ประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565
ประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565
ประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 ตามที่มาตรา 25 (1) มาตรา 46 และมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 บัญญัติให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติมีหน้าที่จัดทาธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกาหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการดาเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ และให้มีการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติอย่างน้อยทุกห้าปี เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยให้ผูกพันหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดาเนินการ ต่อไป ตามอานาจหน้าที่ของตน และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้รายงานต่อสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเพื่อทราบและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประกาศธรรมนูญว่าด้วย ระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และประกาศธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559 ไปแล้ว นั้น บัดนี้ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้พิจารณาทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559 และได้จัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 และวันที่ 24 มกราคม 2566 เห็นชอบธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 และเอกสารปร ะกอบ ซึ่งเป็นสาระสาคัญรายหมวดตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอ และได้รายงานต่อวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรทราบแล้ว เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 และวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 ตามลำดับ อาศั ยอำนาจ ตามความในมาตรา 46 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 คณะกรรมการ สุขภาพแห่งชาติจึงขอประกาศธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 ตามท้ายประกาศนี้เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป ประกาศ ณ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 256 6 อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 84 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 เมษายน 2566
หน้า 1 / 1 0 5 ส่วนที่ 1 สถานการณ์และ ปัจจัย ที่มีผลต่อระบบสุขภาพ ในระยะ 5 ปี ปัจจุบันสังคมโลกถูกคุกคามโดยการแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรค โควิด – 19 ซึ่งส่งผล ต่อ การเปลี่ยนแปลงอย่าง มีนัย สําคัญ ของ บริบททางสังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม รวมถึงระบบ สุขภาพ ของแต่ละประเทศ สถานการณ์ดังกล่าวทําให้ปัญหาความเหลื่อมล้ําหรือไม่เป็นธรรมด้านสุขภาพ เด่นชัดมากขึ้น แสดง ให้เห็น ถึงความอ่อนแอ ความ เสื่อมถอยใน เชิงระบบที่ไม่สามารถตอบสนองต่อ ภัยคุกคำม และความจําเป็น เร่งด่วน ที่เกิด ขึ้น โดย พื้นที่ชุมชนเมือง มีแนวโน้มของ ปัญหา ที่รุนแรง และซับซ้อน กว่าพื้นที่ชนบท ดังนั้น การ สร้าง ความแข็งแกร่งของระบบสุขภาพไทยในระยะ 5 ปี ต่อจากนี้ จําเป็นต้องคํานึงถึง ปัจจัย ที่ มีผลกระทบต่อ ระบบสุขภาพของไทย เพื่อออกแบบกลไกให้สนับสนุนการ ฟื้นคืน ตอบสนอง และก้าวเดิน ไปข้างหน้าอย่างมั่นคง มุ่งไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์ คือ “ ระบบสุขภาพที่ เป็นธรรม” 1 . การเปลี่ยนแปลง โครงสร้างประชากร และความแตกต่างระหว่างวัย ปี พ.ศ. 2563 1 เป็นครั้งแรก นั บตั้ง แต่ปี พ.ศ. 25 00 ที่ จํานวนเด็ก เกิดใหม่ในประเทศ ไทยลดต่ํากว่า 600,000 คน ต่อปี และ ยัง มีแนวโน้ม ที่ จะลดต่ําลง อีก อย่างต่อเนื่อง นอกจาก นี้ ยังประสบปัญหา ความผิดปกติ เมื่อแรกเกิด สัดส่วน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่ ลดต่ําลง พบ ปัญ หำในการเลี้ยงดู เพิ่มขึ้น เช่น พ่อแม่ไม่ได้เลี้ยงดู กําพร้าพ่อแม่ หรือต้องอยู่ในการดูแลของปู่ย่าตายายหรือญาติ ซึ่งส่งผลต่อ คุณภาพการเจริญเติบโต สะท้อนจาก ผลสํารวจระดับสติปัญญาเด็กไทย ในปี พ.ศ. 2561 ของกรมสุขภาพจิต ที่ เด็กไทยวัยเรียน ใน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 มีระดับสติปัญญาเฉลี่ยเท่ากับ 94.73 โดยลดต่ําลงเกือบ 3 จุด เมื่อเทียบกับการสํารวจในปี พ.ศ. 2559 2 ส่วน สถานการณ์เด็กปฐมวัย นั้นกลุ่มเด็ก อายุ 0 - 5 เดือน มีภาวะโภชนาการต่ํากว่าช่วงวัยอื่น ๆ กลุ่ม เด็กอายุ 1 - 2 ปี มีภาวะ เตี้ยแคระแกร็น ร้อยละ 33.7 และเด็กอายุ 2 - 3 ปี มีน้ําหนักเกินร้อยละ 11.4 3 โดย ในรอบ 15 ปี ที่ผ่านมา โดย เด็กปฐมวัย อายุตั้งแต่ 0 - 5 ปี ประมาณร้อยละ 30 หรือ 1 ใน 3 มีพัฒนาการล่าช้า ซึ่ง นับ ว่า เป็น จํานวนที่ สูงมาก 4 ปัจจัยและสถานการณ์ดังกล่าวเหล่านี้ ย่อม ส่งผลต่อคุณภาพการ เจริญ เติบโต ของเด็ก 1 https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statPMOC/#/detialContractRegion . 2 https://www.dmh.go.th/news/view.as p?id=2273 . 3 https://nich.anamai.moph.go.th/web - upload/9x45fd5e87a10707bad447547633b2d76d/202105/m_news/9269/204370/file_download/7ef60f476b0 a27affd19ba980aff5ef0.pdf . 4 สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562 อ้างถึงใน https://www.thairath.co .th/lifestyle/life/1502311 . ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565
หน้า 2 / 1 0 5 ทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งสติปัญญา เกิดปัญหาการเรียนรู้ ขาดโอกาสทางการศึกษา ทั้งยังมีผลต่อ การ พัฒนา ทางด้าน จิตใจ ก่อให้เกิดปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรม และอาจจะเกิดผลกระทบทางสังคมตามมาอีก เช่น ปัญหายาเสพติด การติดเกมและพนันออนไลน์ กา รตั้งครรภ์ไม่พร้อม ขณะเดียวกันประเทศไทยได้เข้าสู่ การ เป็น สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว ปี พ.ศ.2563 5 มี ประชากรผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) จํานวน 12 ล้านคน คิดเป็น สัดส่วน ร้อยละ 18 ของประชากรทั้งหมด และปี พ.ศ. 2565 มีจํานวนผู้สูงอายุ 12,249,848 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.52 ประชากรทั้งประเทศ จํานวน 66,147,354 คน 6 และจะเพิ่มเป็น 20.42 ล้านคน หรือร้อยละ 31.28 ในปี พ.ศ. 2583 7 ประมาณ ได้ ว่า อีก 15 ปีข้างหน้า อายุคาดเฉลี่ย ของคนไทย จะยืนยาวขึ้นถึง 79 ปี และมีแนวโน้มที่จะอยู่ลําพังมากขึ้นหรืออยู่เพียง 2 คนกับคู่สมรส เพิ่มสูงขึ้น ใน ขณะที่ประชากรวัยแรงงาน (15 - 59 ปี) มีแนวโน้มลดลง อย่างต่อเนื่อง จาก 43.26 ล้านคน หรือ ร้อยละ 65 ในปี พ.ศ. 2563 เป็น 36.5 ล้านคน และคาดว่าจะเป็น ร้อยละ 56 ในปี พ.ศ. 2583 8 จาก ข้อมูล จํานวน เด็กเกิดน้อย คุณภาพของเด็กและเยาวชนลดน้อยลง จํานวน ประชากรวัยแรงงาน ก็ ลดลง แต่ มี ผู้สูงอายุจํานวนมาก ขึ้น ประกอบ กับการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์แบบโลกไร้พรมแดนที่ทําให้เกิด การเข้าถึง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลเชิงสังคม วัฒนธรรมและระบบคิดที่แตกต่างหลากหลาย และรวดเร็ว ส่งผล หลายประการ ตั้งแต่ สภาพเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงโครงสร้างของครอบครัว วิถีชีวิต และความสัมพันธ์ ระหว่าง สมาชิกในครอบครัว ทําให้ คนในแต่ละวัย มีทัศนคติ อุปนิสัยและการให้คุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน เช่น คนรุ่นใหม่ใน สังคมไทยมีความ คิด เฉพาะตัวหรือความเป็นปัจเจกชน ( individuali ty ) สูง มาก ขึ้น ขณะที่ คนรุ่น เก่า ยังยึดติดกับ วิธีคิดแบบที่คุ้นเคย และ ขนบประเพณีในอดีตที่เคยทําให้สังคมไทยมีความสงบสุขเรียบร้อย ก่อให้เกิดปัญหา ช่องว่างและ ความแตกต่างระหว่างวัยในหลายมิติ ทั้งในด้าน ความคิด มุมมองต่อสังคม วัฒนธรรม การใช้ชีวิต อาชีพการทํางาน ความคิดเห็นทางการเมืองการปกครอง รวมไปถึงกำรแสดงออก และวิถีชีวิต หาก ไม่สามารถ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย การเคารพ ความแตกต่างของ กันและกัน การรับฟัง และ หาจุดสมดุล ของการอยู่ร่วมกันในสังคมของคนต่างวัย อย่างสร้างสรรค์ จะยิ่งทําให้สังคมไทยเกิดความ ไม่เข้าใจ ขาดความ เห็นอกเห็นใจของคนระหว่างกลุ่มวัย และคนในวัยเดียวกันที่มีความแตกต่างกัน จนนําไปสู่ปัญหา ความขัดแย้ง ความ แตกแยก และ ความรุนแรงในสังคม ตามมาได้ 5 https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statPMOC/#/detialContractRegion . 6 กรมการปกครอง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 . 7 สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , 256 4 , เอกสารประกอบการระดมความเห็น กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 13. 8 สมัชชาผู้สูงอายุระดับชาติปี 2564 : สังคมสูงวัยคนไทยอายุยืน.
หน้า 3 / 1 0 5 2 . การเปลี่ยน แปลง ทางระบาดวิทยา ของโรคและปัญหาสุขภาพ แนวโน้มการเปลี่ยน แปลง ทางระบาดวิทยา รวมทั้งผลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ทําให้ ปัญหาโรคไม่ติดต่อ ( Non - Communicable Diseases : NCDs ) เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ที่ มีแนวโน้ม เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 9 ในขณะที่โรคติด ต่อ เช่น โรคเอดส์ มาลาเรีย โรคไวรัสตับอักเสบ มีแนวโน้มลดลง ซึ่งโรคไม่ติดต่อเป็นโรค ที่ต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อ การมีสุขภาพดี อย่างไรก็ตาม การระบาด ใหญ่ ของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโร นา 2019 สะท้อนให้เห็นถึงความ เป็นไปได้ ของการเกิด โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ํา ซึ่งอาจ เกิดขึ้นเป็นช่วง ๆ และ มัก ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ล่วงหน้า อีกทั้ง ปัญหาโรคระบาด มัก เป็นปัญหาข้ามพรมแดน เนื่องจาก มีการเคลื่อนย้ายของประชากรทั้งในประเทศและ ข้าม ประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ ส่งผลกระทบและทําให้เกิดความอ่อนไหวต่อระบบสุขภาพ และ ต้องการ ความร่วมมือในการจัดการระหว่างประเทศด้วย แต่ ยังเป็นข้อจํากัดสําคัญ ทําให้ ระบบบริการสาธารณสุข เผชิญความท้าทาย กับการรับมือปัญหาของโรคและความเจ็บป่วยที่ต้องการ การ ออกแบบระบบสุขภาพที่แตกต่าง กัน ผู้กําหนดนโยบายไม่สามารถ ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมด ในการออกแบบระบบสุขภาพเพื่อ การควบคุม ป้องกันและ รักษา โรคชนิดใดชนิดหนึ่งได้ ส่ง ผลให้ ผู้ป่ วย บางกลุ่ม ถูกละเลย โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง กลุ่มคนที่อยู่ในสภาวะเปราะบาง นํามาซึ่งปัญหาการ เข้าถึงระบบบริ การสาธารณสุข ที่ไม่ เป็นธรรม อีกทั้งสังคมยังต้องทบทวนถึงระบบการเตรียมการ รองรับผลกระทบที่เกิดตามมาอย่างกว้างขวางทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ที่ส่งผลให้เกิดภาวะยากลําบาก และเกิด กลุ่มคนที่อยู่ในสภาวะเปราะบาง กลุ่มใหม่ ๆ ในหลายมิติด้วย 3 . การเปลี่ยนแปลงสู่ ความเป็นเมือง สังคมไทยในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมืองกระจายไป ใน พื้นที่ ส่วนใหญ่ ของประเทศ ทั้งใน ระดับจังหวัดและอําเภอ มีเมืองขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นมาก ทั้งเมืองหลวงและเมือง หลักในภูมิภาค แม้ว่า การขยายตัว ของความเป็นเมืองจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมในหลายมิติ ทั้งความสะดวกรวดเร็ว ด้านการ คมนาคมขนส่ง การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการสาธารณะ และการเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจ 10 แต่ การ ขยายตัว ของ ความเป็นเมืองและการพัฒนาเชิงพื้นที่ของไทย ยังมีลักษณ ะของการกระจุกตัวสูง หรือมีการรวมศูนย์ ความเจริญ อีกทั้ ง เมืองที่ มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้สร้างผลกระทบโดยตรงต่อการ เข้าถึงและ ใช้ ทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่ง ทําให้เกิดปัญหามลภาวะ ปัญหาสังคม ปัญหา แรงงานข้ามชาติ ปัญหา การขาดและ การกระจายรายได้ ที่นําไปสู่ปัญหา ด้าน รายได้และค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 9 รายงานสรุปผลการดําเนินงานตาม แผนการปฏิรูปประเทศ ประจําปี 2563 ด้านสาธารณสุข . 10 สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , 2564, เอกสารประกอบการระดมความเห็นกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 13.
หน้า 4 / 1 0 5 เกิดภาวะล่มสลายของเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งหากมีความขัดแย้งที่รุนแรง อาจจะนําไปสู่ความแตกแยก ใน สังคม ตามมา รวมไปถึง ปัญหา ด้านสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพ จิต และคุณภาพชีวิตของประชาชน ด้วย เห็นได้จาก สถานการณ์การระบาด ใหญ่ ของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่พบว่าประชาชนที่อาศัยใน พื้นที่ ชุมชน เมือง โดยเฉพาะ กลุ่มคนที่อยู่ในสภาวะเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ คนจนเมือง คนพิการ คนไร้บ้าน ได้รับผลกระทบ มากกว่าประชาชนในชนบท ทั้ง การขาดรายได้ ขาด ความมั่นคงทาง อาหาร ข้อจํากัดด้าน ที่ พัก อาศัย เมื่อมีสมาชิก ในครอบครัวติดเชื้อ การ ไม่สามารถ เข้าถึง บริ การรักษาพยาบาล และ การช่วยเหลือเยียวยา อย่างทันเวลาและ เพียงพอ ในขณะที่คนรวยหรือกลุ่มคนที่มีเศรษฐ ฐำนะ ดีใน ชุมชน เมือง สามารถและมีทางเลือกในการจัดการกับ ปัญหาเหล่านี้ได้ ดีกว่ามาก โดย เมือง เป็นพื้นที่ ที่ ผู้คนหลากหลาย เข้า มาอาศัยอยู่และใช้พื้นที่ร่วมกัน ซึ่ง นอกจากความท้าทาย เรื่องความเป็นธรรมของการ เข้าถึง ทรัพยากรที่ มี จํากัด แล้ว การพัฒนาเมืองที่ขาดการวางแผนที่ดี ยังเป็นปัจจัย สําคัญที่ทําให้เกิด ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ด้านอื่น ๆ ได้แก่ 11 1) การเพิ่มขึ้นของอุบัติการณ์ โรคติดต่อและ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2) ระบบบริการสุขภาพ ใน ชุมชน เมือง ที่ไม่ตอบสนองกับความต้องการที่หลากหลายและบริบท ของสังคมที่ซับซ้อนของวิถีชีวิตคนใน ชุมชน เมือง 3) ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ขยะ และมลพิษ และ 4) การขาด การมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่ ดังนั้น ใน การพัฒนา ความเป็นเมือง จําเป็นต้อง ผนวกประเ ด็นของ ระบบ สุขภา พชุมชน/ ชุมชน เมือง ( u rban h ealth) เข้าไปด้วย เช่น การเป็นเมืองน่าอยู่ที่คงรักษา อัตลักษณ์ของพื้นที่ไว้ การมีพื้นที่สาธารณะรองรับวิถีชีวิตของคนทุกกลุ่ม ซึ่ง ความท้าทายหลักของการเปลี่ยนแปลง สู่ความเป็นเมือง คือ การตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของประชาชนทุกกลุ่ม การ ออกแบบระบบสุขภาพ ให้สามารถใช้ประโยชน์จากโอกาส ของ ความเป็นเมือง เช่น การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี การ กระ จุกตัวของ ทรัพยากรด้านต่าง ๆ จําเป็นต้องอาศัยการมีส่ว นร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วนในพื้นที่ รวมทั้งหน่วยงาน องค์กรทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ 4 . ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว เป็น ปัจจัย สําคัญหนึ่ง ที่อาจจะมี ผลกระทบ ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ต่อ ความเป็นธรรมใน ระบบสุขภาพไทย เนื่องจาก ความก้าวหน้า อย่าง รวดเร็ว สามารถ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่าง พลิกผัน ( t echnology d isruption ) ต่อชีวิตผู้คนและสังคมในทุก มิติ รวมถึงระบบสุขภาพ การนําเทคโนโลยี สารสนเทศ มาใช้ประโยชน์ใน การจัดเก็บและ วิเคราะห์ข้อมูล ใน ระบบสุขภาพ ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสําคัญหลายอย่าง ทั้งการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงาน การจ่ายค่าตอบแทน 11 ร่าง สาระหมวดระบบสุขภาพชุมชนเมือง ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3, 2565.
หน้า 5 / 1 0 5 ทางการแพทย์ การตรวจสอบคุณภาพบริการ การบริหารจัดกา รเพื่อ การควบคุมโรค ไปจนถึงการให้บริการ การแพทย์ทาง ไกล ( t ele m edicine) และการพัฒนา เทคโนโลยีทางการรักษาพยาบาลที่เฉพาะเจาะจง ระดับบุ ค คล อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และการไหล่บ่าหรือภาวการณ์ แพร่ระบาดของข้อมูลข่าวสาร ในปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งข้อมูลที่ผิด ( m isinformation) และข้อมูลที่บิดเบือนจากความจริง ( d isinformation) ส่งผลให้ข้อมูลด้านสุขภาพมีรูปแบบที่หลากหลาย และมีระดับความน่าเชื่อถือที่แตกต่างกัน ตามความรู้ ความเชื่อ ทัศนคติ และประสบการณ์ของผู้คนในสังคม อีกทั้งยังเป็น การสื่อสารที่ ทุกคนสามารถ ผลิต หรือถ่ายทอด เผยแพร่ และส่งต่อข้อมูลได้สะดวก ง่ายดาย และรวดเร็วเช่นนี้ เปิดโอกาสให้เกิดข่าวลวง ข่าวปลอม และข่าวบิดเบือนในสื่อต่าง ๆ เป็นจํานวนมาก 12 เกิดการระรานทางไซเบอร์ ( cyber bully ing ) 13 การล่วงละเมิด ทางเพศออนไลน์ รวมไปถึงการเข้าถึงเนื้อหาที่ รุนแรงและ ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะในกลุ่มวัยเด็กและเยาวชน ที่กําลังประสบปัญหา ความบกพร่องทางสุขภาพหรือโรคอุบัติใหม่จากเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น โรคติดการพนัน ออนไลน์ และโรคติดเกม ที่ ส่งให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสุขภำพ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ปั ญญา ทั้งในระดับปัจเจก บุคคล ครอบครัว ชุมชนและระดับสังคมโดยรวม ในขณะเดียวกัน หาก หน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ยังไม่มีแผนการสื่อสารอย่างเป็นระบบที่สามารถ สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ( health literacy) ได้อย่างทั่วถึง และข้อมูลด้านสุขภาพที่สื่อสารกันในสังคม ที่ ยังไม่ สอดคล้องกับความต้องการ และบริบทของกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย จึงก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ํา การขาด โอกาส และก่ อ ให้เกิด ปัญหาสุขภาพตามมาในระยะยาว ได้ นอกจากความรู้ด้านสุขภาพโดยตรงแล้ว สังคมยัง ต้องมี ข้อมูลที่สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ และสิทธิด้านสุขภาพของตนเอง การตระหนักถึง ความสําคัญของการมีส่วนร่วมกําหนดนโยบายด้านสุขภาพในชุมชนของตนเอง ตลอดจน ระบบการจั ดการ ข้อมูล ด้านสุขภาพที่ครบถ้วน ถูกต้อง มีความเชื่อมโยง และบูรณาการระหว่างหน่วยงานทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ ช่องทางในการเข้าถึงข้อมูล และพื้นที่การสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่เหมาะกับประชาชนทุกกลุ่ม 14 การนํา เทคโนโลยี มาใช้งานสร้างระบบสุขภาพที่เป็นธรรมนั้น ต้องมีความพร้อม ศักยภาพ และ ต้นทุน ทั้ง เรื่องเวลาหรือค่าใช้จ่าย ขีดความสามารถในการเรียนรู้เพื่อใช้งาน สําหรับ กลุ่มคน ที่อยู่ในสภาวะ เปราะบางหรือ ที่มีความจํา กัด ด้านสุขภาพ เช่น คนที่อ่านหนังสือไม่ออกหรือไม่มีทักษะใ นการใช้เทคโนโลยี คนที่มี ความพิการ ในการมองเห็น คนเหล่านี้ ไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หรือมีข้อจํากัด ในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ดีกว่าเพื่อการตรวจสอบ ส่งผลให้ เกิด ความ ไม่ เท่าเทียม ด้านโอกาส และ ความเป็น ธรรม ในสังคม รวมถึง ประเด็นท้าทายจากการไหลบ่าของข้อมูลข่าวสารด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและแพร่กระจายได้ 12 ร่าง สาระหมวด การสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3, 2565. 13 ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับราชบัณฑิตยสภา , 2562. 14 ร่าง สาระหมวด การสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3, 2565.
หน้า 6 / 1 0 5 อย่างรวดเร็วนี้ หา ก ประชาชนที่มีความจํากัดด้านการคิดวิเคราะห์ ขาดทักษะการจัดการความ เท่าทันและ ความ รอบรู้ ทั้ง ด้าน ดิจิทัลและ สุขภาพ ( d igital & h ealth l iteracy ) หรือ มี ข้อจํากัดในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ดีกว่า เพื่อการตรวจสอบ ย่อม เกิดผล เสีย ต่อ ตนเองและสุขภาพ ได้ ซึ่งยิ่งทําให้สังคมเกิดความเหลื่อมล้ํามากยิ่งขึ้น 5 . การเปลี่ยนแปลง ของ สิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน การ เพิ่ มขึ้ นของประชากรโลก การพัฒนาทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและความเป็นเมืองส่งผลต่อ การ เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน ซึ่ง มีแนวโน้มจะ เกิดการเปลี่ยนแปล ง รวดเร็วและ รุนแรงขึ้น กว่า ที่คาดการณ์ไว้เดิม โดยในปี พ.ศ. 2550 มีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้น 1.5 ถึง 5.1 องศาเซลเซียส ภายในปี พ.ศ. 2643 เมื่อเทียบกับระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรม แต่ มี การคาดการณ์ ว่า ปี พ.ศ. 2561 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอาจเพิ่มถึง 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี พ.ศ. 2573 - 2595 15 ซึ่ง เร็วขึ้น มาก และ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดคลื่นความร้อนในพื้นที่ส่วนใหญ่ที่มนุษย์ ตั้งถิ่นฐานอยู่ และในบางพื้นที่จะมีโอกาสที่ภัยแล้งและภาวะฝนทิ้งช่วงจะเกิดขึ้นถี่ ในขณะที่ ความร้อน ที่เพิ่มขึ้น ทําให้น้ําระเหยขึ้นใปในบรรยากาศมากขึ้ น ส่งผลให้ หลายภูมิภาค อาจเผชิญกับความถี่ของการเกิดพายุ ฝนหรือ อุทกภัย ที่บ่อยและรุนแรงขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลง ทรัพยากรธรรมชาติและ ภูมิประเทศของพื้นที่ต่าง ๆ รวมถึง เกิด การ เปลี่ยนแปลงต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และการ สูญหายไปของทรัพยากรประจําถิ่นบางอย่าง เช่น พืชประจําถิ่น สัตว์ประจําถิ่น ชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่ง ประเทศไทย นับเป็นพื้นที่ที่ คาดว่า จะได้รับผลกระทบจากภาวะ โลกร้อน มากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก 16 การเปลี่ยนแปลง ดังกล่าว ข้างต้น นอกจากส่งผลให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างรุนแรงและเกิดความ สูญเสียที่ ขยายตัวมากขึ้ นแล้ว ยัง ส่ง ผลกระทบ ต่อความเหลื่ อมล้ํา ของคนในสังคมอย่างหลีกเลี่ ยงไม่ได้ คนจน จะมีจํานวนมากขึ้นและจะจนลงไปอีก ขณะที่ ระบบ สุขภาพ ก็จะมีความเสี่ยงและได้รับผลกระทบมากขึ้น ทั้งจากการกลายพันธุ์ของเชื้อโรค พาหะนําโรค การแพร่กระจายของโรคตามฤดูกาลที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ํา โรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากมลภาวะสิ่งแวดล้อม ปัญหา ฝุ่นละอองขนาดเ ล็ก ( PM2.5 ) ที่อาจกลายเป็นวิกฤติสําคัญของประเทศและสังคมโลกได้อีก และยังก่อให้เกิด ผลกระทบทางสุขภาพต่อ กลุ่มคนที่อยู่ในสภาวะเปราะบาง กลุ่มคนที่ มี ความจํา กัด ด้านสุขภาพ และคนด้อยโอกาส ในสังคม ที่อาจจะเข้าไม่ถึงความรู้ โอกาส อํานาจ ทรัพยากรและสิทธิด้านสุขภาพอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ 15 https://www.ipcc.ch/r eport/sr 15/ summary - for - policymakers/ . 16 สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , 2564, เอกสารประกอบการระดมความเห็นกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 13.
หน้า 7 / 1 0 5 ระบบสุขภาพยังต้องรับมือกับปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับความยากจน เช่น โรค ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม ที่ขาดสุขลักษณะ ทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติด ต่อ ด้วย 6 . การขาดแคลนทรัพยากร และงบประมาณ ปัจจุบัน ประเทศไทยมีภาระหนี้สาธารณะสูงจนเกินเพดานทางการคลังของประเทศ เนื่องจากรัฐบาล ต้องกู้เงินเพื่อนํามาเป็นค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟู เศรษฐกิจและการดูแลด้านสาธารณสุขของ ประเทศจากผลกระทบของ โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จํานวนมากถึง 1.5 ล้านล้านบาท บวก กับหนี้ในภาคครัวเรือนของไทยที่เคยอยู่ ในระดับสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกและพุ่งสูงขึ้นไปอีกจากวิกฤติด้านเศรษฐกิจจากโรคระบาด โดยปัญหาหนี้สิน นี้ เป็นประเด็นท้าทายหนึ่งที่จะส่งผลต่อความมั่นคงทางการเงินการคลังของระบบสุขภาพของประเทศ รวมถึงปัญหา การ ขำดแคลนยา วัคซีน และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ ในช่วงวิกฤติสุขภาพ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลกและเกิดซ้ํา ๆ ซึ่งมีสาเหตุจากการ วางแผนผิดพลาดและการบริหารจัดการที่ขาดธรรมาภิบาล รวมทั้งในบางกรณีเกิด การ ขาดแคลนวัตถุดิบหลักในการผลิตและการหยุดชะงักของระบบการขนส่ง ดังนั้น หากประเทศใดมีวัต ถุดิบ รวมถึง มีศักยภาพในการ วิจัย พัฒนาและ ผลิตอุปกรณ์การแพทย์ ยา และโดยเฉพาะ วัคซีนภายในประเทศ ประเทศนั้นก็จะ สามารถเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ เหล่านั้นได้ก่อนประเทศอื่น ๆ รัฐจึงจําเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในการบริหาร จัดการกระจายทรัพยากรให้กับประชาชน อย่างมีธรรมาภิบาล เพื่อให้เกิดความทั่วถึงและเท่าเทียม แม้ว่าประเทศไทยจะได้รับการยอมรับว่า มี ระบบสาธารณสุข ที่ มีความเข้มแข็งและมีคุณภาพ ไม่แพ้ประเทศ ใดในโลก 17 แต่ จากปัญหาการแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ก็ ได้ ฉาย ภาพ ปัญหา ของระบบ สุขภาพ ไทย ที่ไม่สามารถ ตอบสนองต่อ ความต้องการที่หลากหลาย อันเนื่องมาจาก การขาดแคลน บุคลากร ในระดับ ต่าง ๆ การ ขาดแคลน อุปกรณ์ ยา วัคซีน และเวชภัณฑ์ ความไม่เท่าเทียมกันของสิทธิประโยชน์จากหลักประกั น สุขภาพ ที่แตกต่างกัน และข้อจํากัดของภาครัฐในการลงทุนดังกล่าว นอกจากนี้ ยังพบปัญหาการ เข้าไม่ถึงบริการ สุขภาพและสวัสดิการสังคม ที่จําเป็น อย่างทั่วถึง และเป็นธรรม ของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะ กลุ่มคนที่อยู่ ในสภาวะเปราะบาง จากสภาพปัญหาดังกล่าวนี้ สะท้อนให้เห็นความขัดแย้งในด้านความต้องการอุดหนุนด้าน ทรัพยากร ในระบบสุขภาพที่มีมากยิ่งขึ้น กับข้อจํากัดของ ระบบสาธารณสุข ภาครัฐและความ ต้องการที่ แตกต่าง หลากหลาย ของประชากร แม้บทบาทของภาคประชาชน และภาคสุขภาพเอกชน ที่ มีความตื่นตัวและเข้ามาช่วย บรรเทา ความทุกข์ร้อนของประชาชนและหนุนเสริมการทํางาน อุดช่องว่างการให้บริการของภาครัฐอย่างแข็งขัน ในช่วงของวิกฤติ การระบาด ใหญ่ ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แต่ ก็ยัง ไม่สามารถเติมเต็มช่องว่างที่ กล่าวมาได้ อย่างพอเพียงและยั่งยืน อีกทั้งปราก ฏ การณ์ความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ นี้ยังสะท้อนให้เห็นความจําเป็น 17 สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์, 2565, ระบบสุขภาพไทยกับ “ความเสี่ยง” ที่ซ่อนในความสําเร็จ. https://www.the 101. world/thailand - healthcare - system/ .
หน้า 8 / 1 0 5 ของการมีทรัพยากรบุคคลสนับสนุนระบบสุขภาพ ที่อยู่นอกภาคบริการสาธารณสุขด้วย เช่น กลุ่มอาสาสมัคร นักสื่อสาร นักวิชาการด้านเทคโนโลยี จึง นับเป็นความท้าทายด้านยุทธศาสตร์ในการ จัดการทรัพยากรเพื่อ พัฒนา ระบบสุขภาพในอนาคตข้างหน้า 7 . การ แบ่ง ขั้ว ทางการ เมือง ของโลก และการค้าระหว่างประเทศ การ แบ่ง ขั้ว ทางการ เมือง ของโลก และการค้าระหว่างประเทศ เป็นอีก ปัจจัย สําคัญที่อาจจะมีผลกระทบต่อ ระบบสุขภาพของ ประเทศ ทั้งด้านบวกและด้านลบ รวม ทั้งเรื่อง การเมืองและ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไม่ว่า จะเป็นในระดับทวิภาคี พหุภาคี หรือในระดับภูมิภาค บนสถานการณ์ที่ มีการเปลี่ ยนแปลงอย่าง มี พลวัต มีความ ผันผวน ซับซ้อน ไม่แน่นอนสูง ประเทศ ต่าง ๆ ต้องวางตัวให้เหมาะสมกับขั้วมหาอํานาจ ที่มีบทบาทในการ กําหนดระเบียบเศรษฐกิจการเมืองโลก และกําลัง ดําเนินมาตรการ สงครามการค้าและการลงทุน เช่น การเติบโต ทางเศรษฐกิจ ของสาธารณรัฐประชาชนจีน จน กระทบต่อ ขั้วอํานาจดั้งเดิมอย่างสหรัฐอเมริกา ก่อให้เกิดการดําเนิน มาตรการกีดกันทางการค้า และการตอบโต้กัน ระหว่างทั้งสองประเทศขึ้น ซึ่งผลกระทบที่จะตามมาของการแบ่ง ขั้ว ทางการเมืองของโลก คือ การสู้รบและ สงครามในรูปแบบต่าง ๆ ดังเช่น สถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเซีย กับ ยูเครนที่ มีแนวโน้มยืดเยื้ อและ ทวีความรุนแรงมากขึ้น หลังจากที่ สหรัฐอเมริกาและประเทศพันธมิตร ประกาศ คว่ําบาตรรัสเซีย พร้อมใช้มาตรการแซงชั่นทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการสนับสนุนด้านอาวุธ และการทํา สงครามข่าวสาร เพื่อกดดันรัสเซียอย่างหนัก ผลจากการสู้รบดังกล่าว ก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงกับประเทศ ต่าง ๆ ทั่วโลก อีกทั้งหลายประเทศยังใช้นโยบายแบบเน้นการปกป้อง ผลประโยชน์ ทางการค้าของประเทศตนเอง อย่างชัดเจน หรือ แม้กระทั่งเรื่องของ แนวทางการจัดทํากรอบความร่วมมือระหว่างประเทศและบทบาทขององค์กร ระหว่างประเทศ 18 เช่น ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสําหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ T he Comprehensive and Progressive Agreement of Trans - pacific Partnership ( CPTTP ) ซึ่งเป็นความ ตกลงการค้าเสรีที่ เดิมสหรัฐอเมริกาเป็นฝ่ายริเริ่มเพื่อโดดเดี่ยว สาธารณรัฐประชาชนจีน แต่ต่อมา สหรัฐอเมริกา เปลี่ยนนโยบายในสมัยประธานาธิบดีทรัมป์ ที่พลิก กลับถอนตัวออก ไป โดย ข้อตกลงดังกล่าว มุ่งสร้างกฎเกณฑ์ และมาตรฐานที่ใช้ร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ครอบคลุมทั้งเรื่องการค้า การบริการและการลงทุน ครอบคลุม มาตรฐาน เรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานด้านแรงงาน มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม และมาตรการ การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ โ ดย ประเทศไทย มีกลุ่มคัดค้านค่อนข้างแข็งขัน จึงไม่ได้ เข้าร่วมตั้งแต่ต้น และ อยู่ในระหว่างการศึกษาถึงผลประโยชน์และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเข้าร่วมเป็น 18 สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , 2564, เอกสารประกอบการระดมความเห็นกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 13.
หน้า 9 / 1 0 5 ภาคีสมาชิก โดย ผล ดีที่ประเทศไทยคาดการณ์ว่าจะได้รับคือ การเพิ่มโอกาสทางการค้าและเพิ่มความสามารถ ด้านการส่งออก ด้านการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน แต่ ในขณะเดียวกัน ก็ อาจ ได้รับ ผลกระทบ จาก การเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาแข่งขันมากเกินไปและบังคับให้ไทยต้องเปิดตลาด มากขึ้น ซึ่งนักลงทุน ในไทยอาจจะยังไม่พร้ อมหรือยังมีศักยภาพไม่เพียงพอที่จะแข่งขันกับนักลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้ยังกระทบต่อ ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรที่ส่งผลให้ประเทศไทยจะต้องเข้าร่วมในอนุสัญญา การคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ หรือ UPOV 1991 ซึ่งอาจมี ผลกระทบต่อกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และ การเข้าถึงยาของประเทศไทย 19 ที่ ยังมีความ อ่อนแอของการศึกษาวิจัยทางยาและอุตสาหกรรมยา ทําให้ต้องพึ่งพาการนําเข้ายา และเทคโนโลยี ทางการแพทย์ จากต่างประเทศ ที่มีราคาแพงมากขึ้น ส่งผลให้ประชาชนขาดความมั่นคง ทางด้านสุขภาพ เนื่องจาก ไม่สามารถ เข้าถึง ยา เวชภัณฑ์ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยได้ ทั้งจากความ ขาดแคลน และ ราคาแพง สถานการณ์การแบ่ง ขั้ว ทางการเมืองของโลกและการค้าระหว่างประเทศ ที่ มีแนวโน้มจะ ทวีความรุนแรง และแผ่ขยายไป ทั่วโลก อันจะนําไปสู่การ จัดระเบียบโลกใหม่ทั้ง ในด้า น อํานาจทางการเมืองระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ทางทหาร ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สิ่งสําคัญคือ ระบบการเงินโลก การเปลี่ยนแปลงของ ประเทศ มหาอํานาจ ของโลก ซึ่ง ย่อมส่งผล ต่อระบบสังคม สิ่งแวดล้อ ม การเมือง เศรษฐกิจ และสุขภาพ ของประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บทสรุป จาก แนวโน้มสถานการณ์และ ปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้น ได้ ส่งผลให้เกิด ปัญหา กับประชาชนและระบบสุขภาพ ที่ล้วนเป็นไปในทิศทางที่ทําให้เกิดช่องว่างทางสังคม เพิ่มขึ้น อาทิ การเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว ขณะที่ระบบ การออมสําหรับแรงงาน ส่วนใหญ่ ทั้งในและนอกระบบยังไม่เพียงพอ ไม่ครอบคลุมและไม่สามารถสร้างหลักประกัน รายได้หลังวัยทํางาน ความเหลื่ อมล้ําด้านรายได้และสวัสดิการสังคมของกลุ่ มผู้ เสียเปรียบในสังคม เช่น กลุ่มแรงงานนอกระบบที่ไม่ สามารถเข้าถึงสวัสดิการที่จําเป็น กลุ่มคนพิการยังถูกจํากัดในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน และขาดโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการดํารงชีวิต การขาดแคลนที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย การบุกรุกพื้นที่ สาธารณะ ปัญหาความยากจน อาชญากรรม ยาเสพติด 20 ซึ่งเป็นสาเหตุสําคัญที่ฝังรากลึก เรื่องความเหลื่อมล้ํา ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน และได้ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงการระบาด ใหญ่ ของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเฉพาะในกลุ่มคนจนเมือง ผู้ด้อยโอกาส ผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เด็ก แรงงานนอกระบบ คนตกงาน 19 ณัฐกฤตา ลีลาประเทือง , 2564, ผลกระทบของ CPTTP ต่อการเข้าถึงยาในประเทศไทย ในมุมมองทรัพย์สินทางปัญญา. https://e - journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/ 1146 . 20 รายงานสรุปผลการดําเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจําปี 2563 ด้านสังคม.
หน้า 10 / 1 0 5 คนไร้บ้าน แรงงานต่างชาติ กลุ่มผู้มีความจํา กัด ด้านสุขภาพ และ กลุ่มคนที่อยู่ในสภาวะเปราะบาง อื่น ๆ รวมถึงกลุ่ม คน ที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพ แม้ ว่ำประชาชนไทยจะมี ความครอบคลุ มสิ ทธิ ในระบบหลั กประกั นสุ ขภาพของประเทศถึง ร้อยละ 99.73 21 (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2563) แต่จาก ข้อมูลสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของประชากร ไทย พบว่า ยัง มีผู้ที่ไม่มีสวัสดิค่าการรักษาพยาบาล จํานวน 458,041 คน 22 หากดูในกลุ่ม คนวัยทํางานอายุ 15 ปีขึ้นไป จะ เป็นตัวอย่างหนึ่งของความ ไม่ เป็นธรรมด้านสุขภาพ โดย ร้อยละ 52 (สํานักงานสถิติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2564) 23 เป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบ ที่ไม่ได้รับความคุ้มครองทางสังคมจากการทํางานอย่างเหมาะสม 24 ส่งผลให้ กลุ่มคน ดังกล่าวนี้ ยัง ไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพ และสวัสดิการ ที่จําเป็น ทั่วถึงและเพียงพอ การระบาดใหญ่ของ โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้สะท้อนภาพความ ไม่ เป็นธรรมจากสภาวะเปราะบางของกลุ่มแรงงานนี้ จากสภาพที่อยู่อาศัย กำรตกงาน การ ถูกเลิกจ้าง รายได้ลดลง ไม่พอ กับ ค่าใช้จ่าย การเข้าถึงมาตรการเยียวยาของ ภาครัฐยัง มีจํากัด ไม่ว่าจะเป็น การตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง การเข้าถึงการรักษาพยาบาล รวมไปถึงการ เข้าถึงข้อมูล ข่าวสารที่ถูกต้อง และทันการณ์ การขาดสถานะตามกฎหมายและข้อจํากัดอื่น ๆ ที่ทําให้ตกหล่นจากการมีสิทธิใน ระบบหลักประกันสุขภาพ หรือมีสิทธิแต่ไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพพื้นฐานของภาครัฐได้ กลุ่ มคนเหล่านี้ จึง ตกอยู่ใน ส ภาวะเปราะบางซ้ําซ้อนเพิ่มมากขึ้น 25 และยิ่งทําให้ ความเหลื่อมล้ําหรือความไม่เป็นทางด้านสุขภาพ และด้านสังคม เด่นชัดมากขึ้นไปอีก ดังนั้น ทิศทางการพัฒนา จึงควรให้ความสําคัญกับการแก้ไขปัญหาเชิงระบบที่มุ่งไปสู่การขจัดความยากจน และลดความเหลื่อมล้ําในสังคม โดยยึดหลักธรรมาภิบาล ( good governance) และการปกครองด้วย หลัก นิติธรรม (rule of law) ลดการผูกขาดอํานาจด้านเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในเรื่องของทุนนิยม พวกพ้องและคอรัปชั่น ทุกรูปแบบ ความสัมพันธ์ในเชิงอุปถัมภ์ การ สร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึง และการจัดการ ทรัพยากร เพื่อการ พัฒนาอย่างทั่วถึง ได้แก่ การ เข้าถึง การ ศึกษา การมีโอกาสทาง อาชีพ การใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยี อย่างเท่าเทียม 21 สํานักงานสถิติแห่งชาติ . http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/ 05. aspx. 22 สํานักงานสถิติแห่งชาติ. http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/ 06. aspx 23 สํานักงานสถิติแห่งชาติ . http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/02.aspx 24 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2564, สุขภาพคนไทย : COVID - 19 มหันตภัยร้ายเขย่าโลก. 25 เอกสารหลักการคุ้มครองการเข้าถึงบริการสุขภาพของกลุ่มประชากรเฉพาะในภาวะวิกฤติอย่างเป็นธรรม, สมัชชาสุขภาพ แห่งชาติ ครั้งที่ 14 พ.ศ. 2564 .
หน้า 11 / 1 0 5 ในส่วนถัดไปจะกล่าวถึง กรอบแนวคิด ปรัชญา และเป้าหมายของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ซึ่งเป็นกรอบและแนวทางในการกําหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และการดําเนินงานด้านสุขภาพ 26 ของประเทศไทย ในระยะ 5 ปีต่อไป ซึ่งมีทิศทางที่มุ่งให้เกิด “ ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม ” ทั้งในระบบบริการ สุขภาพ ( h ealthcare s ystem ) และระบบการสร้างเสริมสุขภาพ และการจัดการ ปัจจัยสังคมที่กําหนดสุขภาพ ( Social Determinants of Health: SDH ) โดย ให้ความสําคัญกับ กลุ่มคนที่เสียเปรียบ หรือถูกละทิ้ง ในสังคม การคุ้มครอง กลุ่มคนที่อยู่ในสภาวะเปราะบาง ได้แก่ ประชากรที่ไม่ได้รับการคุ้มครองทางสังคม และ ยังขาด หลักประกัน ทางสังคม รวมไปถึงการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและกลไกทางสังคมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม จากประชาชน และทุกภาคส่วน ของ สังคมอย่างจริงจัง เพื่ อสร้างทุนสังคม ( s ocial c apital) และความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน ของสังคม ( s ocial c ohesion) อันจะนําไปสู่ สุขภาวะของประชาชนคนไทยและความเป็นธรรม ด้านสุขภาพได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของธรรมนูญ ว่าด้วยระบบ สุขภาพ แห่งชาติ ฉบับนี้ 26 มาตรา 46 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 .
หน้า 12 / 1 0 5 ส่วนที่ 2 กรอบแนวคิด ปรัชญาและเป้าหมายร่วมของระบบสุขภาพ ในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 กรอบแนวคิด ปรัชญาและเป้าหมายร่วมของระบบสุขภาพในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ให้ความสําคัญกับความสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 ที่เป็นเป้าหมายการพัฒนา ประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งเป้าหมายการพัฒนาประเทศตามที่ระบุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 นั้น คือ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคม เป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” โดยการยกร ะดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ พัฒนาคน ในทุกมิติและในทุกช่วงวัย สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมเพื่อให้ประเทศไทยสามารถยกระดับการพัฒนาให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็ นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 2.1 กรอบแนวคิด เรื่องการดํารงชีวิตอย่างยั่งยืน หรือ sustainable livelihoods ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดตามแนวคิดในเรื่อง ของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งการดํารงชีวิตอย่างยั่งยืนนี้ หมายรวมถึง ความสามารถ ทั กษะ ทุน (ทั้งทางวัตถุและ สังคม) และวิธีหรือกิจกรรม ที่ บุคคลและชุมชนนําไปใช้เพื่ อการอยู่ รอดอย่างยั่ งยืน 27 28 ซึ่ งความยั่ งยืน ( sustainability) นี้ หมายถึง การพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญ รายได้ และคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่อยู่บนหลักการใช้ การรักษาและการฟื้นฟู ฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนเกินพอดี ไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม จนเกินความสามารถในการรองรับและเยียวยาของระบบนิเวศ การผลิตและกำรบริโภค ที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือว่ามีความสอดคล้องกับแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว หรือ one health ที่มองเรื่องสุขภาพแบบไม่แยกส่วน แต่มองเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนและสัตว์ที่มีความเกี่ยวโยงอยู่กับระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม เชื้อโรค รวมถึงปัจจัย ทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจด้วย และนอกจากนี้ ยังมีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นและสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพดีขึ้น คนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเอื้ออาทร เสียสละเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม รัฐบาลมีนโยบายที่มุ่งประโยชน์ส่วนรวมอย่ ำงยั่งยืน และ ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และทุกภาคส่วนในสังคมยึดถือและปฏิบัติตามหลักปรัชญา 27 Department for International Development. UK. 1999. Sustainable livelihoods guidance sheets. 28 UNDP. 2017. Guidance Note: Application of the Sustainable Livelihoods Framework in Development Projects.
หน้า 13 / 1 0 5 ของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่ อการพัฒนาอย่างสมดุล มีเสถียรภาพ และยั่ งยืน 29 ดังนั้ น คําว่า sustainable livelihoods นี้จึงหมายถึง “ การดํารงชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยให้ ความสําคัญกับการจัดการทรัพยากรด้านต่าง ๆ ให้มีอยู่อย่างยั่งยืน ” นั่นเอง เมื่อกล่าวถึงแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนแล้ว “ สุขภาพ ” ถือเป็นเงื่อนไขนําอย่างหนึ่ง ( precondition ) สําหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และในขณะเดียวกัน สุขภาพก็ยังจัดเป็น ผลลัพธ์ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนอีกด้วย โดยเชื่อว่าหากมีการจัดการได้ดีในเรื่องของปัจจัยที่กําหนดสุขภาพ ( Determinants of Health ) ในกลุ่มประชากรต่าง ๆ โดยเฉพำะกับกลุ่มประชากรที่ยากจนและกลุ่มประชากร ที่ อยู่ ในสภาวะ เปราะบางแล้ว ก็จะเกิดสังคมที่ ไม่ทิ้ งใครไว้ข้างหลัง เป็นธรรม มีสภาพเศรษฐกิจที่ พัฒนา และ เป็นสังคมที่มีสุขภาวะ 30 ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 มีกรอบแนวคิดที่มุ่งสู่ “ ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม ” โดยสำมารถอธิบายเพิ่มเติมเป็นแผนภาพได้ ดังนี้ 29 ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุ เบกษา) เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก 13 ตุลาคม 2561 . 30 United Nations. 2012. The Future We Want: Outcome document of the United Nations Conference on Sustainable Development. Rio de Janeiro, Brazil, 20 - 21 June 2012.
หน้า 14 / 1 0 5 ระบบสุขภาพที่มองในทุกมิติ คือ กาย จิต ปัญญา และสังคม ซึ่ง ประกอบไปด้วยทั้งการบริการสุขภาพ และการสร้างเสริมสุขภาพ รวมถึง การจัดการ ปัจจัยสังคมที่กําหนดสุขภาพนั้น ในแต่ละส่วนต้องมีการดําเนินการ เชิงยุทธศาสตร์อย่างมีประสิทธิผล ( effectiveness ) มีประสิทธิภาพ ( efficiency ) และเป็นธรรม ( equity) ด้วยการ มีการอภิบาลระบบสุขภาพที่ดีหรือมีธรรมาภิบาล โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การทําให้เกิดสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี และการทําให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ในทุกกลุ่มวัยและทุกระดับ รวมถึง เรื่องอื่น ๆ เพื่อที่จะนําไปสู่เป้าหมายระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ในระยะ 5 ปี คือ “ ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม ” โดยธรร มนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ได้ระบุปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ คุณลักษณะที่ พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพในระยะ 5 ปี และการจัดให้มีหลักประกันและ ความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ ไว้ดังนี้ 2.1.1 ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ ปรั ชญาและแนวคิ ดหลั กของระบบสุ ขภาพ นั ้ น ได้ นําแนวคิ ดในเรื ่ อง “ ระบบสุ ขภาพ ที่ มีการดําเนินงานอย่างมีธรรมาภิบาล ( good governance for health system ) ” มาเป็นหลักในการ ดําเนินงาน ซึ่งการอภิบาลระบบสุขภาพนั้น หมายถึง การดูแลและบริหารระบบสุขภาพด้วยการมีปฏิสัมพันธ์กัน
หน้า 15 / 1 0 5 ระหว่างภาครัฐ องค์กรสาธารณะต่าง ๆ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม ที่รวมทั้งหน่วยงานหรือองค์กรที่มีบทบาท โดยตรงกับเรื่องสุขภาพ และที่ไม่ได้มีบทบาทเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องสุขภาพ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาหรือ ความท้าทายต่า ง ๆ ในสังคม และสร้างสรรค์โอกาสใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดสุขภาพ โดยในทางปฏิบัติ ควรนําหลักคิด การอภิบาลเพื่ อสุขภาพ ( governance for health ) ในศตวรรษที่ 21 ขององค์การอนามัยโลก มาใช้ ซึ่ง “ การอภิบาลเพื่อสุขภาพ ” ที่ดีและควรจะเป็นนั้น มี 5 รูปแบบ โดยทั้ง 5 รูปแบบ สามารถนํามาใช้แบบ ผสมผสาน กันได้ตามความเหมาะสม ได้แก่ 1) การอภิบาลโดยความร่วมมือกัน ( collaborating ) 2) การอภิบาล โดยให้พลเมืองเข้ามามีบทบาท ( engaging citizens ) 3) การอภิบาลโดยการผสมผสานระหว่างการใช้ระเบียบ ข้อบังคับกับการชักชวน ( regulation and persuasion ) 4) การอภิบาลผ่านองค์กรอิสระและองค์กรผู้เชี่ยวชาญ ( independent agencies and expert bodies ) และ 5) การอภิบาลโดยนโยบายที่ สามารถปรับเปลี่ ยนได้ โครงสร้ำงที ่ ยื ดหยุ ่ น และการใช้ การคาดการณ์ อนาคต ( adaptive policies, resilient structures and foresight ) 31 โดยปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพนั้น ต้องให้ความสําคัญกับการอภิบาลระบบสุขภาพ ที่ให้ความสําคัญกับ 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ/การเมือง ภาควิชาการ/ วิชาชีพ และภาคประชาสังคม/เอกชน ส่ วนที ่ 2 การทําสภาพแวดล้ อม และระบบนิ เวศ ให้ เอื ้ อ ( e nabling and empowering environment / ecosystem ) ต่อการมีสุขภาพดี โดยการจัดการกับเรื่องระบบบริการสุขภาพ และการสร้างเสริม สุขภาพ ที่รวมถึงการจัดการ ปัจจัย สังคมที่ กําหนดสุขภาพ หรือปัจจัยที่กําหนดสุขภาพ ด้าน อื่น ๆ เพื่อเอื้อให้เกิด การมีสุขภาพที่ดี ส่วนที่ 3 การให้ความสําคัญกับการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ในทุกกลุ่มวัยและทุกระดับ ทั้งในด้าน ทั กษะต่ำง ๆ เช่ น ความรอบรู ้ ด้านสุขภาพ ( health literacy ) ความรอบรู ้ ด้านดิจิทั ล ( digital literacy ) ความรอบรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ( environmental literacy ) และด้านการพัฒนาศักยภาพคนสู่ความเป็นพลเมือง ที่ตื่นรู้ มีส่วนร่วมรับผิดรับชอบต่อสังคม ( active citizen ) มีคุณธรรม รู้คุณค่าในตัวเองและผู้อื่น เห็นแก่ส่วนรวม ยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย เพื่อให้ประชาชนและชุมชนมีความรู้เท่าทัน ตระหนักรู้ในสิทธิหน้าที่ ด้านสุขภาพ และมีบทบาทในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ สามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรมสุขภาพ ที่ไม่เหมาะสมและเป็นพลเมืองที่มีความร่วมรับผิดรับชอบต่อสังคมในด้านสุขภาพ นอกจากนี้ ประชาชนต้องได้รับ ข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอ สามารถเข้ามามีบทบาท ได้รับการสนับสนุน และปฏิบัติอย่างสมศักดิ์ศรี 31 WHO Regional Office for Europe . 2012. Governance for Health in the 21 st Century.
หน้า 16 / 1 0 5 2.1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าห มายของระบบสุขภาพในระยะ 5 ปี ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ซึ่งเป็นภาพพึงประสงค์ของระบบสุขภาพไทยนี้ ได้วาง เป้าหมายของระบบสุขภาพในระยะ 5 ปี ไว้ที่ “ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม ” หรือ “ Equitable h ealth system” กล่าวคือ เป็น ระบบสุขภาพที่มีความเป็นธรรมทั้งด้านสุขภาพทางกาย จิต ปัญญา และสังคม กับทุกกลุ่ม ประชากรตลอดทุกช่วงวัย โดยสามารถลดความเหลื่อมล้ํา ไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งในเรื่องระบบการสร้างเสริมสุขภาพ ที่รวมถึง การจัดการ ปัจจัยสังคมที่กําหนดสุขภาพ และระบบบริการสุขภาพ และที่สําคัญ คื อ เป็นระบบสุขภาพ ที่สามารถแบกรับ ตอบสนอง ปรับตัว ปรับเปลี่ยน ฟื้นตัวได้อย่าง ทันการณ์ คงอยู่ได้ และสามารถ รับการ เปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉม โดยสามารถฟื้นตัว เพื่อให้ ดํารงอยู่และพัฒนาให้ ดียิ่งขึ้น ( resilience) ไม่ทิ้งใครไว้ ข้างหลัง ( inclusiveness / leaving no - one behind ) ยอมรับในความแตกต่าง และมีความยั่งยืน ( sustainability ) 2.1.3 การจัดให้มีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ การสร้างหลักประกันและความคุ้ มครองให้เกิดสุขภาพนั้ น ไม่ได้หมายความถึงแต่เฉพาะ เรื่องหลักประกันสุขภาพในเรื่องระบบบริการสุขภาพเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของระบบสุขภาพในภาพรวม โดยการ สร้างหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพนี้ ต้องเกิดจาก การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่ วนในสังคม โดยหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ จะต้องมีความครอบคลุมปัจจัยทั้งหลายที่อาจมีผลกระทบ ต่อสุขภาพ ทั้งปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านระบบบริการสุขภาพ และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจสังคมและการเมืองรวมทั้งนโยบายสาธารณะต่าง ๆ โด ยหลักประกันและ ความ คุ้มครองให้เกิดสุขภาพนี้ จะต้องครอบคลุมบุคคลทุกคนบนผืนแผ่นดินไทย โดยไม่มีการแบ่งแยก ยึดหลักเสมอภาค เป็นธรรม และ ไม่เลือกปฏิบัติ 2.2 สถานะของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 มีสถานะตาม พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และสถานะในทางปฏิบัติ ดังนี้ 2.2.1 สถานะตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติถึงสถานะของธรรมนูญว่าด้วยระบบ สุขภาพแห่งชาติไว้ในมาตรา 46 และ 48 ดังนี้ มาตรา 46 ได้ บัญญัติ ว่า “ ให้ คสช. จัดทําธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเพื่อใช้ เป็นกรอบและแนวทางในการกําหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และการดําเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ” “ ในการจัดทําธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ให้ คสช. นําความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ของสมัชชาสุขภาพมาประกอบด้วย ”
หน้า 17 / 1 0 5 “ เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติแล้ว ให้รายงาน ต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิ สภาเพื่อทราบและประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยให้ คสช. ทบทวนธรรมนูญ ว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติอย่างน้อยทุกห้าปี ” สําหรับ มาตรา 48 นั้น ได้ บัญญัติ ว่า “ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ และนโยบายและ ยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพตามมาตรา 25 (2) ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ผูกพันหน่วยงานของรัฐและ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดําเนินการต่อไปตามอํานาจหน้าที่ของตน ” 2.2.2 สถานะในทางปฏิบัติ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภำพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 มีสถานะเป็น “ กรอบทิศทางของระบบสุขภาพ ไทย ” ที่เปรียบเสมือน “ร่ม” ที่แสดงให้เห็นถึงเป้าหมายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ ความเชื่อมโยงระหว่าง ยุทธศาสตร์ชาติ แผนระดับชาติ และแผนปฏิบัติการหรือแผนอื่น ๆ ทุกระดับในด้านสุขภาพ ทั้งนี้ ธรรมนูญว่าด้วย ระ บบสุขภาพแห่งชาติ ไม่ใช่แผนในระดับปฏิบัติการ และยังมีลักษณะเป็นเหมือน “ข้อตกลงร่วม” หรือ “ แนวคิดร่วม ” ที่ทุกภาคส่วนมีความเข้าใจ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ และยอมรับในทิศทางระบบสุขภาพตามที่ระบุไว้ในธรรมนูญว่าด้วยระบบ สุขภาพแห่งชาติ โดยนําเอาแนวคิดและทิศทำงตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ไปใช้ในงาน หน่วยงาน หรือองค์กร ซึ่งหากเกิดการปฏิบัติใด ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ให้มีการทํา ความเข้าใจและตกลงร่วมกัน หรือให้ข้อแนะนํา นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เป็น ข้อมูลอ้างอิงระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ของไทย เพื่อให้กลไก ที่มีหน้าที่เฉพาะในการติดตามและวิเคราะห์สถานะของระบบสุขภาพไทยตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพ แห่งชาติ สามารถศึกษาและติดตามได้ว่าสถานการณ์ระบบสุขภาพไทย ได้ ไปถึงเป้าหมายตามที่ระบุไว้ในธรรมนูญ ว่าด้วยระบบสุขภา พแห่งชาติหรือไม่ มีข้อจํากัดอะไรที่ทําให้ไปไม่ถึงเป้าหมาย มีแนวโน้มที่ต้องพึงระวังหรือไม่ อย่างไร ซึ่งจัดเป็นกระบวนการติดตามเชิงรุกที่นําไปสู่การเปลี่ยนแปลง สามารถนํามาพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะ เชิงนโยบายสําหรับภาคีหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้
หน้า 18 / 1 0 5 ส่วนที่ 3 มาตรการสําคัญสู่เป้าหมายระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ หากพิจารณาตามแผนภาพเชิงสาเหตุของความเป็นธรรมด้านสุขภาพในระบบสุขภาพของประเทศไทย จะพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการนโยบายสาธารณะภายใต้บริบทด้านเศรษฐกิจและสั งคม กับกระบวนการของการสร้างเสริมสุขภาพและการจัดการระบบบริการสุขภาพ ซึ่งเป็นระบบย่อยของระบบสุขภาพ องค์รวมอย่างไม่อาจแยกจากกันได้ ทั้งนี้ กระบวนการนโยบายสาธารณะภายใต้บริบทด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่ยังมีโครงสร้างการพึ่งพิงด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนสูง ย่อมก่อให้เกิดภาวะความยากจนและอยู่ใน สภาวะเปราะบางที่ เวียนวนเป็นวงจรของการ พึ่ งพิงตามไปด้วยอย่างต่ อเนื่ อง ซึ่ งมีผลอย่างสําคั ญต่อ ก ระบวนการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ประกอบกับรากวัฒนธรรมสังคมอุปถัมภ์ที่มีอยู่ในสังคมไทย ยิ่งสร้างให้เกิด การผูกขาดทางอํานาจ เกิดคอ ร์ รัปชัน จนสร้างแรงต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างจากกลุ่มคนที่มีความเห็น ต่างทา งการเมืองการปกครอง จนถึงกลุ่มคนที่เสียผลประโยชน์หรือได้รับแรงกดดันจากระบบที่ไม่เท่าเทียมนี้
หน้า 19 / 1 0 5
หน้า 20 / 1 0 5 จากแผนภาพเชิงสาเหตุ ของความเป็นธรรมด้านสุขภาพ ฯ ข้างต้นนี้ สามารถอธิบายโดยสรุปได้ดังนี้ ใน “ กระบวนการนโยบายสาธารณะภายใต้บริบทด้านเศรษฐกิจและสังคม ” นั้น พบว่า หากเราสามารถ แก้ไขหรือลดข้อจํากัดในการเข้าถึงทรัพยากรเพื่อการพัฒนาของประชาชนในประเทศลงได้ (ไม่ว่าจะเป็นข้อจํากัดที่เกิด จากปัญหาในด้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและความแตกต่างระหว่างวัย การขาดแคลนทรัพยากร และ งบประมาณ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว หรือ การแบ่ง ขั้ว ทางการเมืองของโลกและการค้าระหว่าง ประเทศ ก็ตาม) เพื่อให้ประชาชน สามารถ เข้าถึงทรัพยากรเพื่อการพัฒนาอย่างทั่วถึงได้มากขึ้นแล้ว ก็จะทําให้ ความสามารถ ใน การปรับตัวเพื่อใช้ชีวิตในโลกศตวรรษ 21 ของประชาชนดีขึ้นได้ ซึ่ง จะส่งผลให้ความยากจนและ สภาวะ เปราะบางของประชาชนน้อยลง และภาวะพึ่งพิงด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนลดลงตามไปด้วย ความสัมพันธ์ในสังคมอุปถัมภ์และการผูกขาดอํานาจด้านเศรษฐกิจและสังคมจะลดลงตามมา เอื้ออําน วยให้สังคม ยึดใน หลัก นิติธรรมและธรรมาภิบาลมากขึ้น ส่งผลให้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ มากขึ้น การ ใช้อํานาจ เผด็จการ ทุนนิยมพวกพ้อง สองมาตรฐาน และการคอ ร์ รัปชันจะลดน้อยลง นอกจากนี้ การที่ประชาชนมีภาวะพึ่งพิงด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนน้อยลงแล้ว จะส่งผลให้ แรงต่อต้านต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างลดลง และการมีนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและมุ่งเน้น การสร้างฐานการเมืองจะน้อยลงตามไปด้วยเช่นกัน โดยการที่ประเทศไทยมีนโยบายเพื่อแก้ไขปัญ หาเฉพาะหน้าและ มุ่งเน้นการสร้างฐานการเมืองลดลงนี้ จะทําให้นโยบายด้านเศรษฐกิจและนโยบายด้านสังคม มีความ เป็นธรรมมากขึ้น การมีนโยบายด้านเศรษฐกิจและนโยบายด้านสังคมที่เป็นธรรมนี้ จะช่วยเสริมให้เกิด ทั้งแนวทาง “ ทุกนโยบาย ห่วงใยสุขภาพ ( Health in All Policies: HiAP ) ” และ การจัดการทรัพยากรสุขภาพที่เป็นธรรม ซึ่งการจัดการทรัพยากร สุขภาพที่เป็นธรรมจะช่วยทําให้เกิด “ การจัดการระบบบริการสุขภาพ ” ที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ เป็นธรรม ซึ่งจะ เอื้อต่อ การมีพฤติกรรมของบุคคลและชุมชนที่ เป็นผลดี ต่อการพัฒนาสุขภาพ รวมถึงการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ และสุขภาวะของประชาชนกลุ่ม ที่อยู่ในสภาวะ เปราะบางดีขึ้น ทําให้เกิด “ สุขภาวะของประชาชนบนผืนแผ่นดินไทย และความเป็นธรรมด้านสุขภาพ ” ขณะเดียวกัน หากประเทศไทยสามารถจัดการทรัพยากรสุขภาพที่เป็นธรรมได้ ก็จะช่วย ส่ง เสริมแนวทาง ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพในเรื่องการจัดการปัจจัยด้านสังคมที่กําหนดสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยนําไปสู่การมี สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และการมีพฤติกรรมของบุคคลและชุมชนที่เอื้อต่อการพัฒนาสุขภาพ ซึ่งในที่สุด จะนําไปสู่สุขภาวะของประชาชนบนผืนแผ่นดินไทยและความเป็นธ รรมด้านสุขภาพได้ นอกจากนี้ การที่ประเทศไทย ให้ความสําคัญกับแนวทาง “ ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ ” และสามารถจัดการในเรื่องการเข้าถึงทรัพยากรเพื่อ การพัฒนาอย่างทั่วถึงได้แล้ว ก็จะช่วยทําให้เกิดทุนสังคมและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม ซึ่งก็จะช่วยลด ความขัดแย้งและค วามรุนแรงลง ทําให้ความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตลดลง เกิดสุขภาวะของประชาชน บนผืนแผ่นดินไทยและความเป็นธรรมด้านสุขภาพได้ในที่สุดเช่นกัน เหล่านี้ถือเป็นการจัด “ กระบวนการสร้างเสริม
หน้า 21 / 1 0 5 สุขภาพ ” ซึ่งการที่ประชาชนในประเทศไทยได้รับความเป็นธรรมด้านสุขภาพและมีสุขภาพที่ดีก็จะ ส่งผลให้ภาวะพึ่งพิง ด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในประเทศลดลง นําไปสู่วงจรแห่งการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนได้ ทั้งนี้ การพัฒนาให้เกิดความเป็นธรรมในกระบวนการนโยบายสาธารณะด้านเศรษฐกิจและสังคมที่สัมพันธ์ กับระบบสุขภาพ ต้องเร่งพัฒนาให้เกิดการจัดการด้วยระบบอภิบาลที่ดี หรือธรรมาภิบาล ( good governance ) การปกครองด้วย หลัก นิติธรรม ( rule of law ) และให้ความสําคัญอย่างยิ่งกับกระบวนการมี ส่วนร่วมที่เท่าเทียม อย่างแท้จริงของทุกภาคส่วนในสังคม โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้เกิดการเข้าถึงทรัพยากรเพื่อการพัฒนา อย่างทั่วถึง อันจะทําให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเอง ลดการพึ่งพิงรัฐและทุนภายนอก รวมถึงต้องเร่งสร้าง ขีดความสามารถของประชาชนในการปรับตัวเพื่อ ใช้ชีวิตในโลกศตวรรษที่ 21 ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ของสภาพแวดล้อมรอบตัวที่ทั้งแตกต่างและรวดเร็ว ขณะที่การสร้างนโยบายทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ต้องให้ความสําคัญกับความเป็นธรรมทั้งเชิงกระบวนการพัฒนานโยบายและเนื้อหานโยบาย โดยส่วนสําคัญ ที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างระบบสุขภาพที่เป็นธรรมอย่างมากคือ การคํานึงถึงความเกี่ยวข้องของทุกนโยบาย ห่วงใย สุขภาพ ( HiAP ) ทั้งในระบบการสร้างเสริมสุขภาพรวมทั้งปัจจัยสังคม ที่ กําหนดสุขภาพ ( SDH ) และ การจัดการระบบบริการสุขภาพ มาตรการสําคัญที่จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อนําไปสู่เป้าหมายของระบบสุขภาพพึงประสงค์ คือ “ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม” ที่กําหนดไว้ในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพ แห่งชาติ ฉบับที่ 3 นี้ จะมีระบบและ กระบวนการหลัก ๆ คือ 1) กระบวนการนโยบายสาธารณะที่ดีและมีส่วนร่วม ของ ภาคี ทุก ภาคส่วน ภายใต้บริบท ด้านเศรษฐกิจและสังคม 2) การสร้างเสริมสุขภาพ และการจัดการ ปัจจัยสังคมที่กําหนดสุขภาพ ด้วยการทํา สภาพแวดล้อมสนับสนุนที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี อย่างสมดุล มี การพัฒนาศักยภาพบุคคลและชุมชน และ 3) การจัดการระบบบริการสุขภาพที่ให้ความสําคัญกับกาย จิต ปัญญา และสังคม อย่างสมดุล อย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการ ดังนี้ กระบวนการนโยบายสาธารณะที่ดีและมีส่วนร่วม ของภาคี ทุกภาคส่วน เป้าหมาย เป็นระบบสุขภาพที่สร้างเสริมให้เกิดความเป็นธรรม ด้วยกระบวนการนโยบายสาธารณะทางเศรษฐกิจ และสังคมที่คํานึง ถึง ผลต่อสุขภาพตามหลัก ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ มีการจัดการด้วยระบบธรรมาภิบาลที่ดี โดยให้ความสําคัญอย่างยิ่งกับกระบวนการมีส่วนร่วมที่เท่าเทียมอย่างแท้จริงของทุกภำคส่วนในสังคม โดยเฉพาะ ผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้เกิดการเข้าถึงทรัพยากรเพื่อการพัฒนาอย่างทั่วถึง มีชุมชนเข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองและ พึ่งพา กันเองได้ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ทั้งนี้หมายรวมถึงระบบต่าง ๆ ของสังคมที่เข้ามามีส่วนกําหนดสุขภาพด้วย
หน้า 22 / 1 0 5 เช่น นโยบายและระบบ เศรษฐกิจ ทิศทางการพัฒนา บรรทัดฐานในสังคม นโยบายทางสังคม ระบบการเมือง การปกครอง มาตรการสําคัญ 1 . สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านกระบวนการนโยบายสาธารณะ จากชุมชน และนโยบายของรัฐในระดับ ต่าง ๆ ตามหลักการพัฒนา ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ รวม ถึง นโยบายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทางตรงและนโยบาย ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ที่ส่งผลทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อสุขภาพด้วย เพราะสุขภาพเป็นทุนและ พื้นฐานของ การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์และประเทศ ซึ่ง เชื่อมโยงอยู่กับระบบใหญ่ของสังคม รวมถึง การพัฒนานโยบายสาธารณะ ระดับชุมชน โดยจัดให้มีการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ยั่งยืนในระดับชุมชนและ ท้องถิ่น พร้อมทั้งจัดให้มีการติดตาม และ ประเมินผล 2 . สร้างระบบสุขภาพที่เป็นธรรมผ่านการกําหนดมาตรการและนโยบายเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นธรรม ที่ทําให้เกิดการจัดการเชิงโครงสร้าง กลไก และกระบวนการบริหารจัดการ การจัดหาและกระจายทรัพยากร ที่เป็นธรรมกับทุกคนในสังคม โดยมีส่วนร่วมและการร่วมมือกันระหว่างภาคส่วนในทุกระดับอย่างแท้จริงและ เป็นไปอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ รวมทั้งติดตามสถานการณ์และรายงานความเป็นธ รรมต่อการเข้าถึงสิทธิ และสวัสดิการพื้นฐานแก่ประชาชนทุกกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มประชากรเสี่ยงหรือ ที่อยู่ในสภาวะ เปราะบาง 3 . มุ่งส่งเสริมบทบาทของภาคส่วนต่าง ๆ ในการจัดการสังคมและสุขภาพในประเทศและระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการออกแบบสังคมและระบบสุขภาพสู่ท้องถิ่นตนเองได้ โดย มีกลไกเชื่อมโยง บทบาทของหน่วยงานรัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชนในการสนับสนุนการจัดการระบบสุขภาพ ตั้งแต่ระบบ สุขภาพชุมชน ท้องถิ่น และประเทศ สร้างความเป็นธรรมาภิบาล โดยมีพื้นที่ให้คนทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมมือ ในการพัฒนาทุกระดับอย่างกว้างขวางมาก ขึ้น เพื่อช่วยกันกําหนดนโยบายระดับพื้นที่/ท้องถิ่น/ชุมชน รวมทั้ง การออกแบบบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคคลในชุมชนต่อเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และ ชุมชน ให้ มีความสามารถปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ลดภาวะพึ่งพาด้านเศรษฐกิจและสังคม เพิ่มการมี ส่วนร่ วม และบทบาท ของภาคเอกชน ในการช่วยสนับสนุนระบบบริการสาธารณสุขในภาวะวิกฤติ ด้านสุขภาพ เช่น การส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ และ เครื่องมือ ทางการ แพทย์ การร่วม กัน ขับเคลื่อนประเด็น ความรอบรู้ด้านสุขภาพ 4 . สร้างกลไก เครื่องมือ และพื้นที่กลาง เช่น สมัชชาสุขภาพ ธรรมนูญสุขภาพ ในเชิงประเด็นหรือ เชิงพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีความร่วมมือ กัน และสร้างความเป็นเจ้าของในสังคมและสุขภาพทุกระดับ อย่างกว้างขวางมากขึ้น และพัฒนาศักยภาพบุคลากรทุกภาคส่วนรวมทั้งภาคประชาชน ให้มีความเข้าใจและ สมรรถนะการทํางานสานพลังสร้างสุขภาวะในบริบทของความเป็นเมือง/ชุมชนได้ โดยบูรณาการระบบสุขภาพนั้น กับกลไกการมีส่วนร่วมระดับพื้นที่ ตัวอย่างเช่น คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) คณะกรรมการ
หน้า 23 / 1 0 5 พั ฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ (พชอ.) คณะ กรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) ตําบลจัดการคุณภาพชีวิต เป็นต้น เพื่อสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วนในพื้นที่การจัดการสุขภาพและสาธารณสุข ผนวกไปกับมาตรการพัฒนา ทางสังคมด้านอื่น ๆ ในพื้นที่ 5 . สร้างและส่งเสริมกลไก กระบวนการ และนวั ตก รรมต่าง ๆ เพิ่มเติม ที่จะ เป็นหลักประกันให้กลุ่ม คน ที่อยู่ในสภาวะ เปราะบางหรือขาดโอกาสทางสังคม สามารถเข้าร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะได้อย่าง เป็นธรรมและเท่าเทียม ทั้งเป็นการ บ่มเพาะจิตสํานึกความเป็นพลเมือง เข้าใจความแตกต่างหลากหลายและ การเชื่อมโยงตนเองกับสิ่งรอบตัวทั้งผู้คน สังคม ธรรมชาติ และโลก สามารถ คลี่คลายความแตกแยกจาก ความขัดแย้งหรือเห็นต่างกันที่ส่งผลกระทบสําคัญต่อการมีสุขภาพที่ดี และ ร่วมหาทางออกจากวิกฤติความขัดแย้ง ได้อย่างสร้างสรรค์ 6 . ในการกําหนดนโยบายการ พัฒนาสังคมใด ๆ ต้องไม่ทําให้เป็นปัจจัยเพิ่มความเหลื่อมล้ําทางสังคมและ สุขภาพ การผูกขาดเชิงอํานาจและระบบอุปถัมภ์ โดยให้นําแนวคิดและกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ที่ต้องใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์หรือองค์ความรู้อย่างรอบด้านมาประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างความเข้าใจศั กยภาพ ตนเองและกําหนดนโยบายสาธารณะ ทั้งที่เป็นนโยบายสุขภาพโดยตรงและนโยบายการพัฒนาสังคมด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมที่เอื้อ ต่อ การสร้างสุขภาพ ทั้งนี้จะเป็นการส่งเสริมการสร้างและใช้ข้อมูลของชุมชน สามารถนํามาใช้ประโยชน์ในการกําหนดนโยบายและมาตรการที่เหมาะส มต่อชุมชน โดยต้องเน้นทักษะและ กระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ชุมชนสามารถจัดเก็บ วิเคราะห์ และสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเป็นเจ้าของ ข้อมูลเอง รวมทั้งขีดความสามารถ ใน การ สร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ และสนับสนุนให้เกิดช่องทาง การเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ การสร้างเสริมสุขภาพ และการจัดการ ปัจจัยสังคมที่กําหนดสุขภาพ เป้าหมาย เป็นระบบสุขภาพที่กําหนดนโยบายสนับสนุนให้มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยสังคม ที่ กําหนดสุขภาพที่เอื้อให้ ประชาชนทุกคนบนผืนแผ่นดินไทยที่เกิด เติบโต ทํางาน ดํารงชีวิตอยู่ จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต สามารถ ดํารงตน และพัฒนาสุขภาพตนเองอย่างสมดุลทั้งกาย จิต ปัญญา และสังคม อย่างมี ศักยภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ได้รับและเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพ (นอกเ หนือจากเรื่องการรับบริการสุขภาพ) มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีพฤติกรรม ด้านสุขภาพที่เหมาะสม สามารถ สร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรคและปัจจัยคุกคามสุขภาพได้ในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน การคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสุขภาพ ตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ รวมทั้งสามารถเข้ามำ มีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพได้อย่างเป็นธรรมและสอดคล้องตามบริบท โดย นโยบาย
หน้า 24 / 1 0 5 สาธารณะนี้ต้องคํานึงถึงความต้องการและเงื่อนไขข้อจํากัดของทุกกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง สิทธิของบุคคลและ ชุมชนในการดํารงชีวิตอยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่ อสุขภาพ มาตรการสําคัญ 7 . ส่งเสริมแนวคิดการสร้างทุนสังคมและความเป็นอันหนึ่งอันเดียว กัน ของสังคม สู่การสร้างชุมชนและ เมืองสุขภาวะ ( healthy city) ที่สอดคล้องกับมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก 32 ทั้งการพัฒนาเมืองสีเขียว (green city) เมืองอัจฉริยะ (smart city) เมืองทั่วถึงของทุกคน ( inclusive city) และเมืองน่าอยู่ตามทิศทาง การเปลี่ยนแปลงของชุมชนและสังคม ควบคู่กับการเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถในการปรับตัวและ ตอบสนองต่อสถานการณ์แบบพลวัต ที่ส่งผลต่อการดําเนินชีวิตและมิติการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อ เพิ่ม ประสิทธิภาพการทํางานร่วมกันทั้งเชิงนโยบายและปฏิบัติการ รวมทั้งเป็นทิศทางปฏิบัติการทางสังคมแนวใหม่ ในการคลี่คลายความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ 8 . ส่งเสริมการสร้างชุมชน นโยบายและพื้นที่สาธารณะทั้งทางกายภาพ และโลกเสมือนจริง ที่ส่งเสริมและ ตระหนักถึงความสําคั ญกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคู่ กับการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ บรรยากาศ แนวทางการใช้พื้นที่ร่วมกัน การมีสติ การตระหนักรู้ การเข้าใจความจริง คุณค่าและความหมายของการมีชีวิตและสังคมที่ดีร่วมกัน 9 . สร้างการรับรู้และ ตระหนักรู้ในหน้าที่ของประชา ชน ในการดูแลสุขภาพ และพัฒนาศักยภาพใน การดูแล สุขภาพ ของตนเองและสังคมอย่างสมดุลทั้งทางกาย จิต ปัญญาและสังคม รวมถึง ศักยภาพบุคคลในการดูแลสุขภาพ ด้วยหลักความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยมีระบบสุขภาพที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพ รวมทั้ง สร้างความเข้มแข็งทาง จิต และปัญญา สร้างพื้นที่เรียนรู้ร่วมกัน ให้เป็นพลังเชิงบวกในการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อ ให้ ประชาชนและสังคม สามารถใช้ชีวิตที่เป็นสุขได้ในภาวะปกติ และสามารถก้าวผ่านปัญหาในทุกวิกฤติให้กลับมามีชีวิ ตที่เป็นปกติสุขได้ เพิ่มการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและข้อมูลมาช่วยยกระดับการสร้างเสริมสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพ ให้แก่บุคคลและชุมชนนั้น ทั้งการออกแบบนโยบายสุขภาพและสิทธิด้านสุขภาพในกลุ่มประชาชนอย่างเหมาะสม แม่นยํา เข้าถึงและทั่วถึง ตลอดจนสามารถใช้เป็นช่อง ทางสื่อสารในวงกว้าง ด้วยช่องทางที่หลากหลาย และรวดเร็ว รวมถึงการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวที่บ้าน ด้วยเทคโนโลยี ดิจิทัล ที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย แม่นยําและรักษา ความเป็นส่วนตัว 10 . พัฒนานโยบายสาธารณะเชิงบวกเพื่อกระตุ้นแรงจูงใจในการเพิ่มพฤติกรรมและทักษะการสร้างเสริม สุขภา พส่วนบุคคลและครอบครัว ด้วยมาตรการ ทาง สังคม เศรษฐกิจ ระบบข้อมูลและอื่น ๆ ทั้งในเชิงแนะนําและ เตือนภัยเพื่อการตัดสินใจ อันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ให้สามารถเลือกและเข้าถึงสินค้าและบริการ 32 https://www.euro.who.int/en/health - topics/environment - and - health/urban - health/who - european - healthy - cities - network/what - is - a - healthy - city .
หน้า 25 / 1 0 5 ที่เกี่ยวกับการสร้างสุขภาพที่ดีได้ และสร้างนโยบายที่ลดการบริโภคหรือเข้าถึงสินค้าและบริการที่ส่งผลเสีย ต่อสุขภาพ 11 . พัฒนาระบบการเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคให้สามารถรองรับสถานการณ์ภัยคุกคาม ด้านสุขภาพ ทั้งในระดับพื้นที่และระดับที่กว้างขวางทั่วประเทศหรือทั่วโลก มีกลไกบูรณาการ ข้อมูลด้านสุขภาพ และการสื่อสารเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ ทั้งระดับ ท้องถิ่น ตําบล อําเภอ จังหวัด และประเทศ ที่สามารถ รองรับสถานการณ์ในแต่ละระดับได้อย่างมีประสิทธิผล สามารถกําหนดมาตรการในการดําเนินการอย่างรวดเร็ว ทันการณ์ 12 . สนับสนุนให้ประชาชนสร้างระบบสุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ ตาม “แนวทาง ป่าชุมชน และป่าครอบครัว กับการอนุรักษ์ ปกป้อง และการใช้สมุนไพรอย่างยั่งยืน” สามารถทํากิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ การ สร้างเสริม สุขภาพและการป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพ รวมทั้งการดูแลสุ ขภาพจากอาการและ โรคเบื้องต้น หรือแก้ไขปัญหาสุขภาพจากโรคพื้นฐานได้ด้วยตนเองของประชาชน ครอบครัว และชุมชน เพื่อการ ดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมบนหลักของการพึ่งตนเอง การมีส่วนร่วมและหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยมีองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล หน่ วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเครือข่ายหมอพื้นบ้าน และ เครือข่ายประชาสังคมในพื้นที่ ร่วมเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนา รวมถึงการส่งเสริมและยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านสุขภาพและสมุนไพรไทย ตามทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ตาม โมเดล เศรษฐกิจแบบใหม่ ( Bio - Circular - Green Economy : BCG Model) ที่มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืน ( SDGs) และสอดรับกับหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 13 . ส่งเสริม พัฒนา และบูรณาการกลไกการเฝ้าระวังและบริหารจัดการเพื่อสร้างเสริม ป้องกันและแก้ไข ปัญหาควา มบกพร่องทางสุขภาพ หรือโรคอุบัติใหม่จากเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน เช่น โรคติดเกม โรคติดพนัน ด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคม 14 . เสริมพลังการทํางานสุขภาพทางปัญญาให้เป็นฐานสําคัญและพลังบวกในการทํางานสร้างเสริม สุขภาพ โดยเชื่อมโยงและพัฒนาเครือข่าย ส่งเสริมให้คนทํางานด่านหน้าในระบบการศึกษาและระบบสุขภาพ มีทักษะและเครื่องมือในการพัฒนาสุขภาพทางปัญญา ศึกษาวิจัย จัดการความรู้ เผยแพร่ และสร้างพื้นที่เรียนรู้ เรื่องสุขภาพทางปัญญาที่คนทั่วไปและกลุ่มคนที่หลากหลายสามารถเข้าถึงได้ง่า ย การจัดการระบบบริการสุขภาพ เป้าหมาย ทุกคนบนผืนแผ่นดินไทยเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ เป็นการบริการต่าง ๆ อันเกี่ยวกับ การสร้างเสริม สุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ การตรวจวินิจฉัยและบําบัดสภาวะความเจ็บป่วย
หน้า 26 / 1 0 5 และการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ที่เชื่อมโยงและสมดุลทั้งสุขภาพทางกาย จิต ปัญญาและ สังคม ที่เป็นธรรม ตอบสนอง มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปลอดภั ย มีประสิทธิภาพ และเน้นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อย่างเท่าเทียมกันของบุคลากรและผู้รับบริการ ด้วยการ บูรณาการตั้งแต่ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ จนถึงตติยภูมิ โดยมี องค์ประกอบย่อย ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ ตั้งแต่ การ สร้างเสริม สุขภาพ การ ป้ องกันควบคุมโรคและปัจจัยคุกคามสุขภาพ รักษาและฟื้นฟูสุขภาพ การจัดการกําลังคนด้านสุขภาพ การเงิน การคลังด้านสุขภาพ ผลิตภัณฑ์สุขภาพและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ มาตรการสําคัญ 15 . นํานโยบายทางการเงินการคลังมาใช้เป็นเครื่ องมือเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนและกระจาย ทรัพยากรด้านสุ ขภาพที่รวมไปถึงกําลังคนด้านสุขภาพ เทคโนโลยีสุขภาพ ข้อมูลข่าวสาร ที่มุ่งในทิศทาง ลดความเหลื่อมล้ําและขยายขอบเขตของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้เพิ่มประสิทธิผลของการสร้างเสริม สุขภาพและป้องกันโรค เพื่อให้เกิด ความ คุ้มครอง ด้าน สุขภาพและปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน อย่างทั่วถึง และตอบสนองต่อความต้องการและต้นเหตุของปัญหาสุขภาพ รวมถึงสร้างแรงจูงใจในการสร้าง สุขภาวะที่ดี 16 . พัฒนาและใช้ระบบบริการปฐมภูมิเป็นฐานของหลักประกันสร้างการเข้าถึงบริการที่เป็นธรรม พัฒนา การ สาธารณสุขมูลฐาน ระบ บบริการสุขภาพประชาชน ระบบบริการปฐมภูมิ อย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เชื่อมโยงและตอบสนองความจําเป็นด้านสุขภาพ และออกแบบให้เชื่อมโยงกับบริการระดับทุติยภูมิ และตติยภูมิ โดยมุ่งให้ทุกภาคส่วนร่วมเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนา ทั้งหน่วยบริการสุขภาพภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน และ องค์กรภาคประชาสังคม สามารถนํามาพัฒนา ใช้ประโยชน์และเข้าถึงอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม 17 . พัฒนาและออกแบบรูปแบบการจัดบริการสุขภาพ ชุมชน/ เมืองหรือพื้นที่จําเพาะ รวมไปถึงชุมชน เสมือน (virtual community) และชุมชนออนไลน์ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของคนทุกกลุ่มได้ โดยมี กลไกการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ นําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่สนับสนุนการจัดการ สุขภาพของประชาชนด้วยมาตรการที่เหมาะสมต่อบริบทของชุมชนเพื่อป้องกันความเหลื่อมล้ําต่อการเข้าถึง ทั้ งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน มีความยืดหยุ่น ปรับตัว รับมือกับสถานการณ์ปกติและวิกฤติ ได้ 18 . พัฒนาระบบบริการ ของหน่วยบริการสุขภาพทุกรูปแบบทั้งของภาครัฐ และเอกชน ให้มีคุณภาพ มาตรฐานและความปลอดภัย โดยมีระบบการควบคุมคุณภาพที่เหมาะสมกับ การบริการในระดับต่าง ๆ แล ะมีระบบ ควบคุมค่าใช้จ่ายในการบริการที่ สมเหตุผล ไม่เป็นภาระเกินจําเป็นแก่ผู้ ใช้บริการ รวมถึงการผลิตและ พัฒนากําลังคนด้านสุขภาพ ให้มีขีดความสามารถ ให้บริการด้วย หัวใจความเป็นมนุษย์ มีจํานวน และ มีการกระจาย อย่างทั่วถึง รองรับการให้บริการในระดับต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุม โดยบุคลากรมีขวัญกําลังใจและความสุข ในการทํางาน
หน้า 27 / 1 0 5 19 . พัฒนาระบบสุขภาพชุมชนและการสาธารณสุขมูลฐานและระบ บ บริการสุขภาพ ด้วยภูมิปัญญา ท้องถิ่นด้านสุขภาพให้เข้มแข็ง และเชื่อมต่อกับระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศ โ ดยรูปแบบหน่วยบริการ ร่วมให้บริการ หรือรูปแบบอื่น ๆ รวมถึงระบบสุขภาพของประชาชน ด้วยการสนับสนุนให้มีกระบวนการ ศึกษาวิจัย/องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การขับเคลื่อนและบูรณาการข้อมูลในระดับชาติเพื่อการ ส่ งเสริ มสนั บสนุนการใช้และการพัฒนาภู มิ ปัญญาท้ องถิ ่ น และ การ พั ฒนากําลั งคน รวมถึ งสนั บสนุน ภาคประชาสังคม เครือข่ายหมอพื้นบ้าน เครือข่ายวิชาชีพการแพทย์แผนไทย เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยเข้าถึง และใช้บริการสุขภาพในระบบการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกที่มีคุณภาพ/ มาตรฐาน ประสิทธิผล ปลอดภัย และใช้อย่ำงสมเหตุสมผล 20 . ออกแบบระบบบริการและการเงินการคลัง ที่ให้หน่วยบริการสุขภาพมีส่วนร่วม ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อจัดการดูแลกลุ่ม ที่อยู่ในสภาวะ เปราะบางทางสังคมและสุขภาพ กลุ่มที่มีปัญหาหลักประกันและการเข้าถึง ระบบบริการสุขภาพอย่างเป็นระบบ เช่น แรงงานข้ามชาติ ผู้ไม่มีเลขประจําตัว 13 หลัก ให้สามารถเข้าถึงบริการ สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จําเป็น โดยเฉพาะการได้รับวัคซีน ที่จําเป็น และให้มีระบบประกันสุขภาพ สําหรับการดูแลรักษาที่ ครอบคลุม โดยมีทางเลือกในรูปแบบต่าง ๆ และพัฒนาแหล่งรายได้ที่เหมาะสมสําหรับดูแล ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้ 21 . เสริมสร้างความเข้มแข็ง ของ กลไก การจัดการระบบ ข้อมูล ที่ บูรณาการ ทั้ง ระดับชาติและพื้ นที่ ที่มี ความ น่า เชื่อถือ สามารถนําไปใช้ในการบริหารจัดการและอ้างอิงได้ ประสานงานดําเนินการในการสื่อสารข้อมูล ที่ถูกต้อง ครบถ้วน เข้าใจง่าย เข้าถึงง่าย หลากหลายรูปแบบ เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม และทันต่อ สถานการณ์ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ รวมทั้งมีกระบวนการเฝ้าระวังความเสี่ยง และร่ วมตรวจสอบ อย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน 22 . เสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกการทํางานอาสาสมัคร/จิตอาสาเพื่อส่งเสริมระบบบริการสุขภาพ และเชื่อมโยงอาสาสมัคร/จิตอาสาจากทุกภาคส่วนในการช่วยเหลือกลุ่มคนและชุมชน ที่อยู่ในสภาวะ เปราะบาง ที่มีทุกขภาวะ เพื่อสร้างพื้นที่เรียนรู้ และปฏิบัติการที่เพิ่มพลังความเห็นอกเห็นใจและไว้วางใจทางสังคม ที่นําไปสู่ การพัฒนาสุขภาวะทั้งของปัจเจกและสังคมไปพร้อมกัน 23 . ส่งเสริมและพัฒนากลไกการศึกษาวิจัยและพัฒนา การบริหารจัดการงานวิจัย / สร้างองค์ความรู้ ด้านสุขภาพ ทั้งเชิงระบบและนวัตกรรมสมัยใหม่ การพัฒนาตั วชี้วัด ในการติดตามและ ประเมินผลความเป็นธรรม ของระบบสุขภาพ รวม ทั้ง ข้อมูล และ เทคโนโลยี สารสนเทศ ที่สนับสนุนให้ เกิดความเป็นธรรมจากระบบ บริการ สุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี และการมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะ
หน้า 28 / 1 0 5 แนวทางการวัดผลสําเร็จของระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ 1 . รายงานการวัดผลสําเร็จ และการมีส่วนร่วมในกระบวนการ การกําหนดและดําเนินนโยบายการเมือง เศรษฐกิจ และ สังคม ที่คํานึงถึงหรือส่งผลต่อสุขภาพไปพร้อมกัน (ตัวอย่างเช่น นโยบายการศึกษา นโยบายแรงงาน นโยบายการพัฒนาเมือง) 2 . ข้อมูลสถานการณ์และแนวโน้มความเป็นธรรมของระดับสุขภาพ รวมทั้งปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อ สุขภาพ ปัจจัยคุกคาม สุขภาพ และการกระจายการลงทุน ทรัพยากร 3 . ข้อมูล สถานการณ์และแนวโน้มความเป็นธรรมด้านการเข้าถึงบริการสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรค การรักษาพยาบาล ของบุคคลกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่มีปัจจัยความเสี่ยง ทาง สุขภาพสูงหรืออยู่ในสภาวะแวดล้อม ที่เปราะบางต่อสุขภาพ 4 . ข้อมูลการมีส่วนร่วมในกลไกการอภิบาลและกํากับคุณภาพในระบบบริการสุขภาพ การคุ้มครอง ผู้บริโภค ด้านสุขภาพ และมาตรการทางสังคมอื่น ๆ 5 . ตัวอย่างรูปธรรม ของ การจัดบริการสุขภาพชุมชนเมือง/ชุมชนหรือต้นแบบที่แสดงความ จําเพาะ สามารถ ตอบสนองความต้องการของคนทุกกลุ่มในพื้นที่ รวมทั้งรูปธรรมพื้นที่ต้นแบบหรือพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคมในการ คลี่คลายความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์และผลลัพธ์เชิงบวกต่อการบรรลุสุขภาพที่ดีอย่างเป็นธรรม
หน้า 29 / 1 0 5 นิยามศัพท์ 1. สุขภาพ ( health) หมายความว่า ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคมเขื่อมโยงกัน เป็นองค์รวมอย่างสมดุล (พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550) 2. ระบบสุขภาพ ( health system) หมายความว่า ระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550) 3. สุขภาวะ ( well - being ) หมายความว่า ภาวะที่ดี หรือความอยู่ดีมีสุข ซึ่งมีได้หลายด้าน ได้แก่ ความอยู่ดีมีสุขทางกายหรือสุขภาวะ ทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม โดยความอยู่ดีมีสุขนี้สามารถระบุได้จากความรู้สึกของแต่ละบุคคล ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามประสบการณ์และภูมิหลังของตน และยังสามารถระบุได้จากองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการใช้ชีวิตของบุคคลนั้นๆ เช่น ระบุจากสุขภาพ การศึกษา การงาน ความสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม สิ่ง แวดล้อม ต่างๆ ความมั่นคงด้านต่างๆ การมีส่วนร่วม ที่อยู่อาศัย สมดุลระหว่างการทํางานและการใช้ชีวิตส่วนตัว ซึ่งแนวคิด ของทั้งสุขภาวะและสุขภาพนั้นมีความสัมพันธ์กัน โดยสุขภาพมีผลต่อสุขภาวะโดยรวม และขณะเดียวกัน สุขภาวะ ก็มีผลต่อสุขภาพในอนาคต (อ้างอิงจาก Measurement of and target - setting for well - being: an initiative by the WHO Regional Office for Europe Second meeting of the expert group Paris, France, 25 – 26 June 2012 และบทความเรื่ องแนวคิดความอยู่ ดีมีสุ ขของไทย ( Well - being in Thailand ) โดย ไชยฤทธิ์ อนุชิตวรวงศ์ ) 4. ความเป็นธรรมด้านสุขภาพ ( health equity ) หมายความว่า ภาวะที่ประชาชนกลุ่ มต่าง ๆ ตลอดทุกช่วงวัย ไม่มีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น การแบ่งกลุ่ม ทางสังคม เศรษฐกิจ ลักษณะประชากร เชื้อชาติ ถิ่นที่อยู่อาศัย พื้นที่ หรือการเข้าถึงสิทธิหน้าที่ ด้านสุขภาพตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 หากความแตกต่างนั้น ๆ เป็นความแตกต่าง ที่สามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกันได้ (ปรับปรุงจาก ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559 )
หน้า 30 / 1 0 5 5 . ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม ( equit able health system ) หมายความว่า ระบบสุขภาพที่ มุ่งให้เกิดความเป็นธรรมด้านสุขภาพ ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง 6. ระบบสุขภาพที่ตอบสนอง ( responsive health system ) หมายความว่า ระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ที่ตอบสนองต่อความจําเป็นและ ความต้องการด้านสุขภาพ ทั้งในสถานการณ์ปกติและฉุกเฉิน 7 . ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ( leaving no - one behind ) หมายความว่า ทุกคนบนแผ่นดินไทย โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความจํา กัด ด้านสุขภาพ คนด้อยโอกาส ในสังคม กลุ่มคนที่อยู่ในสภาวะเปราะบางอย่างครอบคลุมก่อนเป็นอันดับแรก ในการเข้าถึงระบบสุขภาพ โดยไม่มี ความเหลื่อมล้ํา ไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งในเรื่องคุณภาพชีวิตและเรื่องการเข้าถึงระบบสุขภาพ โดย คํานึงถึงศักดิ์ศรี ของความเป็นมนุษย์ (ปรับปรุงจาก https://unstats.un.org/sdgs/report/ 2016/ Leaving - no - one - behind/ และธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559 ) รวมถึงผู้ให้บริการและผู้ที่มีส่ วนได้ส่วนเสีย ( stakeholders ) ทั้งหมดในระบบสุขภาพ 8 . ระบบสุขภาพที่สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ( resilience ) หมายความว่า ความสามารถ ในการฟื้นคืนสู่ปกติของระบบสุขภาพ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับทั้งความรุนแรง ของภาวะ/สิ่งที่มากระทบ ความสามารถในการเรียนรู้ ความเป็นผู้นํา ( leadership ) โครงสร้างของระบบสุขภาพ และการอภิบาลหรือ governance ที่หมายความครอบคลุมถึงทั้งการจัดการระบบข้อมูลด้านสุขภาพ การเงิน การคลังด้านสุขภาพ และกําลังคนด้านสุขภาพ การทําให้ระบบสามารถคงอยู่ได้หรือสามารถมีโครงสร้างที่ปฏิบัติ หน้าที่ได้ตามปกติได้นั้น สามารถทําได้โดยวิธีการใหญ่ ๆ ได้ 3 วิธี คือ 1 ) การแบกรับของระบบ ซึ่งสั มพันธ์กับ ความสามารถในการแบกรับ ( absorptive capacity ) 2 ) การปรับเปลี่ยนของระบบ ซึ่งสัมพันธ์กับความสามารถ ในการปรับเปลี่ยน ( adaptive capacity ) และ 3 ) การเปลี่ยนแปลงของระบบ ซึ่งสัมพันธ์กับความสามารถในการ เปลี ่ ยนแปลง ( transformative capacity ) (ปรั บปรุ งจาก Karl Blanchet et al. 2017. Governance and capacity to manage resilience of health systems: Towards a new conceptual framework. Int J Health Policy Manag. 6(8): 431 - 435. )
หน้า 31 / 1 0 5 9 . การอภิบาลระบบสุขภาพที่ดี ( good governance for health system) หมายความว่า การดูแลและการบริหารระบบสุขภาพด้วยการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างภาครัฐ องค์กร สาธารณะต่าง ๆ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคมที่รวมทั้งหน่วยงานหรือองค์กรที่มีบทบาทโดยตรงกับเรื่องสุขภาพ และที่ไม่ได้มีบทบาทเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องสุขภาพ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาหรือความท้าทายต่าง ๆ ในสังคม และสร้างสรรค์โอกาสใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดสุขภาพ (ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบั บที่ 2 พ.ศ. 2559) โดยยึดหลักการมีส่วนร่วม หลักความโปร่งใส หลักความรับผิด รับ ชอบและตรวจสอบได้ หลักประสิทธิภาพและ หลัก ประสิทธิผล และหลักนิติธรรม 10 . การทําสภาพแวดล้อมให้เอื้อ ต่อการมีสุขภาพที่ดี หมายความว่า การทําสภาพแวดล้อมให้เอื้อ ( enabling and empowering environment ) ต่อการ จัดการกับปัจจัยกําหนดสุขภาพ (determinants of health) ด้านต่าง ๆ กล่าวคือ ไม่เฉพาะด้านการแพทย์ที่ส่งผล ต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพเท่านั้น แต่ยังต้องให้ความสําคัญกับทั้งปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่กําหนดสุขภาพ ปัจจัยการเมือง ที่กําหนดสุขภาพ ปัจจัยกำรค้าที่กําหนดสุขภาพเพื่อนําไปสู่ระบบสุขภาพที่ดี และเอื้อให้เกิดทุกนโยบายห่วงใย สุขภาพ ( Health in A ll P olicies: HiAP ) 1 1 . ปัจจัยสังคม ที่ กําหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health : SDH) หมายความว่า สภาพแวดล้อมที่บุคคลเกิด เติบโต ทํางาน ดํารงชีวิตอยู่ จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต รวมถึง ปัจจัยและระบบต่าง ๆ ที่เข้ามามีส่วนกําหนดสภาพแวดล้อมเหล่านั้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางกายภาพ เช่น เพศ (sex) และเพศภาวะ (gender) อัตลักษณ์เฉพาะบุคคล มลภาวะ และปัจจัยทางสังคมเชิงระบบที่สลับซับซ้อน เช่น นโยบายและร ะบบเศรษฐกิจ ทิศทางการพัฒนา บรรทัดฐานในสังคม นโยบายสาธารณะ นโยบายทางสังคม ระบบการเมืองการปกครอง ซึ่งล้วนมีผลต่อสุขภาพของประชาชนทั้งสิ้น (ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559 ปรับปรุงจาก www.who.int/social_ determinants/en/ ) 1 2 . การพัฒนาศักยภาพมนุษย์ หมายความว่า การให้ความสําคัญกับการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ในทุกช่วงวัยและทุกระดับ ทั้งในด้าน ทักษะต่าง ๆ เช่น ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ( health literacy ) ความรอบรู้ด้านดิจิทัล ( digital literacy ) ความ รอบรู้ ด้านสิ่งแวดล้อม ( environmental literac y ) และด้านการพัฒนาศักยภาพคนสู่ความเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ มีส่วนร่วมรับผิดรับชอบต่อสังคม ( active citizen ) เพื่อให้ประชาชนและชุมชนมีความรู้เท่าทัน ตระหนักรู้และ มีบทบาทในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ สามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม
หน้า 32 / 1 0 5 และเป็ นพลเมืองที่มีความร่วมรับผิดรับชอบต่อสังคมในด้านสุขภาพ นอกจากนี้ ประชาชนต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เพียงพอ สามารถเข้ามามีบทบาท ได้รับการสนับสนุนและปฏิบัติอย่างสมศักดิ์ศรี 1 3 . การมีส่วนร่วมด้านสุขภาพ ( health engagement) หมายความว่า กระบวนการที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามาทํางานร่วมกัน ในการค้นหา ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ( health - related issue s ) ภายใต้หลักการของความไว้วางใจ ความสามารถในการ เข้าถึง ความเท่าเทียม ความโปร่งใส และความเป็นอิสระในลักษณะของการร่วมรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมดําเนินการ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับประโยชน์ ร่วมติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และช่วยทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สภาพแวดล้อม นโยบาย โครงการ และแนวปฏิบัติภายในชุมชน ให้มุ่งสู่การสร้างสุขภาวะ ( well - being ) เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์และเป้าหมายการมีสุขภาพที่ดี (ปรับปรุงจาก WHO, 2020. Community Engagement: A health promotion guide for universal health coverage in the hands of the people และธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559) 1 4 . การสร้างเสริมสุข ภาพ หมายความว่า กระบวนการในการเพิ่มความสามารถให้กับบุคคล/ประชาชน กลไกทางสังคมและ สภาพแวดล้อม เพื่อให้สามารถควบคุมปัจจัยที่กําหนดสุขภาพและพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งทางกาย จิต ปัญญา และสังคม ซึ่งมิได้เป็นเพียงความรับผิดชอบรายบุคคลหรือเป็นความรับผิดชอบของบุคลากรและองค์กร สุขภาพเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องไปถึงภาคส่วนต่างๆ ในสังคมที่จะร่วมกันสร้างวิถีชีวิต สังคม และ สิ่งแวดล้อม ที่ นําไปสู่ สุขภาวะที่ ดี และในนิยามที่ พัฒนาให้กว้างขึ้ นยังสามารถรวมถึงการเชื่ อมโยงถึงสิทธิมนุษยชน ความเป็นธรรมทางสังคม และสิ่งแวดล้อมด้วย ทั้งนี้ ในบางกรณีอาจใช้คําว่าการส่งเสริมสุขภาพแทน (เอกสาร World Health Organization. “The Ottawa Charter for Health Promotion”. Geneva, Switzerland: WHO; 1986 Nov 21. เข้าถึงได้จาก: http://www.who.int/healthpromotion/conferences/previous/ottawa/en/index.html. และ เอกสาร World Health Organization. “The Geneva Charter for Well - being”. Geneva, Switzerland: WHO; 2021 Dec 15. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/publications/m/item/the - geneva - charter - for - well - being - (unedited) ) 1 5 . ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ ( Health in All Policies: HiAP ) หมายความว่า การทํางานข้ามภาคส่วนอย่างเป็นระบบโดยนําประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางสุขภาพ มาประกอบการตัดสินใจ เป็นการทํางานร่วมกันแบบเสริมพลัง เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เป็นอันตรายทางสุขภาพ
หน้า 33 / 1 0 5 และเพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะระหว่างภาคส่วนต่างๆ ที่จะนําไปสู่การทําให้สุขภาพของประชาชนและ ความเป็นธรรมทางสุขภาพดียิ่งขึ้น ( ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559) 1 6 . กลุ่มคนที่อยู่ในสภาวะเปราะบาง ( vulnerable groups ) หมายความว่า กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเจ็บป่วย หรือได้รับอันตรายทางสุขภาพ เนื่องด้วยสถานะ สุขภาพทางด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางกาย จิต ปัญญา หรือสังคม ทําให้กลุ่มคนเหล่านี้จัดการกับความเสี่ยง ดังกล่าวได้ไม่ดี หรือไม่สามารถจัดการกับความเสี่ยงหรือปัจจัยต่างๆ ที่เข้ามามีผล กระทบต่อสุขภาพของพวกเขาได้ ( ปรับปรุงจาก ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559) 1 7 . ชุมชน ( communities ) หมายความว่า กลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตเกี่ยวพันกันและมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างเป็นปกติและต่อเนื่อง โดยเหตุที่อยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน หรือมีอาชีพเดียวกัน หรือประกอบกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกันหรือ มีวัฒนธรรม ความเชื่อหรือความสนใจร่วมกัน ( ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559) 1 8 . ชุมชนเมือง (urbaniz ation of communities) หมายความว่า ชุมชนทุกรูปแบบในทุกบริบทพื้นที่ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง ของหรือสู่ ความเป็นเมือง 1 9 . ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ( health literacy ) หมายความว่า ระดับสมรรถนะของบุคคลในการเข้าถึง เข้าใจ สามารถตัดสินใจ ประเมิน และปรับใช้ ข้อมูลความรู้ และบริการสุขภาพได้อย่างเหมาะสม เลือกรับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพได้ ( ปรับจากเอกสาร โครงการสํารวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ. 2560 (ระยะที่ 1)) 20 . ระบบบริการสุขภาพ หมายความว่า ระบบการบริการต่าง ๆ อันเกี่ย วกับ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรคและ ปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ การตรวจวินิจฉัยและบําบัดสภาวะความเจ็บป่วย และการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ที่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ จนถึงตติยภูมิ โดยมีองค์ประกอบย่อย ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แ ก่ การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพตั้งแต่ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรคและ
หน้า 34 / 1 0 5 ปัจจัยคุกคามสุขภาพ รักษาและฟื้นฟูสุขภาพ การจัดการกําลังคนด้านสุขภาพ การเงินการคลังด้านสุขภาพ ผลิตภัณฑ์สุขภาพและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ 2 1 . การบริการสาธารณสุข หมายความว่า การบริการต่างๆ อันเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัย ที่คุกคามสุขภาพ การตรวจวินิจฉัยและบําบัดสภาวะความเจ็บป่วย และการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน (ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559) 2 2 . การบริการสุขภาพปฐมภูมิ หมายความว่า การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มุ่งหมายดูแลสุขภาพของบุคคลในเขตพื้นที่ รับผิดชอบในลักษณะองค์รวมตั้งแต่แรก ต่อเนื่อง และผสมผสาน ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมโรค การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ โดยหน่วยบริการปฐมภูมิหรือ เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิที่ประกอบด้วยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ รวมทั้งเชื่อมโยงกับครอบครัว ชุมชน และบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขระดับทุติยภูมิ และตติยภูมิ (พระราชบัญญัติสุขภาพปฐม ภูมิ พ.ศ. 2562) 2 3 . การบริการสาธารณสุขทุติยภูมิ หมายความว่า การบริการสาธารณสุขที่มีภารกิจในด้านการตรวจ วินิจฉัย การรักษาพยาบาล และ การฟื้นฟูสมรรถภาพบุคคลที่เจ็บป่วยด้วยโรคพื้นฐานทั้งระดับที่ไม่ซับซ้อนมากนักจนถึงระดับที่มีความซับซ้อน มากขึ้นและจําเป็นต้องใช้แพทย์เฉพาะทางสาขาหลัก (นิยามของกระทรวงสาธารณสุข) 2 4 . การบริการสาธารณสุขตติยภูมิ หมายความว่า การบริการสาธารณสุขที่มีภารกิจขยายขอ บเขตการรักษาพยาบาลที่จําเป็นต้องใช้ แพทย์เฉพาะทางอนุสาขา รวมทั้งการรักษาเฉพาะโรค (นิยามของกระทรวง สาธารณสุข) 2 5 . ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ หมายความว่า องค์ความรู้ ความคิด ความเชื่อ และความชํานาญในการดูแลสุขภาพโดยอาศัยความรู้ ที่ได้สั่งสม ถ่ายทอด และพัฒนาสืบต่อกันมาในท้องถิ่น ซึ่งรวมถึงการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และ
หน้า 35 / 1 0 5 การแพทย์ทางเลือกอื่น ที่ประชาชนและชุมชนใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างสอดคล้องกับท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย (ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพ แห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559) 2 6 . การแพทย์แผนไทย หมายความว่า กระบวนการทางการแพทย์เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บําบัดรักษา หรือป้องกันโรค หรือ การส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของมนุษย์ การผดุงครรภ์ การนวดไทย และให้หมายความรวมถึง การเตรียมการผลิต ยาแผนไทย และการประดิษฐ์อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ทั้งนี้ โดยอาศัยความรู้หรือตําราที่ได้ถ่ายทอด และพัฒนาสืบต่อกันมา (พระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 ) 2 7 . การแพทย์พื้นบ้าน หมายความว่า การดูแลสุขภาพโดยอาศัยความรู้ที่ได้สั่งสม ถ่ายทอด และพัฒนาสืบต่อกันมาซึ่งมีลักษณะ เฉพาะที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม จารีต ประเพณี และทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่น และเป็นที่ยอมรับของชุมชน ท้องถิ่นนั้น (ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559) 2 8 . การแพทย์ทางเลือก หมายความว่า การดูแลสุขภาพโดยอาศัยความรู้ ทางการแพทย์ ที่นอกเหนือจากการแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้าน (ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559) 2 9 . กำรคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ หมายความว่า การปกป้องดูแลผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัย เป็นธรรม จากการบริโภคผลิตภัณฑ์และ บริการสุขภาพ 30 . องค์ความรู้ด้านสุขภาพ หมายความว่า ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการนําความรู้ด้านสุขภาพเรื่องต่าง ๆ มาประกอบกัน เพื่อใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ ความรู้ด้านสุขภาพสามารถจําแนกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ 1) ความรู้ที่ผ่านการพิสูจน์จนเป็นความรู้สากล 2) ความรู้จากการศึกษาวิจัย 3) ความรู้จากการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่มีการจัดเก็บรวบรวม และ 4) ความรู้ที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์ ( ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559)
หน้า 36 / 1 0 5 31. การสร้างความรู้ด้านสุขภาพ หมายความว่า การสร้างความรู้หรือองค์ความรู้จากการปฏิบัติ การจัดการความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสั่งสมความรู้และประสบการณ์ การศึกษาวิจัย การสังเคราะห์ความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและ ระบบสุขภาพ ( ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559) 32. การสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพ (Health Communication) หมายถึง กระบวนการเผยแพร่ ถ่ายทอด แลกเปลี่ยน และติดต่อกัน เกี่ยวกับข่าวสาร ความรู้ หรือเนื้อหา ด้านสุขภาพ ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือรัฐ ผ่านรูปแบบการสื่อสาร และช่องทางที่หลากหลาย โดยมีวัตถุประสงค์เ พื่อสร้างการรับรู้ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ตรงกัน 3 3 . กําลังคนด้านสุขภาพ หมายความว่า บุคลากรทางการแพทย์หรือสาธารณสุข ที่ปฏิบัติหน้าที่ให้บริการสุขภาพที่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อกําหนดรองรับ และยังครอบคลุมถึงบุคคลและกลุ่มบุคคลอื่นที่แม้ยังไม่มีกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ รองรับ แต่ก็สามารถร่วมให้บริการด้านสาธารณสุขอย่างผสมผสานและมีประสิทธิภาพ 3 4 . สุขภาพจิต หมายความว่า ส ภาวะจิตใจที่เป็นสุข สามารถปรับตัว แก้ปัญหา สร้างสรรค์ ทํางานได้ มีความรู้สึกที่ดี ต่อตนเองและผู้อื่น มีความมั่นคงทางจิตใจ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ อยู่ในสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ ( กรมสุขภาพจิต ) 3 5 . สุขภาพทางปัญญา หมายความว่า คุณภาพใหม่ของจิตใจที่เกิดจากการเข้าถึงความจริง คุณค่า และความหมายอย่างรอบด้าน ทั้งของตนเอง ผู้อื่น ธรรมชาติ และสิ่งที่ยึดเหนี่ยว ศรัทธา ซึ่งเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับศาสนาก็ได้ โดยผ่านช่องทาง ทั้งทางวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และปัญญาญาณ 3 6 . การบริการด้วย หัวใจความเป็นมนุษย์ หมายความว่า การให้บริการที่เป็นมิตร มีความรัก ความเมตตา ใส่ใจในปัญหาและความทุกข์ ของ ผู้ รับบริการและผู้ เกี่ ยวข้อง ให้บริการตามปัญหาและความต้องการของผู้ รับบริการที่ เป็นจริง โดยรับฟัง ความคิดเห็นของผู้รับบริการเป็นหลัก (พจนานุกรมการสาธารณสุขไทย พ.ศ. 2561)
หน้า 37 / 1 05 ภาคผนวก ประกอบ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 เป้าหมาย และ แนวทาง การขับเคลื่อน สาระ สําคัญ ราย หมวด ของ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565
หน้า 38 / 1 05 1 . การสร้างเสริมสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ คือ กระบวนการในการเพิ่มความสามารถให้กับบุคคล/ประชาชน เพื่อให้สามารถ ควบคุมปัจจัยกําหนดสุขภาพและพัฒนาสุขภาพของตนเองได้ ทั้งสุขภาวะทางกาย จิต สังคมและปัญญา ซึ่งไม่ใช่ เป็นเพียงความรับผิดชอบของบุคลากรและองค์กรสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องไปถึงภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม ที่จะร่วมกันสร้างวิถีชีวิตและสังคมสิ่งแวดล้อมที่นําไปสู่สุขภาวะที่ดี ในนิยามที่พัฒนาให้กว้างขึ้นยังรวมถึงการเชื่อมโยง ถึงสิทธิมนุษยชน ความเป็นธรรมทางสังคม และสิ่ งแวดล้อมด้วย จึงเป็นสาระหมวดที่มีขอบเขตกว้างและส่งผลกระทบ ต่อสาระหมวดอื่นภายใต้ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ 1.1 สถานการณ์ และ ประเด็นท้าทายของ การสร้างเสริมสุขภาพ การมีสุขภาพดีของบุคคลเกิดจากการปรับพฤติกรรมและการดําเนินชีวิตภายใต้ปัจจัยทางสังคมและ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งทั้งสองส่วนเป็นตัวกําหนดสุขภาพที่สําคัญต่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืนของบุคคล อย่างไรก็ตาม ประชากรบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงปัจจัยทางสุขภาพดังกล่าวได้ เนื่ องจากข้อจํากัดด้านเศรษฐกิจ ( e conomic ) กายภาพ ( p hysical ) หรือสังคม ( s ocial ) ซึ่งนําไปสู่ความเหลื่อมล้ําทางสุขภาพ รวมทั้งสถานการณ์และ ปัจจัยทางสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาวะของประชากร และส่งผลกระทบต่อ ปัจจัย ด้านสังคมที่กําหนดสุขภาพ ( Social Determinant of Health) โดยมีสถานการณ์สําคัญและประเด็นท้าทายต่อ การสร้างเสริมสุขภาพ ดังนี้ 1.1.1 การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม จากการวิเคราะห์ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย ( TDRI) คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจะมีอัตราลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้ อัตราส่วนคนยากจนจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง ต่อการสูญเสียสุขภาวะ อาทิ ผู้ที่มีรายได้น้อยมักได้รับ ผลกระทบจากพฤติ กรรมการสู บบุ หรี ่ มากกว่ำ เด็ กในครอบครั วประสบปั ญหาทุ พโภ ชนาการมากกว่า และมีความสามารถในการเข้าถึงบริการสุขภาพด้อยกว่ากลุ่มที่มีเศรษฐฐานะสูง นอกจากนี ้ โครงสร้ำงประชากรของสังคมไทยกําลังเปลี่ ยนแปลงไปจากแนวโน้ มการเข้าสู่ “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” ส่งผลให้แรงงานลดลง ใน ขณะที่งบประมาณของรัฐในการจัดการสวัสดิการสังคมและ ความต้องการทรัพยากรด้านสาธารณสุขจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุสําคัญของปัญหาทางสังคม เช่น การขาดความรู้ ในการดูแลผู้สูงอายุในครัวเรือน ความเหลื่อมล้ําทางดิจิทัล ( d igital divide) ปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ เป็นต้น 1.1.2 การพัฒนาเมืองและสิ่ งแวดล้อม สัดส่วนความเป็นเมืองและจํานวนประชากรในเขตเมือง ของประเทศไทยยังอยู่ในระดับไม่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับภาพรวมในระดับโลก แต่การพัฒนาความเป็นเมืองเชิงพื้นที่
หน้า 39 / 1 05 ของประเทศไทยกลับมีการกระจุกตัวสูง ซึ่งส่งผลให้หลายเมืองหลักของไท ยเผชิญความท้าทายด้านการจัดการ สภาพแวดล้อม และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การจัดการมลพิษ ระบบคมนาคม สิ่งอํานวยความสะดวก สําหรับผู้พิการ เป็นต้น รวมทั้งการบริการทางสาธารณสุขที่มีการกระจายของแพทย์ไม่ครอบคลุม โดยทรัพยากร ทางการแพทย์มีการกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ภาคกลาง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร อีกทั้งผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ของสภาพอากาศ ( c limate c hange) และภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จะสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน และส่งผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของประชากรในพื้นที่ที่ ได้รับผลกระทบ 1.1.3 การปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล ( d igital t ransformation) นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ ส่งผลกระทบ รุนแรงจนถึงขั้นล้มล้างผลิตภัณฑ์หรือบริการเดิม ( d isruptive t echnology ) นํามาซึ่งพฤติกรรมทางสุขภาพของคน ที่เปลี่ยนแปลงไป ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อการสร้างเสริมสุขภาพ ทําให้สามารถสืบค้นและเข้าถึง ข้อมูลสุขภาพต่าง ๆ ได้โดยสะดวก แต่ในทางตรงกันข้าม อาจทําให้ผู้ใช้เข้าถึงและหลงเชื่อในข้อมูลสุขภาพที่ผิด ( f ake ) รวมถึงโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่หลอกลวงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่มักขาดทักษะ ด้านดิจิทัล นอกจากนี้ ภาครัฐได้นําช่องทางดิจิทัลมาเป็นสื่อในการส่งมอบบริการและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ในประเด็นต่าง ๆ รวมถึงด้านสุขภาพ ซึ่งอาจทําให้คนบางกลุ่มที่ เข้าไม่ถึงเทคโนโลยีหรือไม่มีทักษะ เช่น ผู้มีรายได้น้อย เข้าไม่ถึงบริการภาครัฐไปด้วย 1.1.4 การแพร่ระบาดของ โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพและการสร้างเสริม สุขภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบางและผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อและมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่า ช่วงวัยอื่น อีกทั้งยังเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดจากพฤติกรรมการดําเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งอาจส่งผลกระทบ ในระยะยาว ผู้หญิงและเด็กมีความเสี่ยงจากปัญหาความ รุนแรงในครอบครัวสูงขึ้น ตลอดจนกลุ่มคนชายขอบ ที่มีข้อจํากัดในการเข้าถึงสิทธิ ข้อมูลสุขภาพ และบริการรักษาพยาบาลของรัฐ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ ระบาดดังกล่าวยังเป็นข้อพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพและความเข้มแข็งของชุมชนต่อการรับมือการแพร่ระบาดในระดับ พื้นที่อีกด้วย 1.2 เป้าหมายของ การสร้างเสริมสุขภาพ ในระยะ 5 ปีที่มุ่งไปสู่ “ความเป็นธรรม ตอบสนอง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ” เพื่อให้การสร้างเสริมสุขภาพในระยะ 5 ปี มีทิศทางที่ชัดเจน จึงได้กําหนดเป้าหมายของการสร้างเสริม สุขภาพที่มุ่งไปสู่ “ความเป็นธรรม ตอบสนอง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง การอภิบาลที่ดี การเน้นคนเป็นศูนย์กลาง และ สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ” ได้แก่ 1.2. 1 ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ การสร้างนโยบายของประเทศคํานึงถึงการสร้างเสริมสุขภาพ แนวใหม่ ในรู ปแบบของทุ กนโยบายห่ วงใยสุ ขภาพ ( Health in A ll P olicies - HiAP ) และนโยบายสุ ขภาพหนึ ่ งเดี ยว
หน้า 40 / 1 05 ( o ne h ealth p olicy) ที่เน้นการพัฒนานโยบายการดําเนินงานเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง ทั้งระบบ เศรษฐกิจและสังคม โดยคํานึงถึงความต้องการและเงื่อนไขข้อจํากัดของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ( e conomic ) กายภาพ ( p hysical ) และสังคม ( s ocial ) เป็นสําคัญ และสร้างการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างเป็นระบบ เพื่อให้คนทุกกลุ่มได้รับประโยชน์จากนโยบายสุขภาพอย่างทั่วถึง ครอบคลุม และโปร่งใส 1.1.2 ชุมชนสร้างเสริมสุขภาวะ ชุมชนเขตเมืองและชนบทมีความเข้มแข็ง สามารถจัดการ (พึ่ง) ตนเองได้ พร้อมมีกลไกความร่วมมือระห ว่างชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรสาธารณประโยชน์ และหน่วยงานของรัฐ ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพและมีทรัพยากรที่เพียงพอ สามารถรับมือกับสถานการณ์ ทั่วไป สถานการณ์วิกฤต ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ และปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพที่เกิดขึ้น และมีกลไกเพื่อเส ริมสร้าง ให้ชุมชนมีความตระหนักรู้ต่อการเปลี่ยนแปลง และสร้างการมีส่วนร่วมผ่านการสร้างความรู้สึกในการเป็นเจ้าของ ชุมชนร่วมกัน ทั้งนี้ ยังหมายรวมถึงมีชุมชนในลักษณะอื่นๆ นอกเหนือจากชุมชนตามสภาพภูมิศาสตร์ของการอยู่อาศัย อาทิ ชุมชนตามสถานที่ทํางาน ที่ผู้คนจํานวนมากใช้ชีวิตและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน หรือ ชุมชนออนไลน์ที่เป็นพื้นที่ เสมือนสําหรับคนที่มีความสนใจตรงกันใช้ในการหาข้อมูล สอบถาม และแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นระหว่างกัน 1.2.3 ระบบบริการสุขภาพที่ตอบสนองต่อคนทุกกลุ่ม ระบบบริการสุขภาพที่เน้น “การสร้างนําซ่อม” ที่มีศักยภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของประชากรในแต่ละพื้นที่ และมีกลไก การทํางานที่สอดประสานระหว่าง ชุมชน หน่วยบริการในระดับท้องถิ่น สถานพยาบาล กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้ องเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนระบบบริการ ให้ครอบคลุมทั้งด้านสังคมและสุขภาพด้วยการทํางานเชิงเชิงรุกเพื่อจัดการกับปัญหาทางสุขภาพที่เกิดขึ้น รวมทั้ง สามารถรองรับและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมากขึ้น โดยการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อยกระดับ การทํางานและการให้บริการที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ 1.2.4 คนตื่นรู้ด้านสุขภาพ คนทุกคนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เหมาะสม โดยต้องการรับรู้และความเข้าใจ ต่อการสร้างเสริมสุขภาพตลอดช่วงชีวิตที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ผ่านระบบการศึกษาภาคบังคับ การสอดแทรก ความรอบรู้ทางในหลักสูตรการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา ในหน่วยงานของรัฐ/องค์กรเอกชน ในประชาก ร กลุ่มเฉพาะหรือกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ ตลอดจนมีการสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพในประเด็นเฉพาะทางสําหรับบุคคลทั่วไป ที่สนใจ โดยคํานึงถึงบริบทและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในแต่ละชุมชนหรือพื้นที่ 1.3 มาตรการ เพื่อ การ เปลี่ยนแปลง ใน การสร้างเสริมสุขภาพ ในระยะ 5 ปี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทั้ง 4 ของการสร้างเสริมสุขภาพ จึงจําเป็นต้องมีการกําหนด มาตรการ ที่จะสร้าง การเปลี่ยนแปลงในการสร้างเสริมสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้ 1.3.1 การพัฒนาทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ ( Advocating h ealth in a ll p olicies ) ภาครัฐต้องมี บทบาทสําคัญในการจัดการกับปัจจัยที่ส่งผลต่อตัวกําหนดสุขภาพและปัจจัยด้านสังคมที่กําหนดสุขภาพผ่านนโยบาย
หน้า 41 / 1 05 สาธารณะและนโยบายของรัฐในระดับต่าง ๆ ทั้งด้านที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทางตรง และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ทางอ้อม ที่ครอบคลุมมิติทางเศรษฐกิจ สังคม แ ละสิ่งแวดล้อม รวมทั้งต้องมีความโปร่งใส เป็นธรรม และคํานึงถึง สุขภาพของบุคคลเป็นพื้นฐาน โดยมี แนวทาง ที่สําคัญ ดังนี้ 1 ) ยกระดับความมุ่งมั่นของรัฐในการดําเนินนโยบายสุขภาพในรูปแบบของทุกนโยบายห่วงใย สุขภาพ ( Hi A P ) และนโยบายสุขภาพหนึ่งเดียว ( o ne h ealth p olicy) โดยเป็นนโยบายสาธารณะที่ส่งผลกระทบ เชิงบวกต่อสังคมบนพื้นฐานของหลักวิชาการและข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 2 ) ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพให้มีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้เกิดการบังคับใช้ กฎหมายอย่างเข้มแข็งและเคร่งครัด 3 ) นํานโยบายทางการเงินมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อกระ ตุ้นให้เกิดการลงทุนด้านสุขภาพและระบบ สาธารณสุข 4 ) ขยายขอบเขตของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้เพิ่มประสิทธิผลของการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค เพื่อให้เกิดการคุ้มครองทางด้านสุขภาพและปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้คนอย่างทั่วถึง และ ตอบสนองต่อความต้องการและต้นเหตุขอ งปัญหาสุขภาพ 5 ) ส่งเสริมให้เกิดความเป็นธรรมในการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการพื้นฐานแก่คนทุกหมู่เหล่า โดยเฉพาะประชากรกลุ่มเปราะบาง รวมถึงการสร้างความโปร่งใสในการดําเนินการของรัฐที่สังคมสามารถตรวจสอบได้ และสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน 6 ) พั ฒนานโยบายเชิงบวกเพื่อกระตุ้นแรงจูงใจในการเพิ่มพฤติกรรมและทักษะการสร้างเสริม สุขภาพส่วนบุคคล ครอบครัว และชุมชน / องค์กร ด้วยมาตรการแทรกแซงราคาของสินค้าให้ผู้ บริโภคเข้าถึง สินค้าสุขภาพ และลดการบริโภคหรือเข้าถึงสินค้าที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ 7 ) ส่งเสริมความเข้มแข็งด้านธรรมาภิบาลในระดับสากล โดยการมองประเด็นปัญหาทางสุขภาพ เป็นประเด็นเดียวกันทั้งโลก เพื่อให้เกิดความร่วมมือข้ามพรมแดนในการแก้ไขปัญหาได้อย่างครอบคลุมและ เป็นระบบบนมาตรฐานเดียวกัน 1.3.2 การสร้างชุมชนเข้มแข็ง ( Strengthening h ealthy c ommunity ) เนื่องจากการมีสุขภาพดี สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่แต่ละบุคคลอาศัยอยู่และดําเนินกิจกรรมในชีวิตประจําวัน สุขภาพจึงเปรียบเสมือน เครื่องชี้วัดถึงความสําเร็จรูปแบบหนึ่งของชุมชนในการสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน ครอบคลุม ปลอดภัย และ พร้ อมรอ งรั บความเปลี ่ ยนแปลง หน่ วยงานของรั ฐในส่ วนกลางและส่ วนท้ องถิ ่ น องค์ กรเอกชน องค์ กร สาธารณประโยชน์ และชุมชนเองจึงต้องร่วมมือกันในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นการขยายตัวของชุมชนเป็นเมือง เช่น การเคลื่อนย้ายของประชากร ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ที่ล้วนส่ งผลต่อสุขภาวะและการเข้าถึง บริการสุขภาพของคนในพื้นที่ โดยมี แนวทาง ที่สําคัญ ดังนี้
หน้า 42 / 1 05 1 ) ให้ความสําคัญในการผนวกนโยบายท้องถิ่นและมาตรการทางสังคมที่กําหนดโดยชุมชนท้องถิ่น ( s elf - regulation) ที่ ส่งเสริมและสนับสนุนต่อการสร้างเสริมสุขภาพ รวมทั้ งสอดคล้องกับนโยบายระดับชาติ เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีตามบริบทของชุมชน ตลอดจนสร้างการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพในทุกระดับ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 2 ) สนับสนุนองค์กรปกค รองส่วนท้องถิ่นร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนเป็นกลไก ในการส่งเสริมความเท่าเทียมเพื่อลดความเหลื่อมล้ําด้านสุขภาพของคนในชุมชน การไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลังในระดับ ชุมชน เนื่องจากมีความเข้าใจทุนทางสังคมและสภาพปัญหาตามบริบทของพื้นที่เป็นอย่างดี 3 ) ปรับปรุงบริการทางสังคม บริการทางสุขภาพ และบริการอื่น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึง อย่างทั่วถึง เป็นธรรม และมีคุณภาพ โดยมีประชาชนและชุมชนเป็นศูนย์กลาง ( c itizen and community centric) ทั้ งนี้ การพัฒนาบริการทางสุขภาพควรพิจารณาถึงเทคโนโลยีที่ เหมาะสมต่อบริบทของชุ มชนเพื่ อป้องกัน ความเหลื่อมล้ําทางดิจิทัล ( d igital divide) และการพัฒนาบริการทางสุขภาพควรพิจารณาถึงการให้บริการทั้งใน สถานการณ์ทั่วไปและสถานการณ์วิกฤต ตลอดจนการพัฒนาระบบสุขภาพสีเขียว ( g reen healthcare) ที่คํานึงถึง ความยั่งยืนของชุม ชนไปพร้อมกัน 4 ) ส่งเสริมแนวคิดการสร้างสุขภาวะชุมชนเมืองเพื่อรับมือต่อสถานการณ์วิกฤต โดยมุ่งสร้าง ความเข้าใจเกี่ยวกับเมืองและรู้ทันการพัฒนาความเป็นเมือง ทั้งการพัฒนาเมืองสีเขียว ( g reen city) เมืองอัจฉริยะ ( s mart city) และเมืองน่าอยู่ตามทิศทางการเปลี่ยนแปลงของชุ มชนและสังคม ควบคู่กับการเสริมสร้างศักยภาพ และขีดความสามารถในการปรับตัว ตั้งรับต่อสถานการณ์ที่ส่งผลต่อการดําเนินชีวิตผ่านการวางระบบรองรับและ กําหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และมิติการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 5 ) พัฒนาระบบข้อมูลชุมชน เพื่อนํามาใช้ประโยชน์ ในการกําหนดนโยบายและมาตรการที่เหมาะสม ต่อชุมชนและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ชุมชน สามารถจัดเก็บ วิเคราะห์ และสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเป็นเจ้าของข้อมูลเอง 6 ) พัฒนาชุมชนเสมือน ( v irtual community) และชุมชนออนไลน์ ให้มีความเข้มแข็ง โดย การพัฒนาให้มีกลไกการจัดการ การติดตาม และการเฝ้าระวัง ให้คนในชุมชนรับรู้ถึงข้อมูลด้านสุขภาพที่ถูกต้อง และช่วยในการตัดสินใจทางเลือกที่เหมาะสมต่อการสร้างเสริมสุขภาพตามความต้องการ ของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ ต้องคํานึงถึง การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และสร้างประสิทธิภาพ การบังคับใช้กฎหมายไซเบอร์อย่างเหมาะสม รวมทั้งสร้างความพร้อมของข้อมูลเปิดด้านสุขภาพ และเตรียม ความพร้อมให้ภาครัฐสามารถตอบสนองในการเผยแพร่ข้อมูลด้านสุขภาพที่สอดคล้องกับสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว เข้าใจง่าย และอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมสําหรับคนแต่ละกลุ่ม 1.3.3 การ สร้างเสริมสุขภาพรายบุคคล ( Enhancing i ndividual h ealth c apability ) ความรอบรู้ ด้านสุขภาพช่วยให้บุคคลสามารถตัดสินใจได้ว่าสิ่งใดหรือพฤติกรรมใดส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งจะช่วยให้
หน้า 43 / 1 05 แต่ละบุคคลสามารถพิจารณาถึงการสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสมได้ นอกจากนี้ ความรอบรู้ด้านสุขภาพยังส่งผล ต่อภาพรวมการขับเคลื่ อนการสร้างเสริ มสุขภาพของประเทศ เช่น การดําเนินนโยบายด้านสุขภาพของรัฐ มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น นักลงทุนในภาคเอกชนสามารถวิเคราะห์ความเป็นไปได้หรือวิเคราะห์ผลกระทบจาก การทํางานด้านสุขภาพขององค์กรที่เกิดขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้ ควรส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพรายบุคคล ทั้งในระบบการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อสร้างการเรียนรู้ที่เหมาะสมในทุกช่วงวัย ซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณ ประชากรที่มีความรอบรู้และความเข้าใจต่อการสร้างเสริมสุขภาพ ( a ctive citizen) โดยมี แนวทาง ที่สําคัญ ดังนี้ 1 ) ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความทันสมัยและ เหมาะสมกับสถานการณ์ 2 ) ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานโยบาย การดําเนินการ และการกํากับติดตามนโยบายการสร้างเสริม สุขภาพรายบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ 3 ) ส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อกา รสร้างเสริมสุขภาพรายบุคคล โดยเฉพาะ การสื่อสารข่าวสาร ( i nformation) ด้านสุขภาพในทุกมิติแก่คนทุกกลุ่ม เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมให้คนสามารถ ตัดสินใจสร้างพฤติกรรมที่ถูกต้อง เช่น การตัดสินใจเลือกสินค้าที่ส่งผลดีต่อสุขภาพผ่าน การติดฉลากสินค้าหรืออาหาร ที่มีข้อมูลเพียง พอ เป็นต้น 4 ) พัฒนาความสามารถในการจัดการสุขภาพของบุคคล ซึ่งเน้นการ “สร้างนําซ่อม” ผ่านการใช้ ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล โดยการสร้างองค์ความรู้และส่งต่อผ่านช่องทางที่เหมาะสมกับประชากรกลุ่มเป้าหมาย 5 ) สานเสริมองค์ความรู้และทักษะจากความหลากหลายของคนในแต่ละกลุ่มหรือแ ต่ละพื้นที่ ผ่านการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อให้เกิดความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพรายบุคคล 6 ) สนับสนุนคุณค่าของการแพทย์พื้นบ้าน ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างเสริมสุขภาพในระดับชุมชนและ พื้นที่และลดการพึ่งพาระบบบริการสุขภาพ 1.3.4 การพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพที่ทันสมัย ( Developing digital health and services) เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจําวันและมีส่วนสําคัญต่อการขับเคลื่อน ประเทศ สังคม และส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมทางสุขภาพของบุคคล การใช้ประโยชน์จากเทคโ นโลยีจึงเป็นปัจจัย สําคัญที่ จะช่วยยกระดับการสร้างเสริมสุ ขภาพให้แก่บุคคล ทั้ งการออกแบบนโยบายสุขภาพและการให้ สิทธิด้านสุขภาพแก่บุคคลอย่างเหมาะสม แม่นยํา และทั่วถึง ตลอดจนสามารถใช้เป็นช่องทางสื่อสารในวงกว้าง ได้อย่างรวดเร็ว โดย แนวทาง ที่สําคัญ ดังนี้ 1 ) พัฒนาระบบและการจัดการข้อมูลสุขภาพเพื่อนํามาใช้ประโยชน์ในการออกแบบบริการสุขภาพ ที่ทันสมัยและเหมาะสมกับความต้องการของประชากร โดยสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชนและให้ประชาชน เป็นเจ้าของข้อมูลด้วยการตัดสินใจหรือให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลด้วยตนเอง ทั้งในกระบวนการจัดเก็บ
หน้า 44 / 1 05 วิเคราะห์ และใช้ประโยชน์จากข้อมูล ทั้งนี้ ควรมีวิธีการจัดการข้อมูลที่มีมาตรฐานและสะดวกแก่การนําไปใช้ต่อยอด เพื่อพัฒนาเป็นนวัตกรรมทางสุขภาพ 2 ) พัฒนาระบบบริการสุขภำพที่มีความเชื่อมโยงและส่งต่อระหว่างชุมชน หน่วยบริการสุขภาพ ท้องถิ่น และส่วนกลาง รวมถึงกระจายอํานาจให้หน่วยงานระดับท้องถิ่นและชุมชนมีความสามารถในการบริหาร จัดการระบบบริการสุขภาพของตนเองได้ 3 ) กระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสุขภาพร่วมกับภาคเอกชนผ่านมาตรการ หรือกลไก การเงินในรูปแบบที่เหมาะสม รวมทั้งการสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการ SMEs และ s tartup ด้านสุขภาพ 4 ) พัฒนาระบบบริการสุขภาพที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง โดยส่งเสริมให้มีกระบวนการมีส่วนร่วม ของประชาชนตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบจนกระทั่งการทดลองใช้ เพื่อให้บริการตรงกับควำมต้องการของประชาชน 1.4 แนวทางการวัดผลสําเร็จของ การสร้างเสริมสุขภาพ ในระยะ 5 ปี แนวทางการวัดผลสําเร็จของการสร้างเสริมสุขภาพ โดยควรวัดผลได้ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ดังนั้น การวัดผลสําเร็จของการสร้างเสริมสุขภาพในภาพรวม ระยะ 5 ปี โดยใช้ห่วงโซ่ผลลัพธ์ ( c hain of o utcome) มาเป็นแนวทางการวัดผลสําเร็จการดําเนินงาน ดังนี้ 1.4.1 การวัดการปรับพฤติกรรมด้านสุขภาพ โดยวัดการลดพฤติกรรมเสี่ยง การเพิ่มพฤติกรรมเสริมสุขภาพ และการปรับสภาพแวดล้อมหรือวัฒนธรรมที่สนับสนุนต่อการสร้างเสริมสุขภาพ ผ่านสถิติหรือดัชนีที่สะท้อนถึง การปรับพฤติกรรมด้านสุขภาพ ซึ่งควรพัฒนาให้รวมถึงการใช้ข้อมูลดิจิทัลขนาดใหญ่ ( b ig d ata) ที่สังเคราะห์ โดย ปัญญาประดิษฐ์ ( a rtificial i ntelligence) ด้วย 1.4.2 การวัดตัวกําหนดสุขภาพ ( h ealth determinant) และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อตัวกําหนดสุขภาพ โดยวัดในลักษณะของผลลัพธ์ ( k ey r esult) เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการวัดผล 1.4.3 การวัดผลมาตรการหรือกิจกรรมที่เกิดผลลัพธ์และผลกระทบเชิงบวกต่อตัวกําหนดสุขภาพ เช่น การจัดทํานโยบายของหน่วยงานของรัฐให้คํานึงถึงการสร้างเสริมสุขภาพไปพร้อมกัน หรือ การดําเนินมาตรการหรือ กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน สังคม และประเทศ ที่สามา รถเชื่อมโยงต่อ ตัวกําหนดสุขภาพและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อตัวกําหนดสุขภาพได้
หน้า 45 / 1 05 2. การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ 2.1 สถานการณ์ปัญหา ประเด็นท้าทายของการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ การเพิ่มขึ้นของอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดและอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี จากข้อมูลการประเมิน แผนพัฒนาสาธารณสุขแห่งชาติในทุกรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา สะท้อนสุขภาพโดยรวมของคนไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มดีขึ้น เมื่อเทียบกับอดีต แต่เมื่อพิจารณาประเด็นของปัญหาสุขภาพที่สําคัญพบว่า สาเหตุการตายสําคัญที่ยังคงมีแนวโน้ม สูงขึ้น คือ อุบัติเหตุจากการคมนาคมขนส่ง โรค ไม่ติดต่อ คือ โรคมะเร็ง รองลงมาได้แก่ โรคหลอดเลือดในสมอง โร คปอดอักเสบ โรคหัวใจขาดเลือด และโรคเบาหวาน และสาเหตุของความเจ็บป่วย พบว่าประชากรที่มีอายุ ตั้งแต่ แรกเกิดถึง 59 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคระบบหายใจมากที่สุด รวมทั้งพบว่าโรคติดต่อ อุบัติใหม่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เช่น สถานการณ์การระบาดใหญ่ของโรค ติดเ ชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ส่งกระทบ ทั้งด้านสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง สถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของคนไทย ก็ยังคงมีปัญหาของ การฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้น โดยอัตราการฆ่าตัวตายสําเร็จต่อประชากรหนึ่งแสนคนเพิ่มขึ้นจาก 6 . 03 คน ในปี 2560 เป็น 7.37 ในปี 2563 การเพิ่มขึ้นของสถานการณ์ความรุนแรงในสังคม ทั้งการคุกคาม และทําร้ายต่อบุคคลอื่น พบโรคจากการประกอบอาชีพและอุบัติเหตุจากการปร ะกอบอาชีพเพิ่มมากขึ้น เมื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา สุขภาพทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพทางสังคม กลุ่มประชากรเฉพาะที่อยู่ในภาวะเปราะบางจะมีโอกาส เกิดปัญหาสุขภาพได้มากกว่า และมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยทางสังคม การเข้าถึงบริการสุ ขภาพ และสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชน ( Social Determinants of Health - SDH ) มีความไม่เท่าเทียมกันมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม วิถีชีวิตและรูปแบบการใช้ชีวิตของคนไทย ส่งผลให้ ปัจจัยเสี่ยง และปัจจัยที่คุกคามสุขภาพมีความหลากหลายควบคุมได้ยากขึ้น สถานการณ์ด้านประชากรที่ประเทศไทย เริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แนวโน้มผู้สูงอายุที่ต้องอยู่ตามลําพัง เห็นได้ชัดเจนจากการเพิ่มขึ้นของการป่วยด้วย โรคไม่ติดต่อ อันเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิ ต ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของระดับความเครียดจากการทํางานและ ความวิตกกังวลในการใช้ชีวิต ส่งผลต่อภาระค่าใช้จ่ายทางสุขภาพที่ เพิ่ มขึ้ นตามไปด้วย การจัดการและ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่เหมาะสม ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทั้งยังมีปัญหา สิ่งแวดล้อมที่ เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและความเป็นชุมชนเมือง เช่น ปัญหาขยะมูลฝอยที่เพิ่มมากขึ้น มีปริมาณเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี ในช่วงปี พ.ศ. 2553 – 2562 แต่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ การเพิ่มขึ้นของกากของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม มลพิษจากการขยายตั วของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น ปัญหามลพิษทางอากาศที่พบปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2 . 5 ไมครอน ที่คงเหลือจากกระบวนการเผาไหม้ ของยานพาหนะ การเผาวัสดุการเกษตร ไฟป่า และการปล่อยก๊าซเสียในภาคอุตสาหกรรม เป็นมลพิษทางอากาศ ที่เกิดขึ้นและมีปริมาณเกินค่ามา ตรฐานเป็นประจําทุกปี โดยเฉพาะในพื้นที่เขตอุตสาหกรรม และเมืองใหญ่
หน้า 46 / 1 05 ที่มีประชากรและการจราจรหนาแน่น นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากกิจกรรมที่ทําให้ปริมาณ ก๊าซเรือนกระจก ( g reenhouse g ases) ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ภาวะเรือนกระจก ( g reenhouse e ffect) รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ ทําให้เกิดภาวะโลกร้อน ( g lobal warming) ซึ่งส่งผลให้เกิด ภัย จากธรรมชาตินานัปการ และโรคต่าง ๆ เพิ่มขึ้น จาก สถานการณ์การระบาดใหญ่ของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สะท้อนให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ของปัจจัย ที่ส่งผลถึงการ แ พร่กระจายโรค ทั้งจากส่วนบุคคลที่ยังขาดความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ ทําให้พฤติกรรมการป้องกัน ตนเอง ไม่ถูกต้องเหมาะสม มีความเ ห ลื่อมล้ําในการเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม คนที่อยู่ในสภาวะ เปราะบาง สังคมขาดการสื่อสำรความเสี่ยงที่เหมาะสมและรวดเร็ว ขาดการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันและควบคุมโรค รวมทั้งการขาดกลไกประสานการทํางานที่มีธรรมาภิบาลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในขณะเดียวกันการระบาดหลายระลอกของ โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่ งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของปัญหา สุขภาพอื่น ๆ ที่รุนแรงตามมา เช่น โรคไม่ติดต่อ สุขภาพจิต ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม ดังนั้น ประเด็นที่ท้าทายของการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ จําเป็นต้องสร้างระบบสุขภาพที่สามารถ ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ในทุกช่วงวัยและทุกระดับ 2.2 เป้าหมายของ การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ ในระยะ 5 ปีที่มุ่งไปสู่ “ความเป็นธรรม ตอบสนอง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ” บุคคลและชุมชนมีสิทธิในการดํารงชีวิตอยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และได้รับ การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพอย่างเป็นธรรม ตอบสนองต่อความจําเป็นของกลุ่มประชากร ตลอดทุกช่วงวัย ทันต่อสถานการณ์ โดยถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันของภาคี ทุกภาคส่วนที่จะร่วมกัน สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพให้กับทุกคนโดยไม่ มีความเหลื่อมล้ ํา และไม่เลือกปฏิบัติ สร้างระบบสุขภาพ ที่สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว เป็นระบบสุขภาพที่มีการดําเนินงานอย่างมีธรรมาภิบาล ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนา ศักยภาพมนุษย์ในทุกช่วงวัยและทุกระดับสู่ความเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ มีส่วนร่วมรับผิดรับชอบต่อสังคม 2.3 มาตรการ เพื่อ การ เปลี่ยนแปลงใน การ ป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ ในระยะ 5 ปี ทุกภาคส่วนและองค์กรทุกระดับต้องมีศักยภาพในการจัดการสุขภาพและพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ โดย มี มาตรการ เพื่อการเปลี่ยนแปลงในการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุข ภาพ ในระยะ 5 ปี ดังนี้
หน้า 47 / 1 05 2.3.1 การกระจายอํานาจในการจัดการระบบสุขภาพให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถ ออกแบบระบบและดําเนินการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพของท้องถิ่นตนเอง ที่มีกลไกเชื่อมโยง จากระบบของชุมชน ท้องถิ่น และประเทศ จัดระบบและดําเนินการเฝ้าระวังโรคและปัจจัย เพื่อรับมือกับสถานการณ์ ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ โดยมีศูนย์ข้อมูลข่าวสารการเฝ้าระวังโรคและปัจจัยที่มีประสิทธิภาพ 2.3.2 การจัดการโครงสร้าง กลไก และกระบวนการบริหารจัดการ การจัดหาและกระจายทรัพยากร ที่เป็นธรรมกับทุกคน เช่น การกําหนดการเก็บภาษี หน่วยงาน องค์กร สินค้าที่ทําให้เกิดผลกระทบหรือภัยคุกคาม สุขภาพ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในทุกระดับ อย่างแท้จริงและเป็นไปอย่างโปร่งใส 2.3.3 สร้างพื้นที่ให้คนทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม มือในระบบสุขภาพในทุกระดับอย่างกว้างขวางมากขึ้น เช่น สภาสุขภาพชุมชน ( c ommunity h ealth c ouncils ) กําหนดนโยบายระดับ พื้นที่/ท้องถิ่น/ชุมชน กําหนดให้ ทุกคนมีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน ให้ชัดเจน โดยเพิ่มเรื่องหน้าที่ เข้าไป และแยกจากสิทธิที่พึงได้รับ เช่น ให้ทุกคนมีหน้าที่ในการดูแลสุขภาพตนเอง หน้าที่ในการให้ข้อมูล โดย การพัฒนาทักษะและศักยภาพของประชาชนให้มีทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพและเป็นพลเมืองตื่นรู้ และกําหนด นโยบายสิ่งแวดล้อมที่ไม่ก่อให้เกิดปัจจัยคุกคามสุขภาพต่อประชากรทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง 2.3.4 จัดการให้เกิดกลไกศูนย์เฝ้าระวังเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ ในระดับประเทศ ที่เชื่อมโยงกับกลไกระบบฐานข้อมูลสุขภาพ ปัจจัยเสี่ยง แ ละปัจจัยคุกคามสุขภาพ ของหน่วยงาน ทุกระดับ 2.3.5 พัฒนาระบบบริการปฐมภูมิที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เชื่อมโยงกับระบบหลักประกันสุขภาพ 2.3.6 นํากระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ( Health Impact Assessment - HIA ) ที่ใช้ข้อมูล หลักฐานเชิงประจักษ์หรือองค์ความรู้อย่างรอบด้านมาใช้ในการกําหนดนโยบายสาธารณะ เพื่อการป้องกันและ ควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ โดยมีทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม 2.4 แนวทางการวัดผลสําเร็จของการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ ในระยะ 5 ปี 2.4.1 ในช่วงระยะแรก ประเมินความสําเร็จจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงในระดับการดําเนินการ เช่น การปรับเปลี่ยนโครงสร้างที่เอื้อต่อการกระจายอํานาจสู่ท้องถิ่นที่มีทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม การกําหนดกลไก การจัดการระบบสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ ที่มีความพร้อมในการตอบสนองการเกิด ปัญหาทั้ง ในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ 2.4.2 ในระยะ 5 ปี ประเมินความสําเร็จจากการมีนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ที่มีประเด็นการป้องกัน และควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ ทั้งในระดับชุมชน ท้องถิ่น และประเทศ
หน้า 48 / 1 05 2.4.3 มีการจัดระบบการติดตามและประเมินผลต่อเนื่องทุกปี โดยมีระบบฐานข้อมูลกลางที่เกี่ยวข้องกับ การดําเนินการเพื่อป้ องกันและควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ทั้งประเด็นปัญหาสุขภาพที่สําคัญ ปัจจัยเสี่ยง และปัจจัย คุกคามสุขภาพ จําแนกตามเฉพาะกลุ่มอายุ ระดับเศรษฐ ฐำนะ และกลุ่มเปราะบาง ติดตามสถานการณ์การดําเนินงาน แบบบูรณาการที่มีหลายองค์กรและภาคส่วน ทั้งในภาพรวมของประเทศ ในระดับพื้นที่ ท้อง ถิ่น การเข้ามีส่วนร่วม ของกลุ่มประชาชน ภาคเอกชน ที่เข้ามาดําเนินการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ ทั้ง ใน ภาวะปกติและภาวะวิกฤติ เพื่อรู้ถึงสถานการณ์ที่จะนําไปสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นธรรมและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
หน้า 49 / 1 05 3. การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ 3.1 สถานการณ์ปัญหา/ประเด็นท้าทายของ การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ 3.1.1 ความแออัดของการรับบริการสาธารณสุขของสถานพยาบาลระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ เป็นผล จากการจัดบริการแบบตั้ งรับในหน่วยบริการที่ มุ่ งเน้นการรักษาพยาบาล “ระบบบริการสุขภาพจากระบบ ที่มีโรงพยาบาลเป็นฐานและโรคเป็นศูนย์กลาง” มากกว่าการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมที่มุ่งเน้นการสร้างนําซ่อม มองพื้นที่เป็นฐานและประชาชนเป็นศูนย์กลาง ทําให้การแพทย์ผู้เชี่ย วชาญเฉพาะต้องแบกภาระการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยจํานวนมาก ทั้งที่ความเป็นจริงมีผู้ป่วยเพียงจํานวนหนึ่งเท่านั้นที่จําเป็นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การขาดแคลนอัตรากําลัง เกิดความไม่ปลอดภัยในการรับบริการสาธารณสุขทั้งต่อตัวผู้ป่วย ผู้รับบริการ และ ผู้ ให้บริการ และเ กิดความเหลื่ อมล้ําในการเข้าถึงบริการ รวมถึงผลกระทบที่ เป็นผลจากการระบาดใหญ่ ของ โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งส่งผลต่อการปรับปรุงบริการสาธารณสุขวิถีใหม่ 3.1.2 การปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขปฐมภูมิ ภายใต้พ ระราชบัญญัติ ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 ที ่ มุ ่ งเน้ นการสร้ำงและพั ฒนาหน่ วยบริ การปฐมภู มิ และเครื อข่ำยหน่ วยบริ การปฐมภู มิ ที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวประจําตัวเป็นที่ปรึกษาสุขภาพ ให้การดูแลสร้างเสริมสุขภาพในครอบครัวและชุมชน และมีข้อมูลด้านสุขภาพที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยบริการทุกระดับ 3.1.3 การกระจายอํานาจให้แก่องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น โดยการถ่ายโอนภารกิจและอัตรากําลัง ของสถำนีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล ( รพ.สต. ) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งต้องดําเนินการระยะที่ 1 ให้แล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2565 มีผลต่อ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ภายใต้เงื่อนไขข้อจํากัดของ พระราชบัญญัติ สถานพยาบาล และ พระราชบัญญัติ วิชาชีพ ทําให้เจ้าหน้าที่สามารถดูแลรักษาได้ในระดับพื้นฐาน เพื่อลดโอกาสในการรับผิดทางละเมิด ดังนั้น องค์การบริหาร ส่วนจังหวัด จําเป็นต้องจัดหาแพทย์หรือแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และคณะผู้ให้บริการให้เพียงพอและครอบคลุม การให้บริการดูแลรักษาในประเด็นที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งหากไม่สามารถจัดหาได้เพียงพอและทันเวลาจะส่งผลกระทบ ต่อผู้ป่วยโรค ไม่ติดต่อ ที่รักษาต่อเนื่องของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล ประมาณ 1 , 000 , 000 คน ที่ต้องกลับ เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาล ทําให้เกิดปัญหาความแออัดและความเป็นธรรมในการให้บริการที่เพิ่มมากขึ้น 3.1.4 การเสริมพลังความร่วมมือของผู้นําระดับพื้นที่ในการจัดบริการสุขภาพ ด้วยกลไกพัฒนาคุณภาพ ชีวิตระดับพื้นที่ด้วยกลไกคณะกรรมการพั ฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ (พชอ.) ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือของผู้นําระดับพื้นที่ในการจัดบริการ สาธารณสุข การบริหารจัดการเครือข่าย การกํากับคุณภาพบริการสาธารณสุขในระดับอําเภอ ให้มีความเข้มแข็งและ เชื่อมโยงการทํางานร่วมกับทีมบริการสาธารณสุขระดับพื้นที่
หน้า 50 / 1 05 3.1.5 การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย (aged society) จากการคาดประมาณประชากร ของประเทศไทยปี พ.ศ. 2553 – 2583 ของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ( สศช.) และผลกระทบอันเนื่องมาจากการ ระบาดใหญ่ของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 3.1.6 การพลิกโฉมด้านดิจิทัลเทคโนโลยี (digital disruption) และการเร่งไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ที่ส่งผลต่อโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีสนับสนุนบริการสาธารณสุข การนําระบบเทคโนโลยี สื่ อสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการบริการด้านสาธารณสุข ( telehealth) หรือระบบ โทรเวชกรรม ( telemedicine) ในการสนับสนุนการบริการดูแลสุขภาพ การวินิจฉัย กระบวนการดูแลรักษา และ การพัฒนานวัตกรรมบริการสาธารณสุขที่ตอบสนองกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งมอบบริการที่ราบรื่น และมีความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศ รวมถึงการรักษาแบบแม่นยําและจําเพาะ ( precision medicine) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถบริการสาธารณ สุข 3.2 เป้าหมายของ การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ ในระยะ 5 ปี ที่ มุ่ งไปสู่ “ความเป็นธรรม ตอบสนอง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ” 3.2.1 ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยในทุกระดับ ทั้งระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ โดยมีหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายบริการปฐมภูมิประจําของตน อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ทําหน้าที่ดูแลสุขภาพในระดับปฐมภูมิ ครอบคลุมทั้งมิติการรักษา การป้องกัน การสร้าง เสริมสุขภาพและการฟื้ นฟูสภาพ โดยการจัดบริการสุขภาพแบบบูรณาการที่ มีพื้ นที่ เป็นฐานและประชาชน เป็นศูนย์กลาง อิงคุณค่า และมีการเชื่อมโยงการดูแลผู้ป่วยในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน จนถึงการดูแลสุขภาพที่บ้านและชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยได้ รับบริการส่งต่อการดูแลผู้ป่วยและการส่งต่อข้อมูล สารสนเทศเพื่ อการตัดสินใจในการดูแลสุขภาพ รวมถึงการส่งกลับมายังแพทย์ประจําหน่วยบริการปฐมภูมิ หรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิอย่างเหมาะสม และประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารแหล่งความรู้ ด้านสุขภาพตนเอง 3.2.2 ป ระชาชนได้รับชุดสิทธิประโยชน์พื้นฐานที่ประชาชนมีส่วนร่วมตัดสินใจ ครอบคลุมการสร้างเสริม สุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีมาตรฐานเท่าเทียมกัน มีการเข้าถึงที่เป็นธรรม ตามความจําเป็นด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัต โดยไม่มีการแบ่ง แยกตามฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม สภาพทางกาย ความพิการ เพศ อายุ ถิ่นที่อยู่ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อ และอุดมการณ์ ทางการเมือง การเข้าถึงบริการ ของ กลุ่ม คนที่อยู่ในสภาวะ เปราะบาง ด้อยโอกาสต่าง ๆ โดยมีระบบการประเมิน เพื่อการตัดสินใจที่จะใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพอย่างเหมาะสม ทั้งการประเมินด้านความคุ้มค่าและการประเมิน ความพร้อมในการจัดการก่อนนํามาใช้ในวงกว้าง
หน้า 51 / 1 05 3.2.3 ระบบบริการสาธารณสุขและหน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับมีคุณภาพ ได้มาตรฐานและ มีความปลอดภัย เป็นที่ยอมรับและตอบสนอง ต่อความจําเป็นด้านสุขภาพ สอดคล้องกับปัจจัยสังคม ที่ กําหนด สุขภาพ และการดํารงชีวิตของประชาชนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการและผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ มีความสุขและ มีความพึงพอใจ โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการกํากับคุณภาพ 3.2.4 ระบบบริการสาธารณสุขสามารถตอบสนองต่อความจําเป็นด้านสุขภาพที่ เป็นการเฉพาะ โดยบูรณาการการมีส่วนร่วมในการจัดการตนเอง ทั้งในการดูแลตนเอง การดูแลครอบครัว การดูแลชุมชน ใช้ศักยภาพและความร่วมมือของตัวผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชนอย่างเหมาะสม และเชื่อมโยงกับสถานบริการ สาธารณสุข เช่น ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ระบบการดูแลระยะยาวในคนสูงอายุ ระบบการดูแลคนพิการและ ผู้ป่วยเรื้อรัง ระบบการดูแลแบบประคับประคองและการดูแลผู้ ป่วยในระยะท้าย ระบบการดูแลสุขภาพที่บ้าน รวมถึง ระบบการดูแลสุขภาพชุมชน 3.2.5 ระบบบริการสาธารณสุขมีประสิทธิภาพในการกระจายและการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อย่างคุ้มค่า มีระบบการสร้างหลักประกันคุณภาพที่ประชาชน หน่วยงานภาคี และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม รับผิดชอบและดูแล มีระบบบริหารความเสี่ยงของการดูแลสุขภาพในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ รวมถึง การบริหารจัดการความต่อเนื่องของการให้บริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ 3.2 .6 ระบบบริการสาธารณสุขไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคงยั่งยืน ในมิติต่าง ๆ ที่รวมถึง การวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น ยา ชีววัตถุ และสมุนไพรในประเทศ 3.2.7 สถานบริการสาธารณสุขทุกระดับมีระบบให้คําปรึกษา แก่ผู้รับบริการและมีระบบให้คําปรึกษา ระหว่างสถานบริการสาธารณสุขและกําลังคนผู้ปฏิบัติงานการดูแลที่บ้าน ส่งเสริมการนําเทคโนโลยีสารสนเทศและ ดิจิทัลมาใช้พัฒนา เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายให้ประชาชน ผู้ป่วยและครอบครัวดูแลตนเองให้ไ ด้มากที่สุด สนับสนุนการทํางาน ที่ประสานงานกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างหน่วยบริการประจํากับหน่วยบริการที่รับส่งต่อ รวมถึงการดูแลสุขภาพ ที่บ้าน 3.2.8 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่ นและภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการบริหารและการจัดบริการ การจัดระบบบริการสาธารณสุข และการจัดระบบสุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐานในทุกระดับ โดยมีบทบาทสําคัญ ในการสนับสนุนระบบหลักประกันสุขภาพ โดยเฉพาะการเป็นเครือข่ายในระบบบริการปฐมภูมิเพื่อบริหารจัดการ ระบบสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่และมีการบูรณาการการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างองค์กรปกครอง ส่วนท้ องถิ่น ภาคเอกชน สถานบริการสาธารณสุข ภาคประชาสังคม และภาคีที่เกี่ยวข้อง 3.2.9 มีระบบและกลไกการอภิบาลที่ดี ที่มีองค์ประกอบจากหลายภาคส่วน สนับสนุนการมีส่วนร่วม ของผู้รับบริการและประชาชนในการออกแบบบริการสุขภาพและการตัดสินใจ เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการธํารง มาตร ฐานและยกระดับคุณภาพในการบริการสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง สร้างหลักประกันผลลัพธ์การบริการ สาธารณสุขที่มีคุณภาพสูง ทําหน้าที่กํากับดูแลด้านคุณภาพ มาตรฐานและความปลอดภัยของการให้บริการ
หน้า 52 / 1 05 สภาพแวดล้อม การบริการ การจัดการปัจจัยสังคมกําหนดสุขภาพ ควบคู่ไปกับการดูแลค่าบริการ ของสถานบริการ สาธารณสุขทุกระดับให้มีความเหมาะสม 3.2.10 มีระบบบริการสาธารณสุขที่ คํานึงถึงมนุษยธรรมเป็นหลัก สามารถรองรับความต้องการ ด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของคนต่างชาติ โดยมีความเป็นธรรมและไม่ส่งผลกระทบต่อระบบ บริการสาธารณสุขสําหรับคนไทย ส่งเสริมการพัฒนากฎหมายและระบบยุติธรรมรองรับอย่างเหมาะสม 3.3 มาตรการ เพื่อ การ เปลี่ยนแปลง ของ การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ ในระยะ 5 ปี 3.3.1 ความเข้มแข็งของกลไกการอภิบาลและกํากับคุณภาพบริการสาธารณสุขที่ประชาชนมีส่วนร่วม ในทุกระดับ เช่น การกํากับคุณภาพบริการและการดูแลทางคลินิกของสถานพยาบาลทุกระดับด้วยกลไกการรับรอง คุณภาพ การกํากับคุณภาพบริการสุขภาพระดับอําเภอด้วยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ (พชอ.) การกํากับคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิที่ถ่ายโอนภารกิจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยกลไกกรรมการ สุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) และสนับสนุนการเชื่อมโยงบริการและข้อมูลร่วมกันในทุกระดับ เพื่อสร้างหลักประกัน คุณภาพบริการที่มีมาตรฐาน น่าเชื่อถือและประชาชนไว้วางใจ 3.3.2 ความครอบคลุมของหน่วยบริการและเครือข่ายบริการปฐมภูมิอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม จั ดบริการ สาธารณสุขปฐมภูมิที่มีพื้นที่เป็นฐานและประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีทีมบริการสาธารณสุขระดับพื้นที่ ทําหน้าที่ดูแล สุขภาพในระดับปฐมภูมิอย่างเป็นองค์รวม และการยกระดับขีดความสามารถในการบริการสาธารณสุขปฐมภูมิ สอดคล้องตามปัจจัยกําหนดสุขภาพของพื้นที่ มีการเชื่อมโยงกำรดูแลผู้ป่วยในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน จนถึงการดูแลสุขภาพที่บ้านและชุมชนอย่างต่อเนื่อง 3.3.3 การลงทุนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเทคโนโลยีสนับสนุนบริการสาธารณสุข และมุ่งเน้น พัฒนาระบบฐานช่องทางดิจิทัล ( digital p latform) เป็นฐา นสนับสนุนบริการสาธารณสุขที่สําคัญ เช่น การนํา ระบบเทคโนโลยีสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการบริการด้านสาธารณสุข ( telehealth) หรือ ระบบโทรเวชกรรม ( telemedicine) ในการสนับสนุนการบริการดูแลสุขภาพ การวินิจฉัย กระบวนการดูแลรักษา และการพัฒนานวัตกรรมบริการสาธารณสุขที่ตอบสนองกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงการรักษา แบบแม่นยําและจําเพาะ ( precision medicine) 3.3.4 กลไกและกระบวนการเชื่อมโยง เชื่อมต่อ และแลกเปลี่ยนระบบข้อมูลสารสนเทศ ( h ealth information exchange) และการส่งต่อผู้ รับบริการ ( p ersonal h ealth r ecord) รวมถึงการดูแลสุขภาพ ที่บ้าน ด้วยดิจิทัลเทคโนโลยีที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย แม่นยําและรักษาความเป็นส่วนตัว มีการวิเคราะห์สารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการบริการสาธารณสุขและการบริหารจัดการในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับหน่วยบริการ ระบบบริการสาธารณสุขพื้นที่ จนถึงระดับนโยบายสาธารณสุข ที่มีคุณภาพและความปลอดภัย
หน้า 53 / 1 05 3.3.5 การส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนในการร่วมจัดบริการสาธารณสุข และเพิ่มขีดความสา มารถ บริการสาธารณสุขรองรับความต้องการของคนต่างชาติ โดยมีความเป็นธรรมและไม่ส่งผลกระทบต่อระบบบริการ สาธารณสุขสําหรับคนไทย และการพัฒนากฎหมายและระบบยุติธรรมรองรับอย่างเหมาะสม 3.4 แนวทางการวัดผลสําเร็จของ การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ ในระยะ 5 ปี 3.4.1 อัตราความครอบคลุมของหน่วยบริการและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ 3.4.2 อัตราความครอบคลุมของสถานพยาบาลที่ได้รับการประกันคุณภาพบริการ นิยาม ศัพท์ ที่เกี่ยวข้อง กับการบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ 1 ) การบริการสาธารณสุข หมายความว่า การบริการต่าง ๆ อันเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกัน และควบคุมโรคและปัจจัยที่ คุกคามสุขภาพ การตรวจวินิจฉัยและบําบัดสภาวะความเจ็บป่วย และการฟื้ นฟู สมรรถภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ( อ้างอิง ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ) 2 ) การบริการสาธารณสุขปฐมภูมิ หมายความว่า บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ มุ่งหมาย ดูแลสุขภาพของบุคคลในเขตพื้นที่รับผิดชอบในลักษณะองค์รวม ตั้งแต่แรก ต่อเนื่องแล ะผสมผสาน ครอบคลุมทั้ง การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมโรค การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ โดยหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิที่ ประกอบด้วยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและ คณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ รวมทั้งเชื่อมโยงกับครอบครัว ชุมชน และบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ระดับทุติยภูมิ และตติยภูมิ ( พ ระราชบัญญัติ สุขภาพปฐมภูมิ ) 3 ) การบริการสาธา รณสุขทุติยภูมิ หมายความว่า การบริการสาธารณสุขที่มีภารกิจในด้านการตรวจ วินิจฉัย การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพบุคคลที่เจ็บป่วยด้วยโรคพื้นฐานทั้งระดับที่ไม่ซับซ้อนมากนักจนถึงระดับ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นและจําเป็นต้องใช้แพทย์เฉพาะทางสาขาหลัก (นิยามของกระท รวงสาธารณสุข) 4 ) การบริการสาธารณสุขตติยภูมิ หมายความว่า การบริการสาธารณสุขที่ มีภารกิจขยายขอบเขต การรักษาพยาบาลที่จําเป็นต้องใช้แพทย์เฉพาะทางอนุสาขารวมทั้งการรักษาเฉพาะโรค (นิยามของกระทรวง สาธารณสุข) 5 ) คุณภาพบริการสาธารณสุข หมายความว่า คุณลักษณะของบริการสาธารณสุขที่อยู่บนพื้นฐานของ องค์ความรู้ทั้งด้านมนุษย์ สังคม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและด้านอื่น ๆ และพื้นฐานด้านคุณธรรม และจริยธรรม แห่งวิชาชีพ ตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของบุคคลและสังคมได้อย่างเหมาะสม ( อ้างอิง ธรรมนูญ ว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 )
หน้า 54 / 1 05 6 ) การสร้างหลักประกันคุณภาพ หมายความว่า กระบวนการที่เกิดขึ้นจากการออกแบบวางแผน และ จัดการเพื่อให้มั่นใจถึงคุณภาพบริการสาธารณสุข กระบวนการดังกล่ำวประกอบด้วยมาตรการภายในและมาตรการ ภายนอกองค์กร มาตรการภายในองค์กร ได้แก่ การออกแบบวิธีการทํางาน การจัดหาทรัพยากรที่เหมาะสม การสื่อสารและฝึกอบรม การกํากับดูแลให้มีการปฏิบัติตามที่ออกแบบไว้ การประเมินและการปรับปรุง การเรียนรู้ จากข้อผิดพลาด และการสร้างวัฒนธรรมคุณภาพ เป็นต้น ส่วนมาตรการภายนอกองค์กร เช่น การประเมิน จากภายนอก การยกย่องเชิดชู การให้แรงจูงใจ การใช้มาตรการทางกฎหมาย ฯลฯ ทั้งนี้ วัฒนธรรมคุณภาพ หมายความว่า ความเชื่อ เจตคติและการปฏิบัติของคนส่วนใหญ่ในองค์กรเพื่ อให้เกิดผลงานที่มีคุณภาพสูง เป็นการ ปฏิบัติโดยอัตโนมัติและมีการสืบทอดระหว่างรุ่นสู่รุ่น
หน้า 55 / 1 05 4. การส่งเสริมสนับสนุนการใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์ แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ 4.1 สถานการณ์ปัญหา/ประเด็นท้าทาย การส่งเสริมสนับสนุนการใช้และการพัฒนาภูมิปัญญา ท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ กล่าวได้ว่ากรอบความคิดเรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและ การแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ วางอยู่บนฐานเรื่อง สุขภาวะ ( well - being ) ทั้งมิติ ทางกาย ทางใจ ทางสังคม และ ทางปัญญา (จิตวิญญาณ) และยังสัมพันธ์ทั้งมิติของคน ครอบครัว ชุมชน และสังคม ดังนั้นสถานการณ์และ ประเด็นท้าทายของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพฯ เกี่ยวโยงกับหลายปัจจัย ซึ่งมีความเชื่อมโยงตั้งแต่ระดับการดูแล สุขภาพตนเอง ( s elf - care ) และเกี่ยวข้องกับระดับผู้เชี่ยวชาญหรือวิชาชีพ ( p rofessi onal ) ดังนั้น ควรให้ความสําคัญ กับองค์ความรู้ การผลิตกําลังคน การจัดบริการสุขภาพ ผลิตภัณฑ์อาหารและสมุนไพร การคุ้มครองพันธุ์พืช การคุ้ มครองผู้ บริโภค นอกจากนี้ ภูมิปัญญาท้องถิ่ นด้านสุขภาพฯ ยังเป็นแหล่งสร้างรายได้และเศรษฐกิจ ด้วยปัจจัยที่สัมพันธ์กัน จึงมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งด้านบวกและด้านลบ หากกล่าวเฉพาะแนวคิดด้านสุขภาพ ซึ่งเกี่ยวข้องเป็นด้านหลักของการใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านสุขภาพฯ ควรคํานึงถึงแนวคิดสําคัญด้านการดูแลสุขภาพตนเอง หมายความว่า การดูแลกันเองของประชาชน ครอบค รัว และชุมชน ด้วยการใช้องค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้า น สุขภาพ เทคโนโลยีและทรัพยากรพื้นฐาน เพื่อ การดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมบนหลักของการพึ่งพาตนเอง นอกจากนี้ การดูแลสุขภาพตนเอง ยังหมายถึง การมีส่วนร่วมของบุคคล/ครอบครัว/ชุมชนสามารถทํากิจกรรมต่าง ๆ เกี่ ยวกับการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพ การฟื้นฟูสุขภาพ รวมทั้งการดูแลสุขภาพจากอาการและโรคเบื้องต้น หรือแก้ไขปัญหาสุขภาพจากโรคพื้นฐาน ได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม การใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพฯ แสดงให้เห็นถึงโอกาสและศักยภาพ ในสถานการณ์ การแพร่ ระบาดใหญ่ ของ โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่า ได้มีบทบาทในการดูแลสุขภาพ ประชาชนอย่างดี เกิดการศึกษาวิจัย รื้อฟื้นองค์ความรู้ดั้งเดิมเพื่อนํามาใช้อย่างเร่งด่วน เช่น ยาฟ้าทะลายโจร ยากระชาย ตํารับยาดั้งเดิม เช่น ยา จันทลีลา ยาเบญจโลกวิเชียร (ยาห้าราก) ตํารับยาขาว ตํารับยาตรีผลา ฯลฯ ซึ่งแสดงให้เห็นบทบาทของกลุ่มและเครือข่ายวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ซึ่งความเป็นวิชาชีพหรือทางการนั้น มีก ฎ หมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ ซึ่งเกี่ยวพันกับกระทรวง กรม กองและองค์กรตาม กฎหมาย มากมาย และยังพบว่า มี กฎหมาย ใหม่เพิ่มขึ้น รวมถึงการปรับปรุงก ฎ ระเบียบหรือก ฎ หมายใหม่ตลอดเวลา สถานการณ์โรคอุบัติใหม่นี้ ยังแสดงให้เห็นจริงตามคํากล่าวที่ ว่า “ในวิกฤติ มีโอกาส” ท่ามกลาง ความยากลําบากหลายประการกลับมีตัวอย่างดี ๆ หรือโมเดลความร่วมมือกันรับมือภัยโรคระบาดในชุ มชน ที่แสดง
หน้า 56 / 1 05 ศักยภาพ “ระบบสุขภาพชุมชน” ที่ ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่ นด้านสุขภาพฯ และการแพทย์แบบตะวันตก ทั้งเขตเมืองและนอกเขตเมือง ในการขับเคลื่อนงานนี้ ต้องเข้าใจรากฐานสําคัญของภูมิปัญญาท้อง ถิ่น ด้านสุขภาพฯ ด้วยว่า แม้มีองค์ความรู้ มีปราชญ์ชุมชน/หมอพื้นบ้าน/แพทย์ แผนไทย แต่ถ้าขาดซึ่งพันธุ์พืชสมุนไพรซึ่งสัมพันธ์กับป่าไม้แล้ว ก็จะพบกับ อุปสรรคใหญ่หลวงด้านความมั่นคงทางยาสมุนไพร โดยปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุกทําลายมากขึ้น พื้นที่ป่าไม้ลดลง จาก 171.02 ล้านไร่ หรือร้อยละ 53.33 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศในปี พ.ศ. 2504 เป็ น 102.35 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 31.64 ในปี พ.ศ. 2563 พื้ นที่ ป่าและพื้ นที่ สีเขียวต่าง ๆ นอกจากมีความสําคัญต่อ ความหลากหลายทางชีวภาพ ควา ม มั่นคงทางด้านอาหาร ความมั่นคงทางยาส มุ นไพรแล้ว ยังมีความสําคัญยิ่งต่อการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( c limate c hange ) ด้วย ปัจจุบันมีการกล่าวถึงการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่พัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน เรียกว่า Bio - Circular - Green Economy: BCG Model ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ ( b io economy ) ที่ จะต้องเชื่ อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน ( c ircular e conomy ) ซึ่งคํานึงถึงการหมุนเวียนวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้เพื่อลดปัญหามลพิษ ให้มากที่สุด และทั้ง 2 มิติแรกอยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว ( g reen e conomy ) ที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงเงินทองเท่านั้น แต่จําเป็นต้องพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน และ เป้าหมายสําคัญของ BCG Model มุ่งกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ํา สร้างชุมชนเข้มแข็ง และจะต้องมี ความเป็นมิตรกับสิ่ งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้น ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพฯ กําลังเผชิญความท้าทายกับสถานการณ์ที่ดํารงอยู่อย่างหลากหลายมิติ และสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผู้เกี่ยวข้องจํานวนมาก ทั้งที่เป็นโอกาสและความหวังที่ตอบโจทย์การมีสุขภาพดีหรือคุณภาพ ชีวิตที่ดีของทุกคน พร้ อม ๆ กับการมีสภาพแวดล้อมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนด้วย 4.2 เป้าหมายของการส่งเสริมสนับสนุนการใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ในระยะ 5 ปี ที่มุ่งไปสู่ “ความเป็นธรรม ตอบสนอง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ” เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในระยะ 5 ปี การส่งเสริมสนับสนุนการใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก จึงระบุเป้าหมาย ไว้ ดังนี้ 4.2.1 ประชาชนทุกกลุ่ มวัยมีความรอบรู้ ด้านสุขภาพ ( health literacy ) ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย ยาจากสมุนไพร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อเป็นฐานในการสร้างเสริมสุขภาพ และ การพึ่งตนเองด้านสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ
หน้า 57 / 1 05 4.2.2 สร้างนโยบายสู่รูปธรรม “ระบบสุขภาพ ชุมชนที่พึงประสงค์ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ” และส่งเสริมและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนฯ ให้เข้มแข็ง และเชื่อมต่อกับระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศ โดยรูปแบบหน่วยบริการร่วมให้บริการ หรือรูปแบบอื่น ๆ 4.2.3 ประชาชนทุกกลุ่มวัยเข้าถึงและใช้บริการสุขภาพ ในระบบการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกที่มีคุณภาพ/มาตรฐาน ประสิทธิผล ปลอดภัย และใช้อย่างสมเหตุสมผล 4.3 มาตรการ เพื่อ การ เปลี่ยนแปลง ของ การส่งเสริมสนับสนุนการใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านสุขภาพฯ ในระยะ 5 ปี 4.3.1 บูรณาการข้อมูลในระดับชาติ เพื่อการส่งเสริมสนับสนุนการใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านสุขภาพฯ โดยให้มีกระบวนการรวบรวม จัดการชุดข้อมูล เพื่อพัฒนาการใช้ประโยชน์และเข้าถึงอย่างเสมอภาค และเป็นธรรม และนําข้อมูลมาสื่อสารสาธารณะให้กว้างขวาง ได้แก่ 1 ) ข้อมูล เกี่ยวกับการใช้บริการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบานและการแพทย์ทางเลือก ในระบบ บริการสาธารณสุขในทุ กระดับ 2 ) ข้อมูล เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร 3 ) ข้อมูล เกี่ ยวกับพันธุ์ พืชสมุนไพร ป่าชุมชน ป่าครอบครัว รวมถึงข้อมูลการเฝ้าระวังและ การคุ้มครองพันธุ์พืชและภูมิปัญญาด้วย โดยการบูรณาการข้อมูลควรจัดทําอย่างมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และ ภาคประชาชน 4.3.2 ส่งเสริมสนับสนุนการสร้าง “ระบบสุขภาพชุมชนที่ พึงประสงค์ด้วยภูมิปัญญาท้ องถิ่น ด้านสุขภาพ” และ “แนวทางป่าครอบครัว ป่าชุมชนกับการอนุรักษ์ ปกป้อง และการใช้สมุนไพรอย่างยั่งยืน” รวมถึง การพัฒนาผู้ปลูกสมุนไพรให้มีความรู้ในการป ลูกตามหลักการเกษตรกรรมที่ดีและเหมาะสม ( Good Agricultural Practice, GAP ) และการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ( o rganic f arming ) โดยมุ่งให้บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเครือข่ายหมอพื้นบ้าน และเครือข่ายประชาสังคม ในพื้นที่ ร่วมเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนา 4.3.3 มาตรการทางการเงินการคลัง เพื่อเป็นกลไกกระตุ้นการส่งเสริมสนับสนุนการใช้และการพัฒนา ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพฯ ได้แก่ 1 ) ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการใช้และพัฒนาในระดับ พื้นที่หรือชุมชน 2 ) ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการใช้และพัฒนาในระดับหน่วยบริการสุขภาพทุกระดับของประเทศ
หน้า 58 / 1 05 3 ) ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาทางวิชาการ การวิจัย การจัดการความรู้ และการพัฒนากําลังคน ที่เกี่ยวข้อง 4.4 แนวทางการวัดผลสําเร็จ ของ การส่งเสริมสนับสนุนการใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านสุขภาพฯ ในระยะ 5 ปี 4.4.1 ระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศทุกระบบมีพัฒนาการให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยเข้าถึงและ ใช้บริการระบบการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก ที่มีคุณภาพ/มาตรฐาน ประสิทธิผล ปลอดภัย และใช้อย่างสมเหตุสมผล ได้อย่างเท่าเทียม 4.4.2 เกิดชุดความรู้เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ( health literacy ) ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย ยาจากสมุนไพร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อเป็นฐานในการสร้างเสริมสุข ภาพและ การบําบัดรักษาในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดระบบเศรษฐกิจ 4.4.3 จํานวนพื้นที่ “สุขภาพชุมชนที่พึงประสงค์ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ” และ”ป่าชุมชน ป่าครอบครัว” ที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนฯ ให้เข้มแข็ง เชื่อมต่อกับระบบหลักประกันสุขภาพ ของประเทศ และเป็นแหล่งเศรษฐกิจของชุมชน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นิยามศัพท์ ที่เกี่ยวข้องกับ การส่งเสริมสนับสนุนการใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพฯ 1 ) ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ หมายความว่า องค์ความรู้ ความคิด ความเชื่อ และความชํานาญในการ ดูแลสุขภาพโดยอาศัยความรู้ที่ได้สั่งสม ถ่ายทอด และพัฒนาสืบต่อกันมาในท้องถิ่น ซึ่งรวมถึงการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกอื่น ที่ประชาชนและชุมชนใช้ในการดู แลสุขภาพอย่างสอดคล้องกับท้องถิ่น นั้นๆ ด้วย (ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552) 2 ) การแพทย์แผนไทย หมายความว่า กระบวนการทางการแพทย์เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บําบัดรักษา หรือป้องกันโรค หรือการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของมนุษย์ การผดุงครรภ์ การนวดไทยและให้หมายความ รวมถึง การเตรียมการผลิตยาแผนไทย และการประดิษฐ์อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ทั้งนี้ โดยอาศัยความรู้หรือตํารา ที่ได้ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมา (พระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ .ศ. 2556) 3 ) การแพทย์พื้นบ้าน หมายความว่า การดูแลสุขภาพโดยอาศัยความรู้ที่ได้สั่งสม ถ่ายทอด และพัฒนาสืบต่อ กันมาซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม จารีต ประเพณี และทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่น และเป็นที่ ยอมรับของชุมชนท้องถิ่นนั้น (ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชำติ พ.ศ. 2552)
หน้า 59 / 1 05 4 ) การแพทย์ทางเลือก หมายความว่า การดูแลสุขภาพโดยอาศัยความรู้ทางการแพทย์ ที่นอกเหนือจาก การแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้าน (ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552) 5 ) ระบบสุขภาพชุมชน หมายความว่า ระบบที่ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สัมพันธ์กันที่ทําให้เกิด สุขภาวะของ ประชาชนในชุมชน โดยความร่วมมือกันของสมาชิกกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน องค์ประกอบดังกล่าว ได้แก่ (1) องค์กรใน ชุมชน ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาสังคม ผู้นําชุมชน (ทั้งที่เป็นทางการและ ไม่เป็นทางการ) องค์กร ของชุมชน ครอบครัวและปัจเจก (2) องค์กรด้านสุขภาพ ได้แก่ หน่วยบริการปฐมภูมิ อาสาสมัครสาธารณสุข (อส ม.) แพทย์พื้นบ้าน เป็นต้น (3) หน่วยงานอื่น ๆ ได้แก่ โรงเรียน วัด กองทุนสุขภาพตําบล (4) อื่น ๆ ได้แก่ ภาคเอกชน องค์กรเอกชน เป็น ต้น (ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560 - 2564 – จัดทําโดย คณะกรรมการภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพแห่งชาติ) 6 ) ระบบสุขภาพชุมชนที่พึงประสงค์ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ หมายความว่า ระบบสุขภาพ ชุมชนที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพกับคนทุกวัย เพื่อการดูแลสุขภาพทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกัน ฟื้นฟู บําบัดรักษาโรค นําเทคโนโลยี ข้อมูล ความรู้ ข่าวสารมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รู้ เท่าทันข้อมูลด้านสุขภาพ สร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ส่ งเสริมการอนุรักษ์และปลูกพันธุ์พืชสมุนไพร รวมถึงการใช้ประโยชน์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพทั้งมิติสุขภาพ อาหาร และเศรษฐกิจฐานราก ตามหลัก ของ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (นิยามเฉพาะธรรมนูญ ว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3)
หน้า 60 / 1 05 5. การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ 5.1 สถานการณ์ปัญหา/ประเด็นท้าทายของการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ สถานการณ์ปัญหา ปัญหาสําคัญของผู้บริโภค คือ การที่ผู้บริโภคได้รับสินค้าและบริการที่ไม่ปลอดภัยหรือถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น ยา อาหาร เครื่องสําอาง ซึ่งมีแหล่งกระจาย ทั้งในสถานที่ขาย ตามกฎหมาย ร้านค้าในชุมชน ร้านค้าออนไลน์ พร้อมทั้งยังมีการโฆษณาส่งเสริมการขายที่ผิดกฎห มาย ในขณะที่ หน่วยงานรัฐและองค์กรผู้บริโภคยังไม่สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสมเท่าที่ควร เนื่องด้วยกฎหมายและ การบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอและไม่ทันสมัย อีกทั้งผู้บริโภคที่อ่อนแอเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก็ยังขาด แหล่งข้อมูลแจ้งเตือนภัยในการบริโภ ค ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทําให้มีความเสี่ยงสูงต่อการบริโภคและไม่เท่าทันการโฆษณา และการส่งเสริมการขาย โดยเฉพาะ ผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ ซึ่งมักแสวงหาผลิตภัณฑ์สุขภาพและ บริการสุขภาพต่าง ๆ สําหรับตนเองด้วยความถี่สูงกว่ากลุ่มทั่วไป และเมื่อได้รับความเสี ยหายจากการบริโภคนั้น ๆ ก็จะมีผู้บริโภคที่ร้องเรียนเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ได้รับการชดเชยเยียวยาความเสียหาย แม้ในปัจจุบันจะมีการจัดตั้ง สภาองค์กรของผู้บริโภคทําหน้าที่เป็นแกนหลักให้กับองค์กรผู้บริโภคต่าง ๆ แล้วก็ตาม แต่ก็ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ของการจัดตั้ง สภาองค์กรของผู้บริโภคจึงยังคงต้องการการส่งเสริมและการสนับสนุนอีกมากเพื่อพัฒนาศักยภาพ ให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ประเด็นท้าทาย ความท้าทายที่สําคัญยิ่งในปัจจุบันสําหรับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ คือ จะดูแล ผู้บริโภคอย่างไร มิให้ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อขายทางออนไลน์ ที่นับวันจะได้รับ ความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดจะกลายเป็นการซื้อขายของคนส่วนใหญ่ (majority) 5. 2 เป้าหมายของการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ในระยะ 5 ปี ที่มุ่งไปสู่ “ความเป็นธรรม ตอบสนอง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ” ในเชิงหลักการ เป้าหมายสําหรับการคุ้มครองผู้บริโภคก็คือ “ประชาชนหรือผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย อย่างมีศักดิ์ศรี ได้บริโภคผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพที่มีมาตรฐาน ทั้งนี้ โดยเสมอภาค ไม่มีการเลือกปฏิบัติ และ ยึดหลักที่ว่า สุขภาพสําคัญกว่าการค้า”
หน้า 61 / 1 05 ในทางปฏิบัติ เป้าหมายของการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ คื อ จะต้องมีกลไกที่มีประสิทธิภาพอย่างน้อย 6 กลไกในการ ดูแลผู้บริโภค ที่สามารถดูแลไปถึงผู้บริโภคที่เปราะบางที่สุด ดังนี้ 1 ) ทบทวนและแก้ไขกฎหมายให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น และให้เท่าทันกับสถานการณ์การโฆษณาและ การขายที่เปลี่ยนแปลงไป 2 ) ติดตามและควบคุมกํากับเพื่อให้มีการบั งคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 3 ) เฝ้าระวังคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย หรือโฆษณาที่อาจเป็นการลิดรอนสิทธิของผู้บริโภค 4 ) การชดเชยความเสียหายที่เกิดจากการบริโภค 5 ) สร้างเสริมศักยภาพแก่องค์กรของผู้บริโภคและผู้บริโภค 6 ) พัฒนาฐานข้อมูลแจ้งเตือนภัยสําหรับหน่วยงานรัฐ องค์กรผู้บริโภค และผู้บริโภค ทั้งนี้ จะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกระบวนการ ตั้งแต่ ก ระบวนการพัฒนา จนถึงกระบวนการใช้ประโยชน์จากกลไกนั้น 5. 3 มาตรการ เพื่อ การเปลี่ยนแปลงของการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ในระยะ 5 ปี 5.3.1 การหนุนเสริมความเข้มแข็งของสภาองค์กรของผู้บริโภค เนื่องจาก สภาองค์กรของผู้บริโภค เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2563 เป็นที่คาดหวังว่า สภาองค์กรของผู้บริโภคนี้จะเป็นองค์กรที่สามารถกระตุ้นให้เกิด การเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคต่าง ๆ และสามารถลดช่องว่างของการบูรณาการร่วมกัน อย่างไรก็ตาม คงมิได้คาดหวังให้สภาองค์กรของผู้ บริโภคดําเนินการตามลําพัง แต่จะต้องมีการหนุนเสริมความเข้มแข็ง ของ สภาองค์กรของผู้บริโภคในทุก ๆ ด้าน ดังนั้น ทุกภาคีเครือข่ายจะต้องให้ความร่วมมือแก่องค์กรของผู้บริโภค อย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ หน่วยงานรัฐ 5.3.2 การปรับปรุงกฎหมายให้สามารถเท่าทันกับปัญหาที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ซื้อขายกันทางออนไลน์ พร้อม ๆ กับการปรับปรุงประสิทธิภาพ ของการบังคับใช้กฎหมายให้ตอบสนองต่อปัญหาให้ได้มากขึ้น 5.3.3 กลไกฐานข้อมู ลแจ้งเตือนภัย หน่วยงานรัฐและองค์กรผู้บริโภคจะร่วมกันตรวจสอบผลิตภัณฑ์และ บริการสุขภาพที่ มีผู้ร้องเรียนว่า อาจไม่มีความปลอดภัย เมื่ อตรวจสอบจนเป็นที่ แน่ชัดแล้วว่า ไม่ปลอดภัย ก็จะเผยแพร่ข้อมูลนั้น ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์
หน้า 62 / 1 05 5. 4 แนวทางการวัดผลสําเร็จของการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ในระยะ 5 ปี ในระยะ 1 ปี วัดจาก 1 ) จํานวนและการกระจายขององค์กรของผู้ บริโภคทั่ วประเทศ ที่ ได้รับการขึ้ นทะเบียนจากสํานัก นายกรัฐมนตรี 2 ) จํานวนหน่วยงานประจําจังหวัด * ของสภาองค์กรของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ 3 ) การเคลื่อนไหวของข้อมูลในฐานข้อมูลแจ้งเตือนภัย โดยเฉพาะข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีปัญหา ถึงขั้นทําให้เจ็บป่วยได้ ในระยะ 3 ปี วัดจาก 4 ) ผลงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค และองค์กรผู้บริโภคต่าง ๆ ในการทํางานร่วมกับหน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะในด้านการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการร้องเรียนของผู้บริโภค 5 ) ข้อเสนอเชิงนโยบายของหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคต่างๆที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนและสามารถ นําไปปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาได้จริง 6 ) การใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลแจ้งเตือน ภัยโดยหน่วยงานต่าง ๆ ในการปกป้องผู้บริโภค ในระยะ 5 ปี วัดจาก 7 ) ภาพรวมผลกระทบต่อผู้บริโภคอันเนื่องมาจากการทํางานของหน่วยงานต่าง ๆ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสุขภาพ 8 ) ข้อเสนอเชิงนโยบายของหน่วยงานรัฐและองค์กรผู้บริโภคต่างๆ ที่ได้รับการตอบสนองจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง 9) การใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลแจ้งเตือนภัยโดยประชาชนในการปกป้องตนเอง * หน่วยงานประจําจังหวัด คือหน่วยงานที่กําหนดขึ้นในมาตรา 12(4) แห่งพ ระราชบัญญัติ การจัดตั้งสภาองค์กร ของผู้บริโภค ที่บัญญัติว่า “โครงสร้างขององค์กรซึ่งอย่างน้อยต้องมีสํานักงานสภาองค์กรของผู้บริโภคและหน่วยงาน ประจําจังหวัด ซึ่งอาจมีทุกจังหวัดหรือบางจังหวัดตามที่เห็นสมควร ตลอดทั้งวิธีกำรบริหารของสํานักงานสภาองค์กร ของผู้บริโภคซึ่งอย่างน้อยต้องมีเลขาธิการสํานักงานสภาองค์กรของผู้บริโภคเป็นหัวหน้าสํานักงานและวิธีการ บริหารงานในหน่วยงานประจําจังหวัด รวมตลอดทั้งผู้มีอํานาจกระทําการแทนสภาองค์กรของผู้บริโภค” ซึ่งภายหลัง ได้มีการออกระเบียบให้หน่วยงานประ จําจังหวัด มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1 ) เสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคต่อหน่วยงานรัฐในระดับจังหวัด 2 ) สนับสนุนและดําเนินการ ตรวจสอบ ติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหาสินค้าและบริการแจ้งหรือ โฆษณาข่าวสารหรือเตือนภัยเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่อาจกระทบต่อสิทธิของผู้บริโภคหรืออาจก่อให้เกิด
หน้า 63 / 1 05 ความเสียหายหรือความเสื่อมเสียแก่ผู้บริโภค ในระดับจังหวัด โดยจะระบุชื่อสินค้าหรือบริการ หรือชื่อของผู้ประกอบ ธุรกิ จด้วยก็ได้ 3 ) รายงานการกระทําหรือละเลยการกระทําอันมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้บริโภค ไปยังหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่รับผิดชอบในระดับจังหวัด และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ 4 ) สนับสนุนการรวมตัวและช่วยเหลือองค์กรของผู้บริโภคภายในจังหวัด เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้บริโภค 5 ) ร่วมกับสมาชิก และองค์กรของผู้บริโภคอื่นในจังหวัด จัดให้มีสภาจังหวัด โดยให้หน่วยงานประจํา จังหวัดทําหน้าที่เป็นเลขานุการ 6 ) รับเรื่องร้องเรียน ไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมยอมความข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค 7 ) ดําเนินคดีในนามของสภา ฯ ได้ เมื่อได้รับความเห็ นชอบจากที่ประชุมสภาจังหวัด ตามที่กําหนด ในหมวดว่าด้วยการฟ้องคดี เว้นแต่หน่วยงานประจําจังหวัดนั้นเป็นองค์กรที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภคให้ดําเนินคดีแทนผู้บริโภคได้ 8 ) จัดทําแผนการปฏิบัติงานและแผนงบประมาณรายปี และรายหกเดือน 9 ) จัดทํารายงานผลการปฏิ บัติงานเสนอต่อสํานักงานเป็นประจําทุกหกเดือน โดยอย่างน้อยรายงานต้องมี เนื้อหาครอบคลุมผลงานที่เป็นความสําเร็จ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ 10 ) ดําเนินการใช้จ่ายงบประมาณและจัดทํารายงานการเงินและบัญชีให้เป็นไปตามระเบียบสภาองค์กร ของผู้บริโภคว่าด้วยงบประมาณ การบัญชี การเงิ น และการสอบบัญชีของสภาองค์กรของผู้บริโภค 11 ) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย นิยามศัพท์ ที่เกี่ยวข้องกับ การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ 1 ) การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ หมาย ความว่า การดูแลผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัย และเป็นธรรม (เป็นธรรม คือ สมประโยชน์และประหยัด) จากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ 2 ) หน่วยงานรัฐ หมาย ความว่า หน่วยงานภาครัฐที่ทําหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เช่น สํานักงานคณะกรรมการ อาหารและยา (อย . ) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด และสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริ โภค (สคบ . ) 3 ) องค์กรผู้บริโภค หมาย ความว่า องค์กรผู้บริโภคที่ทําหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคทั้งที่เป็นนิติบุคคลและ มิใช่นิติบุคคล เช่น สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ . ) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค องค์กรของผู้บริโภคตามกฎหมาย และองค์กร ผู้บริโภคอื่น ๆ 4 ) หน่วยงาน หมาย ความว่า หน่ วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีบทบาทชัดเจน
หน้า 64 / 1 05 6. การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ 6.1 สถานการณ์ ปัญหา ความท้าทายของการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ ความรู้ด้านสุขภาพเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สําคัญสําหรับกําหนดทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพ ( h ealth s ystems d evelopment) และการพัฒนาสุขภาพของประชาชน ซึ่งนโยบายด้านสุขภาพสามารถมีได้ทั้งนโยบาย สาธารณะเพื่อสุขภาพ ในลักษณะนโยบายที่ถูกกําหนดโดยภาครัฐ / นโยบายแบบบนลงล่าง ( t op - dow n) และนโยบาย ที่ริเริ่มโดยภาคประชาชน / นโยบายแบบล่างขึ้นบน ( b ottom - up) ในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหาสุขภาพ ทั้งจากโรคไม่ติดต่อและโรคติดต่อ การแพร่ระบาด ของโรคติดต่ออุบัติใหม่ โดยเฉพาะ การแพร่ ระบาดใหญ่ ของ โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีการแพร่ระบาด ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยสามารถบริหารจัดการระบบสุขภาพในประเทศได้ในระดับหนึ่ง โดยใช้ องค์ความรู้เชิงระบบ ทําให้ระบบสุขภาพไทยสามารถตอบสนองต่อความจําเป็นและความต้องการด้านสุขภาพ ของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ทุกช่วงวัย ทุกชนชั้นทางสังคมและเศร ษฐกิจ สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้ โดยเฉพาะ กลุ่มคนที่มีความจําเพาะด้านสุขภาพ คนด้อยโอกาสในสังคม กลุ่มคนที่อยู่ในสภาวะเปราะบาง ได้รับการดูแลก่อน เป็นอันดับแรกในการเข้าถึงระบบสุขภาพ แต่อาจยังคงมีความเหลื่อมล้ําหรือเลือกปฏิบัติ ทั้งในสถานการณ์ปกติและ ฉุกเฉิน รวม ถึงยังมีข้อจํากัดในบางพื้นที่ สังคมไทยมีความหลากหลายของแหล่งผลิตความรู้ เช่น สถาบันการศึกษา หน่วยวิจัย แหล่งทุนวิจัย ด้านสุขภาพ มูลนิธิ และสมาคม โดยมีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความพร้อมเชิงทรัพยากร มาตรฐาน ทิศทางการลงทุน ผลิตความรู้ การดําเนินงานเป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทําตามความสนใจของนักวิจัยหรือผู้ผลิตความรู้ และบางครั้ง พบว่า เป็นไปในลักษณะแข่งขันกันอย่างไม่สร้างสรรค์ จึงทําให้กระบวนการผลิตความรู้ เพื่อตอบสนองปัญหาหรือ ความต้องการของสังคมไม่ได้ประสิทธิภาพดังที่มุ่งหวัง นอกจากนี้ ปัจจัย ที่สําคัญของการมีองค์ความรู้ แต่ไม่สามารถ นําไปใช้เผยแพร่หรือสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับประชาชนได้ คือ การไม่สามารถแปลงองค์ความรู้จากงานวิจัย ให้เป็นองค์ความรู้ ที่ เหมาะสมกับประชาชน และยังมีข้อจํากัดของเครื่ องมือที่ ใช้ในการสื่ อสารองค์ความรู้ ไปยังกลุ่มเป้าหมำย ทําให้ผู้ที่ต้องการความรู้ อาจมีอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งความรู้ เช่น ไม่รู้ว่าจะหาแหล่งข้อมูล ที่ถูกต้องหรือเชื่อถือได้จากที่ใด ความรู้ที่มีอยู่กระจัดกระจายและไม่ได้รับการจัดการอย่างเป็นระบบ ทั้งในยุคปัจจุบันและในอนาคต การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้เพื่อ การพัฒนาระบบสุขภาพ มีผลต่อ การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน จึงควรให้ความสําคัญกับการมีหลักฐานเชิงประจักษ์ในการทําให้เกิดระบบสุขภาพ ที่มุ่งหวังให้ประชาชนมีสุขภาวะกายและจิตที่ดีผ่านกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษา และฟื้นฟู การทํางานของร่างกาย รวมทั้งก ระบวนการสร้างความพร้อมของระบบสุขภาพในการรับมือกับโรคไม่ติดต่อ โรคติดต่อ และภัยพิบัติอันก่อให้เกิดโรคระบาดระดับชาติและโรคอุบัติใหม่ ที่มีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง โดยระบบ
หน้า 65 / 1 05 สุขภาพ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบสําคัญ ได้แก่ 1) การให้บริการด้านสุขภาพ 2) กําลังคนด้านสุข ภาพ 3) ระบบ สารสนเทศด้านสุขภาพ 4) การเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ วัคซีน เวชภัณฑ์และเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่จําเป็น 5) กลไกการบริหารจัดการงบประมาณ/การเงินการคลังด้านสุขภาพ และ 6) ภาวะผู้ นําและธรรมาภิ บาล ระบบสุขภาพ โดยทุกองค์ประกอบต้องทํางานเชื่อมประสานกันในการทําใ ห้เกิดความมั่นคงทางสุขภาพ โดยมีผลลัพธ์ คือ ระบบสุขภาพที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งประชาชนสามารถเข้า ถึง บริการสุขภาพอย่างทั่วถึงและ เป็นธรรม อันจะส่งผลให้สุขภาพของประชาชนดีขึ้น ด้วยความพร้อมในด้านอุปกรณ์ โครงสร้างพื้นฐาน และบุคลากร ทางการแพทย์ที่มีความสา มารถ สถานการณ์ การแพร่ ระบาดใหญ่ ของ โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นตัวอย่างของโรคติดต่อที่มีการระบาด เป็นวงกว้างและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสุขภาพของทุกประเทศ รวมทั้ง ประเทศไทย ชี้ ให้เห็นว่าจําเป็นต้องมีองค์ความรู้ เกี่ ยวกับการสืบสวน สอบสวนโรค ควบคุม และป้องกัน การ แ พร่กระจายของโรค ซึ่งงานด้านระบำดวิทยาจําเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้สหสาขาวิชา ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ สุขภาพและการศึกษาบริบททางสังคมของพื้นที่ระบาด การบริหารจัดการโรคในบริบทต่าง ๆ ที่ครอบคลุมชุมชนเมือง ชุมชนต่างจังหวัด และชุมชนชนบท ซึ่งมีวิธีการในการจัดการที่แตกต่างกัน นอกจากนั้น ยังต้องการองค์ ความรู้เกี่ยวกับ ยา วัคซีน อุปกรณ์ในการตรวจรักษาที่มีอยู่อย่างจํากัด ทําให้การนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ มีความจําเป็นมากในการรับมือกับโรคระบาด เพื่อให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ ห่างไกลสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่าง เท่าเทียมและกระจายอย่างทั่วถึงในทุกภูมิภาคมากขึ้น องค์ความรู้ เกี่ยวกับการให้คําปรึกษาผ่านระบบการแพทย์ทางไกล หุ่นยนต์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ป่วยในการรับส่งอาหารและยา การส่งอุปกรณ์ตรวจวัดสัญญาณชีพ ช่วยอํานวยความสะดวกและลดภาระงานของบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกรณีศึกษาการจัดการ การแพร่ ระบาดใหญ่ ของ โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายต่อ ประเทศไทยในการยกระดับระบบสุขภาพ โดยใช้การสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย มาตรการ และการบริหารจัดการของระบบการเสริมสร้างความมั่นคงทางสุขภาพของประเทศอย่างยั่งยืนในการเฝ้าระวัง ดูแลป้องกัน ควบคุมการระบา ดของ โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายใต้กลไกที่มีธรรมาภิบาล การกระจายอํานาจ มีความยืดหยุ่น เพื่อลดผลกระทบเชิงลบทางสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม โดยกระจายความช่วยเหลือตั้ งแต่ ระดับชุมชน จะสามารถลดช่องว่างความเหลื่อมล้ําของประชาชนในทุกมิติ อนึ่ง การบริหารจัดการระบบสุขภาพ จําเป็นต้องคํานึงถึงการกําหนดนโยบาย การให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ชัดเจน และเชื่อถือได้ แก่ผู้ปฏิบัติงานและประชาชน การออกแบบเกณฑ์การดําเนินงานจากส่วนกลางที่มีหลักคิดและ หลักปฏิบัติชัดเจน ทันท่วงที รวมถึงการกระจายอํานาจการตัดสินใจไปยังหน่ วยงานส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น เพื่อให้ เกิดความร่วมมือและดําเนินงานไปในทิศทางเดียวกันตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ถึงแม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา อาจยังพบปัญหาความไม่ชัดเจนในการแบ่งภารกิจให้เหมาะสมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับราชการ ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 ซึ่งถือเป็น
หน้า 66 / 1 05 ช่องว่างความรู้ที่ยังต้องเติมเต็ม ให้มีข้อมูลความรู้ แนวทางปฏิบัติเพื่อใ ห้เกิดการกระจายอํานาจ ในส่วนการจัดบริการ สุขภาพจากส่วนกลางไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถวางแผนจัดการทรัพยากรในพื้นที่ เพื่อดูแลสุขภาพประชาชนและหน่วยให้บริการที่เชื่อมโยงกับของการวางแผนระบบบริการในระดับประเทศ 6.2 เป้าหมายของการสร้างแล ะเผยแพร่องค์ความรู้ ด้านสุขภาพ ในระยะ 5 ปี ที่ มุ่ งไปสู่ “ความเป็นธรรม ตอบสนอง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ” 6.2.1 ยกระดับความมั่นคงทางสุขภาพของประเทศให้พร้อมเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อและ โรคไม่ติดต่ออย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ด้วยการใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้เชิงประจักษ์ เทคโนโลยีและ นวัตกรรมที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยระบบสุขภาพสามารถบริหารจัดการและรับมือกรณีเกิด การแพร่ ระบาด ของ โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทุกสายพันธุ์ รวมถึงลดผลก ระทบเชิงลบทางสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม 6.2.2 ระบบสุขภาพมีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัว หรือฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยให้ความสําคัญกับ กลไก การ อภิบาลระบบสุขภาพ โครงสร้างของระบบสุขภาพ ครอบคลุมถึงการจัดการระบบข้อมูลด้านสุขภาพ การเงิน การคลังและกําลังคนด้านสุขภาพ ในการทําให้ระบบสามารถดํารงอยู่ได้หรือสามารถมีโครงสร้างที่ปฏิบัติหน้าที่ ได้ตามปกติ รวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคมที่มีบทบาทโดยตรงและโดยอ้อม เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาหรือความท้าทายต่ำง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 6.2.3 เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ ไม่ใช่เป็นผู้รับ ข้อมูลความรู้สุขภาพเพียงอย่างเดียว แต่ต้องร่วมออกแบบและผลิตองค์ความรู้สุขภาพ ดูแลตนเอง ครอบครัว ชุมชนได้ 6.2.4 มีการกระจายอํานาจการสร้างความรู้ให้กับหน่วยงานในพื้นที่ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีโอกาสสร้างความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้อย่างตรงจุดและโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ รวมถึงหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องดําเนินการสนับสนุน ( a dvocacy) การเผยแพร่ข้อมูลความรู้ด้ำนสุขภาพอย่างถูกต้องและเหมาะสม 6.3 มาตรการ เพื่อ การเปลี่ยนแปลง ของการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ ในระยะ 5 ปี 6.3.1 มีกลไกอภิบาลระบบการสร้างและเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพ ในส่วนกลางและในระดับพื้นที่ ทําหน้าที่ในการบริหารจัดการการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพสาขาต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ และทันต่อ สถานการณ์ในการรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในอนาคต รวมทั้ง ทําหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรในการสร้าง และเผยแพร่องค์ความรู้อย่างเพียงพอ ตลอดจนพิจารณาใช้ประโยชน์จาก องค์ความรู้ด้านสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับบริบท
หน้า 67 / 1 05 6.3.2 มีกลไกบริหารจัดการงานวิจัย / สร้างองค์ความรู้ ด้านสุขภาพ ตั้ งแต่การพัฒนาโจทย์วิจัย การดําเนินงานวิจัย การพิจารณาผลการวิจัยเพื่อนําไปใช้ประโยชน์ โดยบูรณาการกับหน่วยงานในพื้นที่อย่างเหมาะสม เพื่อให้อ งค์ความรู้ด้านสุขภาพเกิดประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่ให้มากที่สุด 6.3.3 พัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านสุขภาพ ทั้งเชิงระบบและนวัตกรรมสมัยใหม่ ( innovation) ที่เพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ในการรับมือกับโรคระบาด รวมถึงข้อมูลเทคโนโลยีที่สนับสนุนให้ประชาชน เข้าถึงบริการได้อย่างสะดวกทั้งในสถานการณ์ปกติและไม่ปกติ 6.3.4 ให้ความสําคัญกับสถาบัน/ศูนย์์วิจัยในสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ที่กระจายอยู่ในทุกภูมิภาคที่มีความเชี่ยวชาญเชิงระบบและด้านระบาดวิทยา เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการตอบสนอง และรับมือกับปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มาตรการ และการบริหารจัดการ ของระบบการเสริมสร้างความมั่นคงทางสุขภาพของประเทศ โดยหวังผลให้ประชาชนได้รับบริการจากระบบสุขภาพ แบบบูรณาการระดับประเทศและพื้ นที่ ที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เหมาะสมกับบริบท 6.4 แนวทางการวัดผลสําเร็จของการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ ใ นระยะ 5 ปี 6.4.1 หน่วยงานที่เกี่ ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม มีการลงทุนและมีบทบาท ในการสร้างและการเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพ เพื่อให้มีการพัฒนาระบบสุขภาพที่อยู่บนหลักฐานเชิงประจักษ์ ในทุกระดับ ซึ่งการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการวิจัยด้านสุขภาพ ควรมีทั้งการวิจัยระบบสุขภาพและการวิจัย ในสาขาต่าง ๆ ที่จําเป็นอย่างเพียงพอ ในสัดส่วนใกล้เคียงกับงบประมาณการวิจัยด้านสุขภาพที่เป็นมาตรฐานสาก ล 6.4.2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคประชาชนมีความสามารถสร้างและเผยแพร่ องค์ความรู้ด้านสุขภาพ และสนั บสนุนให้เกิดช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะสมกับบริบท 6.4.3 หน่วยงานที่ เกี่ ยวข้องมีการสร้างระบบตรวจสอบ กลั่ นกรอง และติดตามการสื่ อสารและ การเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และมีการกําหนดมาตรการและจัดสรร งบประมาณเพื่ อให้สื่ อมวลชน สื่ อดิจิทัล ทําการสื่ อสารเผยแพร่ความรู้ ด้านสุขภาพที่ ถูกต้อง เพื่ อป้องกัน การแพร่กระจายข่าวปลอม ( f ake n ews ) ที่ มีความเหมาะสมทั้ งด้านช่วงเวลา คุณภาพเนื้ อหา และการรับรู้ ของกลุ่มเป้าหมาย 6.4.4 กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) จัดให้มีกลไกระดับชาติ ทําหน้าที่กําหนด ทิศทางและนโยบายการสร้างและเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพ เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพของไทย ให้มีความเข้มแข็ง และมีความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ และส่งเสริมสนับสนุนให้นักวิจัย งานวิจัย และ นวัตกรรมของประเทศอยู่ในระดับทัดเทียมกับนานาชาติ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่องค์ความรู้
หน้า 68 / 1 05 ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงองค์ความรู้ จนเกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ และเข้าถึงบริการสุขภาพ อย่างเท่าเทียม 6.4.5 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทําหน้าที่ในการบริหารนโยบาย สนับสนุนการวิจัยสุขภาพ เพื่อให้สังคม ทุกภาคส่วนสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบกับระบบสุขภาพและสุขภาพของป ระชาชนในอนาคต ตลอดจนส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้และระบบฐานข้อมูลในระบบสุขภาพ
หน้า 69 / 1 05 7 . การสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพ (การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ) 7.1 สถานการณ์ ปัญหา และความท้าทายในการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพ ในภาวะที่ ประชากรโลกกําลังเผชิญปัญหาที่ เป็นวิกฤติ สุขภาพ โดยเฉพาะจาก การแพร่ ระบาดใหญ่ ของ โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำกการประชุมของประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก เกี่ยวกับการรับมือ ในวิ กฤตการณ์ ดั งกล่าว ได้ มี มติ ร่ วมกั นว่า ท่ำมกลางการไหลบ่ำของข้ อมู ลข่ำวสาร ซึ ่ งมี ทั ้ งข้ อมู ลที่ ผิด ( m isinformation) และข้อมูลที่บิดเบือนจากความจริง ( d isinformation) ประเทศต่าง ๆ ต้องรีบเร่งสื่อสารด้วยความ รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ มีความโปร่งใส และสร้างความเชื่อมั่น ศรัทธาให้เกิดขึ้นและในการจัดการปัญหา การสื่อสาร ควรนําเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ พร้อมทั้งดําเนินการอย่างเข้มงวดกับการจงใจ สร้างข้อมูลข่าวสารที่เป็นข่าวลวง ข่าวปลอม และข่าวบิดเบือน ตลอดจนสื่อสารไปสู่สังคมด้วยข้อมูล ที่มีหลักฐาน ทางวิทยาศาสตร์ มีหลักเหตุและผลที่เชื่อถือได้ นอกจากนี้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา ( CDC ) ได้ให้แนวทางในการสื่อสารความเสี่ยง ในภาวะวิกฤติ ไว้ว่า การสื่อสารในภาวการณ์ดังกล่าว ต้องเป็นไปอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเชื่อถือได้ ซึ่งปัจจุบันข้อมูล ด้านสุขภาพปรากฏอยู่ในรูปแบบที่หลากหลาย ผ่านช่องทางการสื่อสารที่ประกอบด้วยสื่อหลายประเภท ทั้งสื่อเดิม เช่น สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อใหม่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น สื่อสังคมออนไลน์บนเว็บไซต์ และ แอปพลิเคชันต่ำง ๆ ตลอดจนสื่อบุคคล เช่น ผู้นําชุมชน เจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์และสาธารณสุข อาสาสมัคร สาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น และด้วยสภาพการณ์ของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็ว ทําให้สื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทางการสื่อสารที่ได้รับความนิยมเป็ นอย่างมาก สําหรับประเทศไทย มีจํานวนผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ มากถึง 55 ล้านรายชื่อ นับเป็นร้อยละ 78.7 เมื่อเทียบกับประชากรทั้งประเทศ ทําให้ปัจจุบันประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านต่าง ๆ ได้โดยง่าย รวดเร็ว และสามารถผลิตข้อมูล เพื่อถ่ายทอด เผยแพร่ หรือส่งต่อออกไปได้ ด้วยตนเอง ปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ข้อมูลด้านสุขภาพมีรูปแบบที่หลากหลาย และมีระดับความน่าเชื่ อถือ ที่แตกต่างกันตามความรู้ ความเชื่อ ทัศนคติ และประสบการณ์ของผู้ส่งสาร การสื่อสารที่ทุกคนสามารถผลิต หรือ ถ่ายทอด เผยแพร่ และส่งต่อข้อมูลได้สะดวก ง่ายดาย และรวดเร็ วเช่นนี้ เปิดโอกาสให้เกิดข่าวลวง ข่าว ป ลอม และ ข่าวบิดเบือนในสื่อต่าง ๆ เป็นจํานวนมาก ในขณะเดียวกัน หน่วยงานด้านสาธารณสุข และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ยังไม่มี แผนการสื่อสารอย่างเป็นระบบ ที่สามารถสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ( h ealth l iteracy) ได้อย่างทั่วถึง และพบว่า ข้อมูลด้านสุขภาพที่สื่อสารกันในสังคม ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการ และบริบทของกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ํา การขาดโอกาส และก่อปัญหาสุขภาพตามมาในระยะยาว ทั้งยังพบว่า ประชาชนในสังคม ยังขาดข้อมูลที่สร้างความรู้ ความเ ข้าใจเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ และสิทธิด้านสุขภาพของตนเอง ขาดการตระหนักถึง
หน้า 70 / 1 05 ความสําคัญของการมีส่วนร่วมกําหนดนโยบายด้านสุขภาพในชุมชนของตนเอง ประกอบกับการขาดศูนย์ข้อมูล ด้านสุขภาพที่ครบถ้วน ถูกต้อง มีความเชื่อมโยง และบูรณาการระหว่างหน่วยงานทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ ตลอดจนขาดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูล และพื้นที่การสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ที่เหมาะกับประชาชนทุกกลุ่ม ขณะที่หลายภาคส่วนยังไม่ได้ให้ความสําคัญต่อการบรรจุนโยบายด้านสุขภาพ เข้าไปในโครงการ หรือกิจกรรมขององค์กร หน่วยงาน หรื อภาคีเครือข่ายของตนเอง ตามหลักการทุกนโยบายห่วงใย สุขภาพ ( H ealth in A ll Policies - HiAP ) เท่าที่ควร ดังนั้น การสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพ จึงจําเป็นต้องกําหนดเป้าหมาย แนวทางสําคัญที่นําไปสู่การเปลี่ยนแปลง ตลอดจนแนวทางการวัดผลสําเร็จให้ชัดเจน เป็นรูปธรรม เพื่อมุ่งไปสู่ ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม ตอบสนอง ไม่ทิ้งใคร ไว้ข้างหลัง มีการอภิบาลที่ดี ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และมีความยืดหยุ่นที่สอดคล้องกับบริบทต่าง ๆ อย่างรอบด้าน 7.2 เป้าหมายของการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพ ในระยะ 5 ปี ที่มุ่งไปสู่ “ความเป็นธรรม ตอบสนอง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ” การสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพในสังคมไทยที่จะนําไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนของประชาชนทุกกลุ่ม นั้น ควรมุ่งไปสู่เป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการ คือ 7.2.1 ประชาชนทุกกลุ่มมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ กล่าวคือ ประชาชนมีความสามารถในการเข้าถึง เข้าใจ ตัดสินใจ ประเมิน และปรับใช้ข้อมูลด้านสุขภาพได้อย่างเหมาะสม เลือกรับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพได้ เพื่อตัดสินใจเรื่องสุขภาพของตนเอง รวมทั้งมีส่วนร่วมในการสะท้อนปัญหา ร่วมพัฒนา และ เคลื่อนไหวสังคม เพื่อกําหนดนโยบายด้านสุขภาพที่เหมาะสมกับประชาชนทุกกลุ่มอย่า งเท่าเทียม 7.2.2 ประชาชนทุกกลุ่มเข้าใจในบทบาท หน้าที่ และสิทธิด้านสุขภาพของตนเอง ตลอดจนเข้าถึงข้อมูล เกี่ยวกับสิทธิด้านสุขภาพได้อย่างครบถ้วน ผ่านการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐ 7.2.3 ทุกภาคส่วนในสังคมได้รับข้อมูลผ่านการสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ ที่จะนําไปสู่การให้ความสําคัญ ด้านสุขภาพ โดยมีการกําหนดมาตรการ หรือแนวทางในมิติที่ห่วงใยสุขภาพ ในนโยบาย โครงการ หรือกิจกรรม ขององค์กร หน่วยงาน หรือภาคีเครือข่ายของตนเอง
หน้า 71 / 1 05 7. 3 มาตรการ เพื่อ การเปลี่ยนแปลงในการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพ ในระยะ 5 ปี แนวทาง ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพ เพื่อนําไปสู่ความเป็นธรรม ตอบสนอง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง มีการอภิบาลที่ดี ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และมีความยืดหยุ่นที่สอดคล้องกับบริบท ต่าง ๆ อย่างครอบคลุม ได้แก่ 7.3.1 สังคมไทยมีแผนการจัดการการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพ ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ อย่างมีส่วนร่วม แผนการจัดการการสื่อสารฯ ดังกล่าว ประกอบด้วยแผนระยะเร่งด่วน ระยะสั้น และระยะยาว พร้อมทั้งกําหนดแผนบูรณาการการจัดการการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งในระดับชาติ และ ระดับพื้นที่ โดยคํานึงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม ภาษา และความเชื่อในระดับบุคคล 7.3.2 สังคมไทยมีแผนการเสริมพลังภาคประชาชนหลากหลายรูปแบบ โดยมีการกระตุ้นให้เกิดแรงจู งใจ ในการใช้ศักยภาพของตนเองและชุมชน เพื่อแสดงการมีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบายด้านสุขภาพสําหรับชุมชน ของตนเองอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ และบริบทในแต่ละพื้นที่ ผ่านสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ และสื่อบุคคล ได้แก่ เจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์และสาธารณสุข แล ะอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน 7.3.3 การมีศูนย์กลางข้อมูลด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ โดย มีกลไกที่มีกระบวนการในการรวบรวม จัดการ พัฒนา และใช้ประโยชน์จากชุดข้อมูลด้านสุขภาพ จากหน่วยงานด้านสุขภาพทุกภาคส่วน สามารถนําไปอ้างอิงได้ โดย มี เครื อข่ำยของศู นย์ ข้ อมู ลในทุ กระดั บ ทั ้ งระดั บชาติ ระดั บภู มิ ภาค ระดั บท้ องถิ ่ น และระดั บชุ มชน ศูนย์กลาง ฯ ดังกล่าวมีหน้าที่ในการประสานงานเพื่อดําเนินการรวบรวม ตรวจสอบ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ผลิตสื่อ และสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน เข้าใจง่าย เข้าถึงง่าย หลากหลายรูปแบบ เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายครบทุกกลุ่ม และทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งมีกระบวนการเฝ้าระวังความเสี่ยง และร่วมตรวจสอบอย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน 7.3.4 การมีระบบการสื่อสารอย่างมีปฏิสัมพันธ์ผ่านสื่อที่หลากห ลาย โดย การจัดให้มีช่องทาง หรือพื้นที่ ในการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ถูกต้อง อย่างสร้างสรรค์ เปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีความน่าเชื่อถือ เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และมุ่งพัฒนาปรับปรุง แนวทางการสื่อสาร สร้างการยอมรับ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่นและชุมชน ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากข้อมูลผ่านสื่อที่หลากหลาย ทั้งสื่อเดิม สื่อใหม่ และสื่อบุคคล รวมทั้งสนับสนุนบทบาทของสื่อชุมชน และสื่อภาคประชาชน ในกา รมีส่วนร่วมเฝ้าระวัง และสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพ อย่างถูกต้อง เท่าเทียม และสอดคล้องกับกฎหมาย และจริยธรรมด้านการสื่อสา ร 7.3.5 การมีกลไกในการพัฒนาประชาชนให้เป็นนักสื่อสารสุขภาพที่มีศักยภาพ โดย มีกระบวนการ ในการพัฒนาประชาชน เพื่อให้มีทักษะด้านการสื่อสาร และจิตวิ ทยาการสื่อสาร บนความรับผิดชอบ ( r esponsibility) ต่อตนเองและสังคม และด้วยภาระรับผิดชอบ ( a ccountability) ต่อตําแหน่งหน้าที่ ของแต่ละบุคคล รวมทั้ง
หน้า 72 / 1 05 มี ความรู ้ เท่ำทั นสื ่ อ สารสนเทศ และดิ จิ ทั ลเทคโนโลยี ( Media Information and Digital Literacy: MIDL) ซึ่งประชาชนทุกกลุ่มในสังคมสามารถเป็นนักสื่อสารที่ให้ข้อมูล ร่วมตรวจสอบ และสื่อสารออกไปในเวลาเดียวกัน ด้วยข้อมูลด้านสุขภาพที่ ถูกต้อง ภายในเวลาที่เหมาะสม ( t iming) มีความโปร่งใส ( t ransparency) และสร้าง ความเชื่อมั่น ( t rust) โดยคํานึงถึงความแตกต่างหลากหลายของผู้ รับสาร เพื่อสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพให้เหมาะสม กับกลุ่มเป้าหมาย อันจะนําไปสู่ความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มในสังคม กระบวนการดังกล่าวเกิดจาก ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เพื่อพัฒนาประชาชน ให้เป็นนักสื่อสารที่ มีศักยภาพโดยถ้วนหน้า 7.4 แนวทางการวัดผลสําเร็จของการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพ ในระยะ 5 ปี การสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพ จะนําไปสู่การทําให้ผู้รับสารเกิดความรู้อย่างรอบด้าน ส่งผลให้เกิดความเข้าใจ ด้านสุขภาพที่ถูกต้อง สอดคล้องกับบทบาท หน้าที่ และสิทธิด้านสุขภาพของตนเอง และก่อให้เกิดพฤติกรรม ด้านสุขภาพที่พึงประสงค์ ดังนั้น แนวทางการวัดผลสําเร็จของการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพ จึงใช้วิธีการวัดความรอบรู้ ด้านสุขภาพ ( h ealth l iteracy) ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1) การเข้าถึง 2) ความเข้าใจ 3) การโต้ตอบ ซักถาม แล กเปลี่ยน 4) การตัดสินใจ 5) การเปลี่ยนพฤติกรรม 6) การบอกต่อ โดยวัดผลสําเร็จของการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพ เมื่อสิ้นสุดปีที่ 2 ของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพ แห่งชาติ ฉบับที่ 3 และสิ้นสุดปีสุดท้าย (ปีที่ 5) ของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 อาจกล่าวไ ด้ว่า การสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพ เป็นกระบวนการสําคัญในการสร้างระบบสุขภาพ ให้ประชาชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติตน และ เข้าถึงระบบบริการด้านสุขภาพ ตลอดจนสามารถสะท้อนข้อมูลที่เป็นความต้อง การความจําเป็น ประเด็นปัญหา ที่ต้องการการแก้ไขได้อย่างเสมอภาค เท่าเทียม ทั่วถึง สอดคล้องกับบริบทด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และทันต่อ การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและรวดเร็วของปัจจัยแวดล้อมด้านสุขภาพหลายปัจจัย ผ่านการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ในชุมชน ( c ommunity e ngagement) เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่ม ได้แสดงบทบาท หน้าที่ และเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพ ของตนเองได้อย่างเท่าเทียม นิยามศัพท์ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพ 1 ) การสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพ ( h ealth c ommunication) หมาย ความว่า กระบวนการเผยแพร่ ถ่ายทอด แลกเปลี่ยน และติดต่อกัน เกี่ยวกับข่าวสาร ความรู้ หรือเนื้อหาด้านสุขภาพ ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล
หน้า 73 / 1 05 องค์กร หรือรัฐ ผ่านรูปแบบการสื่อสาร และช่องทางที่หลากหลาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้ให้เกิดความ เข้าใจที่ถูกต้อง ตรงกัน 2 ) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ( h ealth l it eracy) หมาย ความว่า ระดับสมรรถนะของบุคคล ในการเข้าถึง เข้าใจ สามารถตัดสินใจ ประเมิน และปรับใช้ข้อมูลความรู้ และบริการสุขภาพได้อย่างเหมาะสม เลือกรับผลิตภัณฑ์ สุขภาพ ตลอดจนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ ค วามรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นแนวคิดใหม่ในด้านการส่งเสริมสุขภาพ ที่อธิบายผลลัพธ์ด้านต่าง ๆ ที่มีต่อการศึกษาด้านสุขภาพ และกิจกรรมด้านการสื่อสาร ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เป็นเรื่องเฉพาะที่เกี่ยวกับเนื้อหา บริบทแวดล้อม และอยู่ภายใต้อิทธิพลของอายุและช่วงวัยของบุคคลเป็นอย่ ำงมาก ด้วยสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ การวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรให้ครอบคลุม ที่เคยดําเนินการมา จึงเป็น เรื่องยาก ( Defining, measuring and improving health literacy . Don Nutbea m, 2015 . ) 3 ) ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ หมาย ความว่า ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง และผู้เชี่ยวชาญ ในสาขาต่าง ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ทุกองค์ประกอบนี้ทํางานร่วมกันเพื่อกําหนด รวบรวม จัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศและส่งผลลัพธ์ หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทํางาน การตัดสินใจ การวางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และติดตามผลการดําเนินงานในเรื่องสุขภาพ (ปรับ จาก เทคโนโลยีสารสนเทศสถิติ: ข้อมูลในระบบสารสนเทศ. สุชาดา กีระนันทน์ , 2541.)
หน้า 74 / 1 05 8 . การผลิตและการพัฒนา กําลังคนด้านสุขภาพ ( การผลิตและการพัฒนากําลังคนด้าน สาธารณสุข ) 8.1 สถานการณ์ปัญหาและประเด็นท้าทายของการผลิตและการพัฒนา กําลัง คนด้านสุขภาพ บุคลากรด้านสาธารณสุข เป็นทรัพยากรที่มีความสําคัญในระบบสุขภาพ โดยทางองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้กําหนดให้เป็นหนึ่งใน 6 องค์ประกอบของระบบสุขภาพ โดยถือว่าเป็นปัจจัยในการกําหนด ความสําเร็จและความล้มเหลวในการดําเนินงานด้านสุขภาพ ทั้งนี้ระบบสุขภาพมิได้ดําเนินการภายใต้บุคลากร ด้านสาธารณสุขที่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อกําหนดรองรับเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงกําลังคนด้านสุขภาพอื่น ๆ ที่แม้ยังไม่มีกฎหมาย หรือระเบีย บต่าง ๆ รองรับ แต่สามารถร่วมให้บริการด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะในเรื่องบริการ ปฐมภูมิ งานส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมป้องกันโรค ในระดับครอบครัวและชุมชน ได้อย่างผสมผสานและมีประสิทธิภาพ โดยในที่นี้จะเรียกบุคลากรทั้งสองกลุ่มนี้ว่า “กําลังคนด้านสุขภาพ” สําหรับ ประเด็นท้าทายสํา คัญที่ส่งผลกระทบ ต่อ กําลังคนด้านสุขภาพ ได้แก่ 8.1 .1 โครงสร้างและลักษณะประชากร ประเทศไทยกําลังย่างเข้าสู่ สังคมสูงวัย โดยในปี พ.ศ. 2579 จะมีผู้ สูงอายุถึงร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด ส่งผลต่อภาระงบประมาณที่เพิ่มขึ้นจากสภาวะสุขภาพที่เสื่อมถอย นอกจากนี้จํานวน เด็กปฐมวัยที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ยังมีปัญหาพัฒนาการไม่สมวัยกว่าร้อยละ 27.5 ทําให้วัยแรงงานในอนาคตเสี่ยงที่จะ ด้อยคุณภาพ และจากสภาวะที่วัยทํางานลดลง อายุเฉลี่ยของวัยแรงงานจึงเพิ่มสูงขึ้นด้วย ยิ่งไปกว่านั้นกลุ่มวัยแรงงาน ยังมีปัญหาผลิตภาพแรงงานต่ํา อันมีสาเหตุสําคัญจากทักษะและสมรรถนะไม่สอดคล้องกับความต้องการ ของตลาดแรงงาน 8. 1. 2 ลักษณะทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศไทยอยู่ในภาวะถดถอยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีอัตรา การเติบโตทางเศรษฐกิจต่ํา เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้การระบาด ของ โรคโควิด 19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ยิ่งทําให้สภาวะเศรษฐกิจตกต่ําลงอีก ซึ่งในสถา การณ์แบบนี้จะทําให้กําลังซื้อ ของประชาชนในบริการด้านสุขภาพในภาคเอกชนลด ต่ําลง ซึ่งอาจจะส่งผลให้ประชาชนหันกลับมาใช้บริการสุขภาพ ของ ภาครัฐเพิ่มขึ้น เหมือนในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 นอกจากนี้รายจ่ายด้านสุขภาพภาครัฐมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะรำยจ่ายของระบบ หลักประกันสุขภาพภาครัฐ รายจ่ายระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐมีอัตราเพิ่มที่เร็วกว่าอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ ระบบหลักประกันสุขภาพยังมีปัญหาด้านการบริหารจัดการที่ยังขาดประสิทธิภาพ กลไกการบริหาร
หน้า 75 / 1 05 จัดการและระบบฐานข้อมูลยังคงแยกส่วนกันในแต่ละระบบ ส่งผลต่อการจัดบริการที่ เป็นเอกภาพ ทั้ งด้าน สิทธิประโยชน์ อัตราการเบิกจ่ายและคุณภาพบริการ เหล่านี้นํา ไป สู่การปฏิรูประบบประกันสุขภาพ ซึ่งหากมี การปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์ เงื่ อนไขการใช้บริการและการเบิกจ่าย ล้วนส่งผลต่อทิศทางการดําเนินงาน ขอ ง หน่วยบริการ การวางแ ผนกําลังคนในส่วนผู้ให้บริการ จึงต้องติดตามสถานการณ์เหล่านี้อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ หากการปฏิรูประบบดังกล่าวสามารถดําเนินการร่วมกันก็จะทําให้ปิดช่องว่างของการวางแผนระบบบริการได้ดียิ่งขึ้น จึงจําเป็นที่ต้องมีกลไกของทั้งสองระบบที่มีอํานาจในการตัดสินใจ ดําเนินการร่วมกันในการกําหนดทิศทางการพัฒนา ระบบสุขภาพในระดับประเทศ 8. 1. 3 ระบาดวิทยาของโรค คนไทยมี แนวโน้มเป็นโรคไม่ติดต่อมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต สาเหตุสําคัญมาจาก การมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังพบปัญหาสุขภาพจิต และอุบัติเหตุทางถนน ซึ่งปัญหา เหล่านี้ต้องการการจัดการในระดับนโยบาย ไม่เพียงเฉพาะการจัดระบบบริการสาธารณสุขรองรับที่ปลายเหตุ ซึ่งสมรรถนะที่จําเป็นสําหรับการดําเนินงานในระดับดังกล่าวจําเป็นต้องมีการพัฒนาให้เป็นรูปธรรม นอกจากการเพิ่ มขึ้นของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อดังที่ ได้กล่าวมาแล้ว การ เกิดขึ้ นของโรคอุบัติใหม่ ( n ew emerging diseases) เป็นระยะ ตั้งแต่โรคซาร์ มาจนถึง การระบาดใหญ่ของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้เกิดความต้องการบุคลากรด้านสุขภาพ ของ บางสาขาในจํานวนที่เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว 8. 1. 4 ลักษณะทางสังคม ขนาดครอบครัวที่เล็กลง ทําให้ระบบเกื้อกูลในครอบครัวในอนาคตจะเปลี่ยนไป เมื่อผนวกรวมกับ สังคมสูงอายุ จึงต้องพิจารณาถึงระบบบริการทางสังคมที่จะรองรับสภาวะเช่นนี้ การหวังพึ่งจิตอาสาควรทบทวน รูปแบบและกระบวนการดําเนินงาน เนื่องจากการปัญหาการขาดแคลนผู้ ที่มีจิตอาสาที่แท้จริงทั้งจํานวนและคุณภาพ 8. 1. 5 โครงสร้างเชิงกายภาพ ยังมีความเหลื่อมล้ําระหว่างพื้นที่เมืองและชนบท ในส่วนโครงสร้างพื้นฐาน พบว่า ระบบโลจิสติกส์ ยังไม่ครอบคลุม ส่งผลให้ยังมีปัญหาการกระจายบุคลากรและทรัพยากรทางการแพทย์ที่มีการกระจุกในพื้นที่เมือง แต่ทั้งนี้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 มุ่งเน้นการพัฒนาระบบโลจิสติกต์อย่างชัดเจน ซึ่งจะนํา ไป สู่การเพิ่มขึ้นของสังคมเมืองในอนาคตอันใกล้นี้ ดังนั้น มาตรการกำรสรรหาและธํารงรักษากําลังคน ในระบบบริการภาครัฐในรูปแบบเดิมอาจไม่เหมาะสมอีกต่อไป จําเป็นต้องทบทวนและค้นหามาตรการใหม่ ๆ เพื่อรองรับลักษณะเชิงกายภาพที่กําลังเปลี่ยนไป 8. 1. 6 โลกาภิวั ต น์ การเชื่อมต่อของโลกอาจนํามาซึ่งการติดต่อของโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ํา โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน รวมถึงภาวะโลกร้อนทําให้เกิดอุบัติภัยทางธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น แต่การย้ายถิ่นของประชากรและการเคลื่อนย้าย ของแรงงานเข้าประเทศ อาจเป็นประโยชน์เพื่อชดเชยการขาดแรงงานจาก โครงสร้างประชากรสูงวัย แต่การเข้าสู่
หน้า 76 / 1 05 สังคมสูงวัยของโลกก็เป็นโอกาสสําหรับประเทศไทยในการพัฒนาสินค้าและนวัตกรรมใหม่ ๆ รวมทั้งการบริการ ทางการแพทย์และการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อรองรับความต้องการของผู้สูงอายุในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ธุรกิจ n ursing h ome ธุรกิจด้านโ รงแรมและการท่องเที่ ยวส ํา หรับผู้ สูงอายุ เป็นต้น ซึ่ งการแข่งขันในตลาดโลก จะมีความรุนแรงขึ้น ทั้งนี้การที่ไทยมีตําแหน่งที่ตั้งที่สามารถเป็นจุดเชื่อมโยงและกระจายความเชื่อมโยงที่สําคัญ ในภูมิภาค ( g ateway to A sia ) เป็นข้อได้เปรียบที่ทําให้ไทยสามารถเป็นฐานการผลิตและบริการสําคัญที่หลากหลาย ทําให้ได้เปรียบในการพัฒนาบริการเพื่อสร้างการแข่งขัน ได้แก่ โครงการผลั กดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง ด้านการแพทย์ของภูมิภาค ( m edical hub) 8. 1. 7 กลไกการกํากับดูแล ประสิทธิภาพภาครัฐต่ํา กฎระเบียบล้าสมัย ซึ่ ง สาเหตุส่วนหนึ่ งมาจากระบบบริหารราชการ แบบแนวดิ่ง รวมศูนย์การบริหารงานไว้ที่ส่วนกลาง ภาครัฐมีขนาดใหญ่และรายจ่ายประจําเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง งบบุคลากรมีสัดส่วนสูง รวมทั้งโครงสร้างภาครัฐในปัจจุบันยังขาดระบบการทํางานลักษณะประชารัฐที่เชื่อมโยง เป็นเครือข่ายแบบบูรณาการกับหน่วยงานหรือภาคส่วนอื่น ๆ ส่วนการบริหารงานส่วนท้องถิ่น ยังมีปัญหาความไม่ชัดเจนในการแบ่งภารกิจให้เหมาะสมระหว่าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่ นกับราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค การถ่ายโอนบุคลากรระหว่างส่วนกลาง กับส่วนท้องถิ่นยังไม่คล่องตัว มีการถ่ายโอนภารกิจให้กับท้องถิ่นที่ยังไม่มีความพร้อมเพียงพอ เพื่อให้เกิดการกระจำยอํานาจในส่วนการจัดบริการสุขภาพสู่ท้องถิ่นสามารถเกิดขึ้นเต็มรูปแบบ จําเป็นต้องพัฒนาความสามารถในการวางแผนจัดการทรัพยากรในพื้นที่ที่เชื่อมโยงกับกรอบแนวคิดของการวางแผน ระบบบริการในระดับประเทศ แต่สามารถปรับรายละเอียดที่มีความจําเพาะต่อบริบทพื้นที่ เช่น รูปแบบการจั ดบริการ ระยะยาวที่เหมาะสมตามลักษณะของประชากรและหน่วยงานผู้ให้บริการในพื้นที่ 8. 1. 8 เทคโนโลยี เทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันจะเป็นโอกาสทางธุรกิจและการดํารงชีวิตของคน ได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น เช่น เพิ่มประสิทธิภาพระบบบริการ จากกลุ่มเทคโนโลยีดิจิทัลและคอมพิวเตอร์ ทําให้ ลดการใช้งานมนุษย์ในบางประเภทงาน เช่น งานเอกสารและธุรการ เป็นต้น การ มีเทคโนโลยีการแพทย์ใหม่ ๆ เช่น บริการ t elemedicine การพัฒนา s mart medical device สําหรับผู้ สูงอายุ การพัฒนาระบบติดตาม/ กลั่นกรอง/กํากับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ โดยเฉพาะทาง s ocial media เพื่อให้มีข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภค แต่ก็มีความเสี่ ยงของผลเชิงลบ จากการที่ประชาชนบางส่วนปรับตัวไม่ทันหรือขาดความรู้และทักษะ ที่ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทํางานร่วมกับเทคโนโลยีก้าวหน้า ทําให้มีความเสี่ยงต่อความมั่นคง และคุณภาพชีวิต อีกทั้ง ความเหลื่อมล้ําในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในเชิงพื้นที่และ ระดับรายได้ อุปสรรคสําคัญ คือ การที่ประเทศไทยยังคงต้องพึ่งพาการนําเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศสูง ยังไม่ สามารถเป็นผู้สร้างเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีขั้นสูงได้เอง จําเป็นต้องปรับตัวจาก ผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยี
หน้า 77 / 1 05 โดยเฉพาะกลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ซึ่งเป็นกลุ่มเทคโนโลยีที่ไทยอาจยังไม่เข้มแข็ง มากนัก แต่มีความจําเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต 8. 1. 9 ระบบข้อมูลข่าวสารกําลังคนด้านสุขภาพ ปัญหาสําคัญในการวางแผน และติดตาม กํากับนโยบายที่ เกี่ ยวข้องกับกําลังคนด้านสุขภาพ ของประเทศไทย คือ ระบบข้อมูลกําลังคนด้านสุขภายังขาดความสมบูรณ์ และกระจัดกระจาย อยู่ในความรับผิดชอบ ของหน่วยงาน อีกทั้งข้อมูลที่อยู่ในภาคเอกชน ยังเข้าถึงได้ยาก สาเหตุหลักคือ ขาดกลไกน โยบายที่จะเชื่อมโยงและ บูรณาการข้อมูลต่าง ๆ ให้มีเอกภาพ อย่างเป็นระบบ ในอันที่จะนําข้อมูลมาวางแผนเชิงนโยบายในการบริหารจัดการ กําลังคนให้มีการกระจายอย่างเป็นธรรม 8.2 เป้ำหมายของการผลิตและการพั ฒนากําลังคนด้านสุขภาพ ในระยะ 5 ปี ที ่ มุ ่ งไปสู่ “ความเป็นธรรม ตอบสนอง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ” ดังนั้น ในการพัฒนาสุขภาพของประชาชน และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ระบบสุขภาพจําเป็นต้องมีกําลังคนที่เพียงพอ มีการกระจายอย่างเท่าเทียม มีสัดส่วนประเภทกําลังคนที่เหมาะสม มีกําลังคนที่มีความรู้ความสามารถ และมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน มีกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต้องมีความเหมาะสมด้วย ดังนั้น การจัดทําแผนพัฒนากําลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ ควรครอบคลุมก ําลังคนด้านสุขภาพ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงมีการวางแผนความต้องการ การผลิต และ การบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ประเทศไทยและยุทธศาสตร์ ชาติ รวมทั้ง สามารถตอบสนองทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศและความท้าทา ยในอนาคต โดยกําหนดให้มีเป้าหมาย ในภาพรวมดังนี้ 8.2.1 การกระจายบุคลากรระหว่างพื้นที่มีความเป็นธรรม มีกําลังคนด้านสุขภาพที่เพียงพอ ทั้งในส่วน ที่เป็นผู้ให้บริการโดยตรง ( h ealth services) และ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ( n on - health services) ให้มีคุณลักษณะที่เหมาะสม ต่อการจัดบริการสุขภาพตามมาตรฐาน และมีการบริหารจัดการกําลังคนแบบมีส่วนร่วมที่สามารถตอบสนองกับ การพัฒนาระบบบริการสุขภาพในแต่ละช่วงเวลา ภายใต้ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม โดยเน้นการบริหารจัดการ s tock และ f low ของกําลังคนที่ จะมารองรับระบบสุขภาพ ตลอดจนรักษา ( r etain) กําลังคนเหล่านั้ นให้ทํางานอย่างมี ประสิทธิภาพและมีความสุขในระบบ 8.2.2 การปรับการทํางานจากการทํางานเชิงกายภาพไปสู่การทํางานแบบดิจิทัล ( p hysical towards digital ) โดยการกระจายคนจากส่วนกลางไปสู่ระดับพื้นที่ ( c entralize towards area - based) และการทํางานที่มุ่งสู่ ระบบสุขภาพปฐมภูมิ ( p rimary care ) และ i nclusiveness มากขึ้น
หน้า 78 / 1 05 8.2.3 ระบบการศึกษา การผลิต และการพัฒนากําลังคนด้านสุขภาพ สามารถตอบสนองต่อความต้องการ ของประเทศ มีศักยภาพและขีดความสามารถในการผลิต และพัฒนากําลังคนที่ตอบสนองต่อความต้องการของระบบ สุขภาพในปัจจุบันและอนาคต 8.2.4 มีระบบติดตามประเมินผลนโยบายกําลังคนด้านสุขภาพ มี ระบบและกลไกในการติดตาม และ ประเมินผลในการดําเนินนโยบายกําลังคนด้านสุขภาพของประเทศที่มีเอกภาพและบูรณาการ 8.3 มาตรการ เพื่อการเปลี่ยนแปลงในการผลิตและการพัฒนากําลังคนด้านสุขภาพ ในระยะ 5 ปี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว มาตรการ ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การผลิตและการพัฒนากําลังคน ด้านสุขภาพ ในระยะ 5 ปี มีดังนี้ 8.3.1 สร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการกําลังคนด้านสุขภาพระดับพื้นที่ การพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ของประเทศ เป็นกระบวนการสร้างนโยบายสาธารณะในสังคม ประชาธิปไตยที่สังคมทุกฝ่ายจะต้องมีส่วนร่วม ในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่มีการกําหนดนโยบายและ ยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาก ําลังคนด้านสุขภาพที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการบริหารจัดการกําลังคน ด้านสุขภาพในระดับพื้นที่ ทําให้การวางแผนและพัฒนากําลังคนด้านสุขภาพ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับองค์กรและ หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ยังขาดทิศทางการพัฒนาที่สอดประสานกัน ดังนั้น การสร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการกําลังคนด้านสุขภาพในระดับพื้นที่ควร มี องค์ประกอบที่สําคัญ ดังนี้ 1 ) จัดทําระบบอภิบาลเรื่องกําลังคนด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาให้เกิดกลไกในการกําหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ รวมถึงการบริหารจัดการกําลังคน ด้านสุขภาพในระดับพื้นที่เป็นสิ่งจําเป็น จําเป็นต้องจัดให้มีกลไกอภิบาลในพื้นที่ ที่มีการประสานให้องค์กร หน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคเอกชน ท้องถิ่นและประชาสังคม บูรณาการในการท ํางานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อร่วมกันพัฒนาให้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบาย มาตรการและแนวทาง เพื่อให้สามารถแก้ปัญหากําลังคนในปัจจุบันและ รองรับสถานการณ์ในอนาคต ตลอดจนการวางทิศทางการพัฒนากําลังคนด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง 2 ) วางแผนและบริหารจัดการกําลังคนด้านสุขภาพโดยใช้ ปัญหาของพื้นที่เป็นหลัก เพื่อให้การกําหนดทิศทางการวางแผนพัฒนากําลังคนด้านสุขภาพ อีกทั้งให้เกิดมีระบบติดตาม ประเมินสถานการณ์กําลังคนด้านสุขภาพอย่างรอบด้านทุกมิติอย่างต่อเนื่อง และสอดรับกับความต้องการของ ระบบสุขภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา 3 ) สร้าง การมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพจากบุคคล/กลุ่มบุคคล นอกสายงานด้านสุขภาพ กําลังคนด้านสุขภาพจําเป็นต้องมอง ในภาพที่ กว้างกว่าบุคลากรสายวิชาชีพด้านสาธารณสุข แต่หมายรวมถึงบุคลากรอื่น ๆ ที่จะมาช่วยสนับสนุนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานสร้างเสริมสุขภาพ หรืองานที่จะสร้าง
หน้า 79 / 1 05 ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ( h ealth l iteracy ) ให้กับประชาชน เช่น ในกลุ่ม อสม. อาสาสมัครต่าง ๆ นักสังคมสงเคราะห์ นักการศึกษา อีกทั้ง ผู้ดูแลในชุมชนจะมีบทบาทสูงมาก โดยเฉพาะในบริบทของสังคมสูงวัย 8.3. 2 การปฏิรูประบบการจ้างงานกําลังคนในระบบสุขภาพที่มีความหลากหลาย เนื่องด้วยการจ้างงานแบบข้าราชการในภาครัฐมีข้อจํากัดค่อนข้างมาก มีปัญหาทั้งในแง่ประสิทธิภาพ และเป็นภาระทางงบประมาณของประเทศ เพื่อเป็นการปรับบทบาทให้การทํางานของภาครัฐมีประสิทธิภาพและ มีความคล่องตัว มากขึ้น ดังนั้น จําเป็นต้องมีการปฏิรูประบบการจ้างงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาครัฐ เพื่อให้มี ความหลากหลาย เกิดความยืดหยุ่น ความคล่องตัว และมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับลักษะของงานบริการในอนาคต 8.3.3 พัฒนารูปแบบการใช้ d igital health การเพิ่มการใช้ d igital health มาในระบบบริการ ให้มีความสอดคล้องกับหมวดบริการต่างๆ จะช่วย ลดจํานวนกําลังคนด้านสุขภาพลงได้ 8.3.4 ปรับกลไกการผลิตและการพัฒนากําลังคนด้านสุขภาพที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ในอนาคต ปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนากําลังคนด้านสุขภาพ ยังคงมีความท้าท้ายในด้านความเชื่อมโยง ระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้ การบูรณาการข้ามศาสตร์ กระบวนการผลิต การวางแผนการจัดการศึกษา การดํา เนินการ การประเมินผลโดยใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม และอาศัยกลไกความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และ การบริหารจัดการขององค์กรเพื่ อสนับสนุนการศึกษาด้านสุขภาพอย่างยั่ งยืน เพื่ อให้ประเทศไทยมีกําลังคน อย่างพอเพียง มีการกระจายอย่างเท่าเทียม และมีสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อระบบการดูแลสุขภาพที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ และครอบคลุม ลดความเหลื่ อมล้ําเป็นธรรม ตลอดจนตอบสนองต่อระบบสุ ขภาพที่ เป็นพลวัต โดยองค์ประกอบของการปรับกลไกการผลิตและพัฒนากําลังคนด้านสุขภาพ ควรมีดังนี้ 1 ) มุ่งเป้าการผลิต ในการตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประเทศให้เกิดความเท่าเทียม ในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ กลไกการผลิตและพัฒนากําลังคนด้านสุขภาพในอนาคตจําเป็นจะต้องมีเป้าหมายตอบสนองต่อ ความต้องการและปัญหาสุขภาพของประเทศ นอกเหนือจากการผลิตบุคลกรในกลุ่มของวิชาชีพแล้ว กำรให้ความสําคัญ กับกําลังคนด้านสุขภาพอื่นๆที่ไม่ใช่กลุ่มวิชาชีพเป็นส่วนสําคัญ ที่จะทําให้เกิดการบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและ มีความคุ้มค่า อีกทั้งระบบการผลิตจําเป็นต้องเชื่อมโยงกับการนําคนที่มีภูมิลําเนาในพื้นที่เข้ามาเรียน เพื่อที่จะส่งเสริม การธํารงรักษาบุคลากร ในพื้นที่ในระยะยาว 2 ) ผลิตกําลังคนด้านสุขภาพในสาขาที่จําเป็นที่จะตอบสนองการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศ ในอนาคต
หน้า 80 / 1 05 ในการที่จะสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ระบบการผลิตกําลังคนด้านสุขภาพ มีความจําเป็นที่จะต้องเพิ่มการผลิตกําลังคนด้านสุขภาพในบางสาขาที่จะตอบสนองการพัฒนาประเทศในอนาคต เช่น ด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ ด้าน m edical informatics เป็นต้น 3 ) สร้างความเข้มแข็งในการเพิ่มศักยภาพของกําลังคนด้านสุขภาพ ในการที่จะปรับตัวให้เข้ากับพลวัตรการเปลี่ยนแปลง สมรรถนะของกําลังคนด้านสุขภาพ จําเป็นต้องมีความปรับตัวเช่นกัน การพัฒนาสมรรถนะของกําลังคนด้านสุขภาพทั้งในเรื่องการ u p - skill และ re - skill มีความจําเป็นอย่างยิ่ง การศึกษาสําหรับกําลังคนด้านสุขภาพจําเป็นต้องมีระบบการเติมค วามรู้ (Continuous P rofessional development – CPD) ที่ จําเป็นในรูปแบบที่ หลากหลายทั้ งการเรียนเต็มระบบ ( f ull - course training) และ การอบรมระยะสั้น ( s hort - course training) 8.3.5 จัดทําระบบฐานข้อมูลกําลังคนด้านสุขภาพที่เป็นเอกภาพ ระบบฐานข้อมูลกําลังคนด้านสุขภาพของประเทศไทย ยังขาดกลไกนโยบายและทรัพยากร ในการสนับสนุนการดําเนินงานที่เพียงพอและต่อเนื่อง ระบบข้อมูลข่าวสารยังขาดคุณภาพ ไม่ครอบคลุม และ ขาดกระบวนการการตรวจสอบคุณภาพ ความถูกต้อง ขาดการบูรณาการข้อมูลในแต่ละส่วนอย่างเป็นระบบ ตลอดจ น ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เนื่องจากการขาดมาตรฐานข้อมูล อีกทั้งยังเกิดปัญหาในการเข้าถึง และการใช้ ข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนําข้อมูลมาวางแผนเชิงนโยบาย 1 ) พัฒนาตัวชี้วัดหลักกําลังคนด้านสุขภาพของประเทศ จัดทําตัวชี้วัดที่สําคัญในการติดตาม ประเมินผล การดําเนินงำนกําลังคนด้านสุขภาพ เพื่อใช้ ในการตัดสินใจในเชิงนโยบาย โดยตัวชี้วัดหลักดังกล่าวจําเป็นต้องครอบคลุมตลอดช่วงชีวิต ( l ife cycle) ของกําลังคน ด้านสุขภาพ ตั้งแต่การผลิต จนถึงการเข้าสู่ตลาดแรงงานด้านสุขภาพ 2 ) พัฒนา d igital platform การเชื่อมโยงฐานข้อมูลอย่างบูรณาการ ดังนั้น การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศดิจิทัลกําลังคนด้านสุขภาพจึงเป็นเรืองสําคัญ เนื่องจาก ฐานข้อมูลกําลังคนด้านสุขภาพที่กระจายตามหน่วยงานต่างๆมีความสมบูรณ์อยู่ในระดับหนึ่ง ดังนั้นการจัดการจึงไม่ใช่ การทําฐานข้อมูลขึ้นมาใหม่ แนวทาง ที่สําคัญ คือ การเชื่อมโยงข้อมูลในฐำนต่าง ๆ ได้แก่ ฐานข้อมูลของสภาวิชาชีพ สถาบันการศึกษา หน่วยบริการภาครัฐและภาคเอกชน โดยใช้เทคโนโลยีมาช่วย โดยสามารถต่อยอดจากโครงการ บูรณาการข้อมูลสุขภาพของ 4 กระทรวงหลักที่ดําเนินการอยู่แล้ว เพื่อให้ได้มีข้อมูลที่ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และ ทันต่อการติดตามและตั ดสินใจเชิงนโยบาย ภายใต้ชุดข้อมูล ตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐาน และจัดการโดยหน่วยงาน ที่มีเอกภาพ โดยเป็นฐานข้อมูลที่รวมรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบทั้งจํานวน การกระจาย การผลิต การจ้างงาน และ การเคลื่อนย้าย ที่ครอบคลุมทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างความเข้าใจในตลาดแรงงาน ( h ealthcare market) ของกําลังคนด้านสุขภาพ โดยฐานข้อมูลกําลังคนด้านสุขภาพของประเทศจะต้องมีการเชื่อมโยงระหว่างฐานข้อมูล ผู้ผลิต ผู้ให้บริการทั้งภาครัฐและเอกชน และจะต้องเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลของสภาวิชาชีพ
หน้า 81 / 1 05 8.4 แนวทางการวัดผลสําเร็จของ การผลิตและการพัฒนา กําลัง คนด้านสุขภาพ ในระยะ 5 ปี เพื่อให้เกิดผลสําเร็จในการดําเนินการ จําเป็นต้องมีตัวชี้วัดความสําเร็จในช่วงต่างๆดังนี้ ระยะ 1 ปี ระยะ 3 ปี ระยะ 5 ปี 1 . มี การกระจายบุ คลากร ระหว่างพื้นที่มีความเป็น ธรรม • มี การจั ดทํากลไก วางแผนและบริหาร จัดการกําลังคนใน ระดับเขตสุขภาพ • ส ั ด ส ่ ว น ค วำ ม หนาแน่ นกําลังคน ด้านสุขภาพในสาขา สําคัญระหว่างพื้นที่ กทม.และพื ้ นที ่ ที่ หนาแน่นน้อยที่สุด ดีขึ้นร้อยละ 20 • ส ั ด ส ่ ว น ค วำ ม หนาแน่ นกําลังคน ด้านสุขภาพในสาขา สําคัญระหว่างพื้นที่ กทม.และพื ้ นที ่ ที่ หนาแน่น น้อยที่สุด ขึ้นร้อยละ 50 2 . ระบบการศึกษา การผลิต และการพั ฒนากําลั งคน ด้ำนสุ ขภาพ สามารถ ตอบสนองต่อความต้องการ ของประเทศ • มี การจั ดทําแผน การผลิ ตกําลั งคน ด้านสุขภาพร่วมกัน ระหว่างผู้ผลิต และ ผ ู ้ ใ ช ้ งำ น ท ั ้ ง ใ น ภาพรวมประเทศ และระดับพื้นที่ • ด ํา เ น ิ น ตำ ม แ ผ น ท ี ่ วำ ง ไ ว ้ อ ย ่ำ ง สมบูรณ์ 3 . มีระบบติดตามประเมินผล นโยบายกําลั งคนด้ำน สุขภาพ • มีการจัดทําตัวชี้วัด หลั กกําลั งคนด้าน สุขภาพ • มี d igital platform การเชื่อมโยงข้อมูล • ม ี กำ ร เ ช ื ่ อ ม โ ย ง ข ้ อ ม ู ล ร ะ ห ว ่ำ ง ห น ่ ว ย งำ น ที่ เ กี่ยวข้อง • ม ี กำ ร น ํา ข ้ อ มู ล มาวิเคราะห์เพื่อใช้ ใ น กำ ร ก ํา ห น ด นโยบายกําลั งคน ด้านสุขภาพ ทั้ งใน ระดับประเทศ และ ระดับพื้นที่
หน้า 82 / 1 05 9. การเงินการคลังด้านสุขภาพ 9.1 สถานการณ์ปัญหาและความท้าทาย ของการเงินการคลังด้านสุขภาพ ประเทศไทยมีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและได้ถูกจัดเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางขั้นสูง ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2554 โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ( Gross Domestic Product - GDP) 370 พันล้าน เหรียญสหรัฐ และได้เพิ่มขึ้นเป็น 544 พันล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปี พ.ศ. 2562 อย่างไรก็ตำมการเติบโต ทางเศรษฐกิจมีอัตราลดลงจาก ร้อยละ 4 . 2 ในปี พ.ศ. 2561 เป็น ร้อยละ 2 . 3 ในปี พ.ศ. 2562 และ ด้วย สถานการณ์การระบาดใหญ่ของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ทําให้การเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงเหลือ ร้อยละ - 6 . 0 ในปี พ.ศ. 2563 ธนาคารโลกประมาณการเศรษฐกิจ จะเติบโต ร้อยละ 3.9 ในปี พ.ศ. 2565 และ ร้อยละ 4.3 ในปี พ.ศ. 2566 คณะกรรมการจัดทําแนวทางการระดมทรัพยากรเพื่อความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2559 ได้จัดทําข้อเสนอการคลังสุขภาพ โดยมีเป้าประสงค์ 4 ประการ ได้แก่ ความยั่ งยืน ( Sustainability) ความเพี ยงพอ (Adequacy) ความเป็ นธรรม (Fairness) และความมี ประสิ ทธิ ภาพ (Efficiency) หรือเรียกชื่อย่อว่า S - A - F - E การจัดทําธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 สาระ หมวดการเงินการคลังด้านสุขภาพได้พิจารณาเห็นว่าข้อเสนอ S - A - F - E ยังคงมีความสําคัญอยู่ จึงนํามาปรับใช้ ดังนี้ ด้ำนความยั่ งยื นและความเพียงพอ ประเทศไทยมีรายจ่ายสุขภาพทั้ งหมด ( Total Health Expenditure - THE) ร้อยละ 4 . 1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) โดยรายจ่ายของรัฐบาล ด้านสุขภาพ ( General Government Health Expenditure - GGHE) คิดเป็น ร้อยละ 16 . 5 ของรายจ่าย ของรัฐบาลทั้ งหมด ( General Government Expenditure - GGE) ในปี พ.ศ. 2562 ข้อเสนอ S - A - F - E ได้กําหนดเป้าหมายความยั่ งยืน ให้ THE ไม่เกิน ร้อยละ 5 ของ GDP และมี GGHE ไม่เกิน ร้อยละ 20 ของ GGE ตัวเลขสถานการณ์ในปี พ.ศ. 2562 แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีรายจ่ายสุขภาพไม่เกิน เป้าประสงค์ที่กําหนด ภาครัฐยังมีความสามารถใช้จ่ายด้านสุขภาพมากขึ้นได้ ในขณะที่เป้าหมายความเพียงพอ ต่อความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน ได้มีการกําหนดให้มี THE ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 3 . 7 ของ GDP และ GGHE ไม่น้อย กว่า ร้อยละ 14 . 9 ของ GGE จากข้อมูลเปรียบเทียบ ในปี พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นไปตาม เป้าหมายที่กําหนดไว้ ด้านความเพียงพอ ยังมีตัวชี้วัดที่สําคัญ ได้แก่ อุบัติการณ์ของครัวเรือนล้มละลายจากการจ่าย ค่ารักษาพยาบาล ( c atastrophic health expenditure ) ซึ่งหมายถึง รายจ่ายสุขภาพของครัวเรือนเกินกว่า ร้อยละ 10 ของรายได้ทั้งครัวเรือน มีแนวโน้มลดลง โดยมีค่า ร้อยละ 1.93 ของครัวเรือนทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2563 และอุบัติการณ์ของครัวเรือนที่ต้องกลายเป็นครัวเรือนยากจนภายหลังจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ( h ealth impoverishment) มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน มีค่า ร้อยละ 0 . 29 ของครัวเรือนทั้ งหมด ในปี พ.ศ. 2563
หน้า 83 / 1 05 โดยมีเป้าหมายให้อุบัติการณ์ของครัวเรือนล้มละลายจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาลลดลงจาก ร้อยละ 2.3 ของครัวเรือนทั้งหมด และ อุบัติการณ์ของครัวเรือนที่ต้องกลายเป็นครัวเรื อนยากจนภายหลังจากการจ่าย ค่ารักษาพยาบาล ลดลงจาก ร้อยละ 0 . 40 ของครัวเรือนทั้งหมด ซึ่งเป็นข้อมูลในปี พ.ศ. 2556 ตามข้อเสนอ ของ คณะกรรมการจัดทําแนวทางการระดมทรัพยากรเพื่อความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ด้านความเป็นธรรม จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2550 - 2562 พบว่า การคลังสุขภาพของประเทศไทย ในภาพรวมมีลักษณะก้าวหน้า ( p rogressivity ) เนื่องจากมีสัดส่วนจากภาษีมาก กล่าวคือ คนรวยเป็นผู้จ่ายเงิน เพื่อสุขภาพสูงกว่าคนจน เมื่อเทียบกับความสามารถในการจ่าย คนจนมีสัดส่วนของการได้รับประโยชน์จากการ อุดหนุนงบประมาณของภาครัฐในสัดส่วนที่สูงกว่าคนรวยเล็กน้อย ทั้งในบริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาล ทุ กระดั บ ยกเว้ นโรงพยาบาลมหาวิ ทยาลั ย ที ่ กลุ ่ มคนรวยได้ รั บประโยชน์ มากกว่า ทั้งในการให้บริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โดย ด้านความเป็นธรรม ยังมีตัวชี้วัดที่น่าสนใจ ได้แก่ ความจําเป็นด้านสุขภาพที่ไม่ได้รับการตอบสนอง ( u nmet health need) ในบริการผู้ ป่วยนอก ผู้ ป่วยใน และทันตกรรม พบว่า มีการเพิ่ มขึ้ นเล็กน้อย จากร้อยละ 2 . 4 ในปี พ.ศ. 2554 เป็นร้อยละ 2 . 8 ในปี พ.ศ. 2556 และลดลงเหลือร้อยละ 2 . 5 ในปี พ.ศ. 2562 โดยมีเหตุผล 3 อันดับแรก คือ รอนาน ไม่มีเวลาไปรับบริการ และเดินทางไม่สะดวก ห่างไกล นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาตามระดับเศรษฐ ฐำนะ พบว่า กลุ่มประชากรที่ยากจนที่สุด (Q 1 ) มีระดับ u nmet health need ที่ สูงกว่าประชากรในเศรษฐ ฐำนะอื่ นอย่างเห็นได้ชัด โดยในปี พ.ศ. 2562 ประชากร กลุ่มยากจนที่สุด (Q 1 ) มีระดับ u nmet health need ที่สูงกว่าประชากรกลุ่มที่รวยที่สุด (Q 5 ) ถึงสองเท่า คือ ร้อยละ 3 . 8 และ 1 . 8 ตามลําดับ นอกจากนี้จากสถานการณ์ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสําหรับประชากรไทยยังมีความแตกต่าง กันระหว่าง 3 สิทธิประกันสุขภาพหลัก ในปี พ.ศ. 2564 ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่อคนในสิทธิสวัสดิการ รักษาพยาบาลข้าราชการ คิดเป็น 13 , 600 บาทต่อคนต่อปี สิทธิประกันสังคม คิดเป็น 4 , 976 บาทต่อคน ต่อปี และสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) คิดเป็น 4 , 055 บาทต่อคนต่อปี โดยสิทธิหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ยังครอบคลุมบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสําหรับคนไทยทุกคน ทั้งสามกองทุน ไม่ใช่เฉพาะผู้มีสิทธิในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอีกด้วย สําหรับประเด็นสุขภาพของประชากรข้ามชาติ และผู้ที่ไม่มีเลขประจําตัว 13 หลัก ประมาณการว่า มี จํานวน 3.5 ล้ำนคน การระบาดใหญ่ของโรค ติด เชื้ อไวรัสโคโรนา 2019 ตั ้ งแต่ ปี พ.ศ. 2563 ทําให้เห็นความจําเป็นที่จะต้องให้การดูแลสุขภาพของทุนคนบนพื้นแผ่นดินไทยชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อโรคติดต่อ ไม่เลือกสัญชาติในการแพร่ระบาด โดยเฉพาะการควบคุมโรค เช่น โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วัณโรค และ การให้วัคซีน เพื่อป้องกันโรคติดต่อต่าง ๆ ในเด็ก การให้บริการส่งเสริมและป้องกันโรค จึงเป็นประเด็นสําคัญ ที่ต้องกําหนดไว้ในธรรมนูญ ว่าด้วยระบบ สุขภาพ แห่งชาติ ฉบับนี้ ซึ่ง ปัจจุบันมีระบบหลักประกันสุขภาพ สําหรับประชากรต่างชาติ 3 ระบบ ได้แก่ 1 ) ประกันสังคม สําหรับแ รงงานที่ขึ้นทะเบียนถูกกฎหมาย 2 ) บัตรประกันสุขภาพโดยสมัครใจ สําหรับแรงงานที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม 3 ) โครงการกองทุนประกัน
หน้า 84 / 1 05 สุขภาพเพื่อกลุ่มคนต่างชาติ ในพื้นที่รอยต่อชายแดน เช่น ตาก และสระแก้ว ปัญหาสําคัญคือ กลุ่มแรงงาน นอกระบบที่ยังไม่มีหลักประกันสุขภาพ การให้บริการสุขภาพแก่ชาวต่างชาติที่มีกําลังซื้อสูงเป็นแหล่งรายได้ของประเทศ นโยบายรัฐบาล เน้น ให้ ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ( m edical h ub) ที่ทําให้การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ / สุขภาพ ( m edical t ourism) เติบโตต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนมีจํานวนนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มากถึง 3 . 42 ล้านครั้ง ในปี พ.ศ. 2561 นอกจากนี้ภาครัฐยังมีการสนับสนุนในแผนยุทธศาสตร์ 10 ปี ( 2560 - 2569 ) ด้วยมาตรการต่าง ๆ เช่น การขยายเวลาในการพํานักในไทยเพื่อการรักษาพยาบำลของ ชาวต่างชาติ นโยบายเหล่านี้เป็นแรงหนุนให้ผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนมีการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อขยายตลาดไปสู่กลุ่มผู้ป่วยต่างชาติ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่ตามมาอาจทําให้ทรัพยากรบุคคลไหลไปสู่ ภาคเอกชนการกระจุกตัวของทรัพยากรทางการแพทย์ในพื้นที่เมืองมำกกว่าชนบท และเกิดความเหลื่อมล้ํา ของการเข้าถึงบริการของประชาชนในที่สุด 9.2 เป้าหมายของการเงินการคลังด้านสุขภาพ ในระยะ 5 ปี ที่มุ่งไปสู่ “ความเป็นธรรม ตอบสนอง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ” 9.2.1 บูรณาการกองทุนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ให้มีความเป็นเอกภาพ เป็นธรรม เพียงพอ และการเงินการคลังมีความยั่งยืน 9.2.2 ปรับปรุงระบบการเงินการคลังให้สอดรับกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และ เป็นรากฐานสําคัญในการพัฒนางานด้านสุขภาพอื่น ๆ ที่ระบุไว้ในธรรมนูญ ว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับนี้ 9.2.3 พัฒนาระบบการเงินการคลังเพื่อให้แรงงานข้ามชาติและผู้ไม่มีเลขประจําตัว 13 หลัก ให้สามารถเข้าถึงบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จําเป็น โดยเฉพาะการได้รับวั คซีนวัคซีน และให้มี ระบบประกันสุขภาพกรณีการรักษาพยาบาลที่ครอบคลุม โดยมีทางเลือกในรูปแบบต่าง ๆ 9.2.4 สร้างการรับรู้และตระหนักรู้ในหน้าที่ของประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเอง สนับสนุน ให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และหลักการ ทุกนโยบำยห่วยใยสุขภาพ ( HiAP ) โดยนโยบายสาธารณะของภาคส่วนต่าง ๆ ให้ความสําคัญต่อสุขภาพของประชาชน 9.2.5 พัฒนานโยบายการร่วมจ่ายตามฐานะทางเศรษฐกิจและกําลังจ่ายของประชาชน เพื่อป้องกันมิให้ใช้บริการโดยปราศจากเหตุผล และไม่เป็นอุปสรรคและสร้างความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึง บริการที่จําเป็น พัฒนานโยบายการร่วมจ่ายจากหน่วยงานองค์กรหรือผู้ประกอบการรวมภาครัฐและเอกชน ที่สร้างผลกระทบเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชน
หน้า 85 / 1 05 9.3 มาตรการ เพื่อการเปลี่ยนแปลง ของการเงินการคลังด้านสุขภาพ ในระยะ 5 ปี 9.3.1 การบูรณการกองทุนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้มีกลไกหลักในการบริหาร จัดการทางการคลังสุขภาพระดับชาติ รวมทั้งชุดสิทธิประโยชน์หลักและกลไกการจ่ายที่ใช้ร่วมกันระหว่าง กองทุน และมีการบูรณาการระบบฐานข้อมูลการเบิกจ่าย ร่วมกันและมีมาตรฐานเดียว 9.3.2 ในคนต่างด้าวทุกคนที่เข้ามาในประเทศไทย ต้องมีระบบประกันสุขภาพภาคบังคับ โดยมี ทางเลือกรูปแบบต่าง ๆ 9.3.3 มีกลไกการออกแบบเชิง ระบบ ( s ystem design) ที่เชื่อมโยงประเด็นทางการเงินการคลัง เข้ากับระบบสุขภาพ ปัจจัยกําหนดสุขภาพ และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ 9.3.4 มีกลไกการติดตามตัวชี้วัดตามหลักการ S - A - F - E และการพัฒนาตัวชี้วัด S - A - F - E ไปสู่การ ปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม 9.4 แนวทางการวัดผลสําเร็จของการเงินการคลังด้านสุขภาพ ในระยะ 5 ปี ในระยะ 1 ปี 1 ) กําหนด r oad map เพื่อบูรณาการระบบการเงินการคลังใน 3 กองทุน ในระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้า และระบบประกันสุขภาพสําหรับแรงงานข้ามชาติ ในระยะ 3 ปี – 5 ปี 2 ) นํา r oad map ไปสู่การปฏิบัติ และติดตามเป้าประสงค์ ของกิจกรรมปฏิรูประบบหลักประกัน สุขภาพและกองทุนที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอ ตัวชี้วัดของการเงินการคลังด้านสุขภาพ อ้างถึง ข้อเสนอการคลังสุขภาพเพื่อความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และเป้าหมาย ( S - A - F - E) ที่ได้จัดทําขึ้นในปี พ.ศ. 2559 ที่กําหนดตัวชี้วัดจํานวน 11 ตัวชี้วัด และ เพิ่มเติม อีก 4 ตัวชี้วัด (ข้อ 8 , 9 , 10 , 14 ) รวมเป็น 15 ตัวชี้วัด ดังนี้ S - Sustainability ความยั่งยืน 1 ) รายจ่ายสุขภาพทั้งหมด (THE) ต้องไม่เกินร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 2 ) รายจ่ายของรัฐบาลด้านสุขภาพ ( GGHE) ไม่เกินร้อยละ 20 ของรายจ่ายของรัฐบาล ( GGE)
หน้า 86 / 1 05 A - Adequacy ความเพียงพอ 3 ) รายจ่ายสุขภาพทั้งหมด ( THE) ต้องไม่น้อยกว่าที่เป็นอยู่ ( ปี พ.ศ. 2562 ) คือ ร้อยละ 4.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ( หรือ รายจ่ายดําเนินการด้านสุขภาพ ( CHE ) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 3 . 9 ของ GDP) 4 ) รายจ่ายของรัฐบาลด้านสุขภาพ ( GGHE) ต่อรายจ่ายของรัฐบาล ( GGE) ต้องไม่น้อยกว่าที่เป็นอยู่ คือ ร้อ ยละ 16.5 ( ปี พ.ศ. 2562 ) ( หรือ รายจ่ายของรัฐบาลด้านสุขภาพที่ไม่รวมงบลงทุน ( GGHE - D ) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 15 . 5 ของ GDP) 5 ) รายจ่ายนอกภาครัฐด้านสุขภาพ ไม่เกินร้อยละ 20 ของรายจ่ายสุขภาพทั้งหมด ( THE) และ รายจ่ายของครัวเรือนต้องไม่เกินระดับที่ เป็นอยู่ คือ ร้อยละ 8 . 7 ของรายจ่ายสุขภาพทั้ งหมด ( THE) ( ปี พ.ศ. 2562 ) (หรือร้อยละ 8.5 ของรายจ่ายดําเนินการด้านสุขภาพ ( CHE )) 6 ) Catastrophic อุบัติการณ์ครัวเรือนล้มละลายจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน ระดับ ที่เป็นอยู่ คือ ร้อยละ 1 . 97 ของครัวเรือนทั้งหมด ( ปี พ.ศ. 2562 ) 7 ) Impoverishment อุบัติการณ์ของครัวเรือนที่ต้องกลายเป็นครัวเรือนยากจนภายหลังจาก การจ่ายค่ารักษาพยาบาล ไม่เกินระดับที่เป็นอยู่ คือ ร้อยละ 0.29 ของครัวเรือนทั้งหมด ( ปี พ.ศ. 2562 ) 8 ) ความจําเป็นด้านสุขภาพที่ ไม่ได้รับการตอบสนอง (unmet health need) ของบริการ ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และทันตกรรมโดยรวม ไม่เกินระดับที่เป็นอยู่ คือ ร้อยละ 2.6 ( ปี พ.ศ. 2562 ) F - Fairness ความเป็นธรรม 9 ) ความเป็นธรรมด้านการคลังสุขภาพ ( Financial incidence analysis - FIA) มีความก้าวหน้า ไม่น้อยกว่าที่เป็นอยู่ ( ปี พ.ศ. 2562 ) ที่มี Kakwani index เมื่อวัดจากรายได้ คือ + 0 . 1186 และ เมื่อวัดจาก รายจ่ายครัวเรือน คือ + 0 . 2161 10 ) การวิเคราะห์การได้รับประโยชน์จากการได้รับการอุดหนุนงบประมาณด้านสุขภาพภาครัฐ ( Benefit incidence analysis: BIA) 11 ) เพิ่มความเป็นธรรมของการจ่ายเงินสมทบ ระหว่างผู้มีสิทธิในระบบประกันสังคม ให้ใกล้เคียง กับตอนเริ่มต้นระบบประกันสังคมเมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยปรับเพิ่มเพดานเงินเดือนสําหรับการคํานวณเงิน สมทบของผู้ประกันตน ให้เป็น 7 เท่าของค่าแรงขั้นต่ํา 12 ) มีระบบที่ สร้างความเป็นธรรมในการร่วมจ่ายตามฐานะทางเศรษฐกิจที่ ไม่เป็นห รือ สร้างอุปสรรคในการเข้าถึงบริการที่จําเป็นอีกทั้งต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบหรือความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึง บริการ 13 ) บรรลุความเป็นธรรมในการจ่ายเงินแก่สถานพยาบาลของแต่ละระบบหลักประกันสุขภาพ ภาครัฐ 13.1) รายจ่ายต่อหัวที่ปรับด้วยโครงสร้างอายุ ( a ge adjusted per capi ta expenditure) ของแต่ละระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐ ต้องมีค่าไม่ต่างจากค่าเฉลี่ยทั้งสามระบบหลัก ร้อยละ ± 1
หน้า 87 / 1 05 13.2) กําหนดให้มีมาตรฐานการจ่ายเงินของแต่ละระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐให้แก่ สถานพยาบาลเป็นราคาเดียวกันในทุกประเภทและระดับการบริการ 14 ) มีการวางแผนออกแบบการเงินการคลังเพื่อดูแรงงานข้ามชาติและผู้ไม่มีเลขประจําตัว 13 หลัก อย่างเป็นระบบ ให้สามารถเข้าถึงบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จําเป็น และมีระบบประกัน สุขภาพที่ครอบคลุม โดยมีทางเลือกในรูปแบบต่าง ๆ E - Efficiency ความมีประสิทธิภาพ 15 ) เพิ่ มประสิทธิภาพ โดยต้องคํานึงถึงคุณภาพควบคู่กันไป 15.1) ให้ระบบประกันสุขภาพภาครัฐทุกระบบใช้ระบบงบประมาณปลายปิด ( c lose ended budget) 15.2) ให้ระบบประกันสุขภาพภาครัฐทุกระบบมีมาตรการและกลไกการเฝ้าระวังราคาและ การควบคุมราคาการเบิกจ่ายของกองทุนและราคาค่าบริการ ยา และเทคโนโลยี ที่มีประสิทธิภาพ ( e fficient reimbursement and price control system) 15.3) ให้ระบบประกันสุขภาพภาครัฐทุกระบบใช้อํานาจในการซื้อ ร่วมกัน ( c ollective purchasing power) 15.4) มีการใช้มาตรการของรัฐบาล ( g overnment intervention) อย่างเหมาะสม
หน้า 88 / 1 05 10. สุขภาพจิต 10.1 สถานการณ์ปัญหา/ประเด็นท้าทาย ของสุขภาพจิต การสํารวจสุขภาพจิตของคนไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา โดยความร่วมมือกันระหว่าง สํานักงานสถิติแห่งชาติ สํานักงานกองทุน สนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ และกรมสุขภาพจิต กระทรวง สาธารณสุข พบว่า คะแนนสุขภาพจิตเฉลี่ยของประชาชนไทยอยู่ในเกณฑ์ปกติ ( ช่วงคะแนนระหว่าง 27 ถึง 32 จากคะแนนเต็ม 45 ) โดยคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจา ก 33 . 09 ในปี พ.ศ. 2552 เป็น 33 . 30 ในปี พ.ศ. 2553 แล้วลดลงในปี พ.ศ. 2554 ( 32 . 10 ) และเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2555 ( 33 . 59 ) หลังจากนั้น คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ. 2561 ( 31 . 56 ) อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2563 คะแนนเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นอีก ( 33 . 53 ) รายงานการจัดอันดับอัตราการฆ่าตัวตายในประเทศทั่วโลก ในปี 2562 ของ World Population Review และข้อมูลการฆ่าตัวตายจาก 183 ประเทศทั่วโลก โดยองค์การอนามัยโลก เมื่อปี พ.ศ. 2561 พบว่า ประเทศไทยมีอัตราการฆ่าตัวตาย 14.4 คนต่อประชาก รแสนคน จัดเป็นอันดับที่ 32 ของโลก ส่วนรายงาน อัตราการฆ่าตัวตายของประชากรไทย โดยใช้ฐานข้อมูลจากใบมรณะบัตรเท่านั้น ( ซึ่งแตกต่างจากฐานข้อมูล ขององค์การอนามัยโลก ) ซึ่งข้อมูลจาก กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี พ.ศ. 2564 พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่ อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ถึง พ.ศ. 2563 คิดเป็น 6 . 32 6 . 64 และ 7 . 37 ต่อประชากรแสนคน ตามลําดับ โดย สาเหตุของการฆ่าตัวตายสําเร็จเป็นหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ ปัญหา ความสัมพันธ์ การเจ็บป่วยด้วยโรคทางกายและโรคทางจิตเรื้อรัง และในช่วงที่เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและ สังคมจาก สถานการณ์การระบาดใหญ่ของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นี้ พบว่า ปัจจัยเรื่องปัญหาเศรษฐกิจ มีอิทธิพลมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเปราะบาง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงาน แล ะกลุ่มประชาชนที่ตกงาน สําหรับ ในกลุ่มเด็กและเยาวชน จาก การสํารวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2562 พบว่า เด็กอายุระหว่าง 3 - 4 ปี มีพัฒนาการด้านการอ่านออกและรู้จักตัวเลขต่ําที่สุด ( 6 0 . 9 ) และ มีพัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์ต่ํา ( 84 . 8 ) เมื่ อเทียบกับพัฒนาการด้านการเรียนรู้ ( 99 . 1 ) และ ด้านกายภาพ ( 99 . 0 ) ซึ่งอาจส่งผลต่อพฤติกรรมและปัญหาทางสุขภาพจิตในอนาคต ส่วนในกลุ่มวัยเรียนและ วัยรุ่ น เด็กและเยาวชน 7 ใน 10 คน ที่ เข้าร่วมการสํารวจ โด ยองค์การ UNICEF ประเทศไทย เมื่ อปี พ.ศ. 2563 เห็ นว่าวิกฤติ การระบาดใหญ่ของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นี้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต ของตนเอง ก่อให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวล ซึ่งสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของความต้องการการเข้าถึง บริการสุขภาพจิตในกลุ่มวัยรุ่น ปัจจุบันวิถีชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เกิดความเครียดสูง มีผลต่อการเพิ่มความรุนแรง ในครอบครัว (do mestic violence) และสังคม (social violence) พบ ว่า มีกลุ่มเสี่ยงที่เกิดจากการถูกทําร้าย/ ทารุณกรรม (abuse) ทั้งทางร่างกาย ( physical abuse) ทางจิตใจ ( emotional abuse) ทางเพศ ( sexual
หน้า 89 / 1 05 abuse) รวมทั้ง การทอดทิ้ง ( neglect) รวมถึงกรณีการกลั่นแกล้งรังแก (bully) และการถูกล่วงละเมิด (harassment) ซึ่งจะทิ้งร่องรอยของการบาดเจ็บ (trauma) และความเสียหายต่อร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และ ทางสังคม ตลอดจนการเจริญเติบโตและพัฒนาการในเด็ก มีผลให้สังคมมีแนวโน้มกระทบกระทั่งกันง่ายมากขึ้น และ จากการศึ กษาของเครื อข่ำยพัฒนาวิ ชาการและข้ อมู ลสารเสพติ ด ภาคตะวั นออกเฉี ยงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อปี พ.ศ. 2562 พบว่ำ ประชาชนจํานวนหนึ่งหันไปใช้สารเสพติด เพื่อตอบสนอง ค วามต้องการของร่างกายให้สามารถปรับอารมณ์ให้เป็นไปในระดับที่พึงประสงค์ชั่วคราว ซึ่งในปี พ.ศ. 2562 ศูนย์อํานวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข ได้ศึกษา พบ ว่า ผู้ติดยาเสพติด ในประเทศ สูงถึง 1 . 4 ล้า นคน แต่สามารถเข้าระบบการบําบัดฟื้นฟูยาเสพติดประมาณ 200 , 000 คน สะท้อนภาพว่า ผู้ติดยาเสพติดจํานวนมากที่ยังไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการบําบัดฟื้นฟู ทั้งนี้ในระยะยาว จะส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพจิต จากข้อมูล ของสํานักงานพัฒนาสุขภาพระหว่างประเทศ เมื่ อปี พ.ศ. 2556 พบ การสู ญเสียความบกพร่องทางสุขภาพ ในเพศหญิงจะพบความผิดปกติของการรับรู้ และ โรคซึมเศร้า ส่วนในเพศชายพบความผิดปกติทางจิต ระบบบริการสุขภาพจิตของประเทศไทย เน้นความสําคัญกับการจัดบริการสุขภาพจิตที่บูรณาการ เข้ากับระบบบริการสุขภาพในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ ( s ervice p lan ) ซึ่งมีโครงสร้างการจัดบริการ สุขภาพจิตกระจายอย่างครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งหน่วยบริการจิตเวชและหน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับ ตลอดจนหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อให้ประชาชนที่พยายามฆ่าตัวตายสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพจิตได้เพิ่มขึ้น ตามสถิติ ในปี พ.ศ. 2562 ถึง 2564 คิดเป็นร้อยละ 35 . 6 60.0 และ 65.3 ตามลําดับ อันส่งผลให้ การติดตามดูแลในระยะ 1 ปี เพื่อป้องกันการกลับมาทําร้ายตนเองซ้ําเพิ่มขึ้นเช่นกัน คิดเป็นร้อยละ 94 . 5 96 . 8 และ 98 . 3 ตามลําดับ รวมทั้ง เพื่อให้ผู้ป่วยโรคจิตเวชที่สําคัญสามารถเข้าถึงบริการได้ทั่วถึงมากขึ้น จากสถิ ติการเข้าถึงบริการในช่วงปี พ.ศ. 2561 เทียบกับ พ.ศ. 2564 โรคจิตเภท เพิ่มจากร้อยละ 78 . 92 เป็นร้อยละ 100 โรคซึมเศร้า เพิ่มจากร้อยละ 61 . 20 เป็นร้อยละ 83 . 54 และโรคสมาธิสั้น เพิ่มจากร้อยละ 17.08 เป็นร้อยละ 32.36 นอกจากนี้ ระบบบริการสุขภาพจิตของประเทศยังให้ความสําคัญกับการดูแล ผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องจนสามารถกลับไปใช้ชีวิตร่วมกับชุมชนได้อย่างปกติสุข โดยในปี พ.ศ. 2564 ผู้ป่วยจิตเวช ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง ( SMI - V ) ที่ได้รับการติดตามเฝ้าระวัง ไม่ก่อความรุนแรงซ้ํา ภายใน 1 ปี ร้อยละ 99.20 การเผชิญกับ การระบาดใหญ่ของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ต่อเนื่องยาวนาน มีผู้เสียชีวิตและ ผู้ติดเชื้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชาชนมีความเครียด ความวิตกกังวล และความตื่นตระหนก จากการมีข่าวลวงเกิดขึ้น ( f ake n ews ) สถิติจากการเฝ้าระวังและติดตามภาวะสุขภาพจิตประชาชนไทย ในประเด็นความตื่นตระหนก ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 พบว่า ค่าเฉลี่ยของความตื่นตะหนกของประชาชนไทย มีค่าแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อ สถานการณ์การระบาดใหญ่ของ โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยสูงสุดที่ 4 . 73 ในการระบาดรอบเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 และเมื่อสถานการณ์คลี่คลายลงในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ค่าเฉลี่ยความตื่นตระหนกลดลงเหลือ 3 . 83
หน้า 90 / 1 05 แต่ยังคงสูงกว่าในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ในช่วงที่พบผู้ติดเชื้อรายวันน้อยมาก อันเป็นผลจาก ความไม่เข้าใจการระบาดของโรค ทําให้ประชาชนมีความตระหนกและปรับตัวได้ยาก ซึ่งสอดคล้องกับ ผลสํารวจค่าเฉลี่ยความเข้มแข็งทางใจของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรค ของปี พ.ศ. 2564 โดยกรมสุขภาพจิต พบ ค่ำเฉลี่ยความเข้มแข็งทางใจ 65 . 59 อยู่ในเกณฑ์ปกติ และ ยังพบสัดส่วนของประชาชนสูงมากกว่าร้อยละ 10 ที่มีค่าเฉลี่ยของความเข้มแข็งทางใจต่ํากว่าเกณฑ์ปกติ จากสถานการณ์การระบาดนี้ ส่งผลให้มีผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพจิตเป็นจํานวนมาก ทั้งผู้ป่วย ญาติ ผู้สูญเสีย กลุ่ม คนที่อยู่ในสภาวะ เปราะบางต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยโรคทางจิตเวช ผู้มีปัญหาเศรษฐกิจ รวมทั้ง บุคลากรสุขภาพเองที่เริ่มมีภาวะเครียดและอ่อนล้า นอกจากนี้ ยังพบผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจาก การติ ดเชื ้ อในระยะยาว คื อ ผู ้ ป่ วย L ong COVID - 19 ที ่ เกิ ดปั ญหาทางสุ ขภาพกายและสุ ขภาพจิต ภายหลังการติดเชื้อ สะท้อนถึงประชาชนจํานวนมากมีปัญหาสุขภาพจิต และต้องการการเข้าถึงบริการ สุขภาพจิต ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม กรมสุขภาพจิต จึงได้จัดทํานวัตกรรม Mental Health Check In เพี่อให้ ประชาชนสามารถคัดกรองสุขภาพจิตและดูแลตน เองเบื้องต้นได้ ใน 4 ประเด็น ได้แก่ ความเครียด โรคซึมเศร้า ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย และภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟ และจัดให้ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้รับการส่งต่อ เพื่อช่วยเหลือดูแลและเยียวยาจิตใจตามกระบวนการ รวมทั้งให้ความสําคัญกับการเพิ่มความสามารถ ในการปรับตัวแล ะความเข็มแข็งทางจิตใจ ( resilience ) โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งในและ นอกระบบสุขภาพ ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายหลักเกี่ยวกับการคุ้มครองประชาชนให้ได้รับการส่งเสริมสุขภาพจิต การป้อ งกันเพื่อควบคุมปัจจัย เสี่ยงที่คุกคามสุขภาพจิต การคุ้มครองสิทธิให้บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตได้รับการบําบัดรักษาอย่างถูกต้อง เหมาะสมเพื่อลดอันตรายร้ายแรง ที่อาจเกิดขึ้นต่อร่างกายหรือทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น ตลอดจนการฟื้นฟู สมรรถภาพให้ผู้ป่วยทางจิตที่มีอากำรทุเลาสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ ผ่านการขับเคลื่อนงาน ในรูปแบบคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ ที่มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีผู้แทนจากหน่วยงาน ภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน และผู้ ทรงคุณวุฒิสาขาต่าง ๆ ที่ มีบทบาทในการขับเคลื่ อนงานสุขภาพจิต ของประเทศ ผ่านแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2561 - 2580 ) เฉกเช่นเดียวกับ การดําเนินงานของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่ขับเคลื่อนงานผ่านธรรม นูญ ว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ในรูปแบบการรวมพลังจากทุกภาคส่วน ทั้งรัฐ เอ กชน ประชาสังคม เน้นให้เกิดการมีส่วนร่วม โปร่งใส และ สามารถตรวจสอบการดําเนินงานได้ ทั้งนี้ กลไกคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติดังกล่าว มุ่งให้เกิด การอภิบาลระบบสุขภาพจิตที่ดี ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ ให้เกิดความเป็นธรรม ทั่วถึง และเท่าเทียม โดยยึดประชาชนเป็นศู นย์กลาง อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศไทยจะสามารถจัดบริการสุขภาพจิตสําหรับผู้ป่วยโรคจิตเวชได้เพิ่มขึ้น แต่สถานะทางสุขภาพจิตของคนไทยยังคงเป็นปัญหาอยู่ ไม่ว่าจะในประเด็นคะแนนสุขภาพจิตเฉลี่ย ที่ยังมี รูปแบบขึ้นลง ปัญหาการฆ่าตัวตายที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ปัญหาสุขภาพจิตในเด็ กและเยาวชน และปัญหา
หน้า 91 / 1 05 สุ ขภาพจิตที่มาพร้อมกับปัญหาสุราและสารเสพติด ตลอดจนปัญหาสุขภาพจิตที่เป็นผลกระทบจากภาวะวิกฤติ การระบาดใหญ่ของโรค ติดเชื้ อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนั้น ช่องว่างของปัญหาสุขภาพจิตที่ยังคงมีอยู่ ในประเทศไทย คือ ประชาชนส่วนหนึ่งยังไม่ได้รับการดูแลช่วย เหลือตั้งแต่แรกเริ่ม ส่วนหนึ่งเข้าไม่ถึงบริการ ด้านสุขภาพจิต อันเกิดจากอุปสรรคในช่วงการระบาดของโรค และส่วนหนึ่งไม่สามารถฟื้นคืนความเข้มแข็ง ทางใจให้กลับมาเป็นปกติสุขได้ ดังนั้น การบูรณาการงานดูแลสุขภาพจิตร่วมกับงานดูแลสุขภาพกาย จึงเป็น เรื่องที่ท้าทายในภาวะที่ บุคลากรสาธารณสุขมีภารกิจหลักในการดูแลสุขภาพประชาชน ให้ปลอดภัยจาก สถานการณ์การระบาดใหญ่ของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนั้นประเด็นสุขภาพจิตที่ต้องดําเนินการในระยะ 5 ปีนี้ คือ การรวมพลังทางสังคมทุกภาคส่วน ทั้งในและนอกระบบสุขภาพ ทั้งองค์กรภาครัฐ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาคเอกชน ตลอดจนภาคประชาสังคม ในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกัน ก่อนเกิด ปัญหาสุขภาพจิต โดยการบูรณาการระบบสุขภาพจิตกับระบบสุขภาพกาย ตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ด้วยการ จัดบริการสุขภำพจิตในรูปแบบใหม่ ที่ให้ความสําคัญกับการดูแลสุขภาพจิตในประชาชนทุกคน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเปราะบางทุกกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยทางกายเรื้อรัง ผู้มีปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม ผู้สูงอายุ เด็กและเยาวชน คนพิการ คนชายขอบ ผู้ต้องขัง เป็นต้น รวมทั้งการเพิ่ม ความเข้มแข็งทางใจ อย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร และสังคม ตลอดจนการเตรียมความพร้อม ด้านสุขภาพจิตจากทุ กภาคส่วนในสังคม เพื่ อรับมือกับ วิกฤตการณ์ อื่ น ๆ ที่ อาจเกิดขึ้ นในอนาคต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 10.2 เป้าหมายของ สุขภาพจิต ในระยะ 5 ปี ที่มุ่งไปสู่ “ความเป็นธรรม ตอบสนอง ไม่ทิ้งใคร ไว้ข้างหลัง ” 10.2.1 ประชาชนไทยมีความรอบรู้ ด้านสุขภาพจิต ( m ental h ealth l iteracy ) ที่ นําไปสู่ พฤติกรรมสุขภาพจิตที่พึงประสงค์ รวมทั้งมีความเข้มแข็งทางใจ สามารถดําเนินชีวิตได้อย่างเป็นสุข ทั้งใน ภาวะปกติและภาวะวิกฤติ 10.2.2 ประชาชนไทยทุกคนได้รับการดูแลสุขภาพจิต ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ( e arly d etection) เพื่อป้องกันและลดปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช รวมทั้งจัดระบบงานและระบบบริการสุขภาพจิต รูปแบบใหม่ ตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนไทยทุกกลุ่ม ทั้งในภาวะปกติและ ภาวะวิกฤติ
หน้า 92 / 1 05 10.3 มาตรการ เพื่อการเปลี่ยนแปลง ด้าน สุขภาพ จิต ในระยะ 5 ปี 10.3.1 เร่งสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตของประชาชน ( m ental h ealth l iteracy ) เพื่อสร้าง พฤติกรรมสุขภาพจิตที่พึงประสงค์ และให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของข่าวสารที่จะส่งผลกระทบต่อปัญหา สุขภาพจิต รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งทางใจ ให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตที่เป็นสุขได้ในภาวะปกติ และสามารถ ก้าวผ่านปัญหาในทุกวิกฤติให้กลับมามีชีวิตที่เป็นปกติสุข ได้ ดังนี้ 1 ) สร้างภูมิคุ้มกันทางใจหรือความเข้มแข็งทางใจ ( r esilience) ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนส่งเสริมระบบที่เอื้อต่อการเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ร่วมมือกันเผชิญกับปัญหา หรือวิกฤติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และแก้ไขปัญหาจนสามารถก้าวข้ามปัญหาไปได้ และ ฟื้นตัวกลับสู่สภาพปกติในเวลาอันรวดเร็ว 2) เสริมสร้างทักษะชีวิต โดยเฉพาะในกลุ่ มวัยเรียนวัยรุ่ น หรือเด็กกลุ่ มเสี่ ยง เช่น เด็กที่ถูกทําร้าย / ทารุณกรรม ให้เป็นปัจจัยปกป้องในการพัฒนาตนเอง โดยใช้หลักการเสริมคุณค่าภายในตนเอง ให้มีความเข้มแข็งด้านจิตใจ ที่จะเผชิญปัญหาและความเสี่ยงต่าง ๆ ในชีวิต จนสามารถปรับตัว พร้อมเผชิญ การเปลี่ยนแปลงในสังคม ตลอดจนเสริมความเข้มแข็งของกลไกสุขภาพจิตในโรงเรียน / สถานศึกษา เช่น การเฝ้าระวังและให้คําปรึกษาจากครู/อาจารย์ 3) บู รณาการงานสุ ขภาพจิ ตเข้ำกั บคณะกรรมการพั ฒนาคุ ณภาพชี วิ ตระดั บเขต คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ รวมถึงกลไกอื่น ๆ ในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนสามา รถเข้าถึง เข้าใจ และประเมินข้อมูลข่าวสารทางสุขภาพจิตและบริการทางสุขภาพจิต ทําให้เกิดการจูงใจตนเอง ให้มีการเลือกวิถีทางในการดูแลตนเอง จัดการสุขภาพจิตตนเอง และคงรักษาสุขภาพจิตที่ดีของตนเอง รวมถึง ช่วยเหลือดูแลสุขภาพจิตผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม 4) พัฒนาการสื่อสารสังคมที่ทันสมัยและเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ ผสมผสานกับการสื่อสารในชุมชนผ่านช่องทางที่หลากหลาย 5) ส่งเสริม สนับสนุนครอบครัว ชุมชน ซึ่งหมายรวมถึง สถานศึกษา สถาบันทางศาสนา ตลอดจน องค์กร / องค์การทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีบทบาทนําการสื่ อสารความรู้ ความเข้าใจต่อปัญหา ด้านสุขภาพจิต แก่สมาชิกของครอบครัว ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย 6) จัดระบบ จิตอาสาในสังคม ให้สอดรับกับความต้องการดูแลสุขภาพจิตในรูปแบบ ชีวิตวิถีใหม่ ( n ew normal ) เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคมในการช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเปราะบาง ด้านสุขภาพจิต ให้สามารถเข้าถึงการให้คําปรึกษาและดูแลจิตใจเบื้องต้น อย่างเหมาะสมตามกลุ่มวัย 10.3.2 สร้างระบบการส่งเสริมสุขภาพจิต และป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย ในระยะ ก่อนเกิดปัญหาสุขภาพจิ ต ( e arly d etection ) เพื่อกําจัดภัยคุกคามสุขภาพจิตก่อนป่วย รวมทั้งปรับเปลี่ยน ระบบงานสุขภาพจิตรูปแบบใหม่ เน้นให้บริการกับประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ไม่จํากัดแค่ การจัดบริการเฉพาะผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชเท่านั้น เพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งต่อเนื่อง
หน้า 93 / 1 05 ยั่งยืนใ ห้ระบบงานสุขภาพจิต พร้อมรับมือกับ วิกฤตการณ์ อื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมและประชาชน ดังนี้ 1) ให้ชุมชนร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคมและภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพจิต สนับสนุน การจัดตั้ ง “กลุ่ มช่วยเ หลือกันเองหรือกลุ่ มสนับสนุนทางสังคม ( s elf - h e a l th g roups / s ocial s upport g roups )” ซึ่งเป็นการสร้างพื้นที่สุขภาพจิตในชุมชน เพื่อเป็นแหล่งของการพูดคุยสนทนา ให้คําปรึกษา ให้คําแนะนําปัญหาสุขภาพจิตในรูปแบบของการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ เช่น เวทีเสวนา/ประชาคมหมู่บ้าน สภากาแฟสุขภาพจิตดี ลานธรรมส่งเสริมสุขภาพจิต เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นกลไกที่สามารถปรับลดความแตกต่าง ทางความคิด คือ ปัญหาการไม่ยอมรับความคิดที่แตกต่างกัน สร้างเวทีที่เ ปิดกว้างทางความคิด เห็นความ แตกต่างเป็นเรื่องของการเรียนรู้ ไม่สร้างความเกลียดชัง หรือดูถูกความคิดเห็นที่แตกต่าง อันจะนําไปสู่ การเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง และการหาทางออกและคลี่คลายอย่างสร้างสรรค์ ตลอดจนจัดกิจกรรม ที่ส่งเสริมให้คนในชุมชนร่วมมือกันในการเผชิญ ปัญหา หรือวิกฤติต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน ทําให้ชุมชนฟื้นตัว กลับสู่ภาวะปกติได้ในเวลาอันรวดเร็ว 2) จัดบริการสุขภาพจิตในระบบบริการสุขภาพตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงและ กลุ่ม ที่อยู่ในสภาวะ เปราะบางด้านสุขภาพจิต เช่น ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อที่ต้องอยู่ร่วมกับ อาการเจ็บป่วย มายาวนานและมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เป็นอยู่ อันอาจจะส่งผลต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิต ผู้มีปัญหา การสูญเสียใดที่อาจจะต้องการความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต เป็นต้น 3) เตรียมความพร้อมให้หน่วยงานทุกภาคส่วน รวมทั้ งทีมปฏิบัติการต่าง ๆ ให้มี ความเข้มแข็งที่จะรับมือกับภาวะวิกฤติ ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุการณ์วิกฤติ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพในภาวะวิกฤติ 4) สร้างระบบการดูแลสุขภาพจิตประชาชนที่ ได้รับผลกระทบจากวิกฤติต่าง ๆ เช่น การสูญเสียจากภัยธรรมชาติ จากอุบัติภัยต่าง ๆ รวมถึงการระบาดของโรคอุบัติใหม่ อย่าง การระบาดใหญ่ ของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อ ให้คําแนะนําถึงช่องทางการปรึกษา ให้การดูแลช่วยเหลือทางจิตใจ ตลอดจนส่งต่อระบบบริการตามปัญหาสุขภาพจิตที่พบ 5) พัฒนานวัตกรรมการดูแลสุขภาพจิตของเครือข่าย และภาคส่วนต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยี รูปแบบใหม่และทันสมัย เพื่อสนับสนุนการจัดบริการสุขภาพจิตแนวใหม่ 6) ปฏิรูประบบข้อมูล เพื่อใช้ดําเนินการด้านสุขภาพจิตเชิงรุก โดยอาศัยการมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วน ซึ่งจะนําไปสู่การดูแลสุขภาพอย่างบูรณาการร่วมกันแบบองค์รวมครอบคลุมทุกมิติ เช่น การนําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ระบุตัวกลุ่ มเสี่ ยงและกลุ่ ม ที่ อยู่ ในสภาวะ เปราะบางทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น ผู้ป่วยทางกายเรื้อรัง ผู้มีปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม ผู้สูงอายุ เด็กและเยาวชน คนพิการ คนชายขอบ ผู้ต้องขัง ฯลฯ เพื่อประสานเครือข่ายระดับพื้นที่ในการดูแลอย่างต่อเนื่อง
หน้า 94 / 1 05 10.4 แนวทางการวัดผลสําเร็จ ของสุขภาพจิต ในระยะ 5 ปี แนวทางการวัดผลสําเร็จ ในระยะ 1 - 3 ปี 1 ) ชุมชน/องค์กรมีแผน/กิจกรรมการดําเนินงานด้านสุขภาพจิต ที่มีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วน เพื่อแก้ไขปัญหาตามบริบทที่เหมาะสม 2 ) ชุมชนมีการจัดตั้งกลุ่มช่วยเหลือกันเองหรือกลุ่มสนับสนุนทางสังคม 3 ) ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและมีพฤติกรรมสุขภาพจิตที่พึงประสงค์ 4 ) ผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางและกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลด้านสุขภาพจิต แนวทางการวัดผลสําเร็จ ในระยะ 5 ปี 5 ) ค่าคะแนนเฉลี่ยประชาชนไทยมีสุขภา พจิต 6 ) ค่าคะแนนเฉลี่ยประชาชนไทยมีความเข้มแข็งทางใจ 7 ) อัตราการฆ่าตัวตายสําเร็จของประชาชนไทย
หน้า 95 / 1 05 11. สุขภาพทางปัญญา ( s piritual h ealth ) 11.1 สถานการณ์ปัญหาและประเด็นท้าทายของสุขภาพทางปัญญา สุขภาพทางปัญญาเป็นฐานการทํางานด้านสุขภาพที่สําคัญยิ่ง มีหลักฐานเชิงประจักษ์จํานวนมาก บ่งชี้ว่า การมีสุขภาพทางปัญญาของบุคคลส่งผลบวกสุขภาพกาย ใจ และสังคมอย่างชัดเจน ขณะเดียวกัน สุขภาพกาย ใจ และสังคมที่ดี ก็เป็นปัจจัยเอื้อให้บุคคลมีสุขภาพทางปัญญาที่ดีด้วย แต่ทิศ ทางการพัฒนา แบบวัตถุนิยมที่ให้ความสําคัญกับสุขภาพกายเป็นหลัก และละเลยสุขภาพใจ สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สุขภาพทางปัญญา ส่งผลให้บุคคลและสังคมขาดสมดุลจนเกิดวิกฤตต่างๆ ทั้งทางสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวิกฤตทางตัวตนและจิตวิญญาณตัวตน การมีชีวิตที่สั บสน ไร้คุณค่า และปราศจาก ความหมาย ในภาพรวมของโลก มนุษย์อยู่ในช่วงของทุกขภาวะรอบด้าน ทั้งจากอัตราเร่งที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โรคระบาด และการทําลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งทําให้โลกเข้าสู่ช่วงเวลา ของการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่รอบใหม่ ประกอบกับ การเติบโตอย่างรวดเร็วมากกว่ายุคใดของโลกคู่ขนานออนไลน์ ซึ ่ งมี ศั กยภาพมหาศาลทั้ งด้านบวกและลบ ทําให้ คนทํางานเพื ่ อสร้างการเปลี่ ยนแปลงจํานวนมาก เสนอการพัฒนาสุขภาพทางปัญญาเป็นแนวทางการรับมือกับความผันผวนของโลก โดยปรับเปลี่ยนชุดความคิด ความเชื่อ และความคุ้นชินในการมองโลก เพิ่มความสามารถในการอดทนอดกลั้ นต่อความไม่แน่นอน ในสถานการณ์พลิกผัน สามารถสงบใจ เฝ้ามอง รับฟัง และเปิดกว้างเพื่อรับรู้สถานการณ์อย่างลึกซึ้ง จนเกิด มุมมองที่สดใหม่และยืดหยุ่นในการแก้ปัญหา สามารถรับรู้ความจริง คุณค่า และความหมาย ทั้งข องตนเองและ สิ่งรอบตัว รู้ทิศทางที่ถูกต้อง สร้างเพื่อนร่วมทางที่คอยช่วยเหลือกัน และพยายามสื่อสารเพื่อชวนผู้ คน มาร่วมขบวนมากขึ้น จนบุคคลและสังคมสามารถกลับสู่การมีสุขภาวะแบบองค์รวม สําหรับประเทศไทย นอกจากการร่วมกระแสความผันผวนของโลกแล้ว เรายังติดกับอยู่ในความขั ดแย้ง รุนแรงระหว่างการครอบงําของวัฒนธรรมการใช้อํานาจทางดิ่ง ซึ่งเป็นลักษณะหลักที่เป็นมายาวนานของไทย กับการเกิดใหม่ของวัฒนธรรมความร่วมมือแนวราบ ที่คนกลุ่มต่าง ๆ ต้องการอิสรภาพ ความเป็นธรรม โอกาส ที่เท่าเทียม และสิทธิการตัดสินใจในการร่วมสร้างสรรค์อนาคตของสังคมด้ วยกัน จากสถิติเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ประเทศไทยมีอัตราความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจสูงสุด ประเทศหนึ่ ง อยู่ ในตําแหน่งท้าย ๆ ของประเทศที่ สามารถฟื้ นตัวจาก สถานการณ์การระบาดใหญ่ ของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้อย่างดี และครองอันดับต้น ๆ ของประเทศที่มีความเสี่ยงสูงจากวิกฤติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่วนสถิติเด่น ๆ ของไทยเองอยู่ที่อัตราคนที่มีภาวะเครียด ป่วยด้วยโรค ซึมเศร้า และคนคิดฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่รู้สึกไม่สามารถเชื่อมโยง กับตนเองและสิ่งรอบข้าง แ ละกําลังเติบโตในโลกคู่ขนานออนไลน์ที่วิถีของคุณค่าและความหมายแตกต่าง
หน้า 96 / 1 05 ออกไปอย่างสิ้ นเชิงกับโลกของคนรุ่ นก่อนหน้า ความป่วยไข้ทั้ งหมดที่ เพิ่ มขึ้ นอย่างรวดเร็ว แสดงถึง ความเปราะบางอย่างยิ่งของสังคม และมีโอกาสสูงที่จะเกิดวิกฤติ จนเกินเยียวยา การพัฒนาสุขภาพทางปัญญาจึงจําเป็นเร่งด่วน เพื่อเยียวยาการผุกร่อนทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งเป็นต้นเหตุของวิกฤติ ต่าง ๆ สร้างเสริมคุณภาพจิตใจแบบใหม่ และสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของสังคม ที่ลงลึกไปถึงคุณค่าและความหมายร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายที่เป็นอ ยู่ เพื่อให้บุคคลและสังคม สามารถกลับมาเชื่อมโยงกับความจริง คุณค่า และความหมายที่แท้จริงของโลกและชีวิต เยียวยาทุกขภาวะ ร่วมกัน ก้าวผ่านความขัดแย้งและวิกฤติ รอบด้าน และขยายผลสู่การทํางานกระแสหลักเพื่อพลิกกระแสสังคม สู่การมีสุขภาวะแบบองค์รวม ที่คนทุกกลุ่มสามารถพั ฒนาตนเองและร่วมสร้างสรรค์สังคมที่มีคุณค่าและ ความหมาย โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง 1 1 .2 เป้าหมายของสุขภาพทางปัญญา ในระยะ 5 ปี ที่มุ่งไปสู่ “ความเป็นธรรม ตอบสนอง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ” 11.2.1 คนในสังคมไทยทุกช่วงวัยตั้งแต่เกิดจนตายสามารถเข้าถึงการมีสุขภาพทางปัญญาที่ดี มีความฉลาดทางสุขภาพองค์รวม ( holistic health literacy) และสุขภาพทางปัญญา ( s piritual health literacy ) 11.2.2 ระบบ การ ศึกษาให้ความสําคัญกับการศึกษาและเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ การเรียนรู้ที่มีชีวิตเป็นตัวตั้ง ไม่เอาวิชาเป็นตัวตั้ง ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบเป็นองค์รวมจากฐาน ร่างกาย จิตใจ และความคิดอย่างแยบคาย เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงระดับลึก การพัฒนาสติ ความ มั่นคง ภายใน และความสามารถในการเข้าถึงความหมายเชิงคุณค่าและความถูกต้องดีงามทั้งของตนเองและสรรพสิ่ง 11.2.3 ภาคส่วนต่าง ๆ ในระบบสุขภาพ ให้ความสําคัญกับการพัฒนาสุขภาพทางปัญญา ในฐานะรากฐานสําคัญของการพัฒนาสุขภาพ สามารถนํากระบวนการเรียนรู้และเครื่องมือ ในการพัฒนา สุ ขภาพทางปัญญามาใช้ในการทํางาน พัฒนากําลังคน และพัฒนาระบบสุขภาพ เพื่อสร้างเสริมระบบสุขภาพ ที่มีความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และให้ความสําคัญกับคุณค่า ความหมาย และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งของบุคลากรและผู้รับบริการทั้งหมด 11.2.4 ภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคม ตระหนักถึงความสําคัญของการพัฒนาสุขภาพทางปัญญา ในฐานะรากฐานการพัฒนาสุขภาวะของสังคม และเร่งสร้างสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพ กิจกรรม กระบวนการ เรียนรู้ และบรรยากาศทางสังคม ที่เอื้อต่อการพัฒนาสุขภาพทางปัญญาของคนทุกกลุ่ม 11.2.5 ประเด็นความแตกแยก ขัดแย้ง และขาดความเป็นธรรม ระหว่างคนกลุ่มต่าง ๆ และ ระหว่าง คนกับธรรมชาติ ที่ส่งผลกระทบต่อการมีสุขภาพที่ดี ได้รับการคลี่คลายอย่างสร้างสรรค์ ผ่านพื้นที่ รับฟัง ด้วยไมตรี และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงความจริง คุณค่า และความหมายที่มีร่วมกันของผู้มีส่วนได้เสีย กลุ่มต่าง ๆ เน้นการเสริมพลังอํานาจให้เจ้าของพื้นที่และวัฒนธรรม คนเล็กคนน้อย คนยากคนจน และ
หน้า 97 / 1 05 คนชายขอบของสังคม ให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบายได้อย่างเท่าเทียม และส่งเสริ มให้เกิด ความเป็นธรรมเชิงระบบและโครงสร้าง เพื่อให้สังคมเดินหน้าต่ออย่างมีสุขภาวะ อยู่รอดและอยู่ ร่ว ม ได้อย่างสมดุล ท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายทั้งระหว่างคนกับคนและคนกับธรรมชาติ 1 1 .3 จุดคานงัดเพื่อ การ เปลี่ยนแปลง ของ สุขภาพปัญญา ในระยะ 5 ปี 11.3.1 การทําให้คนไทยเข้าถึงการเรียนรู้ในกาสร้างเสริมความมั่นคงและความผาสุกภายใน ควบคู่กับการเยียวยาการผุกร่อนทางจิตวิญญาณและพัฒนาสุขภาพทางปัญญาที่ง่ายและหลากหลาย สอดคล้อง กับความแตกต่างของเพศ วัย การศึกษา วิถีชีวิต สภาพร่างกายและจิตใจ เศรษฐานะ ถิ่นที่อยู่ ความเชื่ อ และ ความคิดเห็นทางการเมือง 11.3.2 การสร้างพื้ นที่ เรียนรู้ และร่วมมือของสังคมในการคลี่ คลายความขัดแย้งสําคัญ ด้วยกระบวนการและเครื่องมือส่งเสริมสุขภาพทางปัญญา โดยเริ่มจากความขัดแย้งที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น โรคระบาดใหญ่หรือภัยธรรมชาติ แล้วจึงร่วมกันทํางานในการคลี่คลายความขัดแย้งที่เกิดจากมนุษย์ 11.3.3 การเชื่อมโยงและพัฒนาเครือข่ายคนทํางานสุขภาพทางปัญญา เพื่อสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยน และจัดการความรู้ ดูแลความสัมพันธ์ เสริมพลังชีวิต และเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานร่วมกันทั้งเชิงนโยบาย และปฏิบัติการ เพื่อให้ประเด็นงานสุขภาพทางปัญญามีผลกระทบต่อสังคมได้กว้างและชัดเจนขึ้น 11.4 มาตรการ เพื่อ การเปลี่ยนแปลงของสุขภาพทางปัญญา ในระย ะ 5 ปี 11. 4 .1 เสริมพลังคนทํางานสุขภาพทางปัญญาให้เข็มแข็ง 1) เชื่อมโยงและพัฒนาเครือข่ายคนทํางานเพื่อพัฒนาสุขภาพทางปัญญาทั้งเชิงพื้นที่และ เชิงประเด็น สร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนและจัดการความรู้ ดูแลความสัมพันธ์ เสริมพลังชีวิต และเพิ่มประสิทธิภาพ การทํางานร่วมกันทั้งเชิงนโยบายและปฏิบัติการ เพื่อให้ประเด็นงานสุขภาพทางปัญญามีผ ลกระทบต่อสังคม ได้กว้างและชัดเจนขึ้น 2) จัดกระบวนการเรียนรู้สําหรับคนทํางานในระบบการศึกษาและระบบสุขภาพ โดยเฉพาะ คนทํางานด่านหน้าและอาสาสมัครในโรงเรียน และระบบสุขภาพชุมชน ตําบล อําเภอ ให้ตระหนักถึง ความสําคัญ มีทักษะ และเครื่ องมือในการพัฒนาสุขภาพทางปัญญาทั้ งของตนเอ งและกลุ่ มเป้าหมาย เพื่อ สร้างเสริมระบบสุขภาพที่มีคํานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ทั้งของบุคลากรและผู้รับบริการทั้งหมด
หน้า 98 / 1 05 11. 4 .2 ศึกษาวิจัย จัดการความรู้ และสร้างพื้นที่เรียนรู้ที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ง่าย 1) ค้นหาและให้คุณค่ากับแหล่งความรู้ สถานที่ บุคคล และภูมิปัญญา ทั้งที่เกี่ยวและ ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา ที่สามารถเชื่อมโยงมนุษย์เข้ากับความจริง คุณค่า และความหมายในตนเอง ผู้อื่น ธรรมชาติ และสิ่งยึดเหนี่ยวที่ศรัทธา 2) ศึกษารวบรวมและจัดระบบองค์ความรู้ กระบวนการ และเครื่องมือเกี่ยวกับการจัดการ ความขัดแย้งแบบต่าง ๆ ทั้งระดับบุคคลและเชิงโครงสร้าง โดยการเรียนรู้ร่วมกันของคนที่มีประสบการณ์ การทํางานด้านนี้ 3) ศึกษาวิธีการพัฒนาสุขภาพทางปัญญาของคนกลุ่มคนที่หลากหลาย ทั้งช่วงวัย ควำมเชื่อ วิถีชีวิต และทําวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสุขภาพทางปัญญาของคนกลุ่มต่าง ๆ 4) เผยแพร่ความรู้ไปยังภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคม ผ่านการจัดทําพื้นที่เรียนรู้ คู่มือ หลักสูตร กระบวนการ กิจกรรม และการสื่อสาร เพื่อเชื่อมโยงความรู้ที่เกิดขึ้นเข้ากับ ประสบการณ์ตรงของชุมชนและ สังคมกระแสหลัก 11. 4 .3 ส่งเสริมและสนับสนุน เด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ ชุมชนทางเลือกต่างๆ และชุมชน ในโลกค ู ่ ขนานออนไลน์ ให้เข้าร่วมขบวนการพัฒนาสุขภาพทางปัญญาและสุขภาพองค์รวม เพื่อเป็น หุ้นส่วนสําคัญในการสร้างสังคมที่มีสุขภาวะ มีคุณค่าและความหมายสําหรับคนรุ่นต่อไป 11. 4 .4 ส่งเสริมการทํางานอาสาสมัครให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง 1) เชื่ อมโยงองค์กรธุรกิจและคนชั้ นกลางของสังคมให้ช่วยเหลือกลุ่ มคนและชุมชน ที่อยู่ในสภาวะ เปราะบางที่เผชิญทุกขภาวะ เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้และปฏิบัติการร่วมกันระหว่างคนสองกลุ่ม เพิ่มพลังความเห็นอกเห็นใจและไว้วางใจทางสังคม นําสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและจิตใจทั้งของปั จเจกบุคคล และแก้ไขปัญหาสุขภาวะและความไม่เป็นธรรมของสังคมไปพร้อมกัน 2) สร้างกลุ่ มอาสาสมัครเพื่ อจัดกระบวนการเรียนรู้ ในการพัฒนาสุขภาพทางปัญญา ให้คนกลุ่มคนต่าง ๆ 11.4.5 ประสานพลังทางนโยบายและปฏิบัติการกับภาครัฐ 1) เชื่อมโยงและสอดประสานการทํางานสุขภาพทางปัญญาเข้ากับนโยบายรัฐ ผ่านเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน ( SDGs ) ขององค์การสหประชาชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ในยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งยุทธศาสตร์และตัวชี้วัดเชิงนโยบายระดับชาติต่าง ๆ ในการ พัฒนาคนตามช่วงวัย 2) จัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพทางปัญญาสําหรับบุคลากรภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับ การใช้อํานาจ เช่น ทหาร ตํารวจ
หน้า 99 / 1 05 11.4.6 ปฏิบัติการสื่อสารที่สร้างสรรค์ด้วยรูปแบบและแพลตฟอร์มที่หลา กหลาย เพื่อสร้าง บรรยากาศ จินตนาการ และเป้าหมายร่วมของสังคม ให้ตระหนักถึงความสําคัญของสุขภาพทางปัญญาในฐานะ แนวทางการพัฒนาชีวิตและสังคมที่มีคุณค่าและความหมาย สร้างความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ ของบุคคล ในการเชื่อมโยงกับความจริง คุณค่า และความหมายในตนเอง ผู้ อื่น ธรรมชาติ และสิ่งที่ยึดเหนี่ยว ศรัทธา รวมทั้งสื่อสารเพื่อสร้างพลังชีวิตด้านบวกในสังคมอย่างต่อเนื่อง 11.4.7 สร้างพื้นที่ปฏิบัติการต้นแบบเพื่อพัฒนาสุขภาพทางปัญญาในฐานะแหล่งเรียนรู้ร่วมกัน ของสังคม 1) พื้นที่ต้นแบบทั้งในองค์กรและพื้นที่สาธารณะ ที่ออกแบบสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ บรรยากาศ และแนวทางการใช้พื้นที่ ที่สร้างโอกาสให้เกิดสติ สมาธิ และการเชื่อมโยงกันระหว่างคนกับค น และคนกับธรรมชาติได้ในชีวิตประจําวัน ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ใหญ่ การอนุรักษ์ฟื้นฟูธรรมชาติ โดยเฉพาะ ในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ และการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสําคัญ ของความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และมนุษย์กับธรรมชาติ 2) พื้นที่ต้นแบบ การคลี่คลายประเด็นความแตกแยกและขัดแย้งที่ส่งผลกระทบสําคัญต่อ การมีสุขภาพที่ดี ทั้งจากวิกฤตจากธรรมชาติและวิกฤตที่มนุษย์ทําขึ้น โดยสร้างพื้นที่ต้นแบ บของการรับฟัง แ ลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบายของคนกลุ่มต่างๆอย่างเป็นธรรม เพื่อให้ ผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ สามารถเข้าถึงความจริง คุณค่า และความหมายที่มีร่วมกัน และเป็นตัวอย่าง ของปฏิบัติการทางสังคมแบบใหม่ในการคลี่คลายความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ 11.5 แนวทางกา รวัดผลสําเร็จของสุขภาพทางปัญญา ใน ระยะ 5 ปี แนวทางการวัดผลสําเร็จระยะ 1 - 3 ปี 1) การปรากฏตัวที่ชัดเจนและการขยายตัวของกลุ่มและเครือข่ายคนทํางานพัฒนาสุขภาพทางปัญญา ที่ทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ ยั่งยืน และมีทิศทางการทํางานร่วมกันเพื่อสนับสนุนการเคลื่อนตัวไปข้างหน้า ของสังคมสุขภาวะที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง 2) การขยายตัวของบุคลากรในระบบการศึกษาแล ะระบบสุขภาพ โดยเฉพาะคนทํางานด่านหน้าและ อาสาสมัครในโรงเรียน และในระบบสุขภาพชุมชน ตําบล และอําเภอ ที่เข้าใจและสามารถนําทักษะด้านการ พัฒนาสุขภาพทางปัญญามาใช้ในการทํางาน และเกิดผลในทางบวกต่อชีวิตและสุขภาพ ทั้งสําหรับตนเอง ความสัมพันธ์ การทํางาน และผู้รับบริการ 3) การขยายตัวของการทํางานอาสาสมัครที่ทํางานกับกลุ่มคนและชุมชนเปราะบางที่เผชิญทุกขภาวะ และอาสาสมัครจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพทางปัญญา
หน้า 100 / 1 05 4) การขยายตัวของเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ ชุมชนทางเลือก และชุมชนในโลกคู่ขนานออนไลน์ ที่เข้าร่วมในกระบวนการพัฒนาสุขภาพ ทางปัญญาและสุขภาพองค์รวม 5) การขยายตัวของคนทํางานสื่อสาร ชิ้นงานสื่อ และการเข้าถึงสื่อ ที่ช่วยสร้างบรรยากาศ จินตนาการ และเป้าหมายร่วมของสังคม ในการเชื่อมโยงกับความจริง คุณค่า และความหมายในตนเอง ผู้อื่น ธรรมชาติ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แนวทางการวัดผลสําเร็จระยะ 5 ปี 6 ) การเกิ ดกลุ ่ มคน หรื อองค์ กรที ่ ชั ดเจนและยั ่ งยื นในการทํางานทางสุ ขภาวะทางปั ญญา เพื่อ เ ปลี่ยนแปลงสังคมในภาวะวิกฤติ เยียวยาการผุกร่อนทางจิตวิญญาณของบุคคลและกลุ่มคน ลดความ เกลียดชัง และเพิ่มความเชื่อมั่นและไว้วางใจทางสังคม 7 ) การขยายตัวของแหล่งความรู้รูปแบบต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาพองค์รวม ( holistic health literacy) และสุขภาพทางปัญญา ( spiritual health literacy) ทั้ งที่ เกี่ ยวและไม่เกี่ ยวกับศาสนา ที่ คนทั่วไปและกลุ่มคนที่หลากหลายเข้าถึงได้สะดวกอย่างเป็นสาธารณะ 8 ) การขยายตัวของ พื้นที่ต้นแบบการพัฒนาสุขภาพทางปัญญา ทั้งพื้นที่กายภาพ พื้นที่การเรียนรู้ และ พื้นที่ปฏิบัติการทางสังคมในการคลี่คลายความขัดแย้ งอย่างสร้างสรรค์ ที่สามารถสร้างผลลัพธ์ด้านบวก อย่างชัดเจนต่อการพัฒนาสุขภาพทั้ง 4 มิติ และสามารถเป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจให้ภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมนําไปขยายผลได้ 9 ) ผลการศึกษาอย่างเป็นระบบจากองค์ความรู้และตัวอย่างปฏิบัติการทั้งที่เป็นสากลและในประเทศ ที่แสดงถึงผลกระทบด้านบวกของการพัฒนาสุขภาพทางปัญญากับการพัฒนาสุขภาพทั้ง 4 มิติ และการเพิ่ม พลังความเห็นอกเห็นใจและไว้วางใจทางสังคม 10 ) การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบที่เกิดจากการเชื่อมโยงการพัฒนาสุขภาพทางปัญญาเข้ากับโยบาย นอกจากนี้ ยังควรวางแนวทางการวัดผลสําเร็จระยะ 15 - 20 ปีไว้ที่การเปลี่ยนแปลงชุดความคิด ความเชื่อเชิงอํานาจที่ฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทย การเกิดจินตนาการร่วมของกลุ่มคนต่าง ๆ ที่ตระหนักถึง ความสําคัญของการพัฒนาสุขภาพทางปัญญาในการพัฒนาชีวิตและสังคม การเกิดปฏิบัติการที่หลากหลายด้าน ของ สุขภาวะทางปัญญาอย่างเป็นธรรมชาติ และความสามารถของสังคมไทยในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและ พัฒนาต่อไปข้างหน้าอย่างสร้า งสรรค์ท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายทางสังคม
หน้า 101 / 1 05 นิยามศัพท์ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทางปัญญา 1 ) สุขภาพทางปัญญา ( Spiritual Health ) หมาย ความว่า คุณภาพใหม่ของจิตใจที่เกิดจาก การเข้าถึงความจริง คุณค่า และความหมายอย่างรอบด้าน ทั้งของตนเอง ผู้อื่น ธรรมชาติ และสิ่งที่ยึดเหนี่ยว ศรัทธา ซึ่งเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับศาสนาก็ได้ โดยผ่านช่องทางทั้งทางวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และปัญญาญาณ การมีสุขภาพทางปัญญาที่ดี ทําให้เกิดคุณภาพของจิตใจที่สงบ สันติ มีอิสระ เปิดกว้าง มีความรัก ความเมตตา กรุณา เสียสละ ให้อภัย อดทนอดกลั้ นได้ต่อความแตกต่าง และสมานฉันท์ ส่งผลให้บุคคลพัฒนาตน ไปในทิศทางของการละวางการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง เข้าใจ และเข้าถึงคุณค่าและความหมายของสิ่งต่าง ๆ และดําเนินชีวิตอย่างเชื่อมโยงเป็นมิ ตรกับตนเอง ผู้ อื่ น ธรรมชาติ และสิ่ งที่ ยึดเหนี่ ยวศรัทธา รวมทั้ง ขยายขอบเขตจิตสํานึกและมุมมองต่อโลกและชีวิตได้กว้างและลึกยิ่งขึ้นตามลําดับ 2 ) แนวทางการพัฒนาสุขภาพทางปัญญา หมาย ความว่า สถานการณ์ วิธีการ และปัจจัยเกื้อหนุน ให้สุขภาพทางปัญญาเจริญงอกงาม บุคคลมีศักยภาพของการมีสุขภาพทางปัญญาที่ ดีในตนเองอยู่ แล้ว การพัฒนาศักยภาพนี้ ให้เจริญงอกงามทําได้หลายวิธี โดย ( 1 ) จงใจให้เกิดขึ้นผ่านการเรียนรู้ต่างๆที่เชื่อมโยงกับสภาวะของสติและ สมาธิ โดยเป็นการปฏิบัติในศาสนาหรือไม่ก็ได้ หรือ ( 2 ) เกิดขึ้นเองในสถานการณ์ต่าง ๆ ของชีวิต ทั้งจาก ประสบการณ์บางอย่างที่ทําให้ได้สัมผัสกับความจริง คุณค่า และความหมายใหม่ที่ลึกซึ้งและไปพ้นตัวตน ของตัวเอง หรือเกิดในสถานการณ์วิกฤตของชีวิต ที่จําเป็นต้องใช้การเข้าใจความจริง คุณค่า และความหมาย แบบใหม่มาทําความเข้าใจประสบการณ์นั้น เพื่อให้ชีวิตอยู่รอดและฟื้นตัวได้ ปัจจัยสําคัญในการพัฒนาสุขภาพทางปัญญาอยู่ที่การสร้างสิ่งแวดล้อม การสร้างโอกาสของ การฝึกปฏิบัติอย่างสม่ําเสมอ และการมีกัลยาณมิตรร่วมเรียนรู้ เพื่อเอื้อให้เกิด ( 1 ) การ มีสติและความรู้สึกตัว ถึงร่างกายและความรู้สึกนึกคิดของตนเอง ( 2 ) การมีสมาธิ มีความสงบและมั่นคงของร่างกายและจิตใจ และ ( 3 ) การเรียนรู้และความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับความจริง คุณค่า และความหมายของตนเอง ผู้อื่น ธรรมชาติ และสิ่งที่ยึดเหนี่ยวศรัทธา โดยสามารถทําผ่ำนกิจกรรมทางศาสนา ความเชื่อ และกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ทั้งทางวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และปัญญาญาณ เช่น การทํางานศิลปะ วรรณกรรม ดนตรี กีฬา ความสัมพันธ์ การทํางานอาสาสมัคร การอยู่กับธรรมชาติ สัตว์เลี้ยง การศึกษาเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และการเติมมิติด้านความจริง คุณค่า และความหมายเข้าไปในสถานการณ์ชีวิตช่วงต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย นอกจากนี้ การศึกษาวิจัยระดับสากลในยุคปัจจุบันยังอธิบายแนวทางและวิธีการในการส่งเสริม และพัฒนาสุขภาพทางปัญญาอย่างเป็นระบบมากขึ้ นเรื่ อย ๆ ทั้งเรื่องของภูมิปัญญาโบราณ ( a ncient w isdom ) กลุ่ มทฤษฎีบูรณการ ( i ntegral t heories ) วิทยาศาสตร์ทางสมอง ( neuroscience ) จิตสํานึก แบบควอ นตั ม ( q uantum c onsci o usness ) จิ ตวิ ทยากั บการเจริ ญสติ ( m indfulness psychology, c ompassion p sychology หรื อ c ontemplative p sychology ) การเจริ ญสติ กั บการทํางานทางสั งคม ( s ocial m indfulness ) การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ( t ransformative l earning ) และสุขภาพองค์รวม
หน้า 102 / 1 05 แนวพุทธ เป็นต้น ซึ่งสามารถศึกษาและนํามาประยุกต์ใช้ร่วมกับภูมิปัญญาพื้นถิ่นและวิถีปฏิบัติทางศาสนา ที่ยังมีอยู่มากในสังคมไทยได้เช่นกั น
หน้า 103 / 1 05 12. ระบบสุขภาพชุมชนเมือง ( Health s ystem of the u rbanizing c ommunities) 12.1 สถานการณ์ ปัญหา/ประเด็นท้าทายของระบบสุขภาพชุมชนเมือง การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนหรือการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งเป็นอุดมคติ มีการกําหนดยุทธศาสตร์ร่วม ในทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม สังคมไทยในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเมือง ( u rbanization) กระจายไปทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ มีเมืองขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นมาก ทั้งเมืองหลวงแ ละเมืองมหานครอื่น ๆ รวมถึง เมืองที่เกิดขึ้นทั้งในระดับจังหวัด อําเภอ ที่ลักษณะของความเป็นเมือง ทําให้การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ทั้งในพื้นที่เมืองและชนบทจําเป็นต้องผนวกประเด็นของสุขภาวะเขตเมือง ( u rban health) ซึ่งมีปัญหาและ ประเด็นท้าทายที่จําเป็นต้องใช้ความเข้าใจและแนวทางเฉพาะ ที่แตกต่างไปจากบริบทของชุมชนท้องถิ่น ในชนบท รวมถึงมีการเพิ่มเติมมิติอื่น ๆ ในการการพัฒนาเมือง เช่น การเป็นเมืองน่าอยู่สําหรับคนทุกกลุ่ม ที่มีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒ นาเมือง โดยยังคงรักษาอัตลักษณ์ของพื้นที่ โดยเฉพาะ ศูนย์เศรษฐกิจ แหล่งที่อยู่อาศัย พื้นที่เฉพาะ เพื่อพัฒนาและอนุรักษ์ในเขตเมือง ทั้งนี้พื้นที่ที่มีการพัฒนาไปสู่การเป็นพื้นที่เมือง ทําให้เกิดองค์ประกอบที่เป็นชุมชนย่อย ๆ อยู่ร่วมกัน จํานวนมาก มีองค์กรที่ถูกตั้ง ขึ้นเพื่อทําหน้าที่ในการจัดการ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็น องค์กรที่เป็นทางการของภาครัฐ มีบทบาทภารกิจและทรัพยากรในการจัดการพื้นที่และดูแลคุณภาพชีวิต ของประชาชน ทําให้เป็นเมืองที่น่าอยู่สําหรับทุกคน อย่างไรก็ตาม ความท้าทายหลักของการบริหารจัดการ โด ยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ การที่จะตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของประชาชนทุกกลุ่ม ในบริบทของสังคมเมืองที่ซับซ้อน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงจําเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วม ของประชาชนและทุกภาคส่วนในพื้นที่ รวมทั้งต้องมีการเชื่อมประสานกับหน่วยงานองค์กร อื่น ๆ ทั้งภายใน และภายนอกพื้นที่ นอกจากนี้ สถานการณ์การระบาดใหญ่ของโรค ติดเชื้ อไวรัสโคโรนา 2019 ยังได้ทําให้เห็น ความท้าทายดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่เมือง อันประกอบด้วยปัญหาหลักที่สําคัญ ดังนี้ 1 ) ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เพิ่มมากขึ้น ตลอดจนการเข้าไม่ถึง บริการสุขภาพและสวัสดิการสังคม โดยเฉพาะปัญหาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเปราะบาง 2 ) ระบบบริการสุขภาพที่ไม่ตอบสนองกับความต้องการที่หลากหลายและบริบทของสังคมที่ซับซ้อน ของวิถีชีวิตคนเมื อง 3 ) ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ขยะ และมลพิษ ที่เป็นผลกระทบจากการขยายพื้นที่ความเป็นเมือง 4 ) การขาดการมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่ ทั้งในระดับองค์กรภาคี ที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาสังคม และประชาชน
หน้า 104 / 1 05 12.2 เป้าหมายของระบบสุขภาพชุมชนเมือง ในระยะ 5 ปี ที่มุ่งไปสู่ “ความเป็นธรรม ตอบสนอง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ” 12.2.1 ความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคม ของประชาชนกลุ่ม ที่อยู่ในสภาวะ เปราะบาง 12.2.2 ระบบบริการสุขภาพที่ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการเฉพาะ เสริมสร้างความรอบรู้ ด้านสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน 12.2.3 การมีสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย และเอื้อต่อการดํารงชีวิต อย่างมีสุขภาวะของผู้คน ที่หลากหลาย 12.2.4 การมีนโยบายสาธารณะในการบริหารจั ดการเมือง ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 12.3 มาตรการ เพื่อ การเปลี่ยนแปลงของ ระบบสุขภาพชุมชนเมือง ในระยะ 5 ปี 12.3.1 การพัฒนารูปแบบการจัดบริการที่หลากหลาย และสามารถตอบสนองความต้องการ ของคนทุกกลุ่มอย่างจําเพาะ โดยมีกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ 12.3.2 การพั ฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื ่ อสาร ที่ สนับสนุนการจัดการสุขภาพ ของประชาชน ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน 12.3.3 การสร้ำงกลไกและพื้ นที่ เพื่ อให้ประชาชนและทุกภาคส่วนเกิดความร่วมมื อและ ความเป็นเจ้าข องในระบบสุขภาพทุกระดับอย่างกว้างขวางมากขึ้น 12.3.4 การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทุกภาคส่วนรวมทั้งภาคประชาชน ให้มีความเข้าใจและ สมรรถนะการทํางานสร้างสุขภาวะชุมชนในบริบทของความเป็นเมืองได้ 12.4 แนวทางการวัดผลสําเร็จของระบบสุขภาพชุมชนเมือง ในระยะ 5 ปี ในระยะ 1 ปี 1 ) มีเป้าหมายและกลไกร่วมจากภาคีทุกภาคส่วนเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนเมืองที่ชัดเจน 2 ) มีแผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนเมือง ในระยะ 3 ปี 3 ) ความครอบคลุมการเข้าถึงบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคมของประชาชนใน ชุมชน เมือง โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่เพิ่มมากขึ้น 4 ) ชุมชนเมืองมีกลไกและมีความสามารถในการจัดการตนเองตลอดจนมีส่วนร่วมในการกําหนด ทิศทางและบริหารจัดการเมืองร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มากขึ้น
หน้า 105 / 1 05 ในระย ะ 5 ปี 5 ) สัดส่วนเมืองที่มีโครงสร้างจากการมีส่วนร่วมโดยตรงของภาคประชาสังคมในการวางแผนและ การจัดการ ซึ่งดําเนินการเป็นประจํา และเป็นประชาธิปไตย 6 ) สัดส่วนประชาชนในพื้นที่ ชุมชน เมืองมีที่อยู่อาศัยและการบริการพื้นฐานที่พอเพียงปลอดภัย สภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร และในราคาที่สามารถจ่ายได้ 7 ) สัดส่วนจํานวนพื้นที่สาธารณะและสิ่งอํานวยความสะดวก เทคโนโลยีและ สาธารณูปโภคพื้นฐาน ที่ครอบคลุม นิ ยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง กับ ระบบสุขภาพชุมชนเมือง 1 ) ระบบสุขภาพ หมาย ความว่า ระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เกี่ยวกับสุขภาพ (พระราชบัญญัติ สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550) 2 ) ชุมชนสุขภาวะ หมายความว่า ชุมชนที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ ปรับตัวและสามารถจัดการปัญหา ได้ด้วยตนเอง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และคุ ณธรรมจริยธรรม จนบรรลุ ซึ่งความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้และมีความสุข สันติภาพหรือสุขภาวะในด้านต่าง ๆ (เอกสารหลักมติสมัชชา สุขภาพแห่งชาติ 6.3 แผนยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติ ว่าด้วยระบบสุขภาวะชุมชน) 3 ) ชุมชนเมือง หมายถึง ชุมชนทุกรูปแบบในทุกบริบทพื้ นที่ ซึ่ งมีการเปลี่ ยนแปลงของหรือ สู่ความเป็นเมือง ( u rbanization)