ประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป. 6/2566 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติม คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และเงื่อนไข สำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว เป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน โดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป. 6/2566 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติม คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และเงื่อนไข สำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว เป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน โดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป. 6/2566 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติม คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และเงื่อนไข สาหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว เป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน โดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย อนุสนธิประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป. 2/2565 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2565 เรื่อง คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และเงื่อนไข สาหรับการตรวจลงตราประเภท คนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน โดยการดึงดูดชาวต่างชาติ ที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย อาศัยอำนาจตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 สานักงานคณะกรร มการส่งเสริมการลงทุน จึงออกประกาศยกเลิกความในข้อ 2.4.1 ของประกาศสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป. 2/2565 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2565 เรื่อง คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และเงื่อนไข สาหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและ การลงทุน โดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ 2.4.1 ต้องแสดงสัญญาจ้างหรือสัญญาบริการกับกิจการในประเทศ หรือกับกิจการ ในต่างประเทศ โดยได้รับมอบหมายให้เข้ามาทางานในประเทศไทย หรือแสดงหลั กฐานการทางาน ให้กับสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัย หรือสถาบันฝึกอบรมเฉพาะทาง หรือหน่วยงานภาครัฐ ในประเทศ ทั้งนี้ จะต้องเป็นการทำงานในกิจการที่อยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังต่อไปนี้ 1) อุตสาหกรรมยานยนต์ 2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระดับคุณภาพ 4) อุตสาหกรรมการเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ 5) อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ 6) อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ 7) อุตสาหกรรมการบิน อากาศยาน และอวกาศ 8) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ 9) อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 10) อุตสาหกรรมดิจิทัล 11) อุตสาหกรรมการแพทย์ 12) อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 87 ง ราชกิจจานุเบกษา 12 เมษายน 2566
- อุตสาหกรรมที่สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน ( Circular Economy ) โดยตรงและ มีนัยสำคัญ เช่น การผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เป็นต้น 14) ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ( International Business Center - IBC ) 15) อุตสาหกรรมอื่น ๆ โดยชาวต่างชาติซึ่งขอรับการรับรองคุณสมบัติฯ ต้องทำงาน โดยใช้ทักษะเชี่ยวชาญพิเศษในด้านใดด้านหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) การวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรมเป้าหมายหรือเทคโนโลยีเป้าหมาย เช่น Biotechnology, Nanotechnology, Advanced Material Technology, Digital Technology (2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับอาชีวศึกษาหรือ อุดมศึกษา (3) การประยุกต์ใช้เ ทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ในการ ประกอบธุรกิจ (4) การวางแผนและพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่อยกระดับการผลิตและการบริการของธุรกิจ (5) การให้บริการหรือให้คำปรึกษาด้านการเงินหรือการตลาด (6) การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน (7) การบริหารจั ดการหรือให้คาปรึกษาในโครงการบ่มเพาะ ( Incubation Program ) โครงการเร่งการเติบโต ( Acceleration Program ) และการสนับสนุนนวัตกรรมและ Startup Ecosystem (8) การบริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก (9) การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน โดยหอการค้า ต่างประเทศ และองค์กรส่งเสริมการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ ” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 256 6 นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 87 ง ราชกิจจานุเบกษา 12 เมษายน 2566