Fri Apr 07 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ว่าด้วยการประสานงานในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2566


ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ว่าด้วยการประสานงานในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2566

ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ว่าด้วยการประสานงานในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2566 โดยที่ประมวลกฎหมายยาเสพติดได้กาหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด มีหน้าที่และอำนาจรับผิดชอบในการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดของชาติ เป็นส่วนรวม โดยเฉพาะความรับผิดชอบในการควบคุม เร่งรัด และประสานงานในการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่และอานาจในการสืบสวน สอบสวน และการบังคับโทษตามประมวล กฎหมายยาเส พติด ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้การบังคับใช้กฎหมายและการปราบปรามยาเสพติด บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนถึงการควบคุม เร่งรัด และประสานงานมีความสอดคล้อง กับนโยบายและการแก้ไขปัญหา จึงจาเป็นต้องทราบรายละเอียดการปฏิบัติงานในทุกขั้นตอน โดยให้ เจ้ำพนักงาน ป.ป.ส. ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด เป็นผู้เข้าร่วมประสานงานกับเจ้าพนักงานผู้รับผิดชอบ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอย่างใกล้ชิด และให้ปฏิบัติตามแนวทาง การประสานงานในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย อาศัยอานาจตามความในมาตรา 2 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 5 (9) แห่งประมวล กฎหมายยาเสพติด คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรำมยาเสพติด ว่าด้วยการประสานงานในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิก (1) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประสานงานในคดีความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับ ยาเสพติด พ.ศ. 2537 (2) ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ว่าด้วยแนวทางการประสานงาน คดียาเสพติด พ.ศ. 2553 ข้อ 4 ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ส. เป็นผู้วินิ จฉัยชี้ขาด และให้ถือคำวินิจฉัยนั้นเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบนี้ ข้อ 5 ให้เลขาธิการ ป.ป.ส. รักษาการตามระเบียบนี้ หมวด 1 บททั่วไป ข้อ 6 ในระเบียบนี้ ้ หนา 1 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 83 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566

“ การประสานงาน ” หมายความว่า การวางระบบการปฏิบัติงานของบุคลากรและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้สามารถปฏิบัติงานสอดคล้องและเป็นแนวทาง เดียวกัน โดยการปฏิบัติงานที่ไม่ซ้าซ้อนกัน และเป็นการประสานอย่างบูรณาการหลายเรื่องพร้อม ๆ กัน เช่น วัตถุประสงค์ ข้อมูล สารสนเทศ ความคิดเห็น ความร่วมมือ หรือวิธีการที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุ เป้าหมายในการดาเนินคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดโดยรวม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ต้องหาหรือ จำเลยควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ “ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ” หมาย ความว่า สานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สานักงานตารวจแห่งชาติ กรมสอบสวน คดีพิเศษ สานักงานอัยการสูงสุด กรมการปกครอง สานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรมราชทัณฑ์ กรมพระธรรมนูญ รวมทั้งหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินคดีความผิดเ กี่ยวกับ ยาเสพติด “ พนักงานอัยการ ” หมายความรวมถึงอัยการทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร หมวด 2 การประสานงาน ส่วนที่ 1 ขอบเขต ข้อ 7 การประสานงานในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามระเบียบนี้ มีขอบเขตการดาเนินงาน ดังต่อไปนี้ (1) การประสานงานในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความร่วมมือ ความโปร่งใส และความไว้วางใจระหว่างกัน โดยที่มิให้เป็นการแทรกแซงหรือก้าวก่ายหน้าที่และอำนาจ ของแต่ละฝ่ายตามที่กฎหมายหรือระเบียบกำหนด (2) ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จะต้องดาเนินการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ต้องหาหรือจาเลยควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ 8 ให้เลขาธิการ ป.ป.ส. มีหน้าที่และควำมรับผิดชอบในการประ สานงานระหว่าง คณะกรรมการ ป.ป.ส. กับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ข้อ 9 ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด วางระเบียบ หรือออกคาสั่งภายในหน่วยงานของรัฐนั้น เพื่อปฏิบัติตามระเบียบนี้ ้ หนา 2 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 83 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566

ส่วนที่ 2 การประสานงานในชั้นสืบสวนและจับกุม ข้อ 10 เพื่อประโยชน์ในการสืบสวน จับกุม และตรวจสอบทรัพย์สินในคดีความผิดร้ายแรง เกี่ยวกับยาเสพติด หากหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการสืบสวนหรือจับกุมประสงค์ขอรับการสนับสนุน ค่าตอบแทนในการดำเนินการเกี่ยวกับการสืบสวน การจับกุม หรือการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ก็ให้เสนอเป้าหมายที่มีลักษณะเป็นเครือข่าย พร้อมด้วยข้อมูล ข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานที่มีต่อ เลขาธิการ ป.ป.ส. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและสนับสนุนค่าตอบแทนกับหน่วยงานนั้น ทั้งนี้ ตามแนวทางการสนับสนุนค่าตอบแท นการปฏิบัติงานเพื่อการปราบปรามยาเสพติดของสำนักงาน ป.ป.ส. ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง ข้อ 11 เมื่อเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. แจ้งขอความร่วมมือในการสืบสวน การตรวจค้น การจับกุม และการสอบสวนผู้ต้องหาตามหน้าที่และอานาจของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในคดีควา มผิด เกี่ยวกับยาเสพติด ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตารวจให้ความร่วมมือในการดาเนินการ การแจ้งขอความร่วมมือของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ตามวรรคหนึ่ง จะแจ้งเป็นหนังสือหรือ ด้วยวาจาก็ได้ตามแต่พฤติการณ์และความจาเป็น ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตารวจผู้ได้รับแจ้งบันทึก การแจ้งขอความร่วมมือในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี ในกรณีที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตารวจไม่สามารถให้ความร่วมมือได้ ก็ให้จดแจ้งเหตุผล ไว้ท้ายบันทึกการแจ้งขอความร่วมมือในรายงานประจาวันเกี่ยวกับคดี และให้เจ้าพนั กงาน ป.ป.ส. รายงานการไม่สามารถให้ความร่วมมือต่อเลขาธิการ ป.ป.ส. ทราบ ข้อ 12 ในกรณีที่เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ไม่สามารถควบคุมผู้ถูกจับไว้ ณ ที่ทำการของ เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ให้นาส่งที่ทาการของเจ้าพนักงานตารวจเพื่อฝากให้ควบคุมผู้ถูกจับไว้เป็นการชั่วคราว ก่อนส่งมอบแก่พนักงานสอบสวนเพื่อดาเนินคดี และให้เจ้าพนักงานตารวจรับฝากการควบคุมผู้ถูกจับไว้ ตามอำนาจของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ข้อ 13 การจับกุมหรือการควบคุมตัวผู้กระทาความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้ผู้จับกุมปฏิบัติ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายว่าด้ว ยวิธีพิจารณาคดียาเสพติด กฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การจัดทาบันทึกการจับกุม ห้ามมิให้นาแบบพิมพ์ที่มีช่องสาหรับกาเครื่องหมายหรือข้อความ เกี่ยวกับพฤติการณ์การจับกุมมาใช้ในการจัดทำบันทึกการ จับกุม การจับกุมผู้กระทาความผิดตามมาตรา 125 หรือมาตรา 127 แห่งประมวลกฎหมาย ยาเสพติด ให้ผู้จับกุมบันทึกและแจ้งพนักงานสอบสวนเพื่อดาเนินการขออนุมัติแจ้งข้อหาต่อเลขาธิการ ป.ป.ส. ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 83 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566

ข้อ 14 ให้ผู้จับกุมทุกคนตรวจสอบความถูกต้องในการจัดทาบันทึกการจับกุมก่อนลงลายมือชื่อ โดยผู้ที่จะลงลายมือชื่อในฐานะที่เป็นผู้จับกุมจะต้องเป็นผู้ที่ร่วมทำการจับกุมผู้ต้องหาในขณะที่มี การจับกุมจริง ส่วนผู้อื่นที่ไม่ได้ร่วมทำการจับกุม เช่น ผู้อำนวยการ ผู้ช่วยเหลื อในการจับกุม ให้ลงชื่อ ในฐานะนั้น ข้อ 15 ผู้จับกุมที่จะให้การต่อพนักงานสอบสวนในฐานะเป็นพยานผู้จับกุมจะต้องเป็นผู้ที่ ร่วมทำการจับกุมผู้ต้องหาในขณะที่มีการจับกุมจริง รวมทั้งต้องทราบรายละเอียดและพฤติการณ์ ในการจับกุมเป็นอย่างดี ข้อ 16 ในกรณีที่ผู้จับกุมถูกจำ เลยอ้างเป็นพยานในศาล ให้ทำบันทึกรายงานข้อเท็จจริงเสนอ ผู้บังคับบัญชาเพื่อทราบ พร้อมทั้งส่งสาเนาบันทึกการรายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวให้พนักงานอัยการ ทราบล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งวันก่อนวันสืบพยาน และไปพบพนักงานอัยการในกรณีที่ได้รับแจ้งให้ไปพบ ข้อ 17 เมื่อผู้ถูกจับประสงค์จะให้ข้อมูลที่สาคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปราม การกระทาความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต่อผู้จับกุมตามมาตรา 153 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ให้ผู้จับกุมจัดให้ผู้ถูกจับบันทึกรายละเอียดแห่งข้อมูลด้วยตนเองและลงลายมือชื่อไว้ หากผู้ถูกจั บไม่อาจ บันทึกข้อมูลเองได้ให้ผู้จับกุมเป็นผู้บันทึกข้อมูล แล้วให้ผู้ถูกจับลงลายมือชื่อ ผู้บันทึก และพยาน (ถ้ามี) โดยให้แนบบันทึกข้อมูลดังกล่าวไว้กับบันทึกการจับกุม ให้ผู้จับกุมรวบรวมพยานหลักฐานเท่าที่จาเป็นในการพิสูจน์หรือยืนยันว่าเป็นการให้ข้อมูล ที่ สาคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทาความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ส่งบันทึก รายละเอียดการให้ข้อมูลของผู้ถูกจับ และบันทึกการจับกุมพร้อมพยานหลักฐานจากการนาข้อมูล ที่ให้หรือเปิดเผยไปใช้ขยายผลให้พนักงานสอบสวนในคดีนั้น ส่วนที่ 3 การประสานงานในชั้นพนั กงานสอบสวน ข้อ 18 ให้พนักงานสอบสวนเก็บรักษายาเสพติดของกลางหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับ การกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดไว้ตามที่ได้รับแจ้งขอความร่วมมือจากเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. โดยให้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติเกี่ยวกับการเก็บรักษาและจำหน่ายของกลาง หรือระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเกี่ยวกับการตรวจรับ การตรวจพิสูจน์ การเก็บรักษา การทาลาย การนาไปใช้ประโยชน์ และการรายงานยาเสพติด และให้ทาหลักฐาน การรั บมอบยาเสพติดของกลางหรือทรัพย์สินนั้นให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ด้วย ข้อ 19 เมื่อมีการจับกุมผู้กระทาความผิดในคดีความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดโดยพนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตารวจ หรือยึดหรืออายัดได้แต่เฉพาะของกลางยาเสพติดซึ่งมีปริมาณเกินกว่าการมีไว้ ในครอบครองเพื่อเสพ ให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนรายงานเลขาธิการ ป.ป.ส. โดยเร็ว และต้องไม่เกิน สิบวันนับแต่วันที่จับกุม หรือยึดหรืออายัดของกลางยาเสพติด ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 83 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566

คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดทุกคดี ให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนรายงานเลขาธิการ ป.ป.ส. เป็นประจำทุกเดือน ข้อ 2 0 เมื่อเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตารวจ ตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลยเพราะการปฏิบัติหน้าที่ปราบปรามยาเสพติด ให้บุคคลดังกล่าวหรือผู้บังคับบัญชาของ ผู้ต้องหาหรือจาเลยนั้นรายงานเลขาธิการ ป.ป.ส. พร้อมข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีโดยเร็ว และให้เลขาธิการ ป.ป.ส. พิจารณาช่วยเหลือตามควรแก่กรณี ทั้งนี้ ให้รวมถึงการให้ความคุ้มครอง แก่ผู้นั้นด้วย ข้อ 21 เมื่อเลขาธิการ ป.ป.ส. ได้รับแจ้งตามข้อ 19 วรรคหนึ่ง หรือเห็นสมควรส่งเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ผู้มีอานาจสอบสวนเข้าฟังการสอบสวน ก็ให้แจ้งหัว หน้าพนักงานสอบสวนพร้อมรายชื่อเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ผู้เข้าฟังการสอบสวน ในกรณีที่เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. จับกุมและใช้อำนาจสอบสวนตามมาตรา 11/1 (8) ประกอบมาตรา 11/6 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 เลขาธิการ ป.ป.ส. อาจมอบหมายให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ผู้นั้นเข้าฟังการสอบสวนในคดีนั้นก็ได้ ให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ที่ได้รับมอบหมายเข้าฟังการสอบสวนรายงานผลพร้อมความเห็น ให้เลขาธิการ ป.ป.ส. ทราบ ข้อ 22 ให้พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีแจ้งเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ตามข้อ 21 ทราบถึง วัน เวลา และสถานที่สอบสวนล่วงหน้าทุกครั้ง โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการเดินทางของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ด้วย ถ้าเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ไม่มาฟังการสอบสวนตามที่ได้แจ้งไว้ ให้พนักงานสอบสวนดาเนินการ สอบสวนได้ตามลาพังเฉพาะในครั้งนั้น และให้พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ในสา นวนการสอบสวนว่า เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ไม่มาฟังการสอบสวน ข้อ 23 เมื่อเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ผู้เข้าฟังการสอบสวนเห็นว่าข้อเท็จจริงใดเป็นสาระสาคัญ แห่งคดีสมควรซักถาม ก็ให้แจ้งเหตุผลต่อพนักงานสอบสวนให้ซักถามได้ ถ้าพนักงานสอบสวนไม่เห็นด้วย ให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ทำบันทึกความเห็นและเหตุผลรวมไว้ในสำนวนการสอบสวน ข้อ 24 เมื่อเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ผู้เข้าฟังการสอบสวนได้พิจารณาข้อเท็จจริงในสานวน การสอบสวนแล้วเห็นว่ายังมีพยานบุคคล พยานเอกสาร หรือพยานวัตถุใด สมควรใช้เป็นพยานหลักฐาน ในการพิสูจน์ความผิดได้ ก็ให้แจ้งเหตุผลให้พนักงานสอบสวนดาเนินการตามควรแก่กรณี แล้วแจ้งให้ เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ทราบโดยเร็ว ถ้าพนักงานสอบสวนไม่เห็นด้วย ให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ทำบันทึก ความเห็นและเหตุผลรวมไว้ในสำนวนการสอบสวน ข้อ 25 คดีที่เลขาธิการ ป.ป.ส. ไม่อาจส่งเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. เข้าฟังการสอบสวนตาม ข้อ 21 ให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนส่งสำเนารายงานการสอบสวนคดีต่อเลขาธิการ ป.ป.ส. ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 83 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566

ข้อ 26 การสอบคาให้การผู้ต้องหาหรือพยานในคดีความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดหรือ การสอบคาให้การผู้ต้องหาในฐานะพยาน ให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการบันทึกภำพและเสียงอย่างต่อเนื่อง ไว้เป็นหลักฐานเท่าที่สามารถทำได้ โดยแจ้งการบันทึกภาพและเสียงดังกล่าวให้ผู้ต้องหาหรือพยานทราบด้วย ในกรณีพนักงานสอบสวนจะอ้างคาให้การของผู้ต้องหาที่กระทาความผิดตามมาตรา 125 หรือมาตรา 127 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ไว้เป็นพยาน ให้สอบผู้ต้องหานั้นในฐานะพยาน และให้ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งด้วย ข้อ 27 ให้พนักงานสอบสวนส่งสานวนการสอบสวนในระหว่างที่ผู้ต้องหาคนใดคนหนึ่งถูกขังอยู่ ไปยังพนักงานอัยการภายในกาหนดระยะเวลา ดังนี้ (1) ในกรณีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่อยู่ในอานาจการพิจารณาของศาลแขวงและจาเลย ให้การปฏิเสธ ให้ส่งสำนวนล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวันก่อนวันครบกำหนดขังผู้ต้องหาครั้งสุดท้าย (2) ในกรณีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่ซึ่งเกินกว่าอานาจการพิจารณาของศาลแขวงให้ส่งสำนวน ล่วงห น้าไม่น้อยกว่าสิบสองวันก่อนวันครบกำหนดขังผู้ต้องหาครั้งสุดท้าย ในกรณีมีเหตุขัดข้องอันสาคัญและจาเป็นที่ไม่สามารถส่งสานวนภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง หรือมีเหตุอื่นที่ทาให้ระยะเวลาในการขังผู้ต้องหาเปลี่ยนแปลงไป ให้พนักงานสอบสวนรีบแจ้งไปยัง พนักงานอัยการเพื่อ ประสานและขอคำแนะนำในการดาเนินคดีดังกล่าว ให้สามารถดาเนินการส่งสำนวน ได้อย่างครบถ้วนโดยเร็ว การคืนสานวนการสอบสวนที่รับไว้จากพนักงานสอบสวน ให้พนักงานอัยการมีหนังสือโดยแจ้ง เหตุผลในการคืนสำนวนให้พนักงานสอบสวนทราบ ข้อ 28 กรณีที่พนักงานสอบสวนส่งสานวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ โดยมีความเห็น ควรสั่งฟ้องและเป็นกรณีที่ผู้ต้องหาได้รับการปล่อยชั่วคราวโดยมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกัน หากพนักงานอัยการเห็นว่าควรปล่อยชั่วคราว ให้พนักงานอัยการถือปฏิบัติตามระเบียบสานักงานอัย การสูงสุด เกี่ยวกับการดาเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง ข้อ 29 ในกรณีที่ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือเลขาธิการ ป.ป.ส. ต้องการทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดาเนินคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือคดีที่เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตารวจเป็นผู้ต้องหาหรือจาเลย เพราะการปฏิบัติการตามหน้าที่ปราบปราม ยาเสพติด ไม่ว่าคดีจะถึงที่สุดหรือไม่ก็ตาม ให้แจ้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อัยการสูงสุด ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเจ้ากรมพระธรรมนูญ แล้วแต่กรณี เพื่อให้รายงานห รือสั่งให้เจ้าพนักงาน ผู้รับผิดชอบชี้แจงตามที่เห็นสมควร ข้อ 30 เมื่อมีการอนุมัติแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทาความผิดตามกฎกระทรวงว่าด้วยการแจ้งข้อหา แก่ผู้กระทำความผิดฐานสนับสนุน ช่วยเหลือ หรือสมคบกันกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดแล้ว เพื่อประโยชน์ในการสืบสวน การสอบสวน หรือการตรวจสอบทรัพย์สินในคดีความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับ ยาเสพติด กรณีผู้กระทาความผิดซึ่งมีหมายจับและยังจับกุมตัวไม่ได้ ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ้ หนา 6 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 83 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566

ในคดีนั้น แจ้งให้ผู้อานวยการสานักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกรุงเทพมหานคร หรือผู้อำนวยการ สานักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค แล้วแต่กรณี ทราบโดยเร็ว เพื่อร่วมกันสืบสวนและ สอบสวนขยายผลจับกุมและตรวจยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทาความผิดร้ายแรง เกี่ยวกับยาเสพติดของผู้กระทำความผิดดังกล่าวต่อไป ข้อ 31 เมื่อผู้กระทาความผิดประสงค์ จะให้ข้อมูลที่สาคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการ ปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต่อพนักงานสอบสวนตามมาตรา 153 แห่งประมวล กฎหมายยาเสพติด ให้พนักงานสอบสวนบันทึกคาให้การเกี่ยวกับการให้ข้อมูลที่สาคัญของผู้กระทา ความผิด รวมถึงบันทึกผลการนำข้อมูลดังกล่ำวไปใช้ขยายผลการปรา บ ปรามการกระทาความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติดไว้ในสานวนการสอบสวน โดยให้สอบสวนผู้ต้องหานั้นในฐานะเป็นพยานในคดีที่สามารถขยายผล การจับกุมได้ ในกรณีผู้กระทำความผิดได้ให้ข้อมูลต่อผู้จับกุมตามข้อ 17 แล้ว ให้พนักงานสอบสวน ทาการสอบสวนหรือสอบปากคาผู้จับกุม และบันทึกไว้ในสานวนการสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐาน ทั้งหมดในการพิสูจน์ความผิดและพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการให้ข้อมูลที่สาคัญและเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทาความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และบันทึกไว้ในสานวนการสอบสวน แ ละทาความเห็นเกี่ยวกับการให้หรือเปิดเผยข้อมูลของผู้ต้องหาไว้ในสำนวนการสอบสวน แล้วส่งสำนวน การสอบสวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาดาเนินการต่อไป ส่วนที่ 4 การประสานงานในชั้นพนักงานอัยการ ข้อ 32 คดีความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด เมื่อพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง ให้พนักงาน อัยการแจ้งคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง พร้อมเหตุผลและข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) ต่อเลขาธิการ ป.ป.ส. เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงการดาเนินคดีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ให้สานักงานอัยการสูงสุด สานักงานอัยการต่าง ๆ หรือกรมพระธรรมนูญ แจ้งรายละเอียด ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดรายเดือนมายังเลขาธิการ ป.ป.ส. ข้อ 33 ถ้าศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องคดีความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด ให้พนักงาน อัยการรายงานให้อัยการสูงสุด หรือเจ้ากรมพระธรรมนูญทราบ แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งสำเนา คาพิพากษารวมทั้งข้อสังเกตต่าง ๆ (ถ้ามี) เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงการดาเนินคดีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และให้สำนักงานอัยการสูงสุดหรือกรมพระธรรมนูญ แจ้งให้เลขาธิการ ป.ป.ส. ทราบ ข้อ 34 เมื่อพนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการเพื่อพิจารณา หากพนักงานอัยการเห็นว่าควรดาเนินคดีกับผู้ต้องหาในความผิดตามมาตรา 125 หรือมาตรา 127 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ให้พนักงานอัยการเป็นผู้พิจารณาแจ้งข้อหาเพื่อดาเนินคดีในความผิด ดังกล่าวได้ ้ หนา 7 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 83 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566

เมื่อพนักงานอัยการมีคาสั่งอนุมัติให้แจ้งข้อหาในความผิดตามมาตรา 125 หรือมาตรา 127 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ให้พนักงานสอบสวนรายงานการแจ้งข้อหาพร้อมทั้งสาเนาสานวน การสอบสวนไปยังเลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ที่เลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมายทราบโดยทันที ข้อ 35 ให้พนักงานอัยการตรวจพิจารณาว่าผู้กระทำความผิดได้ให้ข้อมูลที่สำคั ญและ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทาความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามข้อ 17 หรือข้อ 31 อันนำไปสู่การขยายผลการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือไม่ ถ้าเห็นว่า มีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานตามที่ผู้จับกุมหรือพนักงานสอบสวนได้บันทึกไว้ ให้พนักงานอัยการระบุ ในคาฟ้องหรือยื่นคาร้องต่อศาล ขอให้ศาลพิจารณาลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกาหนดไว้ สำหรับความผิดนั้น ส่วนที่ 5 การประสานงานในชั้นศาล ข้อ 36 ให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนแจ้งหมายเลขโทรศัพท์และช่องทางติดต่อสื่อสารทางอื่น (ถ้ามี) รวมทั้งที่ตั้งของผู้รับผิดชอบในการจัดส่งหมายเรียกแก่พยานและติดตามพยานไปยังสานักงานอัยการ ที่มีเขตอำนาจเหนือการสอบสวนของพนักงานสอบสวน เพื่อประโยชน์ในการประสานงานเกี่ยวกับการส่ง หมายเรียกและติดตามพยาน ให้ผู้รับผิดชอบในการจัดส่งหมายเรียกแก่พยานและติดตามพยาน รายงานผลการส่งหมาย ให้พนักงานอัยการทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหมายจากพนักงานอัยการ และติดตามพยาน เพื่อให้ไปพบพนักงานอัยการตามวัน เวลา และสถานที่ที่ได้รับแจ้งจากพนักงานอัยการ ในกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายเรียกให้พยานได้ ให้ผู้รับผิดชอบในการจัดส่งหมำยเรียกแก่พยาน และติดตามพยานระบุเหตุผลที่ไม่สามารถส่งหมายไว้โดยละเอียด และหากเป็นการส่งหมายไม่ได้เพราะ พยานย้ายที่อยู่ ให้ผู้รับผิดชอบในการจัดส่งหมายเรียกแก่พยานและติดตามพยานดาเนินการสืบหาที่อยู่ใหม่ ของพยาน พร้อมทั้งคัดสำเนาทะเบียนบ้านแห่งใหม่ของพยาน (ถ้ามี) แจ้งให้พนักงานอัยการทราบ ให้พนักงานสอบสวนระบุหมายเลขโทรศัพท์ของตนและของพยานทุกคนซึ่งสามารถติดต่อได้ ให้ปรากฏชัดในสำนวนการสอบสวน ให้พนักงานอัยการผู้ว่าคดีระบุหมายเลขโทรศัพท์ของตนซึ่งสามารถติดต่อได้ให้ปรากฏชัด ในหนังสือการส่งหมาย กรณีที่พยานได้รับหมำยเรียกแต่ไม่ต้องไปสืบพยาน โดยพนักงานอัยการได้รับทราบล่วงหน้า ให้พนักงานอัยการแจ้งพนักงานสอบสวนหรือพยานทราบเพื่อไม่ต้องเดินทางไปเป็นพยานศาล ข้อ 37 ให้ผู้จับกุมและพนักงานสอบสวนเตรียมความพร้อมก่อนที่จะสืบพยาน ในกรณี ที่พนักงานอัยการผู้ว่าคดีต้องการซักถามข้ อเท็จจริงจากผู้จับกุมหรือพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับการสืบพยาน ให้พนักงานอัยการผู้ว่าคดีแจ้งผู้จับกุมหรือพนักงานสอบสวนให้ไปพบตามวัน เวลา และสถานที่ที่กาหนด ้ หนา 8 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 83 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566

หากผู้จับกุมหรือพนักงานสอบสวนมีความประสงค์จะประสานเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ การสืบพยาน ให้ผู้จับกุมหรือพนักงานสอบสวนติดต่อขอพบพนักงานอัยการผู้ว่าคดีเพื่อทราบข้อเท็จจริง ก่อนที่จะทำการสืบพยาน ข้อ 38 ในระหว่างการสอบสวนหรือการสืบพยานคดีความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด ให้พนักงานสอบสวนตรวจสอบว่ามีเหตุอันควรที่จะร้องขอให้ศาลมีคาสั่งให้สืบพยานหลักฐานใดไว้ล่วงหน้า หรือไม่ หากปรากฏเหตุอันควรตามมาตรา 173/2 วรรคสอง และมาตรา 237 ทวิ แห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานสอบสวนประสานงานกับพนักงานอัยการเพื่อยื่นคาร้องขอต่อศาล ให้ทำการสืบพยานหลักฐานไว้ล่วงหน้าทันที ส่วนที่ 6 การปล่อยชั่วคราว ข้อ 39 เมื่อพนักงานสอบสวนเห็นว่าผู้ต้องหารายใดไม่สมควรได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ให้บันทึกข้อเท็จจริงและเหตุผล รวมทั้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์โดยละเอียดไว้ในคาร้องขอฝากขังทุกครั้ง เพื่อประกอบการพิจารณาของศาล ดังนี้ (1) รายละเอียดของข้อเท็จจริงและเหตุผลในการคัดค้านการปล่อยชั่วคราว ได้แก่ (ก) ลักษณะการกระทาอันเป็นความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด หรือกระทาความผิด อาญำอื่นที่เกี่ยวพันกับการกระทาความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด เนื่องจากมีบทกาหนดโทษสูง ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ผู้ต้องหาจะหลบหนี (ข) เอกสารหรือพยานหลักฐานที่ใช้ในการดาเนินคดีส่วนใหญ่อยู่ในอานาจสั่งการหรือ ภายใต้อิทธิพลของผู้ต้องหาซึ่งสามารถไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐำนนั้นได้ (ค) พฤติการณ์ของผู้ต้องหาว่าเป็นหัวหน้า ผู้สั่งการ หรือผู้จัดการ รวมถึงผู้สมคบหรือ ผู้สนับสนุน หรือเป็นผู้กระทาความผิดที่มีอาวุธหรือใช้อาวุธ หรือใช้กาลังประทุษร้ายในการกระทาความผิด ซึ่งถือว่าเป็นผู้ต้องหาที่น่าจะมีภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวได้ (ง) ผู้ร้องขอประกันมีพฤติการณ์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งอาจทำให้ผู้ต้องหาหลบหนีหรือไม่อาจบังคับ ตามข้อสัญญาประกันได้ (จ) ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราว (ฉ) เป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือ การดาเนินคดี ในศาล (2) ข้อมูลประวัติอาชญากรรมหรือพฤติกรรมที่เกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ต้องหาในอดีต และปัจจุบันจากบุคคลหรือหน่วยงานที่เ กี่ยวข้องโดยใช้เลขประจาตัวประชาชนสิบสามหลัก (ถ้ามี) หรือลายพิมพ์นิ้วมือเป็นหลักฐานในการสืบค้น ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 83 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566

เมื่อผู้ต้องหาคดีความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดร้องขอปล่อยชั่วคราว ให้พนักงานสอบสวน ขอให้ศาลพิจารณากาหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับที่อยู่ของผู้ซึ่งถูกปล่อยชั่วคราว หรือกาหนดเงื่อนไขอื่นใด ให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือเพื่อป้องกันภัยอันตราย หรือความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้นจากการปล่อยชั่วคราวก็ได้ ทั้งนี้ เงื่อนไขดังกล่าวอาจได้แก่การให้มารายงานตัวต่อพนักงาน สอบสวนตามเงื่อนเวลาที่กำหนด เมื่อผู้ต้องหาคดีความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดร้องขอปล่อยชั่วคราว ให้พนักงานสอบสวน แจ้งให้สำนักงาน ป.ป.ส. ทราบ เพื่อจะได้เสนอข้อมูลอันเป็นประโยชน์ประกอบการคัดค้านการปล่อยชั่วคราว หากศาลมีคาสั่งให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาในคดีความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพ ติดให้พนักงาน สอบสวนรายงานให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนและสานักงาน ป.ป.ส. ทราบเป็นหนังสือ เพื่อให้พิจารณา ป้องกันการหลบหนีหรือป้องกันความเสียหาย ข้อ 40 การคัดค้านการปล่อยชั่วคราวโดยพนักงานอัยการ ให้พนักงานอัยการดาเนินการ ตามข้อ 39 โดยอนุโลม หมวด 3 การดำเนินงานและการติดตามประเมินผล ข้อ 41 เมื่อเลขาธิการ ป.ป.ส. ต้องการทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพการรับโทษ ประวัติ การต้องโทษ หรือข้อเท็จจริงประการอื่นของนักโทษคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อรายงาน คณะกรรมการ ป.ป.ส. หรือเพื่อประโยชน์ในการปรามปรามยาเสพติด ให้กรมราชทัณฑ์ หรือเรือนจาทหาร ให้ความร่วมมือตามควรแก่กรณี เพื่อประโยชน์ในการดาเนินคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือการตรวจสอบทรัพย์สินในคดี ความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด ให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. เข้าไปสอบสวนหรือเพื่ อดาเนินการเกี่ยวกับ การตรวจสอบทรัพย์สินของผู้ต้องขังในเรือนจาหรือในสถานที่ที่คุมขังของกรมราชทัณฑ์หรือเรือนจาทหารได้ เมื่อได้ร้องขอต่อผู้บัญชาการเรือนจำหรือหัวหน้าสถานที่นั้นแล้ว นอกจากกรณีตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้กรมราชทัณฑ์ หรือเรือนจาทหาร รายงานสถิ ติ นักโทษในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดรายเดือนมายังเลขาธิการ ป.ป.ส. ข้อ 42 ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดแจ้งให้ หน่วยงานในสังกัดทราบ เพื่อถือเป็นแนวทางปฏิบัติ ข้อ 43 ให้ผู้บังคับบัญชาหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ทุกระดับให้การสนับสนุน กากับ ดูแล และติดตามการประสานงานในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้มีการดาเนินงานตามระเบียบนี้อย่างเคร่งครัด ข้อ 44 ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง กับการดาเนินคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดกาหนด แนวทางและวิธีการกำกับและติดตามการดาเนินงานของหน่วยงานในสังกัดให้ชัดเจนและรวดเร็ว ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 83 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566

ข้อ 45 ให้สานักงาน ป.ป.ส. ติดตามประเมินผลการประสานงานในคดีความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติดในภาพรวม เพื่อแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดทราบทุกปี ข้อ 46 ให้สำนักงาน ป.ป.ส. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด และกรมพระธรรมนูญ ร่วมกันประชุมสัมมนาระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินคดีความผิดเกี่ยวกับ ยาเ สพติดเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรค และพัฒนาแนวทางในการประสานงานคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้มีประสิทธิภาพ เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ยาเสพติดที่อาจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อย่างต่อเนื่องและเป็นประจาทุกปีโดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสานักงาน ป.ป.ส. หรือ ส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ 47 การรายงานหรือการแจ้งรายละเอียดตามระเบียบนี้ ให้เป็นไปตามแบบที่สานักงาน ป.ป.ส. กำหนด ประกาศ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 256 6 วิษณุ เครืองาม ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 83 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566