Thu Mar 30 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เรื่อง โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน อำนาจหน้าที่ วิธีการดำเนินงาน และสถานที่ติดต่อ เพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พ.ศ. 2566


ประกาศสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เรื่อง โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน อำนาจหน้าที่ วิธีการดำเนินงาน และสถานที่ติดต่อ เพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พ.ศ. 2566

ประกาศสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เรื่อง โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดาเนินงาน อำนาจหน้าที่ วิธีการดาเนินงาน และสถานที่ติดต่อ เพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของสานักงานเศรษฐกิจการคลัง พ.ศ. 2566 อนุสนธิประกาศสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เรื่อง โครงสร้างและการจัดองค์กรในการ ดาเนินงาน อานาจหน้าที่ วิธีการดาเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของสานักงาน เศรษฐกิจการคลัง พ.ศ. 2558 ประกาศ ณ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558 นั้น เนื่องจากกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนที่ 48 ก วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2565 โดยมีผลเป็นการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการ ตลอดจนหน้าที่และอานาจของสานักงานเศรษฐกิจการคลัง ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวง ดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 จึงให้ยกเลิกประกาศสานักงานเศรษฐกิจการคลัง เรื่อง โครงสร้างและการจัดองค์กร ใ นการดำเนินงาน อำนาจหน้าที่ วิธีการดำเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร ของสานักงานเศรษฐกิจการคลัง พ.ศ. 2558 และออกประกาศกาหนดโครงสร้างและจัดองค์กร ในการดำเนินงาน อำนาจหน้าที่ วิธีการดำเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร ขอ งสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 สานักงานเศรษฐกิจการคลังมีภารกิจเกี่ยวกับการเสนอแนะและการจัดทานโยบาย และมาตรการด้านการคลัง ระบบการเงิน รวมทั้งเศรษฐกิจมหภาคและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน รวมทั้ง การพัฒนาระบบบริหารที่มีมาตรฐาน และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ติดตาม กากับ ประเมิน และรายงาน ผลการดาเนินนโยบายหรือมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลัง ตลอดจนการเสริมสร้าง ความรู้ ความเข้าใจและการ ยอมรับในนโยบายและผลงานให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ประชาชน และ หน่วยงานทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยให้มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) เสนอแนะและจัดทำนโยบาย แผน และมาตรการเกี่ยวกับการคลังและภาษีอากร เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล (2) เสนอแนะและจั ดทานโยบาย แผน และมาตรการเกี่ยวกับระบบการเงิน การออม การลงทุนและการพัฒนาตลาดทุน ตลอดจนวางแผนและดาเนินการเกี่ยวกับความร่วมมือทางการเงิน และการธนาคารระหว่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และเป้าหมายในเชิงนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและเศรษฐกิจจุลภาคของประเทศ (3) เสนอแนะและจัดทำนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับเศรษฐกิจมหภาคและเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ รวมทั้งวางแผน ประสาน และดาเนินการเกี่ยวกับความร่วมมือทางด้านการเงินและ ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 75 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

การคลังระหว่างประเทศ และกับองค์การระห ว่างประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามข้อผูกพันระหว่างประเทศ และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (4) เป็นศูนย์ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทา ความผิดอันเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจการเงิน รวมทั้งเสนอแนะนโยบายและมาตรการตรว จสอบ และติดตามการกระทำความผิดเกี่ยวกับธุรกิจการเงินนอกระบบ (5) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของสำนักงานหรือ ตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ข้อ 2 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง มีการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้ (1) สำนักงานเลขานุการกรม (2) กองกฎหมาย (3) กองนโยบายการคลัง (4) กองนโยบายการออมและการลงทุน (5) กองนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน (6) กองนโยบายภาษี (7) กองนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน (8) กองนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน (9) กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค (10) กองนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (11) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อ 3 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง มีกลุ่มตรวจสอบภายในเพื่อทำหน้าที่หลักในการ ตรวจสอบการดาเนินงานภายในสานักงาน และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสานักงาน รับผิดชอบงาน ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการ โดยมีหน้าที่และอำนำจ ดังต่อไปนี้ (1) ดาเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของสำนักงาน (2) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ผู้อำนวยการมอบหมาย ข้อ 4 สานักงานเศรษฐกิจการคลัง มีกลุ่มที่ปรึกษาเศรษฐกิจและกา รคลังในต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของสานักงาน รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่อผู้อานวยการ โดยมีหน้าที่และอานาจ ดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้แทนประเทศไทยในการประชุมประจาปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลก กองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ สมาคมพัฒนาการระหว่างประเทศ บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ สถาบันการเงิน ระหว่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศอื่นที่เกี่ยวข้อง ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 75 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

(2) เป็นผู้แทนกระทรวงในคณะผู้แทนไทยในการเจรจาสัญญาเงินกู้ สัญญาค้ำประกัน และเอกสารอื่น ที่เกี่ยวข้องกับการกู้เงินของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจจากรัฐบาลต่างประเทศ สถาบัน การเงินระหว่างประเทศและสถาบันการเงินเอกชน ตามที่ได้รับมอบหมาย (3) เป็นผู้แทนประเทศไทย กระทรวง หรือส่วนราชการอื่น ในคณะกรรมการและ คณะอนุกรรมการต่าง ๆ รวมทั้งเข้าร่วมประชุมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจการเงินและ การคลัง ตลอดจนติดต่อประสานงำนกับหน่วยงานและสถาบันต่าง ๆ ในต่างประเทศ สถาบันการเงิน ระหว่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ (4) เป็นผู้แทนกระทรวงหรือรัฐวิสาหกิจ ในการรับหมายศาลหรือเอกสารอื่นที่พึงมีในกรณี เกิดการฟ้องร้องเกี่ยวกับสัญญาเงินกู้และสัญญาค้ำประกัน ตามที่ได้รับมอบหมาย (5) สนับสนุนและส่งเสริมให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย (6) เผยแพร่ข้อมูล สร้างความรู้ความเข้าใจ และความน่าเชื่อถือทางด้านเศรษฐกิจและ การคลังของประเทศ รวมทั้งติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในเชิงนโยบายและความร่วมมือ ระหว่างประเทศ (7) ปฏิบัติ งานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ผู้อำนวยการมอบหมาย ข้อ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ให้มีกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร เพื่อทำหน้าที่หลัก ในการพัฒนาการบริหารของสานักงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า รับผิดชอบงานขึ้นตรง ต่อผู้อำนวยการ โดยมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) เสนอแนะให้คาปรึกษาแก่ผู้อานวยการเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ ภายในสำนักงาน (2) ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการภายใน สำนักงาน (3) ประสานและดาเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ และหน่วยงานภายในสำนักงาน (4) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ผู้อำนวยการมอบหมาย ข้อ 6 สานักงานเลขานุการกรม มีหน้าที่และอานาจเกี่ยวกับราชกำรทั่วไปของสานักงาน และราชการที่มิได้แยกเป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ หน้าที่และอำนาจดังกล่าวให้รวมถึง (1) ปฏิบัติงานสารบรรณของสำนักงาน (2) ดาเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการของสำนักงาน (3) ดาเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมา ณ การพัสดุ อาคารสถานที่ และ ยานพาหนะของสำนักงาน ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 75 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

(4) ดาเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การพัฒนาบุคลากร ตลอดจนการเสริมสร้างวินัย และรักษาระบบคุณธรรมของสำนักงาน (5) ดาเนินการเกี่ยวกับงานห้องสมุดของสำนักงาน (6) ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรม ความรู้ ความก้าวหน้า และผลงานของสำนักงาน (7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ผู้อำนวยการมอบหมาย ข้อ 7 กองกฎหมาย มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) ยกร่างกฎหมาย แก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิก กฎหมาย ระเบียบ คาสั่ง ประกาศ หรือนิติกรรมสัญญา ในด้านการเงิน การคลัง ภาษีอากร การออม การลงทุน และการเศรษฐกิจ ที่เกี่ยวข้อง (2) ดาเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและอาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน (3) ศึก ษาวิเคราะห์กฎหมายในด้านการเงิน การคลัง ภาษีอากร การออม การลงทุน และ การเศรษฐกิจเพื่อวางแผนและพัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (4) ให้คาปรึกษาและเสนอแนะความเห็นทางกฎหมายในด้านการเงิน การคลัง ภาษีอากร การออม การลงทุน และการเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องแก่หน่วยงานในสังกัดสำนักงาน (5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ผู้อำนวยการมอบหมาย ข้อ 8 กองนโยบายการคลัง มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) เสนอแนะและจัดทำนโยบาย แผน และมาตรการเกี่ ยวกับการคลังภาคสาธารณะ ในส่วนที่เกี่ยวกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ทุนหมุนเวียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่น ของรัฐ ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจทั้งด้านรายได้ รายจ่ายสาธารณะ การบริหารดุลงบประมาณ การบริหารทรัพย์สิน และหนี้สาธารณะ (2) ติดตาม วิเคราะห์ ประเมิน และรายงานภาวะรายได้ รายจ่าย ดุลงบประมาณ การบริหารทรัพย์สิน หนี้สาธารณะ รวมทั้งมาตรการกึ่งการคลังของรัฐ ภาระผูกพันทางการคลัง และภาพรวมฐานะการคลังภาคสาธารณะ ในส่วนที่เกี่ยวกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ทุนหมุนเวียน องค์กรปก ครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ (3) วางแผนด้านการคลังและจัดทำแผนปฏิบัติงานด้านการคลังของกระทรวงให้สอดคล้องกับ นโยบายของรัฐบาล รวมทั้งประเมินผลการดาเนินงานของแผนดังกล่าว (4) เสนอแนะกฎเกณฑ์และแนวทางในการรักษาวินัยทางการคลัง การกำหนดกรอบ ความยั่งยืนทางการคลัง การติดตามประเมินผลและเสนอแนะแนวทางในการบริหารความเสี่ยงทางการคลัง และการจัดทำและพัฒนาเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 75 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

(5) จัดทำข้อมูลด้านการคลังภาคสาธารณะ ข้อมูลเพื่อการบริหารความเสี่ยงทางการคลังและ ข้อมูลเกี่ยวกับการดาเนินนโยบายด้านกำรคลัง ในส่วนที่เกี่ยวกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ทุนหมุนเวียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ (6) เสนอแนะและจัดทานโยบายด้านการคลังท้องถิ่นให้สอดคล้องกับนโยบายการกระจายอานาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น (7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ผู้อำนวยการมอบหมาย ข้อ 9 กองนโยบายการออมและการลงทุน มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) เสนอแนะและจัดทานโยบาย แผน และมาตรการในการส่งเสริมการออม การพัฒนา สถาบันการออม เครื่องมือการออม และการบริหารเงินออมรูปแบบต่าง ๆ (2) เสนอแนะและจัดทานโยบาย แผน และมาตรการในการพัฒนาระบบบาเหน็จบานาญ ของประเทศ การสร้างวินัยการออมเพื่อการเกษียณอายุ และการรองรับสังคมผู้สูงอายุ (3) เสนอแนะและจัดทานโยบาย แผน และมาตรการด้านการลงทุน รวมทั้งการพัฒนา เครื่องมือการลงทุนเพื่อส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (4) เสนอแนะและจัดทานโยบาย แผน และมาตรการเกี่ยวกับการพัฒนาตลาดทุนและ นวัตกรรมในตลาดทุน (5) เสนอแนะและจัดทำนโยบาย แผน และมาตรการในการพัฒนาทักษะทางการเงิน ของประชาชน และการพัฒนาระบบการออมและการลงทุนอย่างยั่งยืน (6) จัดทำข้อมูลด้านการออม การลงทุนและตลาดทุนรวมทั้งวิเคราะห์สถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลง เพื่อประกอบการเสนอแนะนโยบาย แผน และมาตรการที่เหมาะสม (7) ประสานงานด้านการออม การลงทุน และตลาดทุน กับหน่วยงานภาครัฐ ภาค เอกชน และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง (8) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ผู้อำนวยการมอบหมาย ข้อ 10 กองนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) เสนอแนะและจัดทำนโยบาย แผน และมาตรการในกา รพัฒนาและเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของการให้บริการทางการเงินภาคประชาชน และการพัฒนาระบบความคุ้มครองทางสังคม รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพของระบบการเงินฐานราก (2) เสนอแนะและจัดทานโยบาย แผน และมาตรการในการดาเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ภาคประชาชน (3) จัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศการเงินและการออมภาคประชาชน ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 75 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

(4) เสนอแนะนโยบายและดาเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการเงินนอกระบบ รวมทั้งรับข้อร้องเรียนจากประชาชนและนิติบุคคลที่ได้รับความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือ ถูกหลอกลวงเกี่ยวกับความผิดอันเป็นอาช ญากรรมทางเศรษฐกิจการเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ (5) ตรวจสอบ ติดตาม และดาเนินการเกี่ยวกับผู้มีพฤติการณ์สงสัยว่ากระทาความผิดตาม กฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และความผิดอันเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ การเงิน รวมทั้งเป็นศูนย์ประสานงานกับหน่ วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทา ความผิดอันเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจการเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ (6) ปฏิบัติงานเลขานุการในคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม ทางเศรษฐกิจการเงินที่อยู่ในความรับผิดชอบ (7) เสนอแนะนโยบา ยและปฏิบัติการเพื่อกากับดูแลการประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัด ภายใต้การกากับ (8) ดาเนินการเกี่ยวกับสถาบันการเงินประชาชน โดยปฏิบัติงานเป็นนายทะเบียน ส่งเสริม ช่วยเหลือ แนะนำ กำกับดูแล และตรวจสอบ รวมถึงการออกระเบียบหรือคาสั่งเพื่อประโยชน์ ในการดาเนินกิจการของสถาบันการเงินประชาชน หรือกระทาการอื่นใดตามที่กฎหมายเกี่ยวกับสถาบันการเงิน ประชาชนกาหนด (9) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ผู้อำนวยการมอบหมาย ข้อ 11 กองนโยบายภาษี มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อ ไปนี้ (1) ศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะ ออกแบบนโยบาย และกำหนดกลยุทธ์และมาตรการ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่นของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งเครื่องมือทางภาษีเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้าในการกระจายรายได้ และเสนอแนะการจัดเก็บ ภาษีอากรประเภทใหม่ (2) ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำความเห็นเพื่อประกอบการวินิจฉัย ให้คำปรึกษาและ คาแนะนาของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือคณะอนุกรรมการอื่น ๆ ตามที่ คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแต่งตั้ง รว มถึงดาเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการ ของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (3) ศึกษา และเสนอแนะนโยบายการชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร (4) เสนอแนะและจัดทำนโยบายและมาตรการการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร (5) จัดทาและพัฒนาระบบฐานข้อมู ลด้านภาษีอากรให้ครบถ้วนทันสมัยครอบคลุมข้อมูล เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อการวิเคราะห์นโยบายภาษีอากรที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งจัดทา บทวิเคราะห์และรายงานเกี่ยวกับข้อมูลภาษีอากรเพื่อสนับสนุนการเตือนภัยด้านการคลัง ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 75 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

(6) ให้คาปรึกษา แนะนา ให้ความเห็น และตอบข้อหารือและข้อร้องเรียนเกี่ยวกับนโยบาย ภาษีอากรแก่หน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน และประชาชน (7) เผยแพร่ความรู้ด้านภาษีอากรแก่ประชาชน (8) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ผู้อำนวยการมอบหมาย ข้อ 12 กองนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) เสนอแนะและจัดทำนโยบาย แผน และมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาระบบ การประกันภัยและการบริหารเงินลงทุน รวมทั้งการประกันภัยต่อ ให้มีความมั่นคง สามารถแข่งขันได้ และมีมาตรฐานทั้งในด้านระบบการเงินและการบัญชี และด้านการกำกับดูแลที่ดี (2) เสนอแนะและจัดทานโยบายในการส่งเสริมการคุ้มครองผู้มีสิทธิประโยชน์ตามสัญญา ประกันภัย (3) เสนอแนะและจัดทำนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาระบบการประกันภัยพืชผล และเครื่องมือในการบริหารความ เสี่ยงภัยให้แก่ประชาชน (4) ติดตามภาวะการประกันภัย และประสานงานกับสานักงานคณะกรรมการกากับและ ส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เพื่อเสนอแนะนโยบายในการกากับดูแลระบบการประกันภัย ให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาระบบการเงินและเศรษฐกิจโดยรวม (5) เสนอแนะและจัดทานโยบา ย แผน และมาตรการในการพัฒนาระบบการดูแลผลประโยชน์ ของคู่สัญญาตามสัญญาดูแลผลประโยชน์ ให้มีความมั่นคงและได้มาตรฐานสากล (6) เสนอแนะและจัดทานโยบาย แผน และมาตรการในการคุ้มครองเงินฝากในสถาบันการเงิน ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก (7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ผู้อำนวยการมอบหมาย ข้อ 13 กองนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) เสนอแนะและจัดทานโยบาย แผน และมาตรการในด้า นระบบการเงินและระบบสถาบันการเงิน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการคลังและนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล (2) เสนอแนะและจัดทำนโยบายการพัฒนาระบบการเงินและระบบสถาบันการเงิน (3) วางแผนและดาเนินการเกี่ยวกับความร่วมมือทางการเงินและการธนาคารระหว่างประเทศ (4) ติดตามและดูแลการดาเนินงานของสถาบันการเงิน โดยประสานงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (5) เสนอแนะและจัดทำนโยบายเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ รวมทั้งติดตามและดูแลการดาเนินงานของสถาบันการเงิ นตามนโยบาย ้ หนา 20 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 75 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

(6) จัดทาระบบฐานข้อมูลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้งสถาบันการเงินเพื่อใช้เป็น ข้อมูลประกอบการเสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านการเงิน (7) บริหารจัดการเกี่ยวกับกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (8) เสนอแนะและจัดทานโยบายในการกากับดูแลการให้บริการทางการเงิน และผลิตภัณฑ์ ทางการเงินที่มีการนาเทคโนโลยีทางการเงินมาใช้ในการประกอบธุรกิจ (9) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ผู้อำนวยการมอบหมาย ข้อ 14 กองนโยบายเศรษฐกิ จมหภาค มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) เสนอแนะและจัดทานโยบายด้านเศรษฐกิจมหภาค โดยสร้างเครือข่ายเพื่อประสาน การจัดทำนโยบายกับองค์กรในภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ (2) ติดตาม ศึกษา และวิเคราะห์ประเด็นปัญหา ปัจจัยเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจโลก ประเมินผลกระทบ และจัดทารายงานภาวะเศรษฐกิจ บทวิเคราะห์ประเด็นสาคัญ ทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งนำเสนอข้อมูลเศรษฐกิจไทยในการประชุมทั้งในประเทศและ ระหว่างประเทศ (3) พัฒนาแบบจาลองเศรษฐกิจมหภาคให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและใช้เป็น เครื่ องมือในการประมาณการเศรษฐกิจในระยะสั้นและระยะยาว (4) จัดทาและพัฒนาฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจมหภาคในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลัง เพื่อวิเคราะห์และประเมินปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจและนัยเชิงนโยบายเสนอต่อกระทรวงการคลัง (5) ประชาสัมพันธ์ และจัดทาสื่อเผยแพร่ข้อมูลสถานการณ์เศรษฐกิจไทย ผลการประมาณการ เศรษฐกิจไทย และผลการศึกษาวิเคราะห์เชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ เพื่อสร้างความเข้าใจ ที่ถูกต้องต่อสาธารณชนและสถาบันที่ทำหน้าที่ประเมินภาวะเศรษฐกิจไทย (6) ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นในประเด็นทางเศรษฐกิจและ การดาเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชน (7) ดาเนินการเกี่ยวกับการขยายฐานการลงทุน เพื่อสนับสนุนให้มีการลงทุนจากต่างประเทศ และการลงทุนของคนไทยในต่างประเทศ (8 ) จัดทาและพัฒนาฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ ใช้ในการติดตาม วิเคราะห์ และประมวลผล รวมถึงการบริหารจัดการข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการเสนอแนะนโยบายเศรษฐกิจต่อกระทรวงการคลัง (9) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบั ติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ผู้อำนวยการมอบหมาย ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 75 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

ข้อ 15 กองนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) ศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะ และจัดทานโยบายและกลยุทธ์ เพื่อกาหนดแนวทางและ มาตรการด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และด้านการเงินกา รคลัง ให้เป็นไปตามข้อผูกพันและความตกลง ระหว่างประเทศ รวมทั้งเข้าร่วมการเจรจาระหว่างประเทศ และกำหนดแนวทางที่เกี่ยวข้องกับ กระทรวงการคลังในฐานะภาคีสมาชิกในสถาบันการเงินระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ (2) จัดทาแผนการลดภาษีอากรตามข้อผูกพันและความตกลงระหว่างประเทศ รวมทั้งศึกษา วิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางการสนับสนุนการดาเนินการตามข้อผูกพันและความตกลงระหว่างประเทศ โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (3) เป็นศูนย์กลางเผยแพร่ข้อมูล ผลงานและการดาเนินการภายใต้กรอบ ความตกลงระหว่าง ประเทศเกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการค้า การบริการด้านการเงิน และกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวกับกระทรวงการคลัง รวมทั้งประสานงานด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศกับหน่วยงาน องค์การ และสถาบันต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนสถาบันการเงินระหว่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ (4) ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทานโยบายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการเงินและ การคลังกับประเทศเพื่อนบ้าน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง และกลุ่มเศรษฐกิจในระดับอนุภูมิภาคอื่น รวมทั้งเข้าร่วมการเจรจาเกี่ ยวกับความร่วมมือดังกล่าว (5) ศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการที่รับความช่วยเหลือจากสถาบันการเงิน ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ ตลอดจนกากับดูแลและให้คาปรึกษาการดาเนินโครงการ ดังกล่าวของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ และข้ อบังคับของสถาบันการเงิน ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศที่ให้ความช่วยเหลือ (6) เป็นศูนย์กลางของกระทรวงการคลังในการประสานงานกับคณะกรรมการนโยบาย เศรษฐกิจระหว่างประเทศ (7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ผู้อำ นวยการมอบหมาย ข้อ 16 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) จัดทาแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศของสานักงาน รวมทั้งติดตาม และประเมินผลตามแผนดังกล่าว (2) วางแผน พัฒนา และบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงาน (3) พัฒนางานสารสนเทศด้านเศรษฐกิจการคลัง โดยเป็นศูนย์กลางในการจัดทำระบบ ฐานข้อมูลและคลังข้อมูลด้านเศรษฐกิจมหภาค เศรษฐกิจระหว่างประเทศ การเงินและการคลัง ของรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ้ หนา 22 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 75 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

(4) เป็นศูนย์กลางในการให้บริการ ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ ของสำนักงาน ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แก่หน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน และประชาชน (5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ผู้อำนวยการมอบหมาย ข้อ 17 สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง และหน่วยงานในสังกัด คือห้องสมุดสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ชั้น 5 อาคารกระทรวงการคลัง ถนนพระราม 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 หมายเลขโทรศัพท์ 0 2273 9020 ต่อ 3593 หมายเลขโทรสาร 0 2618 3379 เว็บไซต์ www . fpo . go . th และทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ saraban@fpo . go . th ประกาศ ณ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 25 6 6 พรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสานักงานเศรษฐกิจการคลัง ้ หนา 23 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 75 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566