ประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง นิยามโรคไข้หวัดนกตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 (Case Definition for Notifiable Avian Influenza) พ.ศ. 2566
ประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง นิยามโรคไข้หวัดนกตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 (Case Definition for Notifiable Avian Influenza) พ.ศ. 2566
ประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง นิยามโรคไข้หวัดนกตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ( Case Definition for Notifiable Avian Influenza ) พ.ศ. 2566 จากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2547 - 2551 กรมปศุสัตว์ ได้ใช้มาตรการสำคัญคือการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก ทั้งการเฝ้าระวังเชิงรับและเชิงรุก ด้วยอาการทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการ รวมทั้งดาเนินการป้องกันและควบคุมโรคตามพระราชบัญญัติ โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 โดยกำหนดให้โรคไข้หวัดนกเป็นโรคระบาด ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้การดาเนินการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เกิดประสิทธิภาพ ทันต่อสถานการณ์ และเกิดประโยชน์สูงสุด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมปศุสัตว์ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง นิยามโรคไข้หวัดนกตามพระราชบัญญัติ โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ( Case Definition for Notifiable Avian Influenza ) พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง นิยามโรคไข้หวัดนกตามพระราชบัญญัติ โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 และประกาศ กรมปศุสัตว์ เรื่อง นิยามโรคไข้หวัดนกตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ข้อ 4 กำหนดนิยามของสัตว์ปีกที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดนก ดังนี้ (1) โรคไข้หวัดนก กรณีการยืนยันทางห้องปฏิบัติการ หมายความว่า โรคที่เกิดจาก การติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซ่าเอ ( Influenza A virus ) ใด ๆ ก็ตามที่เกิดจากชนิด H 5 หรือ H 7 ที่ได้รับการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการตามวิธีมาตรฐานขององค์การสุขภาพสัตว์โลก ( WOAH ) หรือโดยเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซ่าเอ ( Influenza A virus ) ใด ๆ ที่มีค่าดัชนีการก่อโรคเมื่อฉีดเข้า หลอดเลือดดา ( Intravenous Pathogenicity index : IVPI ) มากกว่า 1.2 หรือมีอัตราการตาย อย่างน้อยร้อยละ 75 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือโรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรง และโรคไข้หวัดนก ชนิดไม่รุนแรง (1.1) โรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรง ( High Pathogenicity Avian Influenza Viruses ) หมายความว่า ้ หนา 23 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 70 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 มีนาคม 2566
(1.1.1) โรคซึ่งเ กิดจากเชื้อไวรัสโรคไข้ หวัดนกที่มีค่าดัชนีการก่อโรคเมื่อฉีดเชื้อ เข้ำหลอดเลือดดา ( IVPI ) ในลูกไก่ อายุ 6 สัปดาห์ มากกว่า 1.2 หรือเป็นเหตุให้ลูกไก่อายุ 4 - 8 สัปดาห์ ที่ถูกทำให้ติดเชื้อทาง หลอดเลือดดาเกิดอัตราการตายอย่างน้ อยร้ อยละ 75 (1.1.2) โรคซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสโรคไข้ หวัดนกชนิด H 5 และ H 7 ที่มีค่า IVPI น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.2 หรือเป็นสาเหตุให้ลูกไก่อายุ 4 - 8 สัปดาห์ ที่ถูกทำให้ติดเชื้อทางหลอดเลือดดา มีอัตราการตายน้อยกว่าร้อยละ 75 ควรนาไปทดสอบหาลาดับของกรดอะมิโน ( Sequencing ) ที่ตาแหน่ง Cleavage sites ของโปรตีน HA 0 หากพบการเรียงลำดับของกรดอะมิโนที่ตำแหน่งดังกล่าว มีลักษณะเหมือนกันกับเชื้อไข้หวัดนกชนิดรุ นแรงที่เคยแยกเชื้อได้นั้นให้จัด เป็น โรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรง (1.2) โรคไข้ หวัดนกชนิดไม่ รุนแรง ( Low Pathogenicity Avian Influenza Viruses ) หมายความว่า เชื้อไวรัสอินฟลูเอนซ่าเอ ( Influenza A virus ) ชนิด H 5 และ H 7 ทั้งหมด ซึ่งไม่ใช่โรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรง (2) โรคไข้ หวัดนก กรณีสงสัยว่าป่วย หมายความว่า (2.1) สัตว์ปีกที่เลี้ยงในฟาร์มผ่านการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านปศุสัตว์ มีอัตราการตายร้อยละ 1 ใน 2 วัน หรือมีอัตราการกินอาหารหรือน้าลดลงร้อยละ 5 ใน 1 วัน หรืออัตราการไข่ลดลงร้อยละ 5 ใน 1 วัน (2.2) สัตว์ปีกที่เลี้ยงในฟาร์มที่มีความปลอดภัย ทางชีวภาพเบื้องต้น หรือเป็ดไล่ทุ่ง มีอัตราการตายร้อยละ 5 ใน 2 วัน หรือมีอัตราการกินอาหารหรือน้าลดลงร้อยละ 5 ใน 1 วัน หรืออัตราการไข่ลดลงร้อยละ 5 ใน 1 วัน (2.3) สัตว์ปีกที่เลี้ยงหลังบ้านหรือเลี้ยงเพื่อบริโภคในครัวเรือน มีการตายอย่างน้อย 2 ตัว ใน 2 วัน (2.4) สัตว์ปีกตาม (2.1) (2.2) และ (2.3) แสดงอาการอย่างน้อย 1 อาการร่วมด้วย ดังนี้ (2.4.1) อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจลำบาก หน้าบวม น้ำตาไหล หรือ (2.4.2) อาการทางระบบประสาท เช่น ชัก คอบิด หรือ (2.4.3) อาการอื่น ๆ เช่น ท้องเสีย ขนยุ่ง ซึม ไม่กินอาหาร ไข่ผิดรูป หงอนและเหนียงมีสีคล้ำ หรือหน้าแข้งมีจุดเลือดออก ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 256 6 สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ้ หนา 24 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 70 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 มีนาคม 2566