Tue Apr 18 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศกรมศุลกากร ที่ 37/2566 เรื่อง การปฏิบัติพิธีการศุลกากรเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่นที่เป็นของเหลว ที่นำเข้าหรือส่งออกโดยเรือบรรทุกสินค้าเหลวในระวาง (Tanker)


ประกาศกรมศุลกากร ที่ 37/2566 เรื่อง การปฏิบัติพิธีการศุลกากรเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่นที่เป็นของเหลว ที่นำเข้าหรือส่งออกโดยเรือบรรทุกสินค้าเหลวในระวาง (Tanker)

ประกาศกรมศุลกากร ที่ 37/2566 เรื่อง การปฏิบัติพิธีการศุลกากรเกี่ยวกับการนาเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่น ที่เป็นของเหลว ที่นำเข้าหรือส่งออกโดยเรือบรรทุกสินค้าเหลวในระวาง ( Tanker ) เพื่อให้การปฏิบัติพิธีการศุลกากรเกี่ยวกับการนาเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและ ผลิตภัณฑ์อื่นที่เป็นของเหลวเป็นไปโดยถูกต้องเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอานาจตามความในมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 อธิบดี กรมศุลกากร ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ข้อ 2 ในประกาศนี้ “ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ” หมายความว่า ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ามันเบนซิน น้ามั นเชื้อเพลิง สาหรับเครื่องบิน น้ามันก๊าด น้ามันดีเซล น้ามันเตา น้ามันหล่อลื่น และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่น ที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ หรือสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็น วัตถุดิบในการกลั่นหรือผสมเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น และให้หมายความรวมถึงสิ่งอื่น ที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่นตามที่อธิบดีประกาศกาหนดให้เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม “ ผลิตภัณฑ์อื่นที่เป็นของเ หลว ” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์อื่นใดนอกเหนือจากผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียม ซึ่งมีสภาพเป็นของเหลว เช่น น้ำมันพืช และเคมีภัณฑ์ ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้กับการปฏิบัติพิธีการศุลกากรเกี่ยวกับการนาเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่นที่เป็นของเหลวที่นาเข้าและส่งออกโดยเรือบรรทุกสินค้าเหลวในระวาง ( Tanker ) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศหรือลดอุปสรรคในการนาเข้าหรือส่งออกผลิตภัณ ฑ์ ตามวรรคหนึ่ง อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจผ่อนผันหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามประกาศนี้ หมวด 1 การนาเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ส่วนที่ 1 พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการนาเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ข้อ 4 ให้ผู้นาของเข้าจัดทาข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าตามมาตรฐานที่กรมศุลกากรกาหนด แล้วส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร โดยมีรายละเอียดการแสดงปริมาณ ้ หนา 8 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 88 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 เมษายน 2566

ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมโดยคานวณปริมาตรที่อุณหภูมิ 86 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 30 องศาเซลเซียส หรื อน้ำหนักเมตริกตันในอากาศ ( IN AIR ) หรือในสุญญากาศ ( IN VAC ) กรณีการซื้อขายเป็นน้ำหนักเมตริกตันในสุญญากาศ ( IN VAC ) ให้ผู้นาของเข้าสาแดงใน บัญชีราคาสินค้า ( Invoice ) เป็นน้ำหนักเมตริกตันในสุญญากาศ ( IN VAC ) ให้ชัดเจน ข้อ 5 การคานวณปริมาณและน้าหนัก เพื่อเป็นเกณฑ์ในการเรียกเก็บค่าอากรหรือภาษี ตามกฎหมายอื่น (ถ้ามี) สำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่นำเข้า ให้ใช้วิธีคำนวณตามระบบ API หรือระบบ Density ตามมาตรฐาน API / ASTM - IP ( The American Petroleum Institute, The American Society for Testing and Materials and The Institute of Petroleum ) หรือตามมาตรฐาน JIS ( Japanese Industrial Standard ) หรือตามมาตรฐานอื่นที่สากลรับรอง โดยได้รับอนุมัติจากกรมศุลกากร แล้วแต่กรณี ข้อ 6 ให้ผู้นาของเข้าใช้เอกสารบัญชีราคาสินค้า ( Invoice ) หรือในกรณีไม่มีบัญชีราคาสินค้า ( Invoice ) ให้ใช้ Proforma Invoice หรือเอกสารทานองเดียวกันในการปฏิบัติพิธีการใบขนสินค้าขาเข้า โดยใช้ข้อมูลในเอกสารนั้นเป็นราคาแสดงในใบขนสินค้า เมื่อผู้นาของเข้าได้เอ กสารที่แท้จริงในการซื้อขาย ให้ยื่นเอกสารต่อพนักงานศุลกากรภายใน 3 เดือน นับแต่วันตรวจปล่อย เพื่อใช้ประกอบในการ คำนวณโดยใช้ Unit Price ที่ได้มีการชำระเงินจริง หากเงินประกันหรือค่าภาษีอากรที่ชำระไว้ไม่คุ้มค่า ภาษีอากร ให้พนักงานศุลกากรเรียกเก็บค่าภาษีอำกรที่ขาดให้ครบถ้วน หากผู้นาของเข้ามิได้นำเอกสารที่แท้จริงในการซื้อขายมาแสดงภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง พนักงานศุลกากรจะพิจารณาความผิดก่อนดาเนินการแก้ไขราคาที่ซื้อขายตามเอกสารที่แท้จริง และเรียกเก็บ ค่าภาษีอากรที่ขาดให้ครบถ้วน (ถ้ามี) ต่อไป ข้อ 7 ในการส่งข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร ให้ผู้นาของเข้าเลือกในช่อง “ ขอพบพนักงานศุลกากร ” เพื่อกาหนดสถานะใบขนสินค้าให้เป็นใบขนสินค้าขาเข้าประเภทเปิดตรวจ ( Red Line ) และการส่งตัวอย่างตามเงื่อนไข ( Profile ) ในหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยง ( Risk Man agement ) ที่กรมศุลกากรกาหนด ข้อ 8 น้ามันเชื้อเพลิงที่นาเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักรซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องส่งเงิน เข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เนื่องจากไม่มีคุณภาพตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกาหนด ให้ระบุด้วยว่าขาดคุณภาพตามประกาศ ที่กรมธุรกิจพลังงานกาหนดในข้อใด หากผลการวิเคราะห์ตัวอย่างปรากฏว่า น้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวมีคุณภาพครบถ้วนตามประกาศ ของกรมธุรกิจพลังงาน กรมศุลกากรจะดาเนินการด้านคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป ข้อ 9 กรณีผู้นาของเข้าน้ามันเชื้อเพลิงได้รับการยกเว้นไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ามันเชื้อเพลิง ให้ปฏิบัติตามประกาศกรมศุลกากรว่าด้วยการส่งเงิน การขอรับเงินชดเชย การขอรับเงินคืน และการส่งเงินชดเชยคื น ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 88 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 เมษายน 2566

ส่วนที่ 2 พิธีการศุลกากรเกี่ยวกับการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ข้อ 10 เมื่อเรือบรรทุกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเข้ามาในเขตท่า ให้นายเรือหรือตัวแทนเรือ ขออนุญาตทาการขนถ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเข้าถัง โดยผู้นาของเข้าต้องมีข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า ตามมาตรฐานที่กรมศุลกากรกาหนดในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร ที่มีการชาระอากรหรือวางประกัน เพิ่มเติมตามควรแก่กรณีแล้ว (ถ้ามี) ข้อ 11 ในกรณีที่เรือเข้ามาภายในเขตท่าและยังไม่ได้ขออนุญาตทำการสูบถ่าย พนักงานศุลกากร ประ จาเรือของสานักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากรที่รับผิดชอบจะมัดลวดประทับตรา กศก. ที่ท่อทางจ่าย ของเรือทุกแห่ง และบันทึกการประทับตราไว้ในสมุดประจาเรือขาเข้า (แบบที่ 94) หากมิได้วางกาลัง รั กษาการณ์ ให้นายเรือหรือตัวแทนเรือรับทราบการประทับตราไว้ในสมุดประจำเรื อขาเข้าด้วย ข้อ 12 ผู้นาของเข้าต้องมีใบขนสินค้าฉบับสมบูรณ์ และต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ครบถ้วนก่อนที่จะสูบถ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมออกจากเรือ ส่วนที่ 3 การลำเลียงผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากเรือใหญ่ลงเรือลาเลียง หรือรถยนต์ไปสูบถ่ายขึ้นถังบนบก ข้อ 13 กรณีเรือบรรทุกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมไม่สามารถจอดเทียบท่าสูบถ่ายสินค้าขึ้นถังบนบก โดยตรงและจำเป็นต้องทำการสูบถ่ายลงเรือลำเลียงหรือรถยนต์ก่อน แล้วจึงไปสูบถ่ายสินค้าขึ้นถังบนบก เพื่อทาการตรวจปล่อยอีกครั้งหนึ่ง ในการนี้เพื่อป้องกันและชดเชยการสูญเสียอันเกิ ดขึ้นจากการลาเลียง ดังกล่าว ให้ผู้นาของเข้ายื่นคาร้องต่อสำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากร เพื่อขออนุญาตสูบถ่ายลงเรือ ลาเลียงหรือรถยนต์คุมส่งไปขึ้นถังบนบก พร้อมทั้งให้คายินยอมเพิ่มน้าหนักและปริมาณของผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียมที่ตรวจวัดได้ในถังบนบก เพื่อเป็นเกณฑ์ในการชาระภาษีอากร ตามเกณฑ์ ดังนี้ ( 1 ) เคมีและไขมัน เพิ่ม 2% ( 2 ) สิ่งปรุงแต่งผสมน้ามันหล่อลื่น เพิ่ม 1.5% ( 3 ) น้ำมันเชื้อเพลิงและน้ามันพืช เพิ่ม 0.5% ข้อ 14 พนักงานศุลกากรผู้ควบคุมต้นทางจะมัดลวดประทับตรา กศก. ณ บริเวณท่อทางต่าง ๆ ของเรือลำเลียงหรือรถยนต์ทั้งหมด แล้วทำบันทึกแจ้งไปยังพนักงานศุลกากร ณ ปลายทาง ซึ่งคอยตรวจรับอยู่ที่ถังบนบกว่า ได้มัดลวดประทับตรา กศก. หมายเลขใดไว้ ณ ที่ใดบ้าง เมื่อพนักงานศุลกากรปลายทางได้ตรวจสอบเห็นว่า ถูกต้องแล้ว จึงจะอนุญาตให้สูบถ่ายเข้ำถังบนบกได้ ส่วนที่ 4 การตรวจปล่อยผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 88 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 เมษายน 2566

ข้อ 15 พนักงานศุลกากรจะทำการตรวจปล่อยผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม โดยวิธีการ ดังนี้ ( 1 ) การตรวจปล่อยโดยใช้ตารางคานวณปริมาตรความจุประจำถังสำหรับการนาเข้า ( 2 ) การตรวจปล่อยโดยใช้ปริมาณที่ตรวจวัดและคานวณได้จากถังบนบกร่วมกับปริมาณที่อ่านได้ จากมาตรวัด ( Flow Meter ) รับ - จ่ายผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ เป็นปริมาณที่นาเข้าที่แท้จริง ( 3 ) การตรวจปล่อยโดยใช้ปริมาณสูงสุดจากการเปรียบเทียบปริมาณที่ตรวจวัดและคำนวณได้ ในเรือก่ อนการสูบถ่าย ( Arrival Port ) หรือปริมาณที่ตรวจวัดและคานวณได้ในเรือ ณ ท่าต้นทาง ( Loading Port ) ซึ่งรับรองโดยนายเรือหรือตัวแทนอิสระ ( Surveyor ) หรือปริมาณตามใบตราส่งสินค้า ทางเรือ ( Bill of Lading ) เป็นปริมาณที่นาเข้าที่แท้จริง กรณีการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์จากเรือผ่านเข้าสู่ ถังเก็บและจ่ายออกไปเข้าสู่กระบวนการผลิตในเวลาเดียวกัน ( 4 ) การตรวจปล่อยโดยวิธีใช้มาตรวัด ( Flow Meter ) สำหรับการนาเข้า ขั้นตอนและวิธีการดาเนินการตรวจปล่อยตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ส่วนที่ 5 พิธีการศุลกากรเกี่ยวกับการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว ( Liquefied Natural Gas : LNG ) ข้อ 16 ให้ผู้นาของเข้าจัดทำใบขนสินค้าขาเข้าตามมาตรฐานที่กรมศุลกากรกำหนด แล้วส่งข้อมูล ทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร โดยมีรายละเอียดแสดงน้าหนักตามใบตรา ส่งสินค้า ( Bill of Lading ) ให้ผู้นำของเข้าแนบสำเนาสัญญาการซื้อขาย ในแต่ละเที่ยวเรือที่นำเข้า ข้อ 17 พิธีการเกี่ยวกับใบขนสินค้า ให้ถือปฏิบัติตามประกาศกรมศุลกากรว่าด้วยการปฏิบัติ พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์กาหนด และให้ชาระค่าภาษีอากรตามจานวนที่ผู้นาของเข้าแสดง ในใบขนสินค้า และวางประกันเพิ่มเติมตามควรแก่กรณี ข้อ 18 ให้ผู้นาของเข้าใช้เอกสารบัญชีราคาสินค้า ( Invoice ) หรือกรณีไม่มีบัญชีราคาสินค้า ( Invoice ) ให้ใช้ Proforma Invoice หรือเอกสารทานองเดียวกันในการปฏิ บัติพิธีการใบขนสินค้าขาเข้า โดยใช้ข้อมูลในเอกสารนั้นเป็นราคาตามที่แสดงในใบขนสินค้า เมื่อผู้นาของเข้าได้เอกสารที่แท้จริงในการ ซื้อขาย ให้ยื่นเอกสารต่อพนักงานศุลกากรผู้ตรวจปล่อยภายใน 3 เดือน นับแต่วันตรวจปล่อย เพื่อใช้ ประกอบในการคานวณ โดยใช้ Unit Price ที่ได้มีการชาระเงินจริง หากเงินประกันหรือค่าภาษีอากร ที่ชำระไว้ไม่คุ้มค่าภาษีอากร ให้พนักงานศุลกากรเรียกเก็บค่าภาษีอากรที่ขาดให้ครบถ้วน หากผู้นาของเข้ามิได้นำเอกสารที่แท้จริงในการซื้อขายมาแสดงภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง พนักงานศุลกากรจะพิจารณาความผิ ดก่อนดาเนินการแก้ไขราคาที่ซื้อขายตามเอกสารที่แท้จริง และเรียกเก็บ ค่าภาษีอากรที่ขาดให้ครบถ้วน (ถ้ามี) ต่อไป ข้อ 19 ก่อนที่ผู้นำของเข้าจะสูบถ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวจากเรือจะต้องมีใบขนสินค้าฉบับสมบูรณ์ และต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 88 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 เมษายน 2566

ข้อ 20 การตรวจปล่อยก๊าซธรรมชาติเหลว ( Liquefied Natural Gas : LNG ) ( 1 ) ก่อนอนุญาตให้ทำการสูบถ่าย พนักงานศุลกากรจะทำการตรวจวัดปริมาณก๊าซธรรมชาติเหลว ที่บรรทุกมากับเรือ เมื่อตรวจสอบปริมาณที่นำเข้าเปรียบเทียบกับท่าต้นทางแล้ว ก็อนุญาตให้ทำการสูบถ่ายได้ ( 2 ) เ มื่อสูบถ่ายเสร็จสิ้น พนักงานศุลกากรจะทาการตรวจวัดปริมาณก๊าซธรรมชาติเหลว ที่คงเหลือในเรือ แล้วนำปริมาณที่ตรวจวัดได้ก่อนการสูบถ่ายหักลบด้วยปริมาณที่คงเหลือในเรือหลังการสูบถ่าย เพื่อนาไปคานวณปริมาณน้ำหนักและปริมาณค่าความร้อน ( Metric Million British Th ermal Unit : MMBTU ) ที่นำเข้าที่แท้จริง เพื่อนำมาเป็นเกณฑ์ในการคานวณค่าภาษีอากรต่อไป ( 3 ) การคำนวณปริมาณน้ำหนักและปริมาณค่าความร้อน ( MMBTU ) ที่นำเข้าที่แท้จริง ใช้สูตรการคานวณตามหลักมาตรฐานสากลที่กาหนดไว้โดยเฉพาะ ตามที่ได้ระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย ( Sale And Purchase Agreement : SPA ) ในแต่ละเที่ยวเรือ ตามที่ผู้นาของเข้าได้นามาเป็นหลักฐาน ในขณะปฏิบัติพิธีการศุลกากร ( 4 ) พนักงานศุลกากรจะบันทึกผลการตรวจปล่อยในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร ภายหลัง จากที่ได้คำนวณปริมาณน้ำหนักและปริมาณค่าความร้อน ( MMBTU ) ที่ นำเข้าที่แท้จริง หมวด 2 การส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ส่วนที่ 1 พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ข้อ 21 ให้ผู้ส่งของออกจัดทาข้อมูลใบขนสินค้าขาออกตามมาตรฐานที่กรมศุลกากรกาหนด แล้วส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร โดยมีรายละเอียดการแสดงปริมาณ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมโดยคานวณปริมาตรที่อุณหภูมิ 86 องศาฟาเรนไฮต์หรือ 30 องศาเซลเซียส หรือน้ำ หนักเมตริกตันในอากาศ ( IN AIR ) หรือในสุญญากาศ ( IN VAC ) กรณีการซื้อขายเป็นน้ำหนักเมตริกตันในสุญญากาศ ( IN VAC ) ให้ผู้ส่งของออกสำแดงในบัญชี ราคาสินค้า ( Invoice ) เป็นน้ำหนักเมตริกตันในสุญญากาศ ( IN VAC ) ให้ชัดเจน ข้อ 22 พนักงานศุลกากรจะตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลใบขนสินค้าขาออก และเอกสารประกอบการส่งออก เช่น สาเนาใบส่งเงิน และสาเนาใบเสร็จรับเงินในกรณีที่ต้องมีการนาส่ง เข้ากองทุนน้ามันเชื้อเพลิง หรือกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ส่วนที่ 2 การตรวจปล่อยผลิ ตภัณฑ์ปิโตรเลียม ข้อ 23 พนักงานศุลกากรจะทำการตรวจปล่อยผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม โดยวิธีการ ดังนี้ ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 88 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 เมษายน 2566

( 1 ) การตรวจปล่อยโดยใช้ตารางคานวณปริมาตรความจุประจำถังสำหรับการส่งออก ( 2 ) การตรวจปล่อยโดยวิธีใช้มาตรวัด ( Flow Meter ) สำหรับการส่งออก ( 3 ) การตรวจปล่อยโดยใช้ปริมาณที่ตรวจวัดและคำนวณได้จากถังบนบกร่วมกับปริมาณที่อ่าน ได้จากมาตรวัด ( Flow Meter ) รับ - จ่ายผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ เป็นปริมาณที่ส่งออกที่แท้จริง ( 4 ) การตรวจปล่อยโดยใช้ปริมาณที่ตรวจวัดและคำนวณได้ในเรือ เป็นปริมาณที่ส่งออกที่แท้จริง ขั้นตอนและวิธีการดาเนินการตรวจปล่อยตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ส่วนที่ 3 พิธีการศุลกากรเกี่ยวกับการส่งออกก๊าซธรรมชาติเหลว ( Liquefied Natural Gas : LNG ) ข้อ 24 ให้ผู้ส่งของออกจัดทำใบขนสินค้าขาออกตามมาตรฐานที่กรมศุลกากรกาหนด แล้วส่งข้อมูล ทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร ให้ผู้ส่งของออกแนบสำเนาสัญญาการซื้อขาย ในแต่ละเที่ยวเรือที่ส่งออก ข้อ 25 พิธีการเกี่ยวกับใบขนสินค้า ให้ถือปฏิบัติตามประกาศกรมศุลกากรว่าด้วยการปฏิบัติ พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์กำหนด ข้อ 26 ก่อนที่ผู้ส่งของออกจะสูบถ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวบรรทุกลงเรือเพื่อทำการส่งออกจะต้อง มี ใบขนสินค้าฉบับสมบูรณ์ และต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน ข้อ 27 การตรวจปล่อยก๊าซธรรมชาติเหลว ( 1 ) ก่อนอนุญาตให้ทำการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์ลงเรือเพื่อรับบรรทุก พนักงานศุลกากรจะทำการ ตรวจสอบระวางเรือว่า มีผลิตภัณฑ์ปริมาณคงเหลืออยู่ในเรือเท่าใด หรือเป็นระวางเปล่า ( 2 ) เมื่อสูบถ่ายเสร็จสิ้น พนักงานศุลกากรจะทำการตรวจวัดผลิตภัณฑ์ในเรือ แล้วนาปริมาณ ที่ตรวจวัดได้หลังการสูบถ่ายหักลบด้วยปริมาณที่ตรวจวัดก่อนการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์ลงเรือที่รับบรรทุก แล้วนาไปคานวณปริมาณน้าหนักและปริมาณค่าความร้อน ( MMBTU ) ที่ส่งออกที่แท้จริง เพื่อใช้เป็น เกณฑ์ในการตรวจ ปล่อยต่อไป ( 3 ) การคานวณปริมาณน้ำหนักและปริมาณค่าความร้อน ( MMBTU ) ที่ส่งออกที่แท้จริง ใช้สูตรการคานวณตามหลักมาตรฐานสากลที่กาหนดไว้โดยเฉพาะ ตามที่ได้ระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย ( Sale And Purchase Agreement : SPA ) ในแต่ละเที่ยวเรือ ตามที่ผู้ส่งของออกได้นามำเป็นหลักฐาน ในขณะปฏิบัติพิธีการศุลกากร ( 4 ) พนักงานศุลกากรจะบันทึกผลการตรวจปล่อยในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร ภายหลัง จากที่ได้คำนวณปริมาณน้ำหนักและปริมาณค่าความร้อน ( MMBTU ) ที่ส่งออกที่แท้จริง ส่วนที่ 4 การลำเลียงผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม จากเรือลาเลียงไปสูบถ่ายลงเรือเดินทางไปต่างประเทศสาหรับการส่งออก ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 88 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 เมษายน 2566

ข้อ 28 กรณีเรือบรรทุกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมไม่สามารถจอดเทียบท่าเพื่อรับบรรทุกผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียมจากถังบนบกโดยตรงและจาเป็นต้องทาการสูบถ่ายลงเรือลาเลียงเสียก่อน แล้วจึงไปสูบถ่าย สินค้าขึ้นถังบนเ รือเดินทางไปต่างประเทศเพื่อรับบรรทุกอีกครั้งหนึ่ง ให้ผู้ส่งของออกยื่นคำร้อง ระบุเหตุผลความจาเป็น พร้อมแนบเอกสารประกอบที่เป็นมูลเหตุแห่งกรณีต่อสานักงานศุลกากรหรือ ด่านศุลกากร ข้อ 29 ก่อนอนุญาตให้ทาการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมบรรทุกลงเรือลาเลียงหน้าท่าเทีย บเรือ พนักงานศุลกากรจะตรวจสอบก่อนว่า เป็นระวางเปล่าไม่มีผลิตภัณฑ์ใดคงเหลืออยู่ในเรือลาเลียง และตรวจสอบระวางเรือเดินทางไปต่างประเทศที่จะรับบรรทุกสินค้าจากเรือลาเลียงว่ามีผลิตภัณฑ์ ชนิดใดบ้าง และมีปริมาณคงเหลือเท่าใดหรือเป็นระวางเปล่า พร้อมทั้งบันทึกรายละเอียดดังกล่าว ไว้ในรายการคานวณและบันทึกการตรวจวัดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในเรือ ( Ullage Sheet ) ข้อ 30 หลังจากเสร็จสิ้นการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์ลงเรือลำเลียง ตามปริมาณและน้ำหนัก ที่ต้องการส่งออก พนักงานศุลกากรจะตรวจวัดผลิตภัณฑ์ในเรือลาเลียงที่รั บบรรทุก แล้วบันทึกไว้ ในรายการคานวณและบันทึกการตรวจวัดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในเรือ ( Ullage Sheet ) ว่ารับผลิตภัณฑ์ ชนิดใดบ้าง และมีปริมาณเท่าใด พร้อมทั้งมัดลวดประทับตรา กศก. ที่ท่อทางรับ - จ่ายในเรือลาเลียง และอนุญาตให้เรือลำเลียงทำการลำเลียงไปสูบถ่ายขึ้นถังบนเรือเดินทางไปต่างประเทศ ข้อ 31 เมื่อเรือลาเลียงทาการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์ขึ้นถังบนเรือเดินทางไปต่างประเทศเสร็จสิ้น พนักงานศุลกากรจะตรวจวัดผลิตภัณฑ์ในเรือเดินทางไปต่างประเทศที่รับบรรทุก พร้อมกับให้บันทึกไว้ ในรายการคานวณและบันทึกการตรวจวัดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในเรือ ( Ullage Sheet ) หมวด 3 การนาเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์อื่นที่เป็นของเหลว ข้อ 32 การปฏิบัติพิธีการศุลกากรเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์อื่นที่เป็นของเหลว ที่นาเข้าหรือส่งออกโดยเรือบรรทุกสินค้าเหลวในระวาง ( Tanker ) ให้ถือปฏิบัติตามพิธีการศุลกากร เกี่ยวกับการนาเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม โดยอนุโลม หมวด 4 การติดตั้งและตรวจสอบอุ ปกรณ์ที่ใช้ในกิจการผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่นที่เป็นของเหลว ส่วนที่ 1 การตรวจสอบและรับรองถัง ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 88 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 เมษายน 2566

ข้อ 33 ถังที่ผู้นาของเข้า ผู้ส่งของออก หรือเจ้าของถั งมีความประสงค์จะใช้เป็นภาชนะรับ - จ่าย ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่นที่เป็นของเหลว เพื่อการนาเข้าหรือการส่งออก จะต้องได้รับ การตรวจสอบสภาพถังและรับรองตารางคานวณปริมาตรความจุประจาถัง โดยการควบคุมหรือกากับดูแล ของพนักงานศุลกากร ข้อ 34 ให้ผู้นาของเข้า ผู้ส่งของออก หรือเจ้าของถังขออนุญาตกรมศุลกากรเพื่อใช้ถังเป็น ภาชนะรับ - จ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่นที่เป็นของเหลว โดยพนักงานศุลกากรจะตรวจสอบ ความมั่นคง สภาพถัง ท่อทางรับ - จ่ายของถังว่า รัดกุมสามารถควบคุม ในการใช้ถังดังกล่าวเป็นภาชนะ รับ - จ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่นที่เป็นของเหลวได้ โดยผู้อานวยการสา นักงานศุลกากร หรือนายด่านศุลกากรจะพิจารณาอนุมัติในหลักการในชั้นแรกก่อน เมื่อผู้อานวยการสานักงานศุลกากร หรือนายด่านศุลกากรอนุมัติในหลักการแล้ว จะจัดส่งพนักงานศุลกากรไปควบคุมหรือกากับดูแล การตรวจสอบสภาพภายในถังและตรวจวัดเส้นรอบวงภายนอก เพื่อนามาใช้เป็นข้อมู ลสำหรับตรวจสอบ ตารางคานวณปริมาตรความจุประจำถังต่อไป ก รณีท่อที่ติดตั้งใช้สำหรับการรับ - จ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่นที่เป็นของเหลว เพื่อการนำเข้าหรือการส่งออก เมื่อได้รับอนุมัติในหลักการในชั้นแรกจากผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากร หรือนายด่านศุลกากรแล้ว พนักงานศุลกากรจะไปควบคุมหรือกากับดูแลการตรวจสอบและรับรอง ปริมาตรความจุท่อ ( Line Content ) ต่อไป ข้อ 35 ให้ผู้นาของเข้า ผู้ส่งของออก หรือเจ้าของถังยื่นตารางคานวณปริมาตรความจุประจำถัง ต่อหน่วยงานศุลกากรที่ได้ไปควบคุมหรือกำกับดูแลการตรวจสอบสภาพภายในถังและตรวจวัดเส้นรอบวง ภายนอกไว้แล้ว โดยพนักงานศุลกากรจะคานวณ ตรวจสอบ รับรองความถูกต้องของตารางคานวณ ปริมาตรความจุประจาถัง เพื่อให้สานักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากรพิจารณาอนุญำตให้ใช้ถังดังกล่ำว เป็นภาชนะรับ - จ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่นที่เป็นของเหลว และใช้ตารางคานวณ ปริมาตรความจุประจาถังที่ได้รับรองแล้วนั้นเป็นเกณฑ์ในการคานวณปริมาตร หรือน้าหนัก เพื่อเรียกเก็บ ค่าภาษีอากรต่อไป ข้อ 36 การตรวจสอบถังและการคานวณปริมาตรความจุประจำถัง ให้ผู้นาของเข้า ผู้ส่งของออก หรือเจ้าของถังใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีแล้วแต่กรณี ภายใต้การควบคุมหรือกากับดูแลของพนักงาน ศุลกากร ดังต่อไปนี้ โดยวิธี The Manual Tank Strapping Method หรือโดยวิธี The Optical Reference Line Method หรือโดยวิธี The Optical Triangulation Method หรือโดยวิธี The Electro Optical Distance Ranging Method ตามมาตรฐานระบบ American Petroleum Institute ( API ) หรือตามมาตรฐานของ American Society for Testing and Materials ( ASTM ) หรือตามมาตร ฐาน International Organization for Standardization ( ISO ) หรือตามมาตรฐานอื่น ที่สากลรับรองโดยได้รับอนุมัติจากกรมศุลกากร เพื่อจัดทำตารางคานวณปริมาตรความจุประจำถัง ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 88 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 เมษายน 2566

ข้อ 37 การคำนวณปริมาตรความจุประจำถัง ให้ใช้เกณฑ์ในการคำนวณที่อุณหภูมิ 86 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 30 องศาเซลเซียส และหากกรณีเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องควบคุมอุณหภูมิเป็นพิเศษ ให้ใช้อุณหภูมิที่ใช้งาน ( Service Temperature ) เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ ระยะความลึกเป็น เซนติเมตร ปริมาตรเป็นลิตร และผลต่างปริมาตรเป็นลิตร โดยจัดทาตารางปรับค่าปริมาตรผลิตภัณฑ์ ที่บรรจุภายในถังบนบกให้สอดคล้องกับอุณหภูมิที่วัดได้ ( Tank Volume Correction Factor Table ) ข้อ 38 ให้ผู้นาของเข้า ผู้ส่งของออก หรือเจ้าของถังทาการตรวจสอบถังใหม่ภายใต้การควบคุม หรือกำกับดูแลของพนักงานศุลกากร ในกรณี ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ตรวจสอบสภาพภายนอกในครั้งแรกเมื่อครบกาหนด 5 ปี และในครั้งที่สองเมื่อครบกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่กรมศุลกากรได้อนุญาตการใช้ถัง หากผลการตรวจสอบพบว่า ไม่มีความแตกต่าง ของค่าที่วัดเกินกว่าค่ามาตรฐานตามข้อ 36 ให้ผู้นาของเข้า ผู้ส่งของออก หรือเจ้าของถังดาเนินการ ยื่นขอผ่อนผันใช้ถังและตารางคานวณปริมาตรความจุประจาถังฉบับเดิมต่อสานักงานศุลกากรหรือ ด่านศุลกากร แต่ถ้ามีความแตกต่างของค่าที่วัดเกินกว่ามาตรฐานตามข้อ 36 ให้ผู้นาของเข้า ผู้ส่งของออก หรือเจ้าของถังจัดทำตารางคำนวณปริ มาตรความจุประจำถังใหม่ให้ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง และยื่นขออนุญาตใช้ตารางคำนวณปริมาตรความจุประจำถังฉบับใหม่ต่อสำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากร ( 2 ) เมื่อครบกาหนด 15 ปี นับแต่วันที่กรมศุลกากรได้อนุญาตการใช้ถัง ให้ผู้นาของเข้า ผู้ส่งของออก หรือเจ้าของ ถังล้างทำความสะอาดเพื่อทำการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอก และจัดทา ตารางคานวณปริมาตรความจุประจาถังใหม่ กรณีไม่สามารถล้างทาความสะอาดถังได้ ให้ผู้นาของเข้า ผู้ส่งของออก หรือเจ้าของถังยื่นขอผ่อนผันเสนอต่อสานักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากรพิจารณาผ่อนผัน เป็นการเ ฉพาะราย โดยกรมศุลกากรจะพิจารณาตามเงื่อนไข ดังนี้ ( 2.1 ) สภาพถังและข้อจากัดของการเปิดถังซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของ โครงสร้างถัง หรือกระทบต่อกระบวนการผลิต ( 2.2 ) พิจารณาแผนการซ่อมบารุงพร้อมระยะเวลาที่สามารถเปิดถังได้ ( 2.3 ) ข้อมูลเปรียบเทียบปริมาณความคลาดเคลื่อนของการรับ - จ่ายผลิตภัณฑ์ที่นาเข้า หรือส่งออก ย้อนหลังอย่างน้อย 5 เที่ยว ( 2.4 ) เหตุผลหรือความจำเป็นอื่น ๆ ( 3 ) กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพถัง ท่อทางรับ - จ่าย และตลอดทั้งการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ของถังอันอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อปริมาตรความจุของถัง ( 4 ) กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงชนิดหรือประเภทของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และผลิตภัณฑ์อื่น ที่เป็นของเหลว ที่จะนาไปเก็บในถังที่ได้รับอนุมัติจากกรมศุลกากรไว้แล้ว ข้อ 39 การตรวจสอบสภาพถังในกรณีข้อ 38 (3) และข้อ 38 (4) หากผลการตรวจสอบ พบว่าไม่มีความแตกต่างของค่าที่วัดเกินกว่าค่ามาตรฐานตามข้อ 36 ให้ผู้นาของเข้า ผู้ส่งของออก หรือเจ้าของถังยื่นขอผ่อนผันใช้ถังและตารางคานวณปริมาตรความจุประจาถังฉบับเดิมต่อสานักงาน ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 88 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 เมษายน 2566

ศุลกากรหรือด่านศุลกากร แต่ถ้ามีความแตกต่างข องค่าที่วัดเกินกว่ามาตรฐานตามข้อ 36 ให้ผู้นาของเข้า ผู้ส่งของออก หรือเจ้าของถังจัดทาตารางคำนวณปริมาตรความจุประจำถังใหม่ให้ถูกต้องตรงกับ ความเป็นจริง และยื่นคาขออนุญาตใช้ตารางคานวณปริมาตรความจุประจาถังฉบับใหม่ต่อสานักงาน ศุลกากรหรือด่านศุลกากร ข้อ 40 พนักงานศุลกากรจะจัดทาทะเบียนรายละเอียดถังที่ได้รับอนุญาตเป็นหลักฐานไว้ ตรวจสอบ และจัดทำหนังสือแจ้งการครบอายุการอนุญาตของถังให้ผู้ได้รับอนุญาตทราบ ส่วนที่ 2 การติดตั้งและการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องวัดระดับ และเครื่องวัดอุณหภูมิชนิดอัตโนมัติ ข้อ 41 กรณีผู้นาของเข้า ผู้ส่งของออก หรือเจ้าของถังมีความประสงค์จะใช้เครื่องวัดระดับ และเครื่องวัดอุณหภูมิชนิดอัตโนมัติที่ติดตั้งประจาถังเก็บผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่นที่เป็น ของเหลว เพื่อการนาเข้าหรือการส่งออก ให้ขออนุญาตติดตั้งและตรวจสอบรับรองเครื่องวัดระดับและ เครื่องวัดอุณหภูมิชนิดอัตโนมัติที่ติดตั้งประจาถังเก็บผลิตภัณฑ์ โดยยื่นคาขอต่อสานักงานศุลกากรหรือ ด่านศุลกากร พร้อมรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ชื่อแบบหรือชนิดของเครื่องวัดระดับและเครื่องวัดอุณหภูมิชนิดอัต โนมัติ ชื่อบริษัทผู้ผลิต ชื่อทางการค้า และประเทศที่ผลิต ( 2 ) คุณลักษณะเฉพาะ ( Specification ) เช่น ค่าความถูกต้องในการวัด ( Accuracy ) ( 3 ) รายละเอียดแบบแปลนการติดตั้งเครื่องวัดระดับและเครื่องวัดอุณหภูมิชนิดอัตโนมัติ พนักงานศุลกากรจะตรวจสอบคำขอติดตั้ง พร้อมทั้งรายละเอียดของเครื่องวัดระดับและ เครื่องวัดอุณหภูมิชนิดอัตโนมัติว่าถูกต้อง โดยผู้อานวยการสานักงานศุลกากรหรือนายด่านศุลกากร จะพิจารณาอนุมัติในหลักการในชั้นแรกก่อน เมื่อผู้อานวยการสานักงานศุลกากรหรือนายด่านศุลกากร อนุมัติในหลักการแล้ว จะจัดส่งพนักงา นศุลกากรไปควบคุมหรือกำกับดูแลการตรวจสอบเครื่องวัดระดับ และเครื่องวัดอุณหภูมิชนิดอัตโนมัติ ข้อ 42 กรณีผลการตรวจสอบเป็นไปตามมาตรฐานที่กาหนด พนักงานศุลกากรจะมัดลวด ประทับตรา กศก. ที่เครื่องวัดระดับและเครื่องวัดอุณหภูมิชนิดอัตโนมัติ รวมทั้งอุปกรณ์อื่นที่อาจ เกี่ยวข้องกับการดัดแปลงแก้ไขเครื่องวัดระดับ หรือเครื่องวัดอุณหภูมิชนิดอัตโนมัติได้ และเสนอให้ สำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากรพิจารณาอนุญาตให้ใช้เครื่องวัดระดับและเครื่องวัดอุณหภูมิ ชนิดอัตโนมัติต่อไป หากต้องการเปลี่ยนแปลง ซ่อมแซมห รือปรับปรุงเครื่องวัดระดับ หรือเครื่องวัดอุณหภูมิ ชนิดอัตโนมัติ ให้ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือเจ้าของถังแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานศุลกากรที่อยู่ใน เขตพื้นที่รับผิดชอบทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน เพื่อให้พนักงานศุลกากรทำลายดวงตราประทับ กศก. ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 88 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 เมษายน 2566

ข้อ 4 3 ให้ผู้นาของเข้า ผู้ส่งของออก หรือเจ้าของถังทาการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องวัดระดับ และเครื่องวัดอุณหภูมิชนิดอัตโนมัติ ทุก 2 ปี หรือทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงซ่อมแซม ปรับปรุง โดยดาเนินการเปรียบเทียบกับการวัดระดับความลึกด้วยเทปและเครื่องวัดอุณหภูมิมำตรฐานหรือใช้ วิธีการตามมาตรฐาน API ( American Petroleum Institute ) Manual of Petroleum Measurement Standards หรือวิธีการตามมาตรฐานอื่นที่สากลรับรองและเป็นที่ยอมรับ ที่ระดับ ความลึกต่างกันไม่น้อยกว่า 3 ระดับ และแต่ละระดับไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง โดยให้ถือค่าความแตกต่าง ไม่เกินกว่าค่ามาตรฐานกำหนด เว้นแต่กรณีที่ไม่สามารถตรวจสอบตามมาตรฐานโดยวิธีวัดระดับด้วยเทปได้ ให้ ตรวจสอบผลกับหมุดระดับอ้างอิง ( Reference Pin ) หรือ Reference on Ball valve ตามมาตรฐาน API ( American Petroleum Institute ) Manual of Petroleum Measurement Standards หรือวิธีการตามมาตรฐานอื่นที่สากลรับรองและเป็นที่ยอมรับ ภายใต้การควบคุมหรือกากับดูแลของ พนักงานศุลกากร ข้อ 44 ให้ผู้นาของเข้า ผู้ส่งของออก หรือเจ้าของถังทาการทดสอบค่าความคลาดเคลื่อน อย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง ที่ระดับความลึกพร้อมอุณหภูมิ ณ ขณะตรวจสอบเพียงระดับเดียว ภายใต้การควบคุมหรือกำกับดูแลของพนักงานศุลกากร ส่วนที่ 3 การติดตั้งและการทดสอบประสิทธิภาพมาตรวัด ( Flow Meter ) และเครื่องทดสอบ ข้อ 45 กรณีผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือเจ้าของถังมีความปร ะสงค์จะใช้มาตรวัด และเครื่องทดสอบเพื่อการนาเข้าหรือการส่งออก ให้ขออนุญาตติดตั้งและตรวจสอบรับรองมาตรวัด และเครื่องทดสอบ โดยให้ยื่นคำขอต่อสานักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากรเพื่ออนุมัติหลักการในชั้นแรก พร้อมรายละเอียด ดังต่อไปนี้ (1) ชื่อแบบหรือชนิดของมาตรวัด และเครื่องมือทดสอบ ชื่อผู้ผลิต ประเทศที่ผลิต ( 2 ) รายละเอียดแสดงถึงประสิทธิภาพ เช่น ความแม่นยำในการวัด ( Precision ) ค่าความสามารถ ในการอ่านซ้าที่จุดเดียวกัน ( Repeatability ) (3) รายละเอียดแบบแปลนการติดตั้งมาตรวัด และเครื่องทดสอบเข้ากับท่อทางเติมผลิตภัณฑ์ และหมายเลขถัง ข้อ 46 เมื่อได้รับอนุมัติหลักการในชั้นแรก ให้ผู้นาของเข้า ผู้ส่งของออก หรือเจ้าของ ถังติดตั้งมาตรวัด และเครื่องทดสอบโดยมีความสัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง โดยมาตรวัดต้องเป็นชนิด Positive Displacement Meter หรือ Turbine Meter หรือ Coriolis Meter หรือมาตรวัดอื่น ๆ ซึ่งได้รับการรับรองจากระบบมาตรฐานสากล และเครื่องทดสอบต้องเป็น ( 1 ) ถังมาตรฐาน ( Prover Tank ) ( 2 ) มาตรวัดมาตรฐาน ( Master Meter ) ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 88 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 เมษายน 2566

( 3 ) การวัดความจุมาตรฐานโดย Pipe Prover หรือ Prover Loop หรือ Compact Prover ( 4 ) เครื่องทดสอบอื่น ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล เมื่อติดตั้งแล้วเสร็จให้ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือเจ้าของถังมีหนังสือแจ้งพนักงานศุลกากร เพื่อนัดหมายไปควบคุมหรือกำกับดูแลการตรวจสอบมาตรวั ดและเครื่องทดสอบ ข้อ 47 การทดสอบมาตรวัดและเครื่องทดสอบให้ใช้วิธีการตามมาตรฐาน API ( American Petroleum Institute ) Manual of Petroleum Measurement Standards หรือวิธีการตามมาตรฐานอื่น ที่สากลรับรองและเป็นที่ยอมรับ กรณีผลการตรวจสอบเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด พนักงานศุลกากรจะมัดลวดประทับตรา กศก. ที่มาตรวัด และเครื่องทดสอบ รวมทั้งอุปกรณ์อื่นที่อาจเกี่ยวข้องกับการดัดแปลงแก้ไขมาตรวัดและ เครื่องทดสอบได้ และเสนอให้สานักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากรพิจารณาอนุญาตการใช้มาตรวัด และ เครื่องทดสอบ หากต้องการเปลี่ยนแปลง ซ่อมแซมหรือปรับปรุงมาตรวัดหรือเครื่องทดสอบ ให้ผู้นาของเข้า ผู้ส่งของออก หรือเจ้าของถังแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานศุลกากรที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบทราบ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน เพื่อให้พนักงานศุลกากรทำลายดวงตราปร ะทับ กศก. ข้อ 48 ให้ผู้นาของเข้า ผู้ส่งของออก หรือเจ้าของถังทาการทดสอบประสิทธิภาพของมาตรวัด และเครื่องทดสอบหลังจากที่ได้ติดตั้งแล้วตามมาตรฐาน API ( American Petroleum Institute ) Manual of Petroleum Measurement Standards หรือวิธีการตามมาตรฐานอื่นที่สากลรับรอง และเป็นที่ยอมรับ ภายใต้การควบคุมหรือกำกับดูแลของพนักงานศุลกากร โดยวิธีดังต่อไปนี้ (1) ทดสอบความจุของถังมาตรฐาน ( Prover Tank ) โดยวิธีตวงน้าจากถังมาตรฐานที่ได้รับรอง จากกระทรวงพาณิชย์ จนได้ระดับที่กำหนดไว้ และต้องทดสอบใหม่อย่างน้อยปีละครั้ง (2) ทดสอบมาตรวัดมาตรฐาน ( Master Meter ) เพื่อหาค่าความคลาดเคลื่อนของมาตรวัด ( Meter Factor ) โดยเปรียบเทียบกับถังมาตรฐานตาม (1) หรือ Pipe Prover หรือ Prover Loop หรือ Compact Prover ตาม (3) และต้องทดสอบใหม่ อย่างน้อย 6 เดือนต่อครั้ง (3) ทดสอบค่าความจุของ Pipe Prover หรือ Prover Loop ( Pipe Volume in Performance หรือ Loop Volume in Performance ) หรือ Compact Prover กับถังมาตรฐานตาม (1) หรือ มาตรวัดมาตรฐานตาม (2) และต้องทดสอบใหม่อย่างน้อยปีละครั้ง ( 4 ) ทดสอบค่าความคลาดเคลื่อนของมาตรวัด ( Meter Factor ) เพื่อใช้ในการคานวณ ปริมาตรกับถังมาตรฐานตาม (1) หรือมาตรวัดมาตรฐานตาม (2) หรือ Pipe Prover หรือ Prover Loop หรือ Compact Prover ตาม (3) และต้องทดสอบใหม่ทุก ๆ 4 เดือน สาหรับการจ่าย ผลิตภัณฑ์ทางเรือ หรือทุก ๆ 6 เดือนสำหรับการจ่ายผลิตภัณฑ์ทางรถยนต์ ( 5 ) ทดสอบประสิทธิภาพของมาตรวัด ( Flow Meter ) และเครื่องทดสอบตามมาตรฐานอื่น ที่สากลรับรองและเป็นที่ยอมรับ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อน ไขของมาตรฐานนั้น ๆ ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 88 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 เมษายน 2566

เมื่อดาเนินการทดสอบประสิทธิภาพของมาตรวัด และเครื่องทดสอบตามข้อ (1 ) - (5) แล้ว พนักงานศุลกากรจะรายงานผลให้สานักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากรทราบ และหากผลการทดสอบ มีค่าความคลาดเคลื่อนเกินจากมาตรฐานที่กำหนด พนักงานศุลกากรจะให้ระงับการใช้มาตรวัด และเครื่องทดสอบ ส่วนที่ 4 การผ่อนผันสำหรับการใช้ถัง เครื่องวัดระดับ และเครื่องวัดอุณหภูมิชนิดอัตโนมัติที่กรมสรรพสามิต อนุมัติ ข้อ 49 กรณีผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือเจ้าของถังประสงค์จะใช้ถังพร้อมเครื่องวัดระดับ และเครื่องวัดอุณหภูมิชนิดอัตโนมัติที่กรมสรรพสามิตอนุมัติเพื่อบรรจุผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่น ที่เป็นของเหลวตามประกาศนี้ กรมศุลกากรจะอนุญาตให้ตามระยะเวลาที่กรมสรรพสามิตได้ตรวจสอบ และอนุมัติไว้แล้ว เว้นแต่ถังจะอนุญาตไม่เกินครั้งละ 5 ปี ให้ผู้นาของเข้า ผู้ส่งของออก หรือเจ้าของถังยื่นคำขอ พร้อมสาเนาตารางคานวณปริมาตรความจุ ประจาถัง และหนังสืออนุมัติของกรมสรรพสามิตต่อสานักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากรในเขตพื้นที่ รับผิดชอบ ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 256 6 พชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร ้ หนา 20 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 88 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 เมษายน 2566

แนบท้ายประกาศกรมศุลกากรที่ 37 / 256 6 ข้อ 1 5 (1) การตรวจปล่อยโดยใช้ตารางคานวณปริมาตรความจุประจาถังสำหรับการนาเข้า 1. ก่อนอนุญาตให้ทาการสูบถ่าย ผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียมขึ้นถัง พนักงานศุลกากรจะทาการ ตรวจ วัด ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในเรือพร้อมกับบันทึกไว้ในรายการคานวณ และบันทึกการตรวจวัดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในเรือ ( Ullage Sheet ) ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใดบ้าง และมีปริมาณเท่าใด 2. ก่อนที่จะให้สูบถ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเข้าเก็บไว้ในถังใด พนักงา นศุลกากรจะ ตรวจสอบ ท่อทางรับ และ ปิดท่อทางจ่ายเพื่อมิให้นำผลิตภัณฑ์ออก พร้อมกับ มัดลวด ประทับตรา กศก. ที่ท่อทางจ่าย แล้ว ตรวจสอบถังนั้น ว่ามีผลิตภัณฑ์เหลือค้างอยู่หรือไม่ ถ้ามีผลิตภัณฑ์ค้างอยู่ในถังพนักงานศุลกากรจะตรวจวัดและบันทึกชนิด และ ปริมาณ ผลิตภัณฑ์เหลือค้างอยู่นั้น เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จพนักงานศุลกากรจะอนุญาตให้ทาการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์เข้าเก็บในถังได้ เมื่อสูบเข้าเก็บเสร็จสิ้นจนผลิตภัณฑ์ในถังนิ่งพอที่จะตรวจวัดได้แล้ว พนักงานศุลกากรจะตรวจวัดพร้อมกับคานวณ ปริมาณผลิตภัณฑ์ที่นาเข้า ที่ แท้จริง 3. พนักงานศุลกากรจะคำนวณปริมาณผลิตภัณฑ์ที่นาเข้าแท้จริงตามวิธีการหาปริมาณสำหรับ ผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท โดยใช้วิธีคำนวณตามระบบ API หรือระบบ Density ตามมาตรฐาน API / ASTM - IP ( The American Petroleum Institute, The American Society for Testing and Materials, and The Institute of Petroleum ) หรือตามมาตรฐาน JIS ( Japanese Industrial Standard ) หรือมาตรฐานอื่นที่สากลรับรองโดยได้รับอนุมัติ จากกรมศุลกากร 4. พนักงานศุลกากรจะจัดทารายการคานวณปริมาณผลิตภัณฑ์ที่นาเข้าที่แท้จริงในแบบที่ 483 ( Outturn ) ให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันตรวจปล่อย และบันทึกผลการตรวจปล่อยในระบบคอมพิวเตอร์ ของกรมศุลกากร โดยคานวณปริมาตรที่อุณหภูมิ 86 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 30 องศาเซลเซียส และน้าหนักเมตริกตัน ในอากาศ ( IN AIR ) หรือในสุญญากาศ ( IN VAC ) หากปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่ตรวจวัดได้ในถังบนบกเปรียบเทียบกับปริมาณของผลิตภัณฑ์ตามที่ แสดงในใบขนสินค้าคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5% ( เว้นแต่กรณีน้ำมันดีเซลให้ถือเกณฑ์ 2%) และเงินประกันคุ้มค่าอากร หรือกรณีผลิตภัณฑ์ที่นาเข้าโดยผู้นาของเข้า หรือตัวแทนออกของระดับมาตรฐานเออี โอเป็นผู้ปฏิบัติพิธีการนาเข้า ซึ่งได้รับสิทธิ พิเศษ ไม่ต้องค้ำประกันด้านปริมาณ พนักงานศุลกากรจะดำเนินการตรวจปล่อยได้ตามปกติ กรณีวาง เงินประกันไม่คุ้มค่าอากร หรือภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชาระไว้ไม่ครบถ้วน กรมศุลกากรจะถือปฏิบัติเช่นเดียวกับ การตรวจปล่อยสินค้าทั่วไป หากตรวจพบปริมาณคลาดเคลื่อนเกิน 5% ( เว้นแต่กรณีน้ามันดีเซลให้ถือเกณฑ์ 2%) ให้ผู้นาของเข้า ชี้แจงแสดงเหตุผลต่อพนักงานศุลกากรผู้ตรวจปล่อยเพื่อพิจารณาเสนอยุติเรื่อง แต่หากมีเหตุอันควรสงสัยกรมศุลกากร อาจพิจารณาความผิดต่อไป ส่วน ตรวจ พบ เกินจากที่สำแดง เมื่อวางประกันคุ้มค่าภาษีอากรพนักงานศุลกากร จะตรวจปล่อยไปได้ตามปกติ ถ้าเงินประกันไม่คุ้มค่าอากร หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ ชำระ ไว้ ไม่ครบถ้วน กรมศุลกากร จะถือปฏิบัติเช่นเดียวกับการตรวจปล่อยสินค้าทั่วไป 5 . การส่งตัวอย่าง พนักงานศุลกากรจะ ส่งตัวอย่างไปดำเนินการที่หน่วยวิเคราะห์สินค้า หลังการตรวจปล่อย เว้นแต่กรณีมีเหตุอันควรสงสัย

แนบท้ายประกาศกรมศุลกากรที่ 37 / 256 6 ข้อ 1 5 (2) การตรวจปล่อยโดยใช้ปริมาณที่ตรวจวัดและคานวณได้จากถังบนบกร่วมกับปริมาณที่อ่านได้จากมาตรวัด ( Flow Meter ) รับ - จ่ายผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ เป็นปริมาณที่นำเข้า ที่ แท้จริง 1. ผู้นาเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ประสงค์นาเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจะต้องใช้ตารางคานวณ ปริมาตรความจุประจาถังสาหรับการนาเข้าเป็นปริมาณที่นาเข้าก่อน หากปรากฏข้อเท็จจริงไม่สามารถดาเนินการได้ ให้ร้องขอเพื่อพิจารณาอนุมัติ ใช้ปริมาณที่ตรวจวัดและคานวณได้จากถังบนบกร่วมกับปริมาณที่อ่านได้จากมาตรวัด ( Flow Meter ) รับ - จ่ายผลิตภัณฑ์ ภายในประเทศเป็นปริมาณที่นาเข้า ที่ แท้จริง เป็นการเฉพาะรายเที่ยวเรือ โดยให้ ยื่นคำร้องก่อนวันเรือเข้าไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ 2. เมื่อ ผู้นาของเข้ายื่นคาร้อง ระบุเหตุผลความจาเป็นในการ ขอใช้ปริมาณที่ตรวจวัดและคานวณ ได้ จากถังบนบกร่วมกับปริมาณที่อ่านได้จากมาตรวัด ( Flow Meter ) รับ - จ่ายผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ พนักงานศุลกากร จะ เสนอต่อผู้อานวยการสำนักงานศุลกากรหรือนายด่านศุลกากร ที่กากับดูแล พิจารณาอนุมัติ เป็นการเฉพาะ รายเที่ยวเรือ 3. ก่อนอนุญาตให้ทำการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมขึ้นถัง พนักงานศุลกากร จะ ดำเนินการดังนี้ (1) ทาการตรวจวัดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในเรือพร้อมกับบันทึกไว้ในรายการคานวณ และบันทึก การตรวจวัดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในเรือ ( Ullage Sheet ) ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใดบ้าง และมีปริมาณเท่าใด ( 2 ) พนักงานศุลกากรจะตรวจสอบท่อทางรับผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ และปิดท่อทางรับ - จ่าย ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ แล้วตรวจสอบถังนั้นว่ามีผลิตภัณฑ์เหลือค้างอยู่หรือไม่ ถ้ามีผลิตภัณฑ์ค้างอยู่ในถังพนักงาน ศุลกากรจ ะตรวจวัดและบันทึกชนิด และปริมาณผลิตภัณฑ์เหลือค้างอยู่นั้น (3) ตรวจสอบหมายเลขประจามาตรวัดหลักและมาตรวัดสารอง (ถ้ามี) จากช่องทางรั บ ภายในประเทศ ที่ติดตั้งอยู่ ณ ท่อทางรับผลิตภัณฑ์ของถังที่รับผลิตภัณฑ์นำเข้าจากต่างประเทศ แล้วตรวจสอบรายงานการอ่านและ คานวนปริมาณของมาตรวัดหลักและมาตรวัดสำรอง โดยพนักงานประจาโรงกลั่นหรือคลังน้ามันหรือคลังเก็บ ผลิตภัณฑ์หรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการควบคุมมาตรวัด จะ จัดทำรายงานการอ่านและคานวณปริมาณของมาตรวัด จำนวน 2 ชุด และลงลายมือชื่อพร้อมวัน เดือ น ปี ร่วมกับพนักงานศุลกากร (4) ตรวจสอบหมายเลขประจามาตรวัดหลักและมาตรวัดสำรอง (ถ้ามี) เพื่อจ่ายออกไปยัง ช่องทางภายในประเทศ ที่ติดตั้งอยู่ ณ ท่อ ทางจ่าย ผลิตภัณฑ์ ของถังที่รับผลิตภัณฑ์นำเข้าจากต่างประเทศ แล้วตรวจสอบรายงานการอ่านและคานวณปริมาณของมาตรวัดหลักและมาตรวัดสำรอง โดยพนักงานประจำโรงกลั่น หรือคลังน้ามันหรือคลังเก็บผลิตภัณฑ์หรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการควบคุมมาตรวัด จะ จัดทารายงานการอ่านและ คำนวณปริมาณของมาตรวัด จำนวน 2 ชุด และลงลายมือชื่อพร้อมวัน เดือน ปี ร่วมกับพนักงานศุลกากร (5) กรณีมีการรับเข้าหรือจ่ายผลิตภัณฑ์ออกจากถัง ผ่านมาตรวัดมากกว่าหนึ่งช่องทาง พนักงาน ศุลกากรจะดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ ( 3 ) หรือข้อ ( 4 ) แล้วแต่กรณี ( 6 ) รายงานการอ่านและคานวณปริมาณของมาตรวัด ตามข้อ (3 ) ( 4 ) และ (5 ) จะจัดทาเป็น 2 ชุด โดยชุดหนึ่งให้โรงกลั่นหรือคลังน้ำมันหรือคลังเก็บผลิตภัณฑ์เก็บรักษาไว้ และอีกชุดหนึ่งให้พนักงานศุลกากร เก็บไว้เป็นหลักฐานในการตรวจปล่อยสินค้า เมื่อ พนักงานศุลกากร ได้ดาเนินการขั้นตอนตามข้อ (1) ถึง (5) แล้ว จึง จะ อนุญาตให้ทาการสูบถ่ำย ผลิตภัณฑ์ตามขั้นตอนทั้งรับและจ่ายในคราวเดียวกัน

  1. เมื่อเรือทาการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์ที่นาเข้าจากต่างประเทศเสร็จสิ้นแล้ว พนักงานศุลกากร จะ ดำเนินการดังนี้ (1) เมื่อผลิตภัณฑ์ในถังนิ่งพอ ที่จะตรวจวัดได้แล้ว จะ ทาการตรวจวัดพร้อมคำนวณปริมาณ ผลิตภัณฑ์ที่นำเข้า ตามวิธีการหาปริมาณสำหรับผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท (2) ตรวจสอบ รายงานการอ่านและคานวณปริมาณของมาตรวัด หลักและมาตรวัดสารอง (ถ้ามี) จาก ช่องทางรับ ภายในประเทศ ที่ติดตั้งอยู่ ณ ท่อทางรับผลิตภัณฑ์ของถังที่รับผลิตภัณฑ์นาเข้าจากต่างประเทศ อีกครั้ง โดยพนักงานประจาโรงกลั่น หรือคลังน้ามันหรือคลังเก็บผลิตภัณฑ์หรือผู้มีหน้าที่ เกี่ยวข้องในการ ควบคุม มาตรวัด จะ จัดทำรายงานการอ่านและคานวณปริมาณของมาตรวัด จำนวน 2 ชุด และลงลายมือ ชื่อ พร้อมวัน เดือน ปี ร่วมกับพนักงานศุลกากร ( 3 ) ตรวจสอบรำยงานการอ่านและคานวณปริมาณของมาตรวัด หลักและมาตรวัดสารอง (ถ้ามี) เพื่อ จ่ายออกไปยังช่องทางภายในประเทศ ที่ติดตั้งอยู่ ณ ท่อทางจ่าย ผลิตภัณฑ์ ของถังที่รับผลิตภัณฑ์นาเข้าจาก ต่างประเทศ อีกครั้ง โดยพนักงานประจำโรงกลั่น หรือคลังน้ำ มันหรือคลังเก็บผลิตภัณฑ์หรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการ ควบคุมมาตรวัด จะ จัดทารายงานการอ่านและ คานวณปริมาณของมาตรวัด จานวน 2 ชุด และลงลายมือ ชื่อ พร้อมวัน เดือน ปี ร่วมกับพนักงานศุลกากร ( 4 ) ตรวจสอบรายงานการอ่านและคานวณปริมาณของมาตรวัด กรณีมี การรับเข้าหรือจ่าย ผลิตภัณฑ์ออกจากถังตามข้อ 3 ( 5 ) อีกครั้ง โดยพนักงานประจาโรงกลั่น หรือคลังน้ามันหรือ คลังเก็บผลิตภัณฑ์ หรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการ ควบคุมมาตรวัด จะ จัดทารายงาน การ อ่านและคานวณ ปริมาณของมาตรวัดจานวน 2 ชุด และลงลายมือชื่อพร้อมวัน เดือน ปี ร่วมกับพนักงานศุลกากร ( 5 ) รายงานการอ่านและคานวณปริมาณของมาตรวัด ตามข้อ (2 ) ( 3 ) และ (4 ) จะจัดทาเป็น 2 ชุด โดยชุดหนึ่งให้ โรงกลั่นหรือคลังน้ำมันหรือคลังเก็บผลิตภัณฑ์ เก็บรักษาไว้ และอีกชุดหนึ่งให้พนักงานศุลกากร เก็บไว้เป็นหลักฐานในการตรวจปล่อยสินค้า 5. พนักงานศุลกากรหน่วยงานที่รับผิดชอบ จะ คานวณปริมาณที่นาเข้า ที่ แท้จริง โดยใช้ ปริ มาณที่ ตรวจวัดและคานวณได้จากถังบนบกร่วมกับปริมาณที่อ่านได้จากมาตรวัด ( Flow Meter ) รับ - จ่ายผลิตภัณฑ์ ภายในประเทศ โดยมีขั้นตอนการคำนวณปริมาณ ดังนี้ (1) นาปริมาณที่คานวณ ได้จากถังบนบกตามข้อ 4 ( 1 ) หักด้วยปริมาณที่คานวณได้จากถังบนบก ตามข้อ 3 ( 2 ) ( 2 ) นำปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่อ่านและคานวณโดยใช้มาตรวัดตามข้อ 4 ( 2 ) หักด้วย ปริมาณของ ผลิตภัณฑ์ที่อ่านและคานวณโดยใช้มาตรวัดตามข้อ 3 ( 3 ) ( 3 ) นาปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่อ่านและคานวณโดยใช้มาตรวัดตามข้อ 4 ( 3 ) หักด้วยปริมาณของ ผลิตภัณฑ์ที่อ่านและคานวณโดยใช้มาตรวัดตามข้อ 3 ( 4 ) ( 4 ) นำปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่อ่านและคานวณโดยใช้มาตรวัดตามข้อ 4 ( 4 ) หักด้วย ปริมาณของ ผลิตภัณฑ์ที่อ่านและคานวณโดยใช้มาตรวัดตามข้อ 3 ( 5 ) ( 5 ) นาปริมาณตามข้อ ( 1 ) หักด้วยปริมาณตามข้อ ( 2 ) และข้อ ( 4 ) กรณีมีการรับผลิตภัณฑ์เข้าถัง อีกช่องทางหนึ่ง บวกด้วยปริมาณตามข้อ ( 3 ) และข้อ ( 4 ) กรณีมีการจ่ายผลิตภัณฑ์ออกจากถังอีกช่องทางหนึ่ง การคานวณปริมาณใช้วิธีคานวณ ระบบ API หรือระบบ Density ตามมาตรฐาน API / ASTM - IP ( The American Petroleum Institute, The American Society For Testing And Materials, And

The Institute Of Petroleum ) หรือตามมาตรฐาน JIS ( Japanese Industrial Standard ) หรือมาตรฐานอื่นที่สากล รับรองโดยได้รับอนุมัติจากกรมศุลกากร 6 . พนักงานศุลกากรจะจัดทำรายการคำนวณปริมาณผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าแท้จริงในแบบที่ 483 ( Outturn ) และรวบรวมรายงานการอ่านและคานวณปริมาณของมาตรวัดที่ได้มีการลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปีกากับ ให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันตรวจปล่อยตามข้อ 4 และบันทึกผลการตรวจปล่อยในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร โดยใช้ปริมาณที่ตรวจวัดและคานวณได้จากถังบนบกร่วมกับปริมาณที่อ่านได้จากมาตรวัด ( Flow Meter ) รับ - จ่าย ผลิตภัณฑ์ ภายในประเทศ ตามข้อ 5 ที่คานวณที่อุณหภูมิ 86 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 30 องศาเซลเซียส และน้าหนักเมตริกตัน ในอากาศ ( IN AIR ) หรือในสุญญากาศ ( IN VAC ) หากปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่ตรวจวัดและคานวณได้จากถังบนบกร่วมกับปริมาณที่อ่านได้ จาก มาตรวัด ( Flow Meter ) รับ - จ่ายผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ เปรียบเทียบกับปริมาณของผลิตภัณฑ์ตามที่สำแดง ในใบขนสินค้า คลาดเคลื่อน เกิน 5% (เว้นแต่กรณีน้ามันดีเซลให้ถือเกณฑ์ 2 %) และเงินประกัน คุ้มค่าอากร หรือกรณี ผลิตภัณฑ์ที่นาเข้าโดยผู้นาของเข้าหรือตัวแทนออกของระดับมาตรฐานเออีโอเป็นผู้ปฏิบัติพิธีการนาเข้า ซึ่งได้รับ สิทธิพิเศษไม่ต้องค้าประกันด้านปริมาณ พนักงานศุลกากรจะตรวจปล่อยตามปกติ กรณีเงิน วางประกันไม่คุ้มค่าอากร หรือภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน กรมศุลกากรจะถือปฏิบัติเช่นเดียวกับการตรวจปล่อยสินค้าทั่วไป หากปริมาณคลาดเคลื่อนเกิน 5 % ( เว้นแต่กรณีน้ำมันดีเซลให้ถือเกณฑ์ 2 %) ให้ผู้นาของเข้าชี้แจง แสดงเหตุผลต่อพนักงานศุลกากรผู้ตรวจปล่อยเพื่อพิจารณาเสนอยุติเรื่อง แต่หากมีเหตุอันควรสงสัยกรมศุลกากร อาจพิจารณาความผิดต่อไป ส่วนที่เกินสาแดงเมื่อวางประกันคุ้มค่าภาษีอากร พนักงานศุลกากรจะตรวจปล่อยไป ตามปกติ กรณีวางเงินประกันไม่คุ้มค่าอากร หรือภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชาระไว้ไม่ครบถ้วน กรมศุลกากรจะถือปฏิบัติ เช่นเดียวกับการตรวจปล่อยสินค้าทั่วไป 7. การส่งตัวอย่าง พนักงานศุลกากรจะ ส่งตัวอย่างไปดาเนินการที่หน่วยวิเคราะห์สินค้าหลัง การตรวจปล่อยเว้นแต่กรณีมีเหตุอันควรสงสัย

แนบท้ายประกาศกรมศุลกากรที่ 37 / 256 6 ข้อ 1 5 ( 3 ) การตรวจปล่อย โดยใช้ปริมาณสูงสุดจากการเปรียบเทียบปริมาณที่ตรวจวัดและคำนวณได้ ในเรือ ก่อนการสูบถ่าย ( Arrival Port ) หรือปริมาณที่ตรวจวัดและคานวณได้ในเรือ ณ ท่าต้นทาง ( Loading Port ) ซึ่งรับรองโดยนายเรือ หรือตัวแทนอิสระ ( Surveyor ) หรือปริมาณตามใบตราส่งสินค้าทางเรือ ( Bill of Lading ) เป็นปริมาณที่นำเข้า ที่ แท้จริง กรณีการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์จากเรือผ่านเข้าสู่ถังเก็บและจ่ายออกไปเข้าสู่ กระบวนการผลิตในเวลาเดียวกัน 1. ผู้นาเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ที่ประสงค์นาเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจะต้องใช้ตารางคานวณ ปริมาตรความจุประจาถังสำหรับการนาเข้า หรือ โดยใช้ปริมาณที่ตรวจวัดและคานวณได้จากถังบนบกร่วมกับปริมาณ ที่อ่านได้จากมาตรวัด ( Flow Meter ) รับ - จ่า ย ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ เป็นปริมาณที่ นาเข้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ก่อน หากปรากฏข้อเท็จจริงไม่สามารถดาเนินการได้ ให้ร้องขอเพื่อพิจารณาอนุมัติใช้ ปริมาณสูงสุด ของผลิตภัณฑ์ จากการ เปรียบเทียบของปริมาณที่ ตรวจวัดและคานวณได้ในเรือก่อนการสูบถ่าย ( Arrival Port ) หรือปริมาณที่ตรวจวัดและ คานวณได้ในเรือ ณ ท่าต้นทาง ( Loading Port ) ซึ่งรับรองโดยนายเรือ หรือตัวแทนอิสระ ( Surveyor ) หรือปริมาณ ที่ระบุในใบตราส่งสินค้าทางเรือ ( Bill of Lading ) เป็นปริมาณที่นาเข้าแท้จริง กรณีการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์จากเรือผ่านเข้า สู่ถังเก็บและจ่ายออกไป เข้าสู่กระบวนการผลิตในเวลาเดียวกัน เป็นการเฉพาะรายเที่ยวเรือ โ ดยให้ยื่นคำร้องก่อนวัน เรือเข้าไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ 2 . ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่นาเข้าจากต่างประเทศต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีภาระค่าภาษีอากร แต่อย่างใด เว้นแต่ภาษีมูลค่าเพิ่ม 3 . ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่นาเข้าจากต่างประเทศต้องมีการแยกผลิตภัณฑ์ในแต่ระวางเรืออย่างชัดเจน และสามารถตรวจวัดผลิตภัณฑ์ว่ามีปริมาณเท่าใด ทั้งนี้ ต้องไม่มีการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์ระหว่างการขนส่ง 4. เมื่อ ผู้นา ของเข้า ยื่นคำร้อง ระบุเหตุผลความจาเป็นในการ ขอใช้ปริมาณสูงสุด ของผลิตภัณฑ์ จาก การเปรียบเทียบของปริมาณที่ตรวจวัดและคานวณได้ในเรือก่อนการสูบถ่าย ( Arrival Port ) หรือปริมาณที่ตรวจวัด และคานวณได้ในเรือ ณ ท่าต้นทาง ( Loading Port ) ซึ่งรับรองโดยนายเรือ หรือตัวแทนอิสระ ( Surveyor ) หรือ ปริมาณที่ระบุในใบตราส่งสินค้าทางเรือ ( Bill o f Lading ) เป็นปริมาณที่นาเข้า ที่ แท้จริง กรณีการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์ จากเรือผ่านเข้าสู่ถังเก็บและจ่ายออกไปเข้าสู่กระบวนการผลิตในเวลาเดียวกัน พนักงานศุลกากรจะเสนอต่อ ผู้อานวยการสานักงานศุลกากรหรือนายด่านศุลกากร ที่กากับดูแล พิจารณาอนุมัติ เป็นการเฉพาะรายเที่ยวเรือ โดยต้องมีข้อมูล เอกสาร ประกอบการพิจารณา ดังนี้ ( 1 ) เหตุผลความจาเป็นในการขอใช้ ปริมาณสูงสุด ของผลิตภัณฑ์ จากการเปรียบเทียบของปริมาณ ที่ตรวจวัดและคานวณได้ในเรือก่อนการสูบถ่าย ( Arrival Port ) หรือปริมาณที่ตรวจวัดและคานวณได้ในเรือ ณ ท่าต้นทาง ( Loading Port ) ซึ่งรับรองโดยนายเรือ หรือตัวแทนอิสระ ( Surveyor ) หรือปริมาณที่ระบุในใบตราส่งสินค้าทางเรือ ( Bill of Lading ) เป็นปริมาณที่นำเข้าพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบ ( 2 ) ข้อมูลเปรียบเทียบปริมาณผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมระหว่างเรือที่บรรทุกผลิตภัณฑ์นาเข้า โดยใช้ ปริมาณที่ตรวจวัด และคานวณได้ในเรือก่อนการสูบถ่าย ( Arrival Port ) เปรียบเทียบกับถังบนบกที่ได้รับอนุมัติ จากกรมศุลกากร ย้อนหลังอย่างน้อย 5 เที่ยวเรือ จะต้องมีปริมาณความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5 % (เว้นแต่ กรณีน้ำมันดีเซลให้ถือเกณฑ์ 2 % )

  1. ก่อนอนุญาตให้ เรือ ทาการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมขึ้นถัง พนักงานศุลกากร จะ ทาการ ตรวจวัด พร้อมคานวณ ผลิตภัณฑ์ในเรือ ก่อนการสูบถ่าย ( Arrival Port ) วิธีการหาปริมาณสาหรับผลิตภัณฑ์แต่ละ ประเภท โดย ใช้วิธีคำนวณตามระบบ API หรือระบบ Density ตามมาตรฐาน API / ASTM - IP ( The American Petroleum In stitute, The American Society For Testing And Materials, And The Institute Of Petroleum ) หรือตามมาตรฐาน JIS ( Japanese Industrial Standard ) หรือมาตรฐานอื่นที่สากลรับรองโดย ได้รับ อนุมัติจากกรมศุลกากร และ บันทึกการตรวจวัดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในเรือ ( Ullage Sheet ) ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ ชนิดใดบ้าง และมีปริมาณเท่าใด 6. พนักงานศุลกากร จะอนุญาตให้สูบถ่ายผลิตภัณฑ์ จากเรือผ่านเข้าสู่ถังเก็บและจ่ายออกไปเข้าสู่ กระบวนการผลิตในเวลาเดียวกัน จนเสร็จสิ้น 7 . พนักงานศุลกากร จะ ทาการเปรียบเทียบ ปริมาณ ของผลิตภัณฑ์ สูงสุดจากการตรวจวัดและ คำนวณได้ในเรือก่อนการสูบถ่าย ( Arrival Port ) หรือ ปริมาณที่ตรวจวัดและคำนวณได้ในเรือ ณ ท่าต้นทาง ( Loading Port ) ซึ่งรับรองโดยนายเรือ หรือตัวแทนอิสระ ( Surveyor ) หรือ ปริมาณที่ระบุในใบตราส่งสินค้าทางเรือ ( Bill of Lading ) เป็นปริมาณที่นำเข้า ที่แท้จริง 8. พนักงานศุลกากร จะ จัดทารายการคำนวณปริมาณผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่แท้จริง และ บันทึก ผล การตรวจปล่อยในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร โดยใช้ปริมาณสูงสุด ของผลิตภัณฑ์ตามข้อ 7 โดย คานวณ ที่ อุณหภูมิ 86 องศา ฟาเรนไฮต์ หรือ 30 องศาเซลเซียส และน้ำหนักเมตริกตันในอากาศ ( IN AIR ) หรือ ในสุญญากาศ ( IN VAC ) หากปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่นาเข้าที่แท้จริง ตามข้อ 7 . เปรียบเทียบกับปริมาณของผลิตภัณฑ์ ตามที่สำแดงในใบขนสินค้าคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5 % ( เว้นแต่กรณีน้ำมันดีเซลให้ถือเกณฑ์ 2 %) ให้พนักงานศุลกากร ดาเนินการ ตรวจปล่อยได้ตามปกติ หากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชาระไว้ไม่ครบถ้วนกรมศุลกากรจะถือปฏิบัติเช่นเดียวกับ การตรวจปล่อยสินค้าทั่วไป หากปริมาณคลาดเคลื่อนเกินกว่า 5 % ( เว้นแต่กรณีน้ามันดีเซลให้ถือเกณฑ์ 2 %) ให้ผู้นาของเข้า ชี้แจงแสดงเหตุผลต่อพนักงานศุลกากรผู้ตรวจปล่อย เพื่อพิจารณายุติเรื่อง แต่หากมีเหตุอันควรสงสัย พนักงาน ศุลกากรอาจให้ส่งหน่วยงานคดีของสานักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากรพิจารณาความผิดต่อไป ส่วนที่เกินจาก สำแดง หากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วนกรมศุลกากรจะถือปฏิบัติเช่นเดียวกับการตรวจปล่อยสินค้าทั่วไป 9. การส่งตัวอย่าง พนักงานศุลกากรจะ ส่งตัวอย่างไปดาเนินการที่หน่วยวิเคราะห์สินค้าหลังการ ตรวจปล่อย เว้นแต่กรณีมีเหตุอันควรสงสัย

แนบท้ายประกาศกรมศุลกากรที่ 37 / 256 6 ข้อ 1 5 (4) การตรวจปล่อยโดยวิธีใช้มาตรวัด ( Flow Meter ) สำหรับการ นาเข้า 1 . ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่จะทำการตรวจปล่อยโดยวิธีใช้มาตรวัด ( Flow Meter ) สำหรับ การนำเข้าต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีภาระค่าภาษีอากร เว้นแต่ภาษีมูลค่าเพิ่ม 2. ก่อนที่จะอนุญาตให้ทาการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม จากเรือขึ้น ถัง บก โดยวิธีใช้มาตรวัด ( Flow Meter ) พนักงานศุลกากรจะทาการตรวจวัดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ในเรือพร้อมกับบันทึกไว้ในรายการ คานว ณ และบันทึกผลการตรวจวัดผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียม ในเรือ ( Ullage Sheet ) ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใดบ้าง และ มีปริมาณเท่าใด 3 . ก่อนทำการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม จาก เรือ บรรทุก นาเข้า ราชอาณาจักร พนักงานศุลกากรจะ ตรวจสอบหมายเลขประจำมาตรวัดที่จะใช้และมาตรวัดสำรองที่ ติดตั้ง ประจาถัง นาเข้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม แล้ว ตรวจสอบรายงานการอ่านและคานวณปริมาณของมาตรวัดหลักและมาตรวัดสารอง โดยพนักงานประจาโรงกลั่นหรือ คลังน้ามันหรือคลังเก็บผลิตภัณฑ์หรือผู้มี หน้าที่เกี่ยวข้องในการควบคุมมาตรวัด จะจัดทารายงานการอ่านและคานวณ ปริมาณของมาตรวัดจานวน 2 ชุด และลงลายมือชื่อพร้อมวัน เดือน ปี ร่วมกับพนักงานศุลกากร หลังเสร็จสิ้นการสูบถ่ายจากเรือ พนักงานศุลกากรจะตรวจสอบรายงานการอ่านและคานวณปริมาณ ของมาตรวัดหลักและมาตรวัดสารองอีกครั้ง โดยพนักงานประจาโรงกลั่นหรือคลังน้ามันหรือคลังเก็บผลิตภัณฑ์หรือผู้มี หน้าที่เกี่ยวข้องในการควบคุมมาตรวัด จะจัดทารายงานการอ่านและคานวณปริมาณของมาตรวัดจานวน 2 ชุด และ ลงลาย มือชื่อพร้อมวัน เดือน ปี ร่วมกับพนักงานศุลกากร 4. พนักงานศุลกากรจะจัดทารายการงานคานวณปริมาณผลิตภัณฑ์ที่นาเข้าที่แท้จริงในแบบที่ 483 ( Outturn ) ให้เสร็จ สิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันตรวจปล่อย และบันทึกผลการตรวจปล่อยในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร โดยคานวณ ปริมาตรที่อุ ณหภูมิ 86 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 30 องศาเซลเซียส และน้าหนักเมตริกตันในอากาศ ( IN AIR ) หรือ ในสุญญากาศ ( IN VAC ) หากปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่ตรวจวัดได้จากมาตรวัด ( Flow Meter ) เปรียบเทียบกับปริมาณของ ผลิตภัณฑ์ตามที่แสดงในใบขนสินค้าคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5% ( เว้นแต่กรณีน้ำมันดีเซลให้ถือเกณฑ์ 2%) จะดาเนินการตรวจปล่อยตามปกติ หากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชาระไว้ไม่ครบถ้วนกรมศุลกากรจะถือปฏิบัติเช่นเดียวกับ การตรวจปล่อยสินค้าทั่วไป หากปริมาณคลาดเคลื่อนเกิน 5% ( เว้นแต่กรณีน้ามันดีเซลให้ถือเกณฑ์ 2%) ให้ผู้นาของเข้าชี้แจง แสดง เหตุผลต่อพนักงานศุลกากรผู้ตรวจปล่อยเพื่อพิจารณาเสนอยุติเรื่อง แต่หากมีเหตุอันควรสงสัย พนักงานศุลกากร อาจส่งให้หน่วยงานคดีของสำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากรพิจารณา ความผิดต่อไป ส่วนที่เกินจากสำแดง หากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชาระไว้ไม่ครบถ้วนให้กรมศุลกากรจะถือปฏิบั ติเช่นเดียวกับการตรวจปล่อยสินค้าทั่วไป 5 . ในระหว่างการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ที่นาเข้ามาในราชอาณาจักร หากมาตรวัด ( Flow Meter ) หยุดทางานหรือไม่สามารถใช้การได้และมาตรวัดสารองก็ไม่สามารถใช้การได้เช่นกัน กรมศุลกากรจะใช้ ปริมาณสูงสุดของผลิตภัณฑ์จากการเปรียบเทียบของปริมาณที่ตรวจวัดและคานวณได้ในเรือก่อนการสูบถ่าย ( Arrival Port ) หรือปริมาณที่ตรวจวัดและคานวณได้ในเรือ ณ ท่าต้นทาง ( Loading Port ) ซึ่งรับรองโดยนายเรือ หรือตัวแทนอิสระ ( Surveyor ) หรือปริมาณที่ระบุในใบ ตราส่งสินค้าทางเรือ ( Bill of Lading ) เป็นปริมาณที่นาเข้า ที่แท้จริง

การคานวณปริมาณผลิตภัณฑ์ให้ดาเนินการตามวิธีการหาปริมาณสาหรับผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท โดยใช้วิธี คานวณระบบ API หรือระบบ Density ตามมาตรฐาน API / ASTM - IP ( The American Petroleum Institute, The American Society for Testing and Materials, and The Institute of Petroleum ) หรือตามมาตรฐาน JIS ( Japanese Industrial Standard ) หรือมาตรฐานอื่นที่สากลรับรองโดยได้รับอนุมัติจากกรมศุลกากร โดย คำนวณปริมาตรที่อุ ณหภูมิ 86 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 30 องศาเซลเซียส และน้ำหนักเมตริกตันในอากาศ ( IN AIR ) หรือในสุญญากาศ ( IN VAC ) 6 . การส่งตัวอย่างพนักงานศุลกากรจะส่งตัวอย่างไปดาเนินการที่หน่วยวิเคราะห์สินค้าหลังการ ตรวจปล่อย เว้นแต่กรณีมีเหตุอันควรสงสัย

แนบท้ายประกาศกรมศุลกากรที่ 37 / 256 5 ข้อ 2 3 (1) การตรวจปล่อย โดยใช้ตารางคานวณปริมาตรความจุประจาถังสำหรับการส่งออก 1. ก่อนอนุญาตให้ทาการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม จาก ถังบนบก บรรทุกลงเรือ พนักงาน ศุลกากรจ ะตรวจสอบระวางเรือที่จะทาการรับบรรทุกก่อนว่า มี ผลิตภัณฑ์ชนิดใดบ้าง และ มี ปริมาณคงเหลือเท่าใด หรือเป็นระวางเปล่า และพนักงานศุลกากรจะบันทึกรายละ เอียดดังกล่าวไว้ในรายการคานวณและ บันทึกการ ตรวจวัดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ในเรือ ( Ullage Sheet ) 2 . ก่อนที่จะให้สูบถ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ออกจากถังใด พนักงานศุลกากรจะตรวจสอบท่อทาง จ่าย และปิดท่อทางรับ เพื่อมิให้นาผลิตภัณฑ์เข้าพร้อมกับ มัดลวด ประทับตรา กศก . ที่ท่อทางรับ แล้วตรวจวัด ปริมาณผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในถัง จากนั้นจึงให้ทำการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม บรรทุกลงเรือ 3 . เมื่อสูบถ่ายเสร็จ สิ้น พนักงานศุลกากร จะ ตรวจวัด ผลิตภัณฑ์ในเรือที่รับบรรทุกพร้อมกับบันทึกไว้ใน รายการคา นวณ และบันทึกการตรวจวัดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ในเรือ ( Ullage Sheet ) ว่ารับผลิตภัณฑ์ชนิดใดบ้าง และมี ปริมาณเท่าใด พร้อมทั้ง มัดลวด ประทับตรา กศก. ที่ท่อทางรับ - จ่ายในเรือ แล้วพนักงานศุลกากรจะตรวจวัดปริมาณ คงเหลือในถังบนบกอีกครั้งหนึ่ง และคำนวณปริมาณที่ส่งออกที่แท้จริง 4. การคานวณปริมาณและน้าหนัก สาหรับ ผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียม ที่ส่งออก พนักงานศุลกากรจะ ใช้วิธี คำนวณตามระบบ API หรือ ระบบ Density ตามมาตรฐาน API / ASTM - IP ( The American Petroleum Institute, The American Society for testing and Materials, and The Institute of Petroleum ) หรือตามมาตรฐาน JIS ( Japanese Industrial Standard ) หรือมาตรฐานอื่นที่สากลรับรองโดยได้รับอนุมัติจากกรมศุลกากร แล้วแต่กรณี 5. พนักงานศุลกากรจะจัดทารายการคานวณปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกที่แท้จริงในแบบที่ 483 ( Outturn ) ให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันตรวจปล่อย และบันทึกผลการตรวจปล่อยในระบบคอมพิวเตอร์ของ ศุลกากร โดยใช้ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่จะส่งออกที่แท้จริง โดยคานวณปริมาตรที่อุณหภูมิ 86 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 30 องศาเซลเซียส และน้ำหนักเมตริกตันในอากาศ ( IN AIR ) หรือในสุญญากาศ ( IN VAC ) หากปริมาณของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ตรวจวัดได้จากถังบนบกเปรียบเทียบกับปริมาณของผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียม ที่สูบถ่ายลงเรือที่รับบรรทุก โดยคานวณปริมาตรที่อุณหภูมิ 86 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 30 องศาเซลเซียส และน้าหนักเมตริกตันในอากาศ ( IN AIR ) หรือในสุญญากาศ ( IN VAC ) คลาดเคลื่อนเกินกว่า 5 % ( เว้นแต่กรณีน้ามัน ดีเซลให้ถือเกณฑ์ 2 %) ให้ผู้ส่งของออกชี้แจงแสดงเหตุผลต่อพนักงานศุลกากรผู้ตรวจปล่อย เพื่อพิจารณาเสนอยุติเรื่อง แต่หากมี เหตุอันควรสงสัย พนักงานศุลกากรอาจส่งให้หน่วยงานคดีของสานักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากรพิจารณา ความผิดต่อไป

แนบท้ายประกาศกรมศุลกากรที่ 37 / 256 5 ข้อ 2 3 (2) การตรวจปล่อยโดยวิธีใช้มาตรวัด ( Flow Meter ) สา หรับการส่งออก 1. ก่อนที่จะ อนุญาต ให้ทาการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม จากถังบนบก โดยวิธีใช้มาตรวัด ( Flow Meter ) พนักงานศุลกากรจะตรวจสอบระวางเรือที่จะทาการรับบรรทุกว่า มีผลิตภัณฑ์ชนิดใดบ้าง และ มีปริมาณคงเหลือเท่าใด หรือเป็นระวางเปล่า และพนักงานศุลกากรจะบันทึกรายละเอียดดังกล่าวไว้ในรายการคานวณ และบันทึกการตรวจวัดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ในเรือ ( Ullage Sheet ) 2. ก่อนทาการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ลงเรือที่จะรับบรรทุกออกนอกราชอาณาจักร พนักงาน ศุลกากรจะ ตรวจวัดปริมาณผลิตภัณฑ์ในถังบนบกเพื่อเปรียบเทียบปริมาณการส่งออกเมื่อดาเนินการแล้วให้ ตรวจสอบ หมายเลขประจามาตรวัด หลัก และมาตรวัดสารองที่ติดตั้งอยู่ ประจาถัง ที่จะส่งออก หรือ ณ ประจาท่าเทียบเรือที่จะรับ บรรทุกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ออกนอกราชอาณาจักร แล้วตรวจสอบรายงานกา รอ่านและคานวณ ของมาตรวัดจานวน 2 ชุด ตามแบบรายงานการคานวณปริมาณน้ามัน ( Outrun ) และ ลงลายมือชื่อพร้อมวัน เดือน ปี กากับ ร่วมกับ พนักงานประจำโรงกลั่นหรือคลังน้ำมันหรือคลังเก็บผลิตภัณฑ์หรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการควบคุมมาตรวัด 3. หลังเสร็จสิ้นการสูบถ่ายลงเรือ หรือเมื่อได้ปริมาณและน้ำหนักที่ต้องการจะส่งออกโดยมาตรวัด ( Flow Meter ) ครบถ้วนแล้ว พนักงานศุลกากรจะตรวจสอบรายงานการอ่านและคานวณปริมาณของมาตรวัดหลัก และมาตรวัดสำรองอีกครั้ง โดยพนักงานประจาโรงกลั่นหรือคลังน้ามันหรือคลังเก็บผลิตภัณฑ์หรือผู้มีหน้าที่ เกี่ยวข้องในการควบคุมมาตรวัด จะจัดทารายงานการอ่านและคานวณปริมาณของมาตรวัดจานวน 2 ชุด และ ลงลายมือชื่อพร้อมวัน เดือน ปี ร่วมกับพนักงานศุลกากร 4. พนักงานศุลกากรจะตรวจวัดผลิตภัณฑ์ปิโต รเลียม ในเรือที่รับบรรทุกโดยใช้มาตรวัด ( Flow Meter ) พร้อมกับบันทึกไว้ในรายการคำนวณ และบันทึกการตรวจวัดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ในเรือ ( Ullage Sheet ) ว่ารับผลิตภัณฑ์ชนิดใดบ้าง และมีปริมาณเท่าใด 5. พนักงานศุลกากรจะจัดทารายการคานวณปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกที่แท้จริงในแบบที่ 483 ( Outturn ) และบันทึกผลการตรวจปล่อยในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร โดยใช้ปริมาณตามแบบรายงาน การอ่านและคานวณปริมาณโดยใช้มาตรวัด ( Flow Meter ) โดยคานวณปริมาตรที่อุณหภูมิ 86 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 30 องศาเซลเซียส และน้ำหนักเมตริกตันในอากาศ ( IN AIR ) หรือในสุญญากาศ ( IN VAC ) หากปริมาณของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ที่อ่านและคานวณโดยใช้มาตรวัด ( Flow Meter ) เปรียบเทียบ กับปริมาณของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ที่ได้สูบถ่ายลงเรือที่รับบรรทุก โดยคานวณปริมาตรที่อุณหภูมิ 86 องศาฟาเรน ไฮต์ หรือ 30 องศาเซลเซียส และน้าหนักเมตริกตันในอากาศ ( IN AIR ) หรือในสุญญากาศ ( IN VAC ) หากมีปริมาณ คลาดเคลื่อนเกินกว่า 5 % ( เว้นแต่กรณีน้ามันดีเซลให้ถือเกณฑ์ 2%) ให้ผู้ส่งของออกชี้แจงแสดงเหตุผลต่อพนักงาน ศุลกากรผู้ตรวจปล่ อย เพื่อพิจารณาเสนอยุติเรื่อง แต่หากมีเหตุอันควรสงสัยพนักงานศุลกากรอาจส่งให้หน่วยงานคดีของ สำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากรจะพิจารณาความผิดต่อไป 6 . ในระหว่างการจ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ลงเรือที่จะส่งออกนอกราชอาณาจักร หากมาตรวัด ( Flow Meter ) หยุดทางานหรือไม่สามารถใช้การได้และมาตรวัดสารองก็ไม่สามารถใช้การได้เช่นกัน พนักงาน ศุลกากรจะคำนวณปริมาตรของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่จ่ายจากถังบนบกเป็นตัวเปรียบเทียบกับปริมาณที่เรือได้รับบรรทุก

แนบท้ายประกาศกรมศุลกากรที่ 37 / 256 5 ข้อ 2 3 (3) การตรวจปล่อยโดยใช้ปริมาณที่ตรวจวัดและคำนวณได้จากถังบนบกร่วมกับปริมาณที่อ่านได้จากมาตรวัด ( Flow Meter ) รับ - จ่ายผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ เป็น ปริมาณที่ ส่งออก ที่ แท้จริง 1. ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ที่ประสงค์ส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม จะต้องใช้ตารางคานวณ ปริมาตรความจุประจำถังสำหรับการส่งออก หรือโดยวิธีใช้มาตรวัด ( Flow Meter ) สำหรับการส่งออกอย่างใดอย่าง หนึ่งก่อน หากปรากฏข้อเท็จจริงไม่สามารถดาเนินการตามวิธีข้างต้นได้ ให้ร้องขอเพื่อพิจารณาอนุมัติ ใช้ปริมาณ ที่ตรวจวัดและคานวณได้จากถังบนบกร่วมกับปริมาณที่อ่านได้จากมาตรวัด ( Flow Meter ) รับ - จ่ายผลิตภัณฑ์ ภายในประเทศ เป็นปริมาณที่ส่งออก ที่ แท้จริง เป็นการเฉพาะรายเที่ยวเรือ 2 . เมื่อ ผู้ ส่งของออก ยื่นคาร้องขอใช้ปริมาณที่ตรวจวัดและคานวณได้จากถังบนบกร่วมกับปริมาณ ที่อ่านได้จากมาตรวัด ( Flow Meter ) รับ - จ่ายผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ เป็นปริมาณที่ส่งออก ที่ แท้จริง โดยระบุเหตุผล หรือความจาเป็น พนักงานศุลกากร จะ พิจารณา เสนอต่อผู้อานวยการสานักงานศุลกากรหรือนายด่านศุลกากร ที่กากับดูแล เพื่อพิจารณาอนุมัติเป็นการเฉพาะรายเที่ยวเรือ 3 . ก่อนอนุญาตให้ทำการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม บรรทุกลงเรือ พนักงานศุลกากร จะดำเนินการดังนี้ (1) ตรวจสอบระวางเรือที่จะทาการรับบรรทุกก่อนว่า มีผลิตภัณฑ์ชนิดใดบ้างและมีปริมาณ คงเหลือเท่าใด หรือเป็นระวางเปล่า โดยให้บันทึกรายละเอียดดังกล่าวไว้ในรายการคานวณแล ะบันทึกการตรวจวัด ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในเรือ ( Ullage Sheet ) ( 2 ) ตรวจวัดปริมาณในถัง ซึ่งถังและตารางคานวณปริมาตรความจุประจาถังต้องได้รับอนุมัติ จากกรมศุลกากร ( 3 ) ตรวจสอบหมายเลขประจำมาตรวัด หลักและ มาตรวัดสำรอง (ถ้ามี) จาก ช่องทางรับ ภายในประเทศ ที่ติดตั้งอยู่ ณ ท่อทางรับผลิตภัณฑ์ของถังที่จ่ายผลิตภัณฑ์บรรทุกลงเรือ แล้วตรวจสอบรายงานการ อ่านและคานวณ ปริมาณของมาตรวัดหลักและมาตรวัดสารอง โดยพนักงานประจาโรงกลั่น หรือคลังน้ามันหรือคลัง เก็บผลิตภัณฑ์หรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการควบคุมมาตรวัด จะ จัดทำรายงานการอ่านและ คานวณปริมาณ ของมาตรวัดจำนวน 2 ชุด และลงลายมือชื่อพร้อมวัน เดือน ปี ร่วมกับพนักงานศุลกากร ( 4 ) ตรวจสอบหมายเลขประจำมาตรวัดหลักและมาตรวัดสำรอง (ถ้ามี) เพื่อจ่ายออกไปยังช่องทาง ภายในประเทศ ที่ติดตั้งอยู่ ณ ท่อทางจ่ายผลิตภัณฑ์ของถังที่จ่ายผลิตภัณฑ์บรรทุกลงเรือ แล้วตรวจสอบรายงาน การอ่านและคานวณปริมาณของมาตรวัดหลักและมาตรวัดสารอง โดยพนักงานประจาโรงกลั่ นหรือคลังน้ามันหรือ คลังเก็บผลิตภัณฑ์หรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการควบคุมมาตรวัด จะ จัดทารายงานการอ่านและ คานวณ ปริมาณของ มาตรวัดจำนวน 2 ชุด และลงลายมือชื่อพร้อมวัน เดือน ปี ร่วมกับพนักงานศุลกากร ( 5 ) กรณีมีการรับเข้าหรือจ่ายผลิตภัณฑ์ออกจากถัง ผ่านมาตรวัดมากกว่าหนึ่งช่องทาง พนักงาน ศุลกากร จะ ดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ ( 3 ) หรือข้อ ( 4 ) แล้วแต่กรณี ( 6 ) รายงานการอ่านและคานวณปริมาณของมาตรวัด ตามข้อ (3 ) ( 4 ) และ (5 ) จะ จัดทาเป็น 2 ชุด โดยชุดหนึ่งให้โรงกลั่นหรือคลังน้ำมันหรือคลังเก็บผลิตภัณฑ์เก็บรักษาไว้ และอีกชุดหนึ่งให้พนักงานศุลกากร เก็บไว้เป็นหลักฐานในการตรวจปล่อยสินค้า เมื่อพนักงานศุลกากรได้ดาเนินการ ขั้ นตอนตามข้อ ( 1 ) ถึง ( 5 ) แล้ว จึง จะอนุญาต ให้ ทาการ สูบ ถ่ายผลิตภัณฑ์ บรรทุกลงเรือตามขั้นตอนทั้งรับและจ่ายในคราวเดียวกัน

4 . หลังเสร็จสิ้นการ สูบ ถ่ายผลิตภัณฑ์ลงเรือ หรือเมื่อได้ปริมาณและน้าหนักที่ต้องการส่งออก ครบถ้วนแล้ว พนักงานศุลกากร จะ ดำเนินการดังนี้ ( 1 ) ตรวจวัดผลิตภัณฑ์ในเรือที่รับบรรทุกพร้อมกับให้บันทึกไว้ในรายการคานวณและบันทึก การตรวจวัดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในเรือว่ารับผลิตภัณฑ์ชนิดใดบ้าง และมีปริมาณเท่าใดพร้อมทั้งให้ มัดลวด ประทับตรา กศก. ที่ท่อทางรับ - จ่ายในเรือ ( 2 ) ตรวจวัดปริมาณคงเหลือในถังบนบกอี กครั้งหนึ่ง และคานวณปริมาณของผลิตภัณฑ์ส่งออก ใน อุณหภูมิ 86 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 30 องศาเซลเซียส ที่ คานวณได้จากตารางคานวณปริมาตรความจุประจาถัง พนักงานศุลกากรจะทำการตรวจวัดพร้อมคานวณปริมาณผลิตภัณฑ์ที่นำเข้า ( 3 ) ตรวจสอบ รายงานการอ่านและคานวณปริมาณของ มาตรวัด หลักและ มาตรวัดสารอง (ถ้ามี) จาก ช่องทางรับ ภายในประเทศ ที่ติดตั้งอยู่ ณ ท่อทางรับผลิตภัณฑ์ของถังที่จ่ายผลิตภัณฑ์บรรทุกลงเรืออีกครั้ง โดยพนักงานประจาโรงกลั่น หรือคลังน้ามันหรือคลังเก็บผลิตภัณฑ์หรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการควบคุมมาตรวัด จะ จัดทำรายงานการอ่านและ คานวณปริมาณของมาตรวัดจำนวน 2 ชุด และลงลายมือชื่อพร้อมวัน เดือน ปี ร่วมกับพนักงานศุลกากร ( 4 ) ตรวจสอบ รายงานการอ่านและคานวณปริมาณของ มาตรวัดหลักและมาตรวัดสารอง (ถ้ามี) เพื่อ จ่ายออกไปยังช่องทางภายในประเทศ ที่ติดตั้งอยู่ ณ ท่อทางจ่ายผลิตภัณฑ์ของถังที่จ่ายผลิตภัณฑ์บรรทุกลงเรือ อีกครั้ง โดยพนักงานประจาโรงกลั่น หรือคลังน้ามันหรือคลังเก็บผลิตภัณฑ์หรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการควบคุม มาตรวัด จะ จัดทำรายงานการอ่านและคานวณปริมาณของมาตรวัดจำนวน 2 ชุด และลงลายมือชื่อพร้อมวัน เดือน ปี ร่ว มกับพนักงานศุลกากร (5) ตรวจสอบ รายงานการอ่านและคานวณปริมาณของ มาตรวัดหลักและมาตรวัดสารอง (ถ้ามี) อีกครั้งหนึ่ง กรณีมีการรับเข้าหรือจ่ายผลิตภัณฑ์ออกจากถัง ตามข้อ 4 (5) โดยพนักงานประจาโรงกลั่น หรือ คลังน้ำมันหรือคลังเก็บผลิตภัณฑ์หรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการควบคุม จะ จัดทารายงานการอ่านและคานวณ ปริมาณของมาตรวัดจานวน 2 ชุด และลงลายมือชื่อพร้อมวัน เดือน ปี ร่วมกับพนักงานศุลกากร ( 6 ) รายงานการอ่านและคานวณปริมาณของมาตรวัด ตามข้อ (3 ) ( 4 ) และ (5 ) จะ จัดทาเป็ น 2 ชุด โดยชุดหนึ่งให้โรงกลั่นหรือคลังน้ำมันหรือคลังเก็บผลิตภัณฑ์เก็บรักษาไว้ และอีกชุดหนึ่งให้พนักงานศุลกากร เก็บไว้เป็นหลักฐานในการตรวจปล่อยสินค้า 5 . พนักงานศุลกากร จะคำนวณปริมาณที่ส่งออก ที่ แท้จริง โดยใช้ ป ริมาณที่ตรวจวัดและคำนวณได้ จากถังบนบกร่วมกับปริมาณที่อ่านได้จากมาตรวัด ( Flow Meter ) โดยมีขั้นตอนการคำนวณปริมาณ ดังนี้ ( 1 ) นาปริมาณที่คานวณได้จากถังบนบกตามข้อ 3 ( 2 ) หักด้วยปริมาณที่คานวณได้จากถังบนบก ตามข้อ 4 ( 2 ) ( 2 ) นำปริมาณของผลิตภัณฑ์ ที่อ่านและคานวณโดยใช้มาตรวัดตามข้อ 4 ( 3 ) หักด้วยปริมาณของ ผลิตภัณฑ์ที่อ่านและคานวณโดยใช้มาตรวัดตามข้อ 3 ( 3 ) ( 3 ) นำปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่อ่านและคานวณโดยใช้มาตรวัดตามข้อ 4 ( 4 ) หักด้วยปริมาณของ ผลิตภัณฑ์ที่อ่านและคานวณโดยใช้มาตรวัดตามข้อ 3 ( 4 ) (4) นำ ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่อ่านและคานวณโดยใช้มาตรวัดตามข้อ 4 (5) หักด้วยปริมาณของ ผลิตภัณฑ์ที่อ่านและคานวณโดยใช้มาตรวัดตามข้อ 3 (5) ( 5 ) นาปริมาณตามข้อ ( 1 ) บวกด้วยปริมาณตามข้อ ( 2 ) และข้อ ( 4 ) กรณีมีการรับผลิตภัณฑ์เข้า ถังอีกช่องทางหนึ่ง ลบด้วยปริมาณตามข้อ ( 3 ) และข้อ ( 4 ) กรณีมีการจ่ายผลิตภัณฑ์ออกจากถังอีกช่องทางหนึ่ง

การคานวณปริมาณ พนักงานศุลกากรจะใช้ตามวิธีการหาปริมาณสาหรับผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท โดย ใช้วิธีคำนวณ ระบบ API หรือระบบ Density ตามมาตรฐาน API / ASTM - IP ( The American Petroleum Institute, The American S ociety For Testing And Materials, And The Institute Of Petroleum ) หรือตาม มาตรฐาน JIS ( Japanese Industrial Standard ) หรือมาตรฐานอื่นที่สากลรับรองโดยได้รับอนุมัติจากกรมศุลกากร 6 . พนักงานศุลกากรจะจัดทำรายการคำนวณปริมาณผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ ส่งออก แท้จริงในแบบ ที่ 483 ( Outturn ) พร้อมบันทึกการตรวจปล่อยในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร โดยใช้ปริมาณที่ ตรวจวัดและ คานวณได้จากถังบนบกร่วมกับปริมาณที่อ่านได้จากมาตรวัด ( Flow Meter ) โดยคานวณปริมาตรที่อุณหภูมิ 86 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 30 องศาเซลเซียส และน้ำหนักเมตริกตันในอากาศ ( IN AIR ) หรือในสุญญากาศ ( IN VAC ) หาก ปริมาณของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ตรวจวัดและคานวณได้จากถังบนบกร่วมกับปริมาณที่อ่าน ได้จากมาตรวัด ( Flow Meter ) เปรียบเทียบกับปริมาณของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ที่ได้สูบถ่ายลงเรือที่รับบรรทุก โดย คานวณปริมาตร ที่ อุณหภูมิ 86 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 30 องศาเซลเซียส และน้าหนักเมตริกตันในอากาศ ( IN AIR ) หรือในสุญญากาศ ( IN VAC ) หากมีปริมาณคลาดเคลื่อนเกินกว่า 5 % (เว้นแต่กรณีน้ามันดีเซลให้ถือเกณฑ์ 2 % ) ให้ผู้ส่งของออกชี้แจงแสดงเหตุผลต่อพนักงานศุลกากร เพื่อพิจารณายุติเรื่อง แต่หากมีเหตุอันควรสงสัย กรม ศุลกากรอาจ พิจารณาความผิดต่อไป

แนบท้ายประกาศกรมศุลกากรที่ 37 / 256 5 ข้อ 2 3 (4) การตรวจปล่อยโดยใช้ปริมาณที่ตรวจวัดและคำนวณได้ ในเรือ เป็น ปริมาณที่ ส่งออก ที่ แท้จริง 1. ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ประสงค์ส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม จะต้องใช้ตารางคานวณ ปริมาตรความจุประจาถังสาหรับการส่งออก หรือโดยวิธีใช้มาตรวัด ( Flow Meter ) สาหรับการส่งออก หรือโดยใช้ ปริมาณที่ตรวจวัดและคานวณได้จากถังบนบกร่วมกับปริมาณที่อ่านได้จากมาตรวัด ( Flo w Meter ) เป็นปริมาณ ที่ส่งออก ที่ แท้จริงอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน หากปรากฏข้อเท็จจริงไม่สามารถดาเนินการตามวิธีข้างต้นได้ ให้ร้องขอ เพื่อพิจารณาอนุมัติ ใช้ ปริมาณที่ตรวจวัดและคานวณได้ในเรือ เป็นปริมาณที่ส่งออก ที่ แท้จริง เป็นการเฉพาะราย เที่ยวเรือ 2. ถังที่ใช้เป็นภาชนะรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม มาตรวัด ( Flow Meter ) ( ถ้ามี ) และเครื่องวัดระดับ และเครื่องวัดอุณหภูมิชนิดอัตโนมัติที่ติดตั้งประจำถัง จะต้องได้รับการอนุมัติใช้ ตรวจสอบและรับรองตารางคำนวณ ปริมาตรความจุประจำถังจากกรมศุลกากร และมีการตรวจสอบ หรือทดสอบประ สิทธิภาพเมื่อครบกำหนด 3. ให้ผู้ส่งของออกยื่นคาร้องขอใช้ปริมาณที่ตรวจวัดและคานวณได้ในเรือเป็นปริมาณที่ส่งออก ที่แท้จริง พนักงานศุลกากรจะเสนอต่อผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรหรือนายด่านศุลกากรที่กำกับดูแล เพื่อพิจารณาอนุมัติเป็นกาฉพาะรายเที่ยวเรือ โดยต้องมีข้ อมูล เอกสาร ประกอบการพิจารณา ดังนี้ (1) เหตุผลความจาเป็นในการขอใช้ปริมาณที่ตรวจวัดและคานวณได้ในเรือ เป็นปริมาณที่ส่งออก ที่แท้จริง พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบ (2) ข้อมูลเปรียบเทียบปริมาณผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมระหว่างเรือที่บรรทุกผลิตภัณฑ์ส่งออก โดยใช้ ปริมาณที่ตรวจวัดและคานวณได้ในเรือหลังการสูบถ่าย เปรียบเทียบกับถังบนบกที่ได้รับอนุมัติจากกรมศุลกากร ย้อนหลังอย่างน้อย 5 เที่ยวเรือ โดยจะต้องมีปริมาณความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5% ( เว้นแต่กรณีน้ามันดีเซลให้ถือ เกณฑ์ 2%) (3) ผู้ส่งของออกต้องสละสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรในด้านการขอคืนภาษีอากร หรือการชดเชยอากร 4 . ก่อนอนุญาตให้ทาการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม จากถังบนบกบรรทุกลงเรือ พนักงาน ศุลกากรจะ ตรวจสอบระวางเรือที่จะทาการรับบรรทุกก่อนว่า มีผลิตภัณฑ์ชนิดใดบ้าง และมีปริมาณคงเหลือเท่ำใด หรือเป็นระวางเปล่า โดยให้บันทึกการตรวจสอบไว้ในรายการคานวณ และบันทึกการตรวจวัดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ในเรือ ( Ullage Sheet ) 5. เมื่อสูบถ่ายเสร็จสิ้นแล้ว พนักงานศุลกากรจะทาการ ตรวจวัดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในเรือที่รับ บรรทุก อีกครั้งหนึ่งและคานวณปริมาณที่ส่งออก ที่ แท้จริง พร้อมกับบันทึกไว้ในรายการคานวณ และบันทึกการ ตรวจวัดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในเรือ ( Ullage Sheet ) 6. พนักงานศุลกากร จะ จัดทารายการคานวณปริมาณผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ ส่งออกที่ แท้จริง ให้ เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันตรวจปล่อย และ บันทึก ผล การตรวจปล่อยในระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร โดยใช้ ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่ สูบถ่ายลงเรือที่รับบรรทุกโดยคานวณปริมาตร ที่ อุณหภูมิ 86 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 30 องศาเซลเซียส และน้ำหนักเมตริกตันในอากาศ ( IN AIR ) หรือในสุญญากาศ ( IN VAC )