ประกาศสำนักงานกิจการยุติธรรม เรื่อง แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569)
ประกาศสำนักงานกิจการยุติธรรม เรื่อง แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569)
ประกาศสำนักงานกิจการยุติธรรม เรื่อง แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) ด้วยพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2549 มาตรา 10 มาตรา 16 และมาตรา 20 กาหนดให้คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ จัดทาแผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ เพื่อเป็นแนวทางสาหรับความร่วมมือในการบริหารงานยุติธรรม ระหว่างหน่วยงานของรัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานยุติธรรม และเสนอต่อค ณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบและเมื่อคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อมีผลบังคับใช้ต่อไป บัดนี้ คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำแผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) ซึ่งคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 เห็นชอบแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) ตามที่แนบท้ายนี้แล้ว จึงประกาศให้มีผลบังคับใช้ต่อไป ประกาศ ณ วันที่ 1 7 มีนาคม พ.ศ. 25 6 6 พันตารวจโท พงษ์ธร ธัญญสิริ ผู้อำนวยการสานักงานกิจการยุติธรรม ้ หนา 22 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 83 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566
แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช.) โดย สํานักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
ก บทสรุปผู้บริหาร พระราชบัญญัติการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2549 มาตรา 18 กําหนดให้คณะกรรมการ พัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติจัดทําแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบ แนวทางการประสานความร่วมมือในการบริหารงานยุติธรรมระหว่างหน่วยงานของรัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้อง กับการบริหารงานยุติธรรม ซึ่งจะทําให้การอํานวยความยุติธรรมแก่ประชาชนเป็นไปอย่างเหมาะสมและ สอดคล้องกับความต้องการของสังคมอย่างแท้จริง ใต้กรอบระยะเวลาของแผน 4 ปี ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรม โดยสํานักงานกิจการยุติธรรม ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ จึงได้จัดทําแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ เพื่อรองรับตามพระราชบัญญัติการบริหารงานยุติธรรม แห่งชาติ พ.ศ. 2549 มาแล้ว 3 ฉบับ ได้แก่ แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2552 - 2555) แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2558 - 2561) และแผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 - 2565) ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง และเป็นไปตามพระราชบัญญัติการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2549 จึงได้มีการจัดทําแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) โดยเป็นแผนระดับ 3 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยอยู่ภายใต้เป้าหมาย และกรอบการดําเนินงาน ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ซึ่งเป็นแผนระดับ 1 และ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็น แผนระดับ 2 โดยกระบวนการจัดทําแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) นี้ เริ่มจากการทบทวนแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) การทบทวนกฎหมายแผนและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์สถานการณ์และ แนวทางการพัฒนา และการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนําข้อมูลและความคิดเห็นมาสรุปและสังเคราะห์ประเด็นท้าทายในการบริหารงานยุติธรรมที่สอดคล้องกับ สถานการณ์และบริบทแวดล้อมในการบริหารงานยุติธรรม กําหนดเป้าหมายและแนวทางการดําเนินงาน ในแต่ละมิติที่เหมาะสม จากการทบทวนผลการดําเนินงานแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) พบว่า เนื่องจากในช่วงระยะเวลาในการจัดทําแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรม แห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2569) ปรากฏผลการดําเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เป็นหลัก ส่งผลให้การติดตามผลการดําเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) จึงอยู่บนฐานของข้อมูลการดําเนินงานของแต่ละหน่วยงาน โดยภาพรวมของการติดตามผลการ ดําเนินโครงการตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) พบว่า การพิจารณาและการดําเนินงานหรือโครงการของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม โดยยึดตาม ขอบเขตของบทบาทและภารกิจของหน่วยงานเป็นหลักและเป็นโครงการที่เน้นความรับผิดชอบเฉพาะ หน่วยงาน ในขณะที่โครงการในลักษณะของการบูรณาการหรือการดําเนินงานร่วมระหว่างหน่วยงานไม่เกิดขึ้น อย่างชัดเจน และผลลัพธ์ของการขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) มักเป็นไปตามผลลัพธ์รวมจากการดําเนินโครงการของแต่ละหน่วยงานเป็นสําคัญ ซึ่งมุ่งดําเนินงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและความสําเร็จตามขอบเขตภารกิจของหน่วยงานตนเองเป็นหลัก มากกว่าการกําหนด แนวทางการดําเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดการดําเนินงานที่สอดประสานและสมดุลกัน ตามแนวทางการพัฒนาที่กําหนดไว้ในแต่ละยุทธศาสตร์ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปสู่การเกิดผลลัพธ์ที่กําหนดไว้
ข ในแผนแม่บทได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากการดําเนินงานและสถานการณ์ตัวชี้วัดตามแผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 - 2565) ข้างต้นอาจกล่าวได้ว่า ประเด็นท้าทายที่สําคัญ สําหรับการบริหารงานยุติธรรมของไทยในอนาคต คือประเด็นด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและ กระบวนการยุติธรรมของประชาชนที่เป็นปัจจัยที่สําคัญในการสนับสนุนให้เกิดการเข้าถึงความยุติธรรม อย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม รวมทั้ง ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ของประเทศ ตลอดจนประเด็นเกี่ยวกับการนํามาตรการยุทธศาสตร์เชิงสมานฉันท์มาใช้ในการระงับข้อพิพาท และข้อพิพาทในสังคม การกลับคืนสู่สังคมของผู้กระทําผิดให้สามารถดําเนินชีวิตได้ตามปกติในสังคม และ การป้องกันการกระทําผิดซ้ํา รวมทั้งประเด็นเกี่ยวกับการเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกันระหว่าง หน่วยงานในการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรม ซึ่งข้อมูลที่บ่งชี้ถึงประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ อาจยังไม่อยู่ใน ระดับที่น่าพอใจและบรรลุความสําเร็จตามค่าเป้าหมายของแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 - 2565) จึงเป็นประเด็นที่ท้าทายสําหรับการจัดทํา (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรม แห่งชาติฉบับต่อไป การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาของกระบวนการยุติธรรม (Pain Point) จากผลการติดตาม การดําเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) สถานการณ์ ความเชื่อมั่นของประชาชนและปัจจัยที่อาจส่งผลต่อกระบวนการยุติธรรม และผลการสํารวจข้อมูลและ ความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการยุติธรรม เพื่อนําข้อมูลจากผลการศึกษาดังกล่าวมาวิเคราะห์ สภาพการณ์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดําเนินงานของกระบวนการยุติธรรมไทยที่ผ่านมา และนํามาสรุปประเด็น ปัญหาที่สําคัญและเป็นความท้าทายสําหรับการบริหารงานยุติธรรมของไทยในอนาคต จํานวน 8 ประเด็น ปัญหา ได้แก่ ประเด็นปัญหาด้านการอํานวยความยุติธรรมตามสิทธิของประชาชน ประเด็นปัญหาด้านกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมาย ประเด็นปัญหาด้านการบริหารและระบบการทํางาน ประเด็นปัญหาด้านบุคลากร ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ประเด็นปัญหาด้านการปฏิบัติต่อผู้กระทําผิด ประเด็นปัญหาด้านการ ส่งเสริมแนวทางยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และมาตรการทางเลือก ประเด็นปัญหาด้านการส่งเสริม การมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม และประเด็นปัญหาด้านข้อมูลและเทคโนโลยี นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์กรอบการดําเนินงานด้านกระบวนการยุติธรรมตามยุทธศาสตร์ และแผนกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องและแนวทางการพัฒนากระบวนการยุติธรรมในบริบทต่างประเทศ รวมทั้ง ผลการสํารวจข้อมูลและความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการยุติธรรม เพื่อนําข้อมูลจาก ผลการศึกษาดังกล่าวมาเป็นกรอบในการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาการบริหารกระบวนการยุติธรรมของไทย ในอนาคตตามกรอบการดําเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและมาตรฐานสากล ควบคู่ไปกับ ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเหมาะสม บนพื้นฐานของการพิจารณาผลการวิเคราะห์ประเด็น ปัญหาของกระบวนการยุติธรรม (Pain Point) ข้างต้น สามารถสรุปประเด็นท้าทายสําหรับการพัฒนา กระบวนการยุติธรรมที่สําคัญ จํานวน 9 ประเด็น ได้แก่ การยึดหลักนิติธรรมเพื่ออํานวยความยุติธรรมตาม สิทธิของประชาชน การปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย การบริหารและระบบการทํางานที่มีประสิทธิภาพตาม หลักธรรมาภิบาล การพัฒนาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขอาชญากรรมรูปแบบใหม่ การปฏิบัติต่อผู้กระทํา ผิดบนหลักการเคารพสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมแนวทางยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และมาตรการทางเลือก การส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม การส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศ และการจัดการ ข้อมูลและการนําเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการยุติธรรม
ค กล่าวโดยสรุป การจัดทําแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) มีเจตนารมณ์ที่สําคัญ คือ การขับเคลื่อนเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ แผน ปฏิรูปประเทศ รวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ที่เกี่ยวข้องกับกรอบการบริหารงาน ยุติธรรม ในภาพรวม (Agenda Based) เพื่อให้เกิดการอํานวยความยุติธรรมตามสิทธิของประชาชน อย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม ทั้งนี้ สาระสําคัญของแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) สามารถสรุปได้ดังนี้ วิสัยทัศน์ “สร้างความร่วมมือในการบริหารงานเพื่อการอํานวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม โดยยึดหลักนิติธรรม” พันธกิจ 1. มุ่งสร้างความเป็นธรรมตามกฎหมายให้แก่ประชาชน 2. พัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล 3. ประสานความร่วมมือในการบริหารงานยุติธรรมให้มีความสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป้าหมายภาพรวม เป้าหมายที่ 1 ประชาชนได้รับความเป็นธรรมอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เป้าหมายที่ 2 การบริหารงานยุติธรรมมีความสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน ตัวชี้วัดภาพรวม ตัวชี้วัดที่ 1 ระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม เป็นการประเมินความคิดเห็นของประชาชนเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความไว้วางใจที่ประชาชนมีต่อ กระบวนการยุติธรรม ว่าจะเป็นไปด้วยความถูกต้อง เที่ยงตรง และโปร่งใส ตลอดจนสามารถสร้างความเป็น ธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ตัวชี้วัดที่ 2 ระดับความสําเร็จของความสอดคล้องในเป้าหมายและการดําเนินงานของ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม เป็นการประเมินรายละเอียดของแผนปฏิบัติราชการ แผนงาน โครงการ รวมทั้งการดําเนินงาน ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม เพื่อสะท้อนถึงความสอดคล้องของเป้าหมายและแนวทางการ ดําเนินงานในทิศทางเดียวกัน แนวทางการบริหารงานภายใต้ (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2569) อยู่ภายใต้กรอบแนวคิดการบริหารงานยุติธรรมการอํานวยความยุติธรรมอย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม ประกอบด้วย 3 มิติหลัก ได้แก่
ง มิติที่ 1 การสร้างความเป็นธรรมตามกฎหมาย เป้าหมายที่ 1 การมีกฎหมายดี (จําเป็น ทันสมัย สอดคล้องกับบริบทของสังคม) แนวทางการดําเนินงาน 1) ผลักดันให้มีการทบทวนความจําเป็นและความเหมาะสมของกฎหมายที่มีผลบังคับใช้แล้ว 2) ส่งเสริมให้มีการปรับปรุง แก้ไข และออกกฎหมายเท่าที่จําเป็น รวมทั้งยกเลิกหรือ ปรับปรุงกฎหมายที่สร้างภาระ หรือก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ําและไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน 3) พิจารณาความเหมาะสมและผลกระทบจากบทลงโทษที่เหมาะสมสอดคล้องกับประเด็น ปัญหา เป้าหมายที่ 2 การบังคับใช้กฎหมายตามเจตนารมณ์ แนวทางการดําเนินงาน 1) ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพและความเสมอภาคในการบังคับใช้กฎหมาย 2) รักษาสมดุลระหว่างการบังคับใช้กฎหมายและประโยชน์สาธารณะหรือความต้องการของ ประชาชน 3) สนับสนุนให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายนําเทคโนโลยีมาใช้ในการดําเนินการในการบังคับ ใช้กฎหมาย เป้าหมายที่ 3 การสร้างวัฒนธรรมเคารพกฎหมาย แนวทางการดําเนินงาน 1) สร้างความรู้และการตระหนักถึงความสําคัญของสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย และ กระบวนการยุติธรรมให้แก่ประชาชนทุกระดับอย่างเหมาะสมและทั่วถึง 2) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทําและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และ การดําเนินงานในกระบวนการยุติธรรม 3) ส่งเสริมให้มีการเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมายโดยง่าย สะดวก และเอื้อต่อการใช้บริการ ประชาชนของประชาชนทุกกลุ่ม 4) ส่งเสริมค่านิยมในการยอมรับเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายแก่ประชาชน ชุมชน และสังคม มิติที่ 2 การพัฒนากระบวนการยุติธรรมตามมาตรฐานสากล เป้าหมายที่ 1 การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม (Inclusive justice) แนวทางการดําเนินงาน 1) ผลักดันให้มีกลไกหรือช่องทางในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่หลากหลายเพื่อเป็น หลักประกันความสามารถในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม 2) ส่งเสริมการนํามิติการพัฒนาหรือกลไกทางสังคมมาใช้ในการป้องกันอาชญากรรม ตาม ความจําเป็นและเหมาะสมกับคนทุกกลุ่ม 3) พัฒนาแนวทางการดําเนินงานเพื่อรับมือกับอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและ อาชญากรรมรูปแบบใหม่ โดยเน้นการจัดการกับสาเหตุที่เป็นรากเหง้า (Root Cause) ของการก่ออาชญากรรม
จ เป้าหมายที่ 2 การใช้มาตรการที่หลากหลายในการยุติข้อพิพาท แนวทางการดําเนินงาน 1) ผลักดันให้มีการกําหนดรูปแบบการลงโทษที่เหมาะสมกับความผิดและบริบทต่าง ๆ 2) สนับสนุนให้มีการนํามาตรการเชิงสมานฉันท์หรือมาตรการทางสังคมแทนการลงโทษทาง อาญามาใช้ในการดําเนินงานจริงของแต่ละหน่วยงาน 3) พัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาทในชุมชนให้มีความชัดเจน และสามารถ ดําเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม เป้าหมายที่ 3 การปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดบนหลักสิทธิมนุษยชน แนวทางการดําเนินงาน 1) ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติต่อผู้กระผิดบนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชน 2) ผลักดันให้มีการกําหนดแนวทางการลงโทษต่อผู้กระทําผิดที่เหมาะสม 3) ส่งเสริมแนวทางการแก้ไขพัฒนาผู้กระทําผิดที่มุ่งเน้นการสร้างโอกาสให้ผู้กระทําผิด สามารถดําเนินชีวิตในสังคมปกติได้จริงหลังการปล่อยตัว 4) สนับสนุนให้ภาคส่วนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในฐานะกลไกในการดูแลช่วยเหลือ ผู้กระทําผิดที่กลับสู่สังคม 5) พัฒนาแนวทางการชดเชยเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากกระบวนการยุติธรรม มิติที่ 3 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารงานยุติธรรม เป้าหมายที่ 1 การยกระดับกลไกการทํางานเชิงเครือข่าย แนวทางการดําเนินงาน 1) สร้างกลไกการทํางานในรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือ (Collaborative Network) ระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นรูปธรรม 2) พัฒนากลไกการทํางานของภาครัฐเชิงบูรณาการและเป็นเอกภาพ 3) ส่งเสริมการทํางานเชิงเครือข่ายกับทุกภาคส่วนทางสังคม 4) แสวงหาแนวทางและความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันและแก้ไขอาชญากรรม ทุกรูปแบบ เป้าหมายที่ 2 การบริหารงานยุติธรรมตามหลักธรรมาภิบาล แนวทางการดําเนินงาน 1) ปฏิรูปหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมให้เป็นองค์การที่ยึดหลักธรรมาภิบาลและ ดําเนินงานบนพื้นฐานของหลักนิติธรรม 2) ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทํางานให้มุ่งเน้นความสําเร็จในการอํานวยความยุติธรรม โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-centric) 3) พัฒนาระบบการทํางานและบริการประชาชนที่เป็นมาตรฐานสากล 4) พัฒนากลไกการป้องกัน ตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาการทุจริตและการใช้อํานาจในทาง มิชอบของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม 5) กําหนดแนวทางเพื่อติดตามและประเมินผลความสําเร็จของการดําเนินงานในกระบวนการ ยุติธรรมที่ชัดเจน 6) ให้ความสําคัญกับงานวิชาการและสนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างการพัฒนากระบวนการ ด้วยข้อมูลและองค์ความรู้ในการพัฒนากระบวนการยุติธรรม
ฉ เป้าหมายที่ 3 การเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเทคโนโลยี แนวทางการดําเนินงาน 1) สนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลและการทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานอย่างเป็นระบบ 2) ผลักดันให้มีการเปิดเผยข้อมูลการทํางานและเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล รวมทั้งติดตามความคืบหน้าของข้อมูลคดีของตนเองได้ 3) ส่งเสริมนําเทคโนโลยีมาใช้ในการดําเนินงานในกระบวนการยุติธรรม
ช สารบัญ หน้า บทสรุปผู้บริหาร ก สารบัญ ช สารบัญภาพ ฌ การทบทวนสถานการณ์การบริหารงานยุติธรรมที่ผ่านมา และกรอบแนวคิดในการจัดทํา แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2569) 1 1. การทบทวนแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) 2 2. กรอบแนวคิด (Conceptual Framework) 8 2.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานยุติธรรม 8 2.1.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 8 2.1.2 พระราชบัญญัติการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2549 10 2.2 ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับที่ 2 11 2.2.1 ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) 11 2.2.2 ความสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) 15 2.2.3 ความสอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศ 21 2.2.4 ความสอดคล้องกับ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) 25 2.3 กรอบการพัฒนากระบวนการยุติธรรมในระดับสากล 26 2.3.1 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) 26 2.3.2 ดัชนีวัดหลักนิติธรรม (Rule of Law Index) 27 2.3.3 แนวทางการพัฒนากระบวนการยุติธรรมในบริบทต่างประเทศ 28 2.4 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2570 29 2.5 สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารงานยุติธรรม 32 2.5.1 สถานการณ์ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม 32 2.5.2 ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อกระบวนการยุติธรรม 32 2.6 ประเด็นปัญหาหลัก (Pain Point) ของกระบวนการยุติธรรมไทย 36 2.7 ประเด็นท้าทายสําหรับการพัฒนากระบวนการยุติธรรมของไทย 41 2.8 ผลการจัดประชุมวิพากษ์แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2569) 48
สารบัญ (ต่อ) หน้า สาระสําคัญของแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) 49 วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและตัวชี้วัดภาพรวม 50 มิติการบริหารงาน เป้าหมาย แนวทางการดําเนินงาน และตัวชี้วัดเป้าหมาย 51 มิติที่ 1 การสร้างความเป็นธรรมตามกฎหมาย 52 เป้าหมายที่ 1 การมีกฎหมายดี (จําเป็น ทันสมัย สอดคล้องกับบริบทของสังคม) 52 เป้าหมายที่ 2 การบังคับใช้กฎหมายตามเจตนารมณ์ 54 เป้าหมายที่ 3 การสร้างวัฒนธรรมเคารพกฎหมาย 56 มิติที่ 2 การพัฒนากระบวนการยุติธรรมตามมาตรฐานสากล 58 เป้าหมายที่ 1 การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม 58 เป้าหมายที่ 2 การใช้มาตรการที่หลากหลายในการยุติข้อพิพาท 60 เป้าหมายที่ 3 การปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดบนหลักสิทธิมนุษยชน 62 มิติที่ 3 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารงานยุติธรรม 65 เป้าหมายที่ 1 การยกระดับกลไกการทํางานเชิงเครือข่าย 65 เป้าหมายที่ 2 การบริหารงานยุติธรรมตามหลักธรรมาภิบาล 68 เป้าหมายที่ 3 การเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเทคโนโลยี 71 แนวทางการขับเคลื่อนและการติดตามประเมินผลแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) 73 แนวทางการขับเคลื่อนและการติดตามประเมินผล 74 ภาคผนวก 77 ก ความสอดคล้องระหว่างแนวทางการดําเนินงานในแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรม แห่งชาติ ฉบับที่ 4 กับแผนและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 78 ข ความเชื่อมโยงของ (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมชาติ ฉบับที่ 4 กับ ยุทธศาสตร์ และแผนระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 94 ค ผังความเชื่อมโยงของแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) 96 ง คําอธิบายตัวชี้วัดของแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) 98 จ ข้อมูลโครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องและสนับสนุนมิติการบริหารงาน เป้าหมายและ แนวทางการดําเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) 139 ซ
สารบัญภาพ ภาพที่ หน้า 1 กรอบการบริหารงานตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2569) 51 ฌ
10 การทบทวนสถานการณ์การบริหารงานยุติธรรมที่ผ่านมา และกรอบแนวคิดในการจัดทํา แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2569)
2 การทบทวนสถานการณ์การบริหารงานยุติธรรมที่ผ่านมา และกรอบแนวคิดการจัดทําแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2569) พระราชบัญญัติการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2549 มาตรา 18 กําหนดให้คณะกรรมการ พัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ กพชย. จัดทําแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติขึ้น เพื่อใช้เป็น กรอบแนวทางการประสานความร่วมมือในการบริหารงานยุติธรรมระหว่างหน่วยงานของรัฐและองค์กร ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานยุติธรรม ซึ่งจะทําให้การอํานวยความยุติธรรมแก่ประชาชนเป็นไปอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของสังคมอย่างแท้จริง ใต้กรอบระยะเวลาของแผน 4 ปี ทั้งนี้ กระทรวง ยุติธรรม โดยสํานักงานกิจการยุติธรรม ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรม แห่งชาติ จึงได้จัดทําแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติเพื่อรองรับตามพระราชบัญญัติการบริหารงาน ยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2549 มาแล้ว 3 ฉบับ ได้แก่ แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2552 - 2555) แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2558 - 2561) และ แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 - 2565) ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและเป็นไปตามพระราชบัญญัติการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2549 ดังกล่าว จึงได้มีการจัดทําแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) ขึ้นมา โดยเป็นแผนระดับ 3 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยอยู่ภายใต้ เป้าหมายและกรอบการดําเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ซึ่งเป็นแผนระดับ 1 และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ซึ่งเป็นแผนระดับ 2 โดยกระบวนการจัดทําแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) นี้ เริ่มจากการทบทวนแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) การทบทวนกฎหมาย แผนและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ สถานการณ์และแนวทางการพัฒนา และการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนําข้อมูลและความคิดเห็นมาสรุปและสังเคราะห์ประเด็นท้าทายในการบริหารงานยุติธรรม ที่สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบทแวดล้อมในการบริหารงานยุติธรรม และกําหนดเป้าหมาย และแนวทาง การดําเนินงานในแต่ละมิติที่เหมาะสม 1. การทบทวนแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) ได้กําหนด เป้าหมายสูงสุด 2 เป้าหมายหลัก ได้แก่ เป้าหมายที่ 1 คือ การบริหารงานยุติธรรมมีธรรมาภิบาลและความโปร่งใส และเป้าหมายที่ 2 สังคมมีความสงบเรียบร้อย ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งนี้ ได้มีการกําหนด ตัวชี้วัดในภาพรวม ไว้ 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 1 ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการยุติธรรมเพิ่มขึ้น เป็นการประเมินความ คิดเห็นของประชาชนในประเด็นความไว้วางใจ ความถูกต้อง เที่ยงตรง และความโปร่งใส ของกระบวนการ ยุติธรรม
3 ตัวชี้วัดที่ 2 ความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของประชาชนน้อยลง เป็นการประเมินความรู้สึก ของประชาชนต่อสถานการณ์ปัญหาอาชญากรรมและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ในพื้นที่พักอาศัย ตัวชี้วัดที่ 3 ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้รวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม เป็นการ ประเมินความรู้ความเข้าใจสิทธิพื้นฐาน การมีส่วนร่วมด้านกระบวนการยุติธรรม และการได้รับความคุ้มครองตาม กฎหมายของประชาชน นอกจากนี้ แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) ได้ กําหนดยุทธศาสตร์การดําเนินงานภายใต้กรอบแนวคิดการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ 4 ประเด็นหลักที่สําคัญ ได้แก่ คุ้มครองความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน และสิทธิเสรีภาพของประชาชน ป้องกันแก้ไขปัญหา อาชญากรรม บําบัดฟื้นฟูผู้กระทําผิด และสร้างทางเลือกในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม โดยอาศัย เทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลเป็นพื้นฐานสนับสนุนการดําเนินงาน ซึ่งมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และ พันธกิจที่กําหนด และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการดําเนินงาน จึงกําหนดกรอบทิศทางและแนวทางในการ ดําเนินงาน ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และการมี ส่วนร่วมด้านกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมและพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยระงับ ข้อพิพาท ทั้งทางอาญา ทางแพ่งและพาณิชย์ และทางปกครอง ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนากฎหมายและระบบ บริหารงานยุติธรรม ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบการปฏิบัติต่อผู้กระทําผิด มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบ และยุทธศาสตร์ที่ 5 การขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรมด้วยดิจิทัล 1.1 ผลการวิเคราะห์ผลการดําเนินโครงการและงบประมาณตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรม แห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) เนื่องจากในช่วงระยะเวลาในการจัดทําแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2566) ปรากฎผลการดําเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เป็นหลัก ส่งผลให้การติดตามผล การดําเนินงาน ตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) จึงอยู่บนฐาน ของข้อมูลการดําเนินงานของแต่ละหน่วยงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เท่านั้น โดยภาพรวมของ ผลการติดตามการดําเนินโครงการตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยสํานักงานกิจการยุติธรรม พบว่า มีการดําเนินโครงการโดย หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จํานวน 46 หน่วยงาน รวมทั้งสิ้น 184 โครงการ แบ่งเป็นโครงการตามแผนแม่บทฯ ที่มีการดําเนินการ จํานวน 100 โครงการ และโครงการที่หน่วยงานดําเนินการ เพิ่มเติม จํานวน 84 โครงการ นอกจากนี้ พบว่า มีโครงการตามแผนแม่บทฯ ที่ไม่มีการดําเนินงานตามแผนใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จํานวน 39 โครงการ เมื่อพิจารณาการดําเนินโครงการแยกตามรายยุทธศาสตร์ พบว่า ในมีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีการดําเนินโครงการตามยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนากฎหมายและระบบ บริหารงานยุติธรรมมากที่สุด รองลงมาคือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วม ด้านกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม ยุทธศาสตร์ที่ 5 การขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรมด้วยดิจิทัล ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบการปฏิบัติต่อผู้กระทําผิด และยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมและพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ย ระงับข้อพิพาท ทั้งทางอาญา ทางแพ่งและพาณิชย์ และทางปกครอง ตามลําดับ ในขณะที่เมื่อพิจารณาถึงการใช้จ่ายงบประมาณของโครงการตามแผนแม่บทฯ พบว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีการใช้จ่ายงบประมาณการดําเนินการทั้งสิ้น 7,388 ล้านบาท โดยยุทธศาสตร์ ที่มีการใช้จ่ายมากที่สุดคือ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบการปฏิบัติต่อผู้กระทําผิด รองลงมาคือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมด้านกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม ยุทธศาสตร์ที่ 3
4 การพัฒนากฎหมายและระบบบริหารงานยุติธรรม ยุทธศาสตร์ที่ 5 การขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรมด้วยดิจิทัล และยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมและพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท ทั้งทางอาญา ทางแพ่งและ พาณิชย์ และทางปกครอง ตามลําดับ เมื่อพิจารณาการดําเนินโครงการตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 พบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมุ่งเน้นการดําเนิน โครงการตามยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนากฎหมายและระบบบริหารงานยุติธรรมมากที่สุด ซึ่งนับเป็นการพัฒนา กลไกหลักของกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีขอบเขตการดําเนินการที่กว้างกว่าการดําเนินงานในยุทธศาสตร์อื่น และมีความเกี่ยวเนื่องกับขอบเขตภารกิจของทุกหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ภายใต้แนวทางการพัฒนา 6 แนวทางที่แตกต่างกันไป จึงนําไปสู่การขับเคลื่อนของแต่ละหน่วยงานได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดําเนินโครงการตามแนวทางการพัฒนาที่ 5 คือ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเสริมสร้างวัฒนธรรม องค์กรด้านกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีจํานวนโครงการมากที่สุด สะท้อนเห็นความตระหนักถึงความสําคัญ ในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของหน่วยงานเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานตามบทบาทภารกิจและบริบทแวดล้อมของ งานที่เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่าง ๆ ตลอดจนการมุ่งให้ความสําคัญในการดําเนินโครงการเพื่อยกระดับ คุณภาพการให้บริการแก่ประชาชน และพัฒนาระบบการให้ความช่วยเหลือประชาชนในการติดตามผล การดําเนินคดีหรือการให้บริการของหน่วยงานที่สะดวกหรือเข้าถึงได้โดยง่าย รวมทั้งการดําเนินโครงการตาม แนวทางการพัฒนาที่ 1 พัฒนาระบบดิจิทัลมาใช้ในการปฏิบัติงาน และการบริหารราชการเพื่อสนับสนุน การปฏิบัติงานและการตัดสินใจ ในยุทธศาสตร์ที่ 5 การขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรมด้วยดิจิทัล ซึ่งเป็น การสนับสนุนการพัฒนาระบบงานยุติธรรมอีกแนวทางหนึ่งที่มีการดําเนินโครงการจํานวนมาก อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในเปรียบเทียบลักษณะของโครงการในภาพรวม กลับพบว่า แนวทางการดําเนินงานที่หน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรมมุ่งให้ความสําคัญและมีการดําเนินโครงการมากที่สุดคือ การเสริมสร้างองค์ความรู้ ด้านสิทธิ เสรีภาพ กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม ตามแนวทางการพัฒนาในยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้าง ความรู้ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมด้านกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม สะท้อนให้เห็นถึงการตระหนักถึงปัญหา ที่สําคัญของกระบวนการยุติธรรมไทยคือ การขาดความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยกับกฎหมาย สิทธิเสรีภาพ และกระบวนการยุติธรรม อันเป็นข้อจํากัดที่ทําให้ประชาชนบางส่วนไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมหรือ การอํานวยความยุติธรรมได้อย่างแท้จริง แต่การดําเนินโครงการส่วนใหญ่ยังมุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ ประชาชนโดยทั่วไป มากกว่าการมุ่งผลักดันหรือเสริมสร้างบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดําเนินงาน ด้านกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงแนวทางการพัฒนาในยุทธศาสตร์อื่นๆ ที่มีลักษณะเฉพาะ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมและพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท ทั้งทางอาญา ทางแพ่งและพาณิชย์ และทางปกครอง และยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบการปฏิบัติต่อผู้กระทําผิด ซึ่งมักถูกมองว่าเป็นแนวทางที่ เกี่ยวข้องกับบทบาทและภารกิจของบางหน่วยงานเท่านั้น การดําเนินโครงการที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนา ในยุทธศาสตร์ดังกล่าว จึงมีจํานวนไม่มากนัก และเป็นการดําเนินงานของบางหน่วยงานเท่านั้น ผลการติดตามการดําเนินโครงการตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ดังกล่าว สะท้อนให้เห็นการพิจารณาและการดําเนินงาน หรือโครงการของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมโดยยึดตามขอบเขตของบทบาทและภารกิจของหน่วยงานเป็น หลัก และเป็นโครงการที่เน้นความรับผิดชอบเฉพาะหน่วยงาน ในขณะที่โครงการในลักษณะของการบูรณาการ หรือการดําเนินงานร่วมระหว่างหน่วยงานไม่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน และผลลัพธ์ของการขับเคลื่อนแผนแม่บทการ บริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) มักเป็นไปตามผลลัพธ์รวมจากการดําเนิน โครงการของแต่ละหน่วยงานเป็นสําคัญ ซึ่งมักมุ่งดําเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและความสําเร็จ
5 ตามขอบเขตภารกิจของหน่วยงานตนเองเป็นหลัก มากกว่าการกําหนดแนวทางการดําเนินงานร่วมกันระหว่าง หน่วยงานเพื่อให้เกิดการดําเนินงานที่สอดประสานและสมดุลกันตามแนวทางการพัฒนาที่กําหนดไว้ในแต่ละ ยุทธศาสตร์ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปสู่การเกิดผลลัพธ์ที่กําหนดไว้ในแผนแม่บทได้อย่างแท้จริง 1.2 ผลการวิเคราะห์สถานการณ์ตัวชี้วัดและปัญหาอุปสรรคจากการดําเนินงานตามแผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 - 2565) ผลการดําเนินงานตามตัวชี้วัดแผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 - 2565) ทั้งในระดับตัวชี้วัดภาพรวม และตัวชี้วัดใน แต่ละยุทธศาสตร์ สามารถสรุปได้ดังนี้ (1) ผลการติดตามการดําเนินงานตามตัวชี้วัดแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 - 2565) ข้างต้น สะท้อนให้เห็นผลลัพธ์จากการดําเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่มี ความสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาในแต่ละยุทธศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2563 โดยเมื่อนํามาพิจารณา เปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) สามารถสรุปผลการดําเนินได้ดังนี้ (1.1) ตัวชี้วัดที่บรรลุตามค่าเป้าหมาย ได้แก่ ตัวชี้วัดภาพรวม คือ ตัวชี้วัดที่ 2 ความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของประชาชนน้อยลง ตัวชี้วัดระดับยุทธศาสตร์ คือ ตัวชี้วัดที่ 1.2 ร้อยละผู้ประสบเหตุอาชญากรรมลดลง และตัวชี้วัดที่ 2.2 ทัศนคติและความพึงพอใจต่อการเข้าถึงและการให้บริการของกระบวนการไกล่เกลี่ยระงับ ข้อพิพาท ทั้งทางอาญา ทางแพ่งและพาณิชย์ และทางปกครอง และตัวชี้วัดที่ 3.2 ระดับความสําเร็จของระบบ ติดตามความคืบหน้าการดําเนินคดี (1.2) ตัวชี้วัดที่ยังไม่บรรลุผลสําเร็จตามค่าเป้าหมาย ได้แก่ ตัวชี้วัดภาพรวม คือ ตัวชี้วัดที่ 1 ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการยุติธรรม เพิ่มขึ้น ตัวชี้วัดระดับยุทธศาสตร์ คือ ตัวชี้วัดที่ 1.1 ความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิและความรู้ พื้นฐานในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนเพิ่มขึ้น ตัวชี้วัดที่ 1.2 ร้อยละของผู้ประสบเหตุ อาชญากรรมลดลง ตัวชี้วัดที่ 2.1 จํานวนข้อพิพาทและคดีความที่เข้าสู่กระบวนการกระบวนการไกล่เกลี่ย ระงับข้อพิพาท ทั้งทางอาญา ทางแพ่งและพาณิชย์ และทางปกครอง ตัวชี้วัดที่ 4.1 อัตราการกระทําผิดซ้ํา ลดลง และตัวชี้วัดที่ 4.2 ร้อยละของเด็กและเยาวชนที่ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน และผู้พ้นโทษมีชีวิตที่ดีขึ้น (1.3) ตัวชี้วัดที่ยังไม่มีข้อมูลบ่งชี้ผลสําเร็จตามค่าเป้าหมายที่ชัดเจน ได้แก่ ตัวชี้วัดภาพรวม คือ ตัวชี้วัดที่ 3 ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้รวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม ตัวชี้วัดระดับยุทธศาสตร์ คือ ตัวชี้วัดที่ 3.1 ความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของ ประชาชนต่อการดําเนินงานของกระบวนการยุติธรรม และตัวชี้วัดที่ 5.1 มีระบบฐานข้อมูลและระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศที่เชื่อมโยงทุกหน่วยงานและใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรม (2) ผลการติดตามการดําเนินงานตามตัวชี้วัดแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562-2565) ข้างต้น ทั้งจากการสํารวจข้อมูลจากประชาชน (Public Survey) และ การติดตามข้อมูลผลการดําเนินงานที่มีการจัดเก็บและรายงานอย่างเป็นทางการ (Administration Data) ของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงการสํารวจข้อมูลในปี พ.ศ. 2563 เท่านั้น จึงอาจไม่ได้ สะท้อนผลการดําเนินงานของแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) อย่างชัดเจนสมบูรณ์ ซึ่งควรมีการติดตามข้อมูลเพื่อประเมินผลลัพธ์จากการดําเนินงานตลอดระยะเวลาของ
6 แผน เพื่อนํามาพิจารณาเปรียบเทียบค่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) ซึ่งกําหนดผลลัพธ์เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของแผนคือ ปี พ.ศ. 2565 เพื่อวิเคราะห์ความสําเร็จ รวมทั้งและความเหมาะสมสอดคล้องของแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 - 2565) ได้อย่างแท้จริง (3) การดําเนินงานติดตามผลการดําเนินงานตามตัวชี้วัดแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรม แห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562-2565) ยังทําได้ไม่สมบูรณ์ โดยในบางตัวชี้วัดมิได้มีการติดตามหรือสํารวจ ข้อมูลโดยตรงที่ชัดเจน ได้แก่ (3.1) การขาดข้อมูลที่บ่งชี้ระดับการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนอย่างชัดเจน เพื่อสะท้อนความสําเร็จตามค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดภาพรวมที่ 3 ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ รวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม โดยมีเพียงข้อมูลการสํารวจการสํารวจประเด็นเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม เพื่อสะท้อนผลสําเร็จตามตัวชี้วัดที่กําหนดเท่านั้น (3.2) การขาดข้อมูลที่บ่งชี้ความพึงพอใจของประชาชนต่อการดําเนินงานของ กระบวนการยุติธรรมอย่างชัดเจน เพื่อสะท้อนความสําเร็จตามค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดที่ 3.1 ความพึงพอใจ และความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการดําเนินงานของกระบวนการยุติธรรม โดยมีเพียงข้อมูลการสํารวจ ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการดําเนินงานของกระบวนการยุติธรรม เพื่อสะท้อนผลสําเร็จตามตัวชี้วัด ที่กําหนดเท่านั้น (3.3) การขาดข้อมูลที่บ่งชี้การมีระบบฐานข้อมูลและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เชื่อมโยงทุกหน่วยงานและใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรม เพื่อสะท้อนความสําเร็จ ตามค่าเป้าหมาย ของตัวชี้วัดที่ 5.1 มีระบบฐานข้อมูลและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เชื่อมโยงทุกหน่วยงาน และใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรม โดยมีเพียงข้อมูลการสํารวจจํานวนระบบฐานข้อมูล และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมที่เพิ่มขึ้น เพื่อสะท้อนผลสําเร็จตาม ตัวชี้วัดที่กําหนดเท่านั้น (4) ตัวชี้วัดระดับยุทธศาสตร์บางตัว เป็นการวัดผลความสําเร็จจากการดําเนินงานตามแนวทาง การพัฒนาในหลายยุทธศาสตร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นตัวชี้วัดในภาพรวมมากกว่าการวัดความสําเร็จการดําเนินงาน ในระดับยุทธศาสตร์ใดยุทธศาสตร์หนึ่ง ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 1.1 ความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ การดําเนินงานของกระบวนการยุติธรรม และตัวชี้วัดที่ 1.2 ร้อยละของผู้ประสบเหตุอาชญากรรมลดลง รวมทั้งผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดบางตัว อาจเป็นผลจากปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ทําให้ไม่สามารถวิเคราะห์ความเชื่อมโยง ถึงผลความสําเร็จตามตัวชี้วัดว่ามาจากการดําเนินงานตามแนวทางการพัฒนาในแต่ละยุทธศาสตร์ได้อย่างชัดเจน นัก ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 4.1 อัตราการกระทําผิดซ้ําลดลง และตัวชี้วัดที่ 4.2 ร้อยละของเด็กและเยาวชนที่ผ่านการ ฝึกอบรมจากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน และผู้พ้นโทษมีชีวิตที่ดีขึ้น (5) การประเมินผลลัพธ์ความสําเร็จตามตัวชี้วัดแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 - 2565) ควรให้ความสนใจในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับข้อมูลการดําเนินงาน ตามแนวทางการพัฒนาที่กําหนดไว้ในแต่ละยุทธศาสตร์ควบคู่ไปด้วย เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของ การดําเนินงานจริงที่เกิดขึ้นว่ามีตามแนวทางที่กําหนดไว้ในแผนแม่บทอย่างสมดุลเพียงพอที่ก่อให้เกิดผลสําเร็จ ตามค่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแต่ละตัวชี้วัดได้มากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ดี การนําข้อมูลการดําเนินงานและ ผลการดําเนินงานเพียงปี พ.ศ. 2563 ประกอบกับการดําเนินงานหลายโครงการไม่สามารถดําเนินการได้ ตามแผน หรือต้องมีการปรับแนวทางการดําเนินงาน อันเนื่องมาจากสถานการณ์ปัญหาการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้การนําข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อสะท้อนความสําเร็จของ การดําเนินงานตามค่าเป้าหมายที่กําหนด อาจไม่สามารถทําได้อย่างสมบูรณ์
7 (6) ประเด็นท้าทายสําหรับแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) จากผลการดําเนินงานแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 - 2565) สะท้อนให้เห็นประเด็นสําคัญ ที่ยังคงเป็นความท้าทายของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ดังนี้ (6.1) การมุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม โดย พิจารณาถึงความจําเป็นและความต้องการของประชาชนแต่ละกลุ่มที่มีความแตกต่างกันไป รวมทั้งแสวงหา วิธีการหรือช่องทางการสื่อสารกับประชาชนแต่ละกลุ่มที่เหมาะสม ตลอดจนสร้างความตระหนักให้ประชาชน เห็นความสําคัญและเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม ว่าสามารถเป็นกลไกในการอํานวยความยุติธรรมให้แก่ ประชาชนได้อย่างแท้จริง โดยการพัฒนาแนวทางการ (6.2) การมุ่งสร้างการรับรู้และเห็นประโยชน์จากกลไกมาตรการยุติธรรมทางเลือก ที่ช่วยในลดภาระและความล่าช้าของกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก เช่น กระบวนการไกล่เกลี่ยระงับข้อ พิพาท โดยพัฒนาโครงสร้าง กลไกการดําเนินงาน ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรการดําเนินงานเพื่อสนับสนุน การนํามาตรการทางเลือกมาใช้ในการอํานวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนควบคู่กับกระบวนการยุติธรรม กระแสหลัก เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมในแนวทางที่หลากหลายและสอดคล้องกับปัญหา ความเดือดร้อนและบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ภายใต้กรอบการดําเนินงานตาม มาตรฐานสากล (6.3) การพัฒนากฎหมายและกลไกการขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรมร่วมกันระหว่าง หน่วยงาน เพื่อมุ่งอํานวยความยุติธรรมร่วมกันให้แก่ประชาชนอย่างแท้จริง มากกว่าการมุ่งพัฒนากลไก การดําเนินงานแบบแยกส่วนตามขอบเขตอํานาจและภารกิจของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งการเปิดพื้นที่ให้ ภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรม เพื่อสนับสนุนการ ดําเนินงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมที่สอดคล้องกับบริบทของสังคม และช่วยสนับสนุนให้เกิดการ เปิดโอกาสให้ผู้กระทําผิดสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้ตามปกติ อันจะเป็นปัจจัยสําคัญในการ ป้องกันความเสี่ยงในการกลับมากระทําผิดซ้ํา (6.4) การมุ่งพัฒนาการเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากระบบข้อมูลและระบบเทคโนโลยี สารสนเทศระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้เกิดกลไกการดําเนินงานประสานสอดคล้องบนฐานของข้อมูลและ ข้อเท็จจริงเดียวกัน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากการดําเนินงานและสถานการณ์ตัวชี้วัดตามแผนแม่บทการบริหารงาน ยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 - 2565) ข้างต้น อาจกล่าวได้ว่า ประเด็นท้าทายที่สําคัญสําหรับ การบริหารงานยุติธรรมของไทยในอนาคต คือ ประเด็นด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและกระบวนการ ยุติธรรมของประชาชนที่เป็นปัจจัยที่สําคัญในการสนับสนุนให้เกิดการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างทั่วถึงและ เท่าเทียม รวมทั้งความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของประเทศ ตลอดจน ประเด็นเกี่ยวกับการนํามาตรการยุทธศาสตร์เชิงสมานฉันท์มาใช้ในการระงับข้อพิพาทและข้อพิพาทในสังคม การกลับคืนสู่สังคมของผู้กระทําผิดให้สามารถดําเนินชีวิตได้ตามปกติในสังคม และการป้องกันการกระทําผิดซ้ํา รวมทั้ง ประเด็นเกี่ยวกับการเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงานในการบริหารจัดการ กระบวนการยุติธรรม ซึ่งข้อมูลที่บ่งชี้ถึงประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ อาจยังไม่อยู่ในระดับที่น่าพอใจและบรรลุ ความสําเร็จตามค่าเป้าหมายของแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 - 2565) จึงเป็นประเด็นที่ท้าทายสําหรับการจัดทําแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติฉบับต่อไป
8 2. กรอบแนวคิด (Conceptual Framework) กรอบแนวคิดการจัดทําแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2569) ควรพิจารณาถึงกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานยุติธรรม ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและ แผนระดับที่ 2 กรอบการพัฒนากระบวนการยุติธรรมในระดับสากล สถานการณ์และแนวโน้มที่เกี่ยวข้อง กับการบริหารงานยุติธรรม และประเด็นปัญหาหลัก (Pain Point) และความคาดหวังต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่อกระบวนการยุติธรรม ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 2.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานยุติธรรม 2.1.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 20 มีที่มา จากการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 เพื่อจัดทําร่างฯ ฉบับใหม่ เมื่อร่างเสร็จแล้ว มีการลงประชามติในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 หลังผ่านเห็นชอบแล้วจึงทูลเกล้าถวายให้ พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างรัฐธรรมนูญและประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 กําหนดบทบัญญัติที่เป็นกรอบการบริหารงานยุติธรรมของประเทศไทยที่สําคัญ ตามที่ปรากฏใน 2 หมวดหลัก คือ หมวดที่ 5 หน้าที่ของรัฐ และหมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ ในมาตราที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ “มาตรา 51 การใดที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของรัฐตามหมวดนี้ ถ้าการนั้น เป็นการทําเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรง ย่อมเป็นสิทธิของประชาชนและ ชุมชนที่จะติดตามและเร่งรัดให้รัฐดําเนินการ รวมตลอดทั้งฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดให้ประชาชนหรือชุมชนได้รับประโยชน์นั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา 53 รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด มาตรา 63 รัฐต้องส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้แก่ประชาชนถึงอันตรายที่เกิด จากการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน และจัดให้มี มาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ดังกล่าวอย่างเข้มงวด รวมทั้งกลไกในการส่งเสริมให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อมีส่วนร่วม ในการรณรงค์ให้ความรู้ ต่อต้าน หรือชี้เบาะแส โดยได้รับความคุ้มครองจากรัฐตามที่ กฎหมายบัญญัติ” หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ “มาตรา 68 รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มี ประสิทธิภาพ เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร มาตรา 76 รัฐพึงพัฒนาระบบการบริหารราชการแผ่นดินทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และงานของรัฐอย่างอื่น ให้เป็นไปตามหลักการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี โดยหน่วยงานของรัฐต้องร่วมมือและช่วยเหลือกันในการ
9 ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน การจัดทําบริการสาธารณะและ การใช้จ่ายเงินงบประมาณมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน รวมตลอดทั้งพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีทัศนคติเป็นผู้ ให้บริการประชาชนให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ไม่เลือกปฏิบัติ และปฏิบัติหน้าที่ อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐพึงดําเนินการให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐ ให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม โดยกฎหมายดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีมาตรการป้องกัน มิให้ผู้ใดใช้อํานาจ หรือกระทําการโดยมิชอบที่เป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการ ปฏิบัติหน้าที่ หรือกระบวนการแต่งตั้งหรือการพิจารณาความดีความชอบของ เจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลัก ในการกําหนดประมวลจริยธรรมสําหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งต้องไม่ ต่ํากว่ามาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าว มาตรา 77 รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จําเป็น และยกเลิกหรือปรับปรุง กฎหมายที่หมดความจําเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรค ต่อการดํารงชีวิตหรือการประกอบอาชีพโดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ ประชาชน และดําเนินการให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่ายเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่าง ถูกต้อง ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้ง เปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และนํามา ประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน เมื่อกฎหมายมีผลใช้ บังคับแล้ว รัฐพึงจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายทุกรอบระยะเวลาที่ กําหนด โดยรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย เพื่อพัฒนากฎหมายทุก ฉบับให้สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป รัฐพึงใช้ระบบอนุญาตและระบบคณะกรรมการในกฎหมายเฉพาะกรณีที่จําเป็น พึงกําหนดหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐและระยะเวลา ในการดําเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายให้ชัดเจน และ พึงกําหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง มาตรา 78 รัฐพึงส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ การจัดทําบริการสาธารณะทั้งใน ระดับชาติและระดับท้องถิ่น การตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐการต่อต้านการทุจริต และประพฤติมิชอบ รวมตลอดทั้งการตัดสินใจทางการเมือง และการอื่นใดบรรดาที่ อาจมีผลกระทบต่อประชาชนหรือชุมชน”
10 2.1.2 พระราชบัญญัติการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2549 พระราชบัญญัติการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2549 ในหมวด 3 ความร่วมมือ ในการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรม โดยมีมาตราที่เกี่ยวข้องดังนี้ มาตรา 18 กําหนดให้คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ จัดทําแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทาง การประสานความร่วมมือในการบริหารงานยุติธรรมระหว่างหน่วยงานของรัฐ และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานยุติธรรม แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติให้เป็นแผนระยะสี่ปี โดยแสดง ทิศทางของการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรม ซึ่งมีสาระสําคัญในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การประสานแนวทางการบริหารงานยุติธรรมของหน่วยงานของรัฐ และองค์กรที่ เกี่ยวข้องกับการบริหารงานยุติธรรมแต่ละแห่งเพื่อให้เกิดบูรณาการในภาพรวมที่ สอดคล้องกับสภาพสังคมและการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ (2) มาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารงานยุติธรรม ของประเทศ (3) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมเพื่อประโยชน์ในการนํามาใช้ แก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ ของประเทศ (4) แนวทางการปฏิบัติงานให้เกิดความร่วมมือในการบริหารงานยุติธรรม เพื่อให้มีประสิทธิภาพและอํานวยความยุติธรรมแก้ประชาชน (5) ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรมเพื่อประโยชน์ ในการใช้ทรัพยากรร่วมกันที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานยุติธรรม (6) การดําเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานยุติธรรม มาตรา 19 การจัดทําแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ นอกจากต้อง อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 4 แล้ว จะต้องไม่ขัดแย้งกับแนวทางตามบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญ และตามกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการที่เป็นอิสระของศาล หน่วยงานของศาล และหน่วยงานที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญด้วย ในกรณีที่มีข้อคิดเห็นจากศาล หน่วยงานของศาล หรือหน่วยงานที่เป็นอิสระตาม รัฐธรรมนูญว่าข้อกําหนดในแผนแม่บทข้อใดอาจจะมีลักษณะที่ขัดต่อวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการนําไปพิจารณาปรับปรุงแผนแม่บทตามข้อคิดเห็นนั้นในการ จัดทําแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติให้คณะกรรมการพิจารณาโดย ให้มีการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย มาตรา 20 ให้คณะกรรมการเสนอแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วให้ใช้บังคับได้ เมื่อแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติใช้บังคับแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานยุติธรรมนําไปพิจารณาดําเนินการตาม อํานาจหน้าที่ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสรรงบประมาณสนับสนุนเพื่อให้สามารถ ปฏิบัติงานตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติได้
11 ในกรณีที่สภาพการณ์เปลี่ยนแปลงไปในระหว่างที่แผนแม่บทการบริหารงาน ยุติธรรมแห่งชาติใช้บังคับ คณะกรรมการอาจดําเนินการปรับปรุงแผนแม่บทการ บริหารงานยุติธรรมแห่งชาติให้เหมาะสมกับสภาพการณ์นั้นได้ และเสนอ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป มาตรา 21 ให้คณะกรรมการมีหน้าที่พิจารณาผลการปฏิบัติงานตามแผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ และรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกปี ใน กรณีที่มีปัญหาอุปสรรคไม่อาจดําเนินการตามแผนได้ ให้คณะกรรมการรายงาน ให้คณะรัฐมนตรีทราบถึงปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขด้วย ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรที่เกี่ยวของกับการบริหารงานยุติธรรมใด ไม่อาจดําเนินการให้สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติได้ ให้แจ้งคณะกรรมการทราบเพื่อพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีปรับปรุงแผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติหรือแก้ไขปัญหาอุปสรรคให้แก่หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานยุติธรรมนั้น” 2.2 ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผนระดับที่ 2 2.2.1 ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 65 กําหนดให้รัฐมียุทธศาสตร์แห่งชาติ เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมีเป้าหมายการพัฒนาประเทศ คือ “ประชาชาติมั่งคั่ง ประชาชนเป็นสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานธรรมชาติยั่งยืน” โดยยกระดับศักยภาพ ของประเทศในหลายมิติ พัฒนาคนในทุกมิติและช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาสและความ เสมอภาค สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชน และประโยชน์ส่วนรวม เพื่อความสุขของคนไทยทุกคนอย่างยั่งยืน ซึ่งอาศัยหลักธรรมาภิบาลเป็นกรอบ ในการจัดทําแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันไปสู่เป้าหมาย ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของยุทธศาสตร์ในยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) พบว่ามียุทธศาสตร์ 3 ด้านหลักที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานยุติธรรม ดังนี้ (1) ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง โดยสอดคล้องเป้าหมายยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย เป้าหมายที่ 1 ประชาชนอยู่ดี กินดี และมีความสุข เป้าหมายที่ 2 บ้านเมืองมีความมั่นคงในทุกมิติและทุกระดับ เป้าหมายที่ 3 กองทัพ หน่วยงานด้านความมั่นคง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน มีความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ความมั่นคง เป้าหมายที่ 4 ประเทศไทยมีบทบาทด้านความมั่นคงเป็นที่ชื่นชมและได้รับการยอมรับโดย ประชาคม ระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 5 การบริหารจัดการความมั่นคงมีผลสําเร็จที่เป็นรูปธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสอดคล้องตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ตัวชี้วัดที่ 3 ความพร้อมของกองทัพ หน่วยงานด้านความ มั่นคง และการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคง และตัวที่วัดที่ 5 การบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม รวมถึงสอดคล้องประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านความ มั่นคง ประกอบด้วย ประเด็นที่ 1 การรักษาความสงบภายในประเทศ เพื่อสร้างเสริมความสงบเรียบร้อยและสันติ สุขให้เกิดขึ้นกับประเทศชาติบ้านเมือง ให้สถาบันหลักมีความมั่นคง เป็นจุดศูนย์รวมจิตใจอย่างยั่งยืน ประชาชน อยู่ดีมีสุข มีความมั่นคงปลอดภัยทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน สังคมมีความเข้มแข็ง สามัคคีปรองดอง และ
12 เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันพร้อมที่จะร่วมแก้ไขปัญหาของชาติ โดยการพัฒนาและเสริมสร้างคนในทุกภาคส่วนให้มีความ เข้มแข็ง มีความพร้อมตระหนัก ในเรื่องความมั่นคง และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และการพัฒนาส่งเสริมกลไก ที่สามารถป้องกันและขจัดสาเหตุของประเด็นปัญหาความมั่นคงที่สําคัญ และประเด็นที่ 2 การป้องกันและแก้ไข ปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง เพื่อแก้ไขปัญหาเดิมที่มีอยู่อย่างตรงประเด็น รวดเร็วและป้องกันไม่ให้ปัญหา ใหม่เกิดขึ้นอันจะส่งผลให้การบริหารจัดการและการพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน ดําเนินการไปได้อย่างต่อเนื่อง และราบรื่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นกุญแจสําคัญที่จะนําไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ ยั่งยืน โดยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในปัจจุบัน เพื่อให้ปัญหาเดิมที่มีอยู่ได้รับการแก้ไข อย่างจริงจัง จนยุติลง หรือไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศชาติ รวมทั้งให้การบริหารและการพัฒนาบ้านเมือง เดินหน้าไปได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ รวมถึงการติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจอุบัติขึ้นใหม่ เพื่อให้ทราบ สถานการณ์ล่วงหน้า และสามารถแก้ไขปัญหาและภัยคุกคามในอนาคตได้ทันท่วงทีก่อนที่จะลุกลามต่อไป รวมทั้ง ป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการบริหารและพัฒนาประเทศ (2) ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม โดยสอดคล้องเป้าหมายยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย โดยสอดคล้องในเป้าหมายที่ 1 สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ําในทุกมิติ เป้าหมายที่ 2 กระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ และสังคม เพิ่มโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามาเป็นกําลังของการพัฒนาประเทศในทุกระดับ และเป้าหมายที่ 3 เพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนา การพึ่งพาตนเองและการจัดการตนเองเพื่อสร้างสังคม คุณภาพ และมีความสอดคล้องตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ตัวชี้วัดที่ 1 ความแตกต่างของรายได้และการ เข้าถึงบริการภาครัฐระหว่างกลุ่มประชากร ตัวชี้วัดที่ 2 ความก้าวหน้าของการพัฒนาคน และตัวชี้วัดที่ 3 ความก้าวหน้าในการพัฒนาจังหวัดในการเป็นศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี รวมถึง สอดคล้องประเด็นยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ในประเด็นที่ 1 การลด ความเหลื่อมล้ํา สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ โดยการสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม อย่างทั่วถึง โดยเน้นการสร้างหลักประกันในการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกัน การพัฒนากลไก ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในการต่อสู้คดีที่มีคุณภาพมาตรฐานและเพียงพอ การให้หลักประกันสิทธิของผู้เสียหาย และผู้ถูกกล่าวหาในการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน การกําหนดกรอบเวลา และขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เป็นธรรมและเสมอ ภาค และการมีมาตรการที่ละเอียดอ่อนสําหรับคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ และการจัดการคดีเกี่ยวกับกลุ่มที่มี ความเปราะบาง ตลอดจนการพัฒนาวิธีพิจารณาความแพ่งและคดีปกครองเพื่อเพิ่มโอกาสของประชาชนในการ เข้าถึงความยุติธรรม ปรับปรุง ระบบโทษปรับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใส และระบบการช่วยเหลือ ผู้พ้นโทษในการกลับสู่สังคม ประเด็นที่ 2 การกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม และ เทคโนโลยี สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่บนฐานข้อมูลความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยการพัฒนาระบบ ฐานข้อมูลมิติต่าง ๆ ของพื้นที่ ่ ่ ให้มีความถูกต้องแม่นยํา การเปิดเผยข้อมูลสําคัญที่จะเอื้อให้ประชาชนและภาค ส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน การตัดสินใจและการติดตามการดําเนินงานของรัฐ พัฒนากลไกเพื่อ สนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยมีเป้าหมายที่เกี่ยวข้องคือ เป้าหมายที่ 1 ภาครัฐมีวัฒนธรรมการทํางานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม ตอบสนองความต้องการ ของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส เป้าหมายที่ 2 ภาครัฐมีขนาดที่เล็กลง พร้อมปรับตัวให้ทันต่อ การเปลี่ยนแปลง เป้าหมายที่ 3 ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ และเป้าหมายที่ 4 กระบวนการยุติธรรมเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
13 (3) ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยสอดคล้องเป้าหมายยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย เป้าหมายที่ 1 ภาครัฐมีวัฒนธรรม การทํางานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม ตอบสนองความต้องการ ของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส เป้าหมายที่ 2 ภาครัฐมีขนาดที่เล็กลง พร้อมปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เป้าหมายที่ 3 ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ และเป้าหมายที่ 4 กระบวนการยุติธรรมเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศและมีความสอดคล้องตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ตัวที่วัดที่ 1 ระดับ ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะของภาครัฐ ตัวชี้วัดที่ 2 ประสิทธิภาพของการบริการ ภาครัฐ และตัวชี้วัดที่ 4 ความเสมอภาคในกระบวนการยุติธรรม รวมถึงสอดคล้องประเด็นยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ประกอบด้วย ประเด็นที่ 1 ภาครัฐที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตอบสนองความต้องการและ ให้บริการอย่าง สะดวกรวดเร็ว โปร่งใสหน่วยงานรัฐต้องร่วมมือและช่วยเหลือกันในการปฏิบัติหน้าที่ มีระบบ บริหารจัดการที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ให้การบริหารราชการแผ่นดิน เป็นไปตามหลักการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี สร้างประโยชน์สุขแก่ประชาชน ประเด็นย่อยที่สอดคล้องคือ (1) การให้บริการสาธารณะ ของภาครัฐได้มาตรฐานสากลและเป็นระดับแนวหน้าของภูมิภาค (2) ภาครัฐมีความเชื่อมโยงในการให้บริการ สาธารณะต่างๆ ผ่านการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ ประเด็นที่ 2 ภาครัฐบริหารงานแบบบูรณาการ โดยมียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายและเชื่อมโยงการพัฒนา ในทุกระดับ ทุกประเด็น ทุกภารกิจ และทุกพื้นที่ ประเด็นย่อยที่สอดคล้องคือ (1) ให้ยุทธศาสตร์ชาติเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ (2) ระบบการเงิน การคลังประเทศสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ และ (3) ระบบติดตามประเมินผลที่สะท้อนการบรรลุ เป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติในทุกระดับ ประเด็นที่ 3 ภาครัฐมีขนาดเล็กลง เหมาะสมกับภารกิจ ส่งเสริมให้ประชาชนและทุก ภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ประเด็นย่อยที่ 2 ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ เปิด โอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดําเนินการบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะอย่างเหมาะสม กําหนดความสัมพันธ์และการพัฒนาบทบาทในฐานะของหุ้นส่วนการพัฒนาในการดําเนินภารกิจที่สําคัญ ระหว่างการบริหารราชการ ประเด็นที่ 4 ภาครัฐมีความทันสมัย ทันการเปลี่ยนแปลง และมีขีดสมรรถนะสูง สามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่า เทียบได้กับมาตรฐานสากล สามารถรองรับกับ สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ประเด็นย่อยที่ 2 พัฒนาและปรับระบบวิธีการปฏิบัติราชการให้ทันสมัย โดยมีการกําหนดนโยบายและการบริหารจัดการที่ตั้งอยู่บนข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ มุ่งผลสัมฤทธิ์ มีความโปร่งใส ยืดหยุ่นและคล่องตัว ประเด็นที่ 5 บุคลากรภาครัฐเป็นคนดีและเก่ง ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสํานึกมีความสามารถสูง มุ่งมั่นและเป็นมืออาชีพ ประเด็นย่อยที่สอดคล้อง ประกอบด้วย ประเด็นย่อยที่ 1 ภาครัฐมีการบริหารกําลังคนที่มีความคล่องตัว ยึดระบบคุณธรรม และประเด็นย่อยที่ 2 บุคลากรภาครัฐยึด ค่านิยมในการทํางานเพื่อประชาชน มีคุณธรรม และมีการพัฒนาตามเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ โดยพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรภาครัฐและวางมาตรการที่เหมาะสมกับเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ ให้มีสมรรถนะใหม่ ๆ ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทํางานและสร้างค่านิยมในการปฏิบัติงานเพื่อประชาชนและ ประโยชน์ส่วนรวม สามารถบูรณาการการทํางานร่วมกับภาคส่วนอื่นได้ ประเด็นที่ 6 ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประเด็น ย่อยที่ 2 บุคลากรภาครัฐยึดมั่นในหลักคุณธรรม จริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต กําหนดให้เจ้าพนักงานของ รัฐต้องยึดถือแนวทางปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลีกเลี่ยงการขัดกัน
1 4 ระหว่างประโยชน์บุคคลและประโยชน์ส่วนรวม รวมทั้งยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตนเอง คู่สมรส และ บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โดยเฉพาะผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่ 7 กฎหมายมีความสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทต่างๆ และมีเท่าที่จําเป็น ประเด็นย่อยที่สอดคล้อง ประกอบด้วย ประเด็นย่อยที่ 1 ภาครัฐจัดให้มีกฎหมายที่สอดคล้องและเหมาะสมกับ บริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลง การปรับปรุงแก้ไขและยกเลิกกฎหมายต่าง ๆ ให้มีความชัดเจน ทันสมัย เป็นธรรม เอื้ออํานวยต่อการบริหารราชการแผ่นดิน การพัฒนาประเทศ การให้บริการประชาชน การประกอบธุรกิจ การแข่งขันระหว่างประเทศ สอดคล้องกับข้อบังคับสากลหรือข้อตกลงระหว่าง ประเด็นย่อยที่ 2 มีกฎหมาย เท่าที่จําเป็น ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ และกําหนดวงรอบในการทบทวน ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้น ในการตรากฎหมายต้องดําเนินการให้มีการรับฟัง ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้ง เปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ต่อประชาชน และนํามาประกอบการพิจารณาใน กระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน รวมทั้งจัดให้มีการสร้างความรับรู้และความเข้าใจในข้อกฎหมายและ ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายทุกรอบระยะเวลาที่กําหนด เพื่อพัฒนากฎหมายทุกฉบับให้สอดคล้องและ เหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป และประเด็นย่อยที่ 3 การบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เท่าเทียม มีการเสริมสร้างประสิทธิภาพการใช้กฎหมาย บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดลดความเหลื่อมล้ําทาง สังคม ไม่เลือกปฏิบัติ นําเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการใช้กฎหมายป้องกันการกระ ทําผิดและจับกุมผู้กระทําผิด ประเด็นที่ 8 กระบวนการยุติธรรมเคารพสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติต่อประชาชน โดย เสมอภาคมีความเป็นกลาง น่าเชื่อถือ โปร่งใส ตรวจสอบได้ กระบวนการยุติธรรมมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมมีความกล้าหาญทางจริยธรรม เป็นมืออาชีพ มีความเป็นธรรม และไม่เลือก ปฏิบัติ ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก มุ่งให้เกิดการสร้างมาตรฐานและเพิ่มประสิทธิภาพ ในกระบวนการยุติธรรมเทียบเท่าระดับสากล ตามหลักนิติธรรม โดยมีประเด็นย่อยที่สอดคล้อง ประกอบด้วย ประเด็นย่อยที่ 1 บุคลากรและหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเคารพและยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย เคารพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่พึงได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม ปรับวัฒนธรรมองค์กรและทัศนคติเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในกระบวนการยุติธรรมให้เคารพและยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่พึงได้รับการ ปฏิบัติอย่างเท่าเทียม รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมของหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรมให้มีความ โปร่งใส เป็นกลาง ปราศจากการแทรกแซงหรือครอบงําใด ๆ ประเด็นย่อยที่ 2 ทุกหน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรม มีบทบาทเชิงรุกร่วมกันในทุกขั้นตอนของการค้นหาความจริง การรวบรวมและการพิสูจน์ พยานหลักฐานเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยต้องใช้ประโยชน์จากนิติวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ และจัดให้ มีบริการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการ ประด็นย่อยที่ 3 หน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรมทั้งทางแพ่ง อาญา และปกครองมีเป้าหมายและยุทธศาสตร์ร่วมกัน เพื่อประสิทธิภาพในการบังคับใช้ กฎหมายและอํานวยความยุติธรรมมีรูปแบบกระบวนการยุติธรรมที่มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานบน พื้นฐานแห่งการไว้วางใจ ซึ่งกันและกัน รวมทั้งสร้างเครื่องมือการประเมินคุณภาพและผลงานที่หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องต้องมุ่งก่อให้เกิดผลลัพธ์ต่อสังคมพร้อมทั้งพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในกระบวนการยุติธรรม เพื่อเป็นช่องทาง และประเด็นย่อยที่ 4 ส่งเสริมระบบยุติธรรมทางเลือก ระบบยุติธรรมชุมชน และการมีส่วน ร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม ส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมทางเลือกในรูปแบบต่าง ๆ การไกล่ เกลี่ยข้อพิพาทก่อนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม การช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความเป็นธรรม การพัฒนา รูปแบบของการมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมให้มีความหลากหลาย การสร้างความรู้ความเข้าใจด้าน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมให้กับประชาชน
1 5 2.2.2 ความสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) จัดทําขึ้นตามพระราชบัญญัติ การจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 10 กําหนดให้คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติจัดทํา แผนแม่บทเพื่อบรรลุเป้าหมายตามที่กําหนดไว้หลังจากมีการประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติแล้ว โดยแผนแม่บท ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) มีทั้งสิ้นจํานวน 23 ฉบับ โดยมีแผนที่สอดคล้องเชื่อมโยง กับกระบวนการยุติธรรม จํานวน 8 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นที่ 1 ความมั่นคง โดยมีแผนงานย่อยที่เกี่ยวข้องและสอดคล้อง จํานวน 5 แผนย่อย ประกอบด้วย (1) แผนย่อยที่ 1 แผนย่อยการรักษาความสงบภายในประเทศ โดยการรักษาความสงบ ภายในประเทศ เป็นการเสริมสร้างความสงบเรียบร้อยและสันติสุขให้เกิดขึ้นกับประเทศชาติบ้านเมืองให้สถาบัน หลักมีความมั่นคงเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจอย่างยั่งยืน ประชาชนอยู่ดีมีสุข โดยมีความสอดคล้องต่อแนวทางการ พัฒนาที่ 1 การเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและความมั่นคงของมนุษย์ มุ่งใช้เทคโนโลยีในการ บังคับใช้กฎหมาย มุ่งเน้นการปลูกจิตสํานึกและเสริมสร้างความเป็นพลเมือง รวมทั้งใช้หลักการแก้ไขปัญหาแบบ บูรณการ แนวทางการพัฒนาที่ 4 การสร้างความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ มุ่งให้ความสําคัญกับการที่ ประชาชนและหน่วยงาน/องค์กรทุกภาคส่วน ได้ร่วมกันดําเนินกิจกรรมเพื่อสร้างความรักสามัคคีปรองดองกันของ คนในชาติ ตามบทบาทอํานาจหน้าที่ เพื่อบูรณาการการแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรม โดย มุ่งหวังให้ประชาชนมีความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น และแนวทางการพัฒนาที่ 5 พัฒนากลไก การบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม (2) แผนย่อยที่ 2 แผนย่อยการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง เป็นการบูรณาการนโยบายและการดําเนินการในภาพรวมของทุกหน่วยงาน ในทุกพื้นที่และทุกมิติของการ ดําเนินงานที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถทํางานประสานสอดคล้องกันได้อย่างสมบูรณ์ มีประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นไป ตามที่แผนแม่บทกําหนด โดยมีความสอดคล้องต่อแนวทางการพัฒนา ส่วนการรักษาความมั่นคงภายในราชอาญา จักรและการพัฒนาประเทศ แนวทางการพัฒนาที่ 2 ป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ มุ่งเน้นการ วางกลยุทธ์/ยุทธวิธีในการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ ให้ครอบคลุมสภาพปัญหาของภัยคุกคามทางไซ เบอร์ โดยมุ่งเน้นการกําหนดแนวความคิด มาตรการ มาตรฐาน ระบบบริหารจัดการในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ความมั่นคงทางไซเบอร์ในภาพรวม ตลอดจนปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาศักยภาพบุคลากรและ เทคโนโลยีให้ทันสมัยพร้อมรองรับสถานการณ์ทุกรูปแบบ (3) แผนย่อยที่ 3 แผนย่อยการพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญภัยคุกคาม ที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ เพื่อเตรียมการ/พัฒนาขีดความสามารถของหน่วยงานด้านความมั่นคง ให้พร้อมที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงในมิติต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีความ สอดคล้องต่อแนวทางการพัฒนาที่ 2 พัฒนาศักยภาพของประเทศด้านความมั่นคง มุ่งจัดทําแผนพัฒนาและ ผนึกกําลังทรัพยากร รวมถึงขีดความสามารถทั้งปวงของกองทัพ หน่วยงานด้านความมั่นคง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ที่มีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรม ชัดเจน สอดคล้องกับการบริหารราชการยุคใหม่ และแนวทางการพัฒนาที่ 3 พัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติ ให้ความสําคัญกับการพัฒนาปรับปรุง นโยบาย แนวทางระบบ กลไกการบริหารจัดการ ตลอดถึงแผนการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนมีประสิทธิภาพ (4) แผนย่อยที่ 4 แผนย่อยการบูรณาการความร่วมมือด้านความมั่นคงกับอาเซียนและ นานาชาติรวมทั้งองค์กรภาครัฐและมิใช่ภาครัฐ มุ่งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในทุกระดับ เพื่อเตรียม ความพร้อมของไทยในการรับมือต่อความท้าทายด้านความมั่นคงในอนาคต และส่งเสริมความมั่นคงแบบองค์ รวม โดยมีความสอดคล้องต่อแนวทางการพัฒนาที่ 1 การเสริมสร้างและรักษาดุลยภาพสภาวะแวดล้อม
16 ระหว่างประเทศ มุ่งให้ไทยในฐานะประเทศขนาดกลาง ดําเนินความร่วมมือกับต่างประเทศได้อย่างสมดุล และเ ชี่อมโยงกันทั้งในมิติด้านความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคม แนวทางการพัฒนาที่ 2 การเสริมสร้างและธํารงไว้ซึ่ง สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความมั่นคงที่ครอบคลุมในทุกมิติ โดยเฉพาะมิติการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ และความมั่นคงของมนุษย์ ให้สามารถป้องกันและรับมือกับภัยความมั่นคงทุกรูปแบบ รวมถึงภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ เช่น อาชญากรรมข้ามชาติ การก่อการร้าย ภัยคุกคามทางไซเบอร์ การค้า มนุษย์ ยาเสพติด ภัยคุกคามด้านสุขภาพและภัยพิบัติ และแนวทางการพัฒนาที่ 3 การร่วมมือทางการพัฒนา กับประเทศเพื่อนบ้าน ภูมิภาค โลก รวมถึงองค์กรภาครัฐ และที่มิใช่ภาครัฐ ส่งเสริมบทบาทของไทยในเวที ความมั่นคงระหว่างประเทศ และการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ (5) แผนย่อยที่ 5 แผนย่อยการพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคงแบบ องค์รวม เป็นการเสริมสร้างกลไกในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงแบบ องค์รวมให้เป็นรูปธรรม พร้อมตอบสนองต่อปัญหาในทุกมิติ โดยมีความสอดคล้องต่อแนวทางการพัฒนาที่ 1 บูรณาการกลไกการบริหารจัดการความมั่นคง มุ่งเน้นการเสริมความพร้อม รวมทั้งยกระดับกลไกหน่วยงาน ปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่เดิมหรือที่พัฒนาขึ้นใหม่ ผ่านทางการบูรณาการความร่วมมือและการปฏิบัติกับทุกภาค ส่วน และแนวทางการพัฒนาที่ 2 บูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง มุ่งพัฒนาส่งเสริมการวางแผนคู่ขนานแบบ บูรณาการ ให้สอดคล้องรองรับยุทธศาสตร์ชาติในทุก ๆ ด้าน รวมไปถึงการบริหารประเทศที่เกี่ยวข้องในทุกมิติ อย่างครบถ้วน กล่าวโดยสรุปได้ว่าแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2566 - 2569) ในทุกมิติการบริหารงานและแนวทางการดําเนินงานสําคัญที่เกี่ยวข้องและความสอดคล้องต่อเป้าหมาย และตัวชี้วัดแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง ประเด็นที่ 2 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการต่างประเทศ โดยแผนงานย่อยที่เกี่ยวข้องและสอดคล้อง จํานวน 1 แผนย่อยคือ แผนย่อยด้าน การพัฒนาที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและพันธกรณีระหว่างประเทศ โดยมีความสอดคล้องต่อแนวทาง การพัฒนาที่ 1 เสริมสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวปฏิบัติ ที่เป็นเลิศ ตามกฎระเบียบพันธกรณีระหว่างประเทศ และมาตรฐานสากล แนวทางการพัฒนาที่ 2 ผลักดันให้มี การจัดทํา ปรับปรุงและบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบภายในประเทศให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่าง ประเทศของไทย และมีความเป็นมาตรฐาน สากล และแนวทางการพัฒนาที่ 3 มุ่งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนปฏิบัติ ตามมาตรฐานสากลอย่างบูรณาการในประเด็นที่เป็นปัจจัยสําคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทย อาทิ สิทธิมนุษยชน การค้ามนุษย์ ประเด็นที่ 10 การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม ซึ่งแผนงานย่อยที่เกี่ยวข้องและสอดคล้อง จํานวน 2 แผนย่อย ประกอบด้วย (1) แผนย่อยที่ 1 แผนย่อยการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และการเสริมสร้าง จิตสาธารณะ และการเป็นพลเมืองที่ดี การส่งเสริมให้คนไทยมีจิตสาธารณะและมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม โดยสร้างความตระหนักให้ประชาชนรู้จักหน้าที่ของตนเอง การตรงต่อเวลา การยอมรับความหลากหลาย เห็นคุณค่าและความสําคัญในการประกอบสัมมาอาชีพหรือมีงานทํา เน้นการพึ่งพาตนเอง และมีความรับผิดชอบ ต่อสังคมและต่อผู้อื่น โดยมีความสอดคล้องต่อแนวทางการพัฒนาที่ 2 บูรณาการเรื่องความซื่อสัตย์ วินัยคุณธรรม จริยธรรม และด้านสิ่งแวดล้อมในการจัดการเรียนการสอนในและนอกสถานศึกษา จัดให้มีการเรียนการสอนตาม พระราชดําริ และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา จัดให้มีการเรียนรู้ทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
17 ของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น และแนวทางการพัฒนาที่ 5 ส่งเสริมให้คนไทยมีจิตสาธารณะและมีความ รับผิดชอบต่อส่วนรวม สร้างจิตสาธารณะและจิตอาสาโดยใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ การสื่อสาร เพื่อรับผิดชอบต่อส่วนรวม สร้างเสริมผู้นําการเปลี่ยนแปลงและต้นแบบที่ดี ทั้งระดับบุคคล และองค์กร (2) แผนย่อยที่ 3 แผนย่อยการใช้สื่อและสื่อสารมวลชนในการปลูกฝังค่านิยมและ วัฒนธรรมของคนในสังคม ส่งเสริมให้สื่อและสื่อสารมวลชนปฏิบัติตามจรรยาบรรณสื่ออย่างเคร่งครัด การจัดเวลา และพื้นที่ออกอากาศให้แก่สื่อสร้างสรรค์ในช่วงเวลาที่มีผู้ชมมากที่สุด รวมทั้งการส่งเสริมการใช้สื่อออนไลน์และ เครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีความสอดคล้องต่อแนวทางการพัฒนาที่ 1 พัฒนาสื่อสร้างสรรค์ โดยจัดเวลาและ พื้นที่ออกอากาศสื่อกระแสหลักให้แก่สื่อสร้างสรรค์ รวมทั้งการส่งเสริมการใช้สื่อออนไลน์และเครือข่ายสังคม ออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ เพื่อนําเสนอตัวอย่างของการมีคุณธรรม จริยธรรม และการมีจิตอาสา จิตสาธารณะ เพื่อ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ สร้างความรู้ ความเข้าใจในบทบาท สิทธิ และหน้าที่การเป็น พลเมืองที่ดี ให้กับประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก แนวทางการพัฒนาที่ 2 พัฒนาสื่อเผยแพร่ เพื่อส่งเสริม ให้สื่อและสื่อสารมวลชนปฏิบัติงานบนเสรีภาพของสื่อ ควบคู่ไปกับจรรยาบรรณสื่ออย่างเคร่งครัดและมีความ รับผิดชอบต่อสังคม และแนวทางการพัฒนาที่ 3 พัฒนาระบบโครงสร้างเครือข่ายด้านข้อมูลเพื่อเป็นช่องทางให้ ประชาชนสามารถเข้าถึง ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง มีคุณภาพ และเชื่อถือได้ ประเด็นที่ 17 ด้านความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคม ซึ่งแผนงานย่อยที่เกี่ยวข้องและสอดคล้อง จํานวน 1 แผนย่อย คือ แผนย่อยที่ 1 แผนย่อยการคุ้มครองทางสังคมขั้นพื้นฐานและหลักประกันทางเศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ เน้นการขยายความ คุ้มครองทางสังคมขั้นต่ําให้ทุกชีวิตให้สามารถดํารงชีวิตได้อย่างสมกับความเป็นมนุษย์ โดยเป็นสวัสดิการที่ทุกภาค ส่วนร่วมกันรับผิดชอบ สร้างระบบคุ้มครองและป้องกันแบบถ้วนหน้า และพัฒนาระบบหลักประกันทางสังคมด้าน สุขภาพและเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพและความคุ้มค่า ครอบคลุมอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม โดยสอดคล้องต่อ แนวทางการพัฒนาที่ 1 ขยายฐานความคุ้มครองทางสังคม เพื่อเป็นหลักประกันในการดําเนินชีวิตทางสังคมได้ โดยการจัดระบบหรือมาตรการในรูปแบบต่าง ๆ ให้สามารถคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคน บริการ สังคม การประกันสังคม การช่วยเหลือทางสังคม การคุ้มครองอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งครอบคลุม ถึงการจัดโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคม สําหรับผู้ด้อยโอกาสและคนยากจน ให้สามารถเข้าถึงบริการพื้นฐานของ ภาครัฐได้อย่างมีคุณภาพ ประเด็นที่ 20 ด้านการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ ซึ่งแผนงานย่อยที่เกี่ยวข้องและสอดคล้อง จํานวน 4 แผนย่อย ประกอบด้วย (1) แผนย่อยที่ 1 แผนย่อยการพัฒนาบริการประชาชน เน้นการให้บริการภาครัฐที่ สามารถอํานวยความสะดวกให้กับประชาชนได้อย่างรวดเร็ว โปร่งใส ให้เป็นภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนซึ่ง จะทําให้เกิดการนําเทคโนโลยีดิจิทัล โดยสอดคล้องต่อแนวทางการพัฒนาที่ 2 พัฒนาการให้บริการภาครัฐผ่านการ นําเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการและปฏิบัติงานเทียบได้กับกมาตรฐานสากลอย่าง คุ้มค่า มีความรวดเร็ว โปร่งใส เสียค่าใช้จ่ายน้อย ลดข้อจํากัดทางกายภาพ เวลา พื้นที่และตรวจสอบได้ ตาม หลักการออกแบบที่เป็นสากล เพื่อให้บริการภาครัฐเป็นไปอย่างปลอดภัย สร้างสรรค์ โปร่งใส และเกิดประโยชน์ สูงสุดและแนวทางการพัฒนาที่ 3 ปรับวิธีการทํางาน จาก “การทํางานตามภารกิจที่กฎหมายกําหนด” เป็น “การ ให้บริการ ที่ให้ความสําคัญกับผู้รับบริการ” ปรับปรุงวิธีการทํางานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบริการภาครัฐที่มี
18 คุณค่าและได้มาตรฐานสากล โดยเปลี่ยนจากการทํางานด้วยมือ เป็นการทํางานบนระบบดิจิทัล เชื่อมโยงและ บูรณาการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐเข้าด้วยกันเสมือนเป็นองค์กรเดียว (2) แผนย่อยที่ 3 แผนย่อยการปรับสมดุลภาครัฐ เน้นการให้ภาคส่วนอื่น ๆ อาทิ ภาคประชาชน ภาคเอกชน หรือประชารัฐโมเดล สามารถเข้ามาแบ่งเบาภาระในการแก้ไขและตอบสนองความ ต้องการของตัวเองในพื้นที่ ส่งผลให้ภาครัฐมีขนาดที่เหมาะสมและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อ ก่อให้เกิดบริการสาธารณะเพื่อประชาชน โดยสอดคล้องต่อแนวทางการพัฒนาที่ 1 เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้า มามีส่วนร่วมในการดําเนินการบริการสาธารณะ และกิจกรรมสาธารณะอย่างเหมาะสม กําหนดนโยบาย การ ตัดสินใจ และการกําหนดแนวทางการพัฒนาภาครัฐที่สําคัญ สามารถตรวจสอบการทํางานของภาครัฐได้อย่าง เหมาะสม การกํากับดูแลการแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ การกํากับการให้บริการสาธารณะให้เป็นไปตามมาตรฐาน (3) แผนย่อยที่ 4 การพัฒนาระบบบริหารงานภาครัฐ เน้นการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ภาครัฐและการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในการบริหารการตัดสินใจและการบริการที่เป็น เลิศ รวมทั้งการเปิดโอกาสให้เอกชน ประชาชน เข้าถึงข้อมูลข่าวสารภาครัฐ เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันและ ประโยชน์ในการใช้ชีวิต ให้วิธีการทํางานของหน่วยงานราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสอดคล้อง ต่อแนวทางการพัฒนาที่ 1 พัฒนาหน่วยงานภาครัฐให้เป็น “ภาครัฐทันสมัย เปิดกว้าง เป็นองค์กรขีด สมรรถนะสูง” สามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่าเทียบได้กับมาตรฐานสากล รองรับ สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่มีความหลากหลายซับซ้อนและทันการเปลี่ยนแปลง โดยการนํานวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัลการพัฒนาให้มีการนําข้อมูลและข้อมูลขนาดใหญ่มาใช้ในการพัฒนานโยบาย การตัดสินใจ การบริหารจัดการการให้บริการ และการพัฒนานวัตกรรมภาครัฐ รวมถึงการเชื่อมโยงการทํางานและข้อมูล ระหว่างองค์กรทั้งภายในและภายนอกภาครัฐแบบอัตโนมัติและแนวทางการพัฒนาที่ 2 กําหนดนโยบายและ การบริหารจัดการที่ตั้งอยู่บนข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ มุ่งผลสัมฤทธิ์ มีความโปร่งใส ยืดหยุ่นและ คล่องตัวสูง นํานวัตกรรม เทคโนโลยี ข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบการทํางานที่เป็นดิจิทัล มาใช้ในการบริหารและ การตัดสินใจ มีการพัฒนาข้อมูลเปิดภาครัฐให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึง แบ่งปัน และใช้ประโยชน์ได้อย่าง เหมาะสมและสะดวก รวมทั้งนําองค์ความรู้ ในแบบสหสาขาวิชาเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างคุณค่าและ แนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศในการตอบสนองกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างทันเวลา (4) แผนย่อยที่ 5 แผนย่อยการสร้างและพัฒนาบุคลากรภาครัฐ เน้นการสร้างและ พัฒนาบุคลากรภาครัฐให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสํานึกและเป็นคนเก่ง มีความรู้ความสามารถใน การทํางานรับใช้ประเทศชาติและประชาชน โดยสอดคล้องต่อแนวทางการพัฒนาที่ 2 เสริมสร้างความเข้มแข็ง ในการบริหารงานบุคคลในภาครัฐให้เป็นไปตามระบบคุณธรรมอย่างแท้จริง โดยการสรรหาและคัดเลือกบุคคล ที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรมและจิตสํานึกสาธารณะ มีระบบบริหารจัดการและพัฒนาบุคลากร ให้สามารถสนองความต้องการในการปฏิบัติงานมีความก้าวหน้าในอาชีพ สามารถจูงใจให้คนดีและคนเก่ง ทํางานในภาครัฐ และแนวทางการพัฒนาที่ 3 พัฒนาบุคลากรภาครัฐทุกประเภทให้มีความรู้ความสามารถสูง มี ทักษะการคิดวิเคราะห์และการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีระบบการพัฒนาขีดความสามารถบุคลากร ภาครัฐให้มีสมรรถนะใหม่ ๆ ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาที่สาม ทักษะด้านดิจิทัล มีทัศนคติและกรอบ ความคิดในการทํางานเพื่อให้บริการประชาชนและอํานวยความสะดวกภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเพื่อ ประโยชน์ของการพัฒนาประเทศ
19 ประเด็นที่ 21 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งแผนงานย่อยที่เกี่ยวข้องและสอดคล้อง จํานวน 2 แผนย่อย ประกอบด้วย (1) แผนย่อยที่ 1 แผนย่อยการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ มุ่งการพัฒนา คนและการพัฒนาระบบในส่วนการพัฒนาคน เน้นการปรับพฤติกรรม “คน” ทุกกลุ่มในสังคม โดยกลุ่มเด็กและ เยาวชน เน้นการปลูกฝังและหล่อหลอมให้มีจิตสํานึกและพฤติกรรมยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตสร้างวัฒนธรรมและ พฤติกรรมสุจริต ในส่วนของการพัฒนา “ระบบ” จะให้ความสําคัญกับการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมใน การต่อต้านการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐที่เหมาะสมกับบริบท สภาพปัญหา และพลวัตการทุจริตของแต่ละ หน่วยงานพร้อมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้มีการใช้เครื่องมือและมาตรการเพื่อสร้างความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และปิดโอกาสในการกระทําการทุจริต โดยสอดคล้องต่อแนวทางการพัฒนาที่ 1 ปลูกและปลุกจิตสํานึกการเป็น พลเมืองที่ดี มีวัฒนธรรมสุจริตและการปลูกฝังและหล่อหลอมวัฒนธรรมในกลุ่มเด็กและเยาวชนทุกช่วงวัย ทุกระดับ มุ่งเน้นการปรับพฤติกรรม “คน” โดยการ “ปลูก” และ “ปลุก” จิตสํานึกความเป็นพลเมืองที่ดี มีวัฒนธรรมสุจริต สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ส่วนตน สิ่งใดเป็นประโยชน์ส่วนรวม มีความ ละอายต่อการกระทําความผิดไม่เพิกเฉยอดทนต่อการทุจริต และเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริต ทุกรูปแบบ และแนวทางการพัฒนาที่ 2 ส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มี ความใสสะอาดปราศจากพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริต ปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเปิดเผย โปร่งใส ถูกต้อง เป็นธรรม ไม่คดโกง รู้จักแยกแยะเรื่องส่วนตัวออกจากหน้าที่การงาน การสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงาน (2) แผนย่อยที่ 2 แผนย่อยการปราบปรามการทุจริต มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพ การดําเนินงานของกระบวนการและกลไกที่เกี่ยวข้องในการปราบปรามการทุจริต ทั้งในขั้นตอนการสืบสวน/ ตรวจสอบเบื้องต้น การดําเนินการทางคดี การยึด/อายัดทรัพย์สินของผู้กระทําความผิด การตัดสินลงโทษ ผู้กระทําความผิด ทั้งทางวินัยและอาญาให้มีความรวดเร็ว การปรับปรุงกฎหมายและตรากฎหมายใหม่ ปรับกระบวนการทํางานด้านการปราบปรามการทุจริตเข้าสู่ระบบดิจิทัลการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และฐานข้อมูลที่สนับสนุนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยสอดคล้องต่อแนวทางการพัฒนาที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินงานของกระบวนการและกลไกการปราบปรามการทุจริต โดยการปรับ กระบวนการทํางานด้านการปราบปรามการทุจริตเข้าสู่ระบบดิจิทัล และแนวทางการพัฒนาที่ 2 ปรับปรุง กระบวนการปราบปรามการทุจริตที่มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงขั้นตอนการดําเนินการที่ล่าช้า ของหน่วยงานในกระบวนการปราบปรามการทุจริตให้มีความรวดเร็วและกระชับมากขึ้น เพื่อให้การดําเนินการ ปราบปรามการทุจริตตลอดกระบวนการจนถึงการลงโทษผู้กระทําความผิดเมื่อคดีถึงที่สุดเป็นไปอย่างรวดเร็ว เห็นผล มีประสิทธิภาพและเป็นที่ประจักษ์ของประชาชน ประเด็นที่ 22 กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ซึ่งแผนงานย่อยที่เกี่ยวข้องและสอดคล้อง จํานวน 2 แผนย่อย ประกอบด้วย (1) แผนย่อยที่ 1 แผนย่อยการพัฒนากฎหมาย โดยเน้นการดํานินการปรับปรุง แก้ไข ยกเลิกกฎหมายให้มีเท่าที่จําเป็นและสอดคล้องบริบทและไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ จากการนําเทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมทางกฎหมายมาประยุกต์ใช้ และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่าง จริงจังและเป็นรูปธรรม รวมทั้งบูรณาการเชื่อมโยงกฎหมายทุกลําดับชั้นให้เชื่อมโยงกันอย่างเป็นเอกภาพ ไม่ขัดกันมีการนํากฎหมายไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใสซึ่งเป็นกลไกสําคัญที่จะนํากระบวนการ ยุติธรรมปราศจากความเหลื่อมล้ําและความไม่เท่าเทียม โดยสอดคล้องต่อแนวทางการพัฒนาที่ 1 พัฒนา กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรการต่างๆ ให้สอดคล้องกับบริบทและเอื้อต่อการพัฒนาประเทศ ประเมินผลสัมฤทธิ์ ทบทวนความจําเป็นและความเหมาะสมของกฎหมายที่มีอยู่ทุกลําดับชั้นของกฎหมาย
20 แก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย ยกเลิกกฎหมายที่มีเนื้อหาไม่จําเป็นหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ แนวทางการพัฒนาที่ 2 มีวิธีการบัญญัติกฎหมายอย่างมีส่วนร่วม ดําเนินการให้มีการรับฟังความคิดเห็นของ ผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผย ผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ต่อประชาชน และนํามาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรา กฎหมายทุกขั้นตอน แนวทางการพัฒนาที่ 3 พัฒนาการบังคับใช้กฎหมาย โดยการนําเทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในกระบวนการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ไม่เลือก ปฏิบัติ และเป็นธรรมและก่อให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และแนวทางการพัฒนาที่ 4 ส่งเสริมเทคโนโลยีดิ จิทัล และนวัตกรรมในกระบวนการกฎหมาย สนับสนุนการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการพัฒนากฎหมาย การบังคับใช้และการปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วน ร่วมในการกระบวนการทางกฎหมาโดยเพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ เพื่อให้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ และมีเนื้อหาเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม (2) แผนย่อยที่ 2 การพัฒนากระบวนการยุติธรรม โดยอํานวยความยุติธรรมให้ เป็นไปอย่างเสมอภาค โปร่งใส เป็นธรรม ทั่วถึง และปราศจากการเลือกปฏิบัติ บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในกระบวนการยุติธรรมให้ดําเนินงานสอดประสานกันอย่างเป็นองคาพยพเพื่อให้สามารถจัดการกับข้อขัดแย้ง กรณีพิพาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสอดคล้องต่อแนวทางการพัฒนาที่ 1 ปรับวัฒนธรรมองค์กรและทัศนคติ เจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมให้เคารพและยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย เคารพศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ที่พึงได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมของหน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรมให้มีความโป่ร่งใส เป็นกลาง ปราศจากการแทรกแชงหรือครอบงํา แนวทางการพัฒนาที่ 2 กําหนดให้ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทั้งทางแพ่ง อาญา และปกครอง มีเป้าหมายและยุทธศาสตร์ร่วมกัน ในการ อํานวยความยุติธรรมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรวบรวมพยานหลักฐาน ในการพิจารณาคดี และในการ บังคับตามคําพิพากษา ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ให้มีแนวทางและทิศทางเดียวกัน มีรูปแบบกระบวนการยุติธรรมที่มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานร่วมกันบนพื้นฐานแห่งการไว้วางใจซึ่งกัน และกัน รวมทั้งการสร้างเครื่องมือการประเมินคุณภาพและผลงานที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมุ่งก่อให้เกิด ผลลัพธ์ต่อสังคมร่วมกัน แนวทางการพัฒนาที่ 3 เสริมสร้างพลวัต ความหลากหลาย บูรณาการด้าน กระบวนการยุติธรรมด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน และการสร้างความเสมอภาคในการอํานวยความ ยุติธรรม ด้วยการคุ้มครองผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะการส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมทางเลือกในรูปแบบต่าง ๆ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม การช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความเป็นธรรม การพัฒนารูปแบบของการมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมให้มีความหลากหลาย การสร้างความรู้ความเข้าใจ ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมให้กับประชาชน การพัฒนากลไกคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพประชาชนผู้ ได้รับผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรมและความขัดแย้งระหว่างภาครัฐ เอกชน และชุมชน แนวทางการ พัฒนาที่ 4 ส่งเสริมพัฒนาระบบการสืบเสาะและการสอดส่องให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเสริมสร้าง ความโปร่งใสและพลวัตของกระบวนการยุติธรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ในการเป็นช่องทางให้ประชาชนเข้าถึง กระบวนการยุติธรรมตลอดจนกระบวนการพิจารณาคดีได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกิน สมควร แนวทางการพัฒนาที่ 5 กําหนดให้การรวบรวมและการพิสูจน์พยานหลักฐานในกระบวนการยุติธรรม ต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล มีการใช้ประโยชน์จากนิติวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ และจัดให้มีบริการ ทางด้านนิติวิทยาศาสตร์เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างมีทางเลือก อํานวยความ ยุติธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เลือกปฏิบัติ มีความโปร่งใส และประชาชนเข้าถึงกระบวนกายุติธรรมได้ โดยสะดวก รวดเร็ว และแนวทางการพัฒนาที่ 7 พัฒนามาตรการอื่นแทนโทษทางอาญา เพื่อลดทอนความเป็น โทษทางอาญาที่ไม่จําเป็นสร้างความสมดุลระหว่างการบังคับโทษตามคําพิพากษากับการให้โอกาสผู้ต้องโทษ
21 กลับคืนสู่สังคม เปิดโอกาสให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารการบังคับโทษ และการพัฒาระบบคุม ประพฤติในชุมชน ประเด็น 23 การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ซึ่งแผนงานย่อยที่เกี่ยวข้องและสอดคล้อง จํานวน 1 แผนย่อยคือ แผนย่อยที่ 2 แผนย่อยการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านสังคม มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกกลุ่ม ทั้งด้านสุขภาพ การศึกษา และการเข้าถึงบริการและสวัสดิการของรัฐ การเตรียมความพร้อมของประชาชนไทย เพื่อรองรับกระแสโลกาภิวัตน์ของวัฒนธรรมโลกที่รวดเร็วขึ้นในยุคดิจิทัลการเข้าสู่สังคมสูงวัย การพัฒนา แรงงานทักษะสูงและเฉพาะทางการยกระดับแรงงานทักษะต่ํา การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ําในสังคม ตลอดจน เพิ่มประสิทธิภาพการทํางานของภาครัฐให้เข้ากับการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในยุคดิจิทัล โดยสอดคล้องต่อแนวทางการพัฒนาที่ 2 สร้างความเสมอภาคทางสังคม โดยการส่งเสริมการวิจัย พัฒนา และ ประยุกต์ใช้นวัตกรรมในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ําในสังคม เพื่อลดความแตกต่างทางด้านรายได้ รายจ่าย การเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน และเพิ่มความเสมอภาคในกระบวนการยุติธรรม และแนวทางการพัฒนาที่ 3 ปรับ สมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยการส่งเสริมการวิจัย พัฒนา และประยุกต์ใช้นวัตกรรมใน การพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อให้มีความทันสมัย ตอบสนองความต้องการและให้บริการประชาชนได้ อย่างสะดวกรวดเร็ว และโปร่งใส 2.2.3 ความสอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 65 กําหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเป็น เป้าหมายระยะยาวในการพัฒนาประเทศ ประกอบกับมาตรา 257 และมาตรา 259 กําหนดให้ทําการปฏิรูป ประเทศเพื่อวางรากฐานการพัฒนาไปสู่ประเทศที่มีความสามัคคีปรองดอง มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีความสมดุล ประชาชนในสังคมมีโอกาสทัดเทียมกัน และมีคุณภาพชีวิตที่ ดี รวมทั้งมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข โดยต้องมีการดําเนินการต่อเนื่องในช่วงหน้าปี เพื่อให้บรรลุผลที่กําหนดไว้ ทั้งนี้ การจัดทําแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) ได้ดําเนินการทบทวนความสอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ในด้านและประเด็น ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม โดยนํามากําหนดเป็นประเด็นภายใต้แนวทางการดําเนินงานตามมิติการ บริหารงาน ของแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) แล้ว ยังได้นํา กิจกรรมตามแผนการดําเนินงานของประเด็นปฏิรูปประเทศดังกล่าว มาบรรจุเป็นโครงการ/กิจกรรมสําคัญ ภายใต้แผนแม่บทฯ ฉบับนี้ด้วย ซึ่งแผนปฏิรูปประเทศในส่วนซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมที่นํามา กําหนดเป็นมิติการบริหารงานและแนวทางการดําเนินงาน มีทั้งหมด 3 ด้านหลัก ประกอบด้วย ด้านการบริหาร ราชการแผ่นดิน ด้านกฎหมาย และด้านกระบวนการยุติธรรม โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1) แผนปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีประเด็นการปฏิรูปที่ เกี่ยวข้อง คือ ประเด็นการปฏิรูปที่ 1 บริการภาครัฐ สะดวก รวดเร็ว และตอบโจทย์ชีวิตประชาชน ประเด็น การปฏิรูป ที่ 3 โครงสร้างภาครัฐกะทัดรัด ปรับตัวได้เร็ว และระบบงานมีผลสัมฤทธิ์สูง และประเด็นการปฏิรูป ที่ 6 การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ คล่องตัว โปร่งใส และมีกลไกป้องกันการทุจริตทุกขั้นตอน 2) แผนปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย โดยมีประเด็นการปฏิรูปที่เกี่ยวข้อง คือ ประเด็น การปฏิรูปที่ 1 มีกลไกให้การออกกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ดีและเท่าที่จําเป็น รวมทั้งมีกลไกในการทบทวน กฎหมายที่มีผลใช้บังคับแล้ว เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย ประเด็นการปฏิรูปที่ 2 ยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่ล้าสมัย และเป็นอุปสรรคต่อการดํารงชีวิตหรือการ
22 ประกอบอาชีพของประชาชน ประเด็นการปฏิรูปที่ 3 มีกลไกทางกฎหมายเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ําและสร้าง ความเป็นธรรมในสังคม ประเด็นการปฏิรูปที่ 6 มีกลไกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทําและเสนอร่าง กฎหมายที่มีความสําคัญและจัดให้มีกลไกช่วยเหลือประชาชน ในการจัดทําและเสนอร่างกฎหมาย รวมทั้งการ ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ประเด็นการปฏิรูปที่ 7 มีกลไกให้ประชาชนเข้าถึงกฎหมาย โดยสะดวกและเข้าใจกฎหมายได้ง่าย รวมทั้งพัฒนาระบบฐานข้อมูลของกฎหมาย คําพิพากษา คําวินิจฉัย หรือ การตีความกฎหมายให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก ประเด็นการปฏิรูปที่ 9 พัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนติดต่อกับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายได้โดยสะดวก เพื่อลดค่าใช้จ่าย และขจัดช่องทางการทุจริตประพฤติมิชอบ และประเด็นการปฏิรูปที่ 10 กลไกส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายให้ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 3) แผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม โดยมีประเด็นการปฏิรูปที่เกี่ยวข้อง คือ ประเด็นการปฏิรูปที่ 1 การกําหนดระยะเวลาดําเนินงานในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยไม่ล่าช้า ประเด็นการปฏิรูปที่ 2 การพัฒนากลไกช่วยเหลือและเพิ่ม ศักยภาพเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ประเด็นการปฏิรูปที่ 3 การพัฒนากลไกการบังคับการ ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อลดความเหลื่อมล้ํา และประเด็นการปฏิรูปที่ 4 การปรับกระบวนทัศน์ในการ บริหารงานยุติธรรมเพื่อสร้างความปลอดภัยและความเป็นธรรมในสังคม นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับ ปรับปรุง) ตามที่สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ ยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ และรัฐสภารับทราบแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับ ปรับปรุง) โดยมีการประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เพื่อทราบโดยทั่วกัน โดยประเด็นการปฏิรูปประเทศตามแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับ ปรับปรุง) ดังกล่าว มุ่งเน้นกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่าง มีนัยสําคัญ (Big Rock) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความสําคัญเร่งด่วนและดําเนินการร่วมกันหลายหน่วยงาน ซึ่งสามารถดําเนินการและวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของประเด็นยุทธศาสตร์ ใน แผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานยุติธรรม พบว่ามี 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1) แผนปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มีเป้าประสงค์เพื่อให้ความสําคัญในการเตรียมความพร้อมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ในทุกมิติและรองรับผลกระทบของสถานการณ์ ชีวิตวิถีใหม่และทิศทางที่กําหนดไว้ตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยกําหนดกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสําคัญ จํานวน 5 กิจกรรม ประกอบด้วย (1.1) ปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานและการบริการภาครัฐไปสู่ระบบดิจิทัล โดยอาศัยศักยภาพและโอกาสจากพัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดและพัฒนาการทางสังคมที่ แปรเปลี่ยน รวมทั้งความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เร่งให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานและการ บริการภาครัฐ (1.2) จัดโครงสร้างองค์กร และระบบงานภาครัฐให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัวและ เปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ ให้รองรับบริบทความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งจะมีปัญหา ความ ยุ่งยากที่สลับซับซ้อนมากขึ้น (1.3) ปรับเปลี่ยนการบริหารงานทรัพยากรบุคคลภาครัฐสู่ระบบเปิด เพื่อให้ได้มา และรักษาไว้ซึ่งคนเก่ง ดีและมีความสามารถอย่างคล่องตัว ตามหลักคุณธรรม เพื่อให้มีความพร้อมและสามารถ ปรับตัวได้ทันต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความสามารถและความพร้อมของภาครัฐในการ
23 เปลี่ยนแปลง เพื่อให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพคล่องตัวและ ตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคแห่งฐานชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) (1.4) สร้างความเข้มแข็งในการบริหารราชการในระดับพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วม ของประชาชน โดยทบทวนบทบาทภารกิจและระบบการบริหารราชการในส่วนภูมิภาค โดยสร้างและพัฒนา กลไกการทํางานที่เน้นการบูรณาการ/เชื่อมโยงการทํางานของหน่วยงานในพื้นที่ รวมถึงพัฒนารูปแบบการเพิ่ม ประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัวในระบบงาน ระบบแผนและงบประมาณ และระบบบริหารงานบุคคล (จังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง: High Performance) เพื่อให้มีการทํางานที่มีขีด สมรรถนะสูง (1.5) ขจัดอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และการเบิกจ่ายเงินเพื่อให้เกิดความ รวดเร็ว คุ้มค่าโปร่งใส ปราศจากการทุจริต การปฏิรูประบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ควรจะมุ่งเน้นการวาง ระบบที่รวดเร็ว และโปร่งใสด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาจัดการแทนบุคคล และควรให้ความสาคัญกับเชื่อมโยง ระบบฐานข้อมูลด้านการจัดซื้อจัดจ้าง และบูรณาการทางานร่วมกันระหว่างกรมบัญชีกลางและหน่วยงาน ตรวจสอบการทุจริตเพื่อให้มีแนวทางการป้องกันการทุจริตที่ชัดเจน มีมาตรฐาน ทั้งนี้ ในการดําเนินการดังกล่าวจะส่งผลให้ภาครัฐมีความโปร่งใส เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจ ของประชาชนในความซื่อตรง และมาตรฐานการทํางานที่มีคุณภาพสูงในระดับสากล มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมุ่งเน้นการสร้างเอกภาพแห่งพลัง ในการขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้การจัดทําบริการสาธารณะ การอํานวย ความสะดวกแก่ประชาชนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างมีนัยสําคัญ (2) แผนปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย มีเป้าประสงค์เพื่อให้เกิดผลอันพึงประสงค์ในการมีกฎหมายที่ดีและมีเพียงเท่าที่ จําเป็นตามหลักการของมาตรา 258 ค. ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยกําหนดกิจกรรมปฏิรูป ประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสําคัญจํานวน 5 กิจกรรม ได้แก่ (2.1) มีกลไกยกเลิกหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่สร้างภาระหรือเป็นอุปสรรคต่อ การดํารงชีวิตหรือการประกอบอาชีพของประชาชน โดยมีเป้าหมายกระบวนงานที่เกี่ยวกับการอนุญาตและ กฎหมายที่สร้างภาระหรือเป็นอุปสรรค ต่อการดํารงชีวิตหรือการประกอบอาชีพของประชาชนได้รับการ ปรับปรุง (2.2) จัดให้มีกลไกทางกฎหมายเพื่อให้มีการพิจารณาปรับเปลี่ยนโทษทางอาญาที่ ไม่ใช่ความผิดร้ายแรงให้เป็นโทษปรับเป็นพินัย เพื่อลดผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดยมี เป้าหมายให้มีการปรับโทษทางอาญาที่ไม่ใช่ความผิดร้ายแรงให้เป็นโทษปรับเป็นพินัย เพื่อลดผลกระทบต่อสิทธิ และเสรีภาพของประชาชน (2.3) จัดให้มีกลไกกําหนดให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่ควบคุม กํากับดูแล และบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย นําเทคโนโลยีมาใช้ในการดําเนินกํารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน การบังคับใช้กฎหมาย โดยมีเป้าหมายให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่ควบคุม กํากับดูแล และ บังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย นําเทคโนโลยีมาใช้ในการดําเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้ กฎหมายและการให้บริการประชาชน (2.4) จัดให้มีกลไกช่วยเหลือประชาชนในการจัดทําและเสนอร่างกฎหมาย โดยมี เป้าหมายเพื่อให้ประชาชนใช้สิทธิในการเสนอร่างกฎหมาย
2 4 (2.5) จัดทําประมวลกฎหมายเพื่อรวบรวมกฎหมายเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกัน เพื่อ ความสะดวกในการใช้งาน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกฎหมายได้โดยสะดวกและสามารถ เข้าใจเนื้อหาของกฎหมายได้โดยง่าย ทั้งนี้ ในการดําเนินการดังกล่าวจะส่งผลประโยชน์ในการลดภาระของการดํารงชีวิตหรือ การประกอบอาชีพให้กับประชาชนและภาคธุรกิจโดยรวม รวมทั้งสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทํา และเสนอร่างกฎหมาย ตลอดจนประชาชนสามารถเข้าถึงกฎหมายได้โดยสะดวกและเข้าใจเนื้อหาสาระของ กฎหมายได้โดยง่าย 3) แผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม มีเป้าประสงค์เพื่ออํานวยความยุติธรรมในแต่ละขั้นตอนให้เป็นไปอย่างโปร่งใสแล้ว เสร็จตามระยะเวลาที่กําหนด ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ํา พัฒนาระบบการบริหารงานยุติธรรมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เลือกปฏิบัติและ เป็นธรรม โดยกําหนดกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสําคัญ จํานวน 5 กิจกรรม ประกอบด้วย (3.1) การให้ประชาชนสามารถติดตามความคืบหน้า ขั้นตอนการดําเนินงานต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรม โดยมีเป้าหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมมีระบบให้ประชาชน ตรวจสอบหรือแจ้งความคืบหน้าให้ประชาชนทราบ (3.2) การรับแจ้งความร้องทุกข์ต่างท้องที่ เพื่ออํานวยความสะดวกรวดเร็ว ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมโดยไม่มีข้อจํากัดเรื่องเขตพื้นที่การสอบสวน พัฒนาระบบ การสอบสวนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ โดยเป้าหมายคือการมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการรับคําร้องทุกข์ กล่าวโทษและเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง สถานีตํารวจทั่วประเทศ (3.3) การจัดหาทนายความอาสาประจําสถานีตํารวจให้ครบทุกสถานีทั่วประเทศ เพื่อจัดให้มีมาตรการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และจําเลย เพื่อให้เข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อมให้ประชาชนได้รับความคุ้มครอง ได้รับ การช่วยเหลือ คําแนะนําด้านกฎหมาย ในการดําเนินคดี การดําเนินการในขั้นพนักงานสอบสวนสะดวกและ รวดเร็วขึ้น (3.4) ปฏิรูประบบการปล่อยชั่วคราว เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม อย่างรวดเร็ว ลดความเหลื่อมล้ําในการเข้าถึงสิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราว และยกระดับการปล่อยชั่วคราว ให้มีประสิทธิภาพ โดยนําระบบประเมินความเสี่ยงและการกํากับดูแลหลังปล่อยชั่วคราวที่มีความเหมาะสมกับ ผู้ต้องหาหรือจําเลยแต่ละรายมาใช้ทดแทนการเรียกทรัพย์สินเป็นหลักประกัน โดยมีเป้าหมาย มาตรการ คุ้มครอง ผู้ต้องหาและจ้าเลยเพื่อให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (3.5) การบันทึกภาพและเสียงในการตรวจค้น จับกุม และการสอบปากคําในการ สอบสวนเพื่อจัดให้มีมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้ต้องหาและจําเลยให้เหมาะสม ครอบคลุมและรวดเร็ว และ สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือในการพิสูจน์ความผิด หรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาหรือ จําเลย และเป็นการคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจผู้จับกุม และพนักงานสอบสวน โดยมี เป้าหมาย มาตรการคุ้มครอง ผู้ต้องหาและจําเลยเพื่อให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น
2 5 ทั้งนี้ ในการดําเนินการดังกล่าวจะทําให้ประชาชนทราบถึงระยะเวลาดําเนินงานใน ทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมได้ชัดเจน มีมาตรการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และ จําเลย ทําให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสะดวกรวดเร็ว ลดความเหลื่อมล้ําใน การเข้าถึงสิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราว 2.2.4 ความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) เป็นแผนพัฒนาฯ ฉบับแรก ที่เริ่มต้นกระบวนการยกร่างกรอบแผนภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และจะมีผลในการใช้เป็นกรอบ เพื่อกําหนดแผนระดับปฏิบัติการในช่วง 5 ปีที่สองของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และยังคงน้อมนําปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักปรัชญานําทางในการขับเคลื่อนและวางแผนการพัฒนาประเทศ ไปสู่การบรรลุ เป้าหมายในมิติต่าง ๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นกลไกในการชี้ประเด็นที่มีลําดับ ความสําคัญสูงต่อการพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปี เพื่อผลักดันให้ประเทศสามารถก้าวข้ามความท้าทายต่าง ๆเพื่อขับเคลื่อนสู่ความเจริญเติบโตที่ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน โดยกําหนดทิศทางและ เป้าหมายของการพัฒนาบนพื้นฐานของหลักการและแนวคิดที่สําคัญ 4 ประการ ได้แก่ หลักปรัญชาของ เศรษฐกิจพอเพียง แนวคิด Resilience เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ และโมเดลทาง เศรษฐกิจ BCG วัตถุประสงค์หลักสําคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) คือการพลิกโฉมประเทศไทย (Thailand’s Transformation) ไปสู่ “เศรษฐกิจสร้างมูลค่าสังคมอย่าง ยั่งยืน”หรือ “Hi-Value and Sustainable Thailand” โดยใช้องค์ความรู้ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรมเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการยกระดับศักยภาพและพัฒนาประเทศในทุกมิติ เพื่อให้สามารถ ปรับตัวและรองรับกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเท่าทัน ตลอดจนสามารถอยู่รอดและเติบโตได้อย่างต่อเนื่องใน ระยะยาวไป พร้อม ๆ กับการส่งต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีไปยังคนรุ่นต่อไปการพัฒนาอย่าง ยั่งยืน และมีเป้าหมายหลัก 3 ประการ ประกอบด้วย การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม การเปลี่ยน ผ่านไปสู่ความยั่งยืน และการเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความ เสี่ยงภายใต้บริบทโลกใหม่ ซึ่งในการพัฒนาและการบริหารงานยุติธรรม มีความสอดคล้องต่อมิติการบริหารและ หมุดหมายของการพัฒนา 2 ด้านหลัก ได้แก่ มิติโอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม หมุดหมายที่ 9 ที่มุ่งสร้างสังคมที่คนไทยทุกคนมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ เหมาะสม การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม โดยการสนับสนุนให้กลุ่มเปราะบางและผู้ด้อยโอกาสมี โอกาสในการเลื่อนชั้นทางเศรษฐกิจและสังคมสูงขึ้น รวมทั้งการพัฒนาคนสําหรับโลกยุคใหม่ ในด้านการสร้าง หลักประกันความคุ้มครองทางสังคมเพื่อให้คนไทยมีความมั่นคงในชีวิต เป้าหมาย ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของการพัฒนาระดับหมุดหมาย - เป้าหมายที่ 2 คนไทยทุกช่วงวัยได้รับความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอต่อการดํารงชีวิต - ตัวชี้วัดที่ 2.1 ดัชนีรวมของความคุ้มครองทางสังคมมีค่าไม่ต่ํากว่า 100 โดยดัชนีรวมของ ความคุ้มครองทางสังคม 3 มิติคือ มิติด้านความคุ้มครองทางสังคมสําหรับวัยเด็ก วัยแรงงาน และผู้สูงอายุ
26 กลยุทธ์การพัฒนา - กลยุทธ์ที่ 3 การยกระดับความคุ้มครองทางสังคมสําหรับคนทุกช่วงวัย - กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาระบบความคุ้มครองทางสังคมให้มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ย่อยที่ 4.1 การบูรณาการความคุ้มครองทางสังคม โดยกําหนดเป้าประสงค์ของการจัดการความคุ้มครองทางสังคมร่วมกัน รวมถึงการเชื่อมโยงฐานข้อมูลให้ทุกหน่วยงานสามารถทํางานบนฐานข้อมูลเดียวกัน มิติปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประเทศ หมุดหมายที่ 13 ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน ภาครัฐจําเป็นต้องเร่งพัฒนาและปรับตัวเพื่อลดช่องว่างของการปฏิบัติงานให้มีศักยภาพที่เหมาะสม ในฐานะที่เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศบนหลักการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ คือ การปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการภาครัฐ โดยนําหลักการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการและการแสวงหา ประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการที่มุ่งการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศ โดยมีประเด็นที่ต้องดําเนินการ เพื่อรับมือกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและเสริมสร้างความสามารถของภาครัฐ เป้าหมาย ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของการพัฒนาระดับหมุดหมาย - เป้าหมายที่ 1 การบริการภาครัฐ มีคุณภาพ เข้าถึงได้ - ตัวชี้วัดที่ 1.1 ความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของภาครัฐ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 กลยุทธ์การพัฒนา - กลยุทธ์ที่ 2 การปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการและโครงสร้างของภาครัฐให้ยืดหยุ่น เชื่อมโยง เปิดกว้าง และมีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ กลยุทธ์ย่อย ที่ 2.2 สร้างความโปร่งใสและธรรมาภิบาลภาครัฐ โดยเปิดเผยข้อมูลผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้ประชาชน สามารถเข้าถึงข้อมูลและมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น และตรวจสอบการดําเนินงานของ หน่วยงานรัฐผ่านช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างกันที่หลากหลาย มีการบูรณาการการบริหารจัดการและ นําไปประกอบการตัดสินใจของหน่วยงานภาครัฐในการแก้ปัญหาและการพัฒนาร่วมกัน เพื่อลดการทุจริต คอร์รัปชัน - กลยุทธ์ที่ 3 การปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่ใช้ข้อมูลในการบริหารจัดการ เพื่อการพัฒนาประเทศ กลยุทธ์ย่อยที่ 3.2 ปรับเปลี่ยนกระบวนการทํางานภาครัฐเป็นดิจิทัล โดยออกแบบ กระบวนการทํางานใหม่ ยกเลิกการใช้เอกสารและขั้นตอนการทํางานที่หมดความจําเป็นหรือมีความจําเป็นน้อย นําเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ตลอดกระบวนการทํางาน ตั้งแต่การวางแผน การปฏิบัติงาน และการติดตาม ประเมินผล โดยเฉพาะมาประยุกต์ใช้ตลอดกระบวนการทํางาน ตั้งแต่การวางแผน การปฏิบัติงานและ การติดตามประเมินผล โดยเฉพาะการให้บริการประชาชนและผู้ประกอบการให้มีความคล่องตัว สะดวก รวดเร็ว มีช่องทางและรูปแบบการให้บริการ - กลยุทธ์ที่ 4 การสร้างระบบบริหารภาครัฐที่ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนและพัฒนาบุคลากรให้ มีทักษะที่จําเป็นในการให้บริการภาครัฐดิจิทัล และปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ มาตรการภาครัฐให้เอื้อต่อการ พัฒนาประเทศ กลยุทธ์ย่อยที่ 4.2 ยกเลิกกฎหมายที่หมดความจําเป็นและพัฒนากฎหมายที่เอื้อต่อการพัฒนา ประเทศ
27 2.3 กรอบการพัฒนากระบวนการยุติธรรมในระดับสากล 2.3.1 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 มุ่งหวังเป้าหมายสําคัญคือ การสร้าง สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีการกําหนดเป้าหมาย (Target) ไว้ 10 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 16.1 ลดความรุนแรงทุกรูปแบบและอัตราการตายที่เกี่ยวข้องในทุกแห่ง ให้ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ เป้าหมายที่ 16.2 ยุติการข่มเหง การแสวงหาประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง การค้ามนุษย์ และความรุนแรง และการทรมานทุกรูปแบบที่มีต่อเด็ก เป้าหมายที่ 16.3 ส่งเสริมหลักนิติธรรมทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศและ สร้างหลักประกันว่าทุกคนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียม เป้าหมายที่ 16.4 ลดการลักลอบ เคลื่อนย้ายอาวุธและเงิน เสริมความของแข็งแกร่ง กระบวนการติดตามและส่งคืนสินทรัพย์ที่ถูกขโมยไป และต่อสู้กับอาชญากรรมที่จัดตั้งในลักษณะองค์การ ทุกรูปแบบภายในปี 2573 เป้าหมายที่ 16.5 ลดการทุจริตในตําแหน่งหน้าที่และการรับสินบนทุกรูปแบบ เป้าหมายที่ 16.6 การพัฒนาสถาบันที่มีประสิทธิผล มีความรับผิดชอบ และโปร่งใส ในทุกระดับ เป้าหมายที่ 16.7 สร้างหลักประกันว่าจะมีกระบวนการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ ครอบคลุม มีส่วนร่วม และมีความเป็นตัวแทนที่ดี ในทุกระดับการตัดสินใจ เป้าหมายที่ 16.8 ขยายและเสริมความแข็งแกร่งของการมีส่วนร่วมของประเทศ กําลังพัฒนาในสถาบันของธรรมาภิบาลระดับโลก เป้าหมายที่ 16.9 จัดให้มีเอกลักษณ์ทางกฎหมายสําหรับทุกคน โดยรวมถึงการให้ มีการจดทะเบียนเกิด (มีสูติบัตร) ภายในปี 2573 เป้าหมายที่ 16.10 สร้างหลักประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและ มีการปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามกฎหมายภายในประเทศและข้อตกลงระหว่างประเทศ อีกทั้ง ยังมีการกําหนดเป้าประสงค์ในการนําไปปฏิบัติ 2 เป้าประสงค์ ได้แก่ เป้าหมายที่ 16.a เสริมความแข็งแกร่งของสถาบันระดับชาติที่เกี่ยวข้อง โดยรวมถึง การกระทําผ่านทางความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อสร้างขีดความสามารถในทุกระดับ โดยเฉพาะในประเทศกําลัง พัฒนา เพื่อจะป้องกันความรุนแรงและต่อสู้กับการก่อการร้ายและอาชญากรรม เป้าหมายที่ 16.b ส่งเสริมและบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่ไม่เลือกปฏิบัติเพื่อ การพัฒนาที่ยั่งยืน 2.3.2 ดัชนีวัดหลักนิติธรรม (Rule of Law Index) โครงการยุติธรรมโลก (World Justice Project) ได้กําหนดดัชนีวัดหลักนิติธรรม (Rule of Law Index) จากการวัดผล 8 ปัจจัย และกําหนดปัจจัยย่อยเพื่อเป็นตัวบ่งชี้ (Indicators) ในการวัดผล จากแต่ละปัจจัย ซึ่งเมื่อพิจารณาดัชนีชี้วัดหลักนิติธรรมของโครงการยุติธรรมโลก ในปี ค.ศ. 2021 ตามบริบทของการบริหารงานยุติธรรม พบว่า มีปัจจัยในการวัดที่สอดคล้อง ดังนี้ (1) การจํากัดอํานาจของรัฐบาล (Constraints on Government Powers) มีปัจจัย ย่อยที่เกี่ยวข้องคือ การจํากัดอํานาจของรัฐบาลโดยฝ่ายนิติบัญญัติ การจํากัดอํานาจของรัฐบาลโดยฝ่ายตุลาการ
28 การจํากัดอํานาจของรัฐบาลโดยการตรวจสอบและวิพากษ์วิจารณ์อย่างอิสระ เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องได้รับโทษ เมื่อปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และการตรวจสอบอํานาจของรัฐบาลโดยองค์กรที่ไม่ใช่รัฐบาล (2) การปลอดจากคอร์รัปชัน (Absence of Corruption) มีปัจจัยย่อยที่เกี่ยวข้องคือ เจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายบริหาร เจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายตุลาการ เจ้าหน้าที่ตํารวจและทหาร และเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายนิติบัญญัติ ต้องไม่ใช้อํานาจหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตน (3) การมีรัฐบาลที่เปิดกว้าง (Open Government) มีปัจจัยย่อยที่เกี่ยวข้องคือ การประกาศใช้กฎหมายและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของราชการ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ การมีส่วนร่วมของประชาชน และกระบวนการร้องเรียน/ร้องทุกข์ (4) การรับรองสิทธิขั้นพื้นฐาน (Fundamental Rights) มีปัจจัยย่อยที่เกี่ยวข้องคือ การปฏิบัติอย่างเท่าเทียมและการขจัดการเลือกปฏิบัติ หลักประกันสิทธิในชีวิตและความปลอดภัยของประชาชน กระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมายและสิทธิของผู้ต้องหา หลักประกันเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและ การแสดงออก และหลักประกันเสรีภาพในสิทธิส่วนบุคคลโดยปราศจากการแทรกแซงโดยอําเภอใจ (5) ความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัย (Order and Security) มีปัจจัยย่อย ที่เกี่ยวข้องคือ การควบคุมอาชญากรรมอย่างมีประสิทธิภาพ การจํากัดความขัดแย้งในสังคม และประชาชน ต้องไม่ใช้มาตรการที่รุนแรงในการจัดการกับปัญหาส่วนบุคคล (6) การบังคับใช้กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ (Regulatory Enforcement) มีปัจจัย ย่อยที่เกี่ยวข้องคือ การบังคับใช้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของรัฐบาล อย่างมีประสิทธิภาพ การประยุกต์และบังคับ ใช้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของรัฐบาล โดยปราศจากอิทธิพลที่ไม่เหมาะสม กระบวนการดําเนินการต้องไม่ล่าช้า โดยปราศจากเหตุผลอันควร กระบวนการดําเนินการต้องชอบด้วยกฎหมาย และรัฐต้องไม่เวนคืนทรัพย์สิน โดยปราศจากกระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมายและมีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เพียงพอ (7) กระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง (Civil Justice) มีปัจจัยย่อยที่เกี่ยวข้องคือ ประชาชนสามารถเข้าถึงและสามารถจ่ายได้สําหรับกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง กระบวนการยุติธรรมทาง แพ่งที่ไม่เลือกปฏิบัติ กระบวนการยุติธรรมทางแพ่งที่ปลอดจากการทุจริตประพฤติมิชอบ กระบวนการยุติธรรม ทางแพ่งที่ปลอดจากการแทรกแซงของอิทธิพลที่ไม่เหมาะสมของรัฐบาล กระบวนการยุติธรรมทางแพ่งที่ไม่ ล่าช้าโดยปราศจากเหตุผลอันควร การบังคับใช้กระบวนการยุติธรรมทางแพ่งอย่างมีประสิทธิภาพ และกลไก การระงับข้อพิพาททางเลือกที่สามารถเข้าถึงได้ เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ (8) กระบวนการยุติธรรมทางอาญา (Criminal Justice) มีปัจจัยย่อยที่เกี่ยวข้อง คือ กระบวนการสืบสวนสอบสวนที่มีประสิทธิภาพ กระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีที่มีประสิทธิภาพและไม่ ล่าช้า ระบบการปฏิบัติต่อผู้กระทําความผิดที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดพฤติกรรมการกระทําผิด กระบวนการ ยุติธรรมทางอาญาที่เป็นธรรม กระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ปลอดจากการทุจริตประพฤติมิชอบ กระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ปลอดจากการแทรกแซงของอิทธิพลที่ไม่เหมาะสมของรัฐบาล และ กระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมายและสิทธิของผู้ต้องหา 2.3.3 แนวทางการพัฒนากระบวนการยุติธรรมในบริบทต่างประเทศ แนวโน้มและทิศทางด้านกระบวนการยุติธรรมในระดับสากลจากประเด็นหลัก ของการประชุมระหว่างประเทศที่สําคัญ ทั้งการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและ ความยุติธรรมทางอาญา (United Nations Congress on Crime Prevention and Criminal Justice – Crime Congress) การประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา (Commission on Crime Prevention and Criminal Justice: CCPJC) และการประชุมอาเซียน ว่าด้วยการป้องกัน อาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา (ASEAN Conference on Crime Prevention and Criminal
29 Justice: ACCPJC) ประกอบกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านกระบวนการยุติธรรมของต่างประเทศ สามารถ สรุปประเด็นท้าทายสําหรับการพัฒนากระบวนการยุติธรรมในบริบทต่างประเทศได้ ดังนี้ (1) การพัฒนาหลักนิติธรรมเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้มีศักยภาพและความ พร้อมในการอํานวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนตามสิทธิ โดยการส่งเสริมให้มีการเข้าถึงความยุติธรรมและ การปฏิบัติที่เท่าเทียมภายใต้กฎหมาย การมีนโยบายระดับชาติว่าด้วยการกําหนดบทลงโทษที่เหมาะสมกับ ความผิด การมีสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ เที่ยงตรง และดําเนินการอย่างครอบคลุมและเท่าเทียมกัน ทุกฝ่าย และการส่งเสริมให้สาธารณชนเข้าใจคุณค่า มีทักษะ และความรู้ที่จําเป็นต่อการสร้างวัฒนธรรม การยึดถือกฎหมาย และการตระหนักในความหลากหลายทางวัฒนธรรมบนพื้นฐานของการเคารพต่อกฎหมายขึ้น ในหมู่สาธารณชนทั่วไป (2) การส่งเสริมความก้าวหน้าในการป้องกันอาชญากรรม รวมทั้งการลดการกระทํา ผิดซ้ําด้วยการฟื้นฟูและการกลับคืนสู่สังคม โดยการนํามิติการพัฒนา หรือกลไกทางสังคมในลักษณะต่าง ๆ เข้ามาปรับใช้ในการป้องกันอาชญากรรมตามความจําเป็นและเหมาะสมกับคนทุกกลุ่ม รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดความ ร่วมมือจากหน่วยงานและภาคส่วนต่าง ๆ ทางสังคม ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันหรือสร้างภูมิคุ้มกัน ให้แก่คนในสังคม เพื่อให้เกิดการยึดโยงคนในสังคมเห็นคุณค่าในตนเองและการเป็นส่วนหนึ่งในการปกป้อง สังคม และไม่เปิดโอกาสให้ตนเองกลายเป็นผู้กระทําผิดที่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อสังคม หรือโดยเฉพาะ อย่างยิ่งเด็กและเยาวชน ซึ่งนับเป็นกลุ่มเปราะบางที่อาจเกิดความเสี่ยงในการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมหรือ เป็นผู้ก่ออาชญากรรม ตลอดจนการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเปิดรับหรือเปิดโอกาสจากสังคมในการร่วม แก้ไขฟื้นฟูผู้กระทําผิดให้กลับสู่การเป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้อีกครั้ง เพื่อเป็นการตัดโอกาสในการกลับไปสู่ การกระทําผิดซ้ํา (3) การพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาให้มีความสอดคล้องกับบริบทของ สังคมแต่ละพื้นที่ โดยการปรับปรุงกระบวนการดําเนินงานและแนวปฏิบัติโดยคํานึงถึงความหลากหลายและ ความเปราะบางของกลุ่มเป้าหมาย การปกป้องสิทธิของเหยื่อและคุ้มครองพยานและผู้ให้ข้อมูล การปฏิบัติต่อ ผู้กระทําผิดบนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน และมุ่งลดการทําผิดซ้ําด้วยการฟื้นฟูและการกลับเข้าสู่สังคม ตลอดจนการนําแนวทางยุติธรรมเชิงสมาฉันท์มาปรับใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสําหรับการคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งควรมุ่งเน้นการปฏิบัติบนพื้นฐานของการให้ความคุ้มครองมากกว่าการลงโทษรุนแรง (4) การแสวงหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขอาชญากรรมรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงของบริบทของในปัจจุบัน เช่น อาชญากรรมไซเบอร์ และอาชญากรรมที่ส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม (5) การพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศและความช่วยเหลือทางเทคนิคเพื่อ ป้องกันอาชญากรรมทุกรูปแบบ ทั้งอาชญากรรมในประเทศ และอาชญากรรมระหว่างประเทศ เช่น ปัญหาการก่อ การร้าย ปัญหาผู้อพยพ และปัญหากลุ่มอาชญากรข้ามชาติ (6) การพัฒนาระบบงานยุติธรรมทางอาญา เพื่อรับมือกับแนวโน้มของการเกิด อาชญากรรมที่อาจเป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) 2.4 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2570 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2570 เป็นแผน ระดับที่ 2 มีกรอบทิศทางระยะ 5 ปี รองรับการถ่ายทอดแผนระดับที่ 1 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ด้านความมั่นคง และเชื่อมโยงให้มีการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติผ่านแผนระดับที่ 3 เพื่อให้เป็น กรอบทิศทางในการป้องกัน แจ้งเตือน แก้ไข หรือระงับยับยั้งภัยคุกคามเพื่อธํารงไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งชาติ และ
30 รักษาผลประโยชน์แห่งชาติอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความ มั่นคงแห่งชาติ ให้ความสําคัญกับการขับเคลื่อนกรอบความมั่นคงแบบองค์รวม (Comprehensive Security) มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) การวางนโยบายและแผนการขับเคลื่อนงานด้านความ มั่นคงให้สอดคล้องในทิศทางเดียวกัน โดยการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การดําเนินการให้เร่งป้องกันและแก้ไข ปัญหาความมั่นคงที่สําคัญ และเสริมสร้าง ศักยภาพขีดความสามารถของประเทศในการรับมือความเสี่ยงภัย คุกคามท่ามกลางสถานการณ์ความผันผวนและ ชวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่ทั่วโลกกําลังเผชิญอยู่ รวมทั้งแนวโน้ม สถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูงและความซับซ้อนของปัญหาเชื่อมโยงในหลายมิติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2570 มี วัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบทิศทางในการดําเนินการป้องกัน แจ้งเตือน แก้ไข หรือระงับยับยั้งภัยคุกคามเพื่อ ธํารงไว้ ซึ่งความมั่นคงแห่งชาติ รวมถึงถ่ายทอดยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็น รูปธรรม โดยมีเป้าหมายหลักคือ ประเทศไทยมีความมั่นคงและสเถียรภาพมากขึ้น ประชาชนดํารงชีวิตโดยปกติ สุข รวมทั้งมีการพัฒนาศักยภาพบริการจัดการ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแบบองค์รวมและรักษาไว้ซึ่ง ผลประโยชน์แห่งชาติ กําหนดให้มี 17 นโยบายและแผนความมั่นคง และเมื่อพิจารณาความเกี่ยวข้องและ สอดคล้องใน (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) แบ่งออกเป็น 2 หมวด จํานวน 4 นโยบายและแผน หมวดประเด็นความมั่นคง จํานวน 3 นโยบายและแผน ประกอบด้วย 1) นโยบายและแผนด้านความมั่นคงที่ 7 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ จุดมุ่งเน้น คือการยกระดับสถานะและเพิ่มขีดสมรรถนะของประเทศไทยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้า มนุษย์ให้ได้รับการยอมรับจากสากล มีเป้าหมายคือการยกระดับสถานะและเพิ่มขีดสมรรถนะของประเทศไทย ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ และให้ประเทศไทยสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม ซึ่งกลยุทธ์ที่สอดคล้อง ประกอบด้วยกลยุทธหลักที่ 1 การยกระดับความเชื่อมั่น การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในระดับสากล กลยุทธ์ย่อยที่ 1.3 เพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินการ กับเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการค้ามนุษย์ทั้งทางอาญาและวินัย กลยุทธ์ย่อยที่ 1.4 เพิ่ม ประสิทธิภาพการบริหารจัดการแรงงานกลุ่มเปราะบางที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนําเข้าและอนุญาตทํางาน ของคนต่างด้าวแบบถูกกฎหมาย โดยใข้กลไกการขับเคลื่อนและบูรณาการทํางานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน การป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ของแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าว กลยุทธ์ย่อยที่ 1.6 เสริมสร้างความเข้าใจ การรับรู้และการบูรณาการความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ของประเทศไทยและนานาประเทศ กลยุทธ์ย่อยที่ 1.9 เพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ กลยุทธ์หลักที่ 2 การพัฒนาขีดความสามารถและสมรรถนะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.2 เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ทักษะ และพัฒนาศักยภาพให้แก่คณะสหวิชาชีพ เจ้าหน้าที่รัญ และผู้ปฎิบัติงาน เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเจ้าพนักงานตํารวจ และพนักงานฝ่ายปกครองในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ ดําเนินคดีค้ามนุษย์ รวมทั้งเทคนิคการสืบสวนสอบสววนอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อมและบริบทต่าง ๆ กลยุทธ์ที่ 2.5 ส่งเสริมความร่วมมือการสร้างภาคีเครือข่ายนอกภาครัฐเพื่อให้ เป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์กับภาครัฐให้ตระหนักถึงปัญหาการค้ามนุษย์และนําไปสู่การเฝ้าระวังและแจ้งเตือน สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
31 2) นโยบายและแผนด้านความมั่นคงที่ 8 การป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด จุดมุ่งเน้นการป้องกันประชากรทุกกลุ่มเป้าหมายไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด การสกัดกั้นยาเสพติด และ ปราบปรามขบวนการการค้ายาเสพติด ตลอดจนการบําบัด รักษา และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดให้เกิดการยอมรับ จากสังคม โดยมีเป้าหมายการป้องกันประชากรทุกกลุ่มเป้าหมายไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และผู้เสพ ยาเสพติดมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขไม่ส่งผลกระทบต่อสังคม และไม่หวน กลับสู่วงจรยาเสพติด ซึ่งกลยุทธ์ที่สอดคล้อง ประกอบด้วย กลยุทธหลักที่ 1 การสร้างความเข็มแข็งในระดับ ปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคมให้มีภูมิคุ้มกันและสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างพื้นที่ปลอดภัย และลดความต้องการยาเสพติด กลยุทธ์ย่อยที่ 1.1 สร้างภูมิคุ้มกันระดับบุคคล ด้วยการเสริมสร้างทัศนคติและ ความรู้เท่าทันยาเสพติดทั้งการเสพและการค้า รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมกิจกรรมเชิง สร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ทั้งรูปแบบ เนื้อหา วิธีการ และช่องทางการสื่อสาร และให้ ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายในทุกขั้นตอน กลยุทธ์ย่อยที่ 1.3 สร้างการมีส่วนร่วมจากทุก ภาคส่วน พัฒนา เสริมสร้างกลไกเครือข่ายทางสังคม ในการเฝ้าระวังป้องกัน พัฒนาปัจจัยบวก และควบคุม ปัจจัยเสี่ยงเพื่อให้สังคมเกิดสภาวะแวดล้อมที่ปลอดภัยจากยาเสพติด กลยุทธ์หลักที่ 2 การลดอุปทานยาเสพติด และปราบปรามเครือข่ายยาเสพติด/องค์กรอาชญากรรม กลยุทธ์ย่อยที่ 2.3 เพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้ กฎหมายในกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นธรรม ตลอดจนดําเนินการต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับ ยาเสพติดอย่างจริงจัง กลยุทธหลักที่ 3 การสร้างความสมดุลบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชนในการบําบัด ฟื้นฟู และ การผนวกสู่สังคมได้อย่างปกติสุข กลยุทธ์ย่อยที่ 3.3 เสริมสร้างโอกาสและทางเลือกของผู้เสพยาเสพติด ภายหลังการเข้ารับการบําบัดให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข มีศักดิ์ศรีบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน สามารถพัฒนาศักยภาพมนุษย์ไม่ถูกตีตราหรือเลือกปฏิบัติ 3) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 10 การป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ จุดมุ่งเน้นประเทศไทยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ การยกระดับมาตรฐานรักษา ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และลดการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ โดยมีเป้าหมายประเทศไทยมีความพร้อม ต่อการป้องกัน รับมือความเสี่ยงกับภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการป้องกันการโจมตีทาง ไซเบอร์และอาชญากรรมไซเบอร์ กลยุทธ์ที่สอดคล้อง ประกอบด้วย กลยุทธหลักที่ 2 การเสริมสร้างขีดความสามารถใน การป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้ไซเบอร์เป็นช่องทางในการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.1 พัฒนากลไก มาตรการ และแนวทางที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปราม รวมถึงการสืบสวนอาชญากรรม ทางไซเบอร์ โดยเฉพาะอย่างยั่งการนําเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.2 ส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานภายในและการส่งเสริม ความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.3 เสริมสร้าง ความตระหนักรู้และพัฒนาขีดความสามารถแก่องค์กรและบุคลากรภาครัฐ ภาคเอกชน และกาคประชาสังคม ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ในการป้องกันตนเองจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ หมวดประเด็นศักยภาพความมั่นคง จํานวน 1 นโยบายและแผน ประกอบด้วย 1) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 16 การบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง จุดมุ่งเน้น การจัดทําและเชื่อมโยงบัญชีข้อมูลด้นความมมั่นคงขนาดใหญ่เชิงดิจิทัลให้สามารนําไปใช้ประกอบการตัดสินใจ เชิงนโยบายในการป้องกันและแก้ไขภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติเบอร์ โดยมีเป้าหมาย คือ การมีฐานข้อมูลหรือชุดข้อมูลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสําหรับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ด้านความ มั่นคงสามารถนําไปสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงระดับชาติ
32 กลยุทธ์ที่สอดคล้อง ประกอบด้วย กลยุทธหลักที่ 2 การพัฒนากลไกการบริหารจัดการ การบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง กลยุทธ์ย่อยที่ 2.2 สร้างความร่วมมือหรือความตกลงสําหรับการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลภายในแพลตฟอร์มด้านความมั่นคงตามหน้าที่อํานาจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกลยุทธ์ย่อยที่ 2.4 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้านดิจิ ทัล รวมถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ 2.5 สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารงานยุติธรรม ด้วยข้อกําหนดตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2549 กําหนดให้แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ เป็นแผนที่แสดงทิศทางของการพัฒนา การบริหารงานยุติธรรม โดยมีสาระสําคัญในเรื่องการประสานแนวทางการบริหารการประสานแนวทาง การบริหารงานยุติธรรมของหน่วยงานของรัฐ และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานยุติธรรมแต่ละแห่ง เพื่อให้เกิดบูรณาการในภาพรวมที่สอดคล้องกับสภาพสังคมและการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ส่งผลให้ การจัดทําแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2569) จําเป็นต้องพิจารณา ถึงสถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารงานยุติธรรม ดังนี้ 2.5.1 สถานการณ์ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม การสํารวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรมของไทยในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา มุ่งเน้นการสํารวจข้อมูลใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ ความพึงพอใจต่อการให้บริการหรือการดําเนินงาน ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพึงพอใจต่อบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ในแต่ละหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ความเชื่อมั่นในการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ภาครัฐและ หน่วยงานกระบวนการยุติธรรม ความเชื่อมั่นต่อการให้บริการด้านกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และ การประเมินความรู้ความเข้าใจต่อการทํางานของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ หรือบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน กระบวนการยุติธรรม โดยพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ที่มารับบริการจากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม จะมีความพึงพอใจในระดับมาก รวมทั้งยังมีความเชื่อมั่นต่อการให้บริการและการดําเนินงานของหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรม แต่พบว่าในส่วนของความรู้ความเข้าใจของประชาชนในเรื่องกระบวนการยุติธรรมและ บทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมยังมีไม่มากนัก ซึ่งเป็นประเด็นสําคัญ ที่หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องควรเร่งดําเนินการเพื่อให้เกิดการรับรู้ ความรู้ และความเข้าใจ ที่ถูกต้องของประชาชนต่อแนวทางและการดําเนินงานในกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ามา รับบริการได้ตามสิทธิและเกิดความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมที่มากขึ้น 2.5.2 ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อกระบวนการยุติธรรม จากการทบทวนการศึกษาทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับปัจจัยที่ ส่งผลต่อกระบวนการยุติธรรม พบว่า มีปัจจัยที่สําคัญดังนี้ (1) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ พบว่า ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้ทําให้เกิดความ แตกต่างทางรายได้ของของประชาชนในสังคมและส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ําตามมา เช่น ภาวะเงินเฟ้อทําให้ ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น ประชาชนต้องมีค่าใช้จ่ายในการดํารงชีพมากขึ้น เป็นต้น ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจทําให้ประชาชนเกิดภาวะความยากจนมากยิ่งขึ้นพร้อมทั้งส่งผลต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมย่อมมีค่าใช้จ่ายในการดําเนินการ จึงก่อให้เกิดความยากลําบาก ในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมตามมา เมื่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมมีค่าใช้จ่ายขณะที่ประชาชนมี
33 รายได้น้อยหรือยากจนก็จะไม่อยากเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยไม่จําเป็น 1 นอกจากนี้การให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายประชาชนยังมีความเหลื่อมล้ํา เช่น การคัดเลือกทนายความเพื่อช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ ประชาชนมักจะได้ทนายที่มีประสบการณ์น้อย ขณะที่ผู้มีฐานะการเงินดีสามารถเลือกหาทนายที่มีประสบการณ์ มากกว่าทนายอาสามาว่าความให้ และการปล่อยตัวชั่วคราวได้กําหนดหลักประกันสูงทําให้คนยากจนมีโอกาสที่ จะได้รับการปล่อยชั่วคราวน้อย เมื่อเที่ยบกับคนมีฐานะร่ํารวย 2 (2) ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยมีประเด็นที่สําคัญคือ เรื่องการรับรู้สิทธิ ทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม พบว่าการที่ประชาชนขาดการรับรู้สิทธิทางกฎหมายและกระบวนการ ยุติธรรมอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ประชาชนไม่สามารถที่จะเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ง่ายจึงทําให้ยากที่ ก่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคมได้ ทั้งนี้การขาดความรู้ความเข้าใจทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมอาจ เป็นผลมาจากโครงสร้างทางการศึกษาของประเทศที่ยังไม่สามารถที่จะให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมอย่างเพียงพอ 3 นอกจากนี้ การรับรู้กระบวนการยุติธรรมและการรับรู้ทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองรวมถึงทัศนคติที่ดีต่อกระบวนการยุติธรรมต่างก็ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มี ต่อกระบวนการยุติธรรมเช่นเดียวกัน เนื่องจากความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการยุติธรรม เป็นสิ่งสะท้อนความสามารถหรือศักยภาพของกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบหากกระบวนการยุติธรรมทํางาน ได้อย่างเต็มที่ประชาชนก็จะเกิดความเชื่อมั่น ดังนั้น การรับรู้และทัศนคติของประชาชนที่มีต่อกระบวนการ ยุติธรรมย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมเช่นกัน 4 ในขณะที่ปัญหายาเสพติดยังเป็น สถานการณ์ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานยุติธรรมของประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของยาเสพติดได้ส่งผลให้เกิดคดีเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นจํานวนมาก และส่งผลกระทบให้เกิด ปัญหาอาชญากรรมอื่นตามมา จึงทําให้กระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ต้องแบกรับภาระการดําเนินงานในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การป้องกันอาชญากรรมไปจนถึงการฟื้นฟูผู้กระทําผิด ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ล้วนต้องใช้ทรัพยากร บุคลากรและระยะเวลาในการดําเนินงานหากปัญหายาเสพติดมีเพิ่มมากขึ้นจึงส่งผลให้กระบวนการยุติธรรมเกิด ความล่าช้าในการดําเนินงานเช่นเดียวกัน 5 อีกทั้งยังพบว่า ปัญหาอาชญากรรมและการกระทําผิด ในประเทศยังคงมีปริมาณที่สูงโดยเฉพาะการกระทําผิดเกี่ยวกับทรัพย์มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ปัญหา อาชญากรรมข้ามชาติก็ยังมีผลกระทบต่อประเทศชาติเช่นเดียวกัน เช่นการลักลอบขนยาเสพติด สารตั้งต้นและ เคมีภัณฑ์ ปัญหายาเสพติดปัญหาแรงงานต่างด้าว ปัญหาการค้ามนุษย์ การก่อการร้าย เป็นต้น เมื่ออาชญากรรม และการกระทําผิดมีเพิ่มมากขึ้นและมีหลากหลายรูปแบบ ย่อมส่งผลให้ต้องมีการพัฒนากระบวนการยุติธรรม เพื่อรองรับอาชญากรรมและการกระทําผิดที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น หากอาชญากรรมและการกระทําผิดเพิ่มมากขึ้น กระบวนการยุติธรรมก็ต้องแบกรับภาระในการดําเนินงานทั้งระบบ อาทิ บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น เพื่อให้มีศักยภาพรองรับสถานการณ์เหล่านี้ 6 (3) ปัจจัยด้านการเมือง พบว่า องค์กรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมอาจจะ ถูกแทรกแซงจากทางการเมือง จึงส่งผลให้ในบางครั้งการบังคับใช้กฎหมายขาดความโปร่งใสและมีการปฏิบัติสอง มาตรฐาน (Double stranded) รวมถึงมีการทุจริตประพฤติมิชอบในกระบวนการยุติธรรมเกิดขึ้น 1 สํานักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม [Online], 28 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/RF_Plan04.pdf. 2 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, NIDA MODEL ปฏิรูปประเทศไทย (ม.ป.ท., ม.ป.ป.) 3 สํานักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, (ม.ป.ท., 2561). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560 – 2564, 28 มิถุนายน 2564 แหล่งที่มา https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422, 62. 4 จําลองลักษณ์ อินทวัน, “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา,” วารสารกระบวนการยุติธรรม 8,2 (2558): 43 – 66. 5 สํานักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม [Online], 62. 6 เรื่องเดียวกัน, 62.
3 4 ทั้งในกระบวนการสอบสวน สืบสวน การสั่งฟ้อง และการพิจารณาคดี ตลอดจนการใช้อํานาจเพื่อผลประโยชน์ ของพวกพ้อง สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้กระบวนการยุติธรรมขาดประสิทธิภาพตามมา 7 ซึ่งในปัจจุบัน กระบวนการ ยุติธรรมของไทยถูกตั้งคําถามในเรื่องการแทรกแซงจากอทธิพลทางการเมืองในหลายกรณี และนําไปสู่ความ เชื่อมั่นของประชาชนที่ลดน้อยลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย (4) ปัจจัยด้านกฎหมาย พบว่า กฎหมายถือว่าเป็นตัวบทที่กําหนดแนวทาง ขั้นตอน และวิธีการต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรม ดังนั้นกฎหมายจึงส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของกระบวนการ ยุติธรรม โดยเริ่มตั้งแต่กฎหมายสูงสุดอย่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ. ศ. 2560 และ พระราชบัญญัติจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ 2560 และกฎหมายต่างๆ ที่ได้ให้ความสําคัญต่อการปฏิรูป กระบวนการยุติธรรมและกําหนดทิศทางการพัฒนากระบวนการยุติธรรม อย่างไรก็ตามกฎหมายหลายฉบับยัง ไม่ได้มาตรฐานสากลและมีความล้าสมัย เช่น การกําหนดขั้นตอนดําเนินการหลายขั้นตอนทําให้เกิดความล่าช้า การกําหนดผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ขาดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสําคัญในกระบวนการยุติธรรม การขาดการเตรียมความ พร้อมให้กับผู้บังคับใช้กฎหมาย การขาดการวิเคราะห์ผลกระทบอย่างรอบด้านในการตรากฎหมาย ฯลฯ นอกจากนี้ กฎหมายยังมุ่งเน้นการควบคุมมากกว่าการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาในระยะยาวและมุ่งใช้มาตรการ ทางอาญาเป็นจํานวนมากส่งผลให้เกิดคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเป็นจํานวนมาก และทําให้ต้องใช้ทรัพยากร และบุคลากรรวมถึงระยะเวลาในการดําเนินการ เช่น ตํารวจต้องจับผู้ต้องหา ศาลต้องพิจารณาคดีเพิ่มมากขึ้น กรม ราชทัณฑ์ต้องดูแลผู้ต้องขัง เป็นต้น 8 (5) ปัจจัยด้านเทคโนโลยี พบว่า ความสามารถเข้าถึงข้อมูลของประชาชนด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทําให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลจํานวนมากผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และเป็นปัจจัยสําคัญที่จะเชื่อมให้หน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรมสามารถบูรณาการข้อมูลระหว่างกันได้อย่างทันสมัยเป็นปัจจุบัน (Real-time) และถูกต้อง ครบถ้วน ดังนั้น เมื่อประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้นก็จะทําให้ประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่า เทคโนโลยีสารสนเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสัมพันธ์กับความโปร่งใสและการรับผิดชอบ ต่อสังคม เนื่องจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศทําให้บุคคลหรือองค์กรสามารถใช้การ ตรวจสอบการดําเนินงานต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐได้สะดวกมากยิ่งขึ้นจึงถือได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น ประโยชน์ต่อการป้องกันและลดปัญหาการทุจริต รวมทั้งเอื้อต่อการพัฒนาหรือปฏิรูปกระบวนการวิธีทําให้มี ความโปร่งใสและน่าเชื่อถือ 9 ซึ่งปัจจุบันหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมมีการพัฒนาและนําเทคโนโลยีมา ปรับใช้ในการปฏิบัติงานและการให้บริการแก่ประชาชนมากขึ้น ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายการ ส่งเสริมสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 อีกทั้งยังพบว่า ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทําให้การก ระทําผิดมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น นอกจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะทําให้ ประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมเพิ่มมากขึ้นแล้ว ขณะเดียวกันความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ก็ทําให้เกิด อุปสรรคได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการพิสูจน์หลักฐานได้ยากยิ่งขึ้น อาทิ การลอกเลียนผลิตภัณฑ์ เป็นต้น นอกจากนี้ความพลิกผันทางเทคโนโลยี (Disruptive Technology) จากการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ส่งผลให้เกิดอาชญากรรมรูปแบบใหม่ตามมา เช่น อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล เป็นต้น 7 สํานักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560 – 2564. [Online], 28 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422, 32; สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, เรื่องเดียวกัน, 32 8 สํานักงานศูนย์วิจัยและให้คําปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, การศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุ และบริบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ ยุติธรรมไทย, (2562), 215. 9 สํานักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม, 20.
3 5 สถานการณ์เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการบริหารงานยุติธรรมทั้งสิ้น จึงทําให้ต้องมีการพัฒนากระบวนการทํางาน และพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดังที่ กล่าวมาข้างต้น 10 (6) ปัจจัยด้านองค์กรและการจัดการ พบว่า โครงสร้างขององค์กรในกระบวนการ ยุติธรรม หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมมีขนาดใหญ่ โครงสร้างองค์กรที่มีลักษณะสายการบังคับบัญชาที่ยาว และส่วนใหญ่รวมอํานาจการบริหารไว้ที่ส่วนกลาง ทําให้เกิดการทํางานหลายขั้นตอนและลําดับชั้นเกิด ความล่าช้าไม่คล่องตัว จึงก่อให้เกิดความล่าช้าในการพิจารณาคดีและการตัดสินใจคดีต่างๆ นอกจากนี้ การดําเนินงานขององค์กรเหล่านี้ยังขาดการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อีกทั้งยังพบว่า หน่วยงาน ในกระบวนยุติธรรมมีความเป็นเอกภาพและมีกฎหมายและสายการบังคับบัญชาของตนเอง จึงทําให้มักจะขาด การบูรณาการในการทํางานร่วมกัน รวมทั้งหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมมักจะขาดการจัดเก็บข้อมูล ที่ถูกต้องและทันสมัยทําให้เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงข้อมูลของประชาชนและทําให้ประชาชนตรวจสอบ กระบวนการยุติธรรมได้ค่อนข้างยาก พร้อมทั้งหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมมักไม่ค่อยเปิดเผยข้อมูล การดําเนินการต่อสาธารณชน ตลอดจนโครงสร้างการบริหารงานของการดําเนินคดีในชั้นพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการและศาลมีขั้นตอนมาก รวมถึงการส่งสํานวนในแต่ระดับชั้นมีขั้นตอนและระยะเวลายาวมาก ประเทศไทยใช้ระยะเวลาตั้งแต่ก่อนขึ้นศาล ขึ้นศาล และชั้นอุทธรณ์ฎีการวมกันแล้วเฉลี่ยอยู่ที่ 13.5 เดือน ที่สะท้อนให้เห็นถึงความล่าช้าในการอํานวยความยุติธรรม นอกจากนี้ยังมีข้อจํากัดในเรื่องบุคลากรที่สําคัญ 3 ประการ คือ 1) ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งบุคลากร ย่อมมีความสําคัญต่อการดําเนินงานในกระบวนการยุติธรรม แต่ผู้บังคับใช้กฎหมายบางส่วนยังขาดความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมอย่างเพียงพอจึงก่อให้เกิดการปฏิบัติ ที่ไม่เป็นธรรมตามมา และนําไปสู่ความขัดแย้งของประชาชนในการบังคับใช้กฎหมายกับเจ้าหน้าที่รัฐ 2) ด้านความเพียงพอของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม พบว่า บุคลากรมีจํานวนไม่เพียงพอต่อ การให้บริการประชาชน ทําให้บุคลากรเกิดความเครียดในการทํางานและส่งผลต่อประสิทธิภาพของ กระบวนการยุติธรรมโดยรวม เมื่อพิจารณาจํานวนบุคลากรต่อจํานวนประชากรในกระบวนการยุติธรรม ทางอาญาของไทยถือว่ายังมีน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ต่อจํานวนประชากร 100,000 คน สูงสุดของโลกอย่างฝรั่งเศส โดยที่ประเทศไทยมีจํานวนบุคลากร ในกระบวนการยุติธรรม 397 คนต่อประชากร 100,000 คน ในขณะที่ฝรั่งเศส จํานวนบุคลากรใน กระบวนการยุติธรรม 620 คนต่อประชากร 100,000 คน 11 และ 3) ด้านการปรับตัวของบุคลากรใน กระบวนการยุติธรรมกับเทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า ที่ผ่านมาเจ้าหน้าทีรัฐในกระบวนการยุติธรรมบางส่วนยัง ไม่สามารถปรับตัวในการนําเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมได้อย่าง เต็มที่ ซึ่งอาจจะส่งผลให้กระบวนการยุติธรรมขาดประสิทธิภาพได้ ตลอดจนยังประสบปัญหาในเรื่อง งบประมาณซึ่งเป็นทรัพยากรที่สําคัญอย่างยิ่งต่อการเพิ่มของประสิทธิภาพในกระบวนยุติธรรม เนื่องจาก กระบวนการยุติธรรมทั้งระบบต้องอาศัยทรัพยากรและบุคลากรในการดําเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพแต่ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมบางส่วนมักจะได้รับจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอต่อการอํานวยความสะดวก ให้กับประชาชนรวมถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานขาดคุณภาพและไม่เพียงพอ เช่น สถานีตํารวจ เรือนจํา เป็นต้น (7) ปัจจัยด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ พบว่า การเป็นสมาชิกองค์กรระหว่าง ประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมส่งผลให้เกิดกระแส 10 เรื่องเดียวกัน, 21. 11 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, NIDA MODEL ปฏิรูปประเทศไทย, 15.
36 การตื่นตัวในการพัฒนาการทํางานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเพื่อรองรับกฎหมายระหว่างประเทศ ข้อตกลง พิธีสารต่างๆ ฯลฯ ที่ได้ลงนามร่วมกัน ดังนั้น การที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกองค์กรระหว่างประเทศ หรือมีความร่วมมือระหว่างประเทศจึงส่งผลให้เกิดการปรับตัวของหน่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในกระบวนการวิธีทํามากขึ้น 12 2.6 ประเด็นปัญหาหลัก (Pain Point) ของกระบวนการยุติธรรมไทย การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาของกระบวนการยุติธรรม (Pain Point) สามารถพิจารณาจาก ข้อมูลการศึกษา 3 ส่วนที่สําคัญคือ ผลการติดตามการดําเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรม แห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) เพื่อทราบผลการดําเนินงานยังไม่บรรลุผลสําเร็จตามค่าเป้าหมาย ที่กําหนดไว้ในแผน รวมทั้งสถานการณ์ความเชื่อมั่นของประชาชนและปัจจัยที่อาจส่งผลต่อกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนผลการสํารวจข้อมูลและความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการยุติธรรม ทั้งจากการ สัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม และการ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเพื่อกําหนดกรอบทิศทางการจัดทําแผนแม่บทฯ ในส่วนกลางและ ส่วนภูมิภาค เพื่อนําข้อมูลจากผลการศึกษาดังกล่าวมาวิเคราะห์สภาพการณ์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดําเนินงาน ของกระบวนการยุติธรรมไทยที่ผ่านมา และนํามาสรุปประเด็นปัญหาที่สําคัญและเป็นความท้าทายสําหรับ การบริหารงานยุติธรรมของไทยในอนาคต จํานวน 8 ประเด็นปัญหา ดังนี้ ประเด็นปัญหาที่ 1 ด้านการอํานวยความยุติธรรมตามสิทธิของประชาชน มีลักษณะปัญหา ที่สําคัญ ได้แก่ (1) ความเหลื่อมล้ําในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสถานะทางสังคมต่ํา รวมทั้งกลุ่มประชากรชายขอบ ซึ่งมักผู้กระทําความผิด ทางกฎหมายจํานวนมาก และไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือในกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเต็มที่ (2) ความรู้ความเข้าใจในกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมีไม่มากนัก รวมทั้งการดําเนินวิถี ชีวิตของประชาชน กลายเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายโดยไม่รู้ ทําให้ไม่สามารถเข้าถึงความยุติธรรมหรือการเข้ารับ ความช่วยเหลือจากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมได้ตามสิทธิของตนเอง เนื่องจากขาดศักยภาพในการแสวงหา ช่องทางในการปกป้องตนเองจากความเสียหายที่อาจเกิดจากการกระทําของตนเอง (3) ความไม่เชื่อมั่นต่อหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากผลของการปฏิบัติงาน ที่ถูกกังขาในเรื่องมาตรฐานการทํางานหรือการให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนไม่เท่ากัน โดยอาจเกิดจาก การดําเนินงานที่บกพร้องของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมในบางกรณี ส่งผลให้เกิดความไม่เชื่อมั่น หรือ ไม่ศรัทธาต่อหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมว่าจะสามารถสร้างความเป็นธรรมหรืออํานวยความยุติธรรม ให้แก่ตนเองได้อย่างแท้จริง และนําไปสู่ความไม่เชื่อมั่นในการเคารพกฎหมาย เพราะไม่เห็นว่าเป็นสิ่งที่เป็น ประโยชน์ต่อตนเอง (4) กลไกของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมกลับไม่พร้อมรองรับการความตื่นรู้ในการ เรียกร้องสิทธิของประชาชน ซึ่งปัจจุบันประชาชนมีการแสวงหาข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและ กระบวนการยุติธรรมด้วยตนเองมากขึ้น เนื่องจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร ส่งผลให้ ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลและความรู้ได้กว้างขึ้น แต่กลไกของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมกลับ ไม่พร้อมรองรับการเรียกร้องสิทธิหรือการร้องขอความช่วยเหลือของประชาชนตามความคาดหวังของประชาชน 12 สํานักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม, 17-18.
37 (5) กรอบความคิด (Mind Set) ในการทํางานมุ่งเน้นการบังคับใช้กฎหมายโดยใช้การลงโทษ ทางอาญา เนื่องด้วยความคุ้นชินและวัฒนธรรมในการทํางานของผู้ปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรมยังคงยึดแนวปฏิบัติตามแนวทางเดิม คือการยึดข้อกฎหมายในการบังคับโทษต่อผู้กระทําผิดเป็นหลัก ผ่านการทํางานแบบระบบ Law and Order โดยมีรัฐเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน ส่งผลให้จํานวนคดีความ ที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลมีจํานวนมาก และมุ่งใช้การลงโทษโดยการจําคุกเป็นหลัก ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้จาก จํานวนผู้ต้องขังที่มีจํานวนมาก เกินกว่าศักยภาพในการควบคุมดูแลของราชทัณฑ์ (6) เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายกลายเป็นคู่ขัดแย้งกับประชาชน จากการบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการควบคุมการแสดงออกทางการเมือง ทําให้ประชาชนมีทัศนคตเชิงลบและ เป็นอีกเหตุผลที่ก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม ประเด็นปัญหาที่ 2 ด้านกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย มีลักษณะปัญหาที่สําคัญ ได้แก่ (1) กฎหมายและบทลงโทษมักเน้นการใช้ข้อสันนิษฐานของกฎหมายเพื่อกําหนดโทษ ทําให้เกิดการคาดการณ์แบบเหมารวม โดยการให้อาชญากรเป็นผู้พิสูจน์ตนเอง ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาบางส่วน ขาดศักยภาพในการปกป้องหรือช่วยเหลือตนเอง เนื่องจากขาดความรู้และความเข้าใจในข้อกฎหมาย รวมทั้งไม่ มีศักยภาพในการเข้าถึงความช่วยเหลือที่เหมาะสม ซึ่งอาจทําให้คนบางกลุ่มกลายเป็นอาชญากร โดยไม่จําเป็น (2) การตีความกฎหมายมักมองในมุมของรัฐมากกว่ามุมมองของผู้เกี่ยวข้อง โดยรัฐเป็น ศูนย์กลาง ไม่ได้ใช้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเหมาะกับอดีต แต่ไม่สามารถใช้ได้กับโลกปัจจุบัน เนื่องจาก สังคมไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว ความรู้และค่านิยมของประชาชนเปลี่ยน หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมต้องเปลี่ยน ตามให้ทัน (3) กฎหมายในบางเรื่องยังขาดความทันสมัยและปรับตัวไม่ทันต่อสถานการณ์ปัญหาและ บริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้กฎหมายที่มีไม่สามารถนํามาบังคับใช้เพื่อแก้ไขปัญหา หรือป้องกัน ความเสียหายเดือดร้อนให้แก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากกฎหมาย ไม่ครอบคลุมหรือไม่เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่เข้าไปดําเนินการ (4) ข้อกําหนดในกฎหมายและแนวปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรมบางประเด็นก่อให้เกิด ความเหลื่อมล้ําในการเข้าถึงความยุติธรรมแก่ประชาชนแต่ละกลุ่ม โดยคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีมีศักยภาพ ในการเข้าถึงโอกาสในการปกป้องตนเองตามแนวทางที่กฎหมายกําหนด เช่น การวางเงินหรือหลักทรัพย์ เพื่อได้รับโอกาสการประกันตัว และการจ้างทนายที่มีชื่อเสียงหรือมีประสบการณ์ อีกทั้งกฎหมายและการบังคับใช้ กฎหมายบางส่วนลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างไม่เหมาะสม และการตีความกฎหมายเอื้อประโยชน์ ให้แก่ผู้มีอํานาจ (5) กระบวนการดําเนินคดีทางกฎหมายที่ซ้ําซ้อนกันของหลายหน่วยงาน ซึ่งมีความรู้ความ เข้าใจ และทัศนคติในการตีความกฎหมายนที่ต่างกัน ทําให้การส่งต่อคดีหรือการดําเนินงานที่ต่อเนื่องกันมี ลักษณะขัดแย้งกันเอง ทั้งนี้ ผู้ปฏิบัติงานบางส่วนยังเห็นว่า กฎหมายคุ้มครองผู้ต้องหามากขึ้นจนอาจละเลย การคุ้มครองผู้เสียหาย (6) กฎหมายคุ้มครองผู้ต้องหามากขึ้นจนอาจละเลยการคุ้มครองผู้เสียหาย และทําให้เกิด การชดเชยเยียวยาที่กําหนดไม่สามารถช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายได้จริง รวมทั้งการเยียวยาผู้เสียหาย
38 ยังมุ่งเน้นเพียงการจ่ายเงินช่วยเหลือ ซึ่งยังไม่มีแนวทางในการช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายทางจิตใจที่มี ประสิทธิภาพมากนัก (7) กฎหมายยังมุ่งเน้นการควบคุมมากกว่าการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาในระยะยาว ที่ผ่านมารัฐมักจะใช้ระบบที่ตนเองวางไว้เพื่อการควบคุมประชาชนมาใช้บังคับประชาชนและเมื่อประชาชนไม่ ทําตามที่รัฐกําหนดก็จะถูกผลักเข้าสู่กระบวนลงโทษทางอาญาและการจําคุกเป็นหลัก ส่งผลให้เกิดคดีเข้าสู่ กระบวนการยุติธรรมเป็นจํานวนมาก ประเด็นปัญหาที่ 3 ด้านการบริหารและระบบการทํางาน มีลักษณะปัญหาที่สําคัญ ได้แก่ (1) การกําหนดเป้าหมายการดําเนินงานตามหลักสากล แต่ขาดความจริงจังในการดําเนินงาน อย่างเป็นรูปธรรม แม้ว่าศักยภาพในการบริหารงานหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมผ่านกลไกเชิงนโยบาย มีความชัดเจนมากขึ้นและมีความพยายามในการกําหนดแนวทางการดําเนินงานที่ครอบคลุมการดําเนินงานตาม มาตรฐานสากลรอบด้าน แต่ยังขาดการกําหนดแนวทางการขับเคลื่อนแผนหรือนโยบายที่ชัดเจน เพื่อให้ สามารถผลักดันให้เกิดการดําเนินงานที่แท้จริงและเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมในแต่ละขั้นตอน เพื่อบรรลุ เป้าหมายใหญ่ที่กําหนดไว้ ส่งผลให้ผลลัพธ์จากการดําเนินงานของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศ ไทยในปัจจุบันบางส่วนยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล (2) การดําเนินงานในกระบวนการยุติธรรมมีลักษณะแยกส่วน ไม่เป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ทั้งในส่วนการพัฒนาในแต่ละหน่วยงาน และภาพรวมของกระบวนการ โดยลักษณะการพัฒนาของกระบวนการ ยุติธรรมของไทยที่สามารถทําได้ดีตามหลักการสากลในบางประเด็นหรือในบางเนื้องาน หรือกล่าวได้ว่า “เป็น การทําเป็นจุด ๆ” โดยมุ่งสําเร็จตามประเด็นใดประเด็นหนึ่ง แต่มิได้พิจารณาในภาพรวมอย่างเป็นระบบ (3) ขั้นตอนการทํางานในแต่ละงานของแต่ละหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมมีความ แตกต่างกัน และไม่สามารถกําหนดกรอบเวลาได้ชัดเจน ส่งผลให้การดําเนินงานของกระบวนการยุติธรรมที่ต้อง เชื่อมโยงและส่งการทํางานระหว่างหน่วยงาน เกิดความล่าช้า และสร้างความเสียหายให้แก่ประชาชนจากความ ล่าช้าของกระบวนการทํางานดังกล่าวเกินกว่าที่ประชาชนพึงได้รับ (4) กระบวนการดําเนินคดีมีความล่าช้า ไม่ทันต่อสถานการณ์ โดยเฉพาะการส่งสํานวนจาก พนักงานสอบสวนมีความล่าช้าและในชั้นอัยการบางครั้งจะมีเวลาในการพิจารณาค่อนข้างกระชั้น ทําให้อัยการ มีเวลาเหลือน้อยในการพิจารณาสํานวนที่ส่งมาจากพนักงานสอบสวน และกระบวนการในการพิจารณาคดีศาล ที่ไม่ได้มีการกําหนดกรอบเวลาที่ชัดเจน ส่งผลให้หลายคดีเกิดความล่าช้าและเป็นภาระที่ประชาชนต้องแบกรับ เกินกว่าความคาดหวัง (5) หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม มีความเป็นอิสระต่อกัน แต่ไม่มีความเป็นเอกภาพ เนื่องจากโครงสร้างและการทํางานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม มีความเป็นอิสระต่อกัน ทําให้เกิด การทํางานที่แยกส่วน ขาดการประสานและบูรณาการข้อมูลและการทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เป็น ระบบเพื่อแสวงหาความจริงร่วมกัน โดยแต่ละหน่วยงานยังคงมุ่งดําเนินงานตามเป้าหมายของหน่วยงานตนเอง เป็นหลัก แต่มิได้ให้ความสนใจในขั้นตอนหรือขอบเขตงานของหน่วยงานอื่นที่มีลักษณะเชื่อมต่อกับตนเอง หรือ ให้ความสําคัญกับการทํางานที่สอดประสานกันทั้งกระบวนการ เพื่ออํานวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้ อย่างแท้จริง (6) สถานะของหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรมไม่เท่าเทียมกัน แม้ว่า สถานะในทางการกฎหมายจะกําหนดให้แต่ละหน่วยงานมีความเป็นอิสระและมีอํานาจในการทํางานตาม บทบาทหน้าที่ของตนเอง แต่ด้วยลักษณะงานที่ส่งต่อกันและแนวปฏิบัติในการทํางานส่งผลให้สถานะใน
39 การทํางานของแต่ละหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมกลับไม่เท่ากัน ทําให้ไม่สามารถเกิดกลไกการประสาน เชื่อมโยงการทํางานที่เท่าเทียมกันระหว่างหน่วยงานได้ (7) การกําหนดสถานะของกระบวนการยุติธรรมและบุคคลในกระบวนการยุติธรรมให้อยู่ เหนือการตรวจสอบจากภาคประชาชน ด้วยบทบาทและอํานาจหน้าที่ของหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม และ การบริหารงานยุติธรรม ที่มุ่งเน้นการบังคับใช้กฎหมายและการลงโทษ ส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ของว่า กระบวนการยุติธรรมเป็นกลไกที่ศักดิ์สิทธิ และมีอํานาจเหนือประชาชน ทําให้ประชาชนไม่กล้าตรวจสอบ การดําเนินงานของบางหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาล เพราะเกรงว่าจะได้รับความเสียหายหรือผลกระทบ เชิงลบ (8) การแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมจากอิทธิพลทางการเมือง โดยภาพลักษณ์การทํางาน การทํางานของกระบวนการยุติธรรมที่ภาคประชาชนเห็นว่าเป็นเครื่องมือทางการเมือง เพื่อกําจัดผู้ไม่เห็นด้วย กับผู้มีอํานาจทางการเมือง รวมทั้งการที่ตุลาการมีอํานาจแทรกแซงการทํางานของหน่วยงานอื่น ๆ ได้ ในขณะที่ภาคประชาชนไม่สามารถตรวจสอบหรือวิจารณ์การทํางานของศาลได้ ทําให้ประชาชนเห็นว่า องค์กรตุลาการหรือกระบวนการยุติธรรมไม่สามารถเป็นที่พึ่งให้กับประชาชนได้ (9) การขาดการประเมินผลเพื่อสะท้อนความสําเร็จในการบรรลุเป้าหมายที่ชัดเจน มักเป็น การประเมินผลการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานตามภารกิจที่รับผิดชอบเป็นหลัก แต่การขาดการประเมินผล ในภาพรวมของกระบวนการว่าการดําเนินการต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรมบรรลุต่อเป้าหมายที่จะทําให้ ประชาชนทุกคนเสมอกันภายใต้กฎหมายและตัวกฎหมายที่เป็นธรรมหรือไม่ (10) การจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เพียงพอต่อการอํานวยความสะดวกให้กับประชาชน โดยหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมบางส่วนได้รับงบประมาณที่ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานตามภารกิจ รวมทั้ง วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานขาดคุณภาพและไม่เพียงพอต่อความจําเป็นในการปฏิบัติงานอํานวย ความสะดวกให้กับประชาชน ประเด็นปัญหาที่ 4 ด้านบุคลากรของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม มีลักษณะปัญหา ที่สําคัญ ได้แก่ (1) จํานวนบุคลากรที่มีไม่เพียงพอกับภาระงานและความต้องการของประชาชน โดยปัญหา การขาดแคลนทรัพยากรบุคคลในการปฏิบัติงาน เช่น พนักงานสอบสวนไม่เพียงพอต่อภาระงาน ทําให้คุณภาพ การทํางานหย่อนลง และไม่สามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือ ที่รวดเร็วได้ (2) บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจในกฎหมายและขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรม ทําให้ความรู้ความสามารถที่มีไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่มีความเข้าใจใน สิ่งที่ต้องปฏิบัติมากพอ และมักปฏิบัติตามความเคยชิน ซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับบางภารกิจหรือบางสถานการณ์ ที่เจอ (3) บุคลากรขาดองค์ความรู้สําหรับการดําเนินงานที่มีลักษณะเฉพาะและการรับมือต่อ อาชญากรรมในรูปแบบใหม่ ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีอาชญากรรมในรูปแบบที่หลากหลาย อันเนื่องมาจาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเชื่อมโยงข้อมูลลากรรับรู้ในวงกว้างในสังคม ทําให้ทั้งอาชญากรรมเดิม ที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและลักษณะของการก่ออาชญากรรมไปจากเดิม และการเกิดอาชญากรรมในรูปแบบใหม่ ส่งผลให้องค์ความรู้และประสบการณ์จากการทํางานในอดีตอาจไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ (4) บุคลากรไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามบทบาทและความคาดหวังของสังคม เช่น เจ้าหน้าที่ตํารวจและอัยการบางส่วน ซึ่งรับผิดชอบภารกิจที่นับเป็นต้นทางของกระบวนการยุติธรรม ปฏิบัติงาน
40 ขาดประสิทธิภาพ ล่าช้า ปล่อยคดีขาดอายุความ ทําสํานวนอ่อน ส่งผลให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นใน กระบวนการยุติธรรม (5) วัฒนธรรมการใช้อํานาจของบุคลากรเป็นอุปสรรคในการอํานวยความยุติธรรมให้แก่ ประชาชน โดยเจ้าหน้าที่ที่มีอํานาจในการบังคับใช้กฎหมายบางส่วนยังมีใช้อํานาจบังคับใช้กฎหมาย โดยไม่คํานึงถึงมาตรฐานหรือขอบเขตที่เหมาะสม และการใช้ดุลยพินิจของเจ้าพนักงานไม่สอดคล้องกับ เจตนารมณ์ของกฎหมาย รวมทั้งการใช้อํานาจโดยมิชอบและการไม่รับความผิดพลาดในการกระทําของ บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม โดยมักดําเนินการอย่างเข้มงวดในกรณีที่สังคมเกิดข้อกังขาเป็นหลัก (6) การคอร์รัปชันและการรับสินบนของเจ้าหน้าที่ และอยู่ภายใต้อิทธิพลที่มิชอบของ องค์กรอาชญากรรม ซึ่งประชาชนมีความคาดหวังว่าหากบุคลากรในหน่วยงานที่ดําเนินงานในกระบวนการ ยุติธรรมมีการประพฤติมิชอบเกี่ยวข้องกับการใช้ระบบพวกพ้อง ระบบอุปถัมภ์ การรับสินบน การทุจริตคอร์รัปชัน ต้องได้รับการลงโทษอย่างรุนแรงมากกว่าประชาชนทั่วไป ประเด็นปัญหาที่ 5 ด้านการปฏิบัติต่อผู้กระทําผิด มีลักษณะปัญหาที่สําคัญ ได้แก่ (1) การปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดที่เน้นการพัฒนาเป็นหลักมีต้นทุนสูง เพราะแนวทางการพัฒนา แก้ไขฟื้นฟูที่เหมาะสมสําหรับผู้กระทํามักมีความหลากหลายตามความหลากหลายของผู้กระทําผิด ทําให้ต้องใช้ ทรัพยากรการดําเนินงาน และความร่วมมือจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่หลากหลาย (2) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทําผิดซ้ําเป็นสิ่งที่เกินกว่าความสามารถในการทํางาน ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม เพราะแม้ว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทําผิด เช่น กรมราชทัณฑ์ และกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จะสามารถดําเนินการพัฒนาและช่วยเหลือ เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้กระทําผิดก่อนปล่อยได้อย่างเหมาะสม แต่การได้รับโอกาสในการกลับมาใช้ชีวิต ตามปกติได้ในสังคมถือเป็นปัจจัยที่สําคัญในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงในการกระทําผิดซ้ํา ซึ่งต้องอาศัย กลไกจากหลายหน่วยงานและภาคส่วนในสังคมร่วมกัน (3) คนในสังคมยังมีทัศนคติเชิงลบต่อผู้กระทําผิด ซึ่งเป็นข้อจํากัดในการกลับคืนสู่สังคมของ ผู้กระทําผิดหลังการปล่อยตัว เนื่องจากคนในสังคมจํานวนมากมุมมองหรือทัศนคติต่อผู้กระทําผิดในลักษณะ ของการตีตราว่าเป็นบุคคลที่อันตราย และมีโอกาสก่อความเสียหายให้แก่สังคม ส่งผลให้ผู้กระทําผิดเป็น กลุ่มเปราะบางที่สําคัญในการใช้ชีวิตในสังคมหลังการพ้นโทษ เนื่องจากไม่ได้รับโอกาสในชีวิตให้สามารถดําเนิน ชีวิตได้ตามปกติเช่นเดียวกับคนทั่วไปในสังคม (4) สังคมภายนอกไม่เข้าใจกระบวนการพักการลงโทษและอภัยโทษ และส่งผลให้เกิด ความไม่ไว้วางใจการปฏิบัติงานของงานราชทัณฑ์ จึงนําไปสู่ข้อกังขาในการทํางานของหน่วยงานและเกิดคําถาม ว่าเหตุใดผู้กระทําผิดจึงถูกปล่อยตัวก่อนเวลาของโทษที่กําหนด และส่งผลต่อความเชื่อมั่นต่อกฎหมายและ การทํางานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม และหลายกรณีที่ผู้ต้องขังที่มีพฤติกรรมที่ดีในเรือนจํา และสามารถปฏิบัติตัวตามกฎระเบียบเพื่อได้ประโยชน์ในการลดโทษ แต่กลับกระทําพผิดซ้ําเมื่อได้รับการ ปล่อยตัว ประเด็นปัญหาที่ 6 ด้านการส่งเสริมแนวทางยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และมาตรการ ทางเลือก มีลักษณะปัญหาที่สําคัญ ได้แก่ (1) กลไกการไกล่เกลี่ยโดยชุมชนยังไม่สามารถขับเคลื่อนได้ตามเจตนารมณ์ที่แท้จริง อาจ เพราะไม่เชื่อมั่นในกลไกยุติธรรมชุมชนเท่ากับเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอํานาจตามกฎหมาย และไม่แน่ใจในขอบเขตของ ข้อพิพาทที่กลไกยุติธรรมชุมชนสามารถดําเนินการไกล่เกลี่ยได้ รวมทั้งการกําหนดให้คดีที่สามารถไกล่เกลี่ยได้ เป็น คดีที่มีทุนทรัพย์น้อยเกินไป ซึ่งไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไปที่พบว่า ข้อพิพาทส่วนใหญ่
41 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมักเกี่ยวข้องกับทุนทรัพย์ที่สูงกว่าที่กฎหมายกําหนดให้ใช้กลไกการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท โดยชุมชน (2) ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางเลือก เนื่องจากไม่ใช่ แนวทางที่ประชาชนในสังคมคุ้นเคย โดยประชาชนยังไม่มีความเข้าใจและเชื่อมั่นในกลไกดังกล่าวว่าจะสามารถ อํานวยความยุติธรรมให้แก่ตนเองได้ จึงยังคงมุ่งให้ผู้ปฏิบัติงานฝ่ายบังคับใช้กฎหมายของรัฐเป็นผู้ดําเนินการ จัดการความขัดแย้งและข้อพิพาทในลักษณะเดิม ประเด็นปัญหาที่ 7 ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม มีลักษณะ ปัญหาที่สําคัญ ได้แก่ (1) กระบวนการยุติธรรมไม่ใช่แค่เรื่องของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย เพราะการอํานวย ความยุติธรรมแก่ประชาชนไม่ใช่การบังคับใช้กฎหมายอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงจะเกี่ยวข้องและเกี่ยวพัน กับหน่วยงานส่วนอื่นด้วย ซึ่งมีบทบาทในการป้องกันอาชญากรรม ซึ่งเป็นการป้องกันที่ต้นเหตุของปัญหา ที่แท้จริง คือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนไม่ให้เข้าสู่เงื่อนไขในการก่ออาชญากรรม หรือนําไปสู่ปัญหา ในสังคม (2) วัฒนธรรมองค์กรของหน่วยงานภาครัฐเป็นอุปสรรคในการเข้าไปมีส่วนร่วมของภาค ประชาชน โดยมักเป็นการมีส่วนร่วมเฉพาะกลไกที่รัฐเปิดโอกาสบางส่วน เช่น มีความพยายามในการให้ ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้นในการจัดให้มีผู้พิพากษาสมทบในศาลคดีเด็กและ เยาวชน (3) กลไกภาคประชาชนและเครือข่ายการทํางานจากภาคส่วนอื่นในสังคมที่เกิดขึ้น ไม่สามารถขับเคลื่อนการดําเนินงานในกระบวนการยุติธรรมได้อย่างยั่งยืน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาค ส่วนอื่นเข้ามาร่วมดําเนินการในกระบวนการยุติธรรม ทั้งภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ยัง เป็นไปตามการกํากับควบคุมของหน่วยงานรัฐเป็นหลัก มากกว่าการผลักดันให้ภาคส่วนอื่นมีศักยภาพเพียงพอที่ จะร่วมดําเนินการในเชิงเครือข่ายการทํางานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ สังคมได้อย่างจริงจัง ประเด็นปัญหาที่ 8 ด้านข้อมูลและเทคโนโลยี มีลักษณะปัญหาที่สําคัญ ได้แก่ (1) ข้อมูลของแต่ละหน่วยงานไม่เชื่อมโยงกันทําให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ โดยแต่ ละหน่วยงานถือกฎหมายเป็นของตนเอง แม้จะมีกฎหมายจะเขียนให้เชื่อมโยงข้อมูล แต่หลายหน่วยงาน จะยกข้อกฎหมายของตนเองมาเป็นข้ออ้างหรือข้อจํากัดในการเชื่อมโยงข้อมูล อีกทั้งหน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรมแยกส่วนและเป็นอิสระต่อกัน ทําให้การเก็บข้อมูลของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมแยกส่วน และไม่ถูกส่งต่ออย่างสมบูรณ์ (2) ข้อจํากัดในการนําเทคโนโลยีมาช่วยในการดําเนินงานในกระบวนการยุติธรรม ทั้งเรื่อง ทรัพยากรในการดําเนินงาน ในส่วนของงบประมาณ ความพร้อมบุคลากร และอุปกรณ์เครื่องมือ ซึ่งแต่ละ หน่วยงานมีศักยภาพแตกต่างกันไป อีกทั้งเจ้าหน้าทีรัฐในกระบวนการยุติธรรมบางส่วนยังไม่สามารถปรับตัวใน การนําเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเต็มที่ (3) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทําให้การกระทําผิดมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นทําให้เกิด อาชญากรรมในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งอาชญากรรมเดิมที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและลักษณะของ การก่ออาชญากรรมไปจากเดิม และการเกิดอาชญากรรมในรูปแบบใหม่ เช่น อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (4) ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมได้ เนื่องจาก ข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรมยังไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์
42 และยังไม่ระบบการติดตามคดีที่มีข้อมูลของแต่ละหน่วยงานตลอดกระบวนการเพื่อให้ประชาชนสามารถติดตาม ข้อมูลคดีความของตนเองได้อย่างสะดวกรวดเร็ว 2.7 ประเด็นท้าทายสําหรับการพัฒนากระบวนการยุติธรรมของไทย การนําเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการยุติธรรมของไทย สามารถพิจารณาจากข้อมูล การศึกษา 3 ส่วนที่สําคัญคือ ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและแนวทางการพัฒนากระบวนการยุติธรรม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อทราบกรอบการดําเนินงานด้านกระบวนการยุติธรรมตามยุทธศาสตร์และ แผนกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องและแนวทางการพัฒนากระบวนการยุติธรรมในบริบทต่างประเทศ รวมทั้งผลการสํารวจ ข้อมูลและความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการยุติธรรม ทั้งจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม และการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อระดมความคิดเพื่อกําหนดกรอบทิศทางการจัดทํา (ร่าง) แผนแม่บทฯ ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อนํา ข้อมูลจากผลการศึกษาดังกล่าวมาเป็นกรอบในการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาการบริหารกระบวนการ ยุติธรรมของไทยในอนาคตตามกรอบการดําเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและมาตรฐานสากล ควบคู่ ไปกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเหมาะสม บนพื้นฐานของการพิจารณาผลการวิเคราะห์ประเด็น ปัญหาของกระบวนการยุติธรรม (Pain Point) ข้างต้น โดยมีแนวทางการพัฒนากระบวนการยุติธรรมที่สําคัญ จํานวน 9 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นท้าทายที่ 1 การยึดหลักนิติธรรมเพื่ออํานวยความยุติธรรมตามสิทธิของ ประชาชน มีแนวทางการพัฒนา 11 แนวทาง ได้แก่ (1) การพัฒนาหลักนิติธรรมเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้มีศักยภาพและความพร้อม ในการอํานวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนตามสิทธิ โดยการส่งเสริมให้มีการเข้าถึงความยุติธรรมและการปฏิบัติที่ เท่าเทียมภายใต้กฎหมาย (2) การส่งเสริมให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจในสิทธิเสรีภาพพื้นฐาน ข้อกฎหมาย และ กระบวนการยุติธรรม โดยง่ายและสะดวก รวมทั้งการสื่อสารข้อมูลให้แก่ประชาชนรู้ถึงความเสียหายหรือ ผลกระทบที่เกิดจากการกระทําผิดรอบด้าน (3) การสร้างความตระหนักถึงความสําคัญของกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมให้แก่ ประชาชนในสังคมทุกระดับในแนวทางที่เหมาะสม เพื่อสร้างศักยภาพในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และ มุ่งสร้างวัฒนธรรมการเคารพกฎหมาย รวมทั้งการสื่อสารกับประชาชน เพื่อเสริมให้เกิดความเข้าใจระหว่าง หน่วยงานและประชาชนมากขึ้น โดยพัฒนารูปแบบและกลไกที่จะสื่อสารต่อให้แก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง (4) การปลูกฝังจิตสํานึกและค่านิยมการเคารพกฎหมายแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชน และชุมชนเข้มแข็งมีภูมิคุ้มกันเมื่อเกิดปัญหาต่างๆ สามารถจัดการปัญหาเองได้ในเบื้องต้น และสามารถป้องกัน ตนเองมิให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม (5) การเคารพสิทธิของประชาชนในการติดตาม เร่งรัด และตรวจสอบการทํางานของรัฐ หากเป็นการทําเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรง ย่อมเป็นสิทธิของประชาชนและชุมชนตามที่กําหนดไว้ ในรัฐธรรมนูญ โดยหน่วยงานรัฐพึงจัดให้ประชาชนหรือชุมชนได้รับประโยชน์นั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กฎหมายบัญญัติ (6) การอํานวยความยุติธรรมที่รวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียมตามหลัก Inclusive justice โดยมุ่งสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนทุกกลุ่ม และการปฏิบัติต่อ ประชาชนโดยคํานึงถึงความหลากหลายและความเปราะบางของกลุ่มเป้าหมาย
43 (7) การกําหนดเป้าหมายเพื่ออํานวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนร่วมกัน เพื่อให้แต่ละ หน่วยงานมีเป้าหมายเดียวกันในการดําเนินงาน อันจะเป็นการกําหนดทิศทางการดําเนินงานร่วมกันระหว่าง หน่วยงานเพื่ออํานวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง (8) การมุ่งให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยไม่สูญเสียหรือเสียหายจากกระบวนการ ยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปกป้องสิทธิของเหยื่อและคุ้มครองพยานและผู้ให้ข้อมูล และการพัฒนากลไก การชดเชยค่าเสียหายจากกระบวนการยุติธรรมให้ง่ายและรวดเร็ว ประเด็นท้าทายที่ 2 การปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย มีแนวทางการพัฒนา 6 แนวทาง ได้แก่ (1) การจัดให้มีกฎหมายเท่าที่จําเป็น เพื่อมุ่งให้กฎหมายเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ ในการอํานวยความยุติธรรมของประชาชนในสังคมได้อย่างแท้จริง (2) การปรับปรุงและพัฒนากฎหมายให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศและสอดคล้องกับบริบท ที่เปลี่ยนแปลง เพื่อกําหนดแนวทางการกํากับควบคุม ตลอดจนบทลงโทษที่เหมาะสมสอดคล้องกับประเด็น ปัญหา บนพื้นฐานของการพิจารณาถึงบริบทรอบด้านของสังคมในแต่ละมิติ มากกว่าเพียงการมุ่งเน้นการบังคับ และลงโทษ โดยไม่จําเป็นต้องกําหนดโทษทางอาญาเป็นโทษหลักสําหรับบางความผิดหรือบางประเด็นทาง สังคม (3) การทบทวนและแก้ไขกฎหมายโดยคํานึงถึงการละเมิดสิทธิ และนวัตกรรมใหม่ ในการแก้ไขปัญหา โดยควรมีการปรับปรุงกฎหมายที่ล้าหลัง โดยการเปิดเวทีสาธารณะให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการแก้ไขกฎหมาย เพื่อมุ่งเน้นการปรับปรุงเนื้อหากฎหมายให้มีความทันสมัย สากล และมีเนื้อหาครอบคลุม สิทธิของประชาชนทุกกลุ่มอย่างเสมอภาค ไม่ว่าจะเป็นเยาวชน สตรี กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ฯลฯ (4) การบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพและเท่าเทียม เพื่อก่อให้เกิดความเชื่อมั่นของ กระบวนการยุติธรรมที่เป็นที่พึ่งพิงของประชาชน ควรมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาคไม่ละเว้น การปฏิบัติ และไม่เป็นเครื่องมือทางการเมือง รวมถึงการช่วยเหลือประชาชนที่เข้าไม่ถึงโอกาสในการสู้คดี อย่างแท้จริง เช่น กรณีการมีทนายอาสาโดยการสนับสนุนช่วยเหลือจากภาครัฐ เพื่อลดภาระและค่าใช้จ่ายของ ประชาชนอย่างแท้จริง (5) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทําและเสนอร่างกฎหมาย เพราะหากประชาชน ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการปรับปรุง หรือเสนอกฎหมายต่าง ๆ จะทําให้ประชาชนยอมรับกฎหมาย และสามารถ มีกฎหมายที่ทันสมัยต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ภายใต้บรรยากาศที่เสรีปราศจากการคุกคามหรือแทรกแซงจาก อํานาจหรือกลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งคดีแพ่งที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินชีวิตประจําวันของประชาชน หรือ คดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงในชีวิตของประชาชน ประเด็นท้าทายที่ 3 การบริหารและระบบการทํางานที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล มีแนวทางการพัฒนา 11 แนวทาง ได้แก่ (1) การปฏิรูปหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมให้เป็นองค์การที่ยึดหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) เพื่อให้การดําเนินงานของกระบวนการยุติธรรม หรือการทํางานของหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรมมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทํางาน เพื่อยกระดับองค์การให้เป็นองค์การ ที่มีธรรมาภิบาลได้มากขึ้น (2) การดําเนินงานโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-centric) เพื่อกําหนดประเด็น ให้เชื่อมโยง ว่าต้องพัฒนาหรือขับเคลื่อนกระบวนการทํางานในรูปแบบใดเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงการทํางาน
4 4 ตลอดกระบวนการ อันจะนําไปสู่การอํานวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน โดยการสร้างสมดุลระหว่าง การบังคับใช้กฎหมายและประโยชน์หรือความต้องการของประชาชน มิใช่เพียงมุ่งเน้นการบังคับใช้กฎหมาย (3) การบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอิสระจากอํานาจนิติบัญญัติและอํานาจ บริหาร เพื่อลดการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งควรกําหนดบทลงโทษกรณีที่บุคลากรจากฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ เข้ามาแทรกแซงการทํางานในกระบวนการยุติธรรม (4) การพัฒนาระบบการทํางานและบริการประชาชนที่เป็นมาตรฐานสากล โดยการดําเนิน ความยุติธรรมด้วยความโปร่งใส รวดเร็ว และตรวจสอบได้ การปรับปรุงขั้นตอนการขั้นตอนการดําเนินคดีให้มี ความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการพัฒนาระบบวิธีการปฏิบัติงานให้ทันสมัย (5) การบูรณาการและประสานความร่วมมือ (Collaborative) ระหว่างหน่วยงาน โดยบูรณาการการทํางานตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานบนสถานะ ที่เท่าเทียมกัน และการสนับสนุนหน่วยงานที่มีอํานาจตามพรบ.ปฏิบัติงานบังคับใช้กฎหมายตามอํานาจที่มี (6) การพัฒนาโครงสร้างและกลไกการทํางานให้คล่องตัว ยืดหยุ่น เพื่อตอบสนองความต้องการ ของประชาชนได้มากขึ้น โดยไม่ให้โครงสร้างและความแข็งตัวของความเป็นระบบราชการกลายเป็นอุปสรรค ในการอํานวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน (7) การพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีประสิทธิภาพตามบทบาทหน้าที่และความคาดหวัง ของประชาชน โดยการส่งเสริมให้มีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมใน ขอบเขตงานที่รับผิดชอบ การส่งเสริมและพัฒนาให้บุคลากรมีความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะในงานที่มีลักษณะ งานเฉพาะทาง การพัฒนาบุคลากรให้เท่าทันภาวการณ์เติบโตและเปลี่ยนแปลงของสังคม การปรับเปลี่ยน วัฒนธรรมการทํางานให้มุ่งเน้นความสําเร็จในการอํานวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนเป็นหลัก และการสร้างวัฒนธรรมการทํางานที่ยึดมั่นในระบบคุณธรรม การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรแบบเจ้าขุนมูลนาย เพื่อลดช่องว่างกับประชาชน รวมทั้งการสร้างการรับรู้และความเข้าใจร่วมกันให้แก่บุคลากรในการอํานวย ความยุติธรรมตามสิทธิและเสรีภาพและเคารพในสิทธิมนุษยชนของคนทุกกลุ่มในสังคม (8) การพัฒนากลไกการป้องกัน ตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ ของบุคลากรในภาครัฐ เนื่องจากประชาชนมีความคาดหวังว่าหากบุคลากรในหน่วยงานที่ดําเนินงาน ในกระบวนการยุติธรรมมีการประพฤติมิชอบเกี่ยวข้องกับการใช้ระบบพวกพ้อง ระบบอุปถัมภ์ การรับสินบน การทุจริตคอร์รัปชันต้องได้รับการลงโทษอย่างรุนแรงมากกว่าประชาชนทั่วไป และเมื่อลงโทษบุคลากรผู้นั้น แล้วต้องมีการนําเสนอข้อมูลการลงโทษบุคลากรนั้นโดยการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบเพื่อสร้าง ความเชื่อมั่นให้กับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมให้มากยิ่งขึ้น (9) แนวทางการลงโทษหรือแสดงความรับผิดชอบในกรณีบุคลากรที่มีอํานาจในการบังคับใช้ กฎหมายกระทําผิดที่ชัดเจน เมื่อเจ้าหน้าที่ทําผิดต้องดําเนินการเด็ดขาดจริงจัง รวดเร็ว โปร่งใส และกลไก การตรวจสอบต่าง ๆ ที่มีอยู่ต้องสามารถตรวจสอบได้จริง โดยหน่วยงานหรือบุคคลที่ถูกตรวจสอบต้องพร้อม ยอมรับความผิดพลาดหรือความผิดจากการกระทําของตน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจต่อกระบวนการ ยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง (10) การติดตามและประเมินผลความสําเร็จของการดําเนินงานในกระบวนการยุติธรรม โดยการกําหนดแนวทางการประเมินภายในและการตรวจสอบจากหน่วยงานและภาคส่วนของสังคม รวมทั้งการวัด ความสําเร็จของการขับเคลื่อนงานในกระบวนการยุติธรรมจากผลลัพธ์เชิงคุณภาพมากกว่าเพียงการวัดผล เชิงปริมาณ (11) การให้ความสําคัญกับงานวิชาการและสนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างการพัฒนา กระบวนการด้วยข้อมูลและองค์ความรู้ในการพัฒนากระบวนการยุติธรรม โดยส่งเสริมให้เกิดการวิจัยเพื่อค้นหา
4 5 ความรู้ในประเด็นทางสังคมที่มีความแปลกใหม่และหลากหลายในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต และผลักดัน ข้อเสนอจากงานวิจัยให้เป็นข้อมูลสําคัญในการพัฒนากระบวนการยุติธรรม ประเด็นท้าทายที่ 4 การพัฒนาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขอาชญากรรมรูปแบบใหม่ มีแนวทางการพัฒนา 5 แนวทาง ได้แก่ (1) การพัฒนากลไกในการป้องกันและสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้แก่ ประชาชนเพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินเพิ่มขึ้น (2) การติดตาม เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาความมั่นคงด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและ อนาคต โดยการพัฒนากลไกการดําเนินงานที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเสริมสร้างให้ทุกภาคส่วนให้มีความเข้มแข็ง มีความพร้อม และตระหนักในเรื่องความมั่นคงและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงด้านต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต และการพัฒนาและเสริมสร้างกลไกที่สามารถป้องกันและขจัดสาเหตุของประเด็น ปัญหาความมั่นคง (3) การนํามิติการพัฒนาหรือกลไกทางสังคมมาใช้ในการป้องกันอาชญากรรม ตามความจําเป็น และเหมาะสมกับคนทุกกลุ่ม หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชน ซึ่งนับเป็นกลุ่มเปราะบางที่อาจเกิด ความเสี่ยงในการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมหรือเป็นผู้ก่ออาชญากรรม โดยใช้กิจกรรมการพัฒนา เช่น กีฬา เพื่อ สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่คนในสังคม และเกิดการยึดโยงคนในสังคมเห็นคุณค่าในตนเองและการเป็นส่วนหนึ่งในการ ปกป้องสังคม (4) การแสวงหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขอาชญากรรมรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นจาก การเปลี่ยนแปลงของบริบทของในปัจจุบัน ด้วยการเสริมสร้างมาตรการจัดการกับอาชญากรรมรูปแบบใหม่ รวมทั้งการใช้ประโยชน์สูงสุดจากอนุสัญญาที่เกี่ยวข้อง เช่น อนุสัญญาว่าด้วยองค์การอาชญากรรมและพิธีสาร ต่อท้ายและมาตรการที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญาเหล่านั้น (5) การพัฒนาระบบงานยุติธรรมทางอาญา เพื่อรับมือกับแนวโน้มของการเกิดอาชญากรรม ที่อาจเป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) เนื่องจาก ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาและผลกระทบด้านสังคมและเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ซึ่งได้สร้างโอกาสใหม่ และเปลี่ยนแนวทางการดําเนินงานให้แก่ อาชญากรและกลุ่มองค์การอาชญากรรมในรูปแบบต่าง ๆ ในแต่ละระดับที่แตกต่างหลากหลาย จึงนับเป็น การท้าทายต่อการดําเนินงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในแต่ละภารกิจตามความรับผิดชอบของ แต่ละหน่วยงานของแต่ละประเทศ รวมทั้งความร่วมมือระหว่างชาติในปัญหาอาชญากรรม ประเด็นท้าทายที่ 5 การปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดบนหลักการเคารพสิทธิมนุษยชน มีแนวทางการพัฒนา 5 แนวทาง ได้แก่ (1) การพิจารณาจําแนกหรือแบ่งประเภทคดีเพื่อกําหนดการลงโทษที่เหมาะสม ระหว่าง คดีอาญาที่มีความจําเป็นต้องลงโทษจําคุก กับคดีที่เป็นความบกพร่องผิดพลาดเฉพาะตัวที่อาจจะไม่จําเป็นต้อง เป็นโทษทางอาญาที่จะต้องนํามาติดคุก เนื่องจากวิธีการรับมือกับคดีต้องปรับให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง (2) การกําหนดแนวทางบังคับโทษต่อผู้กระทําผิดเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขพัฒนา มากกว่าการยึดอัตราโทษตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่นํามาใช้ในการพิจารณาการลงโทษของเด็ก และเยาวชนควรคํานึงถึงประโยชน์หรือการแก้ไขฟื้นฟู เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของผู้กระทําผิด มากกว่าการยึดอัตราโทษ โดยการพิจารณาบทลงโทษควรพิจารณาถึงเหตุแห่งการกระทําผิดและเงื่อนไขบริบท หรือสาเหตุที่ทําให้กระทําผิด มากกว่าพิจารณาแค่ตัวความผิดที่เกิด
46 3) การปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดบนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน โดยการดําเนินงานที่เป็นไปตาม ระบบการทํางานของกระบวนการยุติธรรมแบบสากลอย่างแท้จริง การทํางานของแต่ละหน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรมต้องทํางานด้วยการตามหลักสิทธิมนุษยชน (4) แนวทางการแก้ไขพัฒนาผู้กระทําผิดที่มุ่งเน้นการสร้างโอกาสให้ผู้กระทําผิดสามารถ ดําเนินชีวิตในสังคมปกติได้จริงหลังการปล่อยตัว โดยมองผู้กระทําผิดว่าเป็นบุคคลที่สามารถได้รับการบําบัด แก้ไขปรับปรุงฟื้นฟูให้กลับมาเป็นบุคคลที่สามารถเข้ามาอยู่ร่วมกับคนอื่น ๆ ในสังคมได้อีก ไม่ใช่การมองว่า ผู้กระทําความผิดจะต้องได้รับการลงโทษให้หลาบจําเพราะเชื่อว่าไม่สามารถบําบัดแก้ไขปรับปรุงฟื้นฟูให้ กลับมาเป็นบุคคลที่อยู่ร่วมกันกับคนอื่น ๆ ในสังคมได้อีกอย่างที่เป็นอยู่ (5) การนํามิติการพัฒนาหรือกลไกทางสังคมมาใช้ในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทําผิดให้กลับสู่ การเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเปิดรับหรือเปิดโอกาสจากสังคมในการร่วมแก้ไข ฟื้นฟูผู้กระทําผิดให้กลับสู่การเป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้อีกครั้ง เพื่อเป็นการตัดโอกาสในการกลับไปสู่การกระทําผิดซ้ํา ประเด็นท้าทายที่ 6 การส่งเสริมแนวทางยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และมาตรการทางเลือก มีแนวทางการพัฒนา 3 แนวทาง ได้แก่ (1) การนําแนวทางเชิงสมานฉันท์หรือมาตรการทางสังคมมาใช้แทนการลงโทษมาใช้จริง ในทางปฏิบัติ โดยควรพิจารณาถึงการนํามาตรการยุติธรรมทางเลือก หรือการลงโทษทางปกครอง มาใช้และ ผลักดันให้เกิดการนําไปบังคับใช้ได้จริง เช่น การนําแนวทางยุติธรรมเชิงสมาฉันท์มาปรับใช้สําหรับเด็กและเยาวชน ที่กระทําผิด โดยมุ่งเน้นการคุ้มครองมากกว่าการลงโทษรุนแรง การเลือกใช้รูปแบบการลงโทษที่เหมาะสมกับ ความผิดและบริบทต่าง ๆ และการนํามาตรการลงโทษระดับกลางมาปรับใช้ (2) การพิจารณาทบทวนโครงสร้างและกลไกที่สนับสนุนให้มีการนํามาตรการเชิงสมานฉันท์มา ใช้ในการดําเนินงานจริงของแต่ละหน่วยงาน เนื่องจากแม้ว่ามีการนํากระบวนการยุติธรรมทางเลือกให้มากขึ้น อย่างต่อเนื่อง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการขับเคลื่อนกลไกเชิงนโยบายหรือข้อสั่งการจากผู้บริหารระดับสูงเพื่อเป็น แนวปฏิบัติ แต่ยังเกิดการนํามาใช้ในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมไม่มากนัก อาจเนื่องมาจากข้อจํากัดจาก โครงสร้างและกลไกการดําเนินงานของหน่วยงาน จึงควรมีการพิจารณาทบทวนเพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้ แต่ละหน่วยงานสามารถดําเนินการตามมาตรการเชิงสมานฉันท์ได้จริง (3) การผลักดันให้กระบวนการไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาทในชุมชนมีความชัดเจน และสามารถดําเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมกระแสหลักลดลง และทําให้กระบวนการทํางานของยุติธรรมกระแสหลักมีประสิทธิภาพได้มากขึ้น โดยการส่งเสริมให้มีการสร้าง และบังคับใช้กฎชุมชนหรือการควบคุมดูแลในชุมชน โดยการยอมรับและมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดการระงับข้อพิพาทในชุมชนได้ด้วยกลไกชุมชน ซึ่งจําเป็นต้องมีการพัฒนากลไกที่เป็นข้อต่อในชุมชน ที่สามารถสื่อสารและให้คําปรึกษาแก่ประชาชนในการสร้างกลไกการควบคุมภายในชุมชน และกระบวนการ ไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาทในชุมชนมาดําเนินการได้จริงในชุมชน โดยหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม สนับสนุนองค์ความรู้และข้อมูลที่จําเป็น ประเด็นท้าทายที่ 7 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ ในสังคม มีแนวทาง การพัฒนา 4 แนวทาง ได้แก่ (1) การสร้างกลไกการทํางานเชิงเครือข่าย (Network Governance) เพื่อลดทอนความเป็น ราชการลง โดยสร้างโอกาสและกลไกให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม มากขึ้น และพัฒนาศักยภาพของภาคส่วนต่าง ๆ ควบคู่กับการปรับระเบียบและแนวทางการทํางานของหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามาร่วมขับเคลื่อนงานในกระบวนการยุติธรรมได้จริง
47 (2) การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อน งานในกระบวนการยุติธรรมได้จริง โดยการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทางสังคมในการป้องกัน อาชญากรรม รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทางสังคมในการแก้ไขฟื้นฟูและช่วยเหลือ ผู้กระทําผิดให้กลับสู่การเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ตลอดจนการสร้างการรับรู้และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ (3) การกระจายอํานาจให้ท้องถิ่นหรือระดับชุมชนในการดําเนินงานต่าง ๆ ของ กระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้เพื่อลดขั้นตอนการทํางานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก เช่น การดําเนินงานศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทชุมชน หรือ การกําเนินงานของศูนย์ดํารงธรรมในชุมชน (4) หน่วยงานภาครัฐควรเป็นต้นแบบในการเปิดโอกาสให้ผู้กระทําผิดที่พ้นโทษ โดยการรับเข้าทํางาน เพื่อเป็นแบบอย่างให้หน่วยงานเอกชนในการรับผู้พ้นโทษเข้าทํางานตามศักยภาพที่มี เพื่อเป็นการสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองให้แก่ผู้พ้นโทษ ซึ่งจะเป็นปัจจัยยึดเหนี่ยวที่ช่วยป้องกันการกลับไปกระทํา ผิดซ้ําได้ ประเด็นท้าทายที่ 8 การส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศ มีแนวทางการพัฒนา 2 แนวทาง ได้แก่ (1) การบูรณาการความร่วมมือด้านความมั่นคงกับมิตรประเทศในระดับภูมิภาคและ ระดับโลก รวมถึงองค์กรภาครัฐและที่มิใช่ภาครัฐ ในการป้องกันภัยคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ ควบคู่ไปกับ การรักษาผลประโยชน์ของชาติ (2) การพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศและความช่วยเหลือทางเทคนิคเพื่อป้องกัน อาชญากรรมทุกรูปแบบ ทั้งอาชญากรรมในประเทศ และอาชญากรรมระหว่างประเทศ เช่น ปัญหาการก่อการร้าย ปัญหาผู้อพยพ และปัญหากลุ่มอาชญากรข้ามชาติ ประเด็นท้าทายที่ 9 การจัดการข้อมูลและการนําเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการ ยุติธรรม มีแนวทางการพัฒนา 3 แนวทาง ได้แก่ (1) การเชื่อมโยงข้อมูลและการทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานแบบเป็นระบบ ทั้งในระดับข้อมูล (Data) ข้อมูลข่าวสาร (Information) และความรู้ (Knowledge) เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ร่วมกันในการทํางานระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมบนฐานของข้อมูลและองค์ความรู้ที่ถูกต้อง เดียวกัน อันจะนําไปสู่การบูรณาการการทํางานร่วมกันทั้งในด้านข้อมูลข่าวสารที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ ทุกหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการทํางานระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมบนฐานของข้อมูลและ องค์ความรู้ที่ถูกต้องเดียวกัน (2) การเปิดเผยข้อมูลการทํางานและเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถติดตามความคืบหน้า ของข้อมูลคดีของตนเองได้สะดวกมากขึ้น ทั้งนี้ไม่ใช่เพียงแต่การเปิดช่องทางให้สามารถขอคัดสํานวนได้ แต่เป็นหน้าที่ที่เจ้าหน้าที่ต้องชี้แจงต่อสาธารณะถึงแม้ไม่มีการร้องขอ เพื่อเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ใจของ เจ้าหน้าที่ในการดําเนินงาน (3) การนําเทคโนโลยีมาใช้ในการดําเนินงานในกระบวนการยุติธรรม เพื่อช่วยให้เกิดการสร้าง ความโปร่งใสในการทํางาน และเพื่อป้องกันการทุจริตต่อหน้าที่ (Malpractice) ในกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่กระบวนการสอบสวนสืบสวน การพิสูจน์ในทางนิติวิทยาศาสตร์ การพิจารณาคดีต่าง ๆ ซึ่งเทคโนโลยี จะช่วยให้กระบวนการบิดเบือนข้อมูลและการดําเนินงานในขั้นตอนต่าง ๆ ทําได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนํา เทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน
48 2.8 ผลการจัดประชุมวิพากษ์แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) การจัดประชุมวิพากษ์ (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) เมื่อวันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 เวลา 09.00 – 16.00 น. ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Meeting) เพื่อนําข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนไปใช้ใน การปรับปรุงและพัฒนา (ร่าง) แผนแม่บทฯ ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นผู้แทนจาก หน่วยงานและภาคส่วนต่างๆ จํานวนทั้งสิ้น 129 คน ทั้งนี้ จากการประชุมวิพากษ์ (ร่าง) แผนแม่บทฯ ผู้เข้าร่วม ประชุมส่วนใหญ่ได้ให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดทํา (ร่าง) แผนแม่บทฯ ซึ่งคณะที่ ปรึกษาได้นําความคิดเห็นและข้อเสนอแนะดังกล่าวไปวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อนําไปสู่การปรับปรุงและ พัฒนา (ร่าง) แผนแม่บทฯ ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีสาระสําคัญหลักดังนี้ (1) การปรับวิสัยทัศน์ของแผนแม่บทฯ โดยปรับจากการ “ประสานความร่วมมือ…” เป็น “การสร้างความร่วมมือ…” เพื่อขยายขอบเขตให้กว้างมากขึ้น (2) การปรับกรอบระยะเวลาของแผนแม่บทฯ ทางคณะที่ปรึกษามีความคิดเห็นไปในทิศทาง เดียวกันกับผู้เข้าร่วมประชุมที่เสนอแนะว่า ควรมีการปรับกรอบระยะเวลาของแผนแม่บทฯ โดยการเพิ่มระเวลา ของแผนแม่บทฯ อีก 1 ปี จากเดิมที่กําหนดระยะเวลาของแผน 4 ปี (พ.ศ. 2566 – 2569) เป็น 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) เนื่องจากแผนแม่บทฯ ได้ถูกกําหนดให้เป็นแผนระดับที่ 3 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 เรื่องแนวทางเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ดังนั้นแผนแม่บทฯ จึงควร กําหนดระยะเวลาการสิ้นสุดของแผนให้เป็นไปตามช่วงเวลาสิ้นสุดของของปฏิบัติการด้าน… (พ.ศ. 2565, พ.ศ. 2570, พ.ศ. 2575 และ พ.ศ. 2580) และสอดคล้องกับค่าเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) (3) การกําหนดเป้าหมาย แนวทาง และกิจกรรมการดําเนินงาน ผู้เข้าร่วมการประชุมส่วน ใหญ่ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้ความสําคัญกับประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมให้มี ความสอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและเป็นไปตามมาตรฐานสากล ได้แก่ การบังคับใช้กฎหมายให้ เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย การปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดบนหลักสิทธิมนุษยชน กระบวนการไกล่เกลี่ย ระงับข้อพิพาทในชุมชน การนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการยุติธรรม การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม การกําหนดแนวทางการเยี่ยวยาความเสียหาย การป้องกันการแทรกแซง กระบวนการยุติธรรม การพัฒนาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชน นอกจากนี้ ที่ยังมีข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการกําหนดแนวทางการดําเนินงานและกิจกรรมของแต่ละเป้าหมายให้มีความชัดเจนและมีความ สอดคล้องกับหน่วยงานและมีหน่วยงานที่พร้อมดําเนินการได้ ทั้งนี้ คณะที่ปรึกษาได้นําความคิดเห็นและ เสนอแนะดังกล่าวไปพิจารณาและวิเคราะห์เพื่อนําไปปรับปรุงแก้ไขเป้าหมาย แนวทาง และกิจกรรมการ ดําเนินงานของแต่ละมิติให้มีความชัดเจนและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น (4) การกําหนดตัวชี้วัดของของแต่ละเป้าหมาย ผู้เข้าร่วมประชุมได้ให้ความข้อเสนอแนะใน ปรับปรุงตัวชี้วัดให้มีความชัดเจนและเหมาะสมมากขึ้นทั้งในประเด็นการวัด วิธีการวัด และการได้มาซึ่งข้อมูลที่ จะนํามาสะท้อนตัวชี้วัด เช่น การกําหนดตัวชี้วัดที่สะท้อนผลผลิตและผลลัพธ์ หน่วยการวัดและค่าเป้าหมาย (จํานวน ร้อยละ ระดับความสําเร็จ) ต้องมีคําอธิบายเกณฑ์การวัดที่ชัดเจน เป็นต้น ทั้งนี้ คณะที่ปรึกษาได้นํา ความข้อเสนอแนะดังกล่าวไปพัฒนาและปรับปรุงตัวชี้วัดให้มีความชัดเจนและครอบคลุมเป้าหมายและแนวทาง การดําเนินงานให้มากขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มเติมรายละเอียดของคําอธิบายตัวชี้วัดและเกณฑ์การวัดให้มีความชัดเจน และเข้าใจตรงกัน
49 สาระสําคัญ แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569)
50 วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและตัวชี้วัดภาพรวม วิสัยทัศน์ สร้างความร่วมมือในการบริหารงานเพื่ออํานวยความยุติธรรม อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยยึดหลักนิติธรรม พันธกิจ 1. มุ่งสร้างความเป็นธรรมตามกฎหมายให้แก่ประชาชน 2. พัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล 3. ประสานความร่วมมือในการบริหารงานยุติธรรมให้มีความสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป้าหมายภาพรวม เป้าหมายที่ 1 ประชาชนได้รับความเป็นธรรมอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เป้าหมายที่ 2 การบริหารงานยุติธรรมมีความสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน ตัวชี้วัดภาพรวม ตัวชี้วัดที่ 1 ระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม เป็นการประเมินความคิดเห็นของประชาชนเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความไว้วางใจที่ประชาชนมีต่อ กระบวนการยุติธรรม ว่าจะเป็นไปด้วยความถูกต้อง เที่ยงตรง และโปร่งใส ตลอดจนสามารถสร้างความเป็นธรรม ให้แก่ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ตัวชี้วัดที่ 2 ระดับความสําเร็จของความสอดคล้องในเป้าหมายและการดําเนินงานของ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม เป็นการประเมินรายละเอียดของแผนปฏิบัติราชการ แผนงาน โครงการ รวมทั้งการดําเนินงาน ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม เพื่อสะท้อนถึงความสอดคล้องของเป้าหมายและแนวทางการดําเนินงาน ในทิศทางเดียวกัน
51 มิติการบริหารงาน เป้าหมาย แนวทางการดําเนินงาน และตัวชี้วัดเป้าหมาย แนวทางการบริหารงานในแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2569) อยู่ภายใต้กรอบแนวคิดการบริหารงานยุติธรรมการอํานวยความยุติธรรมอย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม ใน 3 มิติหลัก ได้แก่ การสร้างความเป็นธรรมตามกฎหมาย การพัฒนากระบวนการยุติธรรมตามมาตรฐานสากล และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารงานยุติธรรม ซึ่งมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และพันธกิจ ที่กําหนด และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการดําเนินงาน จึงกําหนดเป้าหมายและแนวทางในการดําเนินงาน รวมทั้งตัวชี้วัดเป้าหมาย ในแต่ละมิติ ดังนี้ มิติการบริหารงานที่ 1 การสร้างความเป็นธรรมตามกฎหมาย มิติการบริหารงานที่ 2 การพัฒนากระบวนการยุติธรรมตามมาตรฐานสากล มิติการบริหารงานที่ 3 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารงานยุติธรรม ภาพที่ 1 กรอบการบริหารงานตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2569) การสร้างความ เป็นธรรม ตามกฎหมาย การพัฒนากระบวนการ ยุติธรรมตาม มาตรฐานสากล การสร้างเครือข่าย ความร่วมมือ ในการบริหาร งานยุติธรรม สร้าง ความร่วมมือ ในการบริหารงาน เพื่ออํานวยความยุติธรรม อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยยึดหลักนิติธรรม การใช้มาตรการที่หลากหลาย ในการยุติข้อพิพาท การปฏิบัติต่อผู้กระทําผิด บนหลักสิทธิมนุษยชน การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม อย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม (Inclusive justice) การยกระดับกลไก การทํางานเชิงเครือข่าย การเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์ จากข้อมูลและเทคโนโลยี การบริหารงานยุติธรรม ตามหลักธรรมาภิบาล การบังคับใช้กฎหมายตามเจตนารมณ์ การมีกฎหมายที่ดี (จําเป็น ทันสมัย สอดคล้องกับบริบทของสังคม) การสร้างวัฒนธรรมคารพกฎหมาย
52 มิติที่ 1 การสร้างความเป็นธรรมตามกฎหมาย การสร้างความเป็นธรรมตามกฎหมาย เป็นการมุ่งผลักดันให้เกิดการทบทวนและพัฒนาเพื่อให้มี กฎหมายที่ดี และสามารถนําไปบังคับใช้ในสังคมได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ ที่แท้จริงของกฎหมาย และนําไปสู่การยอมรับและปฏิบัติตามของประชาชน โดยเห็นว่ากฎหมายเป็นเครื่องมือ ที่รับประกันความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนในสังคมได้อย่างเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง เป้าหมายที่ 1 การมีกฎหมายดี (จําเป็น ทันสมัย สอดคล้องกับบริบทของสังคม) เพื่อให้เกิดการพิจารณาทบทวน แก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิกกฎหมายที่ล้าสมัย หรือเป็นอุปสรรค ต่อการดํารงชีวิตหรือการประกอบอาชีพของประชาชน รวมทั้งกฎหมายที่อาจก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ําและไม่เป็น ธรรมแก่ประชาชน และนําไปสู่การมีกลไกในการออกกฎหมายเป็นกฎหมายที่ดีและเท่าที่จําเป็น รวมทั้งมีกลไก ในการทบทวนกฎหมายที่มีผลใช้บังคับแล้วเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ตลอดจนการกําหนดบทลงโทษที่เหมาะสมสอดคล้องกับประเด็นปัญหาและ บริบทของสังคม ตัวชี้วัดเป้าหมาย 1. ระดับความสําเร็จของการประเมินผลกระทบของกฎหมายและการทบทวนความเหมาะสม ของกฎหมายเพื่อให้ตอบสนองต่อบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและสอดคล้องกับหลักการหรือมาตรฐานสากล แนวทางการดําเนินงาน (1) ผลักดันให้มีการทบทวนความจําเป็นและความเหมาะสมของกฎหมายที่มีผลบังคับใช้แล้ว ให้สอดคล้องกับหลักการตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เพื่อลด ละ เลิก กฎหมายที่ไม่มีความจําเป็น ล้าสมัย หรืออาจก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ําและไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน โดย - มีการเก็บรวมรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาของกฎหมายทั้งที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับตัวบทหรือ บทบัญญัติของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อใช้เป็นข้อมูลสําหรับการทบทวนความจําเป็นและความ เหมาะสมของกฎหมาย - เปิดโอกาสให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วนเกี่ยวกับความ เหมาะสมของกฎหมายและผลจากการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเป็น ข้อมูลในการประเมินผลกระทบของกฎหมายและการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายที่สอดคล้องกับ บริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและสอดคล้องกับหลักการหรือมาตรฐานสากล - สนับสนุนให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมมีการกําหนดขั้นตอนหรือวิธีการทบทวนความ เหมาะสม หรือประเมินผลกระทบของกฎหมายตามที่กําหนด เพื่อเป็นแนวทางการดําเนินงานที่ชัดเจน (2) ส่งเสริมให้มีการปรับปรุง แก้ไข และออกกฎหมายเท่าที่จําเป็น รวมทั้งยกเลิกหรือ ปรับปรุงกฎหมายที่สร้างภาระ หรือก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ําและไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน เพื่อสร้างความ เป็นธรรม และสอดคล้องกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งคํานึงถึงการป้องกันการละเมิดสิทธิ เสรีภาพของประชาชน โดย
53 - จัดทําและเสนอผลทบทวนความเหมาะสม หรือประเมินผลกระทบของกฎหมาย เพื่อนําไปสู่ปรับปรุงแก้ไข หรือการออกกฎหมาย หรือการยกเลิกกฎหมาย ต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่าง เป็นรูปธรรม - พัฒนาหรือนํานวัตกรรมใหม่ในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม หรือการละเมิดสิทธิเสรีภาพ ของประชาชน เพื่อมุ่งให้กฎหมายเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ในการอํานวยความยุติธรรมของประชาชนใน สังคมได้อย่างแท้จริง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการดํารงชีวิตหรือการประกอบอาชีพของประชาชน (3) พิจารณาความเหมาะสมและผลกระทบจากบทลงโทษที่เหมาะสมสอดคล้องกับประเด็นปัญหา บนพื้นฐานของการพิจารณาถึงบริบทรอบด้านของสังคมในแต่ละมิติ และมาตรฐานในระดับสากล โดยพิจารณาบทลงโทษควรเหมาะสมกับความหนักหน่วงของความผิด รวมทั้งควรพิจารณาถึงเหตุแห่ง การกระทําผิดและเงื่อนไขบริบทหรือสาเหตุที่ทําให้กระทําผิด มากกว่าพิจารณาเพียงแค่ตัวความผิดที่เกิด - ผลักดันให้มีการจัดทํากฎหมายเพื่อเปลี่ยนโทษทางอาญาที่ไม่ใช่ความผิดร้ายแรงให้เป็น โทษปรับเป็นพินัยหรือโทษทางปกครอง เพื่อลดผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน - พิจารณาการนําระบบโทษปรับตามความสามารถในการชําระของผู้กระทําผิด (Day Fines System) มาใช้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ํา - ผลักดันให้มีการพัฒนาหรือแก้ไขกฎหมายด้วยการใช้มาตรการลงโทษอย่างอื่นมาบังคับใช้ กับผู้กระทําความผิดได้โดยไม่ต้องวางโทษจําคุกก่อน กิจกรรมสําคัญ : - การสร้างและพัฒนากลไก หรือระบบการประเมินผลกระทบชองกฎหมาย (Regulation Impact Assessment: RIA) และการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย (Regulatory Guillotine) ตามขอบเขตที่หน่วยงานรับผิดชอบ - การทบทวนและจัดทําข้อเสนอในการยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อ การดํารงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนตามขอบเขตที่หน่วยงานรับผิดชอบ - การสร้างและพัฒนากลไกทางกฎหมายเพื่อให้มีการพิจารณาปรับเปลี่ยนโทษ ทางอาญาที่ ไม่ใช่ความผิดร้ายแรงให้เป็นโทษปรับเป็นพินัย เพื่อลดผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาลปกครอง สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานอัยการ สูงสุด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สํานักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) สถาบันอนุญาโตตุลาการ เนติบัณฑิตยสภา สภาทนายความ สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน และกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
5 4 เป้าหมายที่ 2 การบังคับใช้กฎหมายตามเจตนารมณ์ เพื่อมุ่งให้บังคับใช้กฎหมายตามเจตนารมณ์ อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ บนหลัก พื้นฐานของความเสมอภาคเพื่อให้ประชาชนทุกคนอยู่ภายใต้ผลแห่งกฎหมายเดียวกัน โดยมุ่งเน้นความสมดุล ระหว่างการบังคับใช้กฎหมายและประโยชน์สาธารณะหรือความต้องการของประชาชน เพื่อไม่ทําให้การบังคับ ใช้กฎหมายสร้างความเสียหายหรือก่อให้เกิดภาระที่เกิดความจําเป็นแก่ประชาชนและสังคม ตลอดจนการเพิ่ม ประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเหมาะสม สะดวก รวดเร็ว และสอดคล้องกับบริบทของสังคม ตัวชี้วัดเป้าหมาย 1. ระดับความสําเร็จของการมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนและชอบด้วยกฎหมายในการบังคับใช้กฎหมาย (Due Process) และรับรู้ร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชน 2. ระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม แนวทางการดําเนินงาน (1) ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพและความเสมอภาคในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อก่อให้เกิด ความเชื่อมั่นของกระบวนการยุติธรรมที่เป็นที่พึ่งพิงของประชาชน ควรมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม เสมอภาค มีประสิทธิภาพ เท่าเทียม ไม่ละเว้นการปฏิบัติ ตลอดจนความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการและให้ หลักประกันการบริหารและอํานวยความยุติธรรมอย่างยุติธรรม มีประสิทธิผล รับผิดชอบ โปร่งใส และ เหมาะสม โดย - กําหนดแนวทาง ขั้นตอน และข้อปฏิบัติที่ชัดเจน ในการดําเนินการเพื่อบังคับใช้กฎหมาย (Due Process) ในลักษณะต่าง ๆ ต่อประชาชน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายรับทราบเพื่อเป็นแนวทาง ในการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างชัดเจน - สื่อสารให้ประชาชนรับรู้ถึงแนวปฏิบัติดังกล่าวเพื่อเป็นหลักประกันในการได้รับการปฏิบัติ อย่างเท่าเทียมกันจากผู้บังคับใช้กฎหมาย เพื่อเกิดรับรู้และเข้าใจในแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมาย (Due Process) - สร้างกระบวนการประเมินปัญหา ความต้องการ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเกี่ยวกับ การดําเนินงานของหน่วยงานในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม (2) รักษาสมดุลระหว่างการบังคับใช้กฎหมายและประโยชน์สาธารณะหรือความต้องการ ของประชาชน โดยพิจารณาถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก มากกว่าการมุ่งใช้อํานาจรัฐในการกํากับ ควบคุมสังคม เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชนและสังคมอย่างแท้จริง โดย - การศึกษาและสํารวจข้อมูลปัญหาและความต้องการของประชาชนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ การดําเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ในการพิจารณาและดําเนินการบังคับใช้กฎหมายได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่สร้างความเสียหายหรือเป็นภาระให้แก่ประชาชนและสังคมเกินกว่าประโยชน์ที่พึงได้รับ - พัฒนาเครื่องมือประเมินผลการบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement Instrument: LEI) เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติกฤษฎีกาการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย พ.ศ. 2558 - ศึกษาความเหมาะสมเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนโทษทางอาญาที่มีการจําคุกและปรับที่สามารถ เปรียบเทียบเพื่อให้คดียุติได้ให้เป็นโทษปรับทางปกครอง
5 5 (3) สนับสนุนให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายนําเทคโนโลยีมาใช้ในการดําเนินการใน การบังคับใช้กฎหมาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นธรรม และป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่ โดย - สนับสนุนให้มีการศึกษา พิจารณา และกําหนดกระบวนการดําเนินงานที่จะนําเทคโนโลยีมา ใช้ในการดําเนินการในการบังคับใช้กฎหมาย - สร้างและพัฒนากลไกการนําเทคโนโลยีมาใช้ในการดําเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน การบังคับใช้กฎหมายของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่ควบคุม กํากับดูแล และบังคับการให้ เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนติดต่อและเข้ารับบริการหรือขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ ผู้บังคับใช้กฎหมายได้โดยสะดวก เพื่อลดค่าใช้จ่ายและขจัดช่องทางการทุจริตประพฤติมิชอบ กิจกรรมสําคัญ : - การกําหนดมาตรฐานระยะเวลาดําเนินการในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยไม่ล่าช้า และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้อย่างชัดเจนในช่องทาง ที่หลากหลาย - การศึกษาวิจัยเพื่อพิจารณาและกําหนดกระบวนการดําเนินงานที่จะนําเทคโนโลยีมาใช้ใน การดําเนินการในการบังคับใช้กฎหมาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาลปกครอง สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานอัยการ สูงสุด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สํานักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) สถาบันอนุญาโตตุลาการ เนติบัณฑิตยสภา สภาทนายความ และกระทรวงแรงงาน
56 เป้าหมายที่ 3 การสร้างวัฒนธรรมเคารพกฎหมาย เพื่อมุ่งสร้างสังคมที่มีความตระหนักในคุณค่าของของการปฏิบัติตามกฎหมายและกติกาของ การอยู่ร่วมกันในสังคม รวมทั้งมีความตระหนักถึงโทษหรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้อื่นหรือสังคม และนําไปสู่ การสร้างสังคมที่มีวัฒนธรรมการเคารพกฎหมาย ด้วยการรับทราบและพร้อมปฏิบัติตามกฎหมายหรือกติกา ของสังคม รวมทั้งไม่แสวงหาวิธีการในการฝ่าฝืนกฎหมายหรือหลบหนีจากบทลงโทษตามกฎหมาย ตลอดจนการไม่ เพิกเฉยต่อการละเมิดต่อกฎหมายและกติกาของสังคมของบุคคลอื่นในสังคม โดยใช้ระบบมาตรการทางสังคม ควบคุม ตําหนิ และลงโทษผู้ที่กระทําผิดหรือละเมิดกฎหมายและกติกาของสังคมอย่างจริงจัง ตัวชี้วัดเป้าหมาย 1. สัดส่วนคดีความในกระบวนการยุติธรรม 2. ระดับการเคารพกฎหมายของประชาชน แนวทางการดําเนินงาน (1) สร้างความรู้และการตระหนักถึงความสําคัญของสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย และกระบวนการ ยุติธรรมให้แก่ประชาชนทุกระดับอย่างเหมาะสมและทั่วถึง เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ได้ โดยสะดวกและสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่ายเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งเสริมสร้างองค์ ความรู้ด้านสิทธิ เสรีภาพ กระบวนการยุติธรรม เพื่อสามารถป้องกันตนเองมิให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมได้ ตลอดจนมีความตระหนักถึงโทษหรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้อื่นหรือสังคม - จัดทําคําอธิบายกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่ หรือคู่มือกฎหมายสําหรับประชาชน โดยคํานึง การใช้ข้อความ การใช้ภาษา หรือสัญลักษณ์ ที่มีความเหมาะสมกับประชาชนกลุ่มต่าง ๆ - จัดทําระบบฐานข้อมูลกฎหมายกลางของประเทศซึ่งทุกหน่วยงานสามารถเชื่อมต่อผ่าน ระบบกลางดังกล่าวได้โดยสะดวก - การเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายให้แก่ประชาชน โดยเผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งที่เป็น เอกสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ Application ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย รวมถึงจัดให้มี การอบรมวิธีการเข้าถึงระบบฐานข้อมูลทางกฎหมายของรัฐให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง (2) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทําและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และ การดําเนินงานในกระบวนการยุติธรรม เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนให้ประชาชนเกิดการยอมรับกฎหมาย โดย - จัดให้มีกลไกสําหรับประชาชนในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องเกี่ยวกับการบังคับใช้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดําเนินงานของแต่ละหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม เพื่อเป็นข้อมูลสําคัญในการ ผลักดันให้มีกฎหมายที่ทันสมัยต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ภายใต้บรรยากาศที่เสรีปราศจากการคุกคามหรือ แทรกแซงจากอํานาจหรือกลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งคดีแพ่งที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินชีวิตประจําวันของ ประชาชน หรือคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงในชีวิตของประชาชน - จัดให้มีกลไกเพื่อให้ประชาชนได้ใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์ในเรื่อง เกี่ยวกับการจัดทําและการเสนอกฎหมายผ่านช่องทางต่าง ๆ ของหน่วยงาน - จัดให้มีกลไกช่วยเหลือประชาชนในการจัดทําและเสนอร่างกฎหมายที่สะดวก และ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบในวงกว้าง และมีความหลากหลายเพื่อให้ตอบสนองต่อประชาชนกลุ่ม ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม
57 (3) ส่งเสริมให้มีการเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมายโดยง่าย สะดวก และเอื้อต่อการใช้ บริการประชาชนของประชาชนทุกกลุ่ม โดย - จัดทําหรือพัฒนาฐานข้อมูลด้านกฎหมายในลักษณะต่าง ๆ การจัดทําคําอธิบายกฎหมาย สําหรับกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่ และการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายให้แก่ประชาชนโดยใช้สื่อ ประชาสัมพันธ์ทุกช่องทาง เพื่อส่งเสริมให้สาธารณชนเข้าใจคุณค่า มีทักษะ และความรู้ที่จําเป็นต่อการสร้าง วัฒนธรรมการยึดถือกฎหมาย การตระหนักในความหลากหลายทางวัฒนธรรมบนพื้นฐานของการเคารพต่อ กฎหมายขึ้นในหมู่สาธารณชนทั่วไป รวมถึงการช่วยเหลือประชาชนที่เข้าไม่ถึงโอกาสในการสู้คดีอย่างแท้จริง เพื่อลดภาระและค่าใช้จ่ายของประชาชนอย่างแท้จริง - จัดทําหรือพัฒนาช่องทางการให้ความช่วยเหลือและการให้คําปรึกษาทางกฎหมาย และ กระบวนยุติธรรมให้มีความหลากหลายและเหมาะสมแก่ประชาชนทุกกลุ่ม ตลอดจนพัฒนาระบบการแจ้งสิทธิ ตามกฎหมายสําหรับผู้เสียหาย พยาน ผู้ต้องหาและจําเลยในทุกขั้นตอน รวมทั้งการรายงานความคืบหน้าทาง คดีที่มีประสิทธิภาพ ให้แก่ผู้เสียหาย พยาน ผู้ต้องหาและจําเลย - พัฒนากลไกและบุคลากรในการให้ความช่วยเหลือและการให้คําปรึกษาทางกฎหมาย เช่น การสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในสาขานิติศาสตร์ หรือทนายอาสาของภาคเอกชน (Pro Bono) หรือการพัฒนาระบบการประเมินผล ค่าตอบแทนและสิ่งจูงใจพิเศษสําหรับทนายความและที่ปรึกษากฎหมายที่ ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน เพื่อสามารถให้ความช่วยเหลือและการให้คําปรึกษาทางกฎหมายได้อย่าง เพียงพอตามความจําเป็นและความต้องการของประชาชนแต่ละกลุ่ม (4) ส่งเสริมค่านิยมในการยอมรับ เคารพ และพร้อมปฏิบัติตามกฎหมายให้แก่ประชาชน ชุมชน และสังคม โดย - จัดให้มีกิจกรรมรณรงค์ สื่อประชาสัมพันธ์ที่สามารถสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และกระตุ้น จิตสํานึกของคนในสังคม ต่อการมีค่านิยมการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย โดยตระหนักถึงความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมและบริบททางสังคมในแต่ละพื้นที่ รวมถึงการค้นหาและยกย่องบุคคลตัวอย่างด้านการเคารพและ ปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีของคนในสังคม - ผลักดันให้เกิดการใช้ระบบมาตรการทางสังคม เพื่อกํากับควบคุม ตําหนิ และลงโทษผู้ที่ กระทําผิดหรือละเมิดกฎหมายและกติกาของสังคมอย่างจริงจัง รวมทั้งมีช่องทางในการแจ้งข้อมูลเบาะแส และ การคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลที่เป็นรูปธรรม กิจกรรมสําคัญ - การสร้างและพัฒนากลไกช่วยเหลือประชาชนในการจัดทําและเสนอร่างกฎหมาย - การจัดทําประมวลกฎหมายเพื่อรวบรวมกฎหมายเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกัน เพื่อความสะดวก ในการใช้งาน และการเข้าถึงของประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาลปกครอง สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานอัยการ สูงสุด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สํานักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) สถาบันอนุญาโตตุลาการ เนติบัณฑิตยสภา สภาทนายความ กระทรวงแรงงาน และกรมประชาสัมพันธ์
58 มิติที่ 2 การพัฒนากระบวนการยุติธรรมตามมาตรฐานสากล การพัฒนากระบวนการยุติธรรมตามมาตรฐานสากล เป็นการพัฒนากลไก ระบบและกระบวนการ ดําเนินงานให้สอดคล้องกับหลักการและมาตรฐานสากลที่ยอมรับกันทั่วไป เพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ปกป้องคุ้มครองความปลอดภัย และสร้างความเป็นธรรมตามสิทธิพื้นฐานแก่ประชาชนทุกคนในสังคมอย่างเท่า เทียมกัน โดยไม่ทิ้งร่องรอยของความเสียหายและบาดแผลในจิตใจแก่บุคคลและสังคมเกินไปกว่าประโยชน์ที่ ได้รับ ทั้งผู้กระทําผิดและผู้เสียหาย ตลอดจนประชาชนทั่วไป เพื่อให้เกิดการอํานวยความยุติธรรมที่เป็น ประโยชน์ที่แท้จริงแก่ประชาชนและสังคม เป้าหมายที่ 1 การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม (Inclusive justice) เพื่อมุ่งพัฒนาแนวทาง วิธีการ และกระบวนการดําเนินงานในกระบวนการยุติธรรมให้มีความ พร้อมและเอื้อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ บนพื้นฐานของการตระหนักถึง ความสําคัญต่อการเคารพสิทธิมนุษยชนของบุคคลทุกคน เพื่อนําไปสู่การปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียม ปราศจากการเลือกปฏิบัติ ตลอดจนพัฒนากลไกการดําเนินงานในกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัย และสอดคล้องกับสภาพปัญหาและบริบทของสังคมอย่างแท้จริง เพื่อเป็นหลักประกันว่าประชาชนจะ สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม รวมทั้งการชดเชยค่าเสียหายแก่ผู้ที่ไม่ ได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรมอย่างเหมาะสม ตัวชี้วัดเป้าหมาย 1. ระดับการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนอย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม แนวทางการดําเนินงาน (1) ผลักดันให้มีกลไกหรือช่องทางในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่หลากหลายเพื่อเป็น หลักประกันความสามารถในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่า เทียม โดย - สร้างหรือพัฒนารูปแบบ หรือช่องทางในการเข้าถึงการขอความช่วยเหลือหรือรับบริการ จากหน่วยงานให้มีความหลากหลายและสะดวกเพื่อเอื้อต่อประชาชนแต่ละกลุ่มที่มีความสามารถในการเข้าถึง บริการที่ต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเปราะบาง หรือกลุ่มผู้ด้อยโอกาส หรือกลุ่มที่มีข้อจํากัดในลักษณะต่าง ๆ อาทิ กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มชาติพันธุ์ - ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบ ขั้นตอน หรือช่องทางในการเข้าถึงการขอความช่วยเหลือหรือ รับบริการจากหน่วยงาน ให้เป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว ไม่มีค่าใช้จ่ายหรือมีค่าใช้จ่ายที่ไม่มากนัก และไม่เลือก ปฏิบัติ อันจะเป็นการคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทความจําเป็นแก่ประชาชน - พัฒนามาตรการเพื่อคุ้มครองและปฏิบัติต่อผู้เสียหายและพยานให้เหมาะสม ครอบคลุม และรวดเร็ว โดยสร้างกลไกในการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลือดูแลผู้เสียหายและ พยานอย่างเป็นระบบเพิ่มเติมจากการให้เงินช่วยเหลือ เพื่อให้มีความหลากหลายครอบคลุมต่อความต้องการ และผลกระทบหรือความเสียหายในด้านต่าง ๆ ของเหยื่อ อันจะส่งผลให้เกิดการช่วยเหลือเยียวยาที่เป็น ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง รวมทั้งมีกลไกกํากับติดตามการดําเนินงานที่เป็นรูปธรรม ตลอดจนปรับปรุง กระบวนการรักษาเยียวยาทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงการดํารงชีวิตของผู้เสียหายเพื่อไม่ให้ตกเป็นผู้ถูกกระ ทําซ้ํา
59 (2) ส่งเสริมการนํามิติการพัฒนาหรือกลไกทางสังคมมาใช้ในการป้องกันอาชญากรรมตาม ความจําเป็นและเหมาะสมกับคนทุกกลุ่ม โดย - สร้างและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและภาคส่วนทางสังคมในการดําเนินงาน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม หรือการกระทําผิดกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดําเนินงานต่อเด็ก และเยาวชน ซึ่งนับเป็นกลุ่มเปราะบางที่อาจเกิดความเสี่ยงในการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมหรือเป็น ผู้ก่ออาชญากรรม เช่น เด็กและเยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และกลุ่มชาติพันธุ์ โดยการใช้แนวทาง การพัฒนาทางสังคมในมิติต่าง ๆ ผ่านการดําเนินงาน หรือการจัดโครงการ หรือการจัดกิจกรรมการพัฒนา เช่น กีฬา เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่คนในสังคม และเกิดการยึดโยงคนในสังคมเห็นคุณค่าในตนเองและการเป็น ส่วนหนึ่งในการปกป้องสังคม โดยการปรับปรุงและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของตนเอง เพื่อไม่ก่อให้เกิด ปัญหาหรือความเสียหายต่อบุคคลอื่นหรือสังคม (3) พัฒนาแนวทางการดําเนินงานเพื่อรับมือกับอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและ อาชญากรรมรูปแบบใหม่ โดยเน้นการจัดการกับสาเหตุที่เป็นรากเหง้า (Root Cause) ของการก่อ อาชญากรรม โดย - ส่งเสริมให้มีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นระบบ โดยคํานึงถึงความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน เพื่อมุ่งสร้างฐานข้อมูลเชิงสถิติ และนํามาใช้ประโยชน์ในการกําหนดแนวทางการป้องกันและ แก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาที่แท้จริง - นําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เครื่องมือในการพัฒนาแนวทางในการค้นหาและวิเคราะห์ สาเหตุที่เป็นรากเหง้า (Root Cause) ของการก่ออาชญากรรม เพื่อเป็นข้อมูลในการกําหนดแนวทางการ จัดการปัญหาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาที่แท้จริง - ส่งเสริมให้มีการนํารูปแบบ หรือวิธีการในการป้องกันอาชญากรรมที่มีความหลากหลายตาม บริบทเฉพาะของท้องถิ่น หรือบริบทของสังคมในแต่ละช่วงเวลา มาปรับใช้อย่างเหมาะสมตามบทบาทภารกิจ ของแต่ละหน่วยงาน ให้เพื่อให้เกิดแนวทางการดําเนินงานที่สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีคณภาพ มากขึ้น - สนับสนุนให้เกิดการศึกษาวิจัยเพื่อเรียนรู้และทําความเข้าใจต่ออาชญากรรมรูปแบบใหม่ เพื่อนําผลการศึกษาและข้อค้นพบมาสู่การกําหนดนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมรูปแบบ ใหม่ในลักษณะต่าง ๆ ที่ชัดเจน และสอดคล้องกับลักษณะปัญหาที่แท้จริง กิจกรรมสําคัญ - การสร้างหรือพัฒนารูปแบบ หรือช่องทางในการเข้าถึงการขอความช่วยเหลือหรือรับบริการ จากหน่วยงานให้มีความหลากหลายและสะดวกเพื่อเอื้อต่อประชาชนกลุ่มเปราะบาง - การสร้างและพัฒนากลไกการปกป้องสิทธิของเหยื่อและคุ้มครองพยานและผู้ให้ข้อมูลสําหรับ การดําเนินงานในกระบวนการยุติธรรม - การกําหนดยุทธศาสตร์เฉพาะในการป้องกันอาชญากรรม โดยพิจารณาบริบทเฉพาะของบาง พื้นที่ที่มีความจําเป็นและมีความพร้อม - การพัฒนาระบบข้อมูลและเทคโนโลยีของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเพื่อใช้ประโยชน์ ในการดําเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขอาชญากรรมอย่างเป็นรูปธรรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สํานักงานอัยการสูงสุด สํานักงานศาลปกครอง สํานักงานตํารวจแห่งชาติ หน่วยงานในสังกัด กระทรวงยุติธรรม สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) สภาทนายความ และกระทรวงแรงงาน
60 เป้าหมายที่ 2 การใช้มาตรการที่หลากหลายในการยุติข้อพิพาท เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการยุติความขัดแย้งหรือข้อพิพาทที่ทําให้ความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้กระทําความผิดและผู้เสียหายกลับคืนสู่ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ควบคู่ไปกับการรักษาผลประโยชน์หรือปกป้อง ความเสียหาย ตลอดจนการรักษาผลประโยชน์ของสังคมโดยรวม โดยใช้วิธีการสร้างกระบวนการที่มีส่วนร่วม หลายฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายผู้กระทําความผิด ฝ่ายผู้เสียหาย สังคมชุมชน และเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้กระบวนการดังกล่าวดําเนินการโดยวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแทนการลงโทษจําคุก หรือลงโทษอื่นตามที่กฎหมายกําหนด ตัวชี้วัดเป้าหมาย 1. ระดับการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางเลือกของบุคลากรใน กระบวนการยุติธรรมและประชาชนทั่วไป 2. ร้อยละความสําเร็จของข้อพิพาทและคดีความที่ใช้มาตรการทางเลือกในการยุติข้อพิพาท แนวทางการดําเนินงาน (1) ผลักดันให้มีการกําหนดรูปแบบการลงโทษที่เหมาะสมกับความผิดและบริบทต่าง ๆ โดย - ส่งเสริมให้มีการแสวงหาทางเลือกในการปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดในรูปแบบอื่น เพื่อทดแทน การบังคับโทษตามแบบเดิม เนื่องจากบางคดีหรือการกระทําผิด ไม่จําเป็นต้องดําเนินคดีตามบทลงโทษ ทางกฎหมาย แต่สามารถใช้แนวทางการลดทอนความเป็นอาญา ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนในการดําเนินการ ที่ไม่จําเป็นหรือเป็นภาระที่เกินกว่าความสามารถในการแบกรับของประชาชนจากกระบวนการยุติธรรมกระแส หลักแบบเดิม - ผลักดันให้มีการนํามาตรการลงโทษระดับกลางมาปรับใช้สําหรับบางความผิด เพื่อให้มี ทางเลือกในการลงโทษหลายรูปแบบ และมีแนวทางในการตัดสินใจเลือกใช้รูปแบบการลงโทษที่เหมาะสมกับ ความผิดและบริบทต่าง ๆ (2) สนับสนุนให้มีการนํามาตรการเชิงสมานฉันท์หรือมาตรการทางสังคมแทนการลงโทษทาง อาญามาใช้ในการดําเนินงานจริงของแต่ละหน่วยงาน โดย - สร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจนเกี่ยวกับหลักการ แนวทาง และวิธีการ ยุติความขัดแย้งแบบสมานฉันท์ในรูปแบบต่าง ๆ แก่บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติที่เชิงบวกในการนําวิธีการยุติความขัดแย้งแบบสมานฉันท์มาใช้ในการยุติความขัดแย้งตาม บทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน เพื่อให้ข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมกระแสหลักลดลง และทําให้ กระบวนการทํางานของยุติธรรมกระแสหลักมีประสิทธิภาพได้มากขึ้น - สร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจนเกี่ยวกับหลักการ แนวทาง และวิธีการ ยุติความขัดแย้งแบบสมานฉันท์ในรูปแบบต่าง ๆ แก่ประชาชนทั่วไป รวมทั้งการสื่อสารให้ประชาชน เห็นประโยชน์ที่จะเกิดจากการนําแนวทางการยุติความขัดแย้งแบบสมานฉันท์มาใช้เพื่อลดต้นทุน ในการดําเนินการที่ไม่จําเป็นหรือเป็นภาระที่เกินกว่าความสามารถในการแบกรับของประชาชนจาก กระบวนการยุติธรรมกระแสหลักแบบเดิม
61 - สนับสนุนให้มีการพิจารณาทบทวนโครงสร้างและกลไกที่เอื้อให้มีการนํามาตรการเชิง สมานฉันท์มาใช้ในการดําเนินงานจริงของแต่ละหน่วยงาน - สร้างและพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและภาคส่วนทางสังคม เพื่อร่วมกันกําหนด แนวทางการแก้ไขความขัดแย้งเชิงบวกมาใช้ในข้อพิพาทที่ไม่ร้ายแรง ผ่านแนวทางการพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ มาใช้เพื่อลดทอนหรือแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคู่กรณี และไม่นําไปสู่ความเสียหายจากความขัดแย้ง ที่เกินกว่าความจําเป็น (3) พัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาทในชุมชนให้มีความชัดเจน และสามารถ ดําเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งกระบวนการไกล่เกลี่ยทางอาญา ทางแพ่งและพาณิชย์และทางปกครอง โดย - ส่งเสริมให้มีการสร้างและบังคับใช้กฎชุมชนหรือการควบคุมดูแลในชุมชน โดยการยอมรับ และมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดการระงับข้อพิพาทในชุมชนได้ด้วยกลไกชุมชน ซึ่งจําเป็นต้องมี การพัฒนากลไกที่เป็นข้อต่อในชุมชนที่สามารถสื่อสารและให้คําปรึกษาแก่ประชาชนในการสร้างกลไก การควบคุมภายในชุมชน และกระบวนการไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาทในชุมชนมาดําเนินการได้จริงในชุมชน - สนับสนุนองค์ความรู้และข้อมูลที่จําเป็น และพัฒนาศักยภาพของกลไกการไกล่เกลี่ยและ ระงับข้อพิพาทให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ประชาชน เพื่อสนับสนุนให้มีการนําข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม กระแสหลักลดลง และทําให้กระบวนการทํางานของยุติธรรมกระแสหลักมีประสิทธิภาพได้มากขึ้น กิจกรรมสําคัญ - การปรับปรุงและพัฒนากลไกสนับสนุนเพื่อเอื้อต่อการนํากระบวนการไกล่เกลี่ยระงับข้อ พิพาทมาใช้ทั้งทางอาญา ทางแพ่งและพาณิชย์ และทางปกครอง ได้อย่างแท้จริงในทางปฏิบัติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานอัยการสูงสุด สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาล ปกครอง หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ศูนย์ดํารงธรรม กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ศูนย์สันติวิธี กระทรวงสาธารณสุข สํานักงานคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภค (สคบ.) และสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และ กระทรวงแรงงาน
62 เป้าหมายที่ 3 การปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดบนหลักสิทธิมนุษยชน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดตามมาตรฐานสากลที่คํานึงถึงสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ของผู้กระทําผิดและประโยชน์ที่พึงได้รับจากการมาตรการลงโทษ เพื่อนําไปสู่การจําแนกหรือแบ่งประเภทคดี เพื่อกําหนดแนวทางการบังคับโทษที่เหมาะสม รวมทั้งการระมัดระวังมิให้มาตรการของรัฐสร้างความเสียหาย ต่อผู้กระทําผิดเกินกว่าความจําเป็นและเหตุอันสมควรจากการกระทําผิด ตลอดจนการให้ความสําคัญต่อ การสร้างโอกาสให้ผู้กระทําผิดสามารถดําเนินชีวิตในสังคมปกติ เพื่อลดเงื่อนไขที่จะผลักดันให้เกิดการกระทําผิดซ้ํา ตัวชี้วัดเป้าหมาย 1. ระดับความสําเร็จของหน่วยงานในการปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดที่สอดคล้องตามกรอบมาตรฐานสากล 2. ร้อยละผู้ถูกจับกุม/ คุมขัง ที่ได้รับการชดเชยเยียวยาภายหลังได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ กระทําความผิด 3. ร้อยละการกระทําผิดซ้ํา แนวทางการดําเนินงาน (1) ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดบนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชน โดย การดําเนินงานที่เป็นไปตามระบบการทํางานของกระบวนการยุติธรรมตามมาตรฐานสากล โดย - พัฒนามาตรการและกลไกเพื่อคุ้มครองผู้ต้องหาและจําเลยเพื่อให้เข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีมาตรการปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดที่เหมาะสมบนพื้นฐานของสิทธิตาม กฎหมายและเป็นไปตามมาตรฐานสากลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การสืบสวนสอบสวน การพิจารณาคดี การปล่อย ชั่วคราว และการควบคุมตัวตามอํานาจของแต่ละหน่วยงาน โดยกําหนดวิธีการแจ้งข้อหาและการอธิบายฟ้องที่ เหมาะสมให้แก่ผู้ต้องหาและจําเลย เพื่อให้มีความเข้าใจในการต่อสู้คดีและสามารถเข้าถึงพยานหลักฐานได้ อย่างเหมาะสม และเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบข้อมูลและขั้นตอนการดําเนินงานเพื่อแสดงให้เห็นถึงความ โปร่งใสในการดําเนินงานอย่างแท้จริง - ปรับปรุงสถานที่ควบคุมตัวผู้ต้องหา จําเลย และผู้ต้องขังให้เหมาะสม ปลอดภัยและสมศักดิ์ ศรีของความเป็นมนุษย์ และเป็นไปตามกรอบมาตรฐานสากลที่กําหนด ได้แก่ พันธะสัญญาตามข้อตกลง อนุสัญญา ความร่วมมือระหว่างประเทศ และมาตรฐานขั้นต่ําของสหประชาชาติ เช่น Bangkok Rules และ Tokyo Rules เป็นต้น ควบคู่กับการดําเนินงานด้านการควบคุมตัวเพื่อป้องกันการหลบหนีโดยคํานึงถึงความ ปลอดภัยของสังคมอย่างเหมาะสม (2) ผลักดันให้มีการกําหนดแนวทางการลงโทษต่อผู้กระทําผิดที่เหมาะสม โดย - ผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบการจําแนก การควบคุมตัว และการบําบัดฟื้นฟูผู้กระทํา ความผิดในแต่ละประเภทให้เหมาะสม สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และความจําเป็น เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อผู้กระทําผิดและสังคมโดยรวมอย่างชัดเจนตามข้อมูลหรือหลักการทางวิชาการที่มีรองรับ - พัฒนามาตรการแทนการควบคุมตัวผู้กระทําความผิดอาญา (Non-Custodial Measures) เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของผู้กระทําผิด มากกว่าการยึดเพียงการบังคับโทษตามอัตราโทษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่นํามาใช้ในการพิจารณาการลงโทษของเด็กและเยาวชนควรคํานึงถึงประโยชน์หรือ การแก้ไขฟื้นฟู
63 - สนับสนุนให้มีการพิจารณาข้อมูลที่สะท้อนถึงเหตุแห่งการกระทําผิดและเงื่อนไขบริบทหรือ สาเหตุที่ทําให้กระทําผิดมาใช้ควบคู่กับการในการพิจารณาลักษณะของการกระทําผิด เพื่อนําไปสู่การกําหนด บทลงโทษที่เหมาะสม (3) ส่งเสริมแนวทางการแก้ไขพัฒนาผู้กระทําผิดที่มุ่งเน้นการสร้างโอกาสให้ผู้กระทําผิด สามารถดําเนินชีวิตในสังคมปกติได้จริงหลังการปล่อยตัว โดย - พัฒนาและส่งเสริมให้มีรูปแบบการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทําผิดที่หลากหลาย และสอดคล้องกับ ความจําเป็นของผู้กระทําผิด ตลอดจนการติดตามประเมินผลการแก้ไขฟื้นฟูในแต่ละรูปแบบอย่างเป็นรูปธรรม - ส่งเสริมให้มีการนําระบบการบําบัดแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนเฉพาะรายแบบไร้รอยต่อ (Uninterrupted Tailor-Made Routing) มาใช้จริงมากขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนากระบวนการบําบัดฟื้นฟู ทั้งระบบ เริ่มตั้งแต่การจัดทําแผนการบําบัดฟื้นฟูตามสภาพปัญหาและความจําเป็น การบําบัดฟื้นฟูเมื่อเข้าสู่ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน และการติดตามดูแลหลังปล่อย โดยมีระบบและผู้ปฏิบัติงาน (Individual Routing Counselor: IRC) ให้การติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง - ส่งเสริมให้มีการนํามิติการพัฒนาหรือกลไกทางสังคมมาใช้ในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทําผิดให้ กลับสู่การเป็นส่วนหนึ่งของสังคม รวมทั้งพัฒนามาตรการการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวให้มี ประสิทธิภาพ และพัฒนาระบบเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยและจัดทําระบบติดตาม สําหรับผู้พ้นโทษ และเด็ก เยาวชน ที่กําลังจะครบระยะเวลาการฝึกอบรม โดยให้ทุกหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญามุ่งเน้น เป้าหมายในเรื่องการลดการกระทําความผิดซ้ําเป็นเป้าหมายหลักของการดําเนินงาน (4) สนับสนุนให้ภาคส่วนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในฐานะกลไกในการดูแลช่วยเหลือ ผู้กระทําผิดที่กลับสู่สังคม โดย - สร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ทางสังคม ทั้งผู้ประกอบการภาคเอกชน องค์กรภาค ประชาสังคม และกลุ่มต่าง ๆในสังคม เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการดูแลช่วยเหลือผู้กระทําผิดที่ กลับสู่สังคมในรูปแบบต่าง ๆ ตามภารกิจและความพร้อมของแต่ละองค์กรหรือกลุ่มทางสังคม อาทิ การให้บริการด้านการศึกษา การให้บริการด้านสาธารณสุข การสร้างโอกาสในการพัฒนาหรือประกอบอาชีพ เป็นต้น - สนับสนุนและจูงใจให้ภาคส่วนต่าง ๆ ทางสังคม เห็นความสําคัญและประโยชน์ที่จะได้รับ จากการ ทั้งต่อองค์กรและต่อสังคมโดยรวม - พัฒนาและแก้ไขกฎหมาย หรือกฎระเบียบ เพื่อลดอุปสรรคในการกลับคืนสู่สังคมของผู้พ้น จากการคุมประพฤติและผู้พ้นโทษที่มีพฤติกรรมที่ได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยงต่อการกระทําผิดซ้ําน้อย เช่น กฎหมายเกี่ยวกับประวัติอาชญากรรม กฎหมายที่จํากัดสิทธิในการประกอบอาชีพ เป็นต้น (5) พัฒนาแนวทางการชดเชยเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากกระบวนการยุติธรรม โดย - มุ่งเน้นการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนผู้ที่ได้รับความเสียหายจากกระบวนการ ยุติธรรมรับทราบสิทธิในการได้รับการชดเชยค่าเสียหาย และรายละเอียดในการขอรับการชดเชยค่าเสียหาย ที่ชัดเจน
6 4 - พัฒนารูปแบบและกลไกการชดเชยค่าเสียหายแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากกระบวนการ ยุติธรรมให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วและง่าย เพื่อเป็นหลักประกับความรับผิดชอบจากความผิดพลาดหรือ ความล่าช้าของรัฐ อันจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้มากขึ้น - พัฒนาแนวทางการชดเชยเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากกระบวนการยุติธรรม เพิ่มเติมจากการให้เงินช่วยเหลือ เพื่อให้มีความหลากหลายครอบคลุมต่อความต้องการและผลกระทบหรือ ความเสียหายในด้านต่าง ๆ ของเหยื่อ อันจะส่งผลให้เกิดการช่วยเหลือเยียวยาที่เป็นประโยชน์ได้อย่างแท้จริง กิจกรรมสําคัญ - การปรับปรุงและพัฒนาปฏิรูประบบการปล่อยชั่วคราว เพื่อเอื้อให้เกิดการนํามาได้จริงในทาง ปฏิบัติอย่างเหมาะสมตามสิทธิของผู้กระทําผิด - การปรับปรุงและพัฒนาแนวปฏิบัติในการบันทึกภาพและเสียงในการตรวจค้น จับกุม สอบสวน และการสอบปากคําในการสอบสวนที่อาศัยหลักฐานและและความถูกต้องเหมาะสมทางกฎหมาย เพื่อสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่มีอํานาจตามกฎหมาย - การพัฒนารูปแบบและขั้นตอนการชดเชยค่าเสียหายแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจาก กระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วและง่าย เพื่อให้ผู้เสียหายได้รับการชดเชยได้อย่างเหมาะสม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาลปกครอง สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานอัยการ สูงสุด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สํานักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) สถาบันอนุญาโตตุลาการ เนติบัณฑิตยสภา และสภาทนายความ
6 5 มิติที่ 3 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารงานยุติธรรม การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารงานยุติธรรม เป็นการมุ่งยกระดับการประสานความ ร่วมมือในการบริหารงานยุติธรรมเพื่อให้มีเป้าหมายและทิศทางในการบริหารงานในแต่ละขั้นตอนของ กระบวนการยุติธรรมที่มีความสอดคล้องกัน เพื่อมุ่งอํานวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนและสังคมได้ อย่างแท้จริง บนพื้นฐานของบทบาท อํานาจหน้าที่ และศักยภาพในการดําเนินงานของแต่ละหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม รวมทั้งการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมาย และภาคส่วน ต่าง ๆ ของสังคมในทุกขั้นตอน รวมทั้งเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยมุ่งผลักดันให้เกิดการ บริหารงานยุติธรรมตามหลักธรรมาภิบาล และการเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานและภาคส่วนต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ เป้าหมายที่ 1 การยกระดับกลไกการทํางานเชิงเครือข่าย เพื่อมุ่งปรับและพัฒนารูปแบบ แนวทาง และกลไกการดําเนินงานเพื่ออํานวยความยุติธรรม ให้แก่ ประชาชน ให้เป็นไปในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือในการทํางานร่วมกัน โดยมีเป้าหมายการทํางานร่วมกัน และกําหนดแนวทางการประสานความร่วมมือในการทํางานระหว่างหน่วยงานในรูปแบบการประสาน ความร่วมมือ (Collaborative) บนสถานะที่เท่าเทียมกันของแต่ละหน่วยงาน ตลอดจนการสร้างเครือข่ายความ ร่วมมือหน่วยงานภาครัฐที่มีอํานาจตามกฎหมายในการดูแลและบริการประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ และภาค ส่วนทางสังคมกลุ่มต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายความ ร่วมมือในการขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรมในแต่ละมิติอย่างเหมาะสม ตัวชี้วัดเป้าหมาย 1. ระดับความสําเร็จของการทํางานเชิงเครือข่ายระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม 2. ระดับความสําเร็จของการทํางานกับเครือข่ายทางสังคม 3. ร้อยละของจํานวนการเข้าร่วมในกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ แนวทางการดําเนินงาน (1) สร้างกลไกการทํางานในรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือ (Collaborative Network) ระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นรูปธรรม โดย - ส่งเสริมให้มีการประชุมเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น ทั้งการประชุม ระหว่างหน่วยงาน และการประชุมร่วมกันของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม เพื่อนําไปสู่การกําหนด เป้าหมายการทํางานร่วมกันของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งการกําหนดทิศทางการดําเนินงานที่ สอดคล้องกัน บนพื้นฐานของการรับรู้และเข้าใจบทบาทภารกิจ ตลอดจนข้อจํากัดในการดําเนินงานของแต่ละ หน่วยงาน และผลักดันให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาแผนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่สอดคล้องตาม เป้าหมายและทิศทางการดําเนินงานเดียวกัน เพื่ออํานวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง - สนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมมีบทบาทเชิงรุกร่วมกันในทุกขั้นตอนของ การแสวงหาความจริง โดยจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกําหนดแนวทางการดําเนินงานร่วมกันระหว่าง หน่วยงานที่รับผิดชอบภารกิจที่มีความเกี่ยวข้องกัน และผลักดันให้เกิดแผนการดําเนินงานร่วมกันอย่างเป็น รูปธรรม รวมทั้งจัดทําแผนการติดตามการดําเนินงาน
66 - ทบทวนและปรับปรุงระเบียบและขั้นตอนการดําเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเปิดโอกาส และผลักดันให้เกิดการประสานความร่วมมือในการทํางานระหว่างหน่วยงานในการปฏิบัติงานตามบทบาท หน้าที่ของแต่ละหน่วยงานในการอํานวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนอย่างสอดคล้องกันตลอดกระบวนการ ยุติธรรม ทั้งการประสานความร่วมมือในระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการดําเนินงานร่วมกัน อย่างเป็นรูปธรรม - ส่งเสริมการขับเคลื่อนการดําเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรม ระดับจังหวัด (กพยจ.) โดยผ่านกลไกคณะอนุกรรมการประสานและพัฒนาระบบงานยุติธรรม เพื่อให้การ ดําเนินงานของกระบวนการยุติธรรมในระดับพื้นที่ให้มีความเข้มแข็ง (2) พัฒนากลไกการทํางานของภาครัฐเชิงบูรณาการและเป็นเอกภาพ - สนับสนุนและผลักดันให้หน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาเป็นหน่วยบังคับใช้กฎหมายหรือ ปฏิบัติงานตามอํานาจที่กําหนดในกฎหมายที่หน่วยงานรับผิดชอบ โดยให้ความช่วยเหลือและพัฒนาองค์ความรู้ และทักษะในการดําเนินงานบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านสืบสวนและแสวงหาพยานหลักฐาน เช่นการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) หรือการจัดทําแนวปฏิบัติในการดําเนินงานสําหรับหน่วยงาน ที่รับผิดชอบในการบังคับใช้กฎหมายแต่ละภารกิจที่ชัดเจน - สร้างกลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งระดับส่วนกลาง และกลไกการดําเนินงานใน ระดับพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการดําเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรม จังหวัด (กพยจ.) เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทํางานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม (3) ส่งเสริมการทํางานเชิงเครือข่ายกับทุกภาคส่วนทางสังคม - ปรับปรุงระเบียบ และระบบการทํางานให้เอื้อต่อการเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่าง ๆ ทาง สังคมเข้ามาร่วมดําเนินงานในกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่การนําเสนอปัญหาหรือแนวทางการดําเนินงาน การ ร่วมดําเนินงาน และการตรวจสอบหรือประเมินผลการดําเนินงาน เพื่อลดทอนอุปสรรคของการทํางานของ ระบบราชการซึ่งอาจเป็นกลายเป็นอุปสรรคในการอํานวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน - สร้างโอกาสและกลไกให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนทางสังคมในทุกขั้นตอนของ กระบวนการยุติธรรมมากขึ้น และพัฒนาศักยภาพของภาคส่วนต่าง ๆ ควบคู่กับการปรับระเบียบและแนวทาง การทํางานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามาร่วมขับเคลื่อนงานใน กระบวนการยุติธรรมได้จริง ทั้งการเข้าร่วมปฏิบัติงานในบางขั้นตอนของหน่วยงาน หรือการเข้าร่วมดําเนิน โครงการของหน่วยงานภาครัฐ หรือการดําเนินงานในรูปแบบภาคเครือข่ายภาคประชาชนในภารกิจของ หน่วยงานภาครัฐ - พัฒนาศักยภาพของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้เข้ามาร่วมขับเคลื่อนงานในกระบวนการ ยุติธรรมได้จริง โดยการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทางสังคมในการป้องกันอาชญากรรม รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทางสังคมในการแก้ไขฟื้นฟูและช่วยเหลือผู้กระทําผิดให้ กลับสู่การเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ตลอดจนการสร้างการรับรู้และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมทั้งป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดจากการดําเนินงาน ที่ผิดพลาดของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (4) แสวงหาแนวทางและความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันและแก้ไขอาชญากรรม ทุกรูปแบบ ทั้งอาชญากรรมในประเทศ และอาชญากรรมระหว่างประเทศ เช่น ปัญหาการก่อการร้าย ปัญหา ผู้อพยพ และปัญหากลุ่มอาชญากรข้ามชาติ ตลอดจนอาชญากรรมรูปแบบใหม่ โดย
67 - พัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งความช่วยเหลือทางวิชาการและความช่วยเหลือ ทางเทคนิคในการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรม รวมทั้งการเข้าร่วมในการประชุมระหว่างประเทศ หรือการ เป็นสมาชิกองค์กรระหว่างประเทศ หรือการร่วมลงนามในข้อตกลงตามกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ ด้านกระบวนการยุติธรรม เพื่อนํามาเป็นกรอบในการดําเนินงานและการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมของ ประเทศตามมาตรฐานสากล - พิจารณาทบทวนการนําอนุสัญญาระหว่างประเทศในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารงานยุติธรรมไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การพิจารณาทบทวนการนําอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการต่อต้านองค์การอาชญากรรมข้ามชาติและพิธีสารต่อท้ายไปปฏิบัติ และการพิจารณาทบทวนการนํา อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการคอร์รัปชันไปปฏิบัติ เป็นต้น กิจกรรมสําคัญ - การขับเคลื่อนการดําเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมระดับจังหวัด (กพยจ.) โดยผ่านกลไกคณะอนุกรรมการประสานและพัฒนาระบบงานยุติธรรม - การพัฒนาศักยภาพให้ภาคส่วนทางสังคม ทั้งภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดําเนินงานร่วมกับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมได้อย่างแท้จริง - การขับเคลื่อนให้เกิดการดําเนินงานตามมาตรฐานและกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้าน การบริหารงานยุติธรรมในมิติต่าง ๆ ให้มีความยืดหยุ่นและสามารถใช้ปฏิบัติได้จริง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาลปกครอง สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานอัยการ สูงสุด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สํานักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) สถาบันอนุญาโตตุลาการ เนติบัณฑิตยสภา และสภาทนายความ สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งชาติ และกระทรวงแรงงาน
68 เป้าหมายที่ 2 การบริหารงานยุติธรรมตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล และดําเนินงานบนพื้นฐานของหลักนิติธรรม โดยมีวัฒนธรรมการทํางานให้มุ่งเน้นความสําเร็จในการอํานวย ความยุติธรรมโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-centric) และมีระบบการทํางานและบริการประชาชน ที่เป็นมาตรฐานสากล โดยมีบุคลากรที่มีความพร้อมและศักยภาพในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่และความ คาดหวังของประชาชน ด้วยความสุจริตและโปร่งใส ตลอดจนมีแนวทางเพื่อติดตามและประเมินผลความสําเร็จ ของการดําเนินงานในกระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจน และมีแนวทางการพัฒนากระบวนการยุติธรรมด้วยข้อมูล และองค์ความรู้ที่น่าเชื่อถือและเป็นระบบ ตัวชี้วัดเป้าหมาย 1. คะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรม (ITA) 2. ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการดําเนินงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม แนวทางการดําเนินงาน (1) ปฏิรูปหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมให้เป็นองค์การที่ยึดหลักธรรมาภิบาล และ ดําเนินงานบนพื้นฐานของหลักนิติธรรม โดย - พัฒนาระบบการบริหารงานยุติธรรมในทุกระดับให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี ภายใต้เป้าหมายและกรอบการดําเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อให้การดําเนินงานของ กระบวนการยุติธรรม หรือการทํางานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ ประชาชนได้อย่างแท้จริง (2) ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทํางานให้มุ่งเน้นความสําเร็จในการอํานวยความยุติธรรม โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-centric) - ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในหน่วยงานด้านกระบวนการยุติธรรม ให้ มีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พร้อมต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทภารกิจและความคาดหวังของประชาชน โดยส่งเสริมให้มีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมในขอบเขตงาน ที่รับผิดชอบ รวมทั้งการส่งเสริมและพัฒนาให้บุคลากรมีความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะในงานที่มีลักษณะงาน เฉพาะทาง ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรให้เท่าทันภาวการณ์เติบโตและเปลี่ยนแปลงของสังคม - พัฒนากลไกและระบบการประเมินความก้าวหน้าของบุคลากรให้เป็นไปอย่างโปร่งใส เพื่อจูงใจและปรับทัศนคติของบุคลากรในหน่วยงานด้านกระบวนการยุติธรรมให้ปฏิบัติงานยึดมั่นและเห็น ประโยชน์ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงาน โดยยึดปัญหาและความต้องการของประชาชน เป็นหลัก และพร้อมปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ และนําไปสู่การแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองต่อความ ต้องการของประชาชนได้จริง (3) พัฒนาระบบการทํางานและบริการประชาชนที่เป็นมาตรฐานสากล โดย - ปรับปรุงขั้นตอนและวิธีการดําเนินงานให้มีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ทันสมัย ยืดหยุ่น คล่องตัว และตรวจสอบได้ เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบการพัฒนาระบบราชการในลักษณะ “ภาครัฐทันสมัย เปิด กว้าง เป็นองค์กรขีดสมรรถนะสูง” รวมทั้งการปรับระบบงานและโครงสร้างองค์กรที่เอื้อต่อการลดการใช้ดุลพินิจ ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และปราศจากการแทรกแซงจากภาคส่วนอื่น ตลอดจนลดภาระแก่ประชาชน ในการเข้าถึงและรับบริการ
69 - ประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับช่องทางและขั้นตอนการทํางาน หรือการให้บริการของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจน พร้อมทั้งการให้คําแนะนําแก่ประชาชนใน การเข้ารับบริการ เพื่อเอื้อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือและบริการของหน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เลือกปฏิบัติ (4) การพัฒนากลไกการป้องกัน ตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาการทุจริตและการใช้อํานาจ ในทางมิชอบของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม โดย - กําหนดแนวทางการลงโทษหรือแสดงความรับผิดชอบในกรณีบุคลากรที่มีอํานาจ ในการบังคับใช้กฎหมายกระทําผิดที่ชัดเจน โดยหน่วยงานหรือบุคคลที่ถูกตรวจสอบแสดงความรับผิดชอบหรือ ความพร้อมยอมรับความผิดพลาดหรือความผิดจากการกระทําของตนอย่างชัดเจน และรวดเร็ว เพื่อสร้างความ เชื่อมั่นและไว้วางใจต่อกระบวนการยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง - พัฒนากลไกในการแจ้งเบาะแส การตรวจสอบข้อมูล และการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลอย่าง เหมาะสมและเป็นรูปธรรม รวมทั้งพัฒนากลไกการลงโทษ และการรายงานผลการดําเนินงานต่อสาธารณะ ให้มีความชัดเจน โปร่งใส ตลอดจนกําหนดแนวทางการชดเชยเยียวยาอย่างเหมาะสมต่อเจ้าหน้าที่ที่ ถูกกลั่นแกล้งจากการแจ้งข้อมูลเท็จ (5) การกําหนดแนวทางเพื่อติดตามและประเมินผลความสําเร็จของการดําเนินงาน ในกระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจน โดย - กําหนดแนวทางและรูปแบบประเมินภายในเพื่อสะท้อนการบรรลุเป้าหมายและผลลัพธ์ ตามที่กําหนดไว้อย่างเป็นระบบ และกําหนดบุคลากรและทรัพยากรเพื่อสนับสนุนให้เกิดการดําเนินงานตาม แนวทางที่กําหนดไว้อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งนําผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการ ดําเนินงานต่อไป - ส่งเสริมให้มีการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก เพื่อให้เกิดการติดตามประเมินผลการ ดําเนินงานของหน่วยงานจากผู้ประเมินภายนอก ซึ่งมีความน่าเชื่อถือและเป็นกลาง โดยกําหนดแผนงานและ แผนการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนที่ชัดเจน - ผลักดันให้ประชาชนมีบทบาทในการติดตามตรวจสอบการทํางานของภาครัฐในทุกระดับ อย่างเป็นรูปธรรม บนพื้นฐานของเคารพสิทธิของประชาชนในการติดตาม เร่งรัด และตรวจสอบการทํางานของ รัฐตามสิทธิพื้นฐานที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยการสร้างหรือพัฒนากลไกในการตรวจสอบการทํางานของ หน่วยงานจากองค์กรทางสังคมและประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ (6) ให้ความสําคัญกับงานวิชาการและสนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างการพัฒนากระบวนการ ด้วยข้อมูลและองค์ความรู้ในการพัฒนากระบวนการยุติธรรม โดย - ส่งเสริมให้เกิดการวิจัยเพื่อค้นหาความรู้ในประเด็นทางสังคมที่มีความแปลกใหม่และ หลากหลายในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต โดยการผลักดันให้หน่วยงานมีการทําวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้อง กับภารกิจของหน่วยงาน รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณสําหรับเครือข่ายทางวิชาการในสังคมให้เข้ามาร่วม ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเสนอข้อค้นพบและแนวทางที่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนากระบวนการ ยุติธรรม
70 - ผลักดันให้มีการนําข้อมูลจากการศึกษาวิจัยที่เป็นระบบและน่าเชื่อถือไปใช้ในการกําหนด นโยบายและแนวทางการทํางานในระดับปฏิบัติที่ชัดเจนขึ้น และเกิดแนวทางการทํางานที่เป็นรูปธรรมและ สอดคล้องกับงานตามสถานการณ์และบริบทของปัญหาที่แท้จริง กิจกรรมสําคัญ - การเพิ่มสร้างหรือพัฒนากลไกในการเพิ่มสมรรถนะของหน่วยงานภาครัฐในการตอบสนอง ต่อประชาชนในสถานการณ์หรือภาวะฉุกเฉิน - การทบทวนและปรับปรุงการจัดโครงสร้างองค์กร และระบบงานของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรมให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัว และเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ - การส่งเสริมหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมมีการศึกษาวิจัย รวมทั้งสนับบสนุนงบ ประมาณสําหรับเครือข่ายทางวิชาการในสังคมให้เข้ามาร่วมศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเสนอข้อ ค้นพบและแนวทางที่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนากระบวนการยุติธรรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาลปกครอง สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานอัยการ สูงสุด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สํานักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศทย (TIJ) สถาบันอนุญาโตตุลาการ เนติบัณฑิตยสภา สภาทนายความ และกระทรวงอุตสาหกรรม
71 เป้าหมายที่ 3 การเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเทคโนโลยี เพื่อให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมสามารถเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกัน และมีการทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานอย่างเป็นระบบบนฐานของข้อมูลและองค์ความรู้ที่ถูกต้องเดียวกัน รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลการทํางานและเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและติดตามความคืบหน้าของ ข้อมูลคดีของตนเองได้ ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีในการดําเนินงานในกระบวนการยุติธรรม เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพและสร้างความโปร่งใสในการทํางานต่อสังคมได้อย่างจริงจัง ตัวชี้วัดเป้าหมาย 1. ระดับความสําเร็จในการเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรม 2. ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อระบบการติดตามความคืบหน้าการดําเนินคดีของ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม 3. ระดับความสําเร็จในการนําเทคโนโลยีมาใช้ในการดําเนินงานของกระบวนการยุติธรรม แนวทางการดําเนินงาน (1) สนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลและการทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานอย่าง เป็นระบบ โดย - สนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูล (Data) ข้อมูลข่าวสาร (Information) และความรู้ (Knowledge) เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในการทํางานระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมบนฐานของ ข้อมูลและองค์ความรู้ที่ถูกต้องเดียวกัน โดยผลักดันให้เกิดการกําหนดแนวทางการดําเนินงานร่วมกันระหว่าง หน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่มีบทบาทภารกิจที่เชื่อมโยงกันอย่างชัดเจน ผ่านการประชุมเพื่อ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือการสร้างข้อตกลงร่วมระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือ ในการประสานเชื่อมโยงข้อมูล ข้อมูลข่าวสาร และองค์ความรู้ ร่วมกันระหว่างหน่วยงานอย่างเป็นรูปธรรม - ส่งเสริมให้เกิดการทํางานหรือการบันทึกข้อมูลที่จําเป็น หรือข้อมูลพื้นฐานในรูปแบบ (Platform) เดียวกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เอื้อต่อการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน - สนับสนุนให้เกิดการพัฒนามาตรการระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลของแต่ละ หน่วยงาน รวมทั้งการสร้างข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลระหว่างหน่วยงาน เพื่อป้องกันปัญหาการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ให้ข้อมูล หรือการนําข้อมูลไปใช้ในทางมิชอบ ซึ่งมักกลายเป็นเงื่อนไขเรื่องความไว้วางใจกันระหว่างหน่วยงาน อันจะนําไปสู่การบูรณาการการทํางานร่วมกัน ทั้งในด้านข้อมูลข่าวสารที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ทุกหน่วยงาน และใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกันได้ - ผลักดันให้เกิดการทํางานระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมบนฐานของข้อมูลและ องค์ความรู้ที่ถูกต้องเดียวกัน เพื่อนําไปสู่การเชื่อมโยงการทํางานร่วมกันที่ชัดเจนมากขึ้น และแสวงหาแนวทาง ร่วมมือได้หลากหลายมากขึ้น และส่งผลให้เกิดการดําเนินงานในทิศทางเดียวกันเพื่ออํานวยความยุติธรรมให้แก่ ประชาชน (2) ผลักดันให้มีการเปิดเผยข้อมูลการทํางานและเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึง ข้อมูล รวมทั้งของตนเองได้ โดย - ส่งเสริมให้หน่วยงานเปิดเผยข้อมูลการทํางานให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและรับทราบได้ ตามสิทธิพื้นฐานของประชาชน ทั้งในรูปแบบของการเผยแพร่ข้อมูลการทํางานและข้อมูลการให้บริการแก่ ประชาชนผ่านเอกสารในลักษณะต่าง ๆ และการสร้างหรือพัฒนาช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ในการค้นหาและ
72 ติดตามข้อมูลจากหน่วยงานโดยตรง เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก และประโยชน์จากข้อมูล ได้ตามความจําเป็นของตนเอง - พัฒนาระบบการติดตามความคืบหน้าของข้อมูลคดีของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน สนับสนุนให้เกิดการเชื่อโยงระบบข้อมูลคดีระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามความ คืบหน้าของคดีของตนเองได้อย่างสมบูรณ์ อันจะเป็นการลดทอดอุปสรรคในการเข้าถึงความยุติธรรมของ ประชาชน และนําไปสู่การสร้างความไว้วางใจของประชาชนต่อการดําเนินงานในกระบวนการยุติธรรม (3) ส่งเสริมให้มีการนําเทคโนโลยีมาใช้ในการดําเนินงานในกระบวนการยุติธรรม โดย - ผลักดันให้หน่วยงานแสวงหาและพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมสอดคล้องสําหรับ การดําเนินงานในแต่ละภารกิจของหน่วยงาน ตั้งแต่กระบวนการสอบสวนสืบสวน การพิสูจน์ในทาง นิติวิทยาศาสตร์ การพิจารณาคดีต่าง ๆ ซึ่งเทคโนโลยีจะช่วยให้กระบวนการบิดเบือนข้อมูลและการดําเนินงาน ในขั้นตอนต่าง ๆ ทําได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ทํางาน และช่วยให้เกิดการสร้างความโปร่งใสในการทํางาน รวมทั้งป้องกันการทุจริตต่อหน้าที่ (Malpractice) ในกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ กิจกรรมสําคัญ - การสร้างและพัฒนารูปแบบการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการให้บริการประชาชน - การสร้างและพัฒนาระบบการตรวจสอบและ/หรือแจ้งความคืบหน้าให้ประชาชน ตรวจสอบเรื่องที่ใช้บริการหรือเกี่ยวข้องดําเนินงาน หรือการตรวจสอบความคืบหน้าของคดีได้ด้วยตนเอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาลปกครอง สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานอัยการ สูงสุด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สํานักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) สถาบันอนุญาโตตุลาการ เนติบัณฑิตยสภา สภาทนายความ กระทรวงมหาดไทย กรมพระธรรมนูญ และกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
73 แนวทางการขับเคลื่อนและการติดตามประเมินผล (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569)
7 4 แนวทางการขับเคลื่อนและการติดตามประเมินผล แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) เป็นแผนระดับ 3 ที่มีสถานะของแผนสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ แผนปฏิรูปประเทศ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 รวมทั้งเป็นแผนที่มุ่งเน้นกรอบแนวทางการบริหารงาน ยุติธรรมในภาพรวมระหว่างหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานยุติธรรม เป้าหมายที่สําคัญใน การขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) ให้นําไปสู่ การปฏิบัติอย่างแท้จริง จึงมุ่งหวังให้แผนแม่บทฯ ดังกล่าวเป็นกรอบในการบริหารงานของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรมร่วมกัน เพื่อนําไปสู่เป้าหมายการอํานวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนในทิศทางเดียวกัน โดยควรมีแนวทางในการขับเคลื่อนแผนที่สําคัญ ดังนี้ 1. แนวทางการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ การขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) ไปสู่การปฏิบัติ ควรมีการดําเนินงานใน 2 ส่วนหลัก ดังนี้ ส่วนที่ 1 การสร้างการรับรู้และเข้าใจในเป้าหมายและแนวทางการดําเนินงานในแผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.1 หน่วยงานหลักที่ต้องดําเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรม แห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) คือ หน่วยงานที่มีบทบาทภารกิจและหน้าที่ตามกฎหมาย เกี่ยวข้องกับการบริหารงานยุติธรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ถูกคาดหวังให้มีการนําแผนแม่บทการบริหารงาน ยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) ไปพิจารณาดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ของหน่วยงาน โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกําหนดแผนและนโยบายของหน่วยงาน ที่ควรพิจารณานํา เป้าหมายและแนวทางการดําเนินงานที่กําหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) ไปเป็นกรอบในการกําหนดและพัฒนาแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมการดําเนินงานของ หน่วยงาน เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานตามเป้าหมายและแนวทางการดําเนินงานที่กําหนดไว้ในแม่บทการ บริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) อย่างเป็นรูปธรรม 1.2 หน่วยงานที่มีส่วนสนับสนุนให้แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) ประสบความสําเร็จ เช่น สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการกํากับดูแลทิศทางการพัฒนาตามแนวทางในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาสําคัญที่ขับเคลื่อนผ่านทางการดําเนินงาน ในแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการยุติธรรม สํานักงบประมาณ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจําปี ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมในการจัดทําคําของบประมาณตามกรอบ แผนแม่บทฯ สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสําคัญต่อการกําหนดแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างส่วนราชการ กฎระเบียบ และการกําหนดตัวชี้วัดการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้การดําเนินงานของหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรมเกิดประสิทธิภาพ และสัมฤทธิ์ผลตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) ซึ่งหน่วยงานดังกล่าว ถือเป็นหน่วยงานสนับสนุนที่สําคัญที่ควรรับรู้และ มีความเข้าใจในเป้าหมายและรายละเอียดของแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ.
7 5 2566 - 2569) เพื่อเอื้ออํานวยให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม หรือหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวกับการ บริหารงานยุติธรรมสามารถขับเคลื่อนแนวทางการดําเนินงานตามกรอบของแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรม แห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) ได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ ส่วนที่ 2 การพัฒนาและสนับสนุนกลไกประสานความร่วมมือในการดําเนินงานระหว่าง หน่วยงาน 2.1 กรอบการจัดทําแผนงบประมาณรายจ่ายประจําปี โดยผลักดันให้เกิด การพิจารณากรอบการจัดทําแผนงบประมาณร่วมกันระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ผ่านกลไก การบริหารงานของคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช.) ซึ่งมีสํานักงานกิจการ ยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงาน ยุติธรรมแห่งชาติ โดยพิจารณาจากกรอบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ แผนปฏิรูปประเทศและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ในประเด็นที่เกี่ยวกับการ บริหารงานยุติธรรม ควบคู่ไปกับเป้าหมายและกรอบการดําเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรม แห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) เพื่อให้เกิดการบริหารงานยุติธรรมของหน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรม ทั้งในส่วนของเป้าหมาย แผนงาน โครงการและแนวทางการดําเนินงานที่ประสานสอดคล้องไปใน ทิศทางเดียวกันอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นไปตามแนวปฏิบัติในการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีของ สํานักงบประมาณ 2.2 กลไกคณะกรรมการในส่วนกลางและภูมิภาค โดยในส่วนกลางใช้กลไกคณะกรรมการ พัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช.) ซึ่งมีคณะอนุกรรมการประสานและพัฒนาระบบงานยุติธรรม มีหน้าที่สําคัญในการสนับสนุน ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดทํา ขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลแผนแม่บทฯ สําหรับในส่วนภูมิภาค ใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานจังหวัด (กพยจ.) ในการขับเคลื่อนให้หน่วยงาน ด้านกระบวนการยุติธรรมในพื้นที่มีการจัดทําแผนปฏิบัติตามกรอบแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) และดําเนินการตามแผนแม่บทฯ รวมถึงผลักดันประเด็นสําคัญในแผนแม่บทฯ ที่มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด และแผนพัฒนาจังหวัด ทั้งนี้ ควรเปิดโอกาสให้มีการรับฟังข้อมูล การดําเนินงาน รวมทั้งข้อจํากัดในการดําเนินงาน ตลอดจนสถานการณ์ปัญหาหรือความต้องการในการพัฒนา กระบวนการยุติธรรมระดับพื้นที่จากคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานระดับจังหวัด (กพยจ.) ผ่านการรายงาน มายังคณะอนุกรรมการประสานและพัฒนาระบบงานยุติธรรม เพื่อแจ้งให้กับทางคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงาน ยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช.) รับทราบ พร้อมทั้งพิจารณาให้การสนับสนุนการดําเนินงานที่จําเป็นในระดับพื้นที่ ตามกรอบการแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) อย่างเหมาะสม ในลําดับต่อไป 2. แนวทางการติดตามประเมินผล เมื่อมีการขับเคลื่อนและการดําเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) ควรกําหนดให้มีการติดตามความคืบหน้าและผลของการนําแผนแม่บทฯ ไปใช้เป็นกรอบ ในการดําเนินงานของหน่วยงานในหกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งการติดตามข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาหรือข้อจํากัดในการดําเนินงาน เพื่อประเมินความสําเร็จของแผนว่าเป็นไปตามเป้าหมายในการพัฒนางาน ยุติธรรมตามที่กําหนดไว้ในแผนหรือไม่ พร้อมรายงานต่อ กพยช. เพื่อรับทราบและให้ข้อเสนอแนะ รวมถึง จะดําเนินงานร่วมกับสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก ในการติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศ) โดยมีแนวทางการติดตามประเมินผล ดังนี้
76 2.1 การติดตามการนําแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) ไปเป็นกรอบการดําเนินงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม โดยพิจารณาจากหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรม มีการนําแนวนโยบายและทิศทางตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) ไปใช้เป็นกรอบในการกําหนดเป้าหมาย แผนงาน โครงการ กิจกรรมและ การดําเนินงานของหน่วยงานในประเด็นต่าง ๆ พร้อมปัญหาอุปสรรคจากการนําแผนไปใช้ จากการติดตาม ข้อมูลและสอบถามความคิดเห็นของผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้วยวิธีการสํารวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ หรือการประชุมรับฟังความคิดเห็น โดยกําหนดให้มีการดําเนินการเป็นประจําทุกปีงบประมาณ 2.2 การติดตามผลสําเร็จตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรม แห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) โดยพิจารณาจากตัวชี้วัดและแนวทางการวัดผลตามที่กําหนดไว้ ในแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) จากวิธีการหลัก 3 ส่วน ได้แก่ (1) การติดตามจากข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Administrative Data) เป็นการสํารวจข้อมูล จากแผนปฏิบัติราชการ แผนงาน รายงานผลการดําเนินงาน และสถิติข้อมูลที่มีการจัดเก็บอย่างเป็นทางการ ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (2) การติดตามจากการสํารวจข้อมูลภาคประชาชน (Public Survey) เป็นการสํารวจข้อมูล และความคิดเห็นของประชาชน ในประเด็นต่าง ๆ ที่สะท้อนให้เห็นความสําเร็จตามตัวชี้วัดที่กําหนดไว้ ในแผน แม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) โดยสํานักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ เป็นหน่วยงาน หลักที่รับผิดชอบในการดําเนินการสํารวจ เพื่อติดตามและประเมินผลความสําเร็จของแผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (3) การติดตามผลความสําเร็จของโครงการ/กิจกรรมสําคัญที่สอดคล้องและสนับสนุน มิติการบริหาร เป้าหมายและแนวทางการดําเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569)
77 ภาคผนวก
78 ภาคผนวก ก ความสอดคล้องระหว่างแนวทางการดําเนินงานของ แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) กับกฎหมาย ยุทธศาสตร์และแผนระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
79 ตารางแสดง ความสอดคล้องระหว่างแนวทางการดําเนินงานของแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) กับแผนและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง แผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 ความสอดคล้องกับ กับกฎหมาย ยุทธศาสตร์และแผนระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มิติการบริหารงานที่ 1 การสร้างความเป็นธรรมตามกฎหมาย เป้าหมายที่ 1 การมีกฎหมายดี (จําเป็น ทันสมัย สอดคล้องกับบริบทของสังคม) 1) ผลักดันให้มีทบทวนความจําเป็นและความ เหมาะสมของกฎหมายที่มีผลบังคับใช้แล้ว รัฐธรรมนูญ มาตรา 77 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ - ประเด็นด้านการต่างประเทศ (แผนย่อยด้านการพัฒนาที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และพันธกรณีระหว่างประเทศ) - ประเด็นการปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม (แผนย่อยการใช้สื่อและสื่อสารมวลชนในการปลูกฝังค่านิยมและ วัฒนธรรมของคนในสังคม) - ประเด็นกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แผนย่อยการพัฒนากฎหมาย แผนปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย ประเด็นการปฏิรูปที่ 1 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 1 และกิจกรรมปฏิรูป ที่ 2)ประเด็นการปฏิรูปที่ 2 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 1) 2) ส่งเสริมให้มีการปรับปรุง แก้ไข และ ออกกฎหมายเท่าที่จําเป็น รวมทั้งยกเลิก หรือปรับปรุงกฎหมายที่สร้างภาระหรือ ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ําและไม่เป็นธรรม แก่ประชาชน รัฐธรรมนูญ (มาตรา 77) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (เรื่องกฎหมายมีความสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ และมีเท่าที่จําเป็น) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ - ประเด็นด้านการต่างประเทศ (แผนย่อยด้านการพัฒนาที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และพันธกรณีระหว่างประเทศ) - ประเด็นกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แผนย่อยการพัฒนากฎหมาย (แนวทางการพัฒนาที่ 1) แผนปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ประเด็นการปฏิรูปที่ 3 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 6) แผนปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย ประเด็นการปฏิรูปที่ 2 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 และกิจกรรม ปฏิรูปที่ 3) ประเด็นการปฏิรูปที่ 3 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 1 กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 กิจกรรมปฏิรูปที่ 5 กิจกรรมปฏิรูปที่ 6 กิจกรรมปฏิรูปที่ 7 และ กิจกรรมปฏิรูปที่ 8)
80 แผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 ความสอดคล้องกับ กับกฎหมาย ยุทธศาสตร์และแผนระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านกฎหมาย (กิจกรรมปฏิรูปที่ 1) แผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ประเด็นการปฏิรูปที่ 4 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 1 กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 และกิจกรรมปฏิรูปที่ 3 แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) ยุทธศาสตร์ที่ 3 (แนวทางการพัฒนาที่ 1) 3) พิจารณาความเหมาะสม และผลกระทบจาก บทลงโทษที่เหมาะสมสอดคล้องกับประเด็น ปัญหา แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ - ประเด็นด้านการต่างประเทศ แผนย่อยด้านการพัฒนาที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และพันธกรณีระหว่างประเทศ แผนปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย ประเด็นการปฏิรูปที่ 1 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 3) ประเด็นการปฏิรูปที่ 10 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 3) แผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านกฎหมาย (กิจกรรมปฏิรูปที่ 2) The 14 th UN-CCPCJ เรื่องการพัฒนาหลักนิติธรรม (Promoting the Rule of Law) ตามกรอบการดําเนินงานเรื่องการส่งเสริมให้มีนโยบายระดับชาติ ว่าด้วยการกําหนดบทลงโทษ เป้าหมายที่ 2 การบังคับใช้กฎหมายตามเจตนารมณ์ 1) ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพและ ความเสมอภาคในการบังคับใช้กฎหมาย รัฐธรรมนูญ (มาตรา 53) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (เรื่องกฎหมายมีความสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ และมีเท่าที่จําเป็น) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ - ประเด็นกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แผนย่อยการพัฒนากฎหมาย (แนวทางการพัฒนาที่ 3) แผนปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย ประเด็นการปฏิรูปที่ 10 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 1 และกิจกรรมปฏิรูปที่ 4) แผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ประเด็นการปฏิรูปที่ 1 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2570 ด้านความมั่นคงที่ 7 การป้องกันและแก้ไข ปัญหาการค้ามนุษย์
81 แผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 ความสอดคล้องกับ กับกฎหมาย ยุทธศาสตร์และแผนระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (กลไกที่ 16.b) The 14th UN-CCPCJ เรื่องการพัฒนาหลักนิติธรรม (Promoting the Rule of Law) ตามกรอบการดําเนินงานเรื่องการส่งเสริมให้มีสถาบันที่มี ประสิทธิผล รับผิดชอบ เที่ยงตรง และดําเนินการอย่าง ครอบคลุมและเท่าเทียมกันทุกฝ่าย 2) รักษาสมดุลระหว่างการบังคับใช้กฎหมาย และประโยชน์สาธารณะหรือความต้องการ ของประชาชน แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ - ประเด็นกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แผนย่อยการพัฒนากฎหมาย แผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ประเด็นการปฏิรูปที่ 3 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 5 และกิจกรรมปฏิรูปที่ 6) ประเด็นการปฏิรูปที่ 4 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 1) 3) สนับสนุนให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายนํา เทคโนโลยีมาใช้ในการดําเนินการในการ บังคับใช้กฎหมาย แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ - ประเด็นกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แผนย่อยการพัฒนากฎหมาย (แนวทางการพัฒนาที่ 3 และแนวทางการพัฒนาที่ 4) แผนปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย ประเด็นการปฏิรูปที่ 9 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 1) ประเด็นการปฏิรูปที่ 10 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 2) แผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านกฎหมาย (กิจกรรมปฏิรูปที่ 3) เป้าหมายที่ 3 การสร้างวัฒนธรรมเคารพกฎหมาย 1) สร้างความรู้และการตระหนักถึง ความสําคัญของสิทธิและหน้าที่ตาม กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมให้แก่ ประชาชนทุกระดับอย่างเหมาะสมและ ทั่วถึง รัฐธรรมนูญ (มาตรา 77) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยการรักษาความสงบภายในประเทศ (แนวทางการพัฒนาที่ 4) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม แผนย่อยการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และ การเสริมสร้างจิตสาธารณะ และการเป็นพลเมืองที่ดี นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2570 ด้านความมั่นคงที่ 8 การป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) ยุทธศาสตร์ที่ 1 (แนวทางการพัฒนาที่ 1)
82 แผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 ความสอดคล้องกับ กับกฎหมาย ยุทธศาสตร์และแผนระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน กระบวนการจัดทําและปรับปรุงแก้ไข กฎหมาย และการดําเนินงานใน กระบวนการยุติธรรม รัฐธรรมนูญ (มาตรา 77) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ - ประเด็นกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แผนย่อยการพัฒนากฎหมาย (แนวทางการพัฒนาที่ 2) แผนปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย ประเด็นการปฏิรูปที่ 6 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 1 กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 และกิจกรรมปฏิรูปที่ 4) แผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านกฎหมาย (กิจกรรมปฏิรูปที่ 4) 3) ส่งเสริมให้มีการเข้าถึงความช่วยเหลือทาง กฎหมายโดยง่าย สะดวก และเอื้อต่อการ ใช้บริการประชาชนของประชาชนทุกกลุ่ม แผนปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ประเด็นการปฏิรูปที่ 1 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 2) แผนปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย ประเด็นการปฏิรูปที่ 6 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 5) ประเด็นการปฏิรูปที่ 7 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 1 กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 กิจกรรมปฏิรูปที่ 4 กิจกรรมปฏิรูปที่ 5 และกิจกรรมปฏิรูปที่ 6) แผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านกฎหมาย (กิจกรรมปฏิรูปที่ 5) The 14 th UN-CCPCJ เรื่องการพัฒนาหลักนิติธรรม (Promoting the Rule of Law) ตามกรอบการดําเนินงาน เรื่องการส่งเสริมให้มีการเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมาย และ กรอบการดําเนินงานเรื่องการส่งเสริมให้มีมาตรการทางสังคม การศึกษาและอื่น ๆ 4) ส่งเสริมค่านิยมในการยอมรับ ค่านิยม ในการยอมรับ เคารพและปฏิบัติตาม กฎหมายแก่ประชาชน ชุมชน และสังคม แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ - ประเด็นการปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม แผนย่อยการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และ การเสริมสร้างจิตสาธารณะ และการเป็นพลเมืองที่ดี แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) ยุทธศาสตร์ที่ 1 (แนวทางการพัฒนาที่ 2) The 14 th UN-CCPCJ เรื่องการพัฒนาหลักนิติธรรม (Promoting the Rule of Law) ตามกรอบการดําเนินงาน เรื่องการส่งเสริมให้มีมาตรการทางสังคม การศึกษา และอื่น ๆ มิติที่ 2 การพัฒนากระบวนการยุติธรรมตามมาตรฐานสากล เป้าหมายที่ 1 การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม (Inclusive justice) 1) ผลักดันให้มีกลไกหรือช่องทางในการเข้าถึง กระบวนการยุติธรรมที่หลากหลายเพื่อเป็น รัฐธรรมนูญ (มาตรา 68) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
83 แผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 ความสอดคล้องกับ กับกฎหมาย ยุทธศาสตร์และแผนระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง หลักประกันความสามารถในการเข้าถึง กระบวนการยุติธรรมของประชาชนได้อย่าง รวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม ด้านความมั่นคง (การรักษาความสงบภายในประเทศ) ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม (เรื่องการลดความเหลื่อมล้ํา สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ - ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยการรักษาความสงบภายในประเทศ (แนวทางการพัฒนาที่ 1 และแนวทางการพัฒนาที่ 2) - ประเด็นความเสมอภาคและหลักประกันสังคม แผนย่อยการคุ้มครองทางสังคมขั้นพื้นฐานและหลักประกัน ทางเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ (แนวทางการพัฒนาที่ 1) - ประเด็นกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แผนย่อยการพัฒนากระบวนการยุติธรรม (แนวทางการพัฒนาที่ 3) แผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ประเด็นการปฏิรูปที่ 2 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 1 กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 และกิจกรรมปฏิรูปที่ 4) (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) องค์ประกอบที่ 2 (หมุดหมายที่ 9) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2570 ด้านความมั่นคงที่ 7 การป้องกันและแก้ไข ปัญหาการค้ามนุษย์ แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) ยุทธศาสตร์ที่ 3 (แนวทางการพัฒนาที่ 3) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (เป้าหมายที่ 16.3) The 14th UN-CCPCJ เรื่องการส่งเสริมความก้าวหน้าของกระบวนการยุติธรรมทาง อาญา (Advancing the Criminal Justice System) ตาม กรอบการดําเนินงานเรื่องการปกป้องสิทธิของเหยื่อและคุ้มครอง พยานและผู้ให้ข้อมูล และเรื่องการพัฒนาหลักนิติธรรม (Promoting the Rule of Law) ตามกรอบการดําเนินงานเรื่อง การส่งเสริมให้มีการเข้าถึงความยุติธรรมและการปฏิบัติที่เท่า เทียมภายใต้กฎหมาย 2) ส่งเสริมการนํามิติการพัฒนาหรือกลไกทาง สังคมมาใช้ในการป้องกันอาชญากรรม ตาม ความจําเป็นและเหมาะสมกับคนทุกกลุ่ม The 14 th UN-CCPCJ เรื่องการส่งเสริมความก้าวหน้าของการป้องกันอาชญากรรม (Advancing Crime Prevention) ตามกรอบการดําเนินงาน เรื่องการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ
8 4 แผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 ความสอดคล้องกับ กับกฎหมาย ยุทธศาสตร์และแผนระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย และการส่งเสริมการแก้ไขความ ขัดแย้งในเชิงบวก The 30 th CCPJC เรื่องการบูรณาการกีฬาเข้ากับยุทธศาสตร์ป้องกันอาชญากรรม และความยุติธรรมทางอาญา The 2 nd ACCPJC ประเด็นที่ 6 (thrust 6) ว่าด้วยการส่งเสริมวัฒนธรรมการ สนับสนุนค่านิยมว่าด้วยความพอดี (Moderation) โดยมุ่งส่งเสริมคุณค่าของการรู้เท่าทัน (Literacy) ในทุกลักษณะ และในทุกระดับของวิถีชีวิต 3) พัฒนาแนวทางการดําเนินงานเพื่อรับมือ กับอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและ อาชญากรรมรูปแบบใหม่ โดยเน้นการ จัดการกับสาเหตุที่เป็นรากเหง้า (Root Cause) ของการก่ออาชญากรรม ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านความมั่นคง (เรื่องการรักษาความสงบภายในประเทศ และเรื่องการป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยการรักษาความสงบภายในประเทศ (แนวทางการพัฒนาที่ 4) แผนย่อยการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง (ส่วนการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและการพัฒนา ประเทศ) แผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ประเด็นการปฏิรูปที่ 4 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 5 กิจกรรมปฏิรูปที่ 6 กิจกรรมปฏิรูปที่ 7 และกิจกรรมปฏิรูปที่ 8) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2570 นโยบายและแผนที่ 10 การป้องกันและแก้ไข ปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (เป้าหมายที่ 16.1 และเป้าหมายที่ 16.2) The 14th UN-CCPCJ เรื่องการส่งเสริมความก้าวหน้าของ การป้องกันอาชญากรรม (Advancing Crime Prevention) ตามกรอบการดําเนินงานเรื่องการจัดการกับสาเหตุที่เป็นรากเหง้า ของการก่ออาชญากรรม และการป้องกันอาชญากรรมโดยอาศัย หลักฐาน และเรื่องการส่งเสริมความก้าวหน้าของการป้องกัน อาชญากรรม (Advancing Crime Prevention) ตามกรอบการ ดําเนินงานเรื่องการกําหนดยุทธศาสตร์เฉพาะในการป้องกัน อาชญากรรม โดยพิจารณาบริบทเฉพาะของท้องถิ่น The 30 th CCPJC เรื่องการพัฒนาระบบงานยุติธรรมทางอาญา ในช่วงระหว่างและหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติด
8 5 แผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 ความสอดคล้องกับ กับกฎหมาย ยุทธศาสตร์และแผนระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) และเรื่องการป้องกันและ ต่อต้านอาชญากรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป้าหมายที่ 2 การใช้มาตรการที่หลากหลายในการยุติข้อพิพาท 1) ผลักดันให้มีการกําหนดรูปแบบการลงโทษ ที่เหมาะสมกับความผิดและบริบทต่าง ๆ แผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ประเด็นการปฏิรูปที่ 3 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 3) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2570 ด้านความมั่นคงที่ 8 การป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด 2) สนับสนุนให้มีการนํามาตรการเชิง สมานฉันท์หรือมาตรการทางสังคมแทน การลงโทษทางอาญามาใช้ในการ ดําเนินงานจริงของแต่ละหน่วยงาน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบ การบริหารจัดการภาครัฐ (เรื่องกระบวนการยุติธรรมเคารพกฎหมายสิทธิมนุษยชน และปฏิบัติต่อประชาชนโดยเสมอภาค) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ - ประเด็นกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แผนย่อยการพัฒนากระบวนการยุติธรรม (แนวทางการพัฒนาที่ 7) แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) (ยุทธศาสตร์ที่ แนวทางการพัฒนาที่ 1) 3) พัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยและระงับ ข้อพิพาทในชุมชนให้มีความชัดเจน และ สามารถดําเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ - ประเด็นกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แผนย่อยการพัฒนากระบวนการยุติธรรม แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) ยุทธศาสตร์ที่ 2 (แนวทางการพัฒนาที่ 2 แนวทางการพัฒนาที่ 3 และแนวทางการพัฒนาที่ 4) เป้าหมายที่ 3 การปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดบนหลักสิทธิมนุษยชน 1) ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติต่อผู้กระผิดบน พื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชน แผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ประเด็นการปฏิรูปที่ 2 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 1) ประเด็นการปฏิรูปที่ 3 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 1) แผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านกระบวนการยุติธรรม (กิจกรรมปฏิรูปที่ 4 และกิจกรรมปฏิรูปที่ 5) The 14th UN-CCPCJ เรื่องการส่งเสริมความก้าวหน้าของ กระบวนการยุติธรรมทางอาญา (Advancing the Criminal Justice System) ตามกรอบการดําเนินงานเรื่องการปรับปรุง สภาพเรือนจํา และกรอบการดําเนินงานเรื่องการปรับปรุง กระบวนการสืบสวนสอบสวนทางอาญา รวมทั้งการส่งเสริมการ ปฏิบัติและแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดี
86 แผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 ความสอดคล้องกับ กับกฎหมาย ยุทธศาสตร์และแผนระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) ผลักดันให้มีการกําหนดแนวทางการลงโทษ ต่อผู้กระทําผิดที่เหมาะสม แผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ประเด็นการปฏิรูปที่ 3 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 2) แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) ยุทธศาสตร์ที่ 4 (แนวทางการพัฒนาที่ 1 และแนวทางการ พัฒนาที่ 2) 3) ส่งเสริมแนวทางการแก้ไขพัฒนาผู้กระทํา ผิดที่มุ่งเน้นการสร้างโอกาสให้ผู้กระทําผิด สามารถดําเนินชีวิตในสังคมปกติได้จริง หลังการปล่อยตัว แผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ประเด็นการปฏิรูปที่ 3 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 4) ประเด็นการปฏิรูปที่ 4 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 2) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2570 ด้านความมั่นคงที่ 8 การป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) ยุทธศาสตร์ที่ 4 (แนวทางการพัฒนาที่ 3) The 14th UN-CCPCJ เรื่องการส่งเสริมความก้าวหน้าของ กระบวนการยุติธรรมทางอาญา (Advancing the Criminal Justice System) ตามกรอบการดําเนินงานเรื่องการลดการกระ ทําผิดซ้ําด้วยการฟื้นฟูและการกลับเข้าสู่สังคม และเรื่องการจัดการ ปัญหาความเปราะบางด้านต่าง ๆ ของเด็กและเยาวชนในการ เข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบความยุติธรรมทางอาญา The 30 th CCPJC ในเรื่องการลดการกระทําผิดซ้ํา ด้วยการฟื้นฟูและการกลับคืนสู่สังคม 4) สนับสนุนให้ภาคส่วนในสังคมเข้ามามี ส่วนร่วมในฐานะกลไกในการดูแล ช่วยเหลือผู้กระทําผิดที่กลับสู่สังคม The 14th UN-CCPCJ เรื่องการส่งเสริมความก้าวหน้าของ กระบวนการยุติธรรมทางอาญา (Advancing the Criminal Justice System) ตามกรอบการดําเนินงานเรื่องการลดการกระ ทําผิดซ้ําด้วยการฟื้นฟูและการกลับเข้าสู่สังคม และเรื่องการจัดการ ปัญหาความเปราะบางด้านต่าง ๆ ของเด็กและเยาวชน ในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบความยุติธรรมทางอาญา The 30 th CCPJC ในเรื่องการลดการกระทําผิดซ้ํา ด้วยการฟื้นฟูและการกลับคืนสู่สังคม 5) พัฒนาแนวทางการชดเชยเยียวยาแก่ผู้ที่ ได้รับความเสียหายจากกระบวนการ ยุติธรรม แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ - ประเด็นกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แผนย่อยการพัฒนากระบวนการยุติธรรม แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) ยุทธศาสตร์ที่ 3 (แนวทางการพัฒนาที่ 3)
87 แผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 ความสอดคล้องกับ กับกฎหมาย ยุทธศาสตร์และแผนระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มิติที่ 3 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารงานยุติธรรม เป้าหมายที่ 1 การยกระดับกลไกการทํางานเชิงเครือข่าย 1) สร้างกลไกการทํางานในรูปแบบเครือข่าย ความร่วมมือ (Collaborative Network) ระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม อย่างเป็นรูปธรรม รัฐธรรมนูญ (มาตรา 76) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านความมั่นคง (เรื่องการพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม) ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (เรื่องกระบวนการยุติธรรมเคารพกฎหมายสิทธิมนุษยชน และปฏิบัติต่อประชาชนโดยเสมอภาค) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ - ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยการรักษาความสงบภายในประเทศ (แนวทางการพัฒนาที่ 5) แผนย่อยการพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญ ภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ (แนวทางการพัฒนาที่ 2 และแนวทางการพัฒนาที่ 3) แผนย่อยการพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคง แบบองค์รวม (แนวทางการพัฒนาที่ 1) - ประเด็นการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ แผนย่อยการปรับสมดุลภาครัฐ - ประเด็นกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แผนย่อยการพัฒนากระบวนการยุติธรรม (แนวทางการพัฒนาที่ 2) แผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ประเด็นการปฏิรูปที่ 4 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 2) (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) องค์ประกอบที่ 2 (หมุดหมายที่ 9 หมุดหมายที่ 13) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2570 ด้านความมั่นคงที่ 7 การป้องกันและแก้ไข ปัญหาการค้ามนุษย์ The 30th CCPJC เรื่องการขับเคลื่อนให้เกิดการดําเนินงานตามมาตรฐานและ บรรทัดฐานของสหประชาชาติในการป้องกันอาชญากรรมและ ความยุติธรรมทางอาญาให้มีความยืดหยุ่นและสามารถใช้ปฏิบัติ ได้จริง 2) พัฒนากลไกการทํางานของภาครัฐเชิง บูรณาการและเป็นเอกภาพ แผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ประเด็นการปฏิรูปที่ 1 (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13
88 แผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 ความสอดคล้องกับ กับกฎหมาย ยุทธศาสตร์และแผนระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (พ.ศ. 2566 - 2570) องค์ประกอบที่ 4 (หมุดหมายที่ 13) 3) ส่งเสริมการทํางานเชิงเครือข่ายกับทุกภาค ส่วนทางสังคม รัฐธรรมนูญ (มาตรา 78) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านความมั่นคง (เรื่องการรักษาความสงบภายในประเทศ) ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (เรื่องภาครัฐมีขนาดเล็กลง เหมาะสมกับภารกิจ ส่งเสริมให้ ประชาชนและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ - ประเด็นความเสมอภาคและหลักประกันสังคม แผนย่อยการคุ้มครองทางสังคมขั้นพื้นฐานและหลักประกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ (แนวทางการพัฒนาที่ 1) - ประเด็นกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แผนย่อยการพัฒนากระบวนการยุติธรรม (แนวทางการพัฒนาที่ 3) แผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ประเด็นการปฏิรูปที่ 2 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 5) แผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (กิจกรรมปฏิรูปที่ 4) (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) องค์ประกอบที่ 4 (หมุดหมายที่ 13) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (เป้าหมายที่ 16.7) แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) ยุทธศาสตร์ที่ 1 (แนวทางการพัฒนาที่ 3) 4) แสวงหาแนวทางและความร่วมมือระหว่าง ประเทศในการป้องกันและแก้ไข อาชญากรรมทุกรูปแบบ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านความมั่นคง (เรื่องการพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญภัย คุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ และเรื่องการบูรณาการ ความร่วมมือด้านความมั่นคงกับอาเซียนและนานาชาติ รวมถึงองค์กรภาครัฐและที่ไม่ใช่ภาครัฐ) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง
89 แผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 ความสอดคล้องกับ กับกฎหมาย ยุทธศาสตร์และแผนระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แผนย่อยการบูรณาการความร่วมมือด้านความมั่นคงกับอาเซียน และนานาชาติรวมทั้งองค์กรภาครัฐและมิใช่ภาครัฐ (แนวทางการพัฒนาที่ 1 แนวทางการพัฒนาที่ 2 และแนวทาง การพัฒนาที่ 3) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2570 นโยบายและแผนที่ 10 การป้องกันและแก้ไข ปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (เป้าหมายที่ 16.4 เป้าหมายที่ 16.8 และกลไกที่ 16.a) The 14 th UN-CCPCJ เรื่องการพัฒนาความร่วมมือระหว่าง ประเทศและความช่วยเหลือทางเทคนิคเพื่อป้องกันอาชญากรรม ทุกรูปแบบ (Promoting International Cooperation and Technical Assistance to Prevent and Address all Forms of Crime) ตามกรอบการดําเนินงานเรื่องการสร้างความร่วมมือ ระหว่างประเทศ โดยการสร้างความช่วยเหลือทางวิชาการ เป้าหมายที่ 2 การบริหารงานยุติธรรมตามหลักธรรมาภิบาล 1) ปฏิรูปหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมให้ เป็นองค์การที่ยึดหลักธรรมาภิบาล และ ดําเนินงานบนพื้นฐานของหลักนิติธรรม รัฐธรรมนูญ (มาตรา 76) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (เรื่องภาครัฐบริหารงานแบบบูรณาการโดยมียุทธศาสตร์ชาติเป็น เป้าหมายและเชื่อมโยงการพัฒนาในทุกระดับ ทุกประเด็น ทุกภารกิจ และทุกพื้นที่ และเรื่องภาครัฐมีความ โปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยการพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคง แบบองค์รวม (แนวทางการพัฒนาที่ 3) ประเด็นการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ The 2 nd ACCPJC ประเด็นที่ 3 (thrust 3)(เรื่องการส่งเสริม วัฒนธรรมแห่งธรรมาภิบาลในทุกระดับ โดยการปลูกฝังหลักการ ธรรมาภิบาล และส่งเสริมความเป็นพลเมืองที่รับผิดชอบ มี พัฒนาการและความเติบโตทางสังคม-เศรษฐกิจที่เสมอภาค) 2) ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทํางานให้มุ่งเน้น ความสําเร็จในการอํานวยความยุติธรรม โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-centric) รัฐธรรมนูญ (มาตรา 76) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (เรื่องภาครัฐที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตอบสนอง ความต้องการ และให้บริการอย่างสะดวกรวดเร็ว โปร่งใส) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ - ประเด็นด้านการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ
90 แผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 ความสอดคล้องกับ กับกฎหมาย ยุทธศาสตร์และแผนระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แผนย่อยการพัฒนาระบบบริหารงานภาครัฐ ประเด็นกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แผนย่อยการพัฒนากระบวนการยุติธรรม (แนวทางการพัฒนาที่ 1) แผนปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ประเด็นการปฏิรูปที่ 1 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 1) แผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านกระบวนการยุติธรรม (กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 และกิจกรรมปฏิรูปที่ 3) 3) พัฒนาระบบการทํางานและบริการ ประชาชนที่เป็นมาตรฐานสากล ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (เรื่องภาครัฐมีความทันสมัย) (เรื่องบุคลากรภาครัฐเป็นคนดีและเก่ง ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสํานึก มีความสามารถสูง มุ่งมั่น และเป็นมืออาชีพ) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ - ประเด็นความเสมอภาคและหลักประกันสังคม แผนย่อยการพัฒนาระบบบริหารงานภาครัฐ (แนวทางการพัฒนาที่ 1 และแนวทางการพัฒนาที่ 3) - ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ แผนย่อยการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ (แนวทางการพัฒนาที่ 4 และแนวทางการพัฒนาที่ 5) แผนย่อยการปราบปรามการทุจริต (แนวทางการพัฒนาที่ 1 และแนวทางการพัฒนาที่ 2) - ประเด็นด้านการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ แผนย่อยการพัฒนาระบบบริหารงานภาครัฐ - ประเด็นกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แผนย่อยการพัฒนากระบวนการยุติธรรม (แนวทางการพัฒนาที่ 4 และแนวทางการพัฒนาที่ 5) แผนปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ประเด็นการปฏิรูปที่ 1 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 3) ประเด็นการปฏิรูปที่ 3 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 1 กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 และ กิจกรรมปฏิรูปที่ 5) ประเด็นการปฏิรูปที่ 6 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 2) แผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ประเด็นการปฏิรูปที่ 1 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 1) แผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 และกิจกรรมปฏิรูปที่ 5)
91 แผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 ความสอดคล้องกับ กับกฎหมาย ยุทธศาสตร์และแผนระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) องค์ประกอบที่ 4 (หมุดหมายที่ 13) แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) ยุทธศาสตร์ที่ 3 (แนวทางการพัฒนาที่ 2 และแนวทางการพัฒนาที่ 4) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (เป้าหมายที่ 16.6) The 14 th UN-CCPCJ เรื่องการพัฒนาหลักนิติธรรม (Promoting the Rule of Law) ตามกรอบการดําเนินงาน เรื่องการส่งเสริมให้มีการดําเนินงานต่อต้านการคอร์รัปชัน อย่างมีประสิทธิผล 4) พัฒนากลไกการป้องกัน ตรวจสอบ และแก้ไข ปัญหาการทุจริตและการใช้อํานาจในทางมิ ชอบของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบ การบริหารจัดการภาครัฐ (เรื่องบุคลากรภาครัฐเป็นคนดีและเก่ง ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสํานึก มีความสามารถสูง มุ่งมั่น และเป็นมืออาชีพ) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ - ประเด็นความเสมอภาคและหลักประกันสังคม แผนย่อยการสร้างและพัฒนาบุคลากรภาครัฐ (แนวทางการพัฒนาที่ 2) - ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ แผนย่อยการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ (แนวทางการพัฒนาที่ 2) - ประเด็นด้านการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ แผนย่อยการสร้างและพัฒนาบุคลากรภาครัฐ - ประเด็นกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แผนย่อยการพัฒนากระบวนการยุติธรรม (แนวทางการพัฒนาที่ 6) แผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (กิจกรรมปฏิรูปที่ 3) แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) ยุทธศาสตร์ที่ 3 (แนวทางการพัฒนาที่ 5) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (เป้าหมายที่ 16.5) 5) กําหนดแนวทางเพื่อติดตามและ ประเมินผลความสําเร็จของการดําเนินงาน ในกระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบ การบริหารจัดการภาครัฐ (เรื่องภาครัฐบริหารงานแบบบูรณาการโดยมียุทธศาสตร์ชาติเป็น
92 แผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 ความสอดคล้องกับ กับกฎหมาย ยุทธศาสตร์และแผนระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป้าหมายและเชื่อมโยงการพัฒนาในทุกระดับ ทุกประเด็น ทุก ภารกิจ และทุกพื้นที่) แผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ประเด็นการปฏิรูปที่ 1 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 2) (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) องค์ประกอบที่ 4 (หมุดหมายที่ 13) 6) ให้ความสําคัญกับงานวิชาการและ สนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างการพัฒนา กระบวนการด้วยข้อมูลและองค์ความรู้ใน การพัฒนากระบวนการยุติธรรม แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ - ประเด็นความเสมอภาคและหลักประกันสังคม แผนย่อยการพัฒนาระบบบริหารงานภาครัฐ (แนวทางการพัฒนาที่ 2) - ประเด็นกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แผนย่อยการพัฒนากระบวนการยุติธรรม แผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ประเด็นการปฏิรูปที่ 4 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 1) แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) ยุทธศาสตร์ที่ 3 (แนวทางการพัฒนาที่ 6) เป้าหมายที่ 3 การเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเทคโนโลยี 1) สนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลและ การทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานอย่าง เป็นระบบ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยการพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญ ภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ (แนวทางการพัฒนาที่ 1) ประเด็นการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ แผนย่อยการพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคง แบบองค์รวม (แนวทางการพัฒนาที่ 2) แผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ประเด็นการปฏิรูปที่ 4 (กิจกรรมปฏิรูปที่ 4) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2570 นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 16 การบูรณา การข้อมูลด้านความมั่นคง แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) ยุทธศาสตร์ที่ 5 (แนวทางการพัฒนาที่ 2) 2) ผลักดันให้มีการเปิดเผยข้อมูลแก่การทํางาน ต่อประชาชนเพื่อสร้างคประชาชนสามารถ เข้าถึงข้อมูล รวมทั้งติดตามความคืบหน้า ของข้อมูลคดีของตนเองได้ แผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านกระบวนการยุติธรรม (กิจกรรมปฏิรูปที่ 1) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (เป้าหมายที่ 16.10)
93 แผนแม่บท การบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 ความสอดคล้องกับ กับกฎหมาย ยุทธศาสตร์และแผนระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3) ส่งเสริมให้มีการนําเทคโนโลยีมาใช้ใน การดําเนินงานในกระบวนการยุติธรรม ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (เรื่องภาครัฐที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตอบสนอง ความต้องการ และให้บริการอย่างสะดวกรวดเร็ว โปร่งใส) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นด้านการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ แผนย่อยการพัฒนาบริการประชาชน แผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (กิจกรรมปฏิรูปที่ 1) (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) องค์ประกอบที่ 2 (หมุดหมายที่ 9) องค์ประกอบที่ 4 (หมุดหมายที่ 13) แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ยุทธศาสตร์ที่ 5 (แนวทางการพัฒนาที่ 1)
9 4 ภาคผนวก ข ความเชื่อมโยงของ แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) กับแผนและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
1.มุ่งสร้างความเป็นธรรมตามกฎหมายให้แก่ประชาชน เป้าหมายภาพรวม 2.พัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล 3.ประสานความร่วมมือในการบริหารงานยุติธรรมให้มีความสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน พันธกิจ เป้าหมายที่ 2 การบริหารงานยุติธรรมแบบประสานสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน เป้าหมายที่ 1 ประชาชนได้รับความยุติธรรมอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ตัวชี้วัดภาพรวม ตัวชี้วัดที่ 2 ระดับความสําเร็จของความสอดคล้องในเป้าหมายและการดําเนินงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ตัวชี้วัดที่ 1 ระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม มิติที่ 1 การสร้าง ความเป็นธรรม ตามกฎหมาย มิติที่ 2 การพัฒนากระบวนการ ยุติธรรมตาม มาตรฐาน สากล มิติที่ 3 การสร้างเครือข่าย ความร่วมมือใน การบริหาร งานยุติธรรม สร้าง ความร่วมมือ ในการบริหารงาน เพื่ออํานวยความยุติธรรม อย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม โดยยึดหลักนิติธรรม การเข้าถึงกระบวนกายุติธรรม อย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและ เท่าเทียม (Inclusive justice) การใช้มาตรการ ที่หลากหลายใน การยุติข้อพิพาท การปฏิบัติต่อ ผู้กระทําผิดบน หลักสิทธิมนุษยชน การบังคับใช้ กฎหมายตาม เจตนารมณ์ การมีกฎหมายที่ดี (จําเป็น ทันสมัย สอดคล้องกับบริบท ของสังคม) การสร้างวัฒนธรรม การเคารพกฎหมาย การยกระดับกลไกการทํางานเชิงเครือข่าย การเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์ จากข้อม ู ลและเทคโนโลยี การบริหารงานยุติธรรม ตามหลักธรรมาภิบาล แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) - เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านสิทธิ เสรีภาพ กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และการป้องกันตนเอง มิให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม - ส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชน มีส่วนร่วม ในกระบวนการย ุ ติธรรม ท ุ กขั้นตอน - พัฒนากฎหมายเพื่อส่งเสริมการนํากระบวนการไกล่เกลี่ย ระงับข้อพิพาทมาใช้ทั้งทางอาญา ทางแพ่งและพาณิชย์ และทางปกครอง - พัฒนาการเข้าถึงและการให้บริการที่ทันสมัยและทั่วถึง - สร้างความเข้าใจและยอมรับผลดีของการนํากระบวนการไกล่ เกลี่ยระงับข้อพิพาทมาใช้ทั้งทางอาญา ทางแพ่งและพาณิชย์ และทางปกครอง - พัฒนาระบบดิจิทัลมาใช้ในการ ปฏิบัติงาน และการบริหารราชการ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานและ การตัดสินใจ - บูรณาการและแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างหน่วยงาน และจัดให้มี ศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิ ทัลเพื่อสนับสนุนกระบวนการ ย ุ ติธรรม ย.1 การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมด้านกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม ย.2 การส่งเสริมและพัฒนากระบวนการไกล่ เกลี่ยระงับข้อพิพาททั้งทางอาญา ทางแพ่ง และพาณิชย์ และทางปกครอง - ปลูกฝังจิตสํานึกและค่านิยมในการยอมรับ เคารพและปฏิบัติตามกฎหมายแก่ประชาชน ช ุ มชน และสังคม - พัฒนาระบบงานยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพและธรรมาภิบาล - พัฒนากลไกการช่วยเหลือ และเพิ่มศักยภาพเพื่อให้ ประชาชนเข้าถึงกระบวนการย ุ ติธรรม - แก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้มีความทันสมัยและเป็นธรรม ย.3 การพัฒนากฎหมายและระบบบริหารงาน ยุติธรรม - สร้างมาตรฐานผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทใน กระบวนการยุติธรรมทางเลือก - พัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมเพื่อเพิ่ม ศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ - พัฒนาศักยภาพบุคลากรและเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ด้านกระบวนการยุติธรรม - สนับสน ุ นการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการย ุ ติธรรม ย.4 พัฒนาระบบการปฏิบัติต่อ ผู้กระทําผิด - พัฒนาระบบการจําแนก การควบคุม ตัว และการบําบัดฟื้นฟูผู้กระทํา ความผิดในแต่ละประเภทให้เหมาะสม สอดคล้องกับมาตร ฐำนสากล - พัฒนามาตรการแทนการควบคุมตัว ผู้กระทําความผิดอาญา - สร้างระบบเตรียมความพร้อมก่อน ปล่อยและจัดทําระบบติดตาม สําหรับผู้พ้นโทษ และเด็กเยาวชน ที่กําลังจะครบระยะเวลาการฝึกอบรม ย.5 การขับเคลื่อนกระบวนการ ยุติธรรมด้วยดิจิทัล - พัฒนามาตรการระบบการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยข้อมูล 00 - การช่วยเหลือและเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชน - กระบวนการดําเนินงานที่มีระยะเวลาชัดเจนและไม่ล่าช้า - การพัฒนากลไกการบังคับการตามกฎหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ํา ด้านกระบวนการยุติธรรม - การมีกฎหมายที่ดีและเท่าที่จําเป็น ทันสมัย และสอดคล้องกับสภาพการณ์ของสังคม - การให้บริการของภาครัฐที่สะดวก รวดเร็ว และตอบโจทย์ชีวิตประชาชน - โครงสร้างภาครัฐกะทัดรัด ปรับตัวได้เร็ว และระบบงาน มีผลสัมฤทธิ์สูง - การให้บริการที่โปร่งใส และมีกลไกป้องกันการทุจริตทุกขั้นตอน - การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทํา และพัฒนากฎหมาย - การเข้าถึงและได้รับประโยชน์จากกฎหมาย ที่ง่าย และเสมอภาค ด้านกฎหมาย ด้านการบริหาร ราชการแผ่นดิน - การปรับกระบวนทัศน์ในการบริหารงานยุติธรรมเพื่อสร้างความปลอดภัยและความเป็นธรรมในสังคม - การบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ สังคมแห่งโอกาสและ ความเสมอภาค คนไทยทุกคนมีความคุ้มครอง ทางสังคมที่เพียงพอเหมาะสม ปัจจัยสนับสนุน การพลิกโฉมประเทศ ภาครัฐที่มีสมรรถนะสูง แผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561 - 2580) : มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2569) ย ุ ทธศาสตร์ด้านการปรับสมด ุ ลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครั ฐ - ประชาชนอยู่ดี กินดี และมีความสุข - บ้านเมืองมีความมั่นคงในทุกมิติและทุกระดับ - การบริหารจัดการความมั่นคงมีผลสําเร็จเป็น รูปธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ําในทุกมิติ - วัฒนธรรมการทํางานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม (สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส) - ขนาดที่เล็กลง พร้อมปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง - ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ทุกภาคส่วนมีความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคง ประชาคมระหว่างประเทศชื่นชมและยอมรับบทบาทความมั่นคงของ ประเทศไทย แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) กระบวนการยุติธรรมเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ การปฏิบัติตามและการบังคับ ใช้กฎหมายด้วยความคุ้มค่า ทั่วถึงไม่เลือกปฏิบัติ และ เป็นธรรม กฎหมายไม่เป็น อุปสรรคต่อการ พัฒนาประเทศ แผนย่อยการพัฒนาก ฎ หมาย แผนย่อยการพัฒนากระบวนการ ประชาชนมีส่วน ร่วมในการ พัฒนากฎหมาย การอํานวยความยุติธรรมมีความโปร่งใส สะดวก รวดเร็ว เสมอภาค ทั่วถึง เป็นธรรม และปราศจาก การเลือกปฏิบัติ (22) ด้านก ฎ หมายและกระบวนการย ุ ติธรรม (17) ด้านความเสมอภาคและหลักประกันสังคม แผนย่อยการคุ้มครองทางสังคมขั้นพื้นฐานและหลักประกัน ทางเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ: คนไทยทุกกลุ่มได้รับการ ค ุ ้ มครองและมีหลักประกันทางสังคม แผนย ่ อยการปร ั บสมดุลภาคร ั ฐ: ทุกภาคส ่ วนม ี ส ่ วนร ่ วมในก ิ จการสาธารณ ะ แผนย่อยการพัฒนาระบบบริหารงานภาครั ฐ : ภาครั ฐ มีขีดสมรรถนะส ู งเทียบเท่ามาตร ฐำนสากลและมีความ แผนย่อยการสร้างและพัฒนาบุคลากรภาครัฐ: บุคลากรภาครัฐยึดค่านิยม ในการทํางานเพื่อประชาชน ยึดหลัก คุณธรรม จริยธรรม มีจิตสํานึก มีความสามารถสูง มุ่งมั่น และเป็นมืออาชีพ (20) ด้านการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ แผนย่อยการพัฒนาบริการประชาชน : การให้บริหารภาครั ฐ ที่สามารถอํานวยความสะดวกได้อย่างรวดเร็ว โปร่งใส ( 02 ) ด้านการต่างประเทศ แผนย่อยด้านการพัฒนาที่สอดคล้อง มาตรฐานสากลและพัฒธกรณีระหว่าง ประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 วิสัยทัศน์ “สร้างความร่วมมือในการบริหารงานเพื่อการอํานวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยยึดหลักนิติธรรม” เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 (การสร้างสังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก) การบริหารงานตาม หลักธรรมาภิบาล (16.5-16.6-16.7-1 6.8-16.a ) ความเป็นธรรมตาม สิทธิของประชาชน (16.3-16.9- 16.10-16.b ) การจัดการอาชญากรรม และความความ ปลอดภัยของสังคม ( 16.1-16.2-16.4 ) ภาคผนวก ข ความเชื่อมโยงของแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมชาติ ฉบับที่ 4 กับยุทธศาสตร์และแผนที่เกี่ยวข้อง แผนย่อยการรักษาความสงบภายในประเทศ: ประชาชนมีความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน แผนย่อยการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง: ปัญหาความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้รับการแก้ไข แผนย่อยการพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ : ความพร้อมรับมือ ต่อภัยค ุ กคามท ุ กร ู ปแบบและท ุ กระดับ แผนย่อยการบูรณาการความร่วมมือด้านความมั่นคงกับอาเซียน และนานาชาติรวมทั้งองค์กรภาครัฐและมิใช่ภาครัฐ: ความพร้อม รับมือกับความท้าทายจากภายนอกและมีบทบาทระดับภ ู มิภาค ( 01 ) ด้านความมั่นคง แผนย่อยการพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม : เสริมสร้างกลไกในการแก้ไขปัญหาความมั่นคง ( 11 ) ด้านการปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม แผนย่อยการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และการเสริมสร้างจิตสาธารณะ และการเป็นพลเมืองที่ดี แผนย่อยการใช้การสื่อและสื่อสารมวลชนในการปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมของคนในสังคม (10) การต่อด้านการทุจริตและประพฤติชอบ แผนย่อยการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ มุ่งเน้นการพัฒนาคนพัฒนาระบบ แผนย่อยการปราบปรามการทุจริต มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินงานกลไกที่เกี่ยวข้อง การปราบปรามท ุ จริต (23) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม แผนย่อยการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านสังคม มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของ ประชาชนทุกกลุ่ม ทั้งด้านสุขภาพ การศึกษา และการเข้าถึงบริการและสวัสดิการ ของรั ฐ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2570 (8) การป้องกัน ปราบปรามและแก้ไข ปั ญ หายาเสพติด (10) การป้องกนและแก้ไขปัญหาความมั่นคง ทางไซเบอร์ ประเด็นความมั่นคง (7) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ประเด็นความ ศักยภาพมั่นคง (16) การบูรณา การความมั่นคง
96 ภาคผนวก ค แผนผังความเชื่อมโยงของ แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569)
- ผลักดันให้มีกลไกหรือช่องทางในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่หลากหลายเพื่อเป็นหลักประกันความสามารถในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม - ส่งเสริมนํามิติการพัฒนาหรือกลไกทางสังคมมาใช้ในการป้องกันอาชญากรรม ตามความจําเป็นและเหมาะสมกับคนทุกกลุ่ม - พัฒนาแนวทางการดําเนินงานเพื่อรับมือกับอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอาชญากรรมรูปแบบใหม่ โดยเน้นการจัดการกับสาเหตุที่เป็น รากเหง้า (Root Cause) ของการก่ออาชญากรรม มิติที่ 1 การสร้าง ความเป็นธรรม ตามกฎหมาย มิติที่ 2 การพัฒนากระบวนการ ยุติธรรมตาม มาตรฐานสากล มิติที่ 3 การสร้างเครือข่าย ความร่วมมือ ในการบริหาร งานยุติธรรม สร้าง ความร่วมมือ ในการบริหารงาน เพื่ออํานวยความยุติธรรม อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยยึดหลักนิติธรรม แผนผังความเชื่อมโยงของ (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) วิสัยทัศน์ “สร้างความร่วมมือในการบริหารงานเพื่อการอํานวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยยึดหลักนิติธรรม” - ผลักดันให้มีการทบทวนความจําเป็นและความเหมาะสมของกฎหมายที่มีผลบังคับใช้แล้ว - ส่งเสริมให้มีการปรับปรุง แก้ไข และออกกฎหมายเท่าที่จําเป็น รวมทั้งยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมาย ที่สร้างภาระ หรือก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ําและไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน - พิจารณาความเหมาะสมและผลกระทบจากบทลงโทษที่เหมาะสมสอดคล้องกับประเด็นปัญหา 1. ระดับความสําเร็จของการประเมินผลกระทบของ กฎหมายและการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย เพื่อให้ตอบสนองต่อบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และสอดคล้องกับหลักการหรือมาตรฐานสากล 1. ม ุ ่ งสร้างความเป็นธรรมตามก ฎ หมายให้แก่ประชาชน เป้าหมายภาพรวม 3. พัฒนากระบวนการย ุ ติธรรมให้เป็นไปตามมาตร ฐำนสากล 2. ประสานความร่วมมือในการบริหารงานย ุ ติธรรมให้มีความสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน พันธกิจ เป้าหมายที่ 2 การบริหารงานย ุ ติธรรมมีสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน เป้าหมายที่ 1 ประชาชนได้รับความย ุ ติธรรมอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ตัวชี้วัดภาพรวม ตัวชี้วัดที่ 2 ระดับความสําเร็จของความสอดคล้องในเป้าหมายและการดําเนินงานของหน่วยงานในกระบวนการย ุ ติธรรม ตัวชี้วัดที่ 1 ระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการย ุ ติธรรม - ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพและความเสมอภาคในการบังคับใช้กฎหมาย - รักษาสมดุลระหว่างการบังคับใช้กฎหมายและประโยชน์สาธารณะหรือความต้องการของประชาชน - สนับสนุนให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายนําเทคโนโลยีมาใช้ในการดําเนินการในการบังคับใช้กฎหมาย 1. ระดับความสําเร็จของการมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนและชอบด้วยกฎหมายในการบังคับใช้กฎหมาย (Due process) และรับรู้ร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชน 2. ระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม - สร้างความรู้และการตระหนักถึงความสําคัญของกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมให้แก่ประชาชน ทุกระดับอย่างเหมาะสมและทั่วถึง - ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทําและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และการดําเนินงาน ในกระบวนการยุติธรรม - ส่งเสริมให้มีการเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมายโดยง่าย สะดวก และเอื้อต่อการใช้บริการประชาชน ของประชาชนทุกกลุ่ม - ส่งเสริมค่านิยมในการยอมรับ ค่านิยมในการยอมรับ เคารพและปฏิบัติตามกฎหมายแก่ประชาชน ชุมชน 1. สัดส่วนคดีความในกระบวนการยุติธรรม 2. ระดับการเคารพกฎหมายของประชาชน เป้าหมายที่ 1 การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม ( Inclusive justice) 1. ระดับการเข้าถึง กระบวนการยุติธรรม ของประชาชนอย่าง รวดเร็ว ทั่วถึงและ เท่าเทียม - ผลักดันให้มีการกําหนดรูปแบบการลงโทษที่เหมาะสมกับความผิดและบริบทต่าง ๆ - สนับสนุนให้มีการนํามาตรการเชิงสมานฉันท์หรือมาตรการทางสังคมแทนการลงโทษทางอาญามาใช้ในการดําเนินงานจริงของแต่ละหน่วยงาน - พัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาทในชุมชนให้มีความชัดเจน และสามารถดําเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม 1. ระดับการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางเลือกของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมและประชาชนทั่วไป 2. ร้อยละความสําเร็จของข้อพิพาทและคดีความที่ใช้มาตรการทางเลือกในการยุติข้อพิพาทเพิ่มขึ้น เป้าหมายที่ 3 การสร้างวัฒนธรรมเคารพกฎหมาย เป้าหมายที่ 2 การใช้มาตรการที่หลากหลายในการย ุ ติข้อพิพาท - ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติต่อผู้กระผิดบนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชน - ผลักดันให้มีการกําหนดการแนวทางการลงโทษต่อผู้กระทําผิดที่เหมาะสม - ส่งเสริมแนวทางการแก้ไขพัฒนาผู้กระทําผิดที่มุ่งเน้นการสร้างโอกาสให้ผู้กระทําผิดสามารถดําเนินชีวิตในสังคมปกติได้จริงหลังการปล่อยตัว - สนับสนุนให้ภาคส่วนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในฐานะกลไกในการดูแลช่วยเหลือผู้กระทําผิดที่กลับสู่สังคม - พัฒนาแนวทางการชดเชยเยียวยาแก่ผ ู ้ ที่ได้รับความเสียหายจากกระบวนการย ุ ติธรรม 1. ระดับความสําเร็จของหน่วยงานในการปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดที่สอดคล้องตามกรอบมาตรฐานสากล 2. ร้อยละผู้ถูกจับกุม/ คุมขัง ที่ได้รับการชดเชยเยียวยาภายหลังได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้กระทําความผิด 3. ร้อยละการกระทําผิดซ้ํา เป้าหมายที่ 3 การปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดบนหลักสิทธิมนุษยชน - สร้างกลไกการทํางานในรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือ (Collaborative Network) ระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นรูปธรรม - พัฒนากลไกการทํางานของภาครัฐเชิงบูรณาการและเป็นเอกภาพ - ส่งเสริมการทํางานเชิงเครือข่ายกับทุกภาคส่วนทางสังคม - แสวงหาแนวทางและความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันและแก้ไข อาชญากรรมทุกรูปแบบ 1. ระดับความสําเร็จของการทํางานเชิงเครือข่ายระหว่างหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม 2. ระดับความสําเร็จของการทํางานกับเครือข่ายทางสังคม 3. ร้อยละของจํานวนการเข้าร่วมในกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ เป้าหมายที่ 1 การยกระดับกลไกการทํางานเชิงเครือข่าย - ปฏิรูปหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมให้เป็นองค์การที่ยึดหลักธรรมาภิบาล และดําเนินงานบนพื้นฐานของหลักนิติธรรม - ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทํางานให้มุ่งเน้นความสําเร็จในการอํานวยความยุติธรรม โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-centric) - พัฒนาระบบการทํางานและบริการประชาชนที่เป็นมาตรฐานสากล - พัฒนากลไกการป้องกัน ตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาการทุจริตและการใช้อํานาจในทางมิชอบของบุคลากรในกระบวนการ ยุติธรรม - กําหนดแนวทางเพื่อติดตามและประเมินผลความสําเร็จของการดําเนินงานในกระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจน - ให้ความสําคัญกับงานวิชาการและสนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างการพัฒนากระบวนการด้วยข้อมูลและองค์ความรู้ในการพัฒนา กระบวนการยุติธรรม 1. คะแนนการประเมินคุณธรรม และความโปร่งใสในการ ดําเนินงานของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (ITA) 2. ระดับความพึงพอใจของ ประชาชนต่อการดําเนินงาน ของหน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรม เป้าหมายที่ 2 การบริหารงานยุติธรรมตามหลักธรรมาภิบาล - สนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลและการทํางาน ร่วมกันระหว่างหน่วยงานอย่างเป็นระบบ - ผลักดันให้มีการเปิดเผยข้อมูลการทํางานและเปิด โอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล รวมทั้ง ติดตามความคืบหน้าของข้อมูลคดีของตนเองได้ - ส่งเสริมการนําเทคโนโลยีมาใช้ในการดําเนินงาน ในกระบวนการยุติธรรม 1. ระดับความสําเร็จในการเชื่อมโยงและ ใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกันระหว่าง หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม 2. ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อ ระบบการติดตามความคืบหน้าการ ดําเนินคดีของหน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรม 3. ระดับความสําเร็จในการนําเทคโนโลยีมา ใช้ในการดําเนินงานของกระบวนการ ย ุ ติธรรม เป้าหมายที่ 3 การเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเทคโนโลยี เป้าหมายที่ 1 การมีกฎหมายที่ดี (จําเป็น ทันสมัย สอดคล้องกับบริบทของสังคม) เป้าหมายที่ 2 การบังคับใช้ก ฎ หมายตามเจตนารมณ์
98 ภาคผนวก ง คําอธิบายตัวชี้วัดของ แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569)
99 คําอธิบายตัวชี้วัด แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) จัดเป็นแผนระดับ 3 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยอยู่ภายใต้เป้าหมายและกรอบการดําเนินงานตาม ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ซึ่งเป็นแผนระดับ 1 และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นแผนระดับ 2 และมีความเชื่อมโยงกับ แผนระดับ 3 ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานยุติธรรมฉบับต่าง ๆ ทั้งแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม และแผนปฏิบัติการด้านที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานยุติธรรม ส่งผลให้สถานะของแผน แม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) นับเป็นแผนที่มุ่งกําหนดกรอบ บริหารงานเชิงบูรณาการระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเป็นหลัก เพื่อให้ผลักดันให้เกิด การขับเคลื่อนการบริหารงานยุติธรรมไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีสํานักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลักในการติดตาม และประเมินผลความสําเร็จ ดังนั้นการกําหนดตัวชี้วัด ทั้งในส่วนของตัวชี้วัดภาพรวมและตัวชี้วัดระดับเป้าหมาย ในแต่ละมิติ จึงควรพิจารณาถึงการวัดระดับความสําเร็จของการขับเคลื่อนแผนไปสู่การดําเนินงานของหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรมเป็นหลัก มากกว่ามุ่งวัดผลผลิตจากการดําเนินงานที่ต้องอาศัยการปฏิบัติงานของหน่วย ปฏิบัติแต่ละหน่วยที่รับผิดชอบในการดําเนินงานในแต่ละภารกิจ เพื่อสะท้อนให้เห็นความสําเร็จที่แท้จริงของ แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ โดยการกําหนดตัวชี้วัด จึงเป็นไปในรูปแบบของตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ที่อิงกับค่าเป้าหมายที่มีลักษณะพรรณนาหรือเป็นคําอธิบายถึงเกณฑ์การประเมิน ณ ระดับค่าเป้าหมายต่าง ๆ ที่สะท้อนความหมายหรือความคาดหวังของผลสัมฤทธิ์ของงานจากตัวชี้วัดนั้น ๆ ทั้งนี้ ในบางประเด็น จําเป็นต้องพิจารณาข้อมูลเชิงปริมาณที่สะท้อนให้เห็นความสําเร็จของการดําเนินงานควบคู่ไปด้วยในบางกรณี อย่างไรก็ดี หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมในที่นี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ (1) หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (L1) 13 หมายถึง หน่วยงานที่มีบทบาทภารกิจหน้าที่ของ องค์กรเกี่ยวกับการบริหารภายในกระบวนการยุติธรรมโดยตรง ได้แก่ สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาล ปกครอง สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานอัยการสูงสุด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม สํานักงานป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) สถาบันอนุญาโตตุลาการ เนติบัณฑิตยสภา และสภาทนายความ (2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม หมายถึง หน่วยงานที่มีบทบาทภารกิจบางอย่าง ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ซึ่งครอบคลุมทั้งหน่วยงานอิสระและหน่วยงานในสังกัดกระทรวง ต่าง ๆ 13 การจัดกลุ่มองค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม โดยสํานักงานกิจการยุติธรรม
100 ทั้งนี้ การติดตามผลการขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) ตามตัวชี้วัดที่กําหนด มุ่งเน้นไปสู่การดําเนินงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม เป็นหลัก โดยตัวชี้วัดของแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2569) มีจํานวนทั้งสิ้น 21 ตัวชี้วัด ประกอบด้วยตัวชี้วัดภาพรวม 2 ตัว ได้แก่ 1) ตัวชี้วัดภาพรวมที่ 1 ระดับความ เชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม 2) ตัวชี้วัดภาพรวมที่ 2 ระดับความสําเร็จของความสอดคล้อง ในเป้าหมายและการดําเนินงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม และตัวชี้วัดเป้าหมายใน 3 มิติ 19 ตัว ประกอบด้วย มิติที่ 1 การสร้างความเป็นธรรมตามกฎหมาย 5 ตัวชี้วัด มิติที่ 2 การพัฒนากระบวนการ ยุติธรรมตามมาตรฐานสากล 6 ตัวชี้วัด และมิติที่ 3 การประสานความร่วมมือในการบริหารงานยุติธรรม 8 ตัวชี้วัด โดยมีคําอธิบายตัวชี้วัดและแนวทางการประเมินผลตามตัวชี้วัดต่าง ๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
101 รายละเอียดตัวชี้วัด แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) ชื่อตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย วิธีการจัดเก็บ เกณฑ์การวัด เครื่องมือ เก็บข้อมูล แหล่งข้อมูล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตัวชี้วัดภาพรวม ตัวชี้วัดภาพรวมที่ 1 ระดับ ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ กระบวนการยุติธรรม คะแนนเฉลี่ยระดับความเชื่อมั่น ของประชาชนต่อกระบวนการ ยุติธรรม ในปี พ.ศ. 2569 ที่ ระดับคะแนนเฉลี่ย 4.00 คะแนน การสํารวจข้อมูลภาค ประชาชน (Public Survey: PS) แบบรายปี คะแนนเฉลี่ย แบบสอบถาม ข้อมูลและความคิดเห็น จากประชาชนทั่วไป สํานักงานกิจการยุติธรรม ตัวชี้วัดภาพรวมที่ 2 ระดับ ความสําเร็จของความสอดคล้องใน เป้าหมายและการดําเนินงานของ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 90 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุ ความสําเร็จของการดําเนินงาน ในระดับคะแนนที่ 5 ภายในปี พ.ศ. 2569 การสังเกตและ การประเมินตนเอง (Self – Assessment and Observation : SA+OB) ตามปีงบประมาณ ระดับขั้นของ ความสําเร็จ (Milestone) แบบสัมภาษณ์ รายงานผลการประเมิน ตนเองของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม พร้อมเอกสาร/หลักฐาน ประกอบที่ชัดเจน หน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรม (L1) มิติที่ 1 การสร้างความเป็นธรรมตามกฎหมาย เป้าหมายที่ 1 การมีกฎหมายดี (จําเป็น ทันสมัย สอดคล้องกับบริบทของสังคม) ตัวชี้วัดที่ 1.1 ระดับความสําเร็จของ การประเมินผลกระทบของกฎหมาย และการทบทวนความเหมาะสมของ กฎหมายเพื่อให้ตอบสนองต่อบริบท ของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและ สอดคล้องกับหลักการหรือ มาตรฐานสากล ร้อยละ 90 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุ ความสําเร็จของการดําเนินงาน ในระดับคะแนนที่ 5 ภายในปี พ.ศ. 2569 การสังเกตและ การประเมินตนเอง (Self – Assessment and Observation : SA+OB) ตามปีงบประมาณ ระดับขั้นของ ความสําเร็จ (Milestone) แบบสัมภาษณ์ รายงานผลการประเมิน ตนเองของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม พร้อมเอกสาร/หลักฐาน ประกอบที่ชัดเจน หน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรม (L1)
102 ชื่อตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย วิธีการจัดเก็บ เกณฑ์การวัด เครื่องมือ เก็บข้อมูล แหล่งข้อมูล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป้าหมายที่ 2 การบังคับใช้กฎหมายตามเจตนารมณ์ ตัวชี้วัดที่ 2.1 ระดับความสําเร็จของ การมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนและชอบ ด้วยกฎหมายในการบังคับใช้กฎหมาย (Due process) และรับรู้ร่วมกัน ระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชน ร้อยละ 90 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุ ความสําเร็จของการดําเนินงาน ในระดับคะแนนที่ 5 ภายในปี พ.ศ. 2569 การสังเกตและ การประเมินตนเอง (Self – Assessment and Observation : SA+OB) ตามปีงบประมาณ ระดับขั้นของ ความสําเร็จ (Milestone) แบบสัมภาษณ์ รายงานผลการประเมิน ตนเองของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม พร้อมเอกสาร/หลักฐาน ประกอบที่ชัดเจน หน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรม (L1) ตัวชี้วัดที่ 2.2 ระดับความเชื่อมั่นของ ประชาชนต่อการบังคับใช้กฎหมาย ของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม คะแนนเฉลี่ยระดับความเชื่อมั่น ของประชาชนต่อการบังคับใช้ กฎหมายของเจ้าหน้าที่และ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ในปี พ.ศ. 2569 ที่ระดับ คะแนนเฉลี่ย 4.00 คะแนน การสํารวจข้อมูล ภาคประชาชน (Public Survey: PS) แบบรายปี คะแนนเฉลี่ย แบบสอบถาม ข้อมูลและความคิดเห็น จากประชาชนทั่วไป สํานักงานกิจการยุติธรรม เป้าหมายที่ 3 การสร้างวัฒนธรรมเคารพกฎหมาย ตัวชี้วัดที่ 3.1 สัดส่วนคดีความใน กระบวนการยุติธรรม สัดส่วนคดีความ ในปี พ.ศ. 2569 ลดลงจากปี พ.ศ. 2566 ร้อยละ 15 ต่อประชากร 100,000 คน ข้อมูลสถิติที่เป็น ทางการของหน่วยงาน ราชการ (Administrative Data) ตามปีงบประมาณ ร้อยละ แบบฟอร์ม สอบถามข้อมูล ข้อมูลสถิติการกระทําผิด กฎหมายที่ถูกจัดเก็บไว้ อย่างเป็นทางการใน ฐานข้อมูลของหน่วยงาน สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาลปกครอง ตัวชี้วัดที่ 3.2 ระดับการเคารพ กฎหมายของประชาชน คะแนนเฉลี่ยระดับการเคารพ กฎหมายของประชาชน ในปี พ.ศ. 2569 ที่ระดับคะแนน เฉลี่ย 3.75 คะแนน การสํารวจข้อมูล ภาคประชาชน (Public Survey: PS) แบบรายปี คะแนนเฉลี่ย แบบสอบถาม ข้อมูลและความคิดเห็น จากประชาชนทั่วไป สํานักงานกิจการยุติธรรม
103 ชื่อตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย วิธีการจัดเก็บ เกณฑ์การวัด เครื่องมือ เก็บข้อมูล แหล่งข้อมูล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มิติที่ 2 การพัฒนากระบวนการยุติธรรมตามมาตรฐานสากล เป้าหมายที่ 1 การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม (Inclusive justice) ตัวชี้วัดที่ 1.1 ระดับการเข้าถึง กระบวนการยุติธรรมของประชาชน อย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม คะแนนเฉลี่ยระดับการเข้าถึง กระบวนการยุติธรรมของ ประชาชนอย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และเท่าเทียม ในปี พ.ศ. 2569 ที่ระดับคะแนนเฉลี่ย 3.75 คะแนน การสํารวจข้อมูล ภาคประชาชน (Public Survey: PS) แบบรายปี คะแนนเฉลี่ย แบบสอบถาม ข้อมูลและความคิดเห็น จากประชาชนทั่วไป สํานักงานกิจการยุติธรรม เป้าหมายที่ 2 การใช้มาตรการที่หลากหลายในการยุติข้อพิพาท ตัวชี้วัดที่ 2.1 ระดับการรับรู้และ ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ ยุติธรรมทางเลือกของบุคลากรใน กระบวนการยุติธรรมและประชาชน ทั่วไป คะแนนเฉลี่ยระดับการเข้าถึง กระบวนการยุติธรรมของ ประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่า เทียม ในปี พ.ศ. 2569 ที่ระดับ คะแนนเฉลี่ย 3.75 คะแนน การสํารวจข้อมูล ภาคประชาชน (Public Survey: PS) แบบรายปี คะแนนเฉลี่ย แบบสอบถาม ข้อมูลและความคิดเห็น จากประชาชนทั่วไป สํานักงานกิจการยุติธรรม ตัวชี้วัดที่ 2.2 ร้อยละความสําเร็จ ของข้อพิพาทและคดีความที่ใช้ มาตรการทางเลือกในการยุติข้อ พิพาท ร้อยละความสําเร็จของข้อพิพาท และคดีความที่ใช้มาตรการ ทางเลือกในการยุติข้อพิพาท ในปี พ.ศ. 2569 เพิ่มขึ้นจาก ปี พ.ศ. 2566 ร้อยละ 15 ข้อมูลสถิติที่เป็น ทางการของหน่วยงาน ราชการ (Administrative Data) ตาม ปีงบประมาณ ร้อยละ แบบฟอร์ม สอบถามข้อมูล ข้อมูลข้อพิพาทและคดี ความของประชาชน ที่มีการดําเนินการหรือ การนํามาตรการทางเลือก มาใช้ในการยุติข้อพิพาท ของหน่วยงาน โดย ครอบคลุม ทั้งคดี อาญา คดีแพ่งและพาณิชย์ และ คดีปกครอง สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานอัยการสูงสุด สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาลปกครอง กรมบังคับคดี สํานักงาน คณะกรรมการสิทธิ มนุษยชน ศูนย์ดํารงธรรม กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ศูนย์
10 4 ชื่อตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย วิธีการจัดเก็บ เกณฑ์การวัด เครื่องมือ เก็บข้อมูล แหล่งข้อมูล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สันติวิธี กระทรวง สาธารณสุข สํานักงาน คณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สํานักงาน คณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภค (สคบ.) และ สํานักงานคณะกรรมการ กํากับและส่งเสริมการ ประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เป้าหมายที่ 3 การปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดบนหลักสิทธิมนุษยชน ตัวชี้วัดที่ 3.1 ระดับความสําเร็จของ หน่วยงานในการปฏิบัติต่อผู้กระทํา ผิดที่สอดคล้องตามกรอบ มาตรฐานสากล ร้อยละ 90 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุ ความสําเร็จของการดําเนินงาน ในระดับคะแนนที่ 5 ภายในปี พ.ศ. 2569 การสังเกตและ การประเมินตนเอง (Self – Assessment and Observation : SA+OB) ตาม ปีงบประมาณ ระดับขั้นของ ความสําเร็จ (Milestone) แบบสัมภาษณ์ รายงานผลการประเมิน ตนเองของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม พร้อมเอกสาร/หลักฐาน ประกอบที่ชัดเจน หน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรม (L1) ตัวชี้วัดที่ 3.2 ร้อยละผู้ถูกจับกุม/ ผู้ ถูกคุมขัง ที่ได้รับการชดเชยเยียวยา ภายหลังได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ กระทําความผิด ร้อยละของผู้ถูกจับกุม/ผู้ถูกคุมขัง ที่ได้รับการชดเชยเยียวยาหลัง ได้รับการพิสูจน์ว่าไม่ได้กระทําผิด ร้อยละ 80 ของผู้ถูกจับกุม/ ข้อมูลสถิติที่เป็น ทางการ ของหน่วยงานราชการ (Administrative Data) ร้อยละ แบบฟอร์ม สอบถามข้อมูล ข้อมูลสถิติผู้ถูกจับกุม/ ผู้ถูกคุมขังที่ได้รับการ ชดเชยเยียวยาหลังได้รับ การพิสูจน์ว่าไม่ได้กระทํา กรมคุ้มครองสิทธิและ เสรีภาพ
10 5 ชื่อตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย วิธีการจัดเก็บ เกณฑ์การวัด เครื่องมือ เก็บข้อมูล แหล่งข้อมูล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ถูกคุมขังที่ได้รับการพิสูจน์ว่า ไม่ได้กระทําความผิด ในปี พ.ศ. 2569 ตามปีงบประมาณ ความผิดของสํานักงาน ช่วยเหลือทางการเงินแก่ ผู้เสียหายและจําเลยใน คดีอาญา (สชง.) กรม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ตัวชี้วัดที่ 3.3 ร้อยละการกระทําผิด ซ้ํา ร้อยละของผู้ต้องขังที่ถูกปล่อยตัว ออกจากเรือนจําและกระทํา ความผิดซ้ํา ในปี พ.ศ. 2569 ลดลงจากปี พ.ศ. 2566 ร้อยละ 15 ข้อมูลสถิติที่เป็น ทางการของหน่วยงาน ราชการ (Administrative Data) ตามปีงบประมาณ ร้อยละ แบบฟอร์ม สอบถามข้อมูล ข้อมูลสถิติผู้ต้องขังที่ถูก ปล่อยตัวออกจากเรือนจํา และกระทําความผิดซ้ํา ของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องขัง ผู้ ถูกคุมความประพฤติ และ เด็กและเยาวชน ของ หน่วยงานในกระทรวง ยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ กรมคุม ประพฤติ และ กรมพินิจ และคุ้มครองเด็กและ เยาวชน มิติที่ 3 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารงานยุติธรรม เป้าหมายที่ 1 การยกระดับกลไกการทํางานเชิงเครือข่าย ตัวชี้วัดที่ 1.1 ระดับความสําเร็จของ การทํางานเชิงเครือข่ายระหว่าง หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 90 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุ ความสําเร็จของการดําเนินงาน ในระดับคะแนนที่ 5 ภายในปี พ. ศ. 2569 การสังเกตและ การประเมินตนเอง (Self – Assessment and Observation : SA+OB ) ตามปีงบประมาณ ระดับขั้นของ ความสําเร็จ (Milestone) แบบสัมภาษณ์ รายงานผลการประเมิน ตนเองของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม พร้อมเอกสาร/หลักฐาน ประกอบที่ชัดเจน หน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรม (L1)
106 ชื่อตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย วิธีการจัดเก็บ เกณฑ์การวัด เครื่องมือ เก็บข้อมูล แหล่งข้อมูล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตัวชี้วัดที่ 1.2 ระดับความสําเร็จของ การทํางานกับเครือข่ายภาคสังคม ร้อยละ 90 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุ ความสําเร็จของการดําเนินงาน ในระดับคะแนน ที่ 5 ภายในปี พ.ศ. 2569 การสังเกตและ การประเมินตนเอง (Self – Assessment and Observation : SA+OB) ตามปีงบประมาณ ระดับขั้นของ ความสําเร็จ (Milestone) แบบสัมภาษณ์ รายงานผลการประเมิน ตนเองของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม พร้อมเอกสาร/หลักฐาน ประกอบที่ชัดเจน หน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรม (L1) ตัวชี้วัดที่ 1.3 ร้อยละของจํานวนการ เข้าร่วมในกรอบความร่วมมือระหว่าง ประเทศ ร้อยละของจํานวนการเข้าร่วมใน กรอบความร่วมมือระหว่าง ประเทศ ในปี พ.ศ. 2569 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2566 ร้อย ละ 30 ข้อมูลสถิติที่เป็น ทางการ ของหน่วยงานราชการ (Administrative Data) ตาม ปีงบประมาณ ร้อยละ แบบฟอร์ม สอบถามข้อมูล ข้อมูลการเข้าร่วมใน กรอบความร่วมมือ ระหว่างประเทศของ หน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรม หน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรม (L1) เป้าหมายที่ 2 การบริหารงานยุติธรรมตามหลักธรรมาภิบาล ตัวชี้วัดที่ 2.1 คะแนนการประเมิน คุณธรรมและความโปร่งใสในการ ดําเนินงานของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (ITA) คะแนนเฉลี่ยของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) ไม่ต่ํา กว่าระดับคะแนน 90 ภายในปี พ.ศ. 2569 ข้อมูลสถิติที่เป็น ทางการของหน่วยงาน ราชการ (Administrative Data) ตามปีงบประมาณ คะแนนเฉลี่ย แบบฟอร์ม สอบถามข้อมูล ข้อมูลการประเมิน คุณธรรมและความโปร่ง ใสในการดําเนินงานของ หน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรม (ITA) ของ สํานักงานคณะกรรม-การ ป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป. ช.) หน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรม (L1)
107 ชื่อตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย วิธีการจัดเก็บ เกณฑ์การวัด เครื่องมือ เก็บข้อมูล แหล่งข้อมูล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตัวชี้วัดที่ 2.2 ระดับความพึงพอใจ ของประชาชนต่อการดําเนินงานของ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม คะแนนเฉลี่ยระดับความพึงพอใจ ของประชาชนต่อการดําเนินงาน ของหน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรม ในปี พ.ศ. 2569 ที่ ระดับคะแนนเฉลี่ย 4.00 คะแนน การสํารวจข้อมูลภาค ประชาชน (Public Survey: PS) แบบรายปี คะแนนเฉลี่ย แบบสอบถาม ข้อมูลและความคิดเห็น จากประชาชนทั่วไป สํานักงานกิจการยุติธรรม เป้าหมายที่ 3 การเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเทคโนโลยี ตัวชี้วัดที่ 3.1 ระดับความสําเร็จของ การเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จาก ข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 90 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุ ความสําเร็จของการดําเนินงาน ในระดับคะแนนที่ 5 ภายในปี พ.ศ. 2569 การสังเกตและ การประเมินตนเอง (Self – Assessment and Observation : SA+OB) ตามปีงบประมาณ ระดับขั้น ของ ความสําเร็จ (Milestone) แบบสัมภาษณ์ รายงานผลการประเมิน ตนเองของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม พร้อมเอกสาร/หลักฐาน ประกอบที่ชัดเจน หน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรม (L1) ตัวชี้วัดที่ 3.2 ระดับความพึงพอใจ ของประชาชนต่อระบบการติดตาม ความคืบหน้าการดําเนินคดีของ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ร้อยละของความพึงพอใจของ ประชาชนต่อการเข้าถึงและใช้ บริการจากระบบการติดตาม ความคืบหน้าในการดําเนินคดี (Tracking) ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม ในปี พ.ศ. 2569 เพิ่มขึ้น จากปี พ.ศ. 2566 ร้อยละ 15 ข้อมูลสถิติที่เป็น ทางการ ของหน่วยงานราชการ (Administrative Data) ตามปีงบประมาณ ร้อยละ แบบฟอร์ม สอบถามข้อมูล ข้อมูลและความคิดเห็น จากประชาชนที่เข้ามารับ บริการในระบบติดตาม ข้อมูลคดี (Tracking) ของ หน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรม สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานอัยการสูงสุด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
108 ชื่อตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย วิธีการจัดเก็บ เกณฑ์การวัด เครื่องมือ เก็บข้อมูล แหล่งข้อมูล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตัวชี้วัดที่ 3.3 ระดับความสําเร็จของ การนําเทคโนโลยีมาใช้ในการ ดําเนินงานของกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 90 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุ ความสําเร็จของการดําเนินงาน ในระดับคะแนนที่ 5 ภายในปี พ.ศ. 2569 การสังเกตและ การประเมินตนเอง (Self – Assessment and Observation : SA+OB) ตามปีงบประมาณ ระดับขั้นของ ความสําเร็จ (Milestone) แบบสัมภาษณ์ รายงานผลการประเมิน ตนเองของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม พร้อมเอกสาร/หลักฐาน ประกอบที่ชัดเจน หน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรม (L1) รวมทั้งหมด 21 ตัวชี้วัด
109 1. ตัวชี้วัดภาพรวม จํานวน 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดภาพรวมที่ 1 ระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม คําอธิบายตัวชี้วัด: ความคิด ความรู้สึก และการแสดงออกที่สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจ หรือ ความไว้วางใจที่ประชาชนมีต่อขั้นตอน วิธีการ การดําเนินงานโดยองค์กร และบุคลากรที่มีอํานาจตามกฎหมาย ในการดําเนินการเพื่อให้ยุติข้อพิพาทหรือความขัดแย้ง หรือการกระทําที่ส่งผลเสียหายต่อบุคคลอื่นและสังคม ด้วยความเป็นธรรม ตั้งแต่การสืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริง การฟ้องคดีต่อศาล (ในคดีอาญา) การพิจารณาพิพากษา และกระบวนการในชั้นบังคับคดี รวมทั้งการดําเนินงานเพื่ออํานวยความยุติธรรมตาม สิทธิพื้นฐานที่ประชาชนพึงได้รับ หน่วยวัด: คะแนนเฉลี่ย ค่าเป้าหมาย (รายปี): คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ในแต่ละปีที่ระดับคะแนนเฉลี่ย จากคะแนนเต็ม 5.00 คะแนน ดังนี้ พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2569 3.25 คะแนน 3.50 คะแนน 3.75 คะแนน 4.00 คะแนน หมายเหตุ กําหนดระดับค่าเป้าหมายจากผลการประเมินความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม ในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งมีการสํารวจข้อมูลจากผลการดําเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) ค่าเป้าหมาย: คะแนนเฉลี่ยระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม ในปี พ.ศ. 2569 ที่ระดับคะแนนเฉลี่ย 4.00 คะแนน แหล่งข้อมูล: ข้อมูลและความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไป วิธีการจัดเก็บข้อมูล: การสํารวจข้อมูลภาคประชาชน (Public Survey: PS) แบบรายปี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: สํานักงานกิจการยุติธรรม
110 ตัวชี้วัดภาพรวมที่ 2 ระดับความสําเร็จของความสอดคล้องในเป้าหมายและการดําเนินงานของ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม คําอธิบายตัวชี้วัด: การมีเป้าหมายและแนวทางการดําเนินงานในแผนปฏิบัติราชการ หรือแผนงาน ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งการดําเนินงานร่วมกันหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรมรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่ชัดเจน ตลอดจนมีความสอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทาง การดําเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566-2569) หน่วยวัด: ระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) เกณฑ์การประเมิน: กําหนดเป็นระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) แบ่งเกณฑ์การให้คะแนน เป็น 5 ระดับ พิจารณาจากความก้าวหน้าของขั้นตอนการดําเนินงานตามเป้าหมายแต่ละระดับดังนี้ ระดับคะแนน ระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนที่ 5 1 2 3 4 5 หมายเหตุ การสรุปผลการประเมินตนเองของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมให้พิจารณาร้อยละในแต่ละ ระดับความสําเร็จในการดําเนินงานตามเกณฑ์ของหน่วยงาน เพื่อสะท้อนภาพรวมระดับ ความสําเร็จของการบริหารงานยุติธรรมตามตัวชี้วัด ขั้นตอน รายละเอียดการดําเนินงาน 1 หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม มีการรับรู้และนําแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรม แห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) มาพิจารณาเป็นกรอบในการกําหนดเป้าหมาย และแนวทางการดําเนินงานของหน่วยงาน โดยอาจปรากฏในรูปแบบของการประชุมหรือ เอกสารอย่างเป็นทางการ 2 หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม มีเป้าหมายและแนวทางการดําเนินงานสอดคล้องกัน ตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) โดย ปรากฏในแผนปฏิบัติราชการ หรือแผนงานของหน่วยงานที่ชัดเจน 3 หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม มีการดําเนินงานหรือการกําหนดโครงการสําคัญตาม แนวทางที่สอดคล้องแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) อย่างเป็นรูปธรรม 4 หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม มีผลการดําเนินงานตามเป้าหมายที่สอดคล้องกับ แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) อย่างเป็น รูปธรรม 5 หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม มีการจัดเก็บข้อมูลหรือการรายงานผลการดําเนินงาน ตามเป้าหมายที่สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) อย่างเป็นรูปธรรม
111 ค่าเป้าหมาย (รายปี): ร้อยละของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุระดับขั้นของ ความสําเร็จในระดับคะแนนที่ 5 ดังนี้ พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2569 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 3 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 4 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 5 ร้อยละ 90 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 5 ค่าเป้าหมาย: ร้อยละ 90 ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จของ การดําเนินงานในระดับคะแนนที่ 5 ภายในปี พ.ศ. 2569 แหล่งข้อมูล: รายงานผลการประเมินตนเองของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม พร้อมเอกสาร/ หลักฐานประกอบที่ชัดเจน วิธีการจัดเก็บข้อมูล: การสังเกตและการประเมินตนเอง (Self – Assessment and Observation : SA+OB) ตามปีงบประมาณ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาลปกครอง สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานอัยการสูงสุด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่ง ประเทศไทย (TIJ) สถาบันอนุญาโตตุลาการ เนติบัณฑิตยสภา และสภาทนายความ
112 2. ตัวชี้วัดเป้าหมายในมิติที่ 1 การสร้างความเป็นธรรมตามกฎหมาย เป้าหมายที่ 1 การมีกฎหมายดี (จําเป็น ทันสมัย สอดคล้องกับบริบทของสังคม ) จํานวน 1 ตัวชี้วัด ได้แก่ ระดับความสําเร็จของการประเมินผลกระทบของกฎหมายและการทบทวน ความเหมาะสมของกฎหมายเพื่อให้ตอบสนองต่อบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและสอดคล้องกับ หลักการหรือมาตรฐานสากล คําอธิบายตัวชี้วัด: การปรับปรุง แก้ไข และออกกฎหมายเท่าที่จําเป็นและเป็นประโยชน์ต่อประชาชน รวมทั้งยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่สร้างภาระ หรือก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ําและไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน โดยพิจารณาจากสถานการณ์ปัญหา และบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อมุ่งให้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ที่เป็นประโยชน์ในการอํานวยความยุติธรรมของประชาชนในสังคมได้อย่างแท้จริง หน่วยวัด: ระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) เกณฑ์การประเมิน: กําหนดเป็นระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) แบ่งเกณฑ์การให้คะแนน เป็น 5 ระดับ พิจารณาจากความก้าวหน้าของขั้นตอนการดําเนินงานตามเป้าหมายแต่ละระดับดังนี้ ระดับคะแนน ระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนที่ 5 1 2 3 4 5 หมายเหตุ การสรุปผลการประเมินตนเองของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมให้พิจารณาร้อยละในแต่ละ ระดับความสําเร็จในการดําเนินงานตามเกณฑ์ของหน่วยงาน เพื่อสะท้อนภาพรวมระดับ ความสําเร็จของการบริหารงานยุติธรรมตามตัวชี้วัด ขั้นตอน รายละเอียดการดําเนินงาน 1 มีแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม เพื่อทบทวนความเหมาะสม หรือประเมินผลกระทบ ของกฎหมายอย่างชัดเจน 2 มีการพิจารณา/ คัดเลือกกฎหมายที่จะนํามาทบทวนความเหมาะสม หรือประเมิน ผลกระทบของกฎหมาย โดยอาจอยู่ในรูปแบบของคณะกรรมการ คณะทํางาน หรือการ มอบหมายให้ส่วนงานใดส่วนงานหนึ่งรับผิดชอบ 3 มีการกําหนดขั้นตอนหรือวิธีการทบทวนความเหมาะสม หรือประเมินผลกระทบของ กฎหมายตามที่กําหนด เพื่อเป็นแนวทางการดําเนินงานที่ชัดเจน 4 มีการดําเนินการตามขั้นตอนหรือวิธีการทบทวนความเหมาะสม หรือประเมินผลกระทบ ของกฎหมายตามที่กําหนดอย่างเป็นรูปธรรม 5 มีการเสนอผลทบทวนความเหมาะสม หรือประเมินผลกระทบของกฎหมาย เพื่อนําไปสู่ ปรับปรุงแก้ไข หรือการออกกฎหมาย หรือการยกเลิกกฎหมาย ต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ ต่อไป
113 ค่าเป้าหมาย (รายปี): ร้อยละของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุระดับขั้นของ ความสําเร็จในระดับคะแนนที่ 5 ดังนี้ พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2569 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 3 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 4 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 5 ร้อยละ 90 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 5 ค่าเป้าหมาย: ร้อยละ 90 ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จของ การดําเนินงานในระดับคะแนนที่ 5 ภายในปี พ.ศ. 2569 แหล่งข้อมูล: รายงานผลการประเมินตนเองของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม พร้อมเอกสาร/ หลักฐานประกอบที่ชัดเจน วิธีการจัดเก็บข้อมูล: การสังเกตและการประเมินตนเอง (Self – Assessment and Observation : SA+OB) ตามปีงบประมาณ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาลปกครอง สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานอัยการสูงสุด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่ง ประเทศไทย (TIJ) สถาบันอนุญาโตตุลาการ เนติบัณฑิตยสภา และสภาทนายความ
11 4 เป้าหมายที่ 2 การบังคับใช้กฎหมายตามเจตนารมณ์ จํานวน 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 1 ระดับความสําเร็จของการมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนและชอบด้วยกฎหมายในการบังคับใช้ กฎหมาย (Due process) และรับรู้ร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชน คําอธิบายตัวชี้วัด: การมีแนวทาง ขั้นตอน และข้อปฏิบัติที่ชัดเจน ในการดําเนินการเพื่อบังคับใช้ กฎหมายในลักษณะต่าง ๆ ต่อประชาชน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายรับทราบเพื่อเป็นแนวทาง ในการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างชัดเจน ตลอดจนมีการสื่อสารให้ประชาชนรับรู้ถึงแนวปฏิบัติดังกล่าวเพื่อเป็น หลักประกันในการได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันจากผู้บังคับใช้กฎหมาย หน่วยวัด: ระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) เกณฑ์การประเมิน: กําหนดเป็นระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) แบ่งเกณฑ์การให้คะแนน เป็น 5 ระดับ พิจารณาจากความก้าวหน้าของขั้นตอนการดําเนินงานตามเป้าหมายแต่ละระดับดังนี้ ระดับคะแนน ระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนที่ 5 1 2 3 4 5 หมายเหตุ การสรุปผลการประเมินตนเองของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมให้พิจารณาร้อยละในแต่ละ ระดับความสําเร็จในการดําเนินงานตามเกณฑ์ของหน่วยงาน เพื่อสะท้อนภาพรวมระดับ ความสําเร็จของการบริหารงานยุติธรรมตามตัวชี้วัด ขั้นตอน รายละเอียดการดําเนินงาน 1 มีกลไก หรือระบบในการพิจารณาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกําหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ในการบังคับใช้กฎหมาย (Due Process) โดยอาจอยู่ในรูปแบบของคณะกรรมการ คณะทํางาน หรือการมอบหมายให้ส่วนงานใดส่วนงานหนึ่งรับผิดชอบ 2 มีการจัดทําแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมาย (Due Process) 3 มีการเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมาย (Due Process) ให้รับทราบ โดยทั่วกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4 มีการเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมาย (Due Process) ให้ประชาชน ทั่วไปรับทราบ 5 มีการกํากับและติดตามผลการดําเนินงานตามแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมาย (Due process) ของเจ้าหน้าที่ เพื่อนํามาใช้ในการปรับปรุงพัฒนากลไกต่อไป
11 5 ค่าเป้าหมาย (รายปี): ร้อยละของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุระดับขั้นของ ความสําเร็จในระดับคะแนนที่ 5 ดังนี้ พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2569 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 3 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 4 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 5 ร้อยละ 90 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 5 ค่าเป้าหมาย: ร้อยละ 90 ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จของ การดําเนินงานในระดับคะแนนที่ 5 ภายในปี พ.ศ. 2569 แหล่งข้อมูล: รายงานผลการประเมินตนเองของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม พร้อมเอกสาร/ หลักฐานประกอบที่ชัดเจน วิธีการจัดเก็บข้อมูล: การสังเกตและการประเมินตนเอง (Self – Assessment and Observation : SA+OB) ตามปีงบประมาณ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาลปกครอง สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานอัยการสูงสุด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่ง ประเทศไทย (TIJ) สถาบันอนุญาโตตุลาการ เนติบัณฑิตยสภา และสภาทนายความ
116 ตัวชี้วัดที่ 2 ระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่และหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรม คําอธิบายตัวชี้วัด: ความคิด ความรู้สึก และการแสดงออกที่สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจ หรือ ความไว้วางใจที่ประชาชนมีต่อขั้นตอน วิธีการ และการดําเนินงานของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่มีอํานาจตาม กฎหมาย ในการดําเนินการเพื่อกํากับควบคุมพฤติกรรมของประชาชนตามแนวปฏิบัติที่กําหนดไว้ในกฎหมาย หน่วยวัด: คะแนนเฉลี่ย ค่าเป้าหมาย (รายปี): คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ในแต่ละปีที่ระดับคะแนนเฉลี่ย จากคะแนนเต็ม 5.00 คะแนน ดังนี้ พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2569 3.25 คะแนน 3.50 คะแนน 3.75 คะแนน 4.00 คะแนน หมายเหตุ กําหนดระดับค่าเป้าหมายจากผลการประเมินความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม ในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งมีการสํารวจข้อมูลจากผลการดําเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) ค่าเป้าหมาย: คะแนนเฉลี่ยระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ในปี พ.ศ. 2569 ที่ระดับคะแนนเฉลี่ย 4.00 คะแนน แหล่งข้อมูล: ข้อมูลและความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไป วิธีการจัดเก็บข้อมูล: การสํารวจข้อมูลภาคประชาชน (Public Survey: PS) แบบรายปี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: สํานักงานกิจการยุติธรรม
117 เป้าหมายที่ 3 การสร้างวัฒนธรรมเคารพกฎหมาย จํานวน 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 1 สัดส่วนคดีความในกระบวนการยุติธรรม คําอธิบายตัวชี้วัด: ข้อมูลการกระทําผิดกฎหมายของประชาชนที่มีการบันทึกข้อมูลอย่างเป็นทางการ ของหน่วยงานราชการ โดยครอบคลุมทั้งคดีอาญา คดีแพ่งและพาณิชย์ และคดีปกครอง หน่วยวัด: ร้อยละที่ลดลง สูตรการคํานวณ หมายเหตุ 1 . ใช้ปีงบประมาณเป็นกรอบในการคํานวณ 2. จํานวนคดีความ ตามข้อมูลที่เป็นทางการของหน่วยงานราชการ โดยครอบคลุมทั้งคดีอาญา คดี แพ่งและพาณิชย์ และคดีปกครอง ค่าเป้าหมาย (รายปี): สัดส่วนคดีความลดลง โดยมีระดับร้อยละ ดังนี้ พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2569 สัดส่วนคดีความลดลง จากปีก่อน ร้อยละ 5 ต่อประชากร 100,000 คน สัดส่วนคดีความลดลง จากปีก่อน ร้อยละ 5 ต่อประชากร 100,000 คน สัดส่วนคดีความลดลง จากปีก่อน ร้อยละ 5 ต่อประชากร 100,000 คน สัดส่วนคดีความลดลง จากปีก่อน ร้อยละ 5 ต่อประชากร 100,000 คน ค่าเป้าหมาย: สัดส่วนคดีความ ในปี พ.ศ. 2569 ลดลงจากปี พ.ศ. 2566 ร้อยละ 15 ต่อประชากร 100,000 คน แหล่งข้อมูล: ข้อมูลสถิติการกระทําผิดกฎหมายที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นทางการในฐานข้อมูลของหน่วยงาน ได้แก่ 1) จํานวนคดีอาญา จากฐานข้อมูลของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ และสํานักงานศาลยุติธรรม 2) จํานวนคดีแพ่งและพาณิชย์ จากฐานข้อมูลของสํานักงานศาลยุติธรรม 3) จํานวนคดีปกครอง จากฐานข้อมูลของสํานักงานศาลปกครอง วิธีการเก็บข้อมูล: ข้อมูลสถิติที่เป็นทางการของหน่วยงานราชการ (Administrative Data) ตามปีงบประมาณ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาลปกครอง (จํานวนคดีความปีปัจจุบัน – จํานวนคดีความในปีก่อน) * 100 จํานวนคดีความในปีก่อน
118 ตัวชี้วัดที่ 2 ระดับการเคารพกฎหมายของประชาชน คําอธิบายตัวชี้วัด ความรู้และความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับกฎหมาย และขั้นตอนการดําเนินงาน ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนความคิดเห็นของประชาชนที่สะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติและ พฤติกรรมที่เป็นไปตามแนวปฏิบัติตามข้อกฎหมาย และกฎระเบียบของสังคมในรูปแบบต่าง ๆ หน่วยวัด: คะแนนเฉลี่ย ค่าเป้าหมาย (รายปี): คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ในแต่ละปีที่ระดับคะแนนเฉลี่ย จากคะแนนเต็ม 5.00 คะแนน ดังนี้ พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2569 3.00 คะแนน 3.25 คะแนน 3.50 คะแนน 3.75 คะแนน หมายเหตุ กําหนดระดับค่าเป้าหมายจากผลการประเมินความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ของประชาชน ซึ่งมีการสํารวจข้อมูลเพื่อติดตามผลการดําเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารงาน ยุติธรรม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565) ในปี พ.ศ. 2564 ค่าเป้าหมาย: คะแนนเฉลี่ยระดับการเคารพกฎหมายของประชาชน ในปี พ.ศ. 2569 ที่ระดับคะแนน เฉลี่ย 3.75 คะแนน แหล่งข้อมูล: ข้อมูลและความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไป วิธีการจัดเก็บข้อมูล: การสํารวจข้อมูลภาคประชาชน (Public Survey: PS) แบบรายปี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: สํานักงานกิจการยุติธรรม
119 3. ตัวชี้วัดเป้าหมายในมิติที่ 2 การพัฒนากระบวนการยุติธรรมตามมาตรฐานสากล เป้าหมายที่ 1 การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม (Inclusive justice) จํานวน 1 ตัวชี้วัด ได้แก่ ระดับการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนอย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและ เท่าเทียม คําอธิบายตัวชี้วัด: ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิพื้นฐาน ขั้นตอนการดําเนินงานของหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งช่องทางและวิธีการในการเข้าถึงและได้รับประโยชน์จากการดําเนินงานของ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนความสามารถในการเข้าถึงและได้รับประโยชน์จากการดําเนินงาน ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมในทุกขั้นตอนของประชาชนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่ถูกเลือก ปฏิบัติ และสอดคล้องกับความจําเป็นหรือปัญหาของประชาชนในบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป หน่วยวัด: คะแนนเฉลี่ย ค่าเป้าหมาย (รายปี): คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ในแต่ละปีที่ระดับคะแนนเฉลี่ย จากคะแนนเต็ม 5.00 คะแนน ดังนี้ พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2569 3.00 คะแนน 3.25 คะแนน 3.50 คะแนน 3.75 คะแนน หมายเหตุ กําหนดระดับค่าเป้าหมายจากผลการประเมินความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ของประชาชน ซึ่งมีการสํารวจข้อมูลเพื่อติดตามผลการดําเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารงาน ยุติธรรม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2562 – 2565) ในปี พ.ศ. 2564 ค่าเป้าหมาย: คะแนนเฉลี่ยระดับการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนอย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และเท่าเทียม ในปี พ.ศ. 2569 ที่ระดับคะแนนเฉลี่ย 3.75 คะแนน แหล่งข้อมูล: ข้อมูลและความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไป วิธีการจัดเก็บข้อมูล: การสํารวจข้อมูลภาคประชาชน (Public Survey: PS) แบบรายปี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: สํานักงานกิจการยุติธรรม
120 เป้าหมายที่ 2 การใช้มาตรการที่หลากหลายในการยุติข้อพิพาท จํานวน 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 1 ระดับการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางเลือกของบุคลากร ในกระบวนการยุติธรรมและประชาชนทั่วไป คําอธิบายตัวชี้วัด: ระดับการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด ความหมาย และรูปแบบของ กระบวนการยุติธรรมทางเลือกในรูปแบบต่าง ๆ ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนประโยชน์ ที่เกิดจากการนํารูปแบบกระบวนการยุติธรรมทางเลือกมาใช้แทนการดําเนินการทางการบังคับโทษทาง กฎหมายหรือโทษทางอาญาแบบดั้งเดิม โดยพิจารณาทั้งระดับการรับรู้และความเข้าใจของบุคลากรใน กระบวนการยุติธรรมและประชาชนทั่วไป หน่วยวัด: คะแนนเฉลี่ย ค่าเป้าหมาย (รายปี): คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ในแต่ละปีที่ระดับคะแนนเฉลี่ย จากคะแนนเต็ม 5.00 คะแนน ดังนี้ พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2569 3.00 คะแนน 3.25 คะแนน 3.50 คะแนน 3.75 คะแนน ค่าเป้าหมาย: คะแนนเฉลี่ยระดับการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางเลือกของ บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมและประชาชนทั่วไป ในปี พ.ศ. 2569 ที่ระดับคะแนนเฉลี่ย 3.75 คะแนน แหล่งข้อมูล: ข้อมูลและความคิดเห็นจากบุคลากรในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมและประชาชนทั่วไป วิธีการจัดเก็บข้อมูล: การสํารวจข้อมูลภาคประชาชน (Public Survey: PS) แบบรายปี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: สํานักงานกิจการยุติธรรม
121 ตัวชี้วัดที่ 2 ร้อยละความสําเร็จของข้อพิพาทและคดีความที่ใช้มาตรการทางเลือกในการยุติข้อพิพาท คําอธิบายตัวชี้วัด: ข้อพิพาทและคดีความของประชาชนที่มีการดําเนินการหรือการนํามาตรการใด ๆ ที่ใช้สําหรับแสวงหาความยุติธรรมที่มีรูปแบบการปฏิบัตินอกเหนือจากกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก อาทิ การไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาทในขั้นตอนก่อนการดําเนินคดี ระหว่างดําเนินคดี และหลังการดําเนินคดี โดยครอบคลุมทั้งคดีอาญา คดีแพ่งและพาณิชย์ และคดีปกครอง ตลอดจนมาตรการทางเลือกอื่นที่นําไปสู่ การยุติข้อพิพาทและความขัดแย้งของคู่กรณีโดยสมานฉันท์ หน่วยวัด: ร้อยละ สูตรการคํานวณ หมายเหตุ 1. ใช้ปีงบประมาณเป็นกรอบในการคํานวณ 2. จํานวนคดี/ข้อพิพาทตามข้อมูลที่เป็นทางการของหน่วยงานราชการ โดยครอบคลุม ทั้งข้อ พิพาททางอาญา ทางแพ่งและพาณิชย์ และทางปกครอง และเป็นคดี/ข้อพิพาท ที่ไกล่เกลี่ย/มาตรการทางเลือก อื่นสําเร็จ ค่าเป้าหมาย (รายปี): ร้อยละของระดับความสําเร็จ ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยมีระดับร้อยละ ดังนี้ พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2569 เพิ่มขึ้น จากปีก่อน ร้อยละ 5 เพิ่มขึ้น จากปีก่อน ร้อยละ 5 เพิ่มขึ้น จากปีก่อน ร้อยละ 5 เพิ่มขึ้น จากปีก่อน ร้อยละ 5 ค่าเป้าหมาย: ร้อยละความสําเร็จของข้อพิพาทและคดีความที่ใช้มาตรการทางเลือกในการยุติข้อพิพาท ในปี พ.ศ. 2569 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2566 ร้อยละ 15 แหล่งข้อมูล: ข้อมูลข้อพิพาทและคดีความของประชาชนที่มีการดําเนินการหรือการนํามาตรการทางเลือก มาใช้ในการยุติข้อพิพาทของหน่วยงาน โดยครอบคลุมทั้งคดีอาญา คดีแพ่งและพาณิชย์ และคดีปกครอง ได้แก่ 1) หน่วยงานที่รับผิดชอบการยุติข้อพิพาทในขั้นตอนก่อนการดําเนินคดี 2) หน่วยงานที่รับผิดชอบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในขั้นตอนระหว่างการดําเนินคดี วิธีการเก็บข้อมูล: ข้อมูลสถิติที่เป็นทางการของหน่วยงานราชการ (Administrative Data) ตามปีงบประมาณ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานอัยการสูงสุด สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาลปกครอง กรมบังคับคดี สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ศูนย์ดํารงธรรม กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ศูนย์สันติวิธี กระทรวงสาธารณสุข สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ร้อยละความสําเร็จของข้อพิพาทและคดีความที่ใช้มาตรการทางเลือกในการยุติข้อพิพาทของปีปัจจุบัน - ร้อยละความสําเร็จของข้อพิพาทและคดีความที่ใช้มาตรการทางเลือกในการยุติข้อพิพาทของปีก่อน
122 เป้าหมายที่ 3 การปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดบนหลักสิทธิมนุษยชน จํานวน 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 1 ระดับความสําเร็จของหน่วยงานในการปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดที่สอดคล้องตามกรอบ มาตรฐานสากล คําอธิบายตัวชี้วัด: หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมมีกลไกเพื่อคุ้มครองผู้ต้องหา จําเลย ผู้ต้องขัง เด็กและเยาวชนที่กระทําผิด และผู้ถูกคุมประพฤติ เพื่อให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีมาตรการปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดที่เหมาะสมบนพื้นฐานของสิทธิตามกฎหมายและเป็นไปตามมาตรฐานสากล ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ชั้นสอบสวน ชั้นอัยการ ชั้นศาล และการควบคุมตัวตามอํานาจของแต่ละหน่วยงาน หน่วยวัด: ระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) เกณฑ์การประเมิน: กําหนดเป็นระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) แบ่งเกณฑ์การให้คะแนน เป็น 5 ระดับ พิจารณาจากความก้าวหน้าของขั้นตอนการดําเนินงานตามเป้าหมายแต่ละระดับดังนี้ ระดับคะแนน ระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนที่ 5 1 2 3 4 5 หมายเหตุ การสรุปผลการประเมินตนเองของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมให้พิจารณาร้อยละในแต่ละ ระดับความสําเร็จในการดําเนินงานตามเกณฑ์ของหน่วยงาน เพื่อสะท้อนภาพรวมระดับ ความสําเร็จของการบริหารงานยุติธรรมตามตัวชี้วัด ขั้นตอน รายละเอียดการดําเนินงาน 1 มีกลไกในการกําหนดแนวปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดที่สอดคล้องตามสิทธิของผู้กระทําผิดหรือ กรอบมาตรฐานขั้นต่ําในการปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดโดยอาจอยู่ในรูปแบบของคณะกรรมการ คณะทํางาน หรือการมอบหมายให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งรับผิดชอบ 2 มีการปรับระเบียบ ข้อกฎหมาย หรือรูปแบบการทํางานของหน่วยงาน เพื่อให้สอดคล้อง หรือเอื้อต่อการดําเนินงานตามแนวปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดที่สอดคล้องตามสิทธิของผู้กระทําผิด หรือกรอบมาตรฐานขั้นต่ําในการปฏิบัติต่อผู้กระทําผิด เพื่อสร้างการรับรู้และเข้าใจให้แก่ ผู้ปฏิบัติงานโดยทั่วกัน 3 มีการดําเนินงานตามแนวปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดที่สอดคล้องตามสิทธิของผู้กระทําผิดหรือ กรอบมาตรฐานขั้นต่ําในการปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดตามที่กําหนดอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม 4 มีกลไก เครื่องมือ หรือแนวทางการกํากับติดตามและประเมินผลการปฏิบัติต่อผู้กระทําผิด ที่สอดคล้องตามสิทธิของผู้กระทําผิดหรือกรอบมาตรฐานขั้นต่ําในการปฏิบัติต่อผู้กระทําผิด 5 มีผลการประเมินในเรื่องการปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดที่ผ่านตามเกณฑ์ตัวชี้วัดกรอบ มาตรฐานสากลด้านมาตรฐานขั้นต่ําในการปฏิบัติต่อผู้กระทําผิด
123 ค่าเป้าหมาย (รายปี): ร้อยละของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุระดับขั้นของ ความสําเร็จในระดับคะแนนที่ 5 ดังนี้ พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2569 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 3 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 4 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 5 ร้อยละ 90 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 5 ค่าเป้าหมาย: ร้อยละ 90 ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จของ การดําเนินงานในระดับคะแนนที่ 5 ภายในปี พ.ศ. 2569 แหล่งข้อมูล: รายงานผลการประเมินตนเองของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม พร้อมเอกสาร/ หลักฐานประกอบที่ชัดเจน วิธีการจัดเก็บข้อมูล: การสังเกตและการประเมินตนเอง (Self – Assessment and Observation : SA+OB) ตามปีงบประมาณ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาลปกครอง สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานอัยการสูงสุด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่ง ประเทศไทย (TIJ) สถาบันอนุญาโตตุลาการ เนติบัณฑิตยสภา และสภาทนายความ
12 4 ตัวชี้วัดที่ 2 ร้อยละผู้ถูกจับกุม/ ผู้ถูกคุมขัง ที่ได้รับการชดเชยเยียวยาภายหลังได้รับการพิสูจน์ แล้วว่าไม่ได้กระทําความผิด คําอธิบายตัวชี้วัด: ข้อมูลผู้ถูกจับกุม/ ผู้ถูกคุมขัง โดยที่ไม่ได้กระทําความผิด และได้รับการพิสูจน์ ตรวจสอบแล้วว่าไม่ได้กระทําความผิด ได้รับการชดเชยเยียวยาจากภาครัฐอย่างเหมาะสม หน่วยวัด: ร้อยละที่เพิ่มขึ้น สูตรการคํานวณ หมายเหตุ 1 . ใช้ปีงบประมาณเป็นกรอบในการคํานวณ 2. จํานวนผู้ถูกจับกุม/ ผู้ถูกคุมขังที่ยื่นเรื่อขอรับการชดเชยเยียวยาหลังได้รับการพิสูจน์ว่าไม่ได้กระทํา ความผิดตามข้อมูลที่เป็นทางการของหน่วยงานราชการ โดยให้ถือเฉพาะผู้ที่ผ่านการพิจารณาว่ามี คุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดเท่านั้น เกณฑ์การให้คะแนน: ร้อยละ ค่าเป้าหมาย (รายปี): ร้อยละของผู้ถูกจับกุม/ ผู้ถูกคุมขังที่ได้รับการชดเชยเยียวยาหลังได้รับการพิสูจน์ ว่าไม่ได้กระทําผิด ดังนี้ พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2569 ร้อยละ 65 ร้อยละ 70 ร้อยละ 75 ร้อยละ 80 ค่าเป้าหมาย: ร้อยละของผู้ถูกจับกุม/ ผู้ถูกคุมขังที่ได้รับการชดเชยเยียวยาหลังได้รับการพิสูจน์ว่าไม่ได้ กระทําผิด ร้อยละ 80 ของผู้ถูกจับกุม/ ผู้ถูกคุมขังที่ได้รับการพิสูจน์ว่าไม่ได้กระทําความผิด ในปี พ.ศ. 2569 แหล่งข้อมูล: ข้อมูลสถิติผู้ถูกจับกุม/ ผู้ถูกคุมขัง ที่ได้รับการชดเชยเยียวยาหลังได้รับการพิสูจน์ว่าไม่ได้ กระทําความผิดของสํานักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญา (สชง.) กรมคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพ วิธีการเก็บข้อมูล: ข้อมูลสถิติที่เป็นทางการของหน่วยงานราชการ (Administrative Data) ตามปีงบประมาณ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ (จํานวนผู้ถูกจับกุม/ ผู้ถูกคุมขังที่ได้รับการชดเชยเยียวยาหลังได้รับการพิสูจน์ว่าไม่ได้กระทําความผิด) * 100
12 5 ตัวชี้วัดที่ 3 ร้อยละการกระทําผิดซ้ํา คําอธิบายตัวชี้วัด: ข้อมูลสถิติของผู้ต้องขังที่ได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจําและกระทําผิดซ้ํา หน่วยวัด: ร้อยละที่ลดลง หมายเหตุ 1. ใช้ปีงบประมาณเป็นกรอบในการคํานวณ 2. จํานวนผู้กระทําผิดซ้ํา หมายถึง ผู้ต้องขัง ผู้ถูกคุมประพฤติ และเด็กและเยาวชนที่ถูกปล่อยตัว แล้วกลับมากระทําผิดซ้ํา และกลับเข้าสู่ระบบของกรมราชทัณฑ์ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน หรือ กรมคุมประพฤติอีกครั้งหนึ่ง ภายในระยะเวลา 1 ปี 3. คํานวนแยกแต่ละหน่วยงาน ได้แก่ กรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติ และกรมพินิจและคุ้มครอง เด็กและเยาวชน ค่าเป้าหมาย (รายปี): ร้อยละของผู้กระทําผิดซ้ํา มีจํานวนลดลง จากปีก่อน โดยมีระดับร้อยละ ดังนี้ พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2569 ลดลง จากปีก่อน ร้อยละ 5 ลดลง จากปีก่อน ร้อยละ 5 ลดลง จากปีก่อน ร้อยละ 5 ลดลง จากปีก่อน ร้อยละ 5 ค่าเป้าหมาย: ร้อยละของผู้ต้องขังที่ถูกปล่อยตัวออกจากเรือนจําและกระทําความผิดซ้ํา ในปี พ.ศ. 2569 ลดลงจากปี พ.ศ. 2566 ร้อยละ 15 แหล่งข้อมูล: ข้อมูลสถิติผู้ต้องขังที่ถูกปล่อยตัวออกจากเรือนจําและกระทําความผิดซ้ําของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องขัง ผู้ถูกคุมความประพฤติ และเด็กและเยาวชน ของหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรม วิธีการเก็บข้อมูล: ข้อมูลสถิติที่เป็นทางการของหน่วยงานราชการ (Administrative Data) ตามปีงบประมาณ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: กรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติ และกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน (จํานวนผู้กระทําผิดซ้ํา - จํานวนผู้กระทําผิดซ้ําของปีก่อน) * 100 จํานวนผ ู ้ กระทําผิดซ้ําของปีก่อน
126 4. ตัวชี้วัดเป้าหมายในมิติที่ 3 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารงานยุติธรรม เป้าหมายที่ 1 การยกระดับกลไกการทํางานเชิงเครือข่าย จํานวน 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 1 ระดับความสําเร็จของการทํางานเชิงเครือข่ายระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม คําอธิบายตัวชี้วัด: หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมมีเป้าหมายและกลไกในการดําเนินงานเชิงเครือข่าย การทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน (Intergovernmental Network) เพื่อให้ทุกหน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรมมีบทบาทเชิงรุกร่วมกันในทุกขั้นตอนของการแสวงหาความจริง ตลอดจนความร่วมมือกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมอื่น เพื่อร่วมดําเนินการในการอํานวยความยุติธรรมตามสิทธิให้แก่ประชาชน ในทิศทางเดียวกัน ด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกันบนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชน หน่วยวัด: ระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) เกณฑ์การประเมิน: กําหนดเป็นระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) แบ่งเกณฑ์การให้คะแนน เป็น 5 ระดับ พิจารณาจากความก้าวหน้าของขั้นตอนการดําเนินงานตามเป้าหมายแต่ละระดับดังนี้ ระดับคะแนน ระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนที่ 5 1 2 3 4 5 หมายเหตุ การสรุปผลการประเมินตนเองของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมให้พิจารณาร้อยละในแต่ละ ระดับความสําเร็จในการดําเนินงานตามเกณฑ์ของหน่วยงาน เพื่อสะท้อนภาพรวมระดับความสําเร็จ ของการบริหารงานยุติธรรมตามตัวชี้วัด ขั้นตอน รายละเอียดการดําเนินงาน 1 มีการติดต่อประสานงาน (Coordination) กับหน่วยงานอื่น เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือ การปฏิบัติงานภายใต้ขอบเขตพันธกิจของหน่วยงาน 2 มีความร่วมมือในการทํางาน (Co-operation) ระหว่างหน่วยงานในภารกิจหรืองานใด งานหนึ่งที่ชัดเจน บนพื้นฐานขอบเขตความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานในลักษณะ ของเครือข่ายความร่วมมือที่ดี โดยอาจอยู่ในรูปแบบของการจัดทําข้อตกลงร่วมกัน (MOU) หรือการจัดทําโครงการ กิจกรรม ร่วมกัน 3 มีการสร้างความร่วมมืออย่างต่อเนื่องระหว่างหน่วยงานในภารกิจหรืองานใดงานหนึ่ง ที่ชัดเจน และนําไปสู่การดําเนินการในภารกิจหลักของหน่วยงาน 4 มีการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานให้เกิดผลงานอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกัน (Collaboration) โดยมีการกําหนดเป้าหมายความสําเร็จ แนวทางการดําเนินงาน และ การจัดสรรทรัพยากร ร่วมกัน เพื่อนําไปสู่ขับเคลื่อนการดําเนินงานเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย ดังกล่าว ในลักษณะของพันธมิตร (Partners)
127 ขั้นตอน รายละเอียดการดําเนินงาน 5 มีผลงาน หรือผลความสําเร็จอย่างเป็นรูปธรรมที่เกิดจากการประสานความร่วมมือระหว่าง หน่วยงานให้เกิดผลงานอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกัน (Collaboration) ระหว่างหน่วยงาน ค่าเป้าหมาย (รายปี): ร้อยละของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุระดับขั้นของ ความสําเร็จในระดับคะแนนที่ 5 ดังนี้ พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2569 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 3 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 4 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 5 ร้อยละ 90 ของ หน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 5 ค่าเป้าหมาย: ร้อยละ 90 ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จของ การดําเนินงานในระดับคะแนนที่ 5 ภายในปี พ.ศ. 2569 แหล่งข้อมูล: รายงานผลการประเมินตนเองของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม พร้อมเอกสาร/ หลักฐานประกอบที่ชัดเจน วิธีการจัดเก็บข้อมูล: การสังเกตและการประเมินตนเอง (Self – Assessment and Observation : SA+OB) ตามปีงบประมาณ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาลปกครอง สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานอัยการสูงสุด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่ง ประเทศไทย (TIJ) สถาบันอนุญาโตตุลาการ เนติบัณฑิตยสภา และสภาทนายความ
128 ตัวชี้วัดที่ 2 ระดับความสําเร็จของการทํางานกับเครือข่ายภาคสังคม คําอธิบายตัวชี้วัด: การสร้างและดําเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมและภาคี เครือข่ายทางสังคม ทั้งภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา และขับเคลื่อนความยุติธรรมให้แก่สังคม เพื่อเป็นการรับประกันการอํานวยความยุติธรรมตามสิทธิให้แก่ประชาชน ด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกันบนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชน หน่วยวัด: ระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) เกณฑ์การประเมิน: กําหนดเป็นระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) แบ่งเกณฑ์การให้คะแนน เป็น 5 ระดับ พิจารณาจากความก้าวหน้าของขั้นตอนการดําเนินงานตามเป้าหมายแต่ละระดับดังนี้ ระดับคะแนน ระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนที่ 5 1 2 3 4 5 หมายเหตุ การสรุปผลการประเมินตนเองของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมให้พิจารณาร้อยละในแต่ละ ระดับความสําเร็จในการดําเนินงานตามเกณฑ์ของหน่วยงาน เพื่อสะท้อนภาพรวมระดับ ความสําเร็จของการบริหารงานยุติธรรมตามตัวชี้วัด ขั้นตอน รายละเอียดการดําเนินงาน 1 มีการสร้างการรับรู้ให้แก่ภาคส่วนทางสังคม ทั้งภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาค ประชาชน เกี่ยวกับแผนงานหรือการดําเนินงานของหน่วยงานอย่างชัดเจน 2 มีการเปิดโอกาสให้ภาคส่วนทางสังคม ทั้งภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อแผนงานหรือการดําเนินงานของหน่วยงาน อย่างชัดเจน 3 มีการเปิดโอกาสให้ภาคส่วนทางสังคม ทั้งภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณา หรือตัดสินใจ หรือกําหนดแผนการดําเนินงานร่วมกับ หน่วยงานอย่างชัดเจน 4 มีการเปิดโอกาสให้ภาคส่วนทางสังคม ทั้งภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดําเนินงานร่วมกับหน่วยงานอย่างชัดเจน โดยอาจเป็นการเข้าร่วม ปฏิบัติงานในบางขั้นตอนของหน่วยงาน หรือการเข้าร่วมดําเนินโครงการของหน่วยงานภาครัฐ หรือการดําเนินงานในรูปแบบภาคเครือข่ายภาคประชาชนในภารกิจของหน่วยงานภาครัฐ 5 มีการเปิดโอกาสให้ภาคส่วนทางสังคม ทั้งภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานของหน่วยงานอย่างชัดเจน
129 ค่าเป้าหมาย (รายปี): ร้อยละของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุระดับขั้นของ ความสําเร็จในระดับคะแนนที่ 5 ดังนี้ พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2569 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 3 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 4 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 5 ร้อยละ 90 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 5 ค่าเป้าหมาย: ร้อยละ 90 ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จของ การดําเนินงานในระดับคะแนนที่ 5 ภายในปี พ.ศ. 2569 แหล่งข้อมูล: รายงานผลการประเมินตนเองของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม พร้อมเอกสาร/ หลักฐานประกอบที่ชัดเจน วิธีการจัดเก็บข้อมูล: การสังเกตและการประเมินตนเอง (Self – Assessment and Observation : SA+OB) ตามปีงบประมาณ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาลปกครอง สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานอัยการสูงสุด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่ง ประเทศไทย (TIJ) สถาบันอนุญาโตตุลาการ เนติบัณฑิตยสภา และสภาทนายความ
130 ตัวชี้วัดที่ 3 ร้อยละของจํานวนการเข้าร่วมในกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ คําอธิบายตัวชี้วัด: การเข้าร่วมในการประชุมระหว่างประเทศ หรือการเป็นสมาชิกองค์กรระหว่าง ประเทศ หรือการร่วมลงนามในข้อตกลงตามกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม เพื่อนํามาเป็นกรอบในการดําเนินงานและการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมของประเทศตามมาตรฐานสากล หน่วยวัด: ร้อยละ สูตรการคํานวณ หมายเหตุ 1 . ใช้ปีงบประมาณเป็นกรอบในการคํานวณ 2. จํานวนการเข้าร่วมในกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศตามข้อมูลที่เป็นทางการของหน่วยงาน ราชการ ค่าเป้าหมาย (รายปี): ร้อยละที่เพิ่มขึ้น จากปีก่อน โดยมีระดับร้อยละ ดังนี้ พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2569 เพิ่มขึ้น จากปีก่อน ร้อยละ 10 เพิ่มขึ้น จากปีก่อน ร้อยละ 10 เพิ่มขึ้น จากปีก่อน ร้อยละ 10 เพิ่มขึ้น จากปีก่อน ร้อยละ 10 ค่าเป้าหมาย: ร้อยละของจํานวนการเข้าร่วมในกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2569 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2566 ร้อยละ 30 แหล่งข้อมูล: ข้อมูลการเข้าร่วมในกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม วิธีการเก็บข้อมูล: ข้อมูลสถิติที่เป็นทางการของหน่วยงานราชการ (Administrative Data) ตาม ปีงบประมาณ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาลปกครอง สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานอัยการสูงสุด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่ง ประเทศไทย (TIJ) สถาบันอนุญาโตตุลาการ เนติบัณฑิตยสภา และสภาทนายความ (จํานวนการเข้าร่วมในกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ - จํานวนการเข้าร่วมในกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศในปีก่อน) * 100 จํานวนการเข้าร่วมในกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศในปีก่อน
131 เป้าหมายที่ 2 การบริหารงานยุติธรรมตามหลักธรรมาภิบาล จํานวน 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 1 คะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรม (ITA) คําอธิบายตัวชี้วัด: ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรม ในประเด็นเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ การใช้งบประมาณ การใช้อํานาจ การใช้ทรัพย์สิน ของราชการ การแก้ไขปัญหาการทุจริต คุณภาพการดําเนินงาน ประสิทธิภาพการสื่อสาร การปรับปรุงระบบ การทํางาน การเปิดเผยข้อมูล และการป้องกันการทุจริต หน่วยวัด: คะแนนเฉลี่ย เกณฑ์การให้คะแนน: ค่าเป้าหมาย (รายปี): กําหนดเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (L1) ไม่ต่ํากว่า ระดับ ดังนี้ ค่าเป้าหมาย: คะแนนเฉลี่ยของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (L1) ไม่ต่ํากว่าระดับคะแนน 90 ภายในปี พ.ศ. 2569 แหล่งข้อมูล: ข้อมูลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรม (ITA) ของสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) วิธีการเก็บข้อมูล: ข้อมูลสถิติที่เป็นทางการของหน่วยงานราชการ (Administrative Data) ตาม ปีงบประมาณ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาลปกครอง สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานอัยการสูงสุด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่ง ประเทศไทย (TIJ) สถาบันอนุญาโตตุลาการ เนติบัณฑิตยสภา และสภาทนายความ พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2569 75 80 85 90
132 ตัวชี้วัดที่ 2 ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการดําเนินงานของหน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรม คําอธิบายตัวชี้วัด: ความพึงพอใจของประชาชนต่อการดําเนินการของหน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรม เพื่อยุติข้อพิพาทหรือความขัดแย้ง หรือการกระทําที่ส่งผลเสียหายต่อบุคคลอื่นและสังคมในแต่ละ ขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งการดําเนินงานเพื่ออํานวยความยุติธรรมตามสิทธิพื้นฐานที่ประชาชน พึงได้รับ หน่วยวัด: คะแนนเฉลี่ย ค่าเป้าหมาย (รายปี): คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ในแต่ละปีที่ระดับคะแนนเฉลี่ย ดังนี้ พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2569 3.25 คะแนน 3.50 คะแนน 3.75 คะแนน 4.00 คะแนน หมายเหตุ กําหนดระดับค่าเป้าหมายจากผลการประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีการสํารวจข้อมูลเพื่อติดตามผลการดําเนินงานตามแผน แม่บทการบริหารงาน ยุติธรรม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2562 – 2565) ในปี พ.ศ. 2564 ค่าเป้าหมาย: คะแนนเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการดําเนินงานของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม ในปี พ.ศ. 2569 ที่ระดับคะแนนเฉลี่ย 4.00 คะแนน แหล่งข้อมูล: ข้อมูลและความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไป วิธีการจัดเก็บข้อมูล: การสํารวจข้อมูลภาคประชาชน (Public Survey: PS) แบบรายปี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: สํานักงานกิจการยุติธรรม
133 เป้าหมายที่ 3 การเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเทคโนโลยี จํานวน 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 1 ระดับความสําเร็จของการเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกันระหว่าง หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม คําอธิบายตัวชี้วัด: ความสามารถในการเข้าถึงหรือใช้ประโยชน์จากข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรม โดยพิจารณาจากระดับขั้นความสําเร็จในการวางแผน การกําหนดกลไกหรือ แนวทางการพัฒนาระบบ ตลอดจนการเปิดให้หน่วยงานอื่นเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลระหว่าง หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมได้ หน่วยวัด: ระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) เกณฑ์การประเมิน: กําหนดเป็นระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) แบ่งเกณฑ์การให้คะแนน เป็น 5 ระดับ พิจารณาจากความก้าวหน้าของขั้นตอนการดําเนินงานตามเป้าหมายแต่ละระดับดังนี้ ระดับคะแนน ระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนที่ 5 1 2 3 4 5 หมายเหตุ การสรุปผลการประเมินตนเองของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมให้พิจารณาร้อยละในแต่ละ ระดับความสําเร็จในการดําเนินงานตามเกณฑ์ของหน่วยงาน เพื่อสะท้อนภาพรวมระดับ ความสําเร็จของการบริหารงานยุติธรรมตามตัวชี้วัด ขั้นตอน รายละเอียดการดําเนินงาน 1 มีระบบฐานข้อมูลกลางของหน่วยงานที่มีคุณภาพ โดยพิจารณาจากความถูกต้อง ครบถ้วน และความทันสมัยเป็นปัจจุบันของข้อมูล 2 มีการดําเนินการ หรือการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนและใช้ประโยชน์จาก ข้อมูลระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม 3 มีกลไก การดําเนินการ หรือการสนับสนุนส่งเสริมให้หน่วยงานอื่นในกระบวนการยุติธรรม เข้าถึงใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลของหน่วยงานได้ 4 มีการสร้างหรือพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงานอื่นใน กระบวนการยุติธรรม เพื่อเข้าถึงและใช้ประโยชน์ร่วมกัน 5 มีการสร้าง/ พัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันของหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรม
13 4 ค่าเป้าหมาย (รายปี): ร้อยละของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุระดับขั้นของ ความสําเร็จในระดับคะแนนที่ 5 ดังนี้ พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2569 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 3 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 4 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 5 ร้อยละ 90 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 5 ค่าเป้าหมาย: ร้อยละ 90 ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จของ การดําเนินงานในระดับคะแนนที่ 5 ภายในปี พ.ศ. 2569 แหล่งข้อมูล: รายงานผลการประเมินตนเองของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม พร้อมเอกสาร/ หลักฐานประกอบที่ชัดเจน วิธีการจัดเก็บข้อมูล: การสังเกตและการประเมินตนเอง (Self – Assessment and Observation : SA+OB) ตามปีงบประมาณ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาลปกครอง สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานอัยการสูงสุด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่ง ประเทศไทย (TIJ) สถาบันอนุญาโตตุลาการ เนติบัณฑิตยสภา และสภาทนายความ
13 5 ตัวชี้วัดที่ 2 ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อระบบการติดตามความคืบหน้าการดําเนินคดี ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม คําอธิบายตัวชี้วัด: ความพึงพอใจของประชาชนต่อการเข้าถึงและใช้บริการจากระบบการติดตาม ความคืบหน้าในการดําเนินคดี (Tracking) ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม หน่วยวัด: ร้อยละที่เพิ่มขึ้น ค่าเป้าหมาย (รายปี): ร้อยละที่เพิ่มขึ้น จากปีก่อน โดยมีระดับร้อยละ ดังนี้ พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2569 เพิ่มขึ้น จากปีก่อน ร้อยละ 5 เพิ่มขึ้น จากปีก่อน ร้อยละ 5 เพิ่มขึ้น จากปีก่อน ร้อยละ 5 เพิ่มขึ้น จากปีก่อน ร้อยละ 5 ค่าเป้าหมาย: ร้อยละของความพึงพอใจของประชาชนต่อการเข้าถึงและใช้บริการจากระบบการติดตาม ความคืบหน้าในการดําเนินคดี (Tracking) ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ในปี พ.ศ. 2569 เพิ่มขึ้น จากปี พ.ศ. 2566 ร้อยละ 15 แหล่งข้อมูล: ข้อมูลและความคิดเห็นจากประชาชนที่เข้ามารับบริการในระบบติดตามข้อมูลคดี (Tracking) ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม วิธีการจัดเก็บข้อมูล: ข้อมูลสถิติที่เป็นทางการของหน่วยงานราชการ (Administrative Data) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานอัยการสูงสุด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
136 ตัวชี้วัดที่ 3 ระดับความสําเร็จของการนําเทคโนโลยีมาใช้ในการดําเนินงานของกระบวนการยุติธรรม คําอธิบายตัวชี้วัด: การนําเทคโนโลยี หรือเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการดําเนินงานในขั้นตอนต่าง ๆ หรือภารกิจต่าง ๆ ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และสร้าง ความสะดวก โปร่งใส ในการให้บริการแก่ประชาชน หน่วยวัด: ระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) เกณฑ์การประเมิน: กําหนดเป็นระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) แบ่งเกณฑ์การให้คะแนน เป็น 5 ระดับ พิจารณาจากความก้าวหน้าของขั้นตอนการดําเนินงานตามเป้าหมายแต่ละระดับดังนี้ ระดับคะแนน ระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนที่ 5 1 2 3 4 5 หมายเหตุ การสรุปผลการประเมินตนเองของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมให้พิจารณาร้อยละในแต่ละ ระดับความสําเร็จในการดําเนินงานตามเกณฑ์ของหน่วยงาน เพื่อสะท้อนภาพรวมระดับ ความสําเร็จของการบริหารงานยุติธรรมตามตัวชี้วัด ขั้นตอน รายละเอียดการดําเนินงาน 1 มีแผนงานหรือกลไกในการกําหนดแนวทางการนําเทคโนโลยีมาใช้ในการดําเนินงานของ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม โดยอาจอยู่ในรูปแบบของคณะกรรมการ คณะทํางาน หรือการมอบหมายให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งรับผิดชอบ 2 มีการดําเนินการ หรือการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดทางการนําเทคโนโลยีมาใช้ใน การดําเนินงานของหน่วยงานที่ชัดเจน 3 มีผลลัพธ์ในการทํางานที่มีประสิทธิภาพ หรือการทํางานที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จากการดําเนินการ หรือการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดทางการนําเทคโนโลยีมาใช้ ในการดําเนินงานของหน่วยงานที่ชัดเจน 4 มีการดําเนินการร่วมกัน หรือใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเดียวกันร่วมกับหน่วยงานอื่น ในกระบวนการยุติธรรม 5 มีผลลัพธ์ในการทํางานที่มีประสิทธิภาพ หรือการทํางานที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จากการดําเนินการร่วมกัน หรือใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเดียวกันร่วมกับหน่วยงานอื่น ในกระบวนการยุติธรรม
137 ค่าเป้าหมาย (รายปี): ร้อยละของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุระดับขั้นของ ความสําเร็จในระดับคะแนนที่ 5 ดังนี้ พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2569 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 3 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 4 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 5 ร้อยละ 90 ของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จ ของการดําเนินงานใน ระดับคะแนนที่ 5 ค่าเป้าหมาย: ร้อยละ 90 ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (L1) บรรลุความสําเร็จของการ ดําเนินงานในระดับคะแนนที่ 5 ภายในปี พ.ศ. 2569 แหล่งข้อมูล: รายงานผลการประเมินตนเองของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม พร้อมเอกสาร/ หลักฐานประกอบที่ชัดเจน วิธีการจัดเก็บข้อมูล: การสังเกตและการประเมินตนเอง (Self – Assessment and Observation : SA+OB) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาลปกครอง สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานอัยการสูงสุด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่ง ประเทศไทย (TIJ) สถาบันอนุญาโตตุลาการ เนติบัณฑิตยสภา และสภาทนายความ
ภาคผนวก จ ข้อมูลโครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องและสนับสนุนมิติการบริหาร เป้าหมายและแนวทางการดําเนินงานตาม แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569)
139 สรุปข้อมูลโครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องและสนับสนุนมิติการบริหาร เป้าหมายและแนวทางการดําเนินงานตาม แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) มิติที่ 1 การสร้างความเป็นธรรมตามกฎหมาย รวม 38 โครงการ/กิจกรรม เป้าหมาย/แนวทางการดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม หน่วยงาน รับผิดชอบ ระยะเวลาดําเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ.) 2566 2567 2568 2569 เป้าหมายที่ 1 การมีกฎหมายดี (จําเป็น ทันสมัย สอดคล้องกับบริบทของสังคม) แนวทางการดําเนินงานที่ 1 ผลักดันให้มีการทบทวนความจําเป็น และความเหมาะสมของกฎหมายที่มี ผลบังคับใช้แล้ว การบังคับใช้และประเมินผลสัมฤทธิ์ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา ( ฉบับที่ ..) พ.ศ. … (เพิ่มเกณฑ์อายุเด็กในกรณีที่ เด็กกระทําความผิดอาญา) ยธ. สกธ. (สวพ.) โครงการประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยพ.ศ. 2550 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทําร่าง กฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มท. (ปภ.) โครงการทบทวนปรับปรุงเพิ่มเติมคู่มือกฎหมายของ บช.ตชด. สตช. (ตชด.) แนวทางการดําเนินงานที่ 2 ส่งเสริมให้มีการปรับปรุง แก้ไข และ ออกกฎหมายเท่าที่จําเป็น รวมทั้ง ยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่สร้าง ภาระหรือก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ํา และไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน การพัฒนากฎหมายกระทรวงยุติธรรม ยธ. สป.ยธ. โครงการขับเคลื่อนการดําเนินงานตามร่างพระราชบัญญัติป้องกันและ ปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. … ยธ. กคส. ( กสป.) โครงการจัดทําแผนการเสนอร่างกฎหมายและแผนงานพัฒนากฎหมาย ระยะ 1 ปี สคก. การตรวจสอบความจําเป็นในการตรากฎหมายและศึกษาแนวทางการบังคับ ใช้กฎหมายเพื่อป้องกันการกระทําความผิดซ้ําของผู้กระทําความผิด อุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง ยธ. สกธ. (สวพ.)
140 เป้าหมาย/แนวทางการดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม หน่วยงาน รับผิดชอบ ระยะเวลาดําเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ.) 2566 2567 2568 2569 การพัฒนา ปรับปรุง และแก้ไขกฎหมายให้มีความทันสมัยและมี มาตรฐานสากล ยธ. กบค. โครงการส่งเสริมการดําเนินงานตามร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. … ยธ. กคส. (กสป.) โครงการขับเคลื่อนอนุบัญญัติเพื่อรองรับร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทน ผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … ยธ. กคส. (สชง.) โครงการ “ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษหรือ อนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง” ยธ. กสพ. (กกม.) โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นการพัฒนากฎหมาย คุ้มครองแรงงานนอกระบบ รง. (กสร.) แนวทางการดําเนินงานที่ 3 พิจารณาความเหมาะสมและ ผลกระทบจากบทลงโทษที่ เหมาะสมสอดคล้องกับประเด็น ปัญหา โครงการพัฒนาและขับเคลื่อนระบบงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา การค้าประเวณี สค. เป้าหมายที่ 2 การบังคับใช้กฎหมายตามเจตนารมณ์ แนวทางการดําเนินงานที่ 1 ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพและ ความเสมอภาคในการบังคับใช้ กฎหมาย โครงการพัฒนามาตรฐานการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ ยธ. กสพ. ( กพน.) โครงการสร้างการรับรู้ความเข้าใจภารกิจขององค์กร เพื่อป้องกันและแจ้ งเตือนภัยอาชญากรรมพิเศษ ยธ. กสพ. (สลก.)
141 เป้าหมาย/แนวทางการดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม หน่วยงาน รับผิดชอบ ระยะเวลาดําเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ.) 2566 2567 2568 2569 ตรวจสถานประกอบการที่เสี่ยงต่อการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับแรงงาน ขัดหนี้ และการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน รง. (กสร.) การตรวจแรงงานในระบบ รง. (กสร.) แนวทางการดําเนินงานที่ 2 รักษาสมดุลระหว่างการบังคับใช้ กฎหมายและประโยชน์สาธารณะ หรือความต้องการของประชาชน การประเมินผลกระทบการบังคับใช้กฎหมาย และการติดตาม การบังคับใช้กฎหมาย ยธ. และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง โครงการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม รง. (สปส.) แนวทาง การดําเนินงานที่ 3 สนับสนุนให้หน่วยงานบังคับใช้ กฎหมายนําเทคโนโลยีมาใช้ในการ ดําเนินการในการบังคับใช้กฎหมาย โครงการสํารวจความเชื่อมั่นสาธารณชนต่อการดําเนินงานของ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ยธ. กสพ. (กพน.) โครงการนําอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้เพื่อเป็นมาตรการ ทางเลือกแทนการลงโทษจําคุก ยธ. คป. เป้าหมายที่ 3 การสร้างวัฒนธรรมเคารพกฎหมาย แนวทางการดําเนินงานที่ 1 สร้างความรู้และการตระหนักถึง ความสําคัญของสิทธิและหน้าที่ ตามกฎหมายและกระบวนการ ยุติธรรมให้แก่ประชาชนทุกระดับ อย่างเหมาะสมและทั่วถึง การขับเคลื่อนมาตรการในการป้องกันอาชญากรรม ตามมติ คณะรัฐมนตรี ยธ. สกธ. (กนป.) การขับเคลื่อนแนวทางการเผยแพร่กฎหมาย และสร้างการรับรู้ให้แก่ ประชาชนและหน่วยงานของรัฐ ยธ. สกธ. (สสอ.) โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับพระราชบัญญัติล้มละลาย ด้านการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ยธ. กบค. โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านสิทธิมนุษยชนในสังคม ยธ. กคส. (กสส.)
142 เป้าหมาย/แนวทางการดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม หน่วยงาน รับผิดชอบ ระยะเวลาดําเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ.) 2566 2567 2568 2569 โครงการเสริมสร้างความรู้กฎหมายด้านการบังคับคดีแพ่ง การบังคับคดี ล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และกฎหมายในชีวิตประจําวัน ยธ. กบค. โครงการสร้างเสริมองค์ความรู้ และพัฒนางานกฎหมาย เพื่อพัฒนา กระบวนการยุติธรรมในทุกมิติ ยธ. สกธ. (สวพ.) โครงการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ประมวลกฎหมายยาเสพติด ยธ. ป.ป.ส. โครงการสร้างการรับรู้กฎหมายด้านกฎหมายบังคับคดี โดย นักประชาสัมพันธ์เชิงรุก ยธ. กบค. แผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจําปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 กปส. โครงการ “ ระบบการศึกษากฎหมายและสิทธิหน้าที่สําหรับพลเมืองยุคใหม่ อิเล็กทรอนิกส์” อส. โครงการอัยการเพื่อสังคม อส. โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม อส. แนวทางการดําเนินงานที่ 2 ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน กระบวน การจัดทํา และปรับปรุง แก้ไขกฎหมายและการดําเนินงานใน กระบวนการยุติธรรม โครงการเครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณ ยธ. กบค . แนวทางการดําเนินงานที่ 3 ส่งเสริมให้มีการเข้าถึงความ ช่วยเหลือทางกฎหมายโดยง่าย โครงการอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน เคลื่อนที่ ( Mobile Office) สร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม อส.
143 เป้าหมาย/แนวทางการดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม หน่วยงาน รับผิดชอบ ระยะเวลาดําเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ.) 2566 2567 2568 2569 สะดวกและไม่เป็นภาระแก่ ประชาชนเกินกว่าความจําเป็น แนวทางการดําเนินงานที่ 4 ส่งเสริมค่านิยมในการยอมรับ เคารพ และปฏิบัติตามกฎหมายแก่ ประชาชนชุมชน และสังคม การปลูกฝังจิตสํานึกเกี่ยวกับหน้าที่ ความมีระเบียบวินัยและวินัยพลเมือง ยธ. มท. ศธ. และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมวัฒนธรรมสังคมเคารพกฎหมาย ยธ. มท. ศธ. รง. ดศ. มท. และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง หมายเหตุ : โครงการ/กิจกรรมที่มีความสอดคล้องตามแผนปฏิรูปประเทศที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม
14 4 มิติที่ 2 การพัฒนากระบวนการยุติธรรมตามมาตรฐานสากล รวม 50 โครงการ/กิจกรรม เป้าหมาย/แนวทางการดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม หน่วยงาน รับผิดชอบ ระยะเวลาดําเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ.) 2566 2567 2568 2569 เป้าหมายที่ 1 การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม (Inclusive justice) แนวทางการดําเนินงานที่ 1 ผลักดันให้มีกลไกหรือช่องทางในการ เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่ หลากหลายเพื่อเป็นหลัก ประกัน ความสามารถในการเข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม โครงการการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ด้วยกลไกสิทธิ เสรีภาพและสิทธิมนุษยชน ยธ. กคส. (สคพ.) กองทุนยุติธรรม ยธ. สป.ยธ. โครงการเร่งรัดผลักดันทรัพย์สินเพื่อเสริมสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของ ประเทศ ยธ. กบค. โครงการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย สภาทนายฯ โครงการทนายความอาสาประจําสถานีตํารวจ สภาทนายฯ โครงการปฏิรูปทนายความอาสา ทนายความขอแรง และที่ปรึกษากฎหมาย ของเด็กและเยาวชน สภาทนายฯ ยุติธรรมเคลื่อนที่ของสํานักงานยุติธรรมจังหวัด ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ยธ. สป.ยธ. โครงการศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรมเคลื่อนที่ ยธ. สป.ยธ. โครงการประชาสัมพันธ์เชิงรุกส่งเสริมภารกิจด้านการบังคับคดี ยธ. กบค. โครงการบูรณาการงานพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพสู่ภาคประชาชน ยธ. กคส. (กพส.) โครงการร้องทุกข์เป็นสุขถึงบ้าน ยธ. กคส. (กพส.)
14 5 เป้าหมาย/แนวทางการดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม หน่วยงาน รับผิดชอบ ระยะเวลาดําเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ.) 2566 2567 2568 2569 โครงการส่งเสริมหลักนิติธรรมและยกระดับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ในประเทศไทยและภูมิภาค สอดคล้องตามมาตรฐานและบรรทัดฐานของ สหประชาชาติ ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา TIJ การรับและวินิจฉัยคําร้องกรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการตามมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 7) พ . ศ . 2562 รง . ( กสร .) การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิพื้นฐานและการอํานวยความ ยุติธรรมทางปกครองของศาลปกครองให้กับประชาชน ศป. การจัดบริการเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม (ช่วยเหลือเยียวยา ด้านการเงินตามหลักสิทธิมนุษยธรรม) พส. แนวทางการดําเนินงานที่ 2 ส่งเสริมนํามิติการพัฒนาหรือกลไกทาง สังคมมาใช้ในการป้องกันอาชญากรรม ตามความจําเป็นและเหมาะสมกับคน ทุกกลุ่ม โครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ ยธ. สป.ยธ โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้หญิง เด็ก และบุคคลที่เป็นกลุ่ม เปราะบาง อส. โครงการพัฒนาการสร้างความเชื่อมั่นต่อชุมชนด้วยมาตรการคุมประพฤติ ยธ. คป. แนวทางการดําเนินงานที่ 3 ให้ความสําคัญกับการป้องกันและแก้ไข ปัญหาอาชญากรรมด้วยการจัดการกับ สาเหตุที่เป็นรากเหง้า ( Root Cause) โครงการพัฒนาข้อมูลกระบวนการยุติธรรมและจัดทํารายงานสถานการณ์ อาชญากรรมและกระบวนการยุติธรรม ยธ. สกธ. ( ศอช.) โครงการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมแก่ราษฎรไร้สถานะและประสบปัญหา สถานะทางทะเบียนราษฎร ยธ. สนว.
146 เป้าหมาย/แนวทางการดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม หน่วยงาน รับผิดชอบ ระยะเวลาดําเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ.) 2566 2567 2568 2569 ของการก่ออาชญากรรม โครงการจัดเก็บและตรวจสารพันธุกรรม (DNA) ของผู้ต้องขังที่ถูกคุมขัง ในเรือนจําทั่วประเทศ ยธ. สนว. โครงการบูรณาการหน่วยงานการติดตามคนหายและการพิสูจน์ศพนิรนาม ของประเทศไทย ยธ. สนว. โครงการบูรณาการความร่วมมือในการตรวจพิสูจน์คนนิรนาม ยธ. สนว. แนวทางการดําเนินงานที่ 4 พัฒนาแนวทางการดําเนินงานเพื่อ รับมือกับอาชญากรรมที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบันและอาชญากรรมรูปแบบใหม่ โครงการพัฒนาการตรวจพิสูจน์ยาเสพติดเพื่อรองรับการปฏิรูปงาน นิติวิทยาศาสตร์ตํารวจ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สตช. ( สพฐ) โครงการป้องกันและปราบปรามคดีฟอกเงินทางอาญาที่มีลักษณะ เป็นคดีพิเศษ ยธ. กสพ. (ศปง.) โครงการพัฒนาการตรวจพิสูจน์เอกสารเพื่อรองรับการปฏิรูปงานนิติ วิทยาศาสตร์ตํารวจ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สตช. ( สพฐ) โครงการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ยธ. กสพ. ( กคม.) โครงการพัฒนาการตรวจพิสูจน์ลายนิ้วมือแฝง เพื่อรองรับการปฏิรูปงานนิติ วิทยาศาสตร์ตํารวจ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สตช. ( สพฐ) โครงการพัฒนาเทคโนโลยีฐานการบริหารจัดการข้อมูลอาชญากรรม ตามมาตรฐาน ICCS สตช . ( บช . ก .) โครงการ “ ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงหลักสูตรด้านการสืบสวน ” สตช . ( บช . ศ . )
147 เป้าหมาย/แนวทางการดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม หน่วยงาน รับผิดชอบ ระยะเวลาดําเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ.) 2566 2567 2568 2569 เป้าหมายที่ 2 การใช้มาตรการที่หลากหลายในการยุติข้อพิพาท แนวทางการดําเนินงาน 1 ผลักดันให้มีการกําหนดรูปแบบการ ลงโทษที่เหมาะสมกับความผิดและ บริบทต่าง ๆ โครงการบําบัดรักษายาเสพติดและฟื้นฟูสภาพทางสังคม ยธ. ป.ป.ส. แนวทางการดําเนินงานที่ 2 สนับสนุนให้มีการนํามาตรการเชิง สมานฉันท์หรือมาตรการทางสังคมแทน การลงโทษทางอาญามาใช้ในการ ดําเนินงานจริงของแต่ละหน่วยงาน การส่งเสริมและพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ยธ. สตช. และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง โครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดีเชิงรุก ยธ. กบค. แนวทางการดําเนินงานที่ 3 พัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยและระงับ ข้อพิพาทในชุมชนให้มีความชัดเจน และสามารถดําเนินการได้อย่างเป็น รูปธรรม โครงการขับเคลื่อนการดําเนินงานตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ยธ. กคส. (กสร.) เป้าหมายที่ 3 การปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดบนหลักสิทธิมนุษยชน แนวทางการดําเนินงานที่ 1 ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติต่อผู้กระผิด บนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชน ผู้ต้องขังได้รับการควบคุมดูแล ยธ. รท. การอํานวยความยุติธรรมและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ยธ. รท.
148 เป้าหมาย/แนวทางการดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม หน่วยงาน รับผิดชอบ ระยะเวลาดําเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ.) 2566 2567 2568 2569 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่เชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และโรคอุบัติ ใหม่ภายในเรือนจํา ยธ. รท. เรือนจํามั่นคงปลอดภัย ปลอดยาเสพติดและสิ่งของต้องห้าม ยธ. รท. แนวทางการดําเนินงานที่ 2 ผลักดันให้มีการกําหนดการแนวทาง การลงโทษต่อผู้กระทําผิดที่เหมาะสม รู้ทันอาชญากรรมในโลกไซเบอร์ สตช. แนวทางการดําเนินงานที่ 3 ส่งเสริมแนวทางการแก้ไขพัฒนา ผู้กระทําผิดที่มุ่งเน้นการสร้างโอกาสให้ ผู้กระทําผิดสามารถดําเนินชีวิตใน สังคมปกติได้จริงหลังการปล่อยตัว โครงการยกระดับการบําบัดแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชน เฉพาะราย แบบไร้รอยต่อ (IRC) ยธ. กพน. โครงการยกระดับการจัดการศึกษาสําหรับเด็กและเยาวชนในกระบวนการ ยุติธรรม ยธ. กพน. โครงการผู้ต้องขังได้รับการฟื้นฟูและพัฒนาพฤตินิสัย ยธ. รท. โครงการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในเรือนจํา ยธ. รท. การบําบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ต้องขังติดยาเสพติด ยธ. รท. การพัฒนาจิตใจเพื่อสร้างคุณธรรม จริยธรรมให้กับผู้ต้องขัง ยธ. รท. โครงการพัชรธรรม ยธ. สป.ยธ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อการขยายงานการข่าวในคดีอาชญากรรม และการให้บริการ นิติวิทยาศาสตร์สู่ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยธ. สนว. โครงการคืนคนดีสู่สังคม ( กิจกรรมสนับสนุนให้ผู้กระทําผิดและผู้พ้นโทษมี งานทํา) ยธ. คป.
149 เป้าหมาย/แนวทางการดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม หน่วยงาน รับผิดชอบ ระยะเวลาดําเนินการ (ปีงบประมาณ พ.ศ.) 2566 2567 2568 2569 โครงการพัฒนาการบริหารจัดการและดูแลผู้รับบริการในบ้านกึ่งวิถี ยธ. คป. แนวทางการดําเนินงานที่ 4 สนับสนุนให้ภาคส่วนในสังคมเข้ามา มีส่วนร่วมในฐานะกลไกในการดูแล ช่วยเหลือผู้กระทําผิดที่กลับสู่สังคม พัฒนาศักยภาพผู้ต้องขังเพื่อคืนคนดีสู่สังคม ยธ. รท. แนวทางการดําเนินงานที่ 5 พัฒนาแนวทางการชดเชยเยียวยาแก่ผู้ที่ ได้รับความเสียหายจากกระบวนการ ยุติธรรม เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สตช. (บก.ปปป.) หมายเหตุ : โครงการ/กิจกรรมที่มีความสอดคล้องตามแผนปฏิรูปประเทศที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม
150 มิติที่ 3 การสร้างความร่วมมือในการบริหารงานยุติธรรม รวม 85 โครงการ/กิจกรรม เป้าหมาย/แนวทางการดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม ระยะเวลาดําเนินการ (ปีงบประมาณ) 2566 2567 2568 2569 เป้าหมายที่ 1 การยกระดับกลไกการทํางานเชิงเครือข่าย แนวทางการดําเนินงานที่ 1 สร้างกลไกการทํางานในรูปแบ เครือข่ายความร่วมมือ ( Collaborative Network) ระหว่างหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรมอย่างเป็น รูปธรรม โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะพนักงานอัยการและ บุคลากรของหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหาย จากคดีค้ามนุษย์และคดีบังคับใช้แรงงาน โครงการเสริมสร้างความรู้กฎหมายด้านการบังคับคดีแพ่ง การบังคับคดี ล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และกฎหมายในชีวิตประจําวัน โครงการประชุมทางวิชาการระดับชาติว่าด้วยงานยุติธรรม ่ หนวยงาน ั ิ รบผดชอบ อส. ยธ. กบค. ยธ. สกธ. (กยธ) โครงการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ประจํากระทรวงยุติธรรม ยธ. สป.ยธ. โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม ของประเทศไทย ยธ. สนว. โครงการขับเคลื่อนกลไกเพื่อลดความเหลื่อมล้ําทางเพศในสังคม สค. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินคดีความมั่นคงของสํานักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญา 4 ภาค 9 ประจําปี 2566 อส. โครงการอบรมสัมมนามิติใหม่กระบวนการยุติธรรมในการดําเนินคดี อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ อส. โครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประสานงาน ร่วมกันระหว่างสํานักงานต่างประเทศ สํานักงานอัยการสูงสุด กับกองการ อส.
151 เป้าหมาย/แนวทางการดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม หน่วยงาน รับผิดชอบ ระยะเวลาดําเนินการ (ปีงบประมาณ) 2566 2567 2568 2569 ต่างประเทศ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ในการบังคับใช้กฎหมายความร่วมมือ ระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาและการส่งผู้ร้ายข้ามแดน โครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประสานงานร่วมกันระหว่าง ผู้ประสานงานกลาง กับหน่วยงานผู้มีอํานาจหน้าที่ในประเทศไทย ในการบังคับใช้กฎหมายความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา และการส่งผู้ร้ายข้ามแดน อส. โครงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ภายในประเทศ อส. โครงการพัฒนาทักษะพนักงานอัยการและบุคลากรของหน่วยงานหรือองค์กร ที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายจากคดีค้ามนุษย์ อส. โครงการพัฒนาความร่วมมือหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องในการป้องกัน ปราบปรามดําเนินคดีค้ามนุษย์ทั้งในและต่างประเทศ อส. โครงการขับเคลื่อนมาตรการการดําเนินคดีค้ามนุษย์ และการคุ้มครองสิทธิ ผู้เสียหายให้สอดคล้องกับพันธสัญญา และกฎหมายระหว่างประเทศ อส. โครงการเสริมสร้างและพัฒนาความรู้ให้บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมทาง อาญา อส. โครงการเครือข่ายความร่วมมือและประสานงานด้านกระบวนการยุติธรรม กับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมและสถาบันการศึกษา อส. โครงการแนวทางปฏิบัติที่ดีในการขจัดความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กดีเด่น ประจําปีพุทธศักราช 2566 อส. การพัฒนาศูนย์ดิจิทัลต้นแบบเพื่อการบังคับใช้กฎหมายด้วยเทคโนโลยีแบบครบ สตช. (บช.ก)
152 เป้าหมาย/แนวทางการดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม ระยะเวลาดําเนินการ (ปีงบประมาณ) 2566 2567 2568 2569 วงจร โครงการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและระบบการ วิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ของกองบังคับการปราบปราม แนวทางการดําเนินงานที่ 2 พัฒนากลไกการทํางานของภาครัฐเชิง บูรณาการและเป็นเอกภาพ โครงการป้องกันการใช้แรงงานเด็กผิดกฎหมายทุกรูปแบบในสถานประกอบ กิจการโรงแรมและสถานที่บริการพักค้างคืน โครงการรณรงค์ต่อต้านการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดในพื้นที่ ชายแดน โครงการวิจัยเพื่อสร้างมาตรฐานและพัฒนาประสิทธิภาพการสอบสวนและการ ดําเนินคดีของพนักงานอัยการ ประจําปีงบประมาณ พ . ศ . 2566 แนวทางการดําเนินงานที่ 3 ส่งเสริมการทํางานเชิงเครือข่ายกับทุก ภาคส่วนทางสังคม โครงการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนสู่ ความเป็นเลิศในภูมิภาคอาเซียน โครงการยกระดับสิทธิมนุษยชนด้วยการขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชน แห่งชาติฉบับที่ 5 ( พ.ศ. 2566 - 2570) โครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุน ทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง การยกระดับความพร้อมก่อนปล่อยและติดตามหลังปล่อย โครงการกระบวนการยุติธรรมทาเลือกเพื่อสร้างความสมานฉันท์ในสังคม/ มาตรการพิเศษแทนการดําเนินคดีอาญา ขับเคลื่อนศูนย์ยุติธรรมชุมชน ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ่ หนวยงาน ั ิ รบผดชอบ สตช. (บช.ก) รง . (กสร .) รง . ( กสร .) อส . ยธ. กคส. (กสป.) ยธ. กคส. (กยผ.) ปปง. ยธ. กพน. ยธ. กพน. ยธ. สป.ยธ
153 เป้าหมาย/แนวทางการดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม หน่วยงาน รับผิดชอบ ระยะเวลาดําเนินการ (ปีงบประมาณ) 2566 2567 2568 2569 โครงการฝึกอบรมประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ยธ. สป.ยธ โครงการตรวจพิสูจน์สารเสพติดในเส้นผมผู้กระทําความผิดเพื่อสนับสนุน กระบวนการยุติธรรม ยธ. สนว. โครงการบูรณาการความร่วมมือเครือข่ายในการป้องกันอาชญากรรมคดีพิเศษ ยธ. กสพ. (กนย.) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อครอบครัว สค. แนวทางการดําเนินงานที่ 4 แสวงหาแนวทางและความร่วมมือ ระหว่างประเทศในการป้องกันและ แก้ไขอาชญากรรมทุกรูปแบบ โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศด้านกฎหมายและ กระบวนการยุติธรรม ยธ. สกธ. (กนป.) โครงการพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายต่างประเทศ ที่มีที่ตั้งในประเทศไทย ยธ. กสพ. (กตท.) โครงการการประชุมร่วมกับผู้แทนสํานักงานอัยการในกลุ่มประเทศอาเซียนและ ผู้แทนสํานักเลขาธิการอาเซียน เพื่อจัดทําร่างและลงนามข้อตกลง หรือ MOU ใน การจัดตั้งกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน เพื่อปราบปราม และดําเนินคดีอาชญากรรมข้ามชาติ อส. โครงการเสริมสร้างศักยภาพของพนักงานอัยการในการประสานความร่วมมือ ด้านอาชญากรรมข้ามชาติและความร่วมมือระหว่างประเทศทางอาญา อส. โครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการของผู้ประสานงานกลางในภูมิภาคอาเซียน อส. โครงการจัดทําแนวทางมาตรฐานในการบังคับใช้กฎหมายคดีค้ามนุษย์และ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้แรงงานและบริการ อส. โครงการการจัดทําจุลสารประชาคมอัยการอาเซียนเพื่อประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ การติดต่อประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ในอาเซียนผู้ประสานงานกลาง และ อส.
15 4 เป้าหมาย/แนวทางการดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม หน่วยงาน รับผิดชอบ ระยะเวลาดําเนินการ (ปีงบประมาณ) 2566 2567 2568 2569 พนักงานอัยการในอาเซียน เป้าหมายที่ 2 การบริหารงานยุติธรรมตามหลักธรรมาภิบาล แนวทางการดําเนินงานที่ 1 ปฏิรูปหน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรมให้เป็นองค์การที่ยึดหลัก ธรรมาภิบาล และดําเนินงานบนพื้นฐาน ของหลักนิติธรรม โครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินของหน่วยงานภาครัฐ ยธ. กสพ. (กบค.) แนวทางการดําเนินงานที่ 2 ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทํางานให้ มุ่งเน้นความสําเร็จในการอํานวยความ ยุติธรรม โดยยึดประชาชนเป็น ศูนย์กลาง ( Citizen-centric) หลักสูตรการป้องกันอาชญากรรมกับการอํานวยความยุติธรรมในสังคม Crime Prevention หลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับกลาง หลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับสูง หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยในกระบวนการยุติธรรม โครงการประชาสัมพันธ์การใช้ประโยชน์ และเตรียมความพร้อมผู้ใช้งานระบบ DXC โครงการพัฒนาองค์การกรมสอบสวนคดีพิเศษ โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรกรมสอบสวนคดีพิเศษ ยธ. สกธ. (สพก.) ยธ. สกธ. (สพก.) ยธ. สกธ. (สพก.) ยธ. สกธ. (สพก.) ยธ. สกธ. (ศอช.) ยธ. กสพ. (กพร.) ยธ. กสพ. (กพน.)
15 5 เป้าหมาย/แนวทางการดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม หน่วยงาน รับผิดชอบ ระยะเวลาดําเนินการ (ปีงบประมาณ) 2566 2567 2568 2569 การจัดทําและขับเคลื่อนตามแผนปฏิบัติการการบริหารทรัพยากรบุคคล ตามแนวทาง HR Scorecard ยธ. กสพ. (กบค.) โครงการฝึกอบรมและให้ความรู้แก้ผู้ประกอบการและพนักงานเจ้าหน้าที่ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 อก. (กองกฎหมาย) แนวทางการดําเนินงานที่ 3 พัฒนาระบบการทํางานและบริการ ประชาชนที่เป็นมาตรฐานสากล โครงการพัฒนาระบบงานบังคับคดีแพ่งให้รองรับการทําบัญชีรับจ่ายอัตโนมัติ ยธ. กบค. โครงการพัฒนาระบบการบริการในกระบวนการยุติธรรม สตช. (บช.รฟ.) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงจากวัตถุพยาน ในคดีความมั่นคง และคดีอาญาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สตช. (สพฐ.) แนวทางการดําเนินงานที่ 4 พัฒนากลไกการป้องกัน ตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาการทุจริตและการใช้ อํานาจในทางมิชอบของบุคลากรใน กระบวนการยุติธรรม การพัฒนาระบบงานรับเรื่องราวร้องทุกข์ สตช. (บช.ตชด) การจัดทําและขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามการทุจริต และ ประพฤติมิชอบ และแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม กรมสอบสวนคดี พิเศษ กสพ. (กบค.) การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจําปี งบประมาณ ยธ. อก. และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง โครงการเสริมสร้างและพัฒนาระบบคุณธรรม จริยธรรม และการดําเนินการทาง วินัยของข้าราชการอัยการ อส. โครงการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สตช. (บช.ก.)
156 เป้าหมาย/แนวทางการดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม ระยะเวลาดําเนินการ (ปีงบประมาณ) 2566 2567 2568 2569 แนวทางการดําเนินงานที่ 5 กําหนดแนวทางเพื่อติดตามและ ประเมินผลความสําเร็จของการ ดําเนินงานในกระบวนการยุติธรรมที่ ชัดเจน โครงการระบบสารสนเทศเพื่อการจัดทํายุทธศาสตร์และการติดตามประเมินผล การปฏิบัติราชการของสํานักงานอัยการสูงสุด แนวทางการดําเนินงานที่ 6 ให้ความสําคัญกับงานวิชาการและ สนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างการพัฒนา กระบวนการด้วยข้อมูลและองค์ความรู้ ในการพัฒนากระบวนการยุติธรรม โครงการขับเคลื่อนและส่งเสริมงานวิจัยด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สู่การนําไปใช้ประโยชน์ โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานวิจัยในกระบวนการยุติธรรม (Justice Knowledge Base JKB) เพื่อส่งเสริมการนํางานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์อย่าง เป็นรูปธรรม โครงการเสริมสร้างคุณค่าองค์ความรู้การวิจัยด้านกระบวนการยุติธรรม สู่การนําไปใช้ประโยชน์ โครงการบูรณาการงานวิจัยของกระทรวงยุติธรรม โครงการวิจัยและนวัตกรรมด้านนิติวิทยาศาสตร์ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โครงการศึกษา วิเคราะห์ และจัดทําแนวทางหรือมาตรการในการปฏิบัติงาน ดําเนินคดีค้ามนุษย์และการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหาย ร่วมกับหน่วยงานหรือองค์กร ที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับพันธะสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ ่ หนวยงาน ั ิ รบผดชอบ อส. ยธ. สกธ. (สวพ.) ยธ. สกธ. (สวพ.) ยธ. สกธ. (สวพ.) ยธ. สกธ. (สวพ.) ยธ. สนว. อส.
157 เป้าหมาย/แนวทางการดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม หน่วยงาน รับผิดชอบ ระยะเวลาดําเนินการ (ปีงบประมาณ) 2566 2567 2568 2569 โครงการวิจัยเพื่อศึกษามาตรการการต่อรองคํารับสารภาพและเสนอรูปแบบ มาตรการที่เหมาะสมกับประเทศไทย (Research Project : The Comprehensive Study of Plea Bargaining Approach and the Proposal for an Appropriate Model of Plea Bargaining for Thailand) อส. เป้าหมายที่ 3 การเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเทคโนโลยี แนวทางการดําเนินงานที่ 1 สนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลและ การทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน อย่างเป็นระบบ โครงการศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลสํานักงานตํารวจแห่งชาติ สตช. พัฒนาระบบข้อมูลผู้ต้องขังเพื่อเชื่อมโยงในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม ยธ. รท. โครงการพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลบูรณาการด้านงานยุติธรรม เพื่อเตรียม ความพร้อมระบบ Big Data ในการพัฒนาการให้บริการงานยุติธรรมให้ทั่วถึงและ เท่าเทียม ยธ. สป.ยธ. ยกระดับพัฒนางานศูนย์ดํารงธรรมเป็นอัจฉริยะและสนับสนุนการดําเนินงาน ของศูนย์ดํารงธรรม กระทรวงมหาดไทย มท. การเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเทคโนโลยี สตช. แนวทางการดําเนินงานที่ 2 ผลักดันให้มีการเปิดเผยข้อมูลการ ทํางานและเปิดโอกาสให้ประชาชน สามารถเข้าถึงข้อมูลรวมทั้งติดตาม ความคืบหน้าของข้อมูลคดีของตนเอง ได้ โครงการพัฒนาระนบติดตามความคืบหน้าทางคดีภาคประชาชน ระยะที่ 2 สตช. (สทส.)
158 เป้าหมาย/แนวทางการดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม หน่วยงาน รับผิดชอบ ระยะเวลาดําเนินการ (ปีงบประมาณ) 2566 2567 2568 2569 แนวทางการดําเนินงานที่ 3 ส่งเสริมนําเทคโนโลยีมาใช้ใน การดําเนินงาน ในกระบวนการ ยุติธรรม โครงการบรรเทาทุกข์ออนไลน์ สตช. การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสนับสนุนการควบคุมดูแลผู้ต้องขัง ยธ. รท. โครงการระบบติดตามสถานะการดําเนินการและสถานะคดี ระยะที่ 1 (Justice Case Flow) สกธ. (ศอช.) โครงการปรับปรุงระบบการเบิกจ่ายค่าตอบแทนการส่งเสริมสิทธิแก่ผู้ต้องหา ในชั้นสอบสวนคดีอาญา ยธ. กคส. (ศพท./กพส.) โครงการปรับปรุงและเสริมประสิทธิภาพระบบสารสนเทศการคุ้มครองพยาน (WPIS) ยธ. กคส. (ศพท./สคพ.) โครงการพัฒนาระบบการรายงานผลการปฏิบัติตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5 ( พ.ศ. 2566 - 2570) ยธ. กคส. (ศพท./กยผ.) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อการขยาย งานการข่าวในคดีอาชญากรรม และการให้บริการนิติวิทยาศาสตร์สู่ประชาชนใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยธ. สนว. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพงานด้านกระบวนการยุติธรรม ( ระบบฝากขัง ผ่านระบบ Video Conference ) โดยผู้ต้องหา/จําเลยไม่ต้องไปศาล กรม พระธรรมนูญ โครงการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการปรับปรุงกฎหมายและ การเข้าถึงบริการของประชาชน พส. โครงการพื้นที่นําร่องการใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อบูรณาการ การทํางานของสหวิชาชีพในการคุ้มครองเด็กในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (Interdisciplinary coordination through the use of modern technologies for protection of children in Criminal justice Sandbox) อส.
159 เป้าหมาย/แนวทางการดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม หน่วยงาน รับผิดชอบ ระยะเวลาดําเนินการ (ปีงบประมาณ) 2566 2567 2568 2569 โครงการพัฒนาการตรวจพิสูจน์ทางเคมี ฟิสิกส์ เพื่อรองรับการปฏิรูป งานนิติวิทยาศาสตร์ตํารวจปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สตช. (สพฐ.) โครงการพัฒนาศักยภาพการตรวจพิสูจน์ของห้องปฏิบัติการตามระบบมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ของกลุ่มงานตรวจชีววิทยาและดีเอ็นเอ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 10 /ศูนย์นิติวิทยาศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้ สตช. (สพฐ.) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจพิสูจน์อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อ สนับสนุนงาน นิติวิทยาศาสตร์ตํารวจ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สตช. (สพฐ.) โครงการจัดซื้อเครื่องตรวจพิสูจน์ยาเสพติด ( Gas Chromatograph : GC) พร้อมอุปกรณ์ประกอบ สตช. (สพฐ.) หมายเหตุ : โครงการ/กิจกรรมที่มีความสอดคล้องตามแผนปฏิรูปประเทศที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม
160 บัญชีรายชื่อหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อักษรย่อ ชื่อเต็ม อักษรย่อ ชื่อเต็ม มท. กระทรวงมหาดไทย กบค. กรมบังคับคดี ดศ. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม คป. กรมคุมประพฤติ รง. กระทรวงแรงงาน กพน. กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พม. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รท. กรมราชทัณฑ์ สธ. กระทรวงสาธารณสุข ป.ป.ส. สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ศธ. กระทรวงศึกษาธิการ สกธ. สํานักงานกิจการยุติธรรม อก. กระทรวงอุตสาหกรรม กนป. กองนโยบายและกระสานกระบวนการยุติธรรม ยธ. กระทรวงยุติธรรม สวพ. สถาบันวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรม อส. อัยการสูงสุด สพก. สถาบันพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ศย. สํานักงานศาลยุติธรรม กยธ. กองงานพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ศป. สํานักงานศาลปกครอง สสอ. กลุ่มสื่อสารองค์กร สตช. สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ปปง. สํานักงานการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สคก. สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ป.ป.ช. สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ธน. กรมพระธรรมนูญ ป.ป.ท. สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตในภาครัฐ กสม. สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ TIJ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย สท. สภาทนายความ THAC สถาบันอนุญาโตตุลาการ สป.ยธ สํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ปค. กรมการปกครอง กสพ. กรมสอบสวนคดีพิเศษ พส. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ สนย. สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ สค. กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กคส. กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กปส. กรมประชาสัมพันธ์