที่ค้ําประกันโดยมิต้องให้ กฟผ . เรียกร้องจากผู้เสนอราคาก่อน และธนาคารในประเทศหรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ยังคงผูกพันในความรับผิดนั้น แม้ว่า กฟผ . จะได้ผ่อนเวลาชําระหนี้หรือผ่อนผันการปฏิบัติตามเงื่อนไข ที่ผู้เสนอราคาได้เสนอไว้ให้แก่ผู้เสนอราคา โดยมิจําต้องได้รับความยินยอมจากธนาคารในประเทศ หรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ผู้ค้ําประกัน หนังสือค้ําประกันตาม ( ง ) และ ( จ ) จะต้องมีกําหนดเวลาไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่ กฟผ . กําหนดไว้ ( ฉ ) หนังสือค้ําประกันอิเล็กทรอนิกส์ ตามวิธีการที่รองผู้ว่าการการเงินและบัญชี (CFO) กําหนด ( 4 ) “ หลักประกันสัญญา ” หมายความว่า หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ที่คู่สัญญา ให้ กฟผ . ไว้ เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติตามสัญญา ( ก ) เงินสด เงินโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของ กฟผ . หรือเงินโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร ของ กฟผ . ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามวิธีการที่รองผู้ว่าการการเงินและบัญชี (CFO) กําหนด ( ข ) ดราฟท์ เช็คที่ธนาคารรับรอง (Certified Cheque) หรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย (Cashier Cheque) ซึ่งเป็นดราฟท์หรือเช็คลงวันที่ที่ยื่นต่อ กฟผ . หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน 15 วัน ( ค ) พันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตร กฟผ . หรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ําประกันเงินต้น และดอกเบี้ยซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของคู่สัญญาโดยชอบด้วยกฎหมาย ( ง ) หนังสือค้ําประกันของธนาคารในประเทศ ( จ ) หนังสือค้ําประกันของบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาต ให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ําประกันตามประกาศของธนาคาร แห่งประเทศไทย ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ทราบ หนังสือค้ําประกันตาม ( ง ) และ ( จ ) จะต้องมีเงื่อนไขระบุให้ธนาคารในประเทศหรือ บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์รับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ในหนี้ที่ค้ําประกันโดยมิต้องให้ กฟผ . เรียกร้องจากคู่สัญญาก่อน และธนาคารในประเทศหรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ยังคงผูกพัน ในความรับผิดนั้น แม้ว่า กฟผ . จะได้ผ่อนเวลาชําระหนี้หรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่คู่สัญญา โดยมิจําต้องได้รับความยินยอมจากธนาคารในประเทศหรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ผู้ค้ําประกัน หนังสือค้ําประกันตาม ( ง ) และ ( จ ) จะต้องมีกําหนดเวลาไม่น้อยกว่าระยะเวลา ที่คู่สัญญาต้องปฏิบัติและหรือผูกพันรับผิดตามสัญญา ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( ฉ ) หนังสือค้ําประกันอิเล็กทรอนิกส์ ตามวิธีการที่รองผู้ว่าการการเงินและบัญชี (CFO) กําหนด ( 5 ) “ หลักประกันการรับเงินล่วงหน้า ” หมายความว่า หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ที่คู่สัญญาให้ กฟผ . ไว้ เพื่อเป็นหลักประกันการรับเงินล่วงหน้าจาก กฟผ . ( ก ) หนังสือค้ําประกันของธนาคารในประเทศ ( ข ) หนังสือค้ําประกันของบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาต ให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ําประกันตามประกาศของธนาคาร แห่งประเทศไทย ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ทราบ หนังสือค้ําประกันตาม ( ก ) และ ( ข ) จะต้องมีเงื่อนไขระบุให้ธนาคารในประเทศหรือ บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์รับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ในหนี้ที่ค้ําประกันโดยมิต้องให้ กฟผ . เรียกร้องจากคู่สัญญาก่อน และธนาคารในประเทศหรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ยังคงผูกพันในความรับผิดนั้น แม้ว่า กฟผ . จะได้ผ่อนเวลาชําระหนี้หรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่ คู่สัญญา โดยมิจําต้องได้รับความยินยอมจากธนาคารในประเทศหรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ผู้ค้ําประกัน ( 6 ) “ ระบบงานองค์กร (ERP)” หมายความว่า ระบบงานพัสดุและจัดหาซึ่งได้กําหนดขั้นตอนต่าง ๆ ในการวิเคราะห์ การควบคุม การให้บริการ การจัดหา การบัญชี และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานพัสดุ และจัดหา ( 7 ) “ หน่วยงานผู้ใช้งาน ” หมายความว่า ผู้ใช้งานพัสดุหรืองานจ้าง ผู้จัดทําราคากลาง หรือผู้จัดทําบันทึกการขอซื้อหรือการขอจ้าง ( 8 ) “ คณะกรรมการพิจารณาผลการจัดซื้อจัดจ้าง ” หมายความว่า คณะกรรมการพิจารณา ผลการสอบราคา คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา คณะกรรมการซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษ หรือคณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก รวมถึงผู้ทําหน้าที่จัดซื้อจัดจ้างและจ้างที่ปรึกษา ในกรณีที่การจัดซื้อจัดจ้างครั้งนั้นไม่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ( 9 ) “ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ” หมายความว่า ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ . ศ . 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ คํานิยามใดที่มีกําหนดไว้แล้วในข้อบังคับ กฟผ . ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ให้นําคํานิยามนั้นมาใช้บังคับในระเบียบนี้ด้วย ข้อ 6 การประชุมของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทํางาน รวมถึงการประชุม ของผู้มีอํานาจ ตามระเบียบนี้ อาจประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามแนวทาง การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อดําเนินกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ที่ออกตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ . ศ . 2560 โดยอนุโลม ข้อ 7 การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในระเบียบนี้ ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ . ศ . 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 8 การตรวจรับพัสดุหรืองานจ้างในระเบียบนี้ สามารถตรวจรับโดยลงลายมือชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ข้อ 9 ให้รองผู้ว่าการบริหารมีอํานาจในเรื่อง ดังต่อไปนี้ ( 1 ) แก้ไขเพิ่มเติมแบบพิมพ์และกําหนดเพิ่มเติมแบบพิมพ์เกี่ยวกับระเบียบนี้ได้ เว้นแต่ แบบพิมพ์ใบเสร็จรับเงินตามหมวด 21 ให้เป็นไปตามแบบที่รองผู้ว่าการการเงินและบัญชี (CFO) กําหนด ( 2 ) วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ ให้เสนอรองผู้ว่าการ เพื่อพิจารณาอนุมัติเป็นคราว ๆ ไป ( ก ) การจ่ายเงินล่วงหน้านอกเหนือจากหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 7 ส่วนที่ 7 และหมวด 8 ( ข ) การปฏิบัตินอกเหนือจากหลักเกณฑ์ในเรื่องการให้หน่วยงานภายนอกยืมพัสดุ ตามหมวด 29 และการยืมพัสดุจากหน่วยงานภายนอก ตามหมวด 30 ( 3 ) พิจารณากําหนดคู่มือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง ข้อ 10 ให้รองผู้ว่าการการเงินและบัญชี (CFO) มีอํานาจกําหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับ การคืนหลักประกันสัญญาตามระเบียบนี้ หมวด 2 การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริต ข้อ 11 เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง กฟผ . จะจัดให้ภาคประชาชน และผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างของ กฟผ . ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ ( 1 ) การจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินงบประมาณตั้งแต่ 1 , 000 , 000 , 000 บาทขึ้นไป ให้มีการจัดทํา ข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ตามแนวทางและวิธีการที่คณะกรรมการความร่วมมือป้องกัน การทุจริตประกาศกําหนด ( 2 ) การจ้างก่อสร้างที่มีวงเงินงบประมาณตั้งแต่ 500 , 000 , 000 บาทขึ้นไป ให้เข้าร่วมโครงการ ความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (Infrastructure Transparency Initiative: CoST) ตามแนวทาง และวิธีการที่คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตประกาศกําหนด ( 3 ) หลักเกณฑ์อื่นตามที่ผู้ว่าการกําหนด ้ หนา 6 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

หมวด 3 ราคากลาง ข้อ 12 การจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบนี้ ให้มีการจัดทําราคากลางและเผยแพร่ไว้ ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของ กฟผ . และของกรมบัญชีกลางด้วย ( 1 ) การจัดซื้อจัดจ้างที่มีราคาครั้งละไม่เกิน 50 , 000 , 000 บาท ให้หน่วยงานผู้ใช้งาน เป็นผู้กําหนดราคากลาง ( 2 ) การจัดซื้อจัดจ้างที่มีราคาครั้งละเกิน 50 , 000 , 000 บาท ให้มีคณะกรรมการกําหนดราคากลาง และเสนอผู้มีอํานาจอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการกําหนดราคากลาง ดังนี้ ( ก ) ผู้อํานวยการฝ่าย สําหรับการจัดซื้อจัดจ้างที่มีราคาครั้งละไม่เกิน 200 , 000 , 000 บาท ( ข ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สําหรับการจัดซื้อจัดจ้างที่มีราคาครั้งละเกิน 200 , 000 , 000 บาท ( 3 ) คณะกรรมการกําหนดราคากลางต้องมีจํานวนอย่างน้อย 3 คน โดยให้มีผู้ปฏิบัติงาน ระดับ 8 ขึ้นไปอย่างน้อย 1 คน ทั้งนี้ คณะกรรมการดังกล่าวจะต้องมีจํานวนไม่ต่ํากว่ากึ่งหนึ่ง ของจํานวนกรรมการที่ได้แต่งตั้งไว้ จึงจะดําเนินการตามหน้าที่ที่กําหนดไว้ได้ ( 4 ) การคํานวณราคากลางให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ ( ก ) ราคาที่ได้ตามหลักเกณฑ์ที่รองผู้ว่าการกําหนด ( ข ) ราคาตามมาตรฐานที่สํานักงบประมาณกําหนด ( ค ) ราคาตามที่หน่วยงานกลางอื่นกําหนด ( ง ) ราคาที่ได้มาจากการสืบราคาจากท้องตลาด ( จ ) ราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ ในกรณีที่มีราคาตาม ( ก ) ให้ใช้ราคาตาม ( ก ) ก่อน ในกรณีที่ไม่มีราคาตาม ( ก ) แต่มีราคาตาม ( ข ) ให้ใช้ราคาตาม ( ข ) ก่อน ในกรณีที่ไม่มีราคาตาม ( ก ) และ ( ข ) ให้ใช้ราคา ตาม ( ค ) ( ง ) หรือ ( จ ) โดยจะใช้ราคาตาม ( ค ) ( ง ) หรือ ( จ ) ให้คํานึงถึงประโยชน์ของ กฟผ . เป็นสําคัญ ( 5 ) ให้ผู้กําหนดราคากลางหรือคณะกรรมการกําหนดราคากลางมีหน้าที่ ดังนี้ ( ก ) คํานวณราคากลางงานซื้อ หรืองานจ้าง หรืองานจ้างที่ปรึกษา ตามเอกสารกําหนดขอบเขต ของงาน (Terms of Reference : TOR) และตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด แล้วเสนอขออนุมัติราคากลาง ไปพร้อมกับขั้นตอนขอผู้มีอํานาจให้ความเห็นชอบบันทึกการขอซื้อหรือการขอจ้างตามข้อ 24 และสําเนาให้ผู้มีอํานาจอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการกําหนดราคากลางเพื่อทราบ ก่อนส่งหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง ดําเนินการต่อไป ( ข ) พิจารณาปรับปรุงราคากลางก่อนวันเปิดซองสอบราคา หรือซองประกวดราคา กรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะด้านเทคนิคของพัสดุ หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลง แบบรูปหรือรายละเอียดด้านเทคนิคของงานจ้าง หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดอื่น ๆ หรือมีเหตุจําเป็น ้ หนา 7 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ซึ่งมีผลกระทบทําให้ราคากลางเปลี่ยนแปลง ให้เสนอขออนุมัติผู้มีอํานาจให้ความเห็นชอบบันทึกการขอซื้อ หรือการขอจ้างตามข้อ 24 เพื่อพิจารณาอนุมัติและสําเนาให้ผู้มีอํานาจอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการ กําหนดราคากลางเพื่อทราบ ก่อนส่งหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างดําเนินการต่อไป ( ค ) ชี้แจงกรณีที่ผลการจัดซื้อจัดจ้างมีราคาแตกต่างจากราคากลางตั้งแต่ร้อยละ 15 ขึ้นไป ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการจัดซื้อจัดจ้างทราบ โดยใช้ราคากลางเป็นฐานในการคํานวณ ( ง ) แต่งตั้งคณะทํางานเพื่อคํานวณราคากลางการจัดซื้อจัดจ้างได้ตามที่เห็นสมควร ( 6 ) การจัดซื้อจัดจ้างกรณีดังต่อไปนี้ ไม่ต้องดําเนินการตาม ( 1 ) - ( 5 ) ( ก ) งานก่อสร้างโรงไฟฟ้า ( ข ) งานก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้า ( ค ) งานก่อสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ( ง ) งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูง ( จ ) การซื้อที่ดิน การจัดทําราคากลางสําหรับการจัดซื้อจัดจ้างข้างต้น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่รองผู้ว่าการ พิจารณากําหนด ทั้งนี้ ต้องกําหนดให้มีการชี้แจงกรณีที่ผลการจัดซื้อจัดจ้างมีราคาแตกต่างจากราคากลาง ตั้งแต่ร้อยละ 15 ขึ้นไป โดยใช้ราคากลางเป็นฐานในการคํานวณ ยกเว้นการจัดซื้อที่ดิน ( 7 ) การเปิดเผยข้อมูลราคากลางและรายละเอียดการคํานวณราคากลางตามหลักเกณฑ์ใน ( 4 ) ให้หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างเปิดเผยกรณีที่มีวงเงินเกินกว่า 500 , 000 บาท ในระบบเครือข่ายสารสนเทศ ของ กฟผ . และของกรมบัญชีกลาง โดยถือปฏิบัติ ดังนี้ ( ก ) กรณีการซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคาหรือวิธีประกวดราคา ให้เปิดเผยราคากลาง และรายละเอียดการคํานวณราคากลาง พร้อมกับการประกาศเชิญชวน โดยให้ประกาศจนถึงวันที่ผู้มีอํานาจ อนุมัติการซื้อหรือการจ้างมีคําสั่งรับคําเสนอซื้อหรือจ้าง หรือเมื่อพ้น 30 วันนับแต่วันที่คณะกรรมการ พิจารณาผลหรือผู้มีอํานาจหน้าที่พิจารณาผลเสนอความเห็นต่อผู้มีอํานาจอนุมัติการซื้อหรือการจ้าง แล้วแต่ระยะเวลาใดถึงกําหนดก่อน กรณีมีการนําร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดของพัสดุที่จะทําการซื้อหรือการจ้าง และร่างประกาศประกวดราคาเผยแพร่เพื่อรับฟังความคิดเห็น ให้ประกาศราคากลางพร้อมกับร่างดังกล่าว ( ข ) กรณีการซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษ หรือการจ้างที่ปรึกษา หรือการซื้อที่ดิน ให้เปิดเผยราคากลางและรายละเอียดการคํานวณราคากลางภายใน 7 วันทําการนับแต่วันที่ผู้มีอํานาจ ได้เห็นชอบบันทึกการขอซื้อหรือการขอจ้าง หรืออนุมัติการซื้อหรือการจ้าง หรืออนุมัติการซื้อที่ดิน ในกรณีที่ต้องจัดซื้อจัดจ้างเร่งด่วนซึ่งไม่สามารถประกาศก่อนการสั่งซื้อสั่งจ้างได้ ให้ประกาศพร้อมกับการสั่งซื้อสั่งจ้าง เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย หรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ อันเป็นเหตุให้ไม่สามารถดําเนินการได้ ให้ประกาศภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการสั่งซื้อสั่งจ้าง โดยให้ประกาศเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน ้ หนา 8 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( ค ) กรณีที่มีการปรับปรุงราคากลางตามข้อ 12 ( 5 ) ( ข ) ให้นําราคากลางที่ปรับปรุง แล้วเผยแพร่อีกครั้งหนึ่ง หมวด 4 การคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประกอบการหรือพัสดุ (Pre-Qualification : PQ) ข้อ 13 กรณีหน่วยงานจะดําเนินการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประกอบการหรือพัสดุ (Pre-Qualification : PQ) สามารถดําเนินการได้ 2 กรณี คือ ( 1 ) การคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประกอบการหรือพัสดุระยะสั้น มีการกําหนดอายุ ในการขึ้นทะเบียนไม่เกิน 3 ปี ( 2 ) การคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประกอบการหรือพัสดุระยะยาว ไม่มีการกําหนดอายุ ในการขึ้นทะเบียน ข้อ 14 ในการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประกอบการหรือพัสดุ ให้หน่วยงานที่ต้องการ จะคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประกอบการหรือพัสดุจัดทํารายงานขออนุมัติรองผู้ว่าการ โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ ( 1 ) เหตุผลและความจําเป็นที่ต้องจัดทําการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประกอบการหรือพัสดุ ( 2 ) ประเภทและรายละเอียดของพัสดุหรืองาน ( 3 ) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ขั้นต่ํา เช่น ประสบการณ์ และผลงานที่ผ่านมา เครื่องจักร เครื่องมือและโรงงานผู้ผลิต เป็นต้น ( 4 ) หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือก ( 5 ) ระยะเวลาในการกําหนดให้มีการเปิดรับการขึ้นทะเบียนใหม่ รวมทั้งระยะเวลาในการกําหนด ให้มีการทบทวนรายชื่อผู้ประกอบการหรือพัสดุที่ผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประกอบการ หรือพัสดุ สําหรับการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประกอบการหรือพัสดุตามข้อ 13 ( 2 ) ( 6 ) แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประกอบการหรือพัสดุ อย่างน้อย 3 คน โดยมีผู้ปฏิบัติงานระดับ 10 อย่างน้อย 1 คน ทั้งนี้ หากจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทําเอกสารคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น ของผู้ประกอบการหรือพัสดุ ให้รองผู้ว่าการกําหนดหลักเกณฑ์หรืออนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าว ข้อ 15 ในการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประกอบการหรือพัสดุ เมื่อหน่วยงานได้ประเภท ของผู้ประกอบการหรือพัสดุที่จะดําเนินการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประกอบการหรือพัสดุแล้ว ให้หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างดําเนินการ ดังนี้ ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( 1 ) จัดทําประกาศเชิญชวนให้ผู้สนใจรับเอกสารการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประกอบการ หรือพัสดุ พร้อมกําหนดวันที่ยื่นข้อเสนอ โดยปิดประกาศเชิญชวน ณ ที่ทําการของ กฟผ . และเผยแพร่ไว้ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของ กฟผ . ( 2 ) รับข้อเสนอตามวันและเวลาที่กําหนด ( 3 ) ส่งข้อเสนอและเอกสารการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประกอบการหรือพัสดุ ให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประกอบการหรือพัสดุ ดําเนินการคัดเลือก ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดและเสนอรองผู้ว่าการอนุมัติรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น ของผู้ประกอบการหรือพัสดุ ( 4 ) ประกาศรายชื่อผู้ประกอบการหรือพัสดุที่ผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประกอบการ หรือพัสดุ เพื่อขึ้นทะเบียนไว้ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของ กฟผ . ข้อ 16 การคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประกอบการหรือพัสดุตามข้อ 13 ( 2 ) ต้องกําหนดให้มีการเปิดรับการขึ้นทะเบียนใหม่พร้อมแจ้งหลักเกณฑ์การคัดเลือกทุกครั้ง รวมทั้งให้มีการทบทวน รายชื่อผู้ประกอบการหรือพัสดุที่ผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น ในระยะเวลาอันสมควร ข้อ 17 การเพิกถอนรายชื่อผู้ประกอบการหรือพัสดุที่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประกอบการ หรือพัสดุออกจากทะเบียนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้ ให้เสนอรองผู้ว่าการเพื่อพิจารณาอนุมัติ ( 1 ) เป็นผู้ทิ้งงานตามประกาศทางราชการหรือประกาศ กฟผ . ( 2 ) เป็นคู่สัญญาที่ กฟผ . บอกเลิกสัญญาหรือเป็นผู้มีผลงานบกพร่องล้มเหลวจนก่อให้เกิด ความเสียหายต่อ กฟผ . ( 3 ) พัสดุที่มีข้อบกพร่องที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขและมีผลต่อการพิจารณาคุณสมบัติในการเสนอราคา (Pending Claim) ( 4 ) พัสดุที่มีข้อบกพร่องไม่สามารถใช้งานในระบบ หรือมีข้อบกพร่องในการใช้งานจนเกิด ความเสียหายต่อ กฟผ . ( 5 ) หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่รองผู้ว่าการกําหนดหรืออนุมัติ โดยให้หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างแจ้งผลการเพิกถอนให้ผู้ประกอบการที่ถูกเพิกถอนรายชื่อ หรือพัสดุรับทราบ และปรับปรุงทะเบียนรายชื่อผู้ประกอบการหรือพัสดุที่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้น ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของ กฟผ . หมวด 5 การจัดทําแผนการจัดซื้อจัดจ้าง ข้อ 18 การจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเกิน 5 , 000 , 000 บาท ให้มีการจัดทําแผนการจัดซื้อจัดจ้าง ประจําปี โดยให้หน่วยงานที่มีความต้องการจะขอซื้อหรือขอจ้างจัดทําแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจําปี เสนอผู้อํานวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไปเพื่อขอความเห็นชอบ ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

แผนการจัดซื้อจัดจ้างประจําปี ให้ประกอบด้วยรายการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ชื่อโครงการที่จะจัดซื้อจัดจ้าง ( 2 ) วงเงินที่จะจัดซื้อจัดจ้างโดยประมาณ ( 3 ) ระยะเวลาที่คาดว่าจะจัดซื้อจัดจ้าง เมื่อผู้อํานวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไปให้ความเห็นชอบแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจําปี ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุประกาศเผยแพร่แผนดังกล่าวในระบบเครือข่ายสารสนเทศ ของ กฟผ . และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของ กฟผ . ยกเว้นกรณีจําเป็นเร่งด่วน หรืออาจกระทบต่อการแข่งขันในเชิงธุรกิจ หากรองผู้ว่าการเห็นสมควรจะไม่ประกาศแผนก็ได้ ข้อ 19 ในกรณีที่หน่วยงานที่มีความต้องการจะขอซื้อหรือขอจ้างมีความจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลง แผนการจัดซื้อจัดจ้างประจําปี ให้จัดทํารายงานพร้อมระบุเหตุผลที่ขอเปลี่ยนแปลงเสนอผู้อํานวยการฝ่าย หรือเทียบเท่าขึ้นไปเพื่อขอความเห็นชอบ และเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วให้ดําเนินการตามข้อ 18 วรรคสาม ต่อไป หมวด 6 การจัดทําบันทึกรายงานผลการพิจารณา ข้อ 20 เมื่อสิ้นสุดกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในแต่ละครั้ง ให้มีการบันทึกรายงานผลการพิจารณา รายละเอียดวิธีการและขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบตามรายการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) บันทึกการขอซื้อหรือการขอจ้าง ( 2 ) เอกสารเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ ของพัสดุที่จะซื้อหรืองานที่จะจ้าง และผลการพิจารณาในครั้งนั้น ( ถ้ามี ) ( 3 ) ประกาศประกวดราคาหรือประกาศสอบราคา เอกสารประกวดราคา หรือเอกสารสอบราคา ประกาศราคากลาง ( ถ้ามี ) หรือหนังสือเชิญชวน และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ( 4 ) ข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอทุกราย ( 5 ) บันทึกสรุปผลการพิจารณาการจัดซื้อจัดจ้าง และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ( 6 ) ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้าง ( 7 ) สัญญารวมทั้งการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ( ถ้ามี ) ( 8 ) บันทึกรายงานผลการตรวจรับพัสดุหรืองานจ้าง การจัดซื้อจัดจ้างใดจะต้องมีเอกสารหลักฐานใดให้เป็นไปตามวิธีการจัดซื้อจัดจ้างนั้น ทั้งนี้ การจัดซื้อจัดจ้างที่ได้ดําเนินการผ่านระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้เอกสารที่จัดทํา ในระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์เป็นเอกสารประกอบบันทึกรายงานผลการพิจารณาตามวรรคหนึ่งได้ ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

หมวด 7 การซื้อหรือการจ้าง ส่วนที่ 1 การขอซื้อและการขอจ้าง ข้อ 21 การขอซื้อและการขอจ้างในหมวดนี้ หมายความรวมถึง การขอซื้อหรือการขอจ้าง สําหรับการซื้อ การจ้าง และการจ้างที่ปรึกษา ข้อ 22 ก่อนการขอซื้อหรือการขอจ้างให้หน่วยงานตรวจสอบรายการพัสดุสํารองคลัง และพัสดุในระบบการจัดซื้อด้วยตนเอง (Self Service Procurement) หากไม่มีให้ทําการขอซื้อ หรือการขอจ้างตามข้อ 23 และผ่านระบบงานองค์กร (ERP) ข้อ 23 การขอซื้อหรือการขอจ้าง ให้หน่วยงานผู้ใช้งานดําเนินการจัดทําบันทึกการขอซื้อ หรือการขอจ้าง โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ( 1 ) เหตุผลและความจําเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง ( 2 ) ขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุหรือแบบรูปรายการงานก่อสร้าง ที่จะซื้อหรือจ้าง แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างขอบเขตของงาน หรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุหรือแบบรูปรายการงานก่อสร้างที่จะซื้อหรือจ้าง ให้รองผู้ว่าการ ขึ้นไปกําหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าว ( 3 ) ราคากลางของพัสดุที่จะซื้อหรืองานจ้าง ( ที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ) ( 4 ) วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งนั้น ( ที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ) ถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าวให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่าจะซื้อหรือจ้างในครั้งนั้น ( 5 ) กําหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้นหรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ ( 6 ) วิธีที่จะซื้อหรือจ้างและเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้างโดยวิธีนั้น ( 7 ) หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอตามข้อ 35 ( 8 ) ข้อเสนออื่น ๆ ( ถ้ามี ) การขอซื้อหรือการขอจ้างที่มีวงเงินไม่เกิน 500 , 000 บาท จะกําหนดรายละเอียดในการขอซื้อ หรือการขอจ้างเฉพาะรายการที่กําหนดใน ( 1 ) ( 2 ) ( 3 ) และ ( 4 ) ก็ได้ ข้อ 24 ให้ผู้ปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ มีอํานาจให้ความเห็นชอบบันทึกการขอซื้อหรือการขอจ้าง ( 1 ) หัวหน้าแผนกขึ้นไปของหน่วยงานผู้ใช้งาน ภายในวงเงินครั้งละไม่เกิน 5 , 000 , 000 บาท ( 2 ) หัวหน้ากองขึ้นไปของหน่วยงานผู้ใช้งาน ภายในวงเงินครั้งละไม่เกิน 20 , 000 , 000 บาท ( 3 ) ผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปของหน่วยงานผู้ใช้งาน ภายในวงเงินครั้งละไม่เกิน 100 , 000 , 000 บาท ( 4 ) ผู้ช่วยผู้ว่าการขึ้นไป ภายในวงเงินครั้งละไม่เกิน 200 , 000 , 000 บาท ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( 5 ) รองผู้ว่าการ ภายในวงเงินครั้งละเกิน 200 , 000 , 000 บาท ในกรณีการซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษซึ่งวงเงินเกิน 500 , 000 บาท จะต้องได้รับความเห็นชอบ จากผู้มีอํานาจใน ( 3 ) ( 4 ) หรือ ( 5 ) แล้วแต่กรณี ข้อ 25 เมื่อได้รับความเห็นชอบการขอซื้อหรือการขอจ้างจากผู้มีอํานาจตามข้อ 24 แล้ว ให้ส่งหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างดําเนินการต่อไป ข้อ 26 การขอซื้อหรือการขอจ้างทําครุภัณฑ์ที่ระบุรายการไว้ในงบประมาณ เมื่องบประมาณ ได้รับอนุมัติแล้ว ให้หน่วยงานระดับแผนกขึ้นไปทําการขอซื้อหรือขอจ้างไปยังหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อดําเนินการต่อไป ข้อ 27 การขอซื้อหรือการขอจ้างทําครุภัณฑ์ที่มิได้ระบุรายการไว้ในงบประมาณ ให้ปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ในเรื่องการบริหารงบประมาณ ทั้งนี้ เว้นแต่การขอซื้อหรือการขอจ้างทําครุภัณฑ์ ซึ่งในสัญญาที่ กฟผ . ทําไว้กับคู่สัญญา มีเงื่อนไขกําหนดให้ครุภัณฑ์นั้นต้องตกเป็นกรรมสิทธิ์ ของคู่สัญญาภายหลังงานเสร็จแล้ว ส่วนที่ 2 คณะกรรมการดําเนินการซื้อหรือจ้าง คณะกรรมการตรวจรับ และผู้ควบคุมงาน ข้อ 28 ให้มีคณะกรรมการดําเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีสอบราคา วิธีประกวดราคา หรือวิธีพิเศษ และให้มีผู้ปฏิบัติงานของฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุร่วมเป็นกรรมการด้วยทุกครั้ง ดังนี้ ( 1 ) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา ให้มีคณะกรรมการรับและเปิดซองสอบราคา และคณะกรรมการพิจารณาผลการสอบราคา หรือจะแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลการสอบราคาชุดเดียว โดยให้ทําหน้าที่เปิดซองสอบราคาด้วยก็ได้ ( 2 ) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกวดราคา ให้มีคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา และคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ( 3 ) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษที่มีวงเงินครั้งละเกิน 5 , 000 , 000 บาท ให้มีคณะกรรมการซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษ ข้อ 29 การซื้อหรือการจ้างทุกครั้ง ให้มีคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือคณะกรรมการ ตรวจรับงานจ้าง เว้นแต่การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคา หรือการซื้อหรือการจ้างในกรณีฉุกเฉิน และจําเป็นตามข้อ 49 ในวงเงินครั้งละไม่เกิน 500 , 000 บาท ให้มีผู้ตรวจรับพัสดุหรือผู้ตรวจรับงานจ้าง อย่างน้อย 1 คน ซึ่งมิใช่ผู้ซื้อหรือผู้จ้างครั้งนั้น ข้อ 30 ให้ผู้ปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ มีอํานาจแต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินการซื้อหรือจ้าง คณะกรรมการตรวจรับ หรือผู้ตรวจรับพัสดุหรืองานจ้าง ( 1 ) ผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปที่มีอํานาจอนุมัติการซื้อหรือการจ้าง ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( 2 ) ผู้อํานวยการฝ่ายที่มีหน้าที่รับผิดชอบหน่วยงานพัสดุ เฉพาะการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับ หรือผู้ตรวจรับพัสดุหรืองานจ้าง ( 3 ) ผู้ปฏิบัติงานอื่นนอกจากที่กล่าวใน ( 1 ) ที่มีอํานาจอนุมัติการซื้อหรือการจ้างภายในวงเงิน อํานาจอนุมัติของตน ทั้งนี้ เว้นแต่การซื้อหรือการจ้างที่อยู่ในอํานาจอนุมัติของคณะกรรมการ กฟผ . ให้เสนอผู้ช่วย ผู้ว่าการขึ้นไปเพื่อแต่งตั้งกรรมการดังกล่าว ข้อ 31 คณะกรรมการดําเนินการซื้อหรือจ้าง และคณะกรรมการตรวจรับแต่ละคณะ จะต้องมีจํานวนอย่างน้อย 3 คน คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ให้มีผู้ปฏิบัติงานระดับ 8 ขึ้นไป อย่างน้อย 1 คน คณะกรรมการคณะอื่นนอกจากคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ให้มีผู้ปฏิบัติงาน ระดับ 4 ขึ้นไปอย่างน้อย 1 คน และสําหรับคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาครั้งใด ที่กําหนดให้มีการวางหลักประกันการเสนอราคา ให้มีผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานบัญชีหรือหน่วยงานการเงิน ร่วมเป็นกรรมการด้วยทุกครั้ง คณะกรรมการดังกล่าวจะต้องมีจํานวนไม่ต่ํากว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการที่ได้แต่งตั้งไว้ จึงจะดําเนินการตามที่กําหนดไว้ได้ ข้อ 32 งานจ้างใดที่มีความจําเป็นต้องมีผู้ควบคุมงานเพื่อควบคุมการปฏิบัติงานของคู่สัญญา ให้ผู้ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบงานนั้นดังต่อไปนี้ แต่งตั้งผู้ควบคุมงานคนหนึ่งหรือหลายคนได้ตามความจําเป็น ( 1 ) ผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไป หรือหัวหน้าหน่วยงานสูงสุดของโครงการ ( 2 ) ผู้ปฏิบัติงานอื่นนอกจาก ( 1 ) ที่มีอํานาจอนุมัติการจ้าง ทั้งนี้ ภายในวงเงินอํานาจอนุมัติของตน ส่วนที่ 3 การดําเนินการซื้อหรือการจ้าง ข้อ 33 การซื้อหรือการจ้าง โดยปกติกระทําได้ 4 วิธี คือ ( 1 ) วิธีตกลงราคา ( 2 ) วิธีสอบราคา ( 3 ) วิธีประกวดราคา ( 4 ) วิธีพิเศษ การซื้อหรือการจ้างตามวิธีดังกล่าวข้างต้นสามารถใช้วิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ และใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แทนข้อมูลเอกสารหนังสือหรือข้อความที่จําเป็นต้องใช้ในการซื้อหรือการจ้างทุกขั้นตอนก็ได้ ข้อ 34 การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคา ให้ติดต่อตกลงราคากับผู้ขายหรือผู้รับจ้างโดยตรง ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ข้อ 35 ในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโดยวิธีประกวดราคา สอบราคา หรือการเสนอราคา ที่มีผู้เข้าร่วมเสนอราคาตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป ให้ดําเนินการโดยพิจารณาถึงประโยชน์ของ กฟผ . และวัตถุประสงค์ของการใช้งานเป็นสําคัญ โดยให้คํานึงถึงเกณฑ์ราคาและพิจารณาเกณฑ์อื่นประกอบด้วย ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ประสิทธิภาพและอายุการใช้งาน ( 2 ) ต้นทุนราคาพัสดุและค่าใช้จ่ายที่สําคัญตลอดอายุการใช้งาน ( 3 ) ค่าความสูญเสียพลังงานไฟฟ้า ( 4 ) มาตรฐานของสินค้าหรือบริการ ( 5 ) บริการหลังการขาย ( 6 ) พัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน ( 7 ) การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้เสนอราคา ( 8 ) ข้อเสนอด้านเทคนิคหรือข้อเสนออื่นในกรณีที่กําหนดให้มีการยื่นข้อเสนอด้านเทคนิค หรือข้อเสนออื่นก่อนตามวรรคท้าย ( 9 ) เกณฑ์อื่นตามที่รองผู้ว่าการกําหนด ในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ กรณีใช้เกณฑ์ราคา ให้ซื้อหรือจ้างจากผู้ที่เสนอราคาเปรียบเทียบต่ําสุด โดยพิจารณาจากราคาที่เสนอประกอบกับราคาที่คํานวณได้จากเกณฑ์อื่น ๆ ข้างต้น ในกรณี ที่ไม่อาจกําหนดราคาที่คํานวณได้จากเกณฑ์อื่นประกอบให้ใช้ราคาที่เสนอในการพิจารณาคัดเลือก กรณีใช้เกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่น ให้เลือกใช้อย่างน้อยเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งหรือหลายเกณฑ์ ข้างต้นก็ได้ ประกอบกับเกณฑ์ราคา และต้องกําหนดน้ําหนักของแต่ละเกณฑ์ให้ชัดเจน รวมทั้งการให้คะแนน พร้อมด้วยเหตุผลของการให้คะแนนในแต่ละเกณฑ์ เมื่อพิจารณาข้อเสนอประกอบกับเกณฑ์ ที่ใช้ในการพิจารณาแล้ว การพิจารณาเลือกข้อเสนอให้จัดเรียงลําดับตามคะแนน ข้อเสนอใดที่มีคะแนนสูงสุด ให้ซื้อหรือจ้างกับผู้เสนอรายนั้น ทั้งนี้ ให้หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างประกาศเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาคัดเลือก และน้ําหนักของแต่ละเกณฑ์ไว้ในเอกสารสอบราคาหรือเอกสารประกวดราคา แล้วแต่กรณีด้วย ในกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่มีลักษณะที่จะต้องคํานึงถึงเทคโนโลยีของพัสดุ หรือคุณสมบัติ ของผู้ยื่นข้อเสนอ หรือกรณีอื่นที่ทําให้มีปัญหาในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ อาจกําหนดให้มีการยื่นข้อเสนอ ด้านเทคนิคหรือข้อเสนออื่นก่อนการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอก็ได้ ข้อ 36 ประกาศสอบราคาหรือประกาศประกวดราคา หรือเอกสารสอบราคาหรือเอกสารประกวดราคา ให้มีรายการและเงื่อนไขตามที่ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุกําหนด ทั้งนี้ ในเอกสารสอบราคา หรือเอกสารประกวดราคาจะต้องมีรายการและเงื่อนไขดังต่อไปนี้ กําหนดให้ชัดเจน ( 1 ) กฟผ . สงวนสิทธิ์ที่จะตัดสิทธิ์ผู้เสนอราคารายใดที่ปรากฏว่ามีผู้ปฏิบัติงาน กฟผ . เข้าไปมีส่วนร่วมทั้งในฐานะผู้กระทําการหรือผู้ร่วมงาน ยกเว้นในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานนั้นเข้าไปมีส่วนร่วม ทั้งในฐานะผู้กระทําการหรือผู้ร่วมงานที่ กฟผ . มีคําสั่งให้ไปปฏิบัติงาน ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( 2 ) ในกรณีที่การซื้อหรือการจ้างครั้งใดมีรายละเอียดที่มีความซับซ้อน หรือมีความจําเป็น โดยสภาพของการซื้อหรือการจ้างที่จะต้องมีการชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่ ให้กําหนดวัน เวลา และสถานที่ในการชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่ในเอกสารสอบราคาหรือเอกสารประกวดราคา ในกรณีที่หน่วยงานใดมีความจําเป็นต้องกําหนดรายการและเงื่อนไขในการซื้อหรือการจ้างเป็นการเฉพาะ ก็ให้พิจารณาดําเนินการได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบปฏิบัติที่ กฟผ . ใช้บังคับ ข้อ 37 การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา ให้ปิดประกาศสอบราคา ณ ที่ทําการของ กฟผ . ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของ กฟผ . และของกรมบัญชีกลาง และหรือส่งเอกสารสอบราคาไปยัง ผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทํางานนั้นโดยตรงให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ หากเห็นสมควรจะประกาศด้วยวิธีอื่น อีกก็ได้ การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง จะต้องกระทําก่อนวันเปิดซองสอบราคาไม่น้อยกว่า 3 วัน ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากผู้มีอํานาจอนุมัติการซื้อหรือการจ้างให้ดําเนินการในระยะเวลาที่แตกต่างจาก ที่กําหนดดังกล่าวได้ ข้อ 38 การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกวดราคา ให้ดําเนินการ ดังนี้ ( 1 ) การเผยแพร่ร่างขอบเขตของงาน ( ก ) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกวดราคาที่มีวงเงินเกิน 20 , 000 , 000 บาท ให้หัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่รับผิดชอบหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง เผยแพร่ร่่างขอบเขตของงาน หรือรายละเอียดของพัสดุที่จะทําการซื้อหรือการจ้างและร่างประกาศประกวดราคาพร้อมทั้งราคากลาง ไว้ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของ กฟผ . และของกรมบัญชีกลาง เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วัน เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความคิดเห็นมายัง กฟผ . โดยเปิดเผยตัว ( ข ) กรณีที่มีผู้มีความคิดเห็น ให้หัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่รับผิดชอบหน่วยงาน จัดซื้อจัดจ้างพิจารณาส่งเรื่องให้หน่วยงานผู้ใช้งานตามข้อ 23 พิจารณาว่า สมควรดําเนินการปรับปรุง แก้ไขหรือไม่ โดยให้ดําเนินการ ดังนี้ - กรณีพิจารณาแล้วเห็นว่าควรปรับปรุง ให้หน่วยงานผู้ใช้งานตามข้อ 23 จัดทํารายงานพร้อมความเห็น และร่างเอกสารที่ปรับปรุงแล้ว เสนอขอความเห็นชอบจากผู้มีอํานาจ ตามข้อ 24 เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้ส่งให้หัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่รับผิดชอบ หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างนําร่างเอกสารที่ปรับปรุงแล้วเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของ กฟผ . และของกรมบัญชีกลาง อีกครั้งหนึ่ง เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วัน และให้หัวหน้าแผนก หรือเทียบเท่าขึ้นไปที่รับผิดชอบหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างแจ้งผู้มีความคิดเห็นทุกรายทราบเป็นหนังสือ - กรณีพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ควรปรับปรุง ให้หน่วยงานผู้ใช้งานตามข้อ 23 จัดทํารายงานพร้อมความเห็นเสนอขอความเห็นชอบจากผู้มีอํานาจตามข้อ 24 เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้ส่งให้หัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่รับผิดชอบหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างแจ้งผู้มีความคิดเห็นทุกรายทราบ เป็นหนังสือ ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( ค ) กรณีมีความจําเป็นที่ไม่อาจประกาศร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดของพัสดุ ที่จะทําการซื้อหรือการจ้างและร่างประกาศประกวดราคาได้ ให้หน่วยงานผู้ใช้งานตามข้อ 23 เสนอขอความเห็นชอบจากรองผู้ว่าการ ( 2 ) ส่งประกาศประกวดราคาให้กรมประชาสัมพันธ์ ( 3 ) ปิดประกาศประกวดราคา ณ ที่ทําการของ กฟผ . ในระบบเครือข่ายสารสนเทศ ของ กฟผ . และของกรมบัญชีกลาง และส่งประกาศประกวดราคาไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทํางานนั้น โดยตรงให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ หากเห็นสมควรจะประกาศด้วยวิธีอื่นอีกก็ได้ การดําเนินการตาม ( 2 ) และ ( 3 ) ให้กระทําไปพร้อมกับการให้หรือการขายเอกสารประกวดราคา การให้หรือการขายเอกสารประกวดราคา ต้องกระทําไม่น้อยกว่า 7 วันและจะต้องมีช่วงเวลา สําหรับการคํานวณราคาของผู้ประสงค์จะเข้าเสนอราคาหลังปิดการให้หรือการขายเอกสารประกวดราคา จนถึงก่อนวันรับซองประกวดราคาไม่น้อยกว่า 3 วัน โดยคํานึงถึงขนาด ปริมาณ และลักษณะ ของพัสดุที่จะซื้อหรืองานที่จะจ้าง หลักประกันการเสนอราคา ให้กําหนดมูลค่าเป็นจํานวนเต็มในอัตราร้อยละ 5 ของวงเงินงบประมาณ ที่จัดซื้อจัดจ้างครั้งนั้น ( ที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ) เว้นแต่การจัดซื้อจัดจ้างที่หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง หรือหน่วยงานผู้ใช้งานแล้วแต่กรณีเห็นว่ามีความสําคัญเป็นพิเศษจะกําหนดมูลค่าเป็นจํานวนเต็ม ในอัตราสูงกว่าร้อยละ 5 แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ก็ได้ การกําหนดหลักประกันการเสนอราคาจะต้ องระบุไว้ เป็ นเงื่อนไขในเอกสารเชิญชวน ให้เข้ายื่นข้อเสนอด้วย ในกรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอวางหลักประกันการเสนอราคาที่มีมูลค่าสูงกว่าที่กําหนดไว้ในเอกสารเชิญชวน ให้อนุโลมรับได้ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ยื่นข้อเสนอ ไม่ต้องวางหลักประกันการเสนอราคา การกําหนดอัตราหลักประกันการเสนอราคานอกเหนือจากอัตราที่กําหนดไว้ ให้เสนอรองผู้ว่าการ พิจารณาเป็นกรณีไป ข้อ 39 ก่อนถึงวันรับซองสอบราคาหรือซองประกวดราคา หากมีความจําเป็นที่จะต้อง กําหนดรายละเอียดเพิ่มเติมหรือมีการชี้สถานที่อันเป็นการแก้ไขคุณลักษณะเฉพาะที่เป็นสาระสําคัญ ซึ่งมิได้กําหนดไว้ในเอกสารสอบราคาหรือเอกสารประกวดราคาตั้งแต่ต้น ให้เสนอขออนุมัติผู้ปฏิบัติงาน ตามข้อ 41 และจัดทําเป็นเอกสารสอบราคาหรือเอกสารประกวดราคาเพิ่มเติม โดยระบุวัน เวลา และสถานที่ในการชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่ไว้ด้วย และให้ดําเนินการตามข้อ 37 วรรคหนึ่ง หรือข้อ 38 ( 2 ) และ ( 3 ) แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม รวมทั้งให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ที่ได้รับ หรือได้ซื้อเอกสารสอบราคาหรือเอกสารประกวดราคาไปแล้วทุกรายทราบโดยมิชักช้า ถ้ามีการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้พิจารณาเลื่อนวัน เวลารับซอง การปิดการรับซอง และการเปิดซองสอบราคาหรือซองประกวดราคา ตามความจําเป็นแก่กรณีด้วย ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ข้อ 40 การชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่ตามข้อ 36 ( 2 ) และข้อ 39 ให้ผู้รับผิดชอบ จัดทําบันทึกการชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่เป็นลายลักษณ์อักษรไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง ข้อ 41 ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมเอกสารสอบราคาหรือเอกสารประกวดราคา หรือในกรณีที่มีความจําเป็นต้องยกเลิกการสอบราคาหรือประกวดราคาก่อนวันรับซองสอบราคา หรือซองประกวดราคา ให้เสนอขออนุมัติผู้ปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปที่มีอํานาจอนุมัติการซื้อหรือการจ้าง ( 2 ) ผู้ปฏิบัติงานอื่นนอกจากที่กล่าวใน ( 1 ) ที่มีอํานาจอนุมัติการซื้อหรือการจ้างภายในวงเงิน อํานาจอนุมัติของตน ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีเป็นอํานาจอนุมัติของคณะกรรมการ กฟผ . ให้เสนอขออนุมัติผู้ช่วยผู้ว่าการ ขึ้นไป ข้อ 42 ให้คณะกรรมการรับและเปิดซองสอบราคา หรือคณะกรรมการรับและเปิดซอง ประกวดราคา มีหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) รับซองสอบราคาหรือซองประกวดราคา และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ ในเอกสารสอบราคาหรือเอกสารประกวดราคา พร้อมทั้งพัสดุตัวอย่างแคตตาล็อกหรือแบบรูป และรายการละเอียด ( ถ้ามี ) ภายในระยะเวลาที่กําหนด ( 2 ) ตรวจสอบหลักประกันการเสนอราคา เฉพาะคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา ( 3 ) ลงลายมือชื่อกํากับไว้บนหน้าซองสอบราคาหรือซองประกวดราคาทุกซอง ( 4 ) เมื่อพ้นกําหนดเวลารับซองแล้ว ให้เปิดซองและอ่านแจ้งราคาของผู้เสนอราคาทุกราย โดยเปิดเผย และบันทึกราคาลงในรายงานหรือบัญชีเปรียบเทียบราคา และให้ลงลายมือชื่อกํากับไว้ ในใบเสนอราคาและเอกสารประกอบใบเสนอราคาเพื่อเป็นหลักฐาน ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับการประกวดราคาที่กําหนดให้ยื่นซอง 2 ซอง แยกเป็นซองข้อเสนอ ด้านเทคนิค และซองข้อเสนอด้านราคา ( 5 ) เมื่อได้ดําเนินการตาม ( 4 ) แล้ว ให้ส่งมอบใบเสนอราคาทั้งหมด และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ต่อคณะกรรมการพิจารณาผลการสอบราคา หรือคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา และในกรณี ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทําการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมก่อนหรือขณะที่มีการเปิด ซองสอบราคาหรือประกวดราคา ให้รายงานเรื่องดังกล่าวไปพร้อมกับการส่งมอบเอกสารดังกล่าวด้วย ข้อ 43 การสอบราคาที่แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลการสอบราคาชุดเดียว โดยไม่ได้แต่งตั้ง คณะกรรมการรับและเปิดซองสอบราคา หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทําการขัดขวางการแข่งขันราคา อย่างเป็นธรรมก่อนหรือขณะที่มีการรับซองสอบราคา ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับซองสอบราคา รายงานเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการพิจารณาผลการสอบราคาเพื่อดําเนินการต่อไป ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ข้อ 44 ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการสอบราคา หรือคณะกรรมการพิจารณาผล การประกวดราคา มีหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) ในกรณีการสอบราคาที่แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลการสอบราคาชุดเดียว โดยไม่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการรับและเปิดซองสอบราคา ให้มีหน้าที่ตามข้อ 42 ( 4 ) ด้วย ( 2 ) ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ในการตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง ให้ตรวจสอบรายชื่อผู้บริหารและรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ของผู้เสนอราคาแต่ละรายว่าเป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน หรือมีผู้เสนอราคารายใดกระทําการ อันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หากปรากฏว่ามีผู้เสนอราคาเป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน หรือกระทําการอันเป็น การขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ให้ตัดรายชื่อผู้เสนอราคาดังกล่าวทุกรายออกจากการ เป็นผู้เสนอราคาในการเสนอราคาในครั้งนั้น ( 3 ) พิจารณาพัสดุตัวอย่างและสิ่งประกอบอื่น ๆ ( ถ้ามี ) และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้ตรงตามที่แจ้งไว้ในเอกสารสอบราคาหรือเอกสารประกวดราคา ( 4 ) กรณีประกวดราคาแบบ 2 ซองสําหรับงานที่มีรายละเอียดซับซ้อน และต้องคํานึงถึงเทคโนโลยี ของพัสดุ โดยกําหนดให้ผู้เข้าประกวดราคายื่นซองเทคนิคและซองราคาแยกกัน แต่เสนอมาพร้อมกัน เมื่อพิจารณาซองเทคนิคเสร็จสิ้นแล้วให้เสนอความเห็นต่อผู้มีอํานาจอนุมัติการซื้อหรือการจ้าง เว้นแต่ในกรณี เป็นอํานาจอนุมัติของคณะกรรมการ กฟผ . ให้เสนอผู้ว่าการ เพื่อขออนุมัติรับข้อเสนอซองเทคนิค และขออนุมัติเปิดซองราคา พร้อมทั้งแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้เสนอราคาที่ไม่ผ่านการพิจารณา ซองเทคนิคทราบ ( 5 ) ในกระบวนการพิจารณา คณะกรรมการอาจสอบถามข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจากผู้เสนอราคา รายใดก็ได้ แต่จะให้ผู้เสนอราคารายใดเปลี่ยนแปลงสาระสําคัญที่เสนอไว้แล้วมิได้ และหาก คณะกรรมการเห็นว่า ผู้เสนอราคารายใดมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ กฟผ . กําหนดไว้ ในเอกสารสอบราคาหรือเอกสารประกวดราคา ให้คณะกรรมการตัดรายชื่อของผู้เสนอราคารายนั้น ออกจากการเสนอราคาในครั้งนั้น ในกรณีที่ผู้เสนอราคารายใดเสนอรายละเอียดแตกต่างไปจากเงื่อนไขที่ กฟผ . กําหนดไว้ ในเอกสารสอบราคาหรือเอกสารประกวดราคา ในส่วนที่มิใช่สาระสําคัญและความแตกต่างนั้นไม่มีผล ทําให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบต่อผู้เสนอราคารายอื่นหรือเป็นการผิดพลาดเล็กน้อยให้พิจารณาผ่อนปรน การตัดสิทธิ์ผู้เสนอราคารายนั้น ( 6 ) เมื่อได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว เห็นสมควรซื้อหรือจ้างผู้เสนอราคารายใด ให้รายงานต่อ ผู้มีอํานาจอนุมัติการซื้อหรือการจ้างพร้อมด้วยหลักฐาน ตามปกติคณะกรรมการควรเสนอซื้อหรือ จ้างผู้เสนอราคาที่เสนอถูกต้องตรงตามรายการและเงื่อนไขในการสอบราคาหรือประกวดราคาซึ่งเสนอ ราคาต่ําสุดหรือราคาเปรียบเทียบต่ําสุด หรือได้คะแนนรวมสูงสุด และปฏิเสธข้อเสนอที่ไม่ตรง ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ตามเงื่อนไข กฟผ . ในสาระสําคัญ ซึ่งทําให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกับผู้เสนอราคารายอื่น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุผลสมควร ( 7 ) มีอํานาจที่จะขอให้ผู้เสนอราคาต่ําสุด หรือราคาเปรียบเทียบต่ําสุด หรือได้คะแนนรวมสูงสุด ลดราคาลงไปอีกได้ หรือผู้ที่เสนอราคาต่ําสุด หรือราคาเปรียบเทียบต่ําสุด หรือได้คะแนนรวมสูงสุดนั้น มีหลายราย ให้พิจารณา ดังนี้ ( ก ) กรณีเลือกใช้เกณฑ์ราคาในการพิจารณา ให้พิจารณาข้อเสนอทางด้านเทคนิค ก่อนว่ารายใดเสนอถูกต้องตรงตามคุณลักษณะเฉพาะที่ กฟผ . กําหนดไว้ หากเห็นว่าข้อเสนอ ด้านเทคนิคเท่าเทียมกัน ให้เรียกผู้เสนอราคาต่ําสุด หรือราคาเปรียบเทียบต่ําสุด ที่เท่ากันทุกรายเหล่านั้น มาเสนอราคาใหม่พร้อมกันโดยวิธียื่นซองเสนอราคา ( ข ) กรณีเลือกใช้เกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่น หากปรากฏว่ามีผู้ได้คะแนนรวมสูงสุด เท่ากันหลายราย ให้พิจารณาผู้ที่ได้คะแนนคุณภาพมากที่สุด หากปรากฏว่ามีคะแนนคุณภาพมากที่สุด เท่ากันหลายราย ให้เรียกผู้เสนอราคาที่มีคะแนนคุณภาพเท่ากันทุกรายเหล่านั้นมาเสนอราคาใหม่พร้อมกัน โดยวิธียื่นซองเสนอราคา ในกรณีที่ราคาต่ําสุด หรือราคาเปรียบเทียบต่ําสุด ของรายที่ต่อรองราคาใหม่ยังสูงกว่าวงเงิน ที่จะซื้อหรือจ้าง หรือกรณีมีผู้เสนอราคาต่ําสุดหรือราคาเปรียบเทียบต่ําสุด หรือได้คะแนนรวมสูงสุดนั้น มีหลายราย และไม่มีผู้ใดยินยอมลดราคา ให้เสนอความเห็นต่อผู้มีอํานาจอนุมัติการซื้อหรือการจ้าง ว่าจะสมควรซื้อหรือจ้าง หรือเปลี่ยนแปลงรายการ หรือยกเลิกการสอบราคาหรือประกวดราคาครั้งนั้นทั้งหมด หรือบางส่วนเพื่อดําเนินการใหม่ เว้นแต่กรณีการเปลี่ยนแปลงรายการ หรือยกเลิกการสอบราคา หรือประกวดราคาทั้งหมดหรือบางส่วนที่อยู่ในอํานาจอนุมัติของคณะกรรมการ กฟผ . หรือของผู้ว่าการ ให้เสนอรองผู้ว่าการเพื่อพิจารณา ( 8 ) ในกรณีที่มีเหตุผลจําเป็นให้ไม่อาจเจรจากับผู้เสนอราคาต่ําสุดหรือผู้มีราคาเปรียบเทียบต่ําสุด หรือผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุดต่อไปได้ หรือเพื่อประโยชน์ของ กฟผ . ให้ดําเนินการเจรจากับผู้เสนอราคาต่ําสุด หรือผู้มีราคาเปรียบเทียบต่ําสุด หรือผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุดรายถัดไปได้ โดยให้เสนอขอความเห็นชอบ ต่อรองผู้ว่าการก่อนการดําเนินการ เว้นแต่ในกรณีเป็นอํานาจอนุมัติของคณะกรรมการ กฟผ . ให้เสนอคณะกรรมการบริหารของคณะกรรมการ กฟผ . ( 9 ) ในกรณีที่มีผู้เสนอราคารายเดียว หรือมีผู้เสนอราคามากกว่า 1 ราย แต่ถูกต้องตรง ตามรายการและเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในเอกสารสอบราคาหรือประกวดราคาเพียงรายเดียว ถ้าคณะกรรมการ เห็นว่ามีเหตุผลสมควรจะดําเนินการต่อไปก็ได้ โดยไม่ต้องยกเลิกการสอบราคาหรือประกวดราคาครั้งนั้น ( 10 ) ในกรณีที่ไม่มีผู้เสนอราคา หรือมีผู้เสนอราคาแต่ไม่ถูกต้องตรงตามรายการและเงื่อนไข ที่กําหนดไว้ในเอกสารสอบราคาหรือประกวดราคา หรือการสอบราคาที่มีผู้เสนอราคาแต่วงเงินรวม เกินวิธีสอบราคา ให้เสนอหัวหน้ากองขึ้นไปของหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างหรือที่รับฝากการบังคับบัญชา ้ หนา 20 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง หรือผู้มีอํานาจอนุมัติการซื้อหรือการจ้าง เพื่อยกเลิกการสอบราคาหรือ ประกวดราคาครั้งนั้นทั้งหมดหรือบางส่วน เพื่อดําเนินการใหม่ ( 11 ) ภายหลังการเปิดซองสอบราคาหรือซองประกวดราคา หากมีความจําเป็นต้องยกเลิก การสอบราคาหรือประกวดราคาครั้งนั้นทั้งหมดหรือบางส่วน หรือในกรณีที่พิจารณาเห็นว่าการยกเลิก การสอบราคาหรือประกวดราคาทั้งหมดหรือบางส่วนจะเป็นประโยชน์ต่อ กฟผ . และเหตุผลที่ขอยกเลิก เป็นเหตุผลนอกจากที่กล่าวในข้อ 44 ( 7 ) ( 10 ) และข้อ 227 ให้เสนอขอยกเลิกการสอบราคา หรือประกวดราคาทั้งหมดหรือบางส่วนต่อผู้บังคับบัญชา ดังต่อไปนี้ ( ก ) ผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไป สําหรับการยกเลิกการสอบราคา ( ข ) รองผู้ว่าการ สําหรับการยกเลิกการประกวดราคา ข้อ 45 การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษ ให้เชิญหรือติดต่อโดยตรงกับผู้ขายหรือผู้รับจ้างรายเดียว หรือหลายรายมาเสนอราคา และให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทําได้ เมื่อได้ดําเนินการไปแล้วได้ผลประการใด ให้เสนอรายงานพร้อมด้วยความเห็น ต่อผู้มีอํานาจอนุมัติการซื้อหรือการจ้างเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป ข้อ 46 ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมเอกสารสอบราคาโดยวิธีพิเศษหลายราย ก่อนวันรับซองสอบราคาโดยวิธีพิเศษ ให้เสนอขออนุมัติผู้ปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ ( 1 ) ผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปที่มีอํานาจอนุมัติการซื้อหรือการจ้าง ( 2 ) ผู้ปฏิบัติงานอื่นนอกจากที่กล่าวใน ( 1 ) ที่มีอํานาจอนุมัติการซื้อหรือการจ้างภายในวงเงิน อํานาจอนุมัติของตน ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีเป็นอํานาจอนุมัติของคณะกรรมการ กฟผ . ให้เสนอขออนุมัติผู้ช่วยผู้ว่าการขึ้นไป ข้อ 47 การซื้อหรือการจ้างจากบริษัทในเครือ กฟผ . โดยวิธีพิเศษ ให้กระทําได้ก็ต่อเมื่อ เป็นการซื้อหรือการจ้างจากบริษัทซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลในเครือของ กฟผ . ที่เข้าลักษณะ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) รัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลที่มี กฟผ . ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนรวมอยู่ด้วยในรัฐวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของทุนทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุนทั้งหมด และเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด ( 2 ) รัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลที่มี กฟผ . หรือรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลตาม ( 1 ) แห่งเดียว หรือหลายแห่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนรวมอยู่ด้วยหรือรวมกันในรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลนั้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด ( 3 ) รัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลที่มี กฟผ . หรือรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลตาม ( 1 ) หรือรัฐวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลตาม ( 2 ) ในลําดับชั้นแรกหรือในชั้นต่อ ๆ ไปแห่งเดียวหรือหลายแห่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วน รวมอยู่ด้วยหรือรวมกันในรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลนั้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ข้อ 48 คณะกรรมการซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษ หรือผู้ทําหน้าที่ซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษ มีหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) แจ้งผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่ กฟผ . กําหนด ให้เข้ายื่นข้อเสนอ ( 2 ) รับข้อเสนอและตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของผู้ยื่นข้อเสนอ และในกรณีที่มีผู้ยื่นข้อเสนอ หลายราย ให้ตรวจสอบคุณสมบัติผู้เสนอราคาตามข้อ 44 ( 2 ) ( 3 ) เมื่อได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว เห็นสมควรซื้อหรือจ้างผู้เสนอราคารายใด ให้รายงาน ต่อผู้มีอํานาจอนุมัติการซื้อหรือการจ้างพร้อมด้วยหลักฐาน ( 4 ) กรณีเห็นสมควรยกเลิกการซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษครั้งนั้นทั้งหมดหรือบางส่วน ให้เสนอผู้มีอํานาจอนุมัติการซื้อหรือการจ้างครั้งนั้น เว้นแต่ในกรณีเป็นอํานาจอนุมัติของคณะกรรมการ กฟผ . หรือของผู้ว่าการ ให้เสนอรองผู้ว่าการเพื่อพิจารณา ส่วนที่ 4 การซื้อหรือการจ้างในกรณีฉุกเฉินและจําเป็น ข้อ 49 การซื้อหรือการจ้างในกรณีฉุกเฉินและจําเป็นที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน และไม่อาจดําเนินการตามปกติได้ทัน หากล่าช้าจะเกิดความเสียหายแก่งาน ถ้าการซื้อหรือการจ้างครั้งนั้น มีราคาครั้งละไม่เกิน 1 , 000 , 000 บาท ให้หน่วยงานผู้ใช้งานหรือหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ปฏิบัติงาน ที่มีเหตุฉุกเฉินและจําเป็นดังกล่าวดําเนินการซื้อหรือจ้างไปก่อนได้ แล้วรีบจัดทํา “ รายงานการซื้อหรือ การจ้างในกรณีฉุกเฉินและจําเป็น ” ตามแบบพิมพ์ที่กําหนดในคําสั่ง กฟผ . เรื่อง แบบพิมพ์การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุ เสนอผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและแต่งตั้งผู้ตรวจรับพัสดุ หรืองานจ้าง หรือคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรืองานจ้าง ( ถ้าตรวจรับได้ ) ( 1 ) หัวหน้ากอง สําหรับการซื้อหรือการจ้างที่มีราคาครั้งละไม่เกิน 10 , 000 บาท ( 2 ) ผู้อํานวยการฝ่าย สําหรับการซื้อหรือการจ้างที่มีราคาครั้งละไม่เกิน 500 , 000 บาท และมิใช่เป็นการซื้อหรือจ้างทําครุภัณฑ์ ( 3 ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สําหรับการซื้อหรือการจ้างที่มีราคาครั้งละไม่เกิน 700 , 000 บาท ( 4 ) รองผู้ว่าการ สําหรับการซื้อหรือการจ้างที่มีราคาครั้งละไม่เกิน 1 , 000 , 000 บาท ในกรณีเป็นครุภัณฑ์ที่มิได้ระบุรายการไว้ในงบประมาณ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้สําเนาส่งหน่วยงานงบประมาณ เพื่อดําเนินการต่อไป ให้ผู้มีอํานาจตาม ( 1 ) ( 2 ) ( 3 ) และ ( 4 ) ให้ความเห็นชอบการซื้อหรือการจ้างของตนเองได้ ข้อ 50 การซื้อหรือการจ้างแต่ละครั้ง ให้ผู้บังคับบัญชาตามข้อ 49 แต่งตั้งผู้ตรวจรับพัสดุ หรืองานจ้างอย่างน้อย 1 คน ซึ่งมิใช่ผู้ซื้อหรือผู้จ้างครั้งนั้น ทั้งนี้ สําหรับการซื้อหรือการจ้าง ครั้งละเกิน 500 , 000 บาท ให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรืองานจ้างแต่ละครั้งอย่างน้อย 3 คน ้ หนา 22 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

เว้นแต่ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจรับได้ ให้เสนอรายงานการซื้อหรือการจ้างในกรณีฉุกเฉิน และจําเป็นให้ผู้บังคับบัญชาตามข้อ 49 พิจารณาเห็นชอบเพื่อเป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลม ข้อ 51 ผู้มีอํานาจให้ความเห็นชอบการซื้อหรือการจ้างตามข้อ 49 ต้องควบคุมดูแลการซื้อ หรือการจ้างในกรณีฉุกเฉินและจําเป็นของผู้ปฏิบัติงานโดยเคร่งครัด หากตรวจพบว่าผู้ปฏิบัติงานเจตนาซื้อ หรือจ้างซึ่งไม่เข้าเงื่อนไขตามข้อ 49 นอกจากผู้ปฏิบัติงานจะได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยแล้ว ผู้มีอํานาจให้ความเห็นชอบต้องร่วมรับผิดในกรณีดังกล่าวด้วย ข้อ 52 การซื้อหรือการจ้างตามข้อ 49 หากพัสดุที่ซื้อหรือจ้างทําเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ หรือครุภัณฑ์ ให้ดําเนินการ ดังนี้ ( 1 ) ในกรณีที่จะเก็บไว้ใช้งานต่อไป ( ก ) ถ้าเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีราคาไม่เกิน 5 , 000 บาท ต่อหน่วยหรือต่อชุด ให้รายงานหัวหน้าหน่วยงานเพื่อจัดให้มีทะเบียนควบคุมเครื่องมือเครื่องใช้ดังกล่าว ( ข ) ถ้าเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีราคาเกิน 5 , 000 บาทต่อหน่วยหรือต่อชุด หรือเป็นครุภัณฑ์ ให้ผู้ซื้อหรือจ้างส่งสําเนาเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกํากับภาษี / ใบส่งของ รายงานการซื้อหรือการจ้างในกรณีฉุกเฉินและจําเป็น บันทึกอนุมัติการจัดสรรงบประมาณ เป็นต้น ให้หน่วยงานบัญชีทรัพย์สินกรณีเป็นครุภัณฑ์ และหน่วยงานพัสดุกรณีเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เพื่อจัดทําบัญชี เพื่อควบคุมรายการและจํานวนครุภัณฑ์หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานต่าง ๆ ตามระเบียบ กฟผ . ว่าด้วยความรับผิดชอบเกี่ยวกับครุภัณฑ์และเครื่องมือเครื่องใช้ พัสดุใดที่มีระเบียบปฏิบัติกําหนดหลักเกณฑ์การควบคุมไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้ถือปฏิบัติ ตามระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวกับการนั้น ( 2 ) ในกรณีที่หมดความจําเป็นในการใช้งานแล้ว ให้นําส่งคืนคลังพัสดุโดยเร็ว สําเนาแบบพิมพ์ที่ผู้ตรวจรับหรือคณะกรรมการตรวจรับได้ลงลายมือชื่อแล้ว พร้อมเอกสาร การจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวข้อง ให้ใช้เป็นเอกสารแนบเรื่องการเบิกจ่ายเงิน ส่วนที่ 5 การซื้อหรือการจ้างที่ดําเนินการโดยหน่วยงานผู้ใช้งาน ข้อ 53 การซื้อหรือการจ้างที่ดําเนินการโดยหน่วยงานผู้ใช้งาน ให้ปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติ เกี่ยวกับมอบอํานาจการซื้อหรือการจ้างที่ดําเนินการโดยหน่วยงานผู้ใช้งาน โดยอนุโลม ส่วนที่ 6 เอกสารที่ใช้ในการจัดหา ข้อ 54 การซื้อหรือการจ้างโดยปกติให้ทําเป็นสัญญาตามแบบที่ กฟผ . กําหนด แต่หากเป็นสัญญา ที่ทํากับนิติบุคคลในต่างประเทศซึ่งมิใช่การดําเนินงานตามปกติธุระ หรือเป็นสัญญาที่ กฟผ . เห็นว่า ้ หนา 23 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

อาจจะมีปัญหาทางกฎหมาย เสียเปรียบ หรือไม่รัดกุม กฟผ . จะลงนามได้เมื่อร่างสัญญาได้ผ่าน การตรวจพิจารณาจากสํานักงานอัยการสูงสุดแล้ว การทําสัญญาตามแบบที่เคยผ่านการตรวจพิจารณาของสํานักงานอัยการสูงสุดมาแล้ว หรือการทําสัญญาที่จําเป็นต้องมีข้อความหรือรายการแตกต่างไปจากแบบดังกล่าวเพียงเล็กน้อยในประเด็น ที่มิใช่สาระสําคัญและไม่ทําให้ กฟผ . เสียเปรียบ ให้ลงนามในสัญญาได้ โดยไม่ต้องส่งร่างสัญญา ให้สํานักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อน ทั้งนี้ เว้นแต่ ( 1 ) ในกรณีดังต่อไปนี้ จะทําข้อตกลงไว้ต่อกันก็ได้ ( ก ) การซื้อหรือการจ้างที่คู่สัญญาสามารถส่งมอบพัสดุหรืองานจ้างได้ภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้รับข้อตกลง หรือ ( ข ) การซื้อหรือการจ้างที่มีราคาครั้งละไม่เกิน 5 , 000 , 000 บาท หรือ ( ค ) การซื้อหรือการจ้างจากหน่วยงานของรัฐ ( 2 ) ในกรณีดังต่อไปนี้ จะไม่ทําข้อตกลงไว้ต่อกันก็ได้ ( ก ) การซื้อที่มีราคาครั้งละไม่เกิน 500 , 000 บาท ซึ่งคู่สัญญาสามารถส่งมอบพัสดุ ได้ครบถ้วนภายใน 5 วันทําการถัดจากวันที่สั่งซื้อ ( ข ) การซื้อหรือการจ้างที่มีราคาครั้งละไม่เกิน 100 , 000 บาท ข้อ 55 ในสัญญา ให้กําหนดเงื่อนไขอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ ( 1 ) เงื่อนไขการเรียกค่าเสียหายจากคู่สัญญาในกรณีไม่ปฏิบัติตามสัญญา ( 2 ) เงื่อนไขการปรับ เงื่อนไขการปรับเป็นรายวันในกรณีส่งมอบพัสดุหรืองานล่าช้ากว่ากําหนดในอัตราร้อยละ 0 . 1 ของราคาทั้งหมดตามสัญญา หรือราคาของพัสดุหรือรายการจ้างแต่ละรายการ ถ้าในสัญญาได้แยกรายการนั้น ๆ ไว้ หรือราคาของพัสดุหรืองานจ้างที่ยังไม่ได้รับมอบ ถ้าในสัญญาได้แยกรายการพัสดุหรือรายการจ้างไว้ พัสดุหรือการจ้างแต่ละรายการ ซึ่งต้องใช้ควบคู่กัน หรือเป็นส่วนประกอบอันจําเป็นซึ่งกันและกัน ถ้าขาดส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งไปแล้ว จะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ ให้กําหนดเงื่อนไขการปรับดังกล่าวโดยถือเป็นรายการเดียวกัน ในกรณีการซื้อที่คิดราคารวมทั้งค่าติดตั้งและหรือทดลอง ให้คํานวณค่าปรับจากราคาพัสดุ ซึ่งรวมค่าติดตั้งและหรือทดลองด้วย การกําหนดเงื่อนไขการปรับไม่ให้กําหนดค่าปรับสูงสุด ทั้งนี้ หากจํานวนเงินค่าปรับ จะเกินร้อยละ 10 ของราคาทั้งหมดตามสัญญา ให้ กฟผ . พิจารณาดําเนินการบอกเลิกสัญญา เว้นแต่คู่สัญญาจะได้ยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ กฟผ . โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ให้ กฟผ . พิจารณาผ่อนปรน การบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จําเป็น ้ หนา 24 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( 3 ) เงื่อนไขให้คู่สัญญาจัดให้มีการวางหลักประกันสัญญาเป็นจํานวนเต็มในอัตราไม่น้อยกว่า ร้อยละ 5 ของราคาตามสัญญา ทั้งนี้ เว้นแต่ ( ก ) การทําสัญญาซื้อที่มีระยะเวลาผูกพันตามสัญญาเกิน 1 ปี โดยกําหนดให้ส่งมอบพัสดุ เป็นงวด และพัสดุนั้นไม่ต้องมีการประกันเพื่อความชํารุดบกพร่อง จะกําหนดให้คู่สัญญาวางหลักประกันสัญญา ในอัตราดังกล่าวของราคาพัสดุที่จะส่งมอบในแต่ละปีก็ได้ ( ข ) การซื้อหรือการจ้างที่มีราคาครั้งละไม่เกิน 500 , 000 บาท ( ค ) กรณีคู่สัญญาได้ส่งมอบพัสดุหรืองานจ้างบางส่วนแล้ว หากเป็นพัสดุหรืองานจ้าง ที่ไม่ต้องมีการประกันเพื่อความชํารุดบกพร่อง หรือในกรณีพัสดุหรืองานจ้างส่วนที่เหลือไม่จําเป็นต้องใช้ ประกอบกันกับพัสดุหรืองานจ้างที่ได้ส่งมอบแล้ว จะกําหนดให้คู่สัญญาจัดให้มีการวางหลักประกันสัญญา เป็นจํานวนเต็มในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของราคาสัญญาส่วนที่เหลือก็ได้ แต่ทั้งนี้ จะต้องระบุไว้ เป็นเงื่อนไขในเอกสารสอบราคา เอกสารประกวดราคา และในสัญญาด้วย ( ง ) กรณีหน่วยงานของรัฐเป็นคู่สัญญาไม่ต้องวางหลักประกันสัญญา การกําหนดเงื่อนไขการปรับและการวางหลักประกันสัญญานอกเหนือจากอัตราที่กําหนดไว้ ให้เสนอผู้ว่าการพิจารณาเป็นกรณีไป ข้อ 56 การกําหนดเงื่อนไขการปรับและการวางหลักประกันสัญญานอกเหนือจากอัตรา ที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ กรณีการจัดซื้อจัดจ้างตามภารกิจของ Project Management Office (PMO) ที่ กฟผ . จําเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาของผู้จําหน่าย ผู้ผลิต หรือผู้ให้บริการ หรือพิจารณาแล้ว ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อ กฟผ . ให้เสนอผู้มีอํานาจอนุมัติการซื้อหรือการจ้างพิจารณาอนุมัติ ข้อ 57 ในกรณีที่ผู้มีอํานาจอนุมัติการซื้อหรือการจ้างลงลายมือชื่อในสัญญาตามข้อ 54 แล้ว ให้ถือว่าได้อนุมัติการซื้อหรือการจ้างครั้งนั้นแล้ว ข้อ 58 การซื้อหรือการจ้างครั้งใดที่จําเป็นต้องออกหนังสือสนองรับราคา ถ้าผู้มีอํานาจอนุมัติ การซื้อหรือการจ้างได้อนุมัติการซื้อหรือการจ้างครั้งนั้นแล้ว ให้หัวหน้ากองขึ้นไปของหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง หรือที่รับฝากการบังคับบัญชาหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง มีอํานาจลงนามในหนังสือสนองรับราคาได้ ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีที่มีวงเงินครั้งละเกิน 200 , 000 , 000 บาท ให้เสนอรองผู้ว่าการลงนาม ข้อ 59 การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษตามกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีหรือจากหน่วยงาน ของรัฐหรือจากบริษัทในเครือ กฟผ . ที่มีราคาครั้งละไม่เกิน 5 , 000 , 000 บาท ให้ผู้มีอํานาจอนุมัติ การซื้อหรือการจ้างมีอํานาจพิจารณาสั่งยกเว้นเงื่อนไขในอันที่จะเรียกค่าเสียหาย และหรือค่าปรับ กรณีส่งมอบล่าช้า โดยระบุเหตุผลในการสั่งยกเว้นไว้ด้วย ข้อ 60 การซื้อจากต่างประเทศหรือการจ้างผู้รับจ้างในต่างประเทศที่มีราคาครั้งละไม่เกิน 5 , 000 , 000 บาท ไม่ต้องมีเงื่อนไขการเรียกค่าเสียหาย ค่าปรับกรณีส่งมอบล่าช้า และหรือการวาง หลักประกันสัญญา ้ หนา 25 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

การซื้อจากต่างประเทศหรือการจ้างผู้รับจ้างในต่างประเทศที่มีราคาครั้งละเกิน 5 , 000 , 000 บาท แต่ไม่เกิน 10 , 000 , 000 บาท ให้ผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปที่มีอํานาจอนุมัติการซื้อหรือการจ้าง มีอํานาจพิจารณาสั่งยกเว้นเงื่อนไขในอันที่จะเรียกค่าเสียหาย ค่าปรับกรณีส่งมอบล่าช้า และหรือ การวางหลักประกันสัญญา ข้อ 61 การยกเว้นเงื่อนไขการปรับและหรือการวางหลักประกันสัญญากรณีการจัดซื้อจัดจ้าง ตามภารกิจของ Project Management Office (PMO) สําหรับสัญญาที่ กฟผ . จําเป็นต้องปฏิบัติ ตามเงื่อนไขสัญญาของผ้ ู จําหน่าย ผู้ผลิต หรือผู้ให้บริการ หรือพิจารณาแล้วว่าจะเป็นประโยชน์ ต่อ กฟผ . ให้เสนอผู้มีอํานาจอนุมัติการซื้อหรือการจ้างพิจารณาอนุมัติภายในวงเงินอํานาจอนุมัติของตน ส่วนที่ 7 การจ่ายเงินล่วงหน้า ข้อ 62 การจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่คู่สัญญาจะกระทํามิได้ เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้ ( 1 ) การซื้อหรือการจ้างที่มีราคาครั้งละไม่เกิน 500 , 000 บาท โดยมีเหตุผลความจําเป็น ที่ผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปที่มีหน้าที่รับผิดชอบหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างหรือที่รับฝากการบังคับบัญชา หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างเห็นสมควรจ่ายได้สูงสุดเต็มจํานวน ( 2 ) การซื้อหรือการจ้างที่มีราคาครั้งละเกิน 500 , 000 บาท แต่ไม่เกิน 2 , 000 , 000 บาท โดยมีเหตุผลความจําเป็นที่ผู้ช่วยผู้ว่าการขึ้นไปเห็นสมควรจ่ายได้สูงสุดเต็มจํานวน ( 3 ) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษตามกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรี หรือจากหน่วยงานของรัฐ จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของราคาพัสดุหรือค่าจ้าง ( 4 ) การซื้อหรือการจ้างในกรณีดังต่อไปนี้ โดยมีเหตุผลความจําเป็นที่ผู้มีอํานาจอนุมัติการซื้อ หรือการจ้างภายในวงเงินอํานาจอนุมัติของตนเห็นสมควรจ่ายได้สูงสุดเต็มจํานวน ( ก ) การบอกรับวารสารหรือการสั่งจองหนังสือ รวมถึงวารสารหรือหนังสือที่อยู่ในรูป ของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ( ข ) การจัดซื้อฐานข้อมูลสําเร็จรูปที่มีลักษณะจะต้องบอกรับเป็นสมาชิกก่อน และมี กําหนดการออกเป็นวาระดังเช่นวารสาร ( ค ) การบอกรับเป็นสมาชิกเพื่อการใช้ประโยชน์เรียกค้นหาข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ โดยอาศัยระบบเครือข่ายสารสนเทศ ( ง ) การซื้อซอฟต์แวร์และการจ้างบริการบํารุงรักษาซอฟต์แวร์ รวมถึงส่วนเสริมของซอฟต์แวร์ ( จ ) การซื้อสมาชิกภาพเพื่อรับสิทธิ์ต่าง ๆ ในฐานะสมาชิก ( 5 ) การซื้อหรือการจ้างนอกจากที่กล่าวไว้ใน ( 1 ) ( 2 ) ( 3 ) และ ( 4 ) ให้จ่ายได้ไม่เกิน ร้อยละ 35 ของราคาพัสดุหรือค่าจ้าง การจ่ายเงินล่วงหน้าตาม ( 1 ) ( 2 ) ( 3 ) และ ( 4 ) ไม่ต้องเรียกหลักประกันการจ่ายเงินล่วงหน้า ้ หนา 26 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

การจ่ายเงินล่วงหน้าตาม ( 5 ) ค่ ู สัญญาต้องจัดให้มีหลักประกันการรับเงินล่วงหน้าเพื่อค้ําประกัน เงินจํานวนนั้นตามสกุลเงินที่ กฟผ . ได้จ่ายไป เว้นแต่การซื้อหรือการจ้างที่มีราคาครั้งละไม่เกิน 100 , 000 บาท จะไม่เรียกหลักประกันดังกล่าวก็ได้ ข้อ 63 การคืนหลักประกันการรับเงินล่วงหน้าในข้อ 62 ให้หน่วยงานการเงินคืนหลักประกัน ดังกล่าวให้แก่คู่สัญญา ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ ( 1 ) กรณีการคืนหลักประกันการรับเงินล่วงหน้าทั้งหมด ให้คืนได้ เมื่อ กฟผ . ได้หักเงิน ที่ได้จ่ายล่วงหน้าจากเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างในแต่ละงวดครบถ้วนแล้ว ( 2 ) กรณีการคืนหลักประกันการรับเงินล่วงหน้าบางส่วน ให้คืนได้เมื่อสัญญากําหนดการจ่ายเงิน ค่าพัสดุหรือค่าจ้างเป็นรายงวดและ กฟผ . ได้หักเงินที่จะจ่ายแต่ละครั้งที่จะใช้คืนเงินล่วงหน้าที่คู่สัญญาได้รับ ไปเป็นจํานวนเท่าใดแล้ว หรือคู่สัญญานําหลักประกันมาวางเท่ากับมูลค่าของเงินล่วงหน้าที่เหลืออยู่ มาวางให้กับ กฟผ . ( 3 ) อื่น ๆ ตามเงื่อนไขที่กําหนดในสัญญา ทั้งนี้ การคืนหลักประกันตามวรรคหนึ่งต้องกําหนดรายละเอียดเรื่องการคืนหลักประกัน การรับเงินล่วงหน้าไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารเชิญชวนและในสัญญาด้วย ข้อ 64 การจ่ายเงินล่วงหน้านอกเหนือจากหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในส่วนนี้ ให้เสนอรองผู้ว่าการ พิจารณาเป็นราย ๆ ไป เว้นแต่งานจัดซื้อจัดจ้างตามภารกิจของ Project Management Office (PMO) ให้เสนอผู้ช่วยผู้ว่าการพิจารณา หมวด 8 การจ้างที่ปรึกษา ข้อ 65 การจ้างที่ปรึกษา ให้พิจารณาจ้างที่ปรึกษาที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา กระทรวงการคลัง โดยให้พิจารณาจ้างที่ปรึกษาไทยก่อน เว้นแต่จะมีหนังสือรับรองจากศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา กระทรวงการคลัง ว่าไม่มีที่ปรึกษา เป็นผู้ให้บริการในงานที่จ้างนั้นหรือเป็นงานจ้างที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐในต่างประเทศ ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ ให้แสดงเหตุผลและความจําเป็น ในการจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศไว้ในบันทึกการขอจ้าง โดยการจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศในครั้งนั้น จะต้องมีบุคลากรไทยร่วมงานด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีให้แก่บุคลากรไทย เว้นแต่สาขาบริการหรืองานจ้างที่ไม่อาจมีบุคลากรไทยได้ ข้อ 66 การจ้างที่ปรึกษา ให้ค้นหารายชื่อที่ปรึกษาจากศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา กระทรวงการคลัง ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่มีรายชื่อที่ปรึกษาเพียงพอแล้ว ้ หนา 27 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ข้อ 67 ในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโดยวิธีคัดเลือกที่มีผู้เข้าร่วมเสนอราคาตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป ให้ดําเนินการโดยคํานึงถึงความคุ้มค่าและวัตถุประสงค์ของงานจ้างที่ปรึกษาเป็นสําคัญ โดยให้พิจารณา เกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งหรือหลายเกณฑ์ก็ได้ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ผลงานและประสบการณ์ของที่ปรึกษา ( 2 ) วิธีการบริหารและวิธีการปฏิบัติงาน ( 3 ) จํานวนบุคลากรที่ร่วมงาน ( 4 ) ข้อเสนอทางด้านการเงิน ( 5 ) ข้อเสนอด้านราคาของที่ปรึกษา ( 6 ) เกณฑ์อื่นตามที่รองผู้ว่าการกําหนด ข้อ 68 ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมเอกสารการจ้างที่ปรึกษาก่อนวันยื่นข้อเสนอ ให้เสนอขออนุมัติผู้ปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปที่มีอํานาจอนุมัติการจ้าง ( 2 ) ผู้ปฏิบัติงานอื่นนอกจากที่กล่าวใน ( 1 ) ที่มีอํานาจอนุมัติการจ้างภายในวงเงินอํานาจอนุมัติ ของตน ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีเป็นอํานาจอนุมัติของคณะกรรมการ กฟผ . ให้เสนอขออนุมัติผู้ช่วยผู้ว่าการขึ้นไป ข้อ 69 ให้ผู้มีอํานาจอนุมัติการจ้างที่ปรึกษาเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจ้างที่ปรึกษาแล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ภายในวงเงินอํานาจอนุมัติของตน ( 1 ) คณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก ( 2 ) คณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง ( 3 ) คณะกรรมการตรวจรับงานจ้างที่ปรึกษา ทั้งนี้ เว้นแต่การจ้างที่ปรึกษาที่อยู่ในอํานาจอนุมัติของคณะกรรมการ กฟผ . หรือของผู้ว่าการ ให้ผู้ช่วยผู้ว่าการเป็นผู้แต่งตั้ง ทั้งนี้ หากจะไม่แต่งตั้งคณะกรรมการตาม ( 1 ) หรือ ( 2 ) ก็ให้เสนอขออนุมัติผู้ว่าการเป็นกรณี ๆ ไป โดยให้คํานึงถึงความจําเป็นเพื่อประโยชน์ของ กฟผ . หรือไม่ทําให้ กฟผ . ต้องเสียประโยชน์ ข้อ 70 การแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจ้างที่ปรึกษาแต่ละคณะ ให้ประกอบด้วยผู้ปฏิบัติงานอย่างน้อย 3 คน ประธานกรรมการจะต้องเป็นหัวหน้ากองหรือผู้ปฏิบัติงานระดับ 10 ขึ้นไป การแต่งตั้งคณะกรรมการ ควรแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้ชํานาญการเกี่ยวกับงานจ้างนั้น ๆ และให้มีผู้ปฏิบัติงานของฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุ ร่วมเป็นกรรมการด้วยทุกครั้ง ในการดําเนินการของคณะกรรมการ จะต้องมีจํานวนกรรมการไม่ต่ํากว่ากึ่งหนึ่ง ของจํานวนกรรมการที่ได้แต่งตั้งไว้ จึงจะดําเนินการตามที่กําหนดไว้ได้ ้ หนา 28 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ข้อ 71 การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก เมื่อได้คัดเลือกที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ให้เหลือน้อยรายแล้ว ให้ออกหนังสือเชิญชวนที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดไม่น้อยกว่า 3 ราย เว้นแต่มีที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติตรงตามกําหนดน้อยกว่า 3 ราย ให้เข้ายื่นข้อเสนอโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านราคาพร้อมกัน โดยแยกเป็น 2 ซอง ( 2 ) ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคเพียงซองเดียว ( 3 ) ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านราคารวมมาในซองเดียว การกําหนดให้ยื่นข้อเสนอโดยวิธีตาม ( 3 ) ต้องเป็นงานในลักษณะที่ไม่มีข้อยุ่งยากทางเทคนิค และอาจคาดหมายผลงานที่จะได้รับว่าจะไม่แตกต่างกันมากนัก หนังสือเชิญชวนตามวรรคหนึ่งจะต้องมีเงื่อนไขกําหนดให้ชัดเจนด้วยว่า กฟผ . สงวนสิทธิ์ ที่จะตัดสิทธิ์ผู้เสนอราคารายใดที่ปรากฏว่ามีผู้ปฏิบัติงาน กฟผ . เข้าไปมีส่วนร่วมทั้งในฐานะผู้กระทําการ หรือผู้ร่วมงาน ยกเว้นในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานนั้นเข้าไปมีส่วนร่วมทั้งในฐานะผู้กระทําการหรือผู้ร่วมงานที่ กฟผ . มีคําสั่งให้ไปปฏิบัติงาน ข้อ 72 คณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก หรือผู้ที่ทําหน้าที่จ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก มีหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ในการตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง ให้ตรวจสอบรายชื่อผู้บริหารและรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ของผู้เสนอราคาแต่ละรายว่าเป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน หรือมีผู้เสนอราคารายใดกระทําการ อันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หากปรากฏว่ามีผู้เสนอราคาเป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันหรือกระทําการ อันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ให้ตัดรายชื่อผู้เสนอราคาดังกล่าวทุกราย ออกจากการเป็นผู้เสนอราคาในการเสนอราคาในครั้งนั้น ( 2 ) พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคของที่ปรึกษาที่คัดเลือกแล้วทุกรายและจัดลําดับ ( 3 ) ในกรณีที่ใช้วิธีการยื่นข้อเสนอตามข้อ 71 ( 1 ) ให้เลือกดําเนินการ ดังนี้ ( ก ) เปิดซองข้อเสนอด้านราคาของที่ปรึกษาที่มีคะแนนข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุดลําดับที่ 1 ถึงลําดับที่ 3 และให้คะแนนข้อเสนอด้านราคาของที่ปรึกษาแต่ละราย แล้วรวมคะแนนข้อเสนอด้านเทคนิค และข้อเสนอด้านราคาเข้าด้วยกัน ที่ปรึกษารายใดได้คะแนนรวมสูงสุด ให้เชิญที่ปรึกษารายนั้นมาเจรจาต่อรอง เพื่อให้ได้ข้อตกลงที่เหมาะสม ในกรณีที่เจรจาไม่ได้ผล ให้เชิญที่ปรึกษาที่ได้คะแนนรวมสูงสุดรายถัดไปมาเจรจาต่อรอง จนกว่าจะได้ข้อตกลงที่เหมาะสม หรือ ้ หนา 29 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( ข ) เปิดซองข้อเสนอด้านราคาของที่ปรึกษาที่มีคะแนนข้อเสนอ ด้านเทคนิคที่ดีที่สุด ลําดับที่ 1 ถึงลําดับที่ 3 โดยถือเสมือนว่าทั้ง 3 ลําดับมีข้อเสนอด้านเทคนิคเท่าเทียมกัน แล้วเชิญที่ปรึกษารายที่เสนอราคาต่ําสุดมาเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้ข้อตกลงที่เหมาะสม ในกรณีที่เจรจาไม่ได้ผล ให้เชิญที่ปรึกษาที่เสนอราคาต่ําเป็นลําดับถัดไปมาเจรจาต่อรอง จนกว่าจะได้ข้อตกลงที่เหมาะสม ( 4 ) ในกรณีที่ใช้วิธีการยื่นข้อเสนอตามข้อ 71 ( 2 ) ให้เชิญที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอด้านเทคนิคดีที่สุด มายื่นข้อเสนอด้านราคา แล้วเจรจาต่อรองให้ได้ข้อตกลงที่เหมาะสม ในกรณีที่เจรจาไม่ได้ผล ให้เชิญที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอด้านเทคนิคดีที่สุดรายถัดไปมายื่นข้อเสนอ ด้านราคาและเจรจาต่อรองจนกว่าจะได้ข้อตกลงที่เหมาะสม ( 5 ) ในกรณีที่ใช้วิธีการยื่นข้อเสนอตามข้อ 71 ( 3 ) ให้คัดเลือกที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอ ด้านเทคนิคดีที่สุดไว้ 3 ราย แล้วเชิญที่ปรึกษาดังกล่าวที่มีข้อเสนอด้านราคาต่ําสุดมาเจรจาต่อรอง เพื่อให้ได้ข้อตกลงที่เหมาะสม ในกรณีที่เจรจาไม่ได้ผล ให้เชิญที่ปรึกษารายถัดไปมาเจรจาต่อรองจนกว่าจะได้ข้อตกลง ที่เหมาะสม ( 6 ) เมื่อเจรจาได้ข้อตกลงที่เหมาะสมแล้ว ให้พิจารณารายละเอียดและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่จะกําหนดในสัญญา ( 7 ) รายงานผลการพิจารณาคัดเลือกพร้อมด้วยความเห็นต่อผู้มีอํานาจอนุมัติการจ้างที่ปรึกษา เพื่อพิจารณาอนุมัติ ( 8 ) กรณีจําเป็นต้องยกเลิกการจ้างที่ปรึกษาครั้งนั้นทั้งหมดหรือบางส่วน หรือในกรณี ที่พิจารณาเห็นว่าการยกเลิกการจ้างที่ปรึกษาทั้งหมดหรือบางส่วนจะเป็นประโยชน์ต่อ กฟผ . ให้เสนอ ขอยกเลิกการจ้างที่ปรึกษาทั้งหมดหรือบางส่วนต่อผู้มีอํานาจอนุมัติการจ้างที่ปรึกษาครั้งนั้น เว้นแต่ในกรณี เป็นอํานาจอนุมัติของคณะกรรมการ กฟผ . หรือของผู้ว่าการ ให้เสนอรองผู้ว่าการเพื่อพิจารณา ในกรณีที่ใช้วิธีการยื่นข้อเสนอตามข้อ 71 ( 1 ) เมื่อผู้มีอํานาจอนุมัติการจ้างที่ปรึกษาได้อนุมัติแล้ว ให้ส่งคืนซองข้อเสนอด้านราคาที่ยังไม่ได้เปิดซองให้แก่ที่ปรึกษารายอื่นที่ได้ยื่นไว้โดยไม่เปิดซอง ข้อ 73 การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง ให้กระทําได้ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ( 1 ) เป็นการจ้างเพื่อทํางานต่อเนื่องจากงานที่ที่ปรึกษาได้ทําไว้แล้วหรือกําลังทําอยู่ ( 2 ) เป็นการจ้างในกรณีที่ทราบแน่ชัดว่าผู้เชี่ยวชาญในงานที่จะให้บริการตามที่ต้องการ มีจํานวนจํากัดไม่เหมาะสมที่จะดําเนินการด้วยวิธีคัดเลือก ( 3 ) เป็นการจ้างที่ต้องกระทําโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจเสียหายแก่งาน ข้อ 74 คณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง หรือผู้ที่ทําหน้าที่จ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง มีหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคของที่ปรึกษา ้ หนา 30 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( 2 ) พิจารณาอัตราค่าจ้างและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับบริการที่จะจ้างและเจรจาต่อรองราคา ( 3 ) พิจารณารายละเอียดและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่จะกําหนดในสัญญา ( 4 ) เมื่อดําเนินการเสร็จแล้ว ให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อผู้มีอํานาจอนุมัติการจ้างที่ปรึกษา เพื่อพิจารณาอนุมัติ ( 5 ) กรณีจําเป็นต้องยกเลิกการจ้างที่ปรึกษาครั้งนั้นทั้งหมดหรือบางส่วน หรือในกรณี ที่พิจารณาเห็นว่าการยกเลิกการจ้างที่ปรึกษาทั้งหมดหรือบางส่วนจะเป็นประโยชน์ต่อ กฟผ . ให้เสนอ ขอยกเลิกการจ้างที่ปรึกษาทั้งหมดหรือบางส่วนต่อผู้มีอํานาจอนุมัติการจ้างที่ปรึกษาครั้งนั้น เว้นแต่ในกรณี เป็นอํานาจอนุมัติของคณะกรรมการ กฟผ . หรือของผู้ว่าการ ให้เสนอรองผู้ว่าการเพื่อพิจารณา ข้อ 75 การจ้างที่ปรึกษาโดยปกติให้ทําเป็นสัญญาจ้างที่ปรึกษา เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ จะทําข้อตกลงไว้ต่อกันก็ได้ ( 1 ) การจ้างที่ปรึกษาที่มีค่าจ้างไม่เกิน 2 , 000 , 000 บาท ( 2 ) การจ้างที่ปรึกษาที่เป็นส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษา ( 3 ) ผู้มีอํานาจอนุมัติการจ้างที่ปรึกษาเห็นสมควร ข้อ 76 ในการจ้างที่ปรึกษาจะกําหนดให้มีเงื่อนไขการปรับในกรณีมีการส่งมอบงานล่าช้า หรือเงื่อนไขการประกันผลงานก็ได้ โดยให้ระบุไว้ในสัญญา ข้อ 77 การจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่ที่ปรึกษาจะกระทํามิได้ เว้นแต่ในกรณีมีความจําเป็น ให้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 35 ของค่าจ้างตามสัญญา การจ่ายเงินล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง ที่ปรึกษาจะต้องจัดให้มีหลักประกันการรับเงินล่วงหน้า เพื่อค้ําประกันเงินจํานวนนั้นตามสกุลเงินที่ กฟผ . ได้จ่ายไป เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ไม่ต้องจัดให้มีการค้ําประกัน ( 1 ) ที่ปรึกษาเป็นส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษา หรือ ( 2 ) การจ่ายเงินล่วงหน้าที่มีค่าจ้างไม่เกิน 100 , 000 บาท การจ่ายเงินล่วงหน้านอกเหนือจากหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้เสนอรองผู้ว่าการพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ข้อ 78 ในกรณีการจ้างที่ปรึกษาที่ได้รวมเงินค่าภาษีในราคาสัญญา ให้ใช้ราคาตามสัญญา เป็นฐานในการคํานวณเงินค่าปรับกรณีส่งมอบงานล่าช้าหรือเงินประกันผลงานตามข้อ 76 หรือเงินจ่ายล่วงหน้า ตามข้อ 77 ้ หนา 31 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

หมวด 9 การจัดซื้อที่ดิน ข้อ 79 การจัดซื้อที่ดินเพื่อใช้ในกิจการของ กฟผ . ในทุกกรณี เช่น การจัดซื้อที่ดิน เพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้า สถานีไฟฟ้าแรงสูง สถานีถ่ายทอดวิทยุ ที่ทําการ เป็นต้น ให้ถือปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ ข้อ 80 การจัดซื้อที่ดิน ให้ติดต่อโดยตรงกับเจ้าของที่ดินหรือผู้ได้รับมอบอํานาจโดยถูกต้อง ตามกฎหมายจากเจ้าของที่ดิน ข้อ 81 ให้มีคณะกรรมการจัดซื้อที่ดิน ประกอบด้วยผู้ปฏิบัติงานที่รองผู้ว่าการแต่งตั้ง โดยมีวาระตามที่รองผู้ว่าการกําหนด ข้อ 82 ให้คณะกรรมการจัดซื้อที่ดินมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) พิจารณากําหนดบริเวณที่ดินที่จะจัดซื้อให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่ กฟผ . ต้องการ จะใช้ประโยชน์ การกําหนดบริเวณที่ดินดังกล่าวอาจจะกําหนดหลายสถานที่ก็ได้ ( 2 ) ตรวจสภาพปัจจุบันของบริเวณที่ดินที่ได้กําหนดไว้เพื่อประกอบการพิจารณาเลือกสถานที่ ที่เหมาะสม ( 3 ) แต่งตั้งคณะทํางานเพื่อทําหน้าที่ตามที่คณะกรรมการจัดซื้อที่ดินมอบหมาย ( 4 ) ติดต่อสํานักงานที่ดินเพื่อขอคัดหรือถ่ายสําเนาระวางแผนที่หรือระวางรูปถ่ายทางอากาศ รายชื่อเจ้าของที่ดิน พร้อมทั้งราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรม เพื่อใช้อ้างอิงในการพิจารณาและต่อรองราคาที่ดิน ( 5 ) ปิดประกาศแจ้งความประสงค์การจัดซื้อที่ดินโดยเปิดเผย ณ ที่ทําการ กฟผ . และที่ทําการ ศาลากลางจังหวัด สํานักงานที่ดิน ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 วัน ยกเว้นกรณีการจัดซื้อที่ดิน เพื่อขยายเขตที่ดิน กฟผ . ที่มีอยู่เดิม หรือพื้นที่ที่มีความจําเป็นต่อกิจการของ กฟผ . ( 6 ) รับหนังสือเสนอขายที่ดินจากเจ้าของที่ดิน หรือผู้ได้รับมอบอํานาจโดยถูกต้อง ตามกฎหมายจากเจ้าของที่ดิน แล้วเปรียบเทียบกับราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรม และราคาซื้อขายที่ดินใกล้เคียง ( 7 ) ต่อรองราคากับผู้เสนอราคา ( 8 ) ทํารายงานสรุปผลการดําเนินการพร้อมด้วยความเห็น เสนอรองผู้ว่าการเพื่อพิจารณาอนุมัติ สําหรับการจัดซื้อที่ดินภายในวงเงินครั้งละไม่เกิน 200 , 000 , 000 บาท การจัดซื้อที่ดินที่มีวงเงินครั้งละเกิน 200 , 000 , 000 บาท ให้เสนอคณะกรรมการ กฟผ . เพื่อพิจารณา ้ หนา 32 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ค่าธรรมเนียม ภาษีอากร และค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่เกิดขึ้น ให้เป็นไป ตามภาระหน้าที่ที่กฎหมายกําหนด เว้นแต่กรณีมีความจําเป็นต้องตกลงเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ หาก กฟผ . เป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย วงเงินการจัดซื้อที่ดินจะเป็นวงเงินซึ่งรวมค่าใช้จ่ายดังกล่าวแล้ว ข้อ 83 ในการพิจารณากําหนดบริเวณที่ดินที่จะจัดซื้อ ให้คณะกรรมการจัดซื้อที่ดินพิจารณา โดยคํานึงถึงองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) เทคนิคหรือวิชาการ เช่น พิจารณาสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้า แนวสายส่งเข้า - ออก บริเวณสถานีไฟฟ้าแรงสูง รูปร่างลักษณะที่ดินในการวางผัง เป็นต้น ( 2 ) การคมนาคม ( 3 ) สาธารณูปโภค เช่น แหล่งน้ําดื่มน้ําใช้ เป็นต้น ( 4 ) สภาวะแวดล้อม ( 5 ) ค่าใช้จ่ายในการลงทุน เช่น ราคาที่ดิน ค่าพัฒนาที่ดิน ค่าทําถนน หรือปรับปรุง ทางเข้าสู่ที่ดิน เป็นต้น ข้อ 84 ถ้าที่ดินที่จะจัดซื้อมีทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน เช่น สิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ เป็นต้น หาก กฟผ . จําเป็นต้องจ่ายเงินสําหรับทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินนั้น ให้คณะกรรมการจัดซื้อที่ดินมีหน้าที่ ดําเนินการอันจําเป็นในเรื่องดังกล่าวได้ตามที่เห็นสมควร คณะกรรมการจัดซื้อที่ดินจะต้องรายงานการดําเนินการตามวรรคหนึ่งไว้ในรายงานสรุปผล ตามข้อ 82 ( 8 ) ด้วย ข้อ 85 เมื่อผู้มีอํานาจตามข้อ 82 ( 8 ) ได้อนุมัติการจัดซื้อที่ดินแล้ว ในการจ่ายเงินค่าซื้อที่ดิน และหรือการจ่ายเงินมัดจําค่าซื้อที่ดิน ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่จัดหาที่ดินแจ้งคณะกรรมการจ่ายเงินค่าซื้อที่ดิน ตามข้อ 86 เพื่อดําเนินการต่อไป การจ่ายเงินมัดจําค่าซื้อที่ดิน ถ้ามิได้ขออนุมัติไว้ในชั้นการอนุมัติการจัดซื้อที่ดิน หากมีความจําเป็นต้องจ่าย ให้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของราคาที่ดิน โดยให้กองจัดหาที่ดินนําเสนอ ผู้ช่วยผู้ว่าการขึ้นไปที่รับผิดชอบงานด้านที่ดินเพื่อพิจารณา เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ให้แจ้งคณะกรรมการ จ่ายเงินค่าซื้อที่ดินเพื่อดําเนินการต่อไป การขออนุมัติจ่ายเงินมัดจําค่าซื้อที่ดินเกินร้อยละ 30 ของราคาที่ดิน ให้เสนอคณะกรรมการ กฟผ . เพื่อพิจารณา ข้อ 86 ให้มี “ คณะกรรมการจ่ายเงินค่าซื้อที่ดิน ” เรียกโดยย่อว่า “ คจด .” ประกอบด้วย ( 1 ) ผู้ปฏิบัติงานระดับ 6 ขึ้นไปที่ เป็นประธานกรรมการ ผู้อํานวยการฝ่ายกฎหมายมอบหมาย ( 2 ) ผู้ปฏิบัติงานระดับ 4 ขึ้นไปที่ เป็นกรรมการ หัวหน้ากองของหน่วยงานที่มี หน้าที่จัดหาที่ดินมอบหมาย ้ หนา 33 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( 3 ) ผู้ปฏิบัติงานระดับ 4 ขึ้นไปที่ เป็นกรรมการ หัวหน้ากองการเงินมอบหมาย ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายเป็น คจด . คนใดไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นหัวหน้ากองขึ้นไปของ คจด . นั้น มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานอื่นที่อยู่ในระดับ ตามที่กําหนดข้างต้นเป็น คจด . แทน การมอบหมายให้ทําเป็นหนังสือหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แล้วแจ้งให้กรรมการอื่นและกองบัญชีเจ้าหนี้ ค่าใช้จ่ายเดินทางและกิจกรรมทั่วไปทราบ ข้อ 87 คจด . ตามข้อ 86 จะมีกี่คณะก็ได้ตามความจําเป็น และตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ ( 1 ) การจ่ายเงินมัดจําค่าซื้อที่ดินหรือเงินค่าซื้อที่ดินของโครงการก่อสร้างแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือโครงการอื่น ๆ ให้มี คจด . ของแต่ละโครงการ ( 2 ) การจ่ายเงินมัดจําค่าซื้อที่ดินหรือเงินค่าซื้อที่ดินนอกจาก ( 1 ) ให้มี คจด . ตามความจําเป็น ของงาน ข้อ 88 ให้ คจด . มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ก่อนจ่ายเงินมัดจําค่าซื้อที่ดินหรือเงินค่าซื้อที่ดินให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดิน ให้ปฏิบัติ ดังนี้ ( ก ) ในกรณีการจ่ายเงินมัดจําค่าซื้อที่ดิน ให้จัดทํา “ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ” ( แบบ กฟผ .- ทด . 10 ) ตามแบบพิมพ์ที่กําหนดในคําสั่ง กฟผ . เรื่อง แบบพิมพ์การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุ ให้ประธาน คจด . เป็นผู้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้กระทําในนามของ กฟผ . และในฐานะ ผู้กระทําแทน กฟผ . ในสัญญาตามวรรคหนึ่ง ( ข ) ในกรณีการจ่ายเงินค่าซื้อที่ดิน จะต้องดําเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิ์ครอบครองที่ดินที่จะซื้อให้เรียบร้อย ( ค ) ในกรณีที่ที่ดินนั้นมีเงื่อนไขห้ามโอนในระยะเวลาที่กําหนด ให้จัดให้ผู้ขายจัดทํา “ หนังสือแสดงเจตนาสละการครอบครอง ” ( แบบ กฟผ .- ทด . 11 ) ตามแบบพิมพ์ที่กําหนดในคําสั่ง กฟผ . เรื่อง แบบพิมพ์การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ และหนังสือมอบอํานาจการจดทะเบียนโอนที่ดิน พร้อมทั้งให้ผู้ขายส่งมอบเอกสารสิทธิ์หรือหลักฐานที่ดินให้ กฟผ . ยึดถือไว้ และในกรณีที่ผู้ขาย เป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียมการโอนและค่าภาษี ให้หักเงินจํานวนดังกล่าวจากเงินค่าซื้อที่ดินด้วย ( ง ) ตรวจสอบบัตรประจําตัว หลักฐานการเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดิน และหลักฐานอื่น ๆ ที่จําเป็น ( 2 ) ดําเนินการจ่ายเงินมัดจําค่าซื้อที่ดินหรือเงินค่าซื้อที่ดินให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินนั้น ( 3 ) เมื่อ คจด . ได้จ่ายเงินมัดจําค่าซื้อที่ดินหรือเงินค่าซื้อที่ดินเรียบร้อยแล้ว ให้จัดส่งเอกสาร เกี่ยวกับการจ่ายเงินมัดจําค่าซื้อที่ดินหรือเงินค่าซื้อที่ดินและใบสําคัญที่เกี่ยวข้องให้กองบัญชีเจ้าหนี้ ้ หนา 34 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ค่าใช้จ่ายเดินทางและกิจกรรมทั่วไป และจัดทํารายงานการจ่ายเงินมัดจําค่าซื้อที่ดินหรือเงินค่าซื้อที่ดิน เสนอผู้ปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้ ( ก ) ผู้ช่วยผู้ว่าการกฎหมายและธรรมาภิบาล หรือผู้อํานวยการฝ่ายที่มีหน้าที่รับผิดชอบ หน่วยงานกฎหมายของสายงาน ( ข ) ผู้อํานวยการฝ่ายที่รับผิดชอบงานด้านที่ดิน ( ค ) ผู้อํานวยการฝ่ายบริหารการเงิน ข้อ 89 การจ่ายเงินค่าซื้อที่ดินหรือเงินมัดจําค่าซื้อที่ดิน ให้จ่ายให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดิน แต่ละราย ข้อ 90 ให้กองบัญชีเจ้าหนี้ค่าใช้จ่ายเดินทางและกิจกรรมทั่วไปตรวจสอบเอกสารหลักฐาน การจ่ายเงินมัดจําค่าซื้อที่ดินหรือเงินค่าซื้อที่ดินและใบสําคัญที่เกี่ยวข้องที่ได้รับจาก คจด . แล้วรวบรวม เอกสารหลักฐานดังกล่าวนําส่งแผนกบัญชีทรัพย์สิน - ที่ดินและกรรมสิทธิ์ในการใช้ที่ดิน กองบัญชีบริหารทรัพย์สิน และวัสดุ ฝ่ายบัญชี เพื่อเก็บรักษาต่อไป หมวด 10 การเช่าอสังหาริมทรัพย์ การเช่าสังหาริมทรัพย์ การเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ และการลีสซิ่ง (Leasing) ข้อ 91 การเช่าอสังหาริมทรัพย์ การเช่าสังหาริมทรัพย์ การเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ และการลีสซิ่ง (Leasing) ให้หน่วยงานที่มีความประสงค์พิจารณาดําเนินการได้โดยถือปฏิบัติเช่นเดียวกับการซื้อ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ โดยอนุโลม หมวด 11 การประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้าง และการประเมินและเปิดเผยผลสัมฤทธิ์ ข้อ 92 การประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้าง เมื่อผู้มีอํานาจอนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างแล้ว ให้หัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่รับผิดชอบหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้าง ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของ กฟผ . และของกรมบัญชีกลาง เว้นแต่การจัดซื้อจัดจ้างในครั้งนั้น ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในเชิงธุรกิจ หากรองผู้ว่าการเห็นสมควรจะประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้าง โดยไม่ประกาศราคาก็ได้ ข้อ 93 จัดให้มีการประเมินและเปิดเผยผลสัมฤทธิ์ของการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ตามหลักเกณฑ์ที่รองผู้ว่าการกําหนด ้ หนา 35 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

หมวด 12 การอุทธรณ์ ข้อ 94 ผู้ซึ่งได้ยื่นข้อเสนอเพื่อทําการจัดซื้อจัดจ้างกับ กฟผ . มีสิทธิ์อุทธรณ์เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ในกรณีที่เห็นว่า กฟผ . มิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในข้อบังคับ กฟผ . ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงหรือระเบียบนี้ เป็นเหตุให้ตน ไม่ได้รับการประกาศผลเป็นผู้ชนะหรือไม่ได้รับการคัดเลือกเป็นคู่สัญญากับ กฟผ . การอุทธรณ์ต้องทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้อุทธรณ์ ในหนังสืออุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ต้องใช้ถ้อยคําสุภาพ โดยระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายที่อ้างอิงประกอบด้วย พร้อมแนบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปด้วย ข้อ 95 ให้ผู้มีสิทธิ์อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์ต่อ กฟผ . ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หรือวันประกาศผลของ กฟผ . แล้วแต่กรณีใดจะเกิดขึ้นก่อน ข้อ 96 ให้มี “ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ” ประกอบด้วย ( 1 ) ผู้ช่วยผู้ว่าการของหน่วยงานผู้ใช้งาน เป็นประธานกรรมการ ( 2 ) ผู้อํานวยการฝ่ายกฎหมายหรือผู้แทน เป็นกรรมการ ( 3 ) ผู้อํานวยการฝ่ายที่รับผิดชอบ เป็นกรรมการ หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง หรือที่รับฝากการบังคับบัญชา หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้แทน ( 4 ) ผู้อํานวยการฝ่ายของหน่วยงานผู้ใช้งาน เป็นกรรมการ หรือผู้ช่วยผู้อํานวยการฝ่าย และเลขานุการ ของหน่วยงานผู้ใช้งานหรือผู้แทน ทั้งนี้ กรรมการตามวรรคหนึ่ง ต้องมิใช่คณะกรรมการพิจารณาผลการจัดซื้อจัดจ้างครั้งนั้น มติของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานกรรมการออกเสียงเพิ่มขึ้น อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด กรรมการคนใดไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการ ให้ทําบันทึกความเห็นแย้งไว้ด้วย ข้อ 97 ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอํานาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) พิจารณาและเสนอความเห็นต่อผู้ว่าการ ( 2 ) มีอํานาจเรียกให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือบุคคลอื่นใดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคํา หรือให้ส่งเอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาได้ ( 3 ) มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําการใด ๆ แทนได้ ้ หนา 36 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ข้อ 98 การพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการจัดซื้อจัดจ้างพิจารณา และวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันทําการนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ในกรณีที่เห็นด้วยกับอุทธรณ์ ก็ให้ทําความเห็นเสนอต่อผู้ว่าการเพื่อพิจารณาดําเนินการต่อไปตามความเห็นนั้นให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันทําการ ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาผลการจัดซื้อจัดจ้างไม่เห็นด้วยกับอุทธรณ์ ไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน หรือผู้ว่าการพิจารณาแล้วไม่เห็นด้วยตามความเห็นในวรรคหนึ่ง ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์ของ กฟผ . ซึ่งผู้ว่าการแต่งตั้ง ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่ครบกําหนดตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้รับเรื่องจากคณะกรรมการพิจารณาผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือจากผู้ว่าการ ให้คณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่ วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว หากเรื่องใดไม่อาจพิจารณาได้ทันในกําหนดนั้น ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขยายระยะเวลาออกไปได้ ไม่เกิน 15 วันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาดังกล่าว โดยขออนุมัติผู้ว่าการ และแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ และผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกทราบ ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่าอุทธรณ์ฟังขึ้นและมีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้าง อย่างมีนัยสําคัญ ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สรุปเรื่องและความเห็นว่าควรจัดซื้อจัดจ้างใหม่ หรือเริ่มจากขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใด และเสนอผู้ว่าการพิจารณาวินิจฉัย ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน เพื่อสั่งให้คณะกรรมการพิจารณาผลการจัดซื้อจัดจ้างดําเนินการให้มีการจัดซื้อจัดจ้างใหม่หรือเริ่มจาก ขั้นตอนใดตามที่เห็นสมควร ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่าอุทธรณ์ฟังไม่ขึ้นหรือไม่มีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้าง อย่างมีนัยสําคัญ ให้สรุปเรื่องเพื่อเสนอผู้ว่าการพิจารณาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน หากผู้ว่าการ เห็นชอบให้ทําการจัดซื้อจัดจ้างต่อไป การวินิจฉัยของผู้ว่าการให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์การจัดซื้อจัดจ้างที่อนุมัติโดยคณะกรรมการ กฟผ . ให้รายงานผล การพิจารณาอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ กฟผ . เพื่อทราบ การอุทธรณ์ ไม่เป็นเหตุให้ระงับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่อยู่ระหว่างดําเนินการ เว้นแต่ผู้ว่าการจะเห็นสมควรให้ระงับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าว ทั้งนี้ การลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างหรือข้อตกลงจะกระทําได้ต่อเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาอุทธรณ์ และไม่มีผู้ใดอุทธรณ์ตามข้อ 95 หรือในกรณีที่มีการอุทธรณ์ เมื่อผู้ว่าการวินิจฉัยให้ทําการจัดซื้อจัดจ้าง ต่ อไปได้ เว้นแต่ การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษที่ไม่มีการแข่งขัน หรือมีความจําเป็นเร่งด่ วน ที่ต้องดําเนินการจัดซื้อจัดจ้าง หมวด 13 หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับ และผู้ควบคุมงาน ข้อ 99 คณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือผู้ตรวจรับพัสดุ มีหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) ให้ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทําการของ กฟผ . หรือสถานที่ตามที่กําหนดในสัญญา ้ หนา 37 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( 2 ) ตรวจรับพัสดุที่ซื้อว่าถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้หรือไม่ ในกรณีที่มีการทดลอง หรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์ จะเชิญผู้ชํานาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้น มาให้คําปรึกษา หรือส่งพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชํานาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้น ๆ ก็ได้ ในกรณีจําเป็นที่ไม่สามารถตรวจนับเป็นจํานวนหน่วยทั้งหมดได้ ให้ตรวจรับตามหลักวิชาการสถิติ ( 3 ) ให้ตรวจรับพัสดุในวันที่คู่สัญญานําพัสดุมาส่ง ในกรณีที่ไม่ได้ทําการตรวจรับพัสดุในวันที่ คู่สัญญานําพัสดุมาส่งก็ให้ตรวจรับโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะปฏิบัติได้ เมื่อได้ตรวจรับถูกต้องแล้ว ให้ถือว่า คู่สัญญาส่งมอบพัสดุครบถ้วนตั้งแต่วันที่คู่สัญญานําพัสดุมาส่ง ( 4 ) ในกรณีคู่สัญญาส่งมอบพัสดุถูกต้องแต่ไม่ครบจํานวน หรือส่งมอบครบจํานวนแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ถ้าสัญญามิได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นจะตรวจรับไว้เฉพาะจํานวนที่ถูกต้องก็ได้ ( 5 ) ในกรณีพัสดุแต่ละรายการซึ่งต้องใช้ควบคู่กันหรือเป็นส่วนประกอบอันจําเป็นซึ่งกันและกัน ถ้าคู่สัญญาส่งมอบขาดรายการใดรายการหนึ่งแล้วไม่อาจใช้การได้โดยสมบูรณ์ ไม่ต้องตรวจรับพัสดุนั้น และรายงานให้ผู้มีอํานาจอนุมัติการซื้อเพื่อแจ้งคู่สัญญาโดยเร็ว ( 6 ) ในกรณีเมื่อครบกําหนดส่งมอบพัสดุตามสัญญาแล้ว ถ้า กฟผ . ยังไม่ได้รับมอบพัสดุ หรือได้รับแต่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ และมีค่าปรับเกิดขึ้น ให้ดําเนินการตามหมวด 17 และ 18 ( 7 ) ในกรณีที่กรรมการตรวจรับพัสดุคนใดไม่ยอมรับพัสดุ ให้กรรมการดังกล่าวทําบันทึก ความเห็นแย้งเสนอผู้มีอํานาจอนุมัติการซื้อครั้งนั้นพิจารณาสั่งการ เว้นแต่กรณีที่อยู่ในอํานาจอนุมัติ การซื้อของคณะกรรมการ กฟผ . ให้เสนอรองผู้ว่าการ ข้อ 100 คณะกรรมการตรวจรับงานจ้างหรือผู้ตรวจรับงานจ้าง มีหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) ต ร ว จ ส อ บ รำ ย งำ น กำ ร ป ฏิ บั ติ งำ น ข อ ง คู่ สั ญ ญำ แ ล ะ เ ห ตุ กำ ร ณ์ แ ว ด ล้ อ ม ที่ผู้ควบคุมงานรายงาน โดยตรวจสอบกับแบบรูป รายการละเอียด และหรือข้อกําหนดในสัญญา รวมทั้งรับทราบหรือพิจารณาสั่งการหยุดงานหรือพักงานคู่สัญญา แล้วรายงานผู้มีอํานาจอนุมัติการจ้าง พิจารณาสั่งการ ( 2 ) ใ น กำ ร ดํำ เ นิ น กำ ร ตำ ม ( 1 ) ใ น ก ร ณี มี ข้ อ ส ง สั ย ห รื อ มี ก ร ณี ที่ เ ห็ น ว่ำ ตามหลักวิชาการช่างไม่น่าจะเป็นไปได้ ให้ออกตรวจงานจ้าง ณ สถานที่ที่กําหนดไว้ในสัญญาหรือ ที่ตกลงให้ทํางานจ้างนั้น ๆ โดยให้มีอํานาจสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมหรือตัดทอนงานจ้างได้ ตามที่เห็นสมควรและตามหลักวิชาการช่าง เพื่อให้เป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียด และหรือ ข้อกําหนดในสัญญา ( 3 ) โดยปกติให้ตรวจผลงานที่คู่สัญญาส่งมอบภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ ประธานกรรมการได้รับทราบการส่งมอบงาน และให้ทําการตรวจรับให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด ( 4 ) เมื่อตรวจเห็นเป็นการถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียด และหรือข้อกําหนดในสัญญาแล้ว ให้ถือว่าคู่สัญญาส่งมอบงานครบถ้วนตั้งแต่วันที่คู่สัญญาส่งงานนั้น ้ หนา 38 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

และให้ทําใบรับรองผลการปฏิบัติงานทั้งหมดหรือเฉพาะงวด แล้วแต่กรณี โดยลงลายมือชื่อรับรองไว้เป็นหลักฐาน ใบรับรองนี้ใช้เป็นหลักฐานในการตรวจจ่ายเงินค่าจ้าง ( 5 ) ในกรณีเมื่อครบกําหนดส่งมอบงานจ้างตามสัญญาแล้ว ถ้า กฟผ . ยังไม่ได้รับมอบ งานจ้าง หรือได้รับแต่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ และมีค่าปรับเกิดขึ้น ให้ดําเนินการตามหมวด 17 และ 18 ( 6 ) ในกรณีที่กรรมการตรวจรับงานจ้างคนใดไม่ยอมรับงานจ้าง ให้กรรมการดังกล่าว ทําบันทึกความเห็นแย้งเสนอผู้มีอํานาจอนุมัติการจ้างครั้งนั้นพิจารณาสั่งการ เว้นแต่กรณีที่อยู่ในอํานาจอนุมัติ การจ้างของคณะกรรมการ กฟผ . ให้เสนอรองผู้ว่าการ ข้อ 101 ให้ผู้ควบคุมงานมีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ตรวจและควบคุมการปฏิบัติงานของคู่สัญญาให้เป็นไปโดยถูกต้องตรงตามแบบรูป รายการละเอียด และหรือข้อกําหนดในสัญญา ( 2 ) ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของคู่สัญญาให้เป็นไปโดยปลอดภัย และถูกต้อง ตามกฎหมายและระเบียบของ กฟผ . ( 3 ) ตรวจสอบและรับรองผลงานของคู่สัญญาในขั้นต้น ( 4 ) บันทึกผลการปฏิบัติงานของคู่สัญญาเป็นรายวัน ( 5 ) ทํารายงานสรุปผลการปฏิบัติงานของคู่สัญญา ข้อ 102 ในกรณีที่ผู้ควบคุมงานพิจารณาเห็นว่าคู่สัญญาปฏิบัติไม่ถูกต้องตรงตามแบบรูป รายการละเอียด และหรือข้อกําหนดในสัญญา เช่น ใช้วัสดุหรือวิธีการทํางานไม่ถูกต้อง ให้แจ้งคู่สัญญา เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง ถ้าคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตาม ให้รีบรายงานผู้แต่งตั้งผู้ควบคุมงานโดยเร็วที่สุด เพื่อพิจารณาสั่งระงับงานนั้นไว้ก่อน หรือสั่งการแก้ไขตามที่เห็นสมควรโดยเร็ว หากมีปัญหาเกิดขึ้นในกรณีที่แบบรูป รายการละเอียด และหรือข้อกําหนดในสัญญา มีข้อความขัดกันหรือเป็นที่คาดหมายได้ว่าถึงแม้งานนั้นจะได้เป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียด และหรือข้อกําหนดในสัญญา แต่เมื่อสําเร็จลงแล้วจะไม่มั่นคงแข็งแรงหรือจะเกิดปัญหาอย่างอื่น ให้ผู้ควบคุมงานรีบรายงานผู้แต่งตั้งผู้ควบคุมงานโดยเร็วที่สุด เพื่อพิจารณาสั่งหยุดงานนั้นไว้ก่อน หรือสั่งการแก้ไขตามที่เห็นสมควรโดยเร็ว ในกรณีฉุกเฉิน ถ้าเห็นว่าการทํางานของคู่สัญญาอาจทําให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือทรัพย์สิน และหรืออาจเสียหายแก่งานก่อสร้างนั้น ผู้ควบคุมงานอาจสั่งระงับหรือหยุดงานดังกล่าวนั้นไว้ก่อนได้ และให้รายงานผู้แต่งตั้งผู้ควบคุมงานโดยเร็วที่สุด การสั่งระงับหรือหยุดงานหรือการสั่งการประการใด ๆ ในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ให้ทําเป็นลายลักษณ์อักษร ข้อ 103 เพื่อเป็นการประสานงานกับคณะกรรมการตรวจรับงานจ้าง เมื่อผู้ควบคุมงาน หรือผู้แต่งตั้งผู้ควบคุมงาน ได้สั่งให้คู่สัญญาระงับหรือหยุดงานหรือสั่งการประการใดตามข้อ 102 แล้ว ให้แจ้งคณะกรรมการตรวจรับงานจ้างเพื่อทราบและดําเนินการต่อไป ้ หนา 39 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ข้อ 104 ในกรณีที่ กฟผ . ได้ทําสัญญาจ้างวิศวกรที่ปรึกษาควบคุมงานหรือร่วมควบคุมงาน และในสัญญาจ้างนั้นได้ให้อํานาจวิศวกรที่ปรึกษาในการควบคุมงาน และหรืออํานาจในการเปลี่ยนแปลง แก้ไขแบบรูป รายการละเอียด และหรือข้อกําหนดในการก่อสร้างอยู่แล้ว ก็ให้เป็นไปตามสัญญาจ้างนั้น ข้อ 105 คณะกรรมการตรวจรับงานจ้ำงที่ปรึกษาหรือผู้ตรวจรับงานจ้างที่ปรึกษา มีหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) กํากับและติดตามงานจ้างที่ปรึกษาให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในสัญญา ( 2 ) ตรวจรับงานจ้างที่ปรึกษา ณ ที่ทําการของผู้ว่าจ้าง หรือสถานที่ซึ่งกําหนดไว้ในสัญญา ( 3 ) โ ด ย ป ก ติ ใ ห ้ ต ร ว จ รั บ งำ น จ ้ำ ง ที่ ป รึ ก ษำ ใ น วั น ที่ ที่ ป รึ ก ษำ นํำ ผ ล งำ น มำ ส ่ ง และให้ทําการตรวจรับให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด ( 4 ) เมื่อตรวจถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามที่กําหนดไว้ ในสัญญาแล้ว ให้รับงานจ้ำง ที่ปรึกษาไว้และถือว่าที่ปรึกษาได้ส่งมอบงานถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ที่ปรึกษานําส่งมอบผลงาน ( 5 ) ในกรณีกรรมการตรวจรับงานจ้างที่ปรึกษาคนใดไม่ ยอมรับงานจ้างที่ปรึกษา ให้กรรมการดังกล่าวทําบันทึกความเห็นแย้งเสนอผู้มีอํานาจอนุมัติการจ้างที่ปรึกษาครั้งนั้น เพื่อพิจารณาสั่งการ เว้นแต่กรณีที่อยู่ในอํานาจอนุมัติการจ้างที่ปรึกษาของคณะกรรมการ กฟผ . ให้เสนอรองผู้ว่าการ หมวด 14 การยกเลิกการสนองรับราคา ข้อ 106 ในกรณีผู้เสนอราคารายใดได้รับการคัดเลือกแล้วไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตนได้เสนอ หรือสนองรับไว้ ให้หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างจัดทําเรื่องขอยกเลิกการสนองรับราคาของผู้นั้น และริบ หลักประกัน ( ถ้ามี ) หรือเรียกร้องจากธนาคารในประเทศหรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ผู้ค้ําประกันตามเงื่อนไขในการเสนอราคา เสนอขออนุมัติผู้ปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ผู้บังคับบัญชาชั้นผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไป หรือหัวหน้าหน่วยงานสูงสุดของโครงการ ( 2 ) ผู้ปฏิบัติงานอื่นนอกจาก ( 1 ) ที่มีอํานาจอนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างภายในวงเงิน อํานาจอนุมัติของตน ข้อ 107 เมื่อผู้มีอํานาจได้อนุมัติตามข้อ 106 แล้ว ให้หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างดําเนินการ ดังนี้ ( 1 ) จัดทําสําเนาเรื่องส่งให้ ( ก ) หน่วยงานการเงิ น เพื่ อ ดํำเนินการริ บหลั ก ป ร ะ กัน ( ถ้ามี ) โดยเร็ ว สําหรับกรณีหลักประกันที่เป็นเงินสด ดราฟท์ เช็คที่ธนาคารในประเทศรับรอง หรือเช็คที่ธนาคาร ในประเทศเป็นผู้สั่งจ่าย ( ข ) คลังพัสดุที่เกี่ยวข้อง ( ค ) หน่วยงานผู้ใช้งานและหรือเจ้าของงาน ้ หนา 40 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( 2 ) จัดส่งต้นเรื่องให้หน่วยงานกฎหมายเพื่อดําเนินการ ดังต่อไปนี้ ( ก ) แจ้งยกเลิกการสนองรับราคาและแจ้งการริบหลักประกัน ( ถ้ามี ) ( ข ) เรียกร้องจากหลักประกันที่เป็นอย่างอื่นนอกจากที่กล่าวใน ( 1 ) ( ก ) ( ถ้ามี ) ตามวิธีการของกฎหมาย ก่อนดําเนินการตาม ( 2 ) ให้หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างจัดทํา “ หนังสือแจ้งผู้ค้ําประกันกรณีลูกหนี้ผิดนัด ” ตามแบบพิมพ์ที่กําหนดในคําสั่ง กฟผ . เรื่อง แบบพิมพ์การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ส่งให้ธนาคารในประเทศหรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ผู้ออกหนังสือค้ําประกันทางไปรษณีย์ ลงทะเบียนโดยเร็ว อย่างช้าไม่เกิน 60 วันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาตามที่ กฟผ . มีหนังสือแจ้งให้ มาทําสัญญากับ กฟผ . ( 3 ) ในกรณีที่ผู้เสนอราคาไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้พิจารณา ว่าสมควรจะเป็นผู้ทิ้งงานหรือไม่ หากเห็นสมควรให้ดําเนินการตามขั้นตอนต่อไป หมวด 15 คณะกรรมการบริหารสัญญา ข้อ 108 ให้รองผู้ว่าการมีอํานาจพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสัญญาตามความเหมาะสม เพื่อบริหารจัดการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสัญญา ให้คณะกรรมการบริหารสัญญาประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คนและกรรมการ อย่างน้อย 2 คน ซึ่งแต่งตั้งจากผู้ปฏิบัติงาน โดยให้คํานึงถึงลักษณะงาน หน้าที่และความรับผิดชอบ ของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นสําคัญ ให้คณะกรรมการบริหารสัญญามีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ ( 1 ) ติดตามและบริหารจัดการให้คู่สัญญาปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญา ( 2 ) ติดตามและวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อประสานงานกับคู่สัญญาในการแก้ไขปัญหา ชําระค่าปรับ ค่าความเสียหาย หรือค่าชดเชย อันเนื่องมาจากการปฏิบัติผิดเงื่อนไขในสัญญา ( 3 ) ติดตามการตรวจสอบความเสียหายของพัสดุที่ซื้อหรืองานที่จ้างกับหน่วยงานผู้ใช้งาน ก่อนการคืนหลักประกันสัญญา ( 4 ) รายงานปัญหาและอุปสรรคต่อผู้เกี่ยวข้องเพื่อดําเนินการตามระเบียบต่อไป ( 5 ) รายงานผลการดําเนินงานต่อผู้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสัญญา หมวด 16 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ข้อ 109 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ให้กระทําได้เฉพาะในกรณีจําเป็น เพื่อประโยชน์ ของ กฟผ . หรือไม่ทําให้ กฟผ . ต้องเสียประโยชน์ ้ หนา 41 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาที่มิใช่กรณีดังกล่าวข้างต้น ให้นําเสนอผู้ว่าการเพื่อพิจารณา นําเสนอคณะกรรมการ กฟผ . ข้อ 110 การดําเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ให้หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง หรือหน่วยงาน ที่มีความจําเป็นต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาในส่วนที่หน่วยงานนั้นรับผิดชอบ ชี้แจงเหตุผลความจําเป็น รายละเอียดการแก้ไขเปลี่ยนแปลง และประโยชน์ที่ กฟผ . จะได้รับ ( ถ้ามี ) โดยจัดทํา “ บันทึกรายงาน ขออนุมัติแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ” ( แบบ กฟผ .- พด . 47 ) ตามแบบพิมพ์ที่กําหนดในคําสั่ง กฟผ . เรื่อง แบบพิมพ์การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ เสนอผู้ปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ เพื่อพิจารณาอนุมัติ หรืออนุมัติในหลักการให้คู่สัญญาดําเนินการไปก่อนได้ ( 1 ) ผู้บังคับบัญชาชั้นผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไป หรือหัวหน้าหน่วยงานสูงสุดของโครงการ ( 2 ) ผู้ปฏิบัติงานอื่นนอกจาก ( 1 ) ที่มีอํานาจอนุมัติการจัดซื้อจัดจ้าง โดยให้กระทําได้สําหรับสัญญา ที่อยู่ในวงเงินอํานาจอนุมัติของตน และหากมีการเปลี่ยนแปลงราคา ราคารวมของสัญญาที่เปลี่ยนแปลงแล้ว จะต้องไม่เกินวงเงินอํานาจอนุมัติของตน การดําเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาที่ผู้มีอํานาจได้อนุมัติหรืออนุมัติในหลักการในต้นเรื่องแล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทําแบบพิมพ์ดังกล่าว ข้อ 111 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาที่เป็นการเพิ่มเติมรายการในงบลงทุนที่ได้รับอนุมัติไว้แล้ว จะดําเนินการได้เมื่อได้ดําเนินการด้านงบประมาณเรียบร้อยแล้ว ข้อ 112 ให้ ผู้ มีอํานาจตามข้ อ 110 มีอํานาจอนุมัติการแก้ ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ในกรณี ดังต่อไปนี้ ( 1 ) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะด้านเทคนิคของพัสดุ หรือการแก้ไข เปลี่ยนแปลงแบบรูปหรือรายละเอียดด้านเทคนิคของงานจ้าง หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดอื่น ๆ ซึ่งไม่มีผลกระทบทําให้ราคาสัญญานั้นสูงขึ้น ( 2 ) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทางการค้า (Commercial Part) รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสกุลเงิน ซึ่งไม่มีผลให้ กฟผ . เสียประโยชน์ ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงสกุลเงินให้สอบถามความเห็นจากหน่วยงาน การเงินก่อน ( 3 ) การขยายกําหนดเวลาส่งมอบของพัสดุจํานวนเดิมหรืองานจ้างเดิม อันเนื่องจากเหตุจําเป็น ของ กฟผ . และระยะเวลาที่ขยายนั้นต้องไม่เกินระยะเวลาที่เสียไปเพราะเหตุ ดังกล่าว ( 4 ) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามมติคณะรัฐมนตรี ( 5 ) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงจํานวนพัสดุ หรือปริมาณงานซึ่งมีสภาพและประเภทของงาน เช่นเดียวกับงานเดิม โดยใช้ราคาต่อหน่วยซึ่งระบุไว้ชัดแจ้งในสัญญานั้นแล้ว หรือราคาต่อหน่วย ที่คํานวณได้โดยใช้การเปรียบเทียบจากฐานราคาเดิมที่มีระบุไว้ในสัญญานั้นแล้ว ทั้งนี้ ราคาที่เปลี่ยนแปลง รวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 30 ของราคาสัญญาเดิม ้ หนา 42 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ในกรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาตามวรรคหนึ่งที่ราคา เปลี่ยนแปลงรวมกันแล้วเกินร้อยละ 30 ของราคาสัญญาเดิม หากราคาสัญญาเดิมรวมกับราคาที่เปลี่ยนแปลงแล้วอยู่ในอํานาจอนุมัติการซื้อ หรือการจ้างของผู้ใด ให้เสนอผู้นั้นพิจารณาอนุมัติการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา เว้นแต่กรณี ที่อยู่ในอํานาจอนุมัติของคณะกรรมการ กฟผ . ให้เสนอขออนุมัติผู้ว่าการ ( 6 ) การแก้ ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาอันมีผลกระทบทําให้ ราคาสัญญา เปลี่ยนแปลง ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ ( ก ) ราคาเปลี่ยนแปลงรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 100 , 000 บาท หรือ ( ข ) ราคาเปลี่ยนแปลงครั้งละไม่เกิน 2 , 500 , 000 บาท ทั้งนี้ ราคาที่เปลี่ยนแปลง รวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาสัญญาเดิมที่มีวงเงินไม่เกิน 10 , 000 , 000 บาท หรือราคาที่เปลี่ยนแปลงรวมกันแล้ วต้ องไม่ เกินร้ อยละ 10 ของราคาสัญญาเดิมที่มีวงเงิน เกิน 10 , 000 , 000 บาท ข้อ 113 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาตามข้อ 112 ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้ ( 1 ) ต้องไม่มีผลให้ขยายกําหนดเวลาส่งมอบของพัสดุจํานวนเดิมหรืองานจ้างเดิม เว้นแต่ เป็นการขยายกําหนดเวลาที่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ 112 ( 3 ) และการขยายกําหนดเวลา ตามมติคณะรัฐมนตรีตามข้อ 112 ( 4 ) ( 2 ) ในกรณีที่มีการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงรายการพัสดุหรืองานจ้าง พัสดุหรืองานจ้างที่เพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะต้องเป็นพัสดุหรืองานจ้างที่เกี่ยวเนื่องกับพัสดุหรืองานจ้างตามสัญญาเดิม ในกรณีที่มีการเพิ่มเติมรายการพัสดุหรืองานจ้างตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีอํานาจอนุมัติ พิจารณากําหนดระยะเวลาส่งมอบของพัสดุหรืองานจ้างที่เพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ระยะเวลาส่งมอบของพัสดุหรืองานจ้างที่เพิ่มเติมต้องไม่เป็นผลให้ขยายกําหนดเวลาส่งมอบของพัสดุ จํานวนเดิมหรืองานจ้างเดิม ข้อ 114 เมื่อได้รับอนุมัติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาตามข้อ 112 แล้ว ให้หน่วยงาน ที่ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ปฏิบัติ ดังนี้ ( 1 ) ดําเนินการด้านงบประมาณ และตรวจสอบการวางหนังสือค้ําประกัน ( ถ้ามี ) ( 2 ) ดําเนินการทําข้อผูกพันโดยให้ผู้อนุมัติการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาเป็นผู้ลงนามทําข้อผูกพัน แต่ในกรณีการลงนามทําข้อผูกพันที่อยู่ในอํานาจของผู้ว่าการ ให้เสนอรองผู้ว่าการลงนาม ( 3 ) ตรวจสอบการเสียค่าอากรแสตมป์หรือตีตราสาร ( ถ้ามี ) ( 4 ) จัดทํา “ แบบพิมพ์แจ้งรายละเอียดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ” ตามแบบพิมพ์ที่กําหนด ในคําสั่ง กฟผ . เรื่อง แบบพิมพ์การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ และแจ้งหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง หรือหน่วยงานบริหารสัญญา เพื่อดําเนินการแก้ไขข้อมูลในระบบงาน ERP ให้ถูกต้องต่อไป ( 5 ) แจ้งผู้เกี่ยวข้อง ้ หนา 43 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นสัญญาต่างประเทศที่มิใช่งานโครงการ หากหน่วยงานที่ขอแก้ไข เปลี่ยนแปลงสัญญามีความประสงค์จะให้ส่งเรื่องให้หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นผู้ทําสัญญานั้น เพื่อดําเนินการตาม ( 1 ) ( 2 ) ( 3 ) และ ( 5 ) ต่อไปก็ได้ ข้อ 115 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญานอกจากที่กล่าวในข้อ 112 ให้ผู้ปฏิบัติงาน ตามข้อ 110 ( 1 ) มีอํานาจอนุมัติในหลักการให้คู่สัญญาดําเนินการไปก่อนได้ ข้อ 116 เมื่อได้รับอนุมัติในหลักการให้ดําเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาตามข้อ 115 แล้ว ให้หน่วยงานที่ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาส่งเรื่องขอผู้แทนหน่วยงานเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการตามข้อ 117 หรือกรณีมีการแต่งตั้งคณะกรรมการไว้แล้ว ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการดังกล่าวเพื่อดําเนินการต่อไป ข้อ 117 ให้ผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปของหน่วยงานที่ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาแต่งตั้ง “ คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ” ประกอบด้วย ( 1 ) ผู้แทนหน่วยงานที่ขอแก้ไข เป็นประธานกรรมการ เปลี่ยนแปลงสัญญา ( 2 ) ผู้แทนหน่วยงานที่กําหนดรายละเอียด เป็นกรรมการ คุณลักษณะเฉพาะและหรือผู้แทนหน่วยงาน ผู้ใช้งาน หรือผู้แทนหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในการออกแบบและหรือผู้แทนหน่วยงาน ที่ควบคุมงาน ( 3 ) ผู้แทนหน่วยงานกฎหมาย เป็นกรรมการ ( 4 ) ผู้แทนหน่วยงานบัญชี เป็นกรรมการ ( 5 ) ผู้แทนหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง เป็นกรรมการ ( 6 ) ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ( ถ้ามี ) เป็นกรรมการ ในกรณีเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อขาย ที่มิใช่งานโครงการ ให้มีผู้แทนหน่วยงานพัสดุ ร่วมเป็นกรรมการด้วย การแต่งตั้งผู้แทนหน่วยงานดังกล่าว ให้เป็นอํานาจของผู้บังคับบัญชาชั้นผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไป หรือหัวหน้าหน่วยงานสูงสุดของโครงการ ในกรณีจําเป็นต้องมีการพิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญานั้นอีก โดยปกติให้ใช้คณะกรรมการ พิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาชุดเดิม ข้อ 118 ให้คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญามีหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ( 2 ) พิจารณารายละเอียดที่ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง ( 3 ) ต่อรองราคาและเงื่อนไขต่าง ๆ กับคู่สัญญา ้ หนา 44 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( 4 ) ประสานงานกับหน่วยงานผู้ใช้งานหรือหน่วยงานที่ควบคุมงานคลังพัสดุ และหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้อง ( 5 ) เสนอผลการพิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา และผลการเจรจาต่อรอง พร้อมทั้งความเห็น ให้หน่วยงานที่ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาเพื่อดําเนินการตามข้อ 119 ต่อไปโดยเร็วที่สุด แต่อย่างช้า ภายใน 45 วันนับตั้งแต่วันที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาตามข้อ 117 หรือวันที่คณะกรรมการได้รับเรื่องกรณีมีการแต่งตั้งคณะกรรมการไว้แล้วตามข้อ 116 ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นสัญญาต่างประเทศที่มิใช่งานโครงการ หากหน่วยงานที่ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา มีความประสงค์จะส่งเรื่องให้หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นผู้ทําสัญญานั้นเพื่อดําเนินการตามข้อ 119 ก็ได้ ในกรณีที่ไม่อาจดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าวได้ ให้ประธานกรรมการชี้แจงเหตุผล เสนอผู้บังคับบัญชาชั้นผู้ช่วยผู้ว่าการขึ้นไป เพื่อพิจารณาให้ขยายระยะเวลาออกไปอีกได้คราวละ ไม่เกิน 30 วัน ( 6 ) อื่น ๆ ตามที่เห็นสมควร ข้อ 119 เมื่อหน่วยงานตามข้อ 118 ( 5 ) ได้รับเรื่องแล้ว ให้ปฏิบัติ ดังนี้ ( 1 ) ดําเนินการด้านงบประมาณ และตรวจสอบการวางหนังสือค้ําประกัน ( ถ้ามี ) ( 2 ) เสนอผู้ปฏิบัติงานตามข้อ 120 เพื่อพิจารณาอนุมัติการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ( 3 ) ดําเนินการทําข้อผูกพันโดยให้ผู้มีอํานาจอนุมัติตามข้อ 120 เป็นผู้ลงนามทําข้อผูกพัน แต่ในกรณีการลงนามทําข้อผูกพันที่อยู่ในอํานาจของผู้ว่าการ ให้เสนอรองผู้ว่าการลงนาม ( 4 ) ตรวจสอบการเสียค่าอากรแสตมป์หรือตีตราสาร ( ถ้ามี ) ( 5 ) จัดทํา “ แบบพิมพ์แจ้งรายละเอียดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ” ตามแบบพิมพ์ที่กําหนด ในคําสั่ง กฟผ . เรื่อง แบบพิมพ์การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ และแจ้งหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง หรือหน่วยงานบริหารสัญญา เพื่อดําเนินการแก้ไขข้อมูลในระบบงาน ERP ให้ถูกต้องต่อไป สําหรับกรณีหน่วยงานตามข้อ 118 ( 5 ) วรรคหนึ่ง ( 6 ) แจ้งผู้เกี่ยวข้อง ข้อ 120 ให้ผู้ปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ มีอํานาจอนุมัติการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ( 1 ) กรณีการขยายระยะเวลาเนื่องจากเหตุสุดวิสัย หรือเหตุที่เกิดจาก กฟผ . หรือหน่วยงานของรัฐ หรือเหตุที่เกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ให้เสนอผู้มีอํานาจอนุมัติ การจัดซื้อจัดจ้างสําหรับสัญญาที่อยู่ภายในวงเงินอํานาจอนุมัติของตน แต่ในกรณีที่คณะกรรมการ กฟผ . หรือผู้ว่าการ เป็นผู้อนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างครั้งนั้น ให้เสนอขออนุมัติรองผู้ว่าการ ( 2 ) กรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาซึ่งมีผลให้ต้องงดหรือลดค่าปรับเพราะเหตุอื่นนอกจากเหตุ ตาม ( 1 ) ให้เสนอขออนุมัติผู้มีอํานาจอนุมัติการงดหรือลดค่าปรับตามข้อ 131 ้ หนา 45 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( 3 ) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญานอกจากที่กล่าวใน ( 1 ) และ ( 2 ) ให้เสนอผู้ปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ หรือเสนอผู้ปฏิบัติงานตาม ( 4 ) ( ก ) ผู้อํานวยการฝ่าย สําหรับกรณีจํานวนเงินเปลี่ยนแปลงครั้งละไม่เกิน 10 , 000 , 000 บาท ( ข ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สําหรับกรณีจํานวนเงินเปลี่ยนแปลงครั้งละไม่เกิน 50 , 000 , 000 บาท ( ค ) รองผู้ว่าการ สําหรับกรณีจํานวนเงินเปลี่ยนแปลงครั้งละไม่เกิน 200 , 000 , 000 บาท ( ง ) ในกรณีจํานวนเงินเปลี่ยนแปลงครั้งละเกิน 200 , 000 , 000 บาท ให้เสนอ ขออนุมัติผู้ว่าการ ทั้งนี้ ราคาที่เปลี่ยนแปลงรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 30 ของราคาสัญญาเดิม ในกรณีที่ราคาเปลี่ยนแปลงรวมกันแล้วเกินร้อยละ 30 ของราคาสัญญาเดิม หากราคาสัญญาเดิม รวมกับราคาเปลี่ยนแปลงแล้วอยู่ในอํานาจอนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างของผู้ใด ให้เสนอผู้นั้นพิจารณาอนุมัติ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา เว้นแต่กรณีที่อยู่ในอํานาจอนุมัติของคณะกรรมการ กฟผ . ให้เสนอ ขออนุมัติผู้ว่าการ ( 4 ) ผู้ปฏิบัติงานอื่นนอกจากที่กล่าวใน ( 3 ) ที่มีอํานาจอนุมัติการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งนี้ สําหรับสัญญา ที่อยู่ในวงเงินอํานาจอนุมัติของตน และหากมีการเปลี่ยนแปลงราคา ราคารวมของสัญญาที่เปลี่ยนแปลงแล้ว จะต้องไม่เกินวงเงินอํานาจอนุมัติของตน ( 5 ) ในกรณีที่ประธานกรรมการพิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาเป็นผู้มีอํานาจอนุมัติ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาตาม ( 1 ) ( 2 ) ( 3 ) และ ( 4 ) ให้เสนอขออนุมัติผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือ ขึ้นไปหนึ่งชั้น ข้อ 121 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาอั นมีผลให้ราคาสัญญาเพิ่ มขึ้นครั้งละ เกิน 200 , 000 , 000 บาท ให้หน่วยงานที่ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญารายงานคณะกรรมการ กฟผ . เพื่อทราบ ข้อ 122 เมื่อมีความจําเป็นต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อกําหนดหรือเงื่อนไขที่ตกลงไว้แล้ว ในหนังสือสนองรับราคาก่อนลงนามสัญญา ให้หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้เท่าที่ไม่ขัด กับสาระสําคัญของข้อกําหนดหรือเงื่อนไขการซื้อ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา การเช่า การเช่าซื้อ การลีสซิ่ง ในครั้งนั้น ส่วนการดําเนินการให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้โดยอนุโลม เว้นแต่ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงในกรณีที่ต้องเสนอคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ให้เสนอคณะกรรมการพิจารณาผลการจัดซื้อจัดจ้าง หรือคณะกรรมการที่เรียกชื่ออื่นแต่มีหน้าที่ เช่นเดียวกับคณะกรรมการดังกล่าว เป็นผู้พิจารณา ข้อ 123 ให้ผู้มีอํานาจอนุมัติการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาตามหมวด 16 มีอํานาจอนุมัติ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาได้ในวงเงินรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1 เท่าของราคาสัญญาเดิม และในกรณี การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาที่ราคาเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของราคาสัญญาเดิม ้ หนา 46 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ต้องชี้แจงเหตุผลและเสนอขออนุมัติจากผู้มีอํานาจชั้นเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น เว้นแต่กรณีที่อยู่ในอํานาจอนุมัติ ของคณะกรรมการ กฟผ . ให้เสนอขออนุมัติผู้ว่าการ หมวด 17 การแจ้งการเรียกค่าปรับ และการแจ้งสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับตามสัญญา ข้อ 124 เมื่อครบกําหนดส่งมอบพัสดุหรืองานจ้างตามสัญญาแล้ว ถ้า กฟผ . ยังไม่ได้รับมอบพัสดุ หรืองานจ้าง หรือได้รับแต่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ และมีค่าปรับเกิดขึ้น ให้คณะกรรมการตรวจรับ หรือผู้ตรวจรับ ดําเนินการ ดังนี้ ( 1 ) กรณีที่มีการวางหลักประกันสัญญาเป็นหนังสือค้ําประกัน ให้จัดทํา “ หนังสือแจ้ง ผู้ค้ําประกันกรณีลูกหนี้ผิดนัด ” ตามแบบพิมพ์ที่กําหนดในคําสั่ง กฟผ . เรื่อง แบบพิมพ์การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุ ส่งให้ธนาคารในประเทศหรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ผู้ออก หนังสือค้ําประกันทางไปรษณีย์ลงทะเบียนโดยเร็ว อย่างช้าไม่เกิน 60 วันนับแต่วันที่ครบกําหนด ส่งมอบพัสดุหรืองานจ้างตามสัญญา และสําเนาให้หน่วยงานบัญชีเจ้าหนี้ทราบ ( 2 ) จัดทํา “ หนังสือแจ้งการเรียกค่าปรับ ” ตามแบบพิมพ์ที่กําหนดในคําสั่ง กฟผ . เรื่อง แบบพิมพ์การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ส่งให้คู่สัญญาภายใน 7 วันทําการนับถัดจากวันครบกําหนด ส่งมอบทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือทางโทรสาร ให้ประธานคณะกรรมการตรวจรับ หรือผู้ตรวจรับกรณีไม่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับ มีอํานาจลงลายมือชื่อในหนังสือแจ้งผู้ค้ําประกันกรณีลูกหนี้ผิดนัด และหนังสือแจ้งการเรียกค่าปรับ เมื่อคู่สัญญาส่งมอบพัสดุหรืองานจ้าง ให้บอกสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับในขณะที่รับมอบพัสดุ หรืองานจ้างนั้นด้วย โดยดําเนินการตามข้อ 126 ข้อ 125 ให้หน่วยงานดังต่อไปนี้มีหน้าที่สนับสนุนข้อมูลให้คณะกรรมการตรวจรับ หรือผู้ตรวจรับ เพื่อดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 124 ( 1 ) คลังพัสดุ สําหรับกรณีที่มีการส่งมอบพัสดุตามสัญญาในประเทศ ( 2 ) หน่วยงานผู้ใช้งาน สําหรับกรณีหน่วยงานดังกล่าวดําเนินการซื้อหรือจ้างเอง ( 3 ) หน่วยงานบัญชีเจ้าหนี้ สําหรับกรณีที่มีการส่งมอบพัสดุตามสัญญาต่างประเทศ ( 4 ) หน่วยงานที่ควบคุมหรือรับผิดชอบงานจ้างตามสัญญาในประเทศและสัญญาต่างประเทศ ข้อ 126 ในกรณีที่คู่สัญญาส่งมอบพัสดุหรืองานจ้างล่าช้ากว่ากําหนด ให้คณะกรรมการตรวจรับ หรือผู้ตรวจรับ หรือคลังพัสดุ ระบุข้อความว่า “ การตรวจรับนี้ กฟผ . สงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับ ตามที่กําหนดไว้ในสัญญา ” หรือข้อความอื่นทํานองเดียวกันไว้ในใบส่งของหรือใบส่งมอบงานทุกฉบับ และให้คู่สัญญาหรือผู้แทนลงลายมือชื่อรับทราบข้อความสงวนสิทธิ์ดังกล่าวด้วย หากคู่สัญญาหรือผู้แทน มิได้เป็นผู้ส่งมอบพัสดุหรืองานจ้าง ให้ผู้ส่งมอบพัสดุหรืองานจ้างลงลายมือชื่อกํากับข้อความสงวนสิทธิ์ดังกล่าว ้ หนา 47 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

กรณีไม่สามารถดําเนินการตามวรรคหนึ่งได้ ให้คณะกรรมการตรวจรับ หรือผู้ตรวจรับ จัดทํา “ หนังสือแจ้งสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับตามสัญญา ” ตามแบบพิมพ์ที่กําหนดในคําสั่ง กฟผ . เรื่อง แบบพิมพ์การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ณ วันที่คณะกรรมการตรวจรับ หรือผู้ตรวจรับ ลงนามตรวจรับครบถ้วน ส่งให้คู่สัญญาทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือทางโทรสาร ให้ประธานคณะกรรมการตรวจรับ หรือผู้ตรวจรับกรณีไม่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับ มีอํานาจลงลายมือชื่อในหนังสือแจ้งสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับตามสัญญา หมวด 18 การปรับกรณีส่งมอบล่าช้า ข้อ 127 ในกรณีที่คู่สัญญาส่งมอบพัสดุหรืองานล่าช้ากว่ากําหนด ให้คณะกรรมการตรวจรับ หรือผู้ตรวจรับ คํานวณค่าปรับและนําส่งเอกสารตามข้อ 126 ให้หน่วยงานบัญชีเจ้าหนี้เพื่อสอบทาน การคํานวณค่าปรับ ข้อ 128 ให้หน่วยงานบัญชีเจ้าหนี้ ดําเนินการปรับโดยหักจากเงินพึงได้และหรือ หลักประกันสัญญาที่เป็นเงินสด ถ้าเงินดังกล่าวไม่พอหักเป็นค่าปรับ ให้ดําเนินการ ดังนี้ ( 1 ) ในกรณีการปรับในประเทศ ให้แจ้งให้คู่สัญญาชําระหนี้ค่าปรับภายใน 7 วันนับตั้งแต่วันที่ คู่สัญญาได้รับแจ้งจาก กฟผ . หากคู่สัญญาไม่ดําเนินการตามที่แจ้งดังกล่าว ให้ส่งเรื่องให้หน่วยงานกฎหมาย เพื่อดําเนินการทางกฎหมายต่อไป ( 2 ) ในกรณีการปรับต่างประเทศ ให้แจ้งให้คู่สัญญาชําระหนี้ค่าปรับภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ คู่สัญญาได้รับแจ้งจาก กฟผ . หากคู่สัญญาไม่ดําเนินการตามที่แจ้งดังกล่าว ให้ส่งเรื่องให้หน่วยงานกฎหมาย เพื่อดําเนินการทางกฎหมายต่อไป ในกรณีหลักประกันสัญญาเป็นหนังสือค้ําประกันของธนาคารในประเทศ หรือบริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก่อนส่งเรื่องให้หน่วยงานกฎหมายตาม ( 1 ) และ ( 2 ) ให้จัดทํา “ หนังสือแจ้ง ผู้ค้ําประกันกรณีลูกหนี้ผิดนัด ” ตามแบบพิมพ์ที่กําหนดในคําสั่ง กฟผ . เรื่อง แบบพิมพ์การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุ ส่งให้ธนาคารในประเทศหรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ผู้ออก หนังสือค้ําประกันทางไปรษณีย์ลงทะเบียนโดยเร็ว อย่างช้าไม่เกิน 60 วันนับแต่วันที่ครบกําหนด ชําระหนี้ค่าปรับตาม ( 1 ) หรือ ( 2 ) ข้อ 129 ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นหัวหน้ากองขึ้นไปของหน่วยงานที่ดําเนินการตามข้อ 128 มีอํานาจลงนามในหนังสือออกที่มีไปถึงคู่สัญญา หรือผู้ค้ําประกัน แล้วแต่กรณี ข้อ 130 เมื่อหน่วยงานการเงินได้รับเงินจากคู่สัญญาหรือผู้ค้ําประกันแล้ว ให้แจ้งหน่วยงาน ดังต่อไปนี้ ( 1 ) หน่วยงานบัญชีลูกหนี้ ( 2 ) หน่วยงานกฎหมาย ในกรณีที่หน่วยงานกฎหมายเป็นผู้ดําเนินการ ้ หนา 48 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( 3 ) คณะกรรมการตรวจรับ หรือผู้ตรวจรับ หมวด 19 อํานาจอนุมัติการงดหรือลดค่าปรับ ข้อ 131 ให้ผู้ปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ มีอํานาจอนุมัติการงดหรือลดค่าปรับตามที่กําหนดไว้ ในสัญญา ( 1 ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สําหรับวงเงินที่งดหรือลดค่าปรับไม่เกิน 100 , 000 บาท ( 2 ) รองผู้ว่าการ สําหรับวงเงินที่งดหรือลดค่าปรับเกิน 100 , 000 บาท เว้นแต่ในกรณี ที่คณะกรรมการ กฟผ . เป็นผู้อนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างครั้งนั้น ให้เสนอขออนุมัติคณะกรรมการ กฟผ . หมวด 20 การบอกเลิกสัญญา ข้อ 132 ในกรณีที่มีเหตุบอกเลิกสัญญาตามเหตุดังต่อไปนี้ ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอํานาจ ที่จะบอกเลิกสัญญากับคู่สัญญา ( 1 ) เหตุตามที่กฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกําหนด ( 2 ) คู่สัญญาไม่ส่งมอบพัสดุหรืองานจ้างไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ( 3 ) เหตุอันเชื่อได้ว่าคู่สัญญาไม่สามารถส่งมอบงานหรือทํางานให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลา ที่กําหนด ( 4 ) เหตุอื่นตามที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้หรือในสัญญา ทั้งนี้ ให้หน่วยงานดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี จัดทําเรื่องบอกเลิกสัญญาทั้งหมดหรือบางส่วน และปรับตามเงื่อนไขในสัญญา เสนอขออนุมัติผู้ปฏิบัติงานตามข้อ 134 ( 1 ) หน่วยงานผู้ใช้งาน ( 2 ) หน่วยงานที่ควบคุมงาน ( 3 ) หน่วยงานพัสดุสําหรับงานสํารองคลัง ( 4 ) โครงการสําหรับงานโครงการที่เป็นสัญญาต่างประเทศ เว้นแต่สัญญาต่างประเทศที่มิใช่งานโครงการและหน่วยงานมีความประสงค์จะส่งเรื่อง ให้หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นผู้จัดทําสัญญานั้นเป็นผู้ดําเนินการก็ได้ หากมีค่าเสียหายให้หน่วยงานที่ดําเนินการบอกเลิกสัญญาตามวรรคสองพิจารณาวงเงินที่ กฟผ . จะพึงเรียกร้องเป็นค่าเสียหาย โดยจะเสนอผู้มีอํานาจอนุมัติการบอกเลิกสัญญาเพื่อพิจารณาอนุมัติ ในภายหลังก็ได้ ้ หนา 49 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ในกรณีที่บอกเลิกสัญญาเนื่องจากคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้หน่วยงานที่ดําเนินการบอกเลิกสัญญาตามวรรคสองพิจารณาว่าคู่สัญญาสมควรจะเป็นผู้ทิ้งงานหรือไม่ หากเห็นสมควรให้ดําเนินการตามหมวด 31 ต่อไป การตกลงกับคู่สัญญาที่จะบอกเลิกสัญญา ให้หน่วยงานที่ดําเนินการบอกเลิกสัญญาตามวรรคสอง เสนอผู้มีอํานาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้นของผู้ปฏิบัติงานตามข้อ 134 พิจารณาอนุมัติได้เฉพาะในกรณี ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ กฟผ . โดยตรง หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบ ของ กฟผ . ในการที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นต่อไป ข้อ 133 หากปรากฏว่าคู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ และจะต้องมีการปรับ ตามสัญญานั้น กรณีจํานวนค่าปรับที่เกิดขึ้นจะเกินกว่าร้อยละ 10 ของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างตามสัญญา ให้หน่วยงานตามข้อ 132 จัดทําหนังสือแจ้งบอกกล่าวกับคู่สัญญาว่าจํานวนค่าปรับที่เกิดขึ้นจะ เกินกว่าร้อยละ 10 และ กฟผ . จะดําเนินการบอกเลิกสัญญาต่อไป เว้นแต่คู่สัญญาได้มีหนังสือแจ้ง ภายในระยะเวลาที่กําหนด โดยจะยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ กฟผ . โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น หากคู่สัญญาได้มีหนังสือแจ้งความยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ กฟผ . โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้หน่วยงานตามข้อ 132 ประเมินความคืบหน้าการดําเนินการตามสัญญา ของคู่สัญญาว่าการผ่อนปรนดังกล่าวจะทําให้คู่สัญญาดําเนินการแล้วเสร็จหรือไม่ หรือจะต้องบอกเลิก สัญญาเสนอผู้ปฏิบัติงานตามข้อ 134 เพื่อพิจารณาอนุมัติผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จําเป็น แล้วดําเนินการ ดังนี้ ( 1 ) กรณีที่ผู้มีอํานาจตามข้อ 134 เห็นควรให้ผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญา ให้หน่วยงาน ตามข้อ 132 แจ้งคู่สัญญาให้รับทราบและดําเนินการตามสัญญาโดยเร็ว โดยคู่สัญญาจะต้องกําหนดแผน และระยะเวลาการดําเนินการแล้วเสร็จให้ชัดเจน ( 2 ) กรณีที่ผู้มีอํานาจตามข้อ 134 เห็นควรให้ใช้สิทธิ์บอกเลิกสัญญา ให้หน่วยงานตามข้อ 132 ดําเนินการบอกเลิกสัญญาโดยเร็ว ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นหัวหน้ากองขึ้นไปของหน่วยงานตามข้อ 132 มีอํานาจลงนามในหนังสือแจ้ง บอกกล่าวกับคู่สัญญาว่าจํานวนค่าปรับที่เกิดขึ้นจะเกินกว่าร้อยละ 10 และหนังสือแจ้งคู่สัญญา ให้รับทราบและดําเนินการตามสัญญา กรณีที่คู่สัญญาได้มีหนังสือแจ้งความยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ กฟผ . โดยมีเงื่อนไข หรือกรณี คู่สัญญาไม่มีหนังสือแจ้งความยินยอมดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กําหนดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรให้หน่วยงาน ตามข้อ 132 ดําเนินการบอกเลิกสัญญาโดยเร็ว ข้อ 134 ให้ผู้ปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ มีอํานาจอนุมัติการบอกเลิกสัญญาทั้งหมดหรือบางส่วน และปรับตามเงื่อนไขในสัญญาตามข้อ 132 และมีอํานาจอนุมัติผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาตามข้อ 133 ( 1 ) ผู้บังคับบัญชาชั้นผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไป หรือหัวหน้าหน่วยงานสูงสุดของโครงการ ้ หนา 50 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( 2 ) ผู้ปฏิบัติงานอื่นนอกจาก ( 1 ) ที่มีอํานาจอนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างภายในวงเงินอํานาจอนุมัติ ของตน ข้อ 135 เมื่อผู้มีอํานาจได้อนุมัติตามข้อ 132 แล้ว ให้หน่วยงานที่ขออนุมัติบอกเลิกสัญญา ตามข้อ 132 ดําเนินการ ดังนี้ ( 1 ) จัดส่งต้นเรื่องให้หน่วยงานบัญชีเจ้าหนี้ เพื่อดําเนินการ ดังนี้ ( ก ) ตรวจสอบว่าคู่สัญญามีเงินพึงได้และหรือหลักประกันสัญญาหรือไม่ ( ข ) ระงับการจ่ายเงินพึงได้และหรือหลักประกันสัญญาที่เป็นเงินสดของคู่สัญญาไว้ก่อน เว้นแต่กรณีที่คู่สัญญานําเงินมาชําระค่าปรับและหรือค่าเสียหาย หรือยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ กฟผ . หักเงินพึงได้และหรือหลักประกันสัญญาที่เป็นเงินสด ให้หักเงินพึงได้และหรือหลักประกันสัญญา ที่เป็นเงินสดของคู่สัญญาเพื่อเป็นค่าปรับและหรือค่าเสียหาย ( ถ้ามี ) ( ค ) ส่งต้นเรื่องพร้อมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับเงินพึงได้และหรือหลักประกันสัญญา และการระงับการจ่ายหรือหักเงินพึงได้ ให้หน่วยงานกฎหมายเพื่อดําเนินการตามข้อ 136 ต่อไป ( 2 ) ส่งสําเนาเรื่องให้ ( ก ) หน่วยงานการเงิน เพื่อระงับการจ่ายเงินพึงได้ ( ถ้ามี ) ไว้ก่อน และเมื่อหน่วยงาน การเงินได้ดําเนินการแล้ว หรือตรวจสอบแล้วไม่มีเงินพึงได้ ให้แจ้งหน่วยงานบัญชีเจ้าหนี้จัดทําบันทึก เสนอหน่วยงานกฎหมายเพื่อดําเนินการตามข้อ 136 ต่อไป ( ข ) คลังพัสดุที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง ข้อ 136 เมื่อหน่วยงานกฎหมายได้รับต้นเรื่องและหรือบันทึกแจ้งตามข้อ 135 แล้ว ให้ดําเนินการ ดังนี้ ( 1 ) แจ้งการบอกเลิกสัญญา แจ้งสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับและหรือค่าเสียหายและริบหลักประกัน การปฏิบัติตามสัญญา และหรือแจ้งการหักเงินพึงได้ และหรือหลักประกันสัญญาที่เป็นเงินสด เป็นค่าปรับและหรือค่าเสียหาย ( ถ้ามี ) ต่อคู่สัญญา ( 2 ) ดําเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าปรับและหรือค่าเสียหาย ( ถ้ามี ) สําหรับ ในกรณีที่คู่สัญญาไม่มีเงินพึงได้ และหรือหลักประกันสัญญาที่เป็นเงินสด หรือมีแต่ไม่พอหัก ( 3 ) สําเนาเรื่องตาม ( 1 ) และหรือ ( 2 ) ให้หน่วยงานบัญชี หน่วยงานการเงิน หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง คณะกรรมการตรวจรับ หรือผู้ตรวจรับ และหน่วยงานที่ขออนุมัติบอกเลิกสัญญาตามข้อ 132 ในกรณีที่หน่วยงานกฎหมายมีความเห็นแย้งเกี่ยวกับต้นเรื่องตามวรรคหนึ่ง ให้เสนอความเห็น ต่อผู้ช่วยผู้ว่าการตามสายงานเพื่อพิจารณาสั่งการ และเมื่อได้พิจารณาสั่งการแล้ว ให้สําเนาเรื่อง ให้หน่วยงานบัญชี หน่วยงานการเงิน และหน่วยงานที่ขออนุมัติบอกเลิกสัญญาตามข้อ 132 เพื่อดําเนินการต่อไป ้ หนา 51 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

หมวด 21 การรับ การคืน หลักประกันการเสนอราคาและหลักประกันสัญญา ส่วนที่ 1 การรับหลักประกันการเสนอราคา ข้อ 137 ให้คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาตรวจหลักประกันการเสนอราคา ของผู้เข้าประกวดราคา เมื่อเห็นว่าถูกต้อง ให้ออกหลักฐานการรับหลักประกันการเสนอราคา ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 138 ให้แก่ผู้เข้าประกวดราคา การลงลายมือชื่อในใบเสร็จรับเงิน ให้กรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาลงลายมือชื่อผู้รับเงิน และแทนผู้มีอํานาจลงนามของหน่วยงานการเงิน การลงลายมือชื่อในใบรับหลักประกัน ให้กรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาลงลายมือชื่อ ผู้รับหลักประกันการเสนอราคา ข้อ 138 การรับหลักประกันการเสนอราคา ให้ออกหลักฐานดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี ให้แก่ผู้เข้าประกวดราคา ( 1 ) “ ใบเสร็จรับเงิน ” ตามแบบที่รองผู้ว่าการการเงินและบัญชี (CFO) กําหนด สําหรับ การรับหลักประกันการเสนอราคาที่เป็นเงินสด เงินโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของ กฟผ . หรือเงินโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของ กฟผ . ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ดราฟท์ เช็คที่ธนาคารรับรอง หรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย ( 2 ) “ ใบรับหลักประกัน ” ( แบบ กฟผ .- ปก . 11 ) ตามแบบพิมพ์ที่กําหนดในคําสั่ง กฟผ . เรื่อง แบบพิมพ์การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ สําหรับการรับหลักประกันการเสนอราคา ที่เป็นอย่างอื่นนอกจากที่กล่าวใน ( 1 ) หลักเกณฑ์การเบิก การใช้ การเก็บรักษา และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับใบรับหลักประกัน ให้ปฏิบัติ ตามระเบียบปฏิบัติ กฟผ . เกี่ยวกับการรับและการจ่ายเงิน โดยอนุโลม ข้อ 139 เมื่อพ้นกําหนดเวลารับซองประกวดราคาแล้ว ให้คณะกรรมการรับและเปิดซอง ประกวดราคาส่งมอบหลักประกันการเสนอราคา พร้อมทั้งใบเสร็จรับเงินและหรือใบรับหลักประกัน ซึ่งคงเหลืออยู่ในเล่ม ให้หน่วยงานการเงินเพื่อดําเนินการต่อไป ข้อ 140 เมื่อหน่วยงานการเงินได้รับหลักประกันการเสนอราคา พร้อมทั้งแบบพิมพ์ ตามข้อ 139 แล้ว ให้ดําเนินการ ดังนี้ ( 1 ) ให้หัวหน้าแผนกขึ้นไปของหน่วยงานการเงินลงลายมือชื่อกํากับไว้ในสําเนาแบบพิมพ์ดังกล่าว ทุกฉบับที่ได้ออกให้แก่ผู้เข้าประกวดราคาแล้ว เพื่อเป็นหลักฐานในการรับมอบหลักประกันการเสนอราคา จากคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา ้ หนา 52 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( 2 ) นําหลักประกันการเสนอราคาที่เป็นเงินสด ดราฟท์ เช็คที่ธนาคารรับรอง หรือเช็ค ที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของ กฟผ . โดยเร็วที่สุด ( 3 ) เก็บรักษาหลักประกันการเสนอราคาที่เป็นอย่างอื่นนอกจากที่กล่าวใน ( 2 ) ไว้ที่หน่วยงาน ( 4 ) ในกรณีที่หลักประกันการเสนอราคาเป็นหนังสือค้ําประกันของธนาคารในประเทศ หรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ให้ส่งสําเนาหนังสือค้ําประกันให้ธนาคารในประเทศ หรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ผู้ออกหนังสือค้ําประกันนั้นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ส่วนที่ 2 การรับหลักประกันสัญญา ข้อ 141 ในกรณีที่หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างได้รับหลักประกันสัญญาเป็นเงินสด หลักฐาน การโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของ กฟผ . หรือการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของ กฟผ . ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ดราฟท์ เช็คที่ธนาคารรับรอง หรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย ให้แจ้ง คู่สัญญานําหลักประกันไปวางที่หน่วยงานการเงิน พร้อมทั้งแจ้งยอดหลักประกันให้หน่วยงานดังกล่าวทราบ เมื่อหน่วยงานการเงินได้รับหลักประกันสัญญาตามวรรคหนึ่ง ให้ตรวจสอบความถูกต้อง และออก “ ใบเสร็จรับเงิน ” ตามแบบที่รองผู้ว่าการการเงินและบัญชี (CFO) กําหนด ให้แก่คู่สัญญา เพื่อเป็นหลักฐานในการรับหลักประกัน ข้อ 142 ในกรณีที่หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างได้รับหลักประกันสัญญาเป็นอย่างอื่นนอกจาก ที่กล่าวในข้อ 141 แล้ว ให้ปฏิบัติ ดังนี้ ( 1 ) ในกรณีเป็นหลักประกันสัญญาของสัญญาในประเทศ ( ก ) ตรวจสอบความถูกต้องของหลักประกันสัญญานั้น และเมื่อตรวจสอบถูกต้องแล้ว ให้ส่งหน่วยงานการเงินเพื่อจัดทํา “ ใบรับหลักประกัน ” ( แบบ กฟผ .- ปก . 11 ) ตามแบบพิมพ์ที่กําหนด ในคําสั่ง กฟผ . เรื่อง แบบพิมพ์การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ให้แก่คู่สัญญา เพื่อเป็นหลักฐาน ในการรับหลักประกันสัญญา การลงลายมือชื่อในใบรับหลักประกัน ให้หัวหน้าแผนกขึ้นไปของหน่วยงานการเงิน หรือผู้ที่ผู้อํานวยการฝ่ายที่มีหน้าที่รับผิดชอบหน่วยงานการเงินมอบหมาย ลงลายมือชื่อผู้รับหลักประกันสัญญา ( ข ) ในกรณีที่หลักประกันสัญญาเป็นหนังสือค้ําประกันของธนาคารในประเทศหรือบริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ให้ส่งสําเนาหนังสือค้ําประกันให้ธนาคารในประเทศหรือบริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ผู้ออกหนังสือค้ําประกันนั้นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ้ หนา 53 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( 2 ) ในกรณีเป็นหลักประกันสัญญาของสัญญาต่างประเทศ ให้ส่งหน่วยงานกฎหมาย เพื่อดําเนินการ ดังนี้ ( ก ) ตรวจสอบความถูกต้องของหลักประกันสัญญานั้น และเมื่อตรวจสอบถูกต้องแล้ว ให้ส่งหน่วยงานการเงินเพื่อดําเนินการต่อไป และสําเนาเรื่องให้หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง และหน่วยงาน บัญชีเจ้าหนี้ ( ข ) ในกรณีที่หลักประกันสัญญาเป็นหนังสือค้ําประกันของธนาคารในประเทศหรือบริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ให้ส่งสําเนาหนังสือค้ําประกันให้ธนาคารในประเทศหรือบริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ผู้ออกหนังสือค้ําประกันนั้นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ข้อ 143 ในกรณีที่คู่สัญญาแจ้งความประสงค์เป็นหนังสือจะขอใช้หลักประกันการเสนอราคา ที่เป็นเงินสด เงินโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของ กฟผ . หรือเงินโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร ของ กฟผ . ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ดราฟท์ เช็คที่ธนาคารรับรอง หรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย เป็นหลักประกันสัญญาก็ให้กระทําได้ และในกรณีที่เงินสด เงินโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของ กฟผ . หรือเงินโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของ กฟผ . ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ดราฟท์ เช็คที่ธนาคารรับรอง หรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย นั้นไม่เพียงพอ คู่สัญญาจะต้องนําหลักประกันมาวางเพิ่มเติมให้ครบ ตามที่กําหนดไว้ในสัญญา ส่วนที่ 3 การคืนหลักประกันการเสนอราคาและหลักประกันสัญญา ข้อ 144 การคืนหลักประกันการเสนอราคาให้แก่ผู้เข้าประกวดราคา ให้หน่วยงานการเงิน ดําเนินการคืนโดยเร็วที่สุด ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ ( 1 ) กรณีผู้เข้าประกวดราคารายที่ กฟผ . ไม่ได้ตกลงซื้อหรือจ้าง ให้คืนเมื่อได้รับแจ้ง จากหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง ( 2 ) กรณีผู้เข้าประกวดราคารายที่ กฟผ . ตกลงซื้อหรือจ้าง ให้คืนเมื่อ กฟผ . ได้ยอมรับ หลักประกันสัญญาแล้ว ข้อ 145 การคืนหลักประกันสัญญาให้แก่คู่สัญญา ให้หน่วยงานการเงินดําเนินการคืน เมื่อคู่สัญญาดังกล่าวพ้นจากข้อผูกพันตามเงื่อนไขในสัญญาแล้ว ข้อ 146 การดําเนินการคืนหลักประกันการเสนอราคาหรือหลักประกันสัญญา ให้หน่วยงานการเงิน ปฏิบัติ ดังนี้ ( 1 ) ในกรณีที่ผู้มีอํานาจกระทําในนามของผู้เสนอราคามาติดต่อขอรับหลักประกันการเสนอราคา หรือหลักประกันสัญญา ณ ที่ทําการของ กฟผ . ให้ตรวจสอบหนังสือมอบอํานาจหรือหลักฐานอื่น ให้ถูกต้องก่อนคืนหลักประกันการเสนอราคาหรือหลักประกันสัญญา ้ หนา 54 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ในกรณีที่ผู้มาติดต่อขอรับหลักประกันการเสนอราคาหรือหลักประกันสัญญา เป็นบุคคลอื่น นอกจากที่กล่าวในวรรคหนึ่ง ให้คืนได้เฉพาะหลักประกันการเสนอราคาหรือหลักประกันสัญญา ที่เป็นหนังสือค้ําประกันของธนาคารในประเทศหรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เท่านั้น ( 2 ) ในกรณีหลักประกันการเสนอราคาหรือหลักประกันสัญญาเป็นหนังสือค้ําประกัน ของธนาคารในประเทศหรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ถ้าผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญาไม่มาติดต่อ ขอรับหลักประกันดังกล่าวภายใน 10 วันนับตั้งแต่วันที่ผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญามีสิทธิ์ได้รับหลักประกันคืน ให้ส่งหนังสือค้ําประกันนั้นคืนให้แก่ผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญาทางไปรษณีย์ลงทะเบียน แต่ในกรณี ที่ผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญาอยู่ต่างประเทศและหนังสือค้ําประกันนั้นออกโดยธนาคารในประเทศ หรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ในประเทศ ให้ส่งหนังสือค้ําประกันคืนธนาคารในประเทศ หรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ในประเทศดังกล่าว และแจ้งหรือส่งสําเนาหนังสือนําส่ง หนังสือค้ําประกันนั้น ๆ ให้ผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญาที่อยู่ต่างประเทศทราบ ในกรณีที่ไม่อาจส่งคืนหนังสือค้ําประกันของธนาคารในประเทศหรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ให้แก่ผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญาได้ ให้ส่งหนังสือค้ําประกันดังกล่าวให้ธนาคาร ในประเทศหรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ผู้ค้ําประกัน หมวด 22 การควบคุมพัสดุ ส่วนที่ 1 การควบคุมพัสดุและการบริหารพัสดุ ข้อ 147 การควบคุมและการบริหารพัสดุภายใต้ระเบียบนี้ ให้ปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับ แนวทางการปฏิบัติงานตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ . ศ . 2560 โดยอนุโลม ยกเว้นการให้หน่วยงานภายนอกยืมพัสดุ การยืมพัสดุจากหน่วยงานภายนอก และการตรวจสอบพัสดุสํารองคลัง กรณีพัสดุเกินบัญชีซึ่งมิใช่พัสดุสํารองคลังของงานที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงในส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการควบคุมพัสดุ กรณีพัสดุเกินบัญชี ส่วนที่ 2 การตรวจสอบพัสดุสํารองคลัง ข้อ 148 ให้ผู้อํานวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือผู้อํานวยการโครงการ หรือหัวหน้าหน่วยงาน สูงสุดของโครงการ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบพัสดุ แต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบพัสดุ ประกอบด้วย ้ หนา 55 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ผู้ปฏิบัติงานจากหน่วยงานพัสดุและหน่วยงานอื่นที่มิใช่ผู้รับผิดชอบพัสดุ ดําเนินการตรวจสอบพัสดุ สํารองคลังอย่างน้อย 2 ปีต่อ 1 ครั้งเว้นแต่แบบพิมพ์ที่ไม่มีระเบียบกําหนดหลักเกณฑ์การควบคุมไว้ เป็นการเฉพาะ ไม่ต้องตรวจสอบ แล้วให้เสนอรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวต่อผู้แต่งตั้ง ภายใน 30 วันทําการนับแต่วันเริ่มดําเนินการตรวจสอบพัสดุนั้น สําหรับการตรวจสอบพัสดุสํารองคลังที่ไม่สามารถดําเนินการได้ทันภายในระยะเวลา 30 วันทําการ นับแต่วันเริ่มดําเนินการตรวจสอบพัสดุ ให้ผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบพัสดุขออนุมัติผู้แต่งตั้ง เพื่อขอขยายเวลาการตรวจสอบได้ครั้งละไม่เกิน 30 วันทําการ ข้อ 149 ในกรณีที่ผลการตรวจสอบตามข้อ 148 ปรากฏว่ามีพัสดุสํารองคลังขาด หรือเกินจํานวน ชํารุด เสื่อมคุณภาพ ให้ผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบพัสดุสํารองคลังดําเนินการ ดังนี้ ( 1 ) จัดทํารายงานผลการตรวจสอบเสนอผู้อํานวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือผู้อํานวยการโครงการ หรือหัวหน้าหน่วยงานสูงสุดของโครงการ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบพัสดุ เพื่อพิจารณา หากผู้อํานวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือผู้อํานวยการโครงการ หรือหัวหน้าหน่วยงาน สูงสุดของโครงการ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบพัสดุเห็นชอบให้ไม่ต้องดําเนินการสอบหาข้อเท็จจริง โดยคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง ( คทจ .) ตามระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงาน ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ . ศ . 2560 ให้ส่งเรื่องให้หน่วยงานบัญชีทรัพย์สินเพื่อดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป และสําเนาหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ในกรณีดังต่อไปนี้ ( ก ) ปรากฏผู้รับผิดโดยชัดแจ้งแล้ว ( ข ) มีผู้ที่เชื่อถือได้ยอมรับผิดชดใช้ในความเสียหายนั้นแล้ว ( ค ) พัสดุเกินบัญชีและปรากฏหลักฐานที่มาโดยชัดแจ้งแล้ว ( 2 ) กรณีพัสดุเกินบัญชีกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ผู้อํานวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือผู้อํานวยการโครงการ หรือหัวหน้าหน่วยงานสูงสุดของโครงการ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบพัสดุ แต่งตั้ง คทจ . โดยดําเนินการตามระเบียบ กฟผ . ว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในการควบคุมพัสดุ กรณีพัสดุเกินบัญชี ( ก ) กรณีพัสดุเกินบัญชีซึ่งไม่เข้าเงื่อนไขตาม ( 1 ) ( ข ) กรณีพัสดุเกินบัญชีซึ่งเข้าเงื่อนไขตาม ( 1 ) แต่ผู้อํานวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือผู้อํานวยการโครงการ หรือหัวหน้าหน่วยงานสูงสุดของโครงการ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบพัสดุเห็นควร ให้มีการสอบหาข้อเท็จจริง ( ค ) กรณีพัสดุเกินบัญชีซึ่งเข้าเงื่อนไขตาม ( 1 ) แต่หน่วยงานเห็นว่าไม่จําเป็นต้องใช้พัสดุนั้น ใน กฟผ . ต่อไป การประเมินราคาพัสดุและการนําพัสดุขึ้นบัญชี ในกรณีพัสดุเกินบัญชี ให้ดําเนินการ ตามระเบียบ กฟผ . ว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในการควบคุมพัสดุ กรณีพัสดุเกินบัญชี ้ หนา 56 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

กรณีต้องดําเนินการสอบสวนหาผู้รับผิดชดใช้ ให้ปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติ กฟผ . เกี่ยวกับ ทรัพย์สินสูญหายหรือเสียหาย ทั้งนี้ ในการตรวจสอบพัสดุสํารองคลังระหว่างปี กรณีพัสดุสํารองคลังขาดหรือเกินจํานวน ชํารุด เสื่อมคุณภาพ ให้ดําเนินการตามข้อนี้โดยอนุโลม หมวด 23 การจําหน่ายพัสดุ ข้อ 150 การจําหน่ายพัสดุให้ปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงาน ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ . ศ . 2560 หมวด 9 การบริหารพัสดุ โดยอนุโลม ยกเว้นการขายพัสดุพร้อมให้บริการ การจําหน่ายพัสดุคงเหลือจากงานโครงการ และการจําหน่ายที่ดิน ให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้ การจําหน่ายพัสดุนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ ให้เสนอรองผู้ว่าการพิจารณา เป็นคราว ๆ ไป หมวด 24 การขายพัสดุพร้อมให้บริการ ข้อ 151 ในหมวดนี้ ( 1 ) “ การขายพัสดุ ” หมายความว่า การขายพัสดุของ กฟผ . ที่มีการให้บริการตามระเบียบปฏิบัติ เกี่ยวกับการรับทํางานให้บุคคลภายนอกร่วมด้วย ( 2 ) “ พัสดุ ” หมายความว่า เครื่องจักร วัสดุ เครื่องมือ ส่วนประกอบ อุปกรณ์ อะไหล่ และอะไหล่สํารองคลัง ของงานผลิตไฟฟ้า งานส่งไฟฟ้า งานเชื้อเพลิง รวมถึงงานบํารุงรักษา ที่เกี่ยวเนื่อง หรืออื่น ๆ ตามที่รองผู้ว่าการกําหนด ( 3 ) “ การให้บริการ ” หมายความว่า การให้บริการที่ต้องใช้ความรู้หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ในการให้บริการ เช่น งานบํารุงรักษา งานบริการรื้อถอน งานบริการตรวจสอบทางวิศวกรรม งานบริการขนย้าย งานบริการปรับปรุงฟื้นฟูสภาพ (Refurbishment) งานบริการติดตั้ง (Installation) งานบริการทดสอบการทํางานของระบบ (Commissioning) งานบริการขนานเครื่องเข้าสู่ระบบ (Synchronisation) รวมทั้งงานอื่น ๆ ตามที่รองผู้ว่าการกําหนดหรืออนุมัติ ( 4 ) “ การรับทํางานให้บุคคลภายนอก ” หมายความว่า การที่ กฟผ . ตกลงรับทํางาน หรือให้บริการ และหรือร่วมกับบุคคลอื่นตกลงทํางานหรือให้บริการให้กับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เพื่อให้ กฟผ . ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับทํางาน ให้บุคคลภายนอก ้ หนา 57 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( 5 ) “ ผู้มีอํานาจอนุมัติรับทํางาน ” หมายความว่า ผู้มีอํานาจอนุมัติรับทํางานให้บุคคลภายนอก ตามระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับทํางานให้บุคคลภายนอก ข้อ 152 การขายพัสดุ ให้ดําเนินการได้ในกรณีเป็นพัสดุที่ กฟผ . ไม่ใช้งานต่อไป หรือพัสดุที่สามารถใช้งานได้แต่เห็นว่าหากขายแล้วจะให้ประโยชน์มากกว่า หรือหากใช้งานต่อไป จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก โดยให้คณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง ( คทจ .) ดําเนินการสอบหาข้อเท็จจริง ตามระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงานตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ . ศ . 2560 โดยอนุโลม ก่อนนําส่งพัสดุคืนคลังเพื่อดําเนินการจําหน่ายต่อไป ข้อ 153 เมื่อคลังพัสดุได้รับคืนพัสดุจากหน่วยงานที่ส่งคืนเรียบร้อยแล้ว ให้หัวหน้าแผนก หรือเทียบเท่าขึ้นไปที่รับผิดชอบคลังพัสดุขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสภาพพัสดุ จากผู้บังคับบัญชาชั้นหัวหน้ากองขึ้นไป เพื่อตรวจสภาพ ตรวจสอบราคาสุทธิตามบัญชีและราคาซื้อ หรือได้มา และประเมินราคาขายพัสดุ ตามระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงานตามระเบียบ กระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ . ศ . 2560 หมวด 9 การบริหารพัสดุ และให้คลังพัสดุส่งราคาประเมินดังกล่าวให้หน่วยงานที่รับทํางานให้บุคคลภายนอกในข้อ 155 เว้นแต่การขายพัสดุที่ได้มีการประเมินราคาซาก (Salvage Value) ปัจจุบัน ของพัสดุไว้ก่อนแล้วโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินราคาไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสภาพพัสดุ และให้หน่วยงานที่จ้างประเมินราคาจากผู้เชี่ยวชาญ ส่งราคาประเมินดังกล่าวให้หน่วยงานที่รับทํางาน ให้บุคคลภายนอกในข้อ 155 ทั้งนี้ เมื่อหน่วยงานที่รับทํางานให้บุคคลภายนอกในข้อ 155 ได้รับราคาประเมิน ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้ว ให้ใช้ราคาประเมินดังกล่าวประกอบการคํานวณราคารับทํางานบุคคลภายนอก โดยการคํานวณราคารับทํางานบุคคลภายนอกให้ปฏิบัติตามคําสั่ง กฟผ . เกี่ยวกับแนวทางการคํานวณราคางาน บุคคลภายนอก ข้อ 154 การขายพัสดุตามหมวดนี้ ให้ผู้มีอํานาจอนุมัติการรับทํางานให้บุคคลภายนอก มีอํานาจอนุมัติขายพัสดุภายในวงเงินอํานาจอนุมัติรับทํางานของตนตามระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับทํางาน ให้บุคคลภายนอก โดยสามารถพิจารณาดําเนินการขายให้คู่สัญญาได้โดยตรง เว้นแต่การขายเครื่องจักร โรงไฟฟ้าเพื่อผลิตไฟฟ้าในระบบการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ . ที่มีราคาสุทธิตามบัญชีเกิน 200 , 000 , 000 บาท ให้เสนอคณะกรรมการ กฟผ . เพื่อพิจารณาอนุมัติการขายก่อน ข้อ 155 ให้หน่วยงานที่รับทํางานให้บุคคลภายนอกมีหน้าที่รับผิดชอบการขายพัสดุ กรณีหน่วยงานที่รับทํางานให้บุคคลภายนอกทําหน้าที่ขายและส่งมอบพัสดุ ในการขายพัสดุครั้งเดียวกัน ห้ามผู้ปฏิบัติงานที่ทําหน้าที่ขายเป็นผู้ทําหน้าที่ส่งมอบ ข้อ 156 เมื่อได้ดําเนินการส่งมอบพัสดุแล้ว ให้ส่งเรื่องให้หน่วยงานบัญชีทรัพย์สิน และหน่วยงานพัสดุ เพื่อดําเนินการตัดบัญชี ้ หนา 58 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ข้อ 157 การขายพัสดุตามหมวดนี้ ให้ดําเนินการตามระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับทํางาน ให้บุคคลภายนอกโดยอนุโลม หมวด 25 การดําเนินการเกี่ยวกับพัสดุคงเหลือจากงานโครงการ ส่วนที่ 1 ข้อกําหนดทั่วไป ข้อ 158 ในหมวดนี้ ( 1 ) “ พัสดุคงเหลือ ” หมายความว่า สิ่งของทุกชนิดของ กฟผ . ที่ได้จัดหามาหรือ ที่บุคคลภายนอกมอบให้แก่ กฟผ . เพื่อใช้งานโครงการ ซึ่งคงเหลือจากการใช้งานหรือคงเหลืออยู่ เมื่องานแล้วเสร็จ ( 2 ) “ โครงการ ” หมายความว่า โครงการก่อสร้าง โครงการปรับปรุง โครงการติดตั้ง โครงการขยายระบบส่ง โครงการขยายเหมือง และโครงการอื่นตามที่ผู้ว่าการกําหนด ( 3 ) “ การจําหน่ายพัสดุ ” หมายความว่า การขายพัสดุ ข้อ 159 เมื่อพัสดุคงเหลือที่หมดความจําเป็นที่จะใช้งานต่อไป ให้ผู้อํานวยการโครงการ หรือหัวหน้าหน่วยงานสูงสุดของโครงการนั้น พิจารณาให้ความเห็นชอบดําเนินการจําหน่ายตามหลักเกณฑ์ ในหมวดนี้ ข้อ 160 เมื่อมีพัสดุคงเหลือจากงานโครงการใดใกล้จะแล้วเสร็จ ให้ผู้อํานวยการโครงการ หรือหัวหน้าหน่วยงานสูงสุดของโครงการนั้น แต่งตั้ง “ คณะกรรมการดําเนินการเกี่ยวกับพัสดุคงเหลือ จากงานโครงการ ” เรียกโดยย่อว่า “ คพค .” ประกอบด้วย ( 1 ) ผู้อํานวยการโครงการ เป็นประธานกรรมการ หรือหัวหน้าหน่วยงานสูงสุดของโครงการ หรือผู้แทน ( 2 ) ผู้อํานวยการฝ่ายที่รับผิดชอบพื้นที่ เป็นกรรมการ ที่เป็นที่ตั้งของงานโครงการ หรือผู้แทน ( 3 ) หัวหน้าหน่วยงานบัญชีและการเงิน เป็นกรรมการ หรือผู้แทน ( 4 ) หัวหน้าหน่วยงานพัสดุและจัดหา เป็นกรรมการ หรือผู้แทน และเลขานุการ ้ หนา 59 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ในกรณีการดําเนินการเกี่ยวกับพัสดุคงเหลือเกี่ยวข้องกับหน่วยงานบํารุงรักษาหรือหน่วยงานอื่น นอกจากที่กล่าวข้างต้น ให้ประธาน คพค . เชิญหัวหน้าหน่วยงานดังกล่าวหรือผู้แทนร่วมเป็นกรรมการด้วย ข้อ 161 ให้ คพค . มีหน้าที่ดําเนินการ ดังนี้ ( 1 ) จัดทํารายการพร้อมรายละเอียดพัสดุคงเหลือที่มีอยู่จริงโดยแยกตามประเภทพัสดุ เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ อะไหล่ พัสดุก่อสร้างทั่วไป ก่อนวันปิดโครงการ ( 2 ) แยกพัสดุคงเหลือตามสภาพ ดังนี้ ( ก ) พัสดุคงเหลือที่สามารถใช้งานได้ ( ข ) พัสดุคงเหลือที่ไม่สามารถใช้งานได้ ( 3 ) พัสดุคงเหลือตาม ( 2 ) ( ก ) ให้แจ้งเวียนและโอนให้หน่วยงานอื่นที่ต้องการนําไปใช้งาน โดยใช้ราคาประเมิน หากไม่มีหน่วยงานใดรับโอน ให้ดําเนินการจําหน่ายตามหลักเกณฑ์ในหมวดนี้ หลักเกณฑ์ราคาประเมินสําหรับการโอน ( ก ) ราคาที่ได้มาหักค่าเสื่อมราคาสะสม ( ข ) ราคาตลาดตามสภาพพัสดุ ให้เปรียบเทียบราคาประเมินตาม ( ก ) และ ( ข ) ราคาใดต่ํากว่า ให้ใช้ราคานั้นเป็นราคาประเมิน กรณีที่ไม่มีราคาตาม ( ก ) ให้ใช้ราคาตาม ( ข ) เป็นราคาประเมิน ( 4 ) พัสดุคงเหลือตาม ( 2 ) ( ข ) ให้ดําเนินการจําหน่ายตามหลักเกณฑ์ในหมวดนี้ ( 5 ) ให้ คพค . ดําเนินการตามหน้าที่และความรับผิดชอบให้แล้วเสร็จก่อนปิดโครงการ ในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จก่อนปิดโครงการ ให้ขออนุมัติรองผู้ว่าการที่รับผิดชอบ เพื่อขยายระยะเวลาดําเนินการไปได้อีกไม่เกิน 1 ปี ข้อ 162 การจําหน่ายพัสดุ ให้กระทําเมื่อเป็นพัสดุที่ชํารุดเสื่อมคุณภาพ หรือไม่ใช้งานต่อไป หรือหากจําหน่ายแล้วจะให้ประโยชน์มากกว่า หรือหากใช้งานต่อไปจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ข้อ 163 ห้ามดําเนินการจําหน่ายพัสดุที่ยังดําเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริงและหาผู้รับผิด ชดใช้ยังไม่แล้วเสร็จ ข้อ 164 การขายพัสดุโดยวิธีประกวดราคา ให้มีการวางหลักประกันการเสนอราคาในอัตรา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของราคาที่ผู้เข้าประกวดราคาเสนอ ข้อ 165 เอกสารประกวดราคา และหนังสือสัญญาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจําหน่ายพัสดุ ให้มีรายการและเงื่อนไขตามที่ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุกําหนด ในกรณีที่หน่วยงานใดมีความจําเป็นต้องกําหนดรายการและเงื่อนไขในการจําหน่ายพัสดุ เป็นการเฉพาะ ให้พิจารณาได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบปฏิบัติที่ กฟผ . ใช้บังคับ ข้อ 166 แนวทางและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการดําเนินการขายพัสดุ ให้เป็นไปตามที่ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง และบริหารพัสดุกําหนด ้ หนา 60 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ในกรณีที่หน่วยงานใดมีความจําเป็นต้องกําหนดแนวทางและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขายพัสดุ เป็นการเฉพาะ ก็ให้พิจารณาได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบปฏิบัติที่ กฟผ . ใช้บังคับ ส่วนที่ 2 การตรวจสภาพพัสดุก่อนจําหน่าย ข้อ 167 เมื่อหน่วยงานพัสดุโครงการได้รับความเห็นชอบจากผู้อํานวยการโครงการ หรือหัวหน้าหน่วยงานสูงสุดของโครงการให้ดําเนินการจําหน่าย ให้หน่วยงานพัสดุโครงการขออนุมัติแต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสภาพพัสดุจากผู้บังคับบัญชาชั้นหัวหน้าหน่วยขึ้นไป ทั้งนี้ เว้นแต่พัสดุที่มีราคาประเมิน น้อยกว่า 500 , 000 บาท จะแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานคนใดคนหนึ่งในโครงการเป็นผู้ตรวจสภาพพัสดุก็ได้ คณะกรรมการตรวจสภาพพัสดุ ประกอบด้วยผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้หรือชํานาญ ในการใช้พัสดุนั้น และผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานพัสดุ ข้อ 168 คณะกรรมการตรวจสภาพพัสดุมีหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) พิจารณาสภาพและจํานวนพัสดุที่จะจําหน่าย ( 2 ) ตรวจสอบราคาสุทธิในบัญชีและราคาที่ได้มาของพัสดุดังกล่าว ในกรณีที่พัสดุดังกล่าวไม่มีราคา ในบัญชี ให้ประเมินราคาของพัสดุนั้น ( 3 ) ประเมินราคาขายพัสดุ ( 4 ) การประเมินราคาขายพัสดุให้แก่คู่สัญญากับ กฟผ . ที่มีความจําเป็นต้องใช้พัสดุนั้น ในการดําเนินการให้แก่ กฟผ . โดยวิธีตกลงราคา ให้ใช้ราคาในบัญชีหรือราคาตลาด และราคาในสัญญาจ้าง แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน ( 5 ) ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการชํารุดหรือเสื่อมคุณภาพมิได้เกิดจากสภาพการใช้งาน หรือเสื่อมตามคุณลักษณะของพัสดุนั้น ให้ตรวจสอบว่าพัสดุที่จะจําหน่ายนั้นได้มีการแต่งตั้งกรรมการสอบสวน หาข้อเท็จจริงและหาผู้รับผิดชดใช้แล้วหรือไม่ หากไม่มีให้แจ้งผู้มีอํานาจแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสภาพพัสดุ เพื่อพิจารณาดําเนินการต่อไป ( 6 ) ทํารายงานสรุปผลการตรวจสภาพของพัสดุและเสนอความเห็นเกี่ยวกับวิธีการจําหน่ายพัสดุนั้น ต่อผู้มีอํานาจแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสภาพพัสดุ ข้อ 169 ให้ผู้มีอํานาจแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสภาพพัสดุ เสนอเรื่องขออนุมัติในหลักการ เพื่อดําเนินการจําหน่ายพัสดุต่อผู้มีอํานาจตามข้อ 170 และเสนอขอแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อดําเนินการดังกล่าว ข้อ 170 ให้ผู้ปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ มีอํานาจอนุมัติการขายพัสดุคงเหลือจากงานโครงการ ( 1 ) หัวหน้าหน่วย สําหรับราคาขายครั้งละไม่เกิน 500 , 000 บาท ้ หนา 61 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( 2 ) ผู้ช่วยผู้อํานวยการโครงการ หรือผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงานสูงสุดของโครงการ สําหรับราคาขาย ครั้งละไม่เกิน 2 , 000 , 000 บาท ( 3 ) ผู้อํานวยการโครงการ หรือหัวหน้าหน่วยงานสูงสุดของโครงการ สําหรับราคาขาย ครั้งละไม่เกิน 5 , 000 , 000 บาท ( 4 ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สําหรับราคาขายครั้งละไม่เกิน 10 , 000 , 000 บาท ( 5 ) รองผู้ว่าการ สําหรับราคาขายครั้งละไม่เกิน 50 , 000 , 000 บาท ส่วนที่ 3 การขายพัสดุ ข้อ 171 การขายพัสดุโดยปกติให้ใช้วิธีประกวดราคา เว้นแต่ ( 1 ) การขายพัสดุที่มีวงเงินประเมินราคาขายพัสดุครั้งละไม่เกิน 500 , 000 บาท ให้ใช้วิธีตกลงราคา ( 2 ) กรณีที่ได้ดําเนินการประกวดราคาแล้วไม่ได้ผลดี หรือกรณีจําเป็นเร่งด่วน หรือเป็นประโยชน์ ต่อ กฟผ . จะขายโดยวิธีตกลงราคาก็ได้ ( 3 ) การขายพัสดุให้แก่ส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ วัด สถานศึกษา หรือองค์การสาธารณกุศล หรือในกรณีการขายพัสดุให้แก่คู่สัญญากับ กฟผ . ที่มีความจําเป็น ต้องใช้พัสดุนั้นในการดําเนินงานให้แก่ กฟผ . จะขายโดยวิธีตกลงราคาก็ได้ ข้อ 172 การขายพัสดุโดยวิธีประกวดราคา ให้มีคณะกรรมการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา ( 2 ) คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ( 3 ) คณะกรรมการส่งมอบ คณะกรรมการแต่ละคณะจะต้องมีจํานวนอย่างน้อย 3 คน ข้อ 173 ในการขายพัสดุโดยวิธีประกวดราคาครั้งเดียวกัน ห้ามแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงาน ที่เป็นกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเป็นกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาและกรรมการส่งมอบ ข้อ 174 การขายพัสดุโดยวิธีประกวดราคา ให้หน่วยงานพัสดุที่จะขายพัสดุปิดประกาศ ประกวดราคาไว้ ณ ที่ทําการของ กฟผ . หรือจะส่งประกาศดังกล่าวไปยังผู้รับซื้อพัสดุนั้น ๆ หากเห็นสมควร จะประกาศด้วยวิธีอื่นอีกก็ได้ การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้กระทําก่อนวันรับซองประกวดราคาไม่น้อยกว่า 7 วัน ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากผู้อํานวยการโครงการ หรือหัวหน้าหน่วยงานสูงสุดของโครงการ ให้ดําเนินการ ในระยะเวลาที่แตกต่างจากที่กําหนดดังกล่าวได้ ้ หนา 62 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ข้อ 175 ในกรณีที่ไม่มีผู้เสนอราคา หรือกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา เห็นสมควรยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น ให้คณะกรรมการดังกล่าวเสนอขอยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น เพื่อดําเนินการใหม่ต่อผู้อํานวยการโครงการหรือหัวหน้าหน่วยงานสูงสุดของโครงการ ในกรณีที่มีผู้เสนอราคารายเดียว ถ้าคณะกรรมการดังกล่าวเห็นว่ามีเหตุผลสมควร จะดําเนินการขออนุมัติขายต่อไปก็ได้ ข้อ 176 การขายพัสดุโดยวิธีตกลงราคา ให้มีคณะกรรมการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) คณะกรรมการพิจารณาราคาขาย ( 2 ) คณะกรรมการส่งมอบ คณะกรรมการแต่ละคณะจะต้องมีจํานวนอย่างน้อย 3 คน ในการขายพัสดุโดยวิธีตกลงราคาครั้งเดียวกัน ห้ามแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานที่เป็นกรรมการตาม ( 1 ) เป็นกรรมการตาม ( 2 ) ข้อ 177 การขายพัสดุที่มีการส่งมอบเป็นงวด ๆ ให้ทําเป็นสัญญาขาย ข้อ 178 คณะกรรมการส่งมอบมีหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) ตรวจสอบหลักฐานการชําระเงิน และหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง ( 2 ) ส่งมอบพัสดุให้ผู้ซื้อ ( 3 ) ส่งเอกสารต้นฉบับที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้หน่วยงานพัสดุ ข้อ 179 ให้หน่วยงานพัสดุส่งเอกสารต้นฉบับให้หน่วยงานบัญชีทรัพย์สินเพื่อดําเนินการต่อไป และสําเนาเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 4 การรับ การคืน หลักประกันการเสนอราคาหรือหลักประกันสัญญา ในกรณีการจําหน่ายพัสดุ ข้อ 180 การรับ การคืน หลักประกันการเสนอราคาหรือหลักประกันสัญญาในกรณี การจําหน่ายพัสดุ ให้ถือปฏิบัติตามวิธีการที่กําหนดไว้ในหมวด 21 การรับ การคืน หลักประกัน การเสนอราคาและหลักประกันสัญญาส่วนที่ 1 , 2 และ 3 โดยอนุโลม การขายพัสดุโดยวิธีประกวดราคาที่สามารถคัดเลือกผู้ซื้อได้ภายในวันเดียวกัน ให้ออกหลักฐานการรับหลักประกันการเสนอราคาเฉพาะรายที่ได้คัดเลือกไว้เท่านั้น และให้คืนหลักประกัน การเสนอราคาให้แก่ผู้เข้าประกวดราคารายที่ไม่ได้รับการคัดเลือกทันทีที่ได้พิจารณาคัดเลือกแล้วเสร็จ ข้อ 181 การรับ การคืน หลักประกันที่เป็นหนังสือค้ําประกันของธนาคารในประเทศ หรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ให้หน่วยงานการเงินบันทึกรายการเข้าในระบบงานองค์กร (ERP) ตามวิธีการที่กําหนดไว้ในคู่มือระบบบัญชีเจ้าหนี้ ้ หนา 63 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

หมวด 26 การจําหน่ายที่ดิน ส่วนที่ 1 การขายที่ดิน ข้อ 182 การขายที่ดิน ให้มีคณะกรรมการดําเนินการขายที่ดิน ประกอบด้วยผู้ปฏิบัติงาน ที่รองผู้ว่าการแต่งตั้ง ข้อ 183 ให้คณะกรรมการดําเนินการขายที่ดิน มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ตรวจสอบความถูกต้องของจํานวนเนื้อที่ดินที่จะขาย รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับอาคาร สิ่งปลูกสร้าง และต้นไม้ ที่อยู่บนที่ดินที่จะขาย ( 2 ) ตรวจสอบสภาพและที่ตั้งของที่ดินที่จะขาย ( 3 ) พิจารณาความเหมาะสมของราคาขายที่ดิน โดยการเปรียบเทียบกับราคาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ( ก ) ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด ( ข ) ราคาที่ดินที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ( ค ) ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรม ( ง ) ราคาในขณะที่ได้มา ( 4 ) ในกรณีที่ดินที่จะขายนั้นมีอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือต้นไม้ รวมอยู่ด้วย ให้พิจารณา ความเหมาะสมของจํานวนเงินค่าอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือต้นไม้ ที่จะขาย โดยการเปรียบเทียบ กับราคาที่ กฟผ . ตีราคาอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือต้นไม้ แล้วแต่กรณี ( 5 ) เจรจาราคากับผู้ซื้อ ( 6 ) ทํารายงานสรุปผลการดําเนินการพร้อมด้วยความเห็น เสนอผู้มีอํานาจตามข้อ 191 เพื่อพิจารณาอนุมัติ ส่วนที่ 2 การแลกเปลี่ยนที่ดิน ข้อ 184 การแลกเปลี่ยนที่ดิน ให้คํานึงความเหมาะสมและหรือความจําเป็นเพื่อประโยชน์ ของ กฟผ . ข้อ 185 การแลกเปลี่ยนที่ดิน ให้ติดต่อโดยตรงกับเจ้าของที่ดิน หรือผู้ได้รับมอบอํานาจ โดยถูกต้องตามกฎหมายจากเจ้าของที่ดิน ข้อ 186 ให้มีคณะกรรมการดําเนินการแลกเปลี่ยนที่ดิน ประกอบด้วยผู้ปฏิบัติงาน ที่รองผู้ว่าการแต่งตั้ง ้ หนา 64 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ข้อ 187 ให้คณะกรรมการดําเนินการแลกเปลี่ยนที่ดิน มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) พิจารณาบริเวณที่ดินที่จะแลกเปลี่ยนให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่ กฟผ . ต้องการใช้ประโยชน์ ( 2 ) ตรวจสภาพปัจจุบันและตรวจสอบความถูกต้องของบริเวณที่ดินเพื่อประกอบการพิจารณา ( 3 ) เจรจาจํานวนเนื้อที่หรือมูลค่าของที่ดินที่จะแลกเปลี่ยน ( 4 ) ทํารายงานสรุปผลการดําเนินการพร้อมด้วยความเห็น เสนอผู้มีอํานาจตามข้อ 191 เพื่อพิจารณาอนุมัติ ข้อ 188 ถ้าที่ดินที่จะแลกเปลี่ยนมีทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน เช่น สิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ หาก กฟผ . จําเป็นต้องจ่ายเงินสําหรับทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินนั้น ให้คณะกรรมการดําเนินการ แลกเปลี่ยนที่ดินมีหน้าที่ดําเนินการอันจําเป็นในเรื่องดังกล่าวได้ตามที่เห็นสมควร โดยให้รายงาน การดําเนินการไว้ในรายงานสรุปผลตามข้อ 187 ( 4 ) ด้วย ส่วนที่ 3 การบริจาคที่ดิน ข้อ 189 การบริจาคที่ดิน ให้กระทําได้ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ ( 1 ) ต้องกระทําในนามของ กฟผ . ( 2 ) เป็นการบริจาคเพื่อ ( ก ) พัฒนาสังคมโดยส่วนรวม ( ข ) ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบสาธารณภัยร้ายแรง ( ค ) การกุศล การศึกษา การกีฬา หรือกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ อันดีต่อประชาชน ( ง ) อื่น ๆ ตามที่ผู้ว่าการเห็นสมควร ข้อ 190 การบริจาคที่ดิน ให้ผู้อํานวยการฝ่ายที่รับผิดชอบที่ดินที่จะบริจาคพิจารณาความเหมาะสม ของที่ดินที่จะบริจาค และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ( ถ้ามี ) แล้วสรุปความเห็นเสนอผู้มีอํานาจตามข้อ 191 เพื่อพิจารณาอนุมัติ ส่วนที่ 4 อํานาจอนุมัติการจําหน่ายที่ดิน ข้อ 191 การขายที่ดินที่มีราคาขายครั้งละไม่เกิน 2 , 000 , 000 บาท ให้เสนอรองผู้ว่าการ เพื่อพิจารณาอนุมัติ การขายที่ดินที่มีราคาขายครั้งละเกิน 2 , 000 , 000 บาท แต่ไม่เกิน 10 , 000 , 000 บาท ให้เสนอคณะกรรมการ กฟผ . เพื่อพิจารณาอนุมัติ ้ หนา 65 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

การขายที่ดินที่มีราคาขายครั้งละเกิน 10 , 000 , 000 บาท ให้เสนอคณะกรรมการ กฟผ . เพื่อพิจารณาอนุมัติและให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ การแลกเปลี่ยนที่ดินและการบริจาคที่ดินที่มีราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมครั้งละไม่เกิน 2 , 000 , 000 บาท ให้เสนอรองผู้ว่าการ เพื่อพิจารณาอนุมัติ การแลกเปลี่ยนที่ดินและการบริจาคที่ดินที่มีราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมครั้งละเกิน 2 , 000 , 000 บาท ให้เสนอคณะกรรมการ กฟผ . เพื่อพิจารณาอนุมัติ ข้อ 192 เมื่อผู้มีอํานาจอนุมัติการขายที่ดิน การแลกเปลี่ยนที่ดิน และการบริจาคที่ดิน ตามข้อ 191 ได้พิจารณาสั่งการแล้ว ให้ส่งเรื่องให้ฝ่ายที่ดินเพื่อดําเนินการทํานิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน ให้เรียบร้อยต่อไป ข้อ 193 เมื่อฝ่ายที่ดินได้ดําเนินการทํานิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินเรียบร้อยแล้ว ให้สําเนาเรื่อง ให้ฝ่ายบัญชีเพื่อดําเนินการต่อไป หมวด 27 การจ้างงานก่อสร้างโดยให้ผู้รับจ้างก่อสร้างรื้อถอนสิ่งก่อสร้างเดิม และรับซื้อพัสดุที่รื้อถอน ข้อ 194 การจ้างงานก่อสร้างโดยให้ผู้รับจ้างก่อสร้างรื้อถอนสิ่งก่อสร้างเดิมและรับซื้อพัสดุ ที่รื้อถอนด้วย ให้กระทําได้ตามแผนงานที่วางไว้ โดยคํานึงถึงประโยชน์ที่ กฟผ . จะได้รับเป็นสําคัญ และสิ่งก่อสร้างเดิมนั้นจะต้องได้รับอนุมัติให้รื้อถอนแล้ว ตามหลักเกณฑ์ในระเบียบปฏิบัติ กฟผ . เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้าง ทั้งนี้ การจ้างรื้อถอนสิ่งก่อสร้างพร้อมกับให้ผู้รับจ้างรื้อถอนรับซื้อพัสดุที่เหลือ จากการรื้อถอนโดยไม่มีการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ เฉพาะที่เกี่ยวกับการดําเนินการเตรียมพื้นที่ไว้ล่วงหน้า สําหรับงานก่อสร้าง ให้ดําเนินการตามหมวดนี้โดยอนุโลม ข้อ 195 การสอบราคาหรือประกวดราคาการจ้างงานก่อสร้างตามข้อ 194 ให้หน่วยงาน จัดซื้อจัดจ้าง หรือผู้ทําหน้าที่จัดหา เพิ่มเติมเงื่อนไขให้ผู้เสนอราคางานเสนอราคารับซื้อพัสดุที่รื้อถอน ในเอกสารสอบราคาหรือเอกสารประกวดราคาด้วย ข้อ 196 ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการสอบราคา หรือคณะกรรมการพิจารณา ผลการประกวดราคา หรือคณะกรรมการที่เรียกชื่ออื่นแต่มีหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการดังกล่าว มีหน้าที่พิจารณาราคางานจ้างและราคาขายพัสดุที่รื้อถอนด้วย ซึ่งโดยปกติให้คณะกรรมการดังกล่าว พิจารณาราคาโดยถือราคาสุทธิที่ กฟผ . จะต้องจ่ายน้อยที่สุดเป็นเกณฑ์ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงผลประโยชน์สูงสุด ที่ กฟผ . จะได้รับ ้ หนา 66 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ข้อ 197 อํานาจอนุมัติการจ้างตามหมวดนี้ ให้ถือวงเงินค่าก่อสร้างรวมค่ารื้อถอนสิ่งก่อสร้างเดิม โดยไม่หักค่าขายพัสดุที่รื้อถอน และให้ถือว่าการอนุมัติการจ้างคราวนั้น เป็นการอนุมัติขายพัสดุ ที่รื้อถอนด้วย ข้อ 198 อํานาจการลงลายมือชื่อในใบสั่งจ้าง หรือสัญญาจ้าง ที่กระทํากับบุคคลภายนอก เพื่อว่าจ้างก่อสร้างและรื้อถอนสิ่งก่อสร้างพร้อมทั้งขายพัสดุที่รื้อถอน ให้ถือวงเงินค่าก่อสร้างรวมค่ารื้อถอน สิ่งก่อสร้างเดิม โดยไม่หักค่าขายพัสดุที่รื้อถอน และให้ถือว่าการลงลายมือชื่อดังกล่าวเป็นการลงลายมือชื่อ เพื่อขายพัสดุที่รื้อถอนด้วย ข้อ 199 ในการจ้างงานก่อสร้างโดยให้ผู้รับจ้างก่อสร้างรื้อถอนสิ่งก่อสร้างเดิมหรือ ในการจ้างรื้อถอนสิ่งก่อสร้าง หากในการทําสัญญาจ้างครั้งแรกไม่มีเงื่อนไขกําหนดให้ผู้รับจ้างรับซื้อพัสดุ ที่รื้อถอน แต่ต่อมาภายหลังหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวพิจารณาเห็นว่าการขายพัสดุที่รื้อถอน ให้แก่ผู้รับจ้างจะเป็นประโยชน์ต่อ กฟผ . ก็ให้ดําเนินการขายพัสดุที่รื้อถอนให้แก่ผู้รับจ้างนั้นโดยวิธีตกลงราคา โดยถือปฏิบัติตามวิธีการที่กําหนดไว้ในหมวด 23 ข้อ 200 ในการขายพัสดุตามข้อ 199 ให้หน่วยงานที่ดําเนินการขายจัดให้มีการทําข้อผูกพัน การขาย โดยให้ระบุเงื่อนไขการชําระเงินค่าพัสดุไว้ให้ชัดเจน และหากในกรณีที่มีเงื่อนไขการชําระเงิน โดยการหักจากเงินพึงได้ ให้ส่งต้นฉบับของข้อผูกพันการขายให้หน่วยงานบัญชีเจ้าหนี้ ที่มีหน้าที่จ่ายเงิน ตามสัญญาจ้างก่อสร้างหรือสัญญาจ้างรื้อถอน และสําเนาให้คณะกรรมการส่งมอบ ข้อ 201 ในการส่งมอบพัสดุที่รื้อถอนให้กับผู้รับจ้าง ให้ผู้อนุมัติการจ้างครั้งนั้น หรือผู้มีอํานาจ อนุมัติการจําหน่ายพัสดุ แต่งตั้งคณะกรรมการส่งมอบอย่างน้อย 3 คน โดยให้มีผู้ปฏิบัติงาน ของหน่วยงานพัสดุเจ้าของทรัพย์สิน หรือผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานพัสดุของสายงาน แล้วแต่กรณี ร่วมเป็นกรรมการด้วย เพื่อดําเนินการ ดังนี้ ( 1 ) ตรวจสอบเงื่อนไขการชําระเงินว่าเป็นการชําระด้วยเงินสด เงินโอนเข้าบัญชีเงินฝาก ธนาคารของ กฟผ . หรือเงินโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของ กฟผ . ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ดราฟท์ เช็คที่ธนาคารรับรอง เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย หรือหักจากเงินพึงได้ ( ก ) ในกรณีเป็นการชําระด้วยเงินสด เงินโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของ กฟผ . หรือเงินโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของ กฟผ . ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ดราฟท์ เช็คที่ธนาคารรับรอง หรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย ให้ตรวจสอบหลักฐานการชําระเงินและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง ( ข ) ในกรณีหักจากเงินพึงได้ ให้แจ้งหน่วยงานการเงินเพื่อดําเนินการจัดทําใบกํากับภาษี ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในระเบียบปฏิบัติ กฟผ . เกี่ยวกับการรับและการจ่ายเงิน ( 2 ) ส่งมอบพัสดุให้กับผู้รับจ้าง และในกรณีตาม ( 1 ) ( ข ) ให้ส่งมอบใบกํากับภาษีให้กับผู้รับจ้างด้วย ( 3 ) ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้หน่วยงานพัสดุเจ้าของทรัพย์สิน หรือหน่วยงานพัสดุ ของสายงาน แล้วแต่กรณี ้ หนา 67 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ข้อ 202 เมื่อหน่วยงานพัสดุเจ้าของทรัพย์สิน หรือหน่วยงานพัสดุของสายงาน แล้วแต่กรณี ได้รับเอกสารตามข้อ 201 ( 3 ) แล้ว ให้ดําเนินการ ดังนี้ ( 1 ) ในกรณีเป็นการชําระค่าพัสดุด้วยเงินสด เงินโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของ กฟผ . หรือเงินโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของ กฟผ . ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ดราฟท์ เช็คที่ธนาคารรับรอง หรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย ให้ส่งเอกสารดังกล่าว ให้หน่วยงานบัญชี ( 2 ) ในกรณีเป็นการชําระค่าพัสดุโดยหักจากเงินพึงได้ ให้ส่งเอกสารดังกล่าวให้หน่วยงานบัญชีเจ้าหนี้ ที่มีหน้าที่จ่ายเงินตามสัญญาจ้างก่อสร้างหรือสัญญาจ้างรื้อถอน เพื่อดําเนินการหักค่าพัสดุจากเงินพึงได้ และเมื่อหน่วยงานบัญชีเจ้าหนี้ดังกล่าวดําเนินการแล้ว ให้ส่งเอกสารให้หน่วยงานบัญชีทรัพย์สิน ( 3 ) ส่งสําเนาเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หมวด 28 การจ้างซ่อมทรัพย์สินที่มีความจําเป็นต้องเปลี่ยนอะไหล่หรือชิ้นส่วน หรือการซื้อครุภัณฑ์หรือเครื่องมือเครื่องใช้ทดแทนของเดิม ข้อ 203 การจ้างซ่อมทรัพย์สิน หากในการจ้างซ่อมครั้งนั้นมีความจําเป็นต้องเปลี่ยนอะไหล่ หรือชิ้นส่วน และอะไหล่หรือชิ้นส่วนเดิมสามารถขายได้ หากเห็นว่าการขายอะไหล่หรือชิ้นส่วนเดิม ให้กับผู้รับจ้างซ่อมจะเป็นประโยชน์ต่อ กฟผ . ในการดําเนินการจัดหาเพื่อหาผู้รับจ้างซ่อมจะกําหนด ให้ผู้เสนอราคารับจ้างซ่อม เสนอราคารับซื้ออะไหล่หรือชิ้นส่วนเดิมไว้ในเงื่อนไขการจ้างด้วยก็ได้ โดยถือปฏิบัติตามวิธีการที่กําหนดไว้ในหมวด 27 โดยอนุโลม ข้อ 204 การซื้อครุภัณฑ์หรือเครื่องมือเครื่องใช้ทดแทนของเดิม หากเห็นว่าการขายครุภัณฑ์ หรือเครื่องมือเครื่องใช้เดิมให้กับผู้ขายจะเป็นประโยชน์ต่อ กฟผ . ในการดําเนินการจัดหาจะกําหนด ให้ผู้เสนอราคา เสนอราคารับซื้อครุภัณฑ์หรือเครื่องมือเครื่องใช้เดิมไว้ในเงื่อนไขการซื้อด้วยก็ได้ โดยถือปฏิบัติตามวิธีการที่กําหนดไว้ในหมวด 27 โดยอนุโลม หมวด 29 การให้หน่วยงานภายนอกยืมพัสดุ ข้อ 205 ในหมวดนี้ “ หน่วยงานภายนอก ” หมายความว่า คู่สัญญาของ กฟผ . หรือบริษัทซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลในเครือของ กฟผ . ข้อ 206 การให้หน่วยงานภายนอกยืมพัสดุของ กฟผ . จะต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) กฟผ . มีพัสดุนั้นเพียงพอที่จะให้ยืมได้โดยไม่เป็นการเสียหายแก่งาน กฟผ . ( 2 ) ผู้ยืมมีเหตุผลและหลักฐานเพียงพอที่แสดงว่าไม่อาจจัดหาพัสดุนั้นมาใช้งานได้ทันกาล ้ หนา 68 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( 3 ) ในกรณีผู้ยืมเป็นคู่สัญญา พัสดุที่ให้ยืมต้องเป็นพัสดุที่ผู้ยืมมีความจําเป็นต้องนําไปใช้งาน ที่จะต้องดําเนินการให้ กฟผ . โดยรีบด่วน มิฉะนั้นอาจเกิดความเสียหายแก่ กฟผ . ในกรณีผู้ยืมเป็นบริษัทซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลในเครือของ กฟผ . ให้คํานึงถึงประโยชน์ ของ กฟผ . เป็นสําคัญ ( 4 ) ผู้ยืมจะต้องส่งคืนพัสดุที่ยืมทันทีที่สามารถจัดหาได้ ในกรณีผู้ยืมอยู่ในประเทศ จะต้องส่งคืนอย่างช้าไม่เกิน 60 วัน สําหรับพัสดุที่ซื้อภายในประเทศ และไม่เกิน 120 วันสําหรับพัสดุที่ต้องซื้อจากต่างประเทศ โดยนับตั้งแต่วันที่ผู้ยืมได้รับพัสดุจาก กฟผ . ในกรณีผู้ยืมอยู่ต่างประเทศ จะต้องส่งคืนอย่างช้าไม่เกิน 180 วัน ในกรณีเป็นการยืมใช้คงรูป ให้ส่งคืนเมื่อครบกําหนดการยืม ( 5 ) ผู้ยืมเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการรับและส่งคืนพัสดุที่ยืมจาก กฟผ . ข้อ 207 การให้ยืมพัสดุของ กฟผ . ให้หน่วยงานที่ควบคุมงาน หรือหน่วยงานที่ได้รับ การติดต่อจากผู้ยืม จัดให้ผู้ยืมทํา “ หนังสือขอยืมพัสดุ ” ( แบบ กฟผ .- พด . 61 ) ตามแบบพิมพ์ที่กําหนด ในคําสั่ง กฟผ . เรื่อง แบบพิมพ์การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พร้อมทั้งแนบหลักฐานที่แสดงว่า ไม่อาจจัดหาพัสดุนั้น ๆ มาใช้งานได้ทันกาล เสนอผู้ปฏิบัติงานตามข้อ 208 เพื่อพิจารณา ทั้งนี้ ในกรณีเป็นพัสดุสํารองคลัง ให้เสนอผ่านคลังพัสดุเพื่อตรวจสอบ พร้อมทั้งเสนอความเห็นประกอบการพิจารณา ของผู้มีอํานาจ ข้อ 208 ให้ผู้ปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ มีอํานาจอนุมัติการให้หน่วยงานภายนอกยืมพัสดุ ( 1 ) ผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไป ( 2 ) หัวหน้ากองซึ่งมีอํานาจอนุมัติการซื้อหรือการจ้างที่ควบคุมงานนั้น แต่ทั้งนี้ ให้อนุมัติ การให้ยืมพัสดุได้ภายในวงเงินอํานาจอนุมัติการซื้อหรือการจ้างของตน การให้ยืมพัสดุแต่ละครั้งหรือหลายครั้งรวมกันในแต่ละสัญญาเป็นจํานวนเงินเกิน 100 , 000 บาท ให้ผู้มีอํานาจอนุมัติการให้ยืมพัสดุสั่งการให้ผู้ยืมจัดหาหลักประกัน เพื่อค้ําประกันการยืมพัสดุนั้นในวงเงิน ไม่น้อยกว่าราคาพัสดุที่ กฟผ . ให้ยืม โดยใช้ราคาตลาดในขณะนั้น ( ที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ) ยกเว้นกรณีที่เป็นพัสดุสํารองคลัง ให้ใช้ราคาตามมูลค่าของพัสดุสํารองคลังนั้น ( ที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ) และให้ผู้ยืมจัดส่งหลักประกันดังกล่าวให้หน่วยงานการเงินเพื่อดําเนินการต่อไป เว้นแต่กรณีผู้ยืมอยู่ต่างประเทศ ซึ่งมีเหตุผลความจําเป็นที่ไม่สามารถดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ ให้เสนอขออนุมัติรองผู้ว่าการ ข้อ 209 ให้ผู้มีอํานาจอนุมัติการให้ยืมพัสดุของ กฟผ . ดําเนินการ ดังนี้ ( 1 ) แต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานระดับ 4 ขึ้นไปอย่างน้อย 1 คน เป็นผู้ประสานงาน ( 2 ) แต่งตั้งคณะกรรมการส่งมอบและรับมอบพัสดุที่ให้ยืม ประกอบด้วยผู้ปฏิบัติงานระดับ 3 ขึ้นไป อย่างน้อย 2 คน ้ หนา 69 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ข้อ 210 ให้ผู้ประสานงานมีหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) จัดให้ผู้ยืมทํา “ สัญญายืมพัสดุ ” ( แบบ กฟผ .- พด . 63 ) ตามแบบพิมพ์ที่กําหนดในคําสั่ง กฟผ . เรื่อง แบบพิมพ์การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ให้กําหนดเลขที่สัญญาโดยใช้อักษรย่อชื่อตําแหน่งหัวหน้ากองขึ้นไปของหน่วยงานที่อนุมัติ การให้ยืมพัสดุนั้น นําหน้าเลขลําดับที่ ( 2 ) เบิกพัสดุผ่านระบบงานองค์กร พร้อมทั้งส่งแบบพิมพ์ตามข้อ 207 ที่ได้รับอนุมัติจาก ผู้มีอํานาจตามข้อ 208 แล้ว และแบบพิมพ์ตาม ( 1 ) ให้คลังพัสดุที่ขอเบิก สําหรับกรณีพัสดุที่ให้ยืม เป็นพัสดุสํารองคลัง ( 3 ) จัดทําบันทึกแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับรายการพัสดุที่ให้ยืม ปริมาณ และราคาต่อหน่วย ( ที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ) ให้หน่วยงานการเงินเพื่อพิจารณาจัดทําใบกํากับภาษี ตามหลักเกณฑ์ ที่กําหนดไว้ในระเบียบปฏิบัติ กฟผ . เกี่ยวกับการรับและการจ่ายเงิน ราคาต่อหน่วยดังกล่าวให้ใช้ราคาตลาด ยกเว้นกรณีที่เป็นพัสดุสํารองคลัง ให้ใช้ราคา ตามมูลค่าของพัสดุสํารองคลังสําหรับกรณียืมใช้สิ้นเปลือง หรือราคาค่าบริการกรณียืมใช้คงรูป เป็นฐานในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ( 4 ) ติดตามทวงถามเพื่อให้ผู้ยืมนําส่งพัสดุคืนให้แก่ กฟผ . โดยเร็ว และไม่เกินกําหนดเวลา ที่ได้รับอนุมัติ พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ยืมจัดทําใบกํากับภาษีเพื่อส่งมอบให้กับ กฟผ . พร้อมกับการนําส่งพัสดุคืน ให้แก่ กฟผ . ด้วย ในกรณีที่ผู้ยืมร้องขอขยายกําหนดเวลานําส่งพัสดุคืนให้แก่ กฟผ . ให้รายงานต่อผู้มีอํานาจอนุมัติ ตามข้อ 208 เพื่อพิจารณาอนุมัติ แต่ทั้งนี้ ระยะเวลาที่ขอขยายนั้นเมื่อรวมกับระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติไว้ จะต้องไม่เกินระยะเวลาตามข้อ 206 ( 4 ) ( 5 ) เมื่อผู้ยืมนําส่งพัสดุคืนให้แก่ กฟผ . ให้ผู้ประสานงานจัดทําแบบพิมพ์ “Manual Requisition” ตามที่กําหนดในคําสั่ง กฟผ . เรื่อง แบบพิมพ์การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ และส่งให้คณะกรรมการ ตามข้อ 209 ( 2 ) เพื่อดําเนินการตรวจรับพัสดุ ( 6 ) ในกรณีผู้ยืมอยู่ต่างประเทศ ให้ประสานงานกับหน่วยงานออกของเพื่อดําเนินการตามพิธีศุลกากร ทั้งกรณีส่งมอบและรับคืน ข้อ 211 ให้คณะกรรมการตามข้อ 209 ( 2 ) มีหน้าที่ตรวจสอบพัสดุที่ผู้ยืมนํามาคืนให้แก่ กฟผ . ว่าพัสดุนั้นถูกต้องตามชนิดหรือประเภท สภาพเดียวกันและครบถ้วนตามจํานวนที่ได้ยืมไป และภายในกําหนดเวลาหรือไม่ ถ้าพัสดุซึ่งต้องใช้ควบคู่กันหรือเป็นส่วนประกอบอันจําเป็นซึ่งกันและกัน หากผู้ยืมนํามาคืนขาดรายการใดรายการหนึ่งแล้วไม่อาจใช้งานได้โดยสมบูรณ์ ไม่ต้องตรวจรับพัสดุนั้น ในกรณีพัสดุที่ส่งคืนนั้นถูกต้องครบถ้วน หรือถูกต้องแต่ไม่ครบถ้วน จะตรวจรับไว้เฉพาะ จํานวนที่ถูกต้องก็ได้ และให้ลงลายมือชื่อรับพัสดุนั้นในแบบพิมพ์ตามข้อ 210 ( 5 ) และแยกส่ง ้ หนา 70 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

แบบพิมพ์ดังกล่าวให้ผู้เกี่ยวข้องตามที่กําหนดในแบบพิมพ์ พร้อมทั้งส่งมอบพัสดุให้ผู้ประสานงาน เพื่อดําเนินการต่อไป ในกรณีที่ผู้ยืมเสนอขอนําพัสดุชนิดหรือประเภท และคุณภาพทัดเทียมกัน แต่ต่างผู้ผลิตมาคืนแทน ให้ตีราคาพร้อมเสนอความเห็น และแจ้งผู้ประสานงานเพื่อเสนอผู้มีอํานาจอนุมัติ การให้ยืมพัสดุนั้นพิจารณาสั่งการ ข้อ 212 เมื่อผู้ประสานงานได้รับแบบพิมพ์ตามข้อ 210 ( 5 ) ที่คณะกรรมการตาม ข้อ 209 ( 2 ) ได้ลงลายมือชื่อรับพัสดุที่ผู้ยืมนํามาคืนแล้ว ให้ส่งมอบพัสดุนั้นให้คลังพัสดุ โดยจัดทํา แบบพิมพ์ “Manual Requisition” ตามที่กําหนดในคําสั่ง กฟผ . เรื่อง แบบพิมพ์การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุ พร้อมทั้งประทับตรา หรือเขียนข้อความว่า “ พัสดุรับคืนจากผู้ยืม ” ไว้ในแบบพิมพ์ ดังกล่าวทุกฉบับด้วย ข้อ 213 ในกรณีที่ผู้ยืมนําส่งพัสดุคืนล่าช้ากว่ากําหนด หรือไม่นําส่งพัสดุคืนให้แก่ กฟผ . หรือนําส่งคืนไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้ผู้ประสานงานดําเนินการ ดังนี้ ( 1 ) จัดทํา “ หนังสือแจ้งผู้ค้ําประกันกรณีลูกหนี้ผิดนัด ” ตามแบบพิมพ์ที่กําหนดในคําสั่ง กฟผ . เรื่อง แบบพิมพ์การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ส่งให้ธนาคารในประเทศหรือบริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ผู้ออกหนังสือค้ําประกันทางไปรษณีย์ลงทะเบียนโดยเร็ว อย่างช้าไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่ผู้ยืมนําส่งพัสดุคืนล่าช้ากว่ากําหนด หรือไม่นําส่งพัสดุคืนให้แก่ กฟผ . หรือนําส่งพัสดุคืน ไม่ถูกต้องครบถ้วน ( 2 ) รายงานผู้มีอํานาจอนุมัติการให้ยืมพัสดุนั้นเพื่อทราบ หรือพิจารณาสั่งการบอกเลิกสัญญายืมพัสดุ ในกรณีที่เห็นสมควรบอกเลิก ให้แจ้งหน่วยงานบัญชีเพื่อดําเนินการต่อไป ข้อ 214 ให้หน่วยงานบัญชีและหน่วยงานการเงินดําเนินการ ดังนี้ ( 1 ) ในกรณีที่ผู้ยืมนําส่งพัสดุคืนถูกต้องครบถ้วนภายในกําหนดเวลาให้คิดค่าใช้จ่ายในการยืมพัสดุ เท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเกินบัญชีของธนาคารกรุงไทย ณ วันทําสัญญายืมพัสดุของราคาพัสดุ ที่ กฟผ . ให้ยืม โดยใช้ราคาตลาดในขณะนั้น ยกเว้นกรณีที่เป็นพัสดุสํารองคลัง ให้ใช้ราคาตามมูลค่า ของพัสดุสํารองคลัง โดยนับตั้งแต่วันที่ผู้ยืมได้รับพัสดุจาก กฟผ . จนถึงวันที่ผู้ยืมนําส่งถูกต้องครบถ้วน พร้อมทั้งเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยใช้ราคาตามหลักเกณฑ์ในข้อ 210 ( 3 ) ทั้งนี้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เกี่ยวเนื่องกับพัสดุ (Overhead) อื่นใดอีก ( 2 ) ในกรณีผู้ยืมนําส่งพัสดุคืนล่าช้ากว่ากําหนด ให้คิดค่าใช้จ่ายและค่าเสียหาย ดังนี้ ( ก ) ค่าใช้จ่ายในการยืมพัสดุตามอัตราใน ( 1 ) ตั้งแต่วันที่ผู้ยืมได้รับพัสดุจาก กฟผ . จนถึงวันที่ผู้ยืมนําส่งคืนถูกต้องครบถ้วน และ ( ข ) ค่าปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0 . 1 ของราคาพัสดุที่นําส่งล่าช้า นับตั้งแต่วันถัดจาก วันที่ครบกําหนดการยืมจนถึงวันที่นําส่งคืนถูกต้องครบถ้วน ้ หนา 71 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( 3 ) ในกรณีผู้ยืมไม่นําส่งพัสดุคืนให้แก่ กฟผ . หรือนําส่งคืนไม่ถูกต้องครบถ้วน และ กฟผ . บอกเลิกสัญญายืมพัสดุ ให้คิดค่าใช้จ่ายและค่าเสียหาย ดังนี้ ( ก ) ค่าใช้จ่ายในการยืมพัสดุตามอัตราใน ( 1 ) ตั้งแต่วันที่ผู้ยืมได้รับพัสดุจาก กฟผ . จนถึงวันที่ กฟผ . บอกเลิกสัญญายืมพัสดุ และ ( ข ) ชดใช้ค่าพัสดุเป็นจํานวนทั้งหมด หรือตามจํานวนที่ขาดส่ง บวกด้วยค่าใช้จ่าย เกี่ยวเนื่อง (Overhead) อีกร้อยละ 30 ของราคาพัสดุที่ขาดส่ง ( 4 ) แจ้งให้ผู้ยืมนําเงินมาชําระเป็นค่าใช้จ่ายและหรือค่าเสียหายที่หน่วยงานการเงินโดยเร็ว หากผู้ยืมเพิกเฉยหรือละเลยไม่มาชําระภายในกําหนดเวลาที่ได้รับแจ้ง ให้หักเงินพึงได้ของผู้ยืมนั้น หรือหลักประกัน ( ถ้ามี ) แต่ในกรณีที่ผู้ยืมไม่มีเงินพึงได้หรือหลักประกัน หรือมีแต่ไม่พอหัก ให้ส่งเรื่อง ให้หน่วยงานกฎหมายเพื่อดําเนินการตามกฎหมายต่อไป ในกรณีที่จะดําเนินการริบหลักประกันที่เป็นหนังสือค้ําประกันของธนาคารในประเทศ หรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก่อนดําเนินการให้หน่วยงานบัญชีจัดทํา “ หนังสือแจ้ง ผู้ค้ําประกันกรณีลูกหนี้ผิดนัด ” ตามแบบพิมพ์ที่กําหนดในคําสั่ง กฟผ . เรื่อง แบบพิมพ์การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุ ส่งให้ธนาคารในประเทศหรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ผู้ออก หนังสือค้ําประกันทางไปรษณีย์ลงทะเบียนโดยเร็ว อย่างช้าไม่เกิน 60 วันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลา ที่ กฟผ . แจ้งให้มาชําระค่าใช้จ่ายและหรือค่าเสียหาย ( 5 ) เมื่อได้ดําเนินการเรื่องดังกล่าวข้างต้นเสร็จแล้ว ให้แจ้งผู้มีอํานาจอนุมัติการให้ยืมพัสดุ และหน่วยงานพัสดุทราบด้วย ราคาพัสดุที่ใช้ในการคํานวณค่าใช้จ่ายและหรือค่าเสียหายตาม ( 1 ) ( 2 ) และ ( 3 ) ให้ใช้ราคาตลาด ในขณะนั้น ( ที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ) ยกเว้นกรณีที่เป็นพัสดุสํารองคลัง ให้ใช้ราคาตามมูลค่าของพัสดุ สํารองคลัง ( ที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ) ข้อ 215 แบบพิมพ์ตามที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ ให้ใช้กับกรณีผู้ยืมที่อยู่ภายในประเทศ กรณีผู้ยืมอยู่ต่างประเทศ ให้ใช้แบบพิมพ์ตามที่ตกลงกับผู้ยืม ข้อ 216 การให้หน่วยงานภายนอกยืมพัสดุตามความในหมวดนี้ ให้ถือปฏิบัติในเรื่องภาษี ตามประมวลกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หมวด 30 การยืมพัสดุจากหน่วยงานภายนอก ข้อ 217 การยืมพัสดุจากหน่วยงานภายนอก ให้ กฟผ . ยืมได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ในกรณี กฟผ . รับทํางานให้บุคคลภายนอกและ กฟผ . มีความจําเป็นต้องใช้พัสดุ ของหน่วยงานภายนอกในการทํางานให้กับบุคคลภายนอกที่เป็นคู่สัญญากับ กฟผ . ( 2 ) กรณีอื่นนอกจาก ( 1 ) ้ หนา 72 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( ก ) ในกรณีจําเป็นเร่งด่วน หากจัดหาเองจะไม่ทันกาล ( ข ) เป็นพัสดุที่ไม่มีจําหน่ายในท้องตลาด หรือมีแต่ไม่เพียงพอ ข้อ 218 ให้หน่วยงานที่มีความจําเป็นต้องยืมพัสดุจากหน่วยงานภายนอกทําบันทึกชี้แจงเหตุผล และความจําเป็นที่ต้องยืมพัสดุ เสนอขออนุมัติผู้บังคับบัญชาชั้นผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไป ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการยืมพัสดุ หรือค่าปรับในกรณีส่งคืนล่าช้าให้ผู้บังคับบัญชา ชั้นผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปมีอํานาจอนุมัติ ข้อ 219 ในกรณีการยืมพัสดุที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้หน่วยงานตามข้อ 218 แจ้งผู้ให้ยืม ส่งมอบพัสดุที่ กฟผ . ขอยืม พร้อมทั้งจัดทําใบกํากับภาษีให้กับ กฟผ . ในการนําส่งพัสดุที่ขอยืมคืนให้กับผู้ให้ยืม ให้หน่วยงานดังกล่าวจัดทําบันทึก แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับพัสดุที่ขอยืม ปริมาณ และราคาต่อหน่วย ให้หน่วยงานการเงินเพื่อพิจารณา จัดทําใบกํากับภาษี ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในระเบียบปฏิบัติ กฟผ . เกี่ยวกับการรับและการจ่ายเงิน ให้กับผู้ให้ยืม ข้อ 220 การยืมพัสดุ ให้ทําหนังสือยืมเป็นลายลักษณ์อักษร โดยให้ผู้บังคับบัญชา ชั้นผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปเป็นผู้พิจารณาลงนาม ข้อ 221 ให้มีคณะกรรมการส่งมอบและรับมอบพัสดุที่ยืม โดยถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ในหมวด 29 การให้หน่วยงานภายนอกยืมพัสดุ โดยอนุโลม ทั้งนี้ ในกรณีเป็นการยืมพัสดุจากผู้ให้ยืม ที่อยู่ในต่างประเทศ ให้ประสานงานกับหน่วยงานออกของเพื่อดําเนินการตามพิธีศุลกากรทั้งกรณีการรับมอบ และการส่งคืน ข้อ 222 การยืมพัสดุจากหน่วยงานภายนอกตามความในหมวดนี้ ให้ถือปฏิบัติในเรื่องภาษี ตามประมวลกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หมวด 31 การลงโทษผู้ทิ้งงาน ข้อ 223 กรณีที่พบว่ามีผู้เสนอราคา คู่สัญญา ที่ปรึกษา หรือผู้รับจ้างช่วงที่ กฟผ . อนุมัติ ให้รับช่วงงาน ซึ่งดําเนินการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ผู้เสนอราคาซึ่งได้รับการคัดเลือกแล้วไม่ยอมทําสัญญาภายในเวลาที่ กฟผ . กําหนด โดยไม่มีเหตุผลสมควร ( 2 ) คู่สัญญา ที่ปรึกษา หรือผู้รับจ้างช่วงที่ กฟผ . อนุมัติให้รับช่วงงานไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ในสัญญาโดยไม่มีเหตุผลสมควร ( 3 ) พัสดุที่ซื้อหรืองานที่จ้างเกิดข้อบกพร่องขึ้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญา และไม่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง หรือพัสดุที่ซื้อหรืองานที่จ้างไม่ได้มาตรฐาน หรือวัสดุที่ใช้ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ครบถ้วนตามที่กําหนดไว้ในสัญญา ทําให้งานบกพร่องเสียหายอย่างร้ายแรง ้ หนา 73 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

( 4 ) เมื่อปรากฏว่าผลการปฏิบัติตามสัญญาของที่ปรึกษามีข้อบกพร่อง ผิดพลาด หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ กฟผ . อย่างร้ายแรง ( 5 ) ดําเนินการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ให้หน่วยงานหรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องทํารายงานเสนอผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปที่มีหน้าที่ รับผิดชอบหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างหรือที่รับฝากการบังคับบัญชาหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง หรือผู้อํานวยการ ฝ่ายขึ้นไปของหน่วยงานเจ้าของงาน เพื่อจัดทําหนังสือแจ้งผู้เสนอราคา คู่สัญญา ที่ปรึกษา หรือผู้รับ จ้างช่วงที่ กฟผ . อนุมัติให้รับช่วงงาน แล้วแต่กรณี ซึ่งจะถูกลงโทษสั่งการให้เป็นผู้ทิ้งงานทราบ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้จะถูกลงโทษชี้แจงเหตุผลข้อเท็จจริง พร้อมทั้งยื่นเอกสาร หลักฐานประกอบ ( ถ้ามี ) ภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง ทั้งนี้ โดยแจ้งไปด้วยว่า ถ้าไม่ชี้แจงภายในกําหนดเวลา จะถือว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร และจะพิจารณาไปตามข้อเท็จจริง ของ กฟผ . แต่เพียงฝ่ายเดียว หากผู้จะถูกลงโทษไม่สามารถชี้แจงเหตุผลข้อเท็จจริงอันสมควร หรือไม่สามารถแสดงเหตุผล ข้อเท็จจริงภายในระยะเวลาที่กําหนด หรือ กฟผ . ไม่สามารถติดต่อกับผู้ที่จะถูกลงโทษได้ ให้ผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปที่มีหน้าที่รับผิดชอบหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างหรือที่รับฝากการบังคับบัญชา หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง หรือผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปของหน่วยงานเจ้าของงาน ส่งเรื่องพร้อมความเห็นของตน ให้ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุเพื่อจัดทําประกาศ กฟผ . สั่งการให้เป็นผู้ทิ้งงาน ข้อ 224 ในการดําเนินการซื้อหรือจ้างหรือจ้างที่ปรึกษาตามระเบียบนี้ หากมีเหตุ อันควรสงสัยปรากฏในภายหลังว่าผู้เสนอราคารายหนึ่งหรือหลายราย ไม่ว่าจะเป็นผู้เสนอราคาที่ได้รับ การคัดเลือกหรือไม่ก็ตาม กระทําการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมหรือกระทําการ โดยไม่สุจริต เช่น การเสนอเอกสารอันเป็นเท็จ หรือใช้ชื่อบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอื่นมาเสนอราคาแทน ให้หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าบุคคลดังกล่าวสมควรเป็นผู้ทิ้งงานหรือไม่ แล้วทําเรื่องเสนอผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปที่มีหน้าที่รับผิดชอบหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างหรือที่รับฝาก การบังคับบัญชาหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อจัดทําหนังสือแจ้งเหตุที่สงสัยไปยังผู้เสนอราคาที่ถูกสงสัยทราบ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เสนอราคาที่ถูกสงสัยชี้แจงเหตุผลข้อเท็จจริง พร้อมทั้ง ยื่นเอกสารหลักฐานประกอบ ( ถ้ามี ) ภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง ทั้งนี้ โดยแจ้งไปด้วยว่า ถ้าไม่ชี้แจงภายในกําหนดเวลา จะถือว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร และจะพิจารณาไปตามข้อเท็จจริง ของ กฟผ . แต่เพียงฝ่ายเดียว หากผู้เสนอราคาที่ถูกสงสัยไม่สามารถชี้แจงเหตุผลข้อเท็จจริงอันสมควร หรือไม่สามารถแสดงเหตุผลข้อเท็จจริงภายในระยะเวลาที่กําหนด หรือ กฟผ . ไม่สามารถติดต่อกับ ผู้ที่จะถูกลงโทษได้ ให้ผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปที่มีหน้าที่รับผิดชอบหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างหรือที่รับฝาก การบังคับบัญชาหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง ส่งเรื่องพร้อมความเห็นของตนให้ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุ เพื่อจัดทําประกาศ กฟผ . สั่งการให้เป็นผู้ทิ้งงาน ้ หนา 74 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

ข้อ 225 ในกรณีที่นิติบุคคลใดถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน ถ้าการกระทําดังกล่าวเกิดจากหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจในการดําเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้น ให้ผู้อํานวยการ ฝ่ายขึ้นไปที่มีหน้าที่รับผิดชอบหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างหรือที่รับฝากการบังคับบัญชาหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง หรือผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปของหน่วยงานเจ้าของงาน จัดทําหนังสือแจ้งบุคคลดังกล่าวซึ่งจะถูกลงโทษ สั่งการให้เป็นผู้ทิ้งงานทราบทางไปรษณีย์ลงทะเบียน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้จะถูกลงโทษชี้แจงเหตุผล ข้อเท็จจริง พร้อมทั้งยื่นเอกสารหลักฐานประกอบ ( ถ้ามี ) ภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง ทั้งนี้ โดยแจ้งไปด้วยว่าถ้าไม่ชี้แจงภายในกําหนดเวลา จะถือว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร และจะพิจารณา ไปตามข้อเท็จจริงของ กฟผ . แต่เพียงฝ่ายเดียว หากผู้จะถูกลงโทษไม่สามารถชี้แจงเหตุผลข้อเท็จจริงอันสมควร หรือไม่สามารถ แสดงเหตุผลข้อเท็จจริงภายในระยะเวลาที่กําหนด หรือ กฟผ . ไม่สามารถติดต่อกับผู้ที่จะถูกลงโทษได้ ให้ผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปที่มีหน้าที่รับผิดชอบหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างหรือที่รับฝากการบังคับบัญชา หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง หรือผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปของหน่วยงานเจ้าของงาน ส่งเรื่องให้ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง และบริหารพัสดุเพื่อจัดทําประกาศ กฟผ . สั่งการให้เป็นผู้ทิ้งงาน ในกรณีที่นิติบุคคลรายใดถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน ให้คําสั่งดังกล่าวมีผลไปถึง นิติบุคคลอื่นที่ดําเนินธุรกิจประเภทเดียวกัน ซึ่งมีหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจในการดําเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้น เป็นบุคคลเดียวกันกับหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจในการดําเนินงานในกิจการของนิติบุคคลที่ถูกพิจารณาให้ เป็นผู้ทิ้งงานด้วย ในกรณีที่บุคคลธรรมดารายใดถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน ให้คําสั่งดังกล่าวมีผลไปถึง นิติบุคคลอื่นที่เข้าเสนอราคาซึ่งมีบุคคลดังกล่าวเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจในการดําเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้นด้วย ข้อ 226 ให้ผู้ช่วยผู้ว่าการจัดซื้อจัดจ้างและบริการมีอํานาจลงนามประกาศ กฟผ . สั่งการ ให้เป็นผู้ทิ้งงาน กรณีที่มีการลงนามประกาศ กฟผ . สั่งการให้เป็นผู้ทิ้งงานแล้ว ให้ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง และบริหารพัสดุจัดทําหนังสือแจ้งผู้ถูกลงโทษให้เป็นผู้ทิ้งงานเพื่อทราบประกาศ กฟผ . ดังกล่าวพร้อมทั้งแจ้งสิทธิ์ ในการอุทธรณ์ให้ผู้ทิ้งงานทราบด้วย ข้อ 227 ห้ามดําเนินการซื้อหรือจ้างหรือจ้างที่ปรึกษากับผู้ทิ้งงานของ กฟผ . หรือผู้ทิ้งงาน ที่ปลัดกระทรวงการคลังได้ระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานและได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว เว้นแต่จะได้มีการสั่งเพิกถอน การเป็นผู้ทิ้งงานแล้ว บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลใดที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาให้เป็นผู้ทิ้งงาน ให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิ์เสนอราคาให้แก่ กฟผ . ได้ แต่ถ้าต่อมาบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลนั้นถูกสั่ง ให้เป็นผู้ทิ้งงาน ให้หน่วยงานหรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องเสนอผู้มีอํานาจอนุมัติการซื้อหรือการจ้าง หรือการจ้างที่ปรึกษา เพื่อตัดรายชื่อบุคคลดังกล่าวออกจากรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับการคัดเลือก ้ หนา 75 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566

หรือยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้าง หรือยกเลิกการลงนามในสัญญาที่ได้ดําเนินการก่อนการสั่งเป็นผู้ทิ้งงาน เว้นแต่ ในกรณีที่เป็นอํานาจอนุมัติของคณะกรรมการ กฟผ . หรือของผู้ว่าการ ให้เสนอรองผู้ว่าการ ในกรณีที่ผู้มีอํานาจสั่งการตามวรรคสองเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่ กฟผ . จะไม่ตัดรายชื่อบุคคลดังกล่าวออกจากรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับการคัดเลือก หรือจะไม่ยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้าง หรือจะไม่ยกเลิกการลงนามในสัญญา ที่ได้ดําเนินการก่อนการสั่งเป็นผู้ทิ้งงานก็ได้ หมวด 32 การบริหารสัญญาการซื้อไฟฟ้า ข้อ 228 ให้รองผู้ว่าการมีอํานาจอนุมัติการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาเฉพาะในกรณี ที่มีความจําเป็นต้องแก้ไขสัญญาและการแก้ไขนั้นไม่ทําให้ กฟผ . เสียประโยชน์ หรือในกรณีเป็นการแก้ไข เพื่อประโยชน์แก่ กฟผ . หรือประโยชน์สาธารณะ ทั้งนี้ ในกรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาที่รองผู้ว่าการเห็นว่าจะเป็นปัญหา ในทางเสียประโยชน์หรือไม่รัดกุมพอ ให้เสนอผู้ว่าการพิจารณาส่งร่างสัญญาที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น ให้สํานักงานอัยการสูงสุดพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน การดําเนินการทําข้อผูกพัน ให้รองผู้ว่าการเป็นผู้ลงนามทําข้อผูกพัน ข้อ 229 ให้ผู้ช่วยผู้ว่าการขึ้นไปมีอํานาจอนุมัติการสั่งงดหรือลดค่าปรับหรือการสั่งงด หรือลดดอกเบี้ยให้แก่คู่สัญญาซื้อไฟฟ้าสําหรับวงเงินที่งดหรือลดครั้งละไม่เกิน 100 , 000 บาท ทั้งนี้ หากวงเงินที่งดหรือลดครั้งละเกิน 100 , 000 บาท ให้เสนอขออนุมัติคณะกรรมการ กฟผ . บทเฉพาะกาล ข้อ 230 การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงที่ได้ประกาศ เอกสารเชิญชวนในระบบสารสนเทศของ กฟผ . หรือมีหนังสือเชิญชวนให้เสนอราคา และยังดําเนินการ ไม่แล้วเสร็จในวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ให้ดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุต่อไปตามหลักเกณฑ์ ที่เกี่ยวข้องเดิม จนกว่าจะดําเนินการแล้วเสร็จหรือจนกว่าจะดําเนินการตามระเบียบนี้ได้ กรณีการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้ได้มาซึ่งเชื้อเพลิง ให้ดําเนินการจัดซื้อจัดจ้าง และบริหารพัสดุต่อไปตามระเบียบ กฟผ . ฉบับที่ 356 ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง และที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไป จนกว่าจะมีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารเชื้อเพลิงกําหนดไว้เป็นการเฉพาะ ให้ไว้ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ . ศ . 25 65 บุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ้ หนา 76 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 91 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2566