ข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2566
ข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2566
ข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยข้อจากัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2566 อาศัยอานาจตามความในมาตรา 22 (4) (ฒ) และด้วยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษ ตามมาตรา 26 (1) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556 คณะกรรมการ สภาการสาธารณสุขชุมชน จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อน ไข ในการประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2566” ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในข้อบังคับนี้ “ อาชีวอนามัย ( Occupational Health )” หมายความว่า การควบคุม ดูแล ภาวะสุขภาพ อนามัยของผู้ประกอบอาชีพให้มีสภาวะที่สมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจและสามารถดารงชีพอยู่ในสังคมได้ มีความปลอดภัยจากภาวะคุกคามและอันตรายต่าง ๆ อันเนื่องจากการทำงานหรือเกี่ยวเนื่องจากการทางาน ของผู้ประกอบอาชีพในกิจการหรือสถานประกอบการ ด้วยการส่งเสริมสุข ภาพ การบาบัดโรคเบื้องต้น การตรวจประเมินอาการเจ็บป่วย การช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อการส่งต่อ การฟื้นฟูสภาพ การป้องกันและ การควบคุมเหตุปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพในทุกอาชีพ การดูแลสภาพแวดล้อม ในการทำงาน การใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง กับการประกอบอาชีพ “ ความปลอดภัย ” หมายความว่า การปราศจากภัยหรืออันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นในทุกด้าน ของการประกอบอาชีพต่อผู้ประกอบอาชีพทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และสภาพแวดล้อมในการทางาน รวมถึงความปลอดภัยนอกงาน “ สภาพแวดล้อมในการทางาน ” หมายความว่า สภาพแวดล้อมของการทางานทั้งทางด้านกายภาพ ชีวภาพ เคมี จิตวิทยาสังคม และการยศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน “ การยศาสตร์ ” หมายความว่า การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทางาน สภาพงาน ให้เหมาะสมกับผู้ประกอบอาชีพ ซึ่งเป็นการปรับปรุงสภาพการทางานอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกัน ควบคุมและลดอันตรายที่เกิดขึ้นจากการทำงาน “ สิ่งคุกคาม ” หมายความว่า เหตุปัจจัยต่าง ๆ จากธรรมชาติ และจากการทำงาน ที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย จิตใจ ที่มีต่อผลกระทบต่อสุขภาพ และสภาพแวดล้อมในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพ ้ หนา 38 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 83 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566
“ การเฝ้าระวังทางอาชีวอนามัย ” หมายความว่า ระบบการดาเนินงานในการจัดเก็บ วิเคราะห์ และแปรผลข้อมูลทางสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้ในการวางแผน การดำเนินการ ประเมินผล กิจกรรมการทางานด้านอาชีวอนามัยและนำผลที่ได้ ไปเผยแพร่กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น การตรวจสุขภาพ ของผู้ประกอบอาชีพ การประเมินความเสี่ยงจากการทางาน การเฝ้าระวังสิ่งคุกคาม การเฝ้าระวังความเสี่ยง และปัจจัยเสี่ยงในการทำงาน “ ผู้ประกอบอาชีพ ” หมายความว่า คนทางาน หรือบุคคลที่ประกอบกิจกรรมเพื่อเลี้ยงชีพ ทุกสาขาอาชีพ ข้อ 4 ผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน จะต้องดำเนินงานด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยในชุมชน ดังต่อไปนี้ (1) ตรวจสอบ ประเมิน และเฝ้าระวังด้านอา ชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อม ในการทำงานโดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการตรวจสอบและวิเคราะห์ (2) วิเคราะห์ ประเมินความเสี่ยงสุขภาพและอันตรายจากการประกอบอาชีพ รวมทั้งการแก้ไข ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของผู้ประก อบอาชีพ และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (3) วางแผน การป้องกันและการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพตามปัจจัยเสี่ยง หรือจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ( 4 ) วางแผน ป้องกัน ควบคุม และกำกับในการจัดการภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นจากการประกอบอาชีพ ( 5 ) บริหารจัดการความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประกอบด้วย การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง การควบคุมและการลดความเสี่ยง ( 6 ) จัดทำกิจกรรมด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ( 7 ) ให้คาแนะนำ คำปรึกษาด้าน อาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ( 8 ) เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อ 5 ผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ให้กระทาการตรวจสอบและเสนอความเห็น ต่อหน่วยงานหรือสถานประกอบการหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการควบคุม ป้องกัน กากับและเฝ้าระวัง ด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทางาน เพื่อดาเนินการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดโรคจากการประกอบอาชีพและการเจ็บป่วยต่อผู้ประกอบอาชีพและผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ประเมินปัจจัยที่ทาให้เกิดโรคและการเจ็บป่วยหรือความเสี่ยงที่มีผลกระ ทบต่อสุขภาพ และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ( 2 ) ตรวจสอบสาเหตุที่ทาให้เกิดปัญหาด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อม ในการทำงานที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ( 3 ) เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดโรคและการเจ็บป่วยต่อผู้ประกอบอาชีพ ผู้ที่เกี่ยวข้อง และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ( 4 ) เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ้ หนา 39 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 83 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566
ข้อ 6 เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนได้เสนอหน่วยงานหรือสถานประกอบการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อดาเนินการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่อาจทาให้เกิดโรคจากการประกอบอาชีพและ การเจ็บป่วยตามข้อ 5 แล้ว ให้ผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนกระทาการด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทางานอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและควบคุมมิให้เกิดโรค และการเจ็บป่วยจากการประกอบอาชีพและปัญหาจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทางาน ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ( 2 ) วิเคราะห์ความเสี่ยงจากสาเหตุที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเพื่อลดความเสื่อมหรืออันตราย ต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ( 3 ) การกำหนดแนวทางกา รฟื้นฟูสภาพแวดล้อมด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ( 4 ) วางแผน ป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ( 5 ) กำกับ ติดตามการดาเนินงานตาม (4) อย่างต่อเนื่อง ( 6 ) ระงับเหตุ ปัจจัยที่ทาให้เกิดปัญหาจากการประกอบอาชีพและสภาพแวดล้อมในการทางาน ที่เป็นภาวะคุกคามการทำงานของผู้ประกอบอาชีพ ( 7 ) แก้ปัญหาปัจจัยและสิ่งคุกคามทางด้านกายภาพ เช่น อุณหภูมิที่ผิดปกติ เสียง แสงสว่าง ความดันที่ผิดปกติ การสั่นสะเทือน การระบายอากาศ และสภาพที่ทาให้เกิดอันตราย เป็นต้น ( 8 ) แก้ปัญหาปัจจัยและสิ่งคุกคามทางด้านเคมี เช่น ก๊าซ ฟูม ไอระเหย ควัน ฝุ่นละออง เส้นใย ตัวทำละลาย เป็นต้น ( 9 ) แก้ปัญหาปัจจัยและสิ่งคุกคามทางด้านชีวภาพ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อโรคอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพ เป็นต้น ( 10 ) แก้ปัญหาปัจจัยและสิ่งคุกคามทางด้านจิตวิทยาสังคม สภาพแวดล้อมในการทางาน ที่ก่อให้เกิดภาวะเครียดต่อจิตใจ อารมณ์ของผู้ประกอบอาชีพที่ได้รับการบีบคั้นมีผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ทางด้านร่ำงกาย ( 11 ) แก้ปัญหาปัจจัยและสิ่งคุกคามที่เกี่ยวข้องกับการยศาสตร์ ( 12 ) เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อ 7 ในกรณีที่พบว่า มีสถานการณ์หรือเหตุการณ์ด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและ สภาพแวดล้อมในการทางาน ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพกับการดารงชีวิตของประชาชนอย่างร้ายแรง สมควรได้รับการแก้ไขหรือระงับเหตุโดยเร่งด่วน ให้ผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน กระทาการตรวจสอบ เสนอแนะและให้ความเห็นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดาเนินการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ้ หนา 40 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 83 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566
( 1 ) ปัญหาสิ่งคุกคามด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในกา รทางาน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพ ( 2 ) ปัญหาด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทางาน ที่ต้องได้รับ การแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ( 3 ) ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาวะฉุกเฉินที่กระทบต่อผู้ประกอบอาชีพและสภาพแวดล้ อม ในการทำงาน เช่น อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ดินถล่ม แผ่นดินไหว โรคระบาด เป็นต้น ( 4 ) เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อได้รับการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้มีการฟื้นฟูสภาพของผู้ประกอบอาชีพ และสภาพแวดล้อมในการทำงานด้วย ข้อ 8 การกระทำด้านอาชีวอนามัยตามข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 ต้องผ่านการอบรม ตามหลักสูตรที่สภาการสาธารณสุขชุมชนประกาศกำหนดและต้องได้รับหนังสือรับรองจากสภาการสาธารณสุขชุมชน ข้อ 9 การให้บริการด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทางาน เพื่อดูแลสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ สภาการสาธารณสุขชุมชนประกาศกาหนด ประกาศ ณ วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 256 6 ไพศาล บางชวด นายกสภาการสาธารณสุขชุมชน ้ หนา 41 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 83 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566