ประกาศคณะกรรมการพิจารณาคัดกรองผู้ได้รับการคุ้มครอง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการพิจารณาคัดกรองคำขอเป็นผู้ได้รับการคุ้มครอง
ประกาศคณะกรรมการพิจารณาคัดกรองผู้ได้รับการคุ้มครอง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการพิจารณาคัดกรองคำขอเป็นผู้ได้รับการคุ้มครอง
ประกาศคณะกรรมการพิจารณาคัดกรองผู้ได้รับการคุ้มครอง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการพิจารณาคัดกรองคำขอเป็นผู้ได้รับการคุ้มครอง โดยที่เป็นการสมควรประกาศกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การพิจารณาคัดกรอง คนต่างด้าวเพื่อให้สถานะเป็นผู้ได้รับการคุ้มครองตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการคัดกรอง คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศอันเป็นภูมิลำเนาได้ พ.ศ. 2562 อาศัยอานาจตามความในข้อ 9 (1) และข้อ 20 วรรคหนึ่ง ของระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศ อันเป็นภูมิลาเนาได้ พ.ศ. 2562 คณะกรรมการพิจารณาคัดกรองผู้ได้รับการคุ้มครอง โดยความเห็นชอบ ของคณะรัฐมนตรี จึงออกประกาศ ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคาร้องขอรับสิทธิเป็นผู้ได้รับการคุ้มครองของคนต่างด้าว ผู้ยื่นคาร้องขอตามข้อ 17 ของระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามา ในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศอันเป็นภูมิลำเนาได้ พ.ศ. 2562 จากหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) เป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรและไม่สามารถหรือไม่สมัครใจที่จะเดินทาง กลับไปยังรัฐแห่งสัญชาติของตน หรือในกรณีที่เป็นบุคคลไร้สัญชาติ ไม่สามารถหรือไม่สมัครใจ ที่จะเดินทางกลับไปยังรัฐเดิมที่คนต่างด้าวนั้นมีถิ่นพานักประจา อันเนื่องมาจากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า จะได้รับอันตรายจากการถูกประหัตประหารตามข้อกาหนดที่ออกตามความในข้อ 3 ของระเบียบ สานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทาง กลับประเทศอันเป็นภูมิลำเนาได้ พ.ศ. 2562 (2) ไม่เป็นคนต่างด้าวที่กระทรวงมหาดไทยมีมาตรการหรือกระบวนการดาเนินการรองรับ เป็นการเฉพาะ (3) ไม่เป็นแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ที่คณะรัฐมนตรี มีมติกำหนดมาตรการหรือกระบวนการดำเนินการรองรับเป็นการเฉพาะ หรือที่คณะรัฐมนตรีมีมติกาหนด เพิ่มเติม การพิจารณาคำร้องขอรับสิทธิเป็นผู้ได้รับการคุ้มครอง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณา จากเหตุ ที่กล่าวอ้างในคำร้องขอว่ามีความชัดเจนเพียงพอที่ผู้ยื่นคำร้องขอจะได้รับสิทธิเช่นนั้นหรือไม่ โดยยังไม่ต้องพิจารณาหรือตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงในเนื้อหาของเหตุที่กล่าวอ้างนั้น ข้อ 3 คนต่างด้าวที่เป็นสมาชิกในครอบครัวของผู้ยื่นคาร้องขอรับสิทธิหรือเป็นผู้ พึ่งพาผู้ยื่นคำร้องขอ ในทางสังคม ทางอารมณ์ หรือทางเศรษฐกิจ อาจยื่นคำร้องขอร่วมหรือแยกกับผู้ยื่นคาร้องขอได้ ้ หนา 35 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 72 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 มีนาคม 2566
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ยื่นคาร้องขอมีลักษณะครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ที่กาหนดในข้อ 2 และมีสิทธิยื่นคาขอเป็นผู้ได้รับการคุ้มครองแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่พึงพิจารณา ให้สมาชิกในครอบครัวหรือผู้พึ่งพาของผู้ยื่นคาร้องขอได้รับสิทธิยื่นคาขอเป็นผู้ได้รับการคุ้มครองด้วย โดยให้คานึงถึงหลักความเป็นเอกภาพของครอบครัว ข้อ 4 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ร่วมกับสำ นักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ประจาประเทศไทย องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน ประจาประเทศไทย และภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนและความช่วยเหลือที่จำเป็นให้ผู้ยื่นคำร้องขอรับสิทธิสามารถเข้าใจ และเข้าถึงกระบวนการยื่นคาร้อ งขอได้ในภาษาต่าง ๆ รวมถึงการเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมาย และการมีผู้แทนทางกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้ยื่นคาร้องขอเป็นผู้เยาว์ที่อยู่โดยลาพัง ตลอดจนความช่วยเหลือพิเศษแก่ผู้ยื่นคาร้องขอที่มีความต้องการเฉพาะ เช่น ผู้เยาว์ที่อยู่โดยลาพัง ผู้ ไม่รู้หนังสือ ผู้พิการ หรือผู้เจ็บป่วย ข้อ 5 เมื่อคณะกรรมการได้รับคำขอเป็นผู้ได้รับการคุ้มครองจากคนต่างด้าวแล้ว ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ยื่นคำขอมีลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ 2 แห่งประกาศนี้ (2) ผู้ยื่นคำขอมีความหวาดกลัวเนื่องจากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจะได้รับอันตรายจาก การประหัตประหารตามข้อกำหนดที่ออกตามความในข้อ 3 ของระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศอันเป็นภูมิลำเนาได้ พ .ศ. 2562 (3) ผู้ยื่นคาขอไม่สามารถหรือไม่สมัครใจที่จะเดินทางกลับไปยังรัฐแห่งสัญชาติของตน หรือไม่สมัครใจ ที่จะได้รับการคุ้มครองจากรัฐนั้น ด้วยเหตุแห่งความหวาดกลัวตาม (2) หรือในกรณีที่เป็นบุคคลไร้สัญชาติ ไม่สามารถหรือไม่สมัครใจที่จะเดินทางกลับไปยังรัฐเ ดิมที่คนต่างด้าวนั้นมีถิ่นพานักประจา ด้วยเหตุ แห่งความหวาดกลัวตาม (2) (4) ผู้ยื่นคาขอไม่เป็นผู้มีสิทธิและหน้าที่ในประเทศอื่นและสามารถใช้ชีวิตอยู่ในประเทศอื่นนั้น ได้อยู่แล้ว (5) ผู้ยื่นคาขอไม่เป็นผู้มีส่วนร่วมกระทาอาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อสันติภาพ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ หรืออาชญากรรมร้ายแรงทั่วไปอื่นที่มิใช่อาชญากรรมทางการเมือง การพิจารณาเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจะได้รับอันตรายจากการถูกประหัตประหารตาม (2) ให้คณะกรรมการคานึงถึงข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อื่นใดที่เกี่ยวข้องในรัฐต้นทางด้วย เช่น การมีรูปแบ บ ที่ต่อเนื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐนั้นอย่างร้ายแรง โดยซึ่งหน้า หรืออย่างกว้างขวาง มีการรุกรานจากรัฐอื่น การยึดครองดินแดน การถูกครอบงาโดยต่างชาติ หรือเหตุการณ์ที่ส่งผลให้เกิด ความไม่สงบอย่างรุนแรง ไม่ว่าในพื้นที่ทั้งหมดหรือบางส่วนของรัฐ ข้อ 6 ให้คณะกรรมการนำข้อมูล เอกสารหรือหลักฐาน ดังต่อไปนี้มาใช้ประกอบ การพิจารณาคาขอเป็นผู้ได้รับการคุ้มครองตามข้อ 5 ้ หนา 36 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 72 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 มีนาคม 2566
(1) การตรวจสอบหมายจับและประวัติอาชญากรรม (2) การตรวจสอบพฤติการณ์บุคคล การเมือง และความมั่นคงของชาติ (3) ใบรับรองแพทย์ซึ่งแสดงว่าผู้ยื่นคาข อไม่มีโรคอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎกระทรวงว่าด้วย การกำหนดโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรหรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (4) ข้อมูล เอกสารหรือหลักฐานอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ 7 คนต่างด้าวที่เป็นสมาชิกในครอบครัวของผู้ยื่นคำขอหรือเป็ นผู้พึ่งพาผู้ยื่นคำขอ ในทางสังคมทางอารมณ์ หรือทางเศรษฐกิจ อาจยื่นคำขอร่วมหรือแยกกับผู้ยื่นคาขอได้ ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ยื่นคาขอมีลักษณะครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดในข้อ 5 และได้รับสถานะเป็นผู้ได้รับการคุ้มครองแล้ว คณะกรรมการอาจพิจาร ณาให้สมาชิก ในครอบครัวหรือผู้พึ่งพาของผู้ยื่นคำขอได้รับสถานะเป็นผู้ได้รับการคุ้มครองได้ เว้นแต่สมาชิก ในครอบครัวหรือผู้พึ่งพาของผู้ยื่นคาขอไม่เข้าลักษณะตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5 (4) หรือ (5) ทั้งนี้ โดยให้คานึงถึงหลักความเป็นเอกภาพของครอบครัว ข้อ 8 ให้นำความในข้อ 4 มาใช้บังคับแก่การพิจารณาคาขอเป็นผู้ได้รับการคุ้มครอง ของคณะกรรมการด้วย ข้อ 9 คนต่างด้าวรายใดแม้มีลักษณะครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สถานะ เป็นผู้ได้รับการคุ้มครองตามข้อ 5 แต่ถ้าคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่าการให้สถานะเป็นผู้ได้รับ กา รคุ้มครองแก่คนต่างด้าวรายนั้นอาจเป็นเหตุที่จะกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ คณะกรรมการ อาจมีมติไม่ให้สถานะเป็นผู้ได้รับการคุ้มครองแก่ผู้อยู่ระหว่างคัดกรองสถานะได้ มติของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งให้เป็นที่สุด และถือเป็นข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย ตามมาตรา 1 5 (1) และ (2) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ข้อ 10 ให้คณะกรรมการดาเนินการให้มีการจัดทาคู่มือปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกระบวนการพิจารณาคาขอเป็นผู้ได้รับการคุ้มครอง ซึ่งอย่างน้อยต้องกาหนดรายละเอียดเกี่ยวกับ แนวทางการให้ความช่วยเหลือ คำแนะนำและคำปรึกษาแก่ผู้ยื่นคำร้องขอและผู้ยื่นคำขอ การสัมภาษณ์ การเก็บและบันทึกข้อมูล การบริหารจัดการทะเบียนประวัติ การจัดลำดับการพิจารณาคำขอ และการเก็บรักษาข้อมูลเพื่อปกป้องและรักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ยื่นคาร้อ งขอและผู้ยื่นคาขอ และเพื่อป้องกันการทุจริต โดยให้เวียนให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยึดถือปฏิบัติ ประกาศ ณ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 25 6 6 พลตำรวจเอก ดารงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ประธานคณะกรรมการพิจารณาคัดกรองผู้ได้รับการคุ้มครอง ้ หนา 37 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 72 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 มีนาคม 2566