ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบริหารงานภาครัฐและการจัดทาบริการสาธารณะ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อการให้บริการและการอำนวยความสะดวก แก่ประชาชน ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบริหารงานและการจัดทาบริการสาธารณะในรูปแบบและ ช่องทางดิจิทัล โดยมีการบริหารจัดการและการบูรณาการข้อมูลภาครัฐและการทางานให้มีความสอดคล้องกัน และเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่น คงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล ประกอบกับตามประกาศคณะกรรมการ พัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐกำหนดมาตรการ ควบคุมและพัฒนาคุณภาพข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน มั่นคงปลอดภัย และไม่ถูกละเมิดความเป็นส่วนบุคคล รวมทั้งสามารถเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน บูรณาการ และใช้ประโยชน์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการวัดผลการบริหารจัดการข้อมูล โดยอย่างน้อยประกอบด้วย การประเมิน ความพร้อมของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับหน่วยงาน การประเมินคุณภาพข้อมูล และการประเมิน ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล อาศัยอานาจตามความในมาตรา 7 (3) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารงานและ การให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ประกอบมติที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ในคราวการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565 จึงมีมติให้ออก ประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐาน รัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครั ฐ ” ข้อ 2 ในประกาศนี้ “ หน่วยงานของรัฐ ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน รัฐสภา ศาล องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอัยการสถาบันอุดมศึกษา ของรัฐ และหน่วยงานอิสระของรัฐ “ คุณภาพข้อมูล ” ( Data Quality ) หมายความว่า ข้อมูลที่ดี ได้มาตรฐานตามที่กา หนด และตรงกับความต้องการของผู้ใช้ กล่าวคือ ผลรวมของคุณลักษณะและคุณสมบัติของผลิตผล ข้อมูลเป็นไปตามที่พึงประสงค์ของผลการปฏิบัติงานตามดัชนีตั วชี้วัดคุณภาพและองค์ประกอบที่กำ หนด ไว้ทุกประการ “ การประเมินคุ ณภาพข้อมูล ” ( Data Quality Assessment ) หมายความว่า กระบวนการ ประเมินผลโดยภาพรวมว่า เมื่อได้มีการบริหารจัดการและกากับดูแลคุณภาพข้อมูลแล้วทาให้เกิด ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 69 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 มีนาคม 2566
การเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพอย่างไร ทั้งนี้ การตรวจสอบและประเมินคุณภาพจะต้องทาอย่างเป็นระบบ มีหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่ชัดเจน มีการประกาศให้ทราบล่วงหน้าและกระทำโดยทีมผู้ประเมิน “ ความถูกต้อง และสมบูรณ์ ” ( Accuracy and Completeness ) หมายความว่า ข้อมูล มีความถูกต้องแม่นยา สูง มีความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา และมีการตรวจสอบ ความถู กต้องระหว่างข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในทุกขั้นตอน เพื่อให้ข้อมูลถูกต้องเชื่อถือได้และให้ผลลัพธ์ ตรงตามความต้องการผู้ใช้ (ข้อมูลครบถ้วน ข้อมูลไม่ขาดหาย กว้างพอและลึกพอสาหรับการใช้งาน) “ ความสอดคล้องกัน ” ( Consistency ) หมายความว่า ข้อมูลมีความสอดคล้องกันของ แนวคิด คานิยาม วิธีการ รหัส และการนาเสนอที่ทาให้ข้อมูลจากต่างแหล่ง ต่างเวลา สามารถเปรียบเทียบ ข้ามช่วงเวลาและบูรณาการข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ “ ความเป็นปัจจุบัน ” ( Timeliness ) หมายความว่า ข้อมูลเป็นปัจจุบันทันสมั ยเพียงพอต่อ การใช้งานและพร้อมใช้งานตามที่กาหนดและในกรอบเวลาที่กาหนดไว้ หรือมีข้อมูลทันต่อการใช้งาน ทุกครั้งตามที่ผู้ใช้ต้องการ “ ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ” ( Relevancy ) หมายความว่า ข้อมูลสามารถนาไปใช้ได้กับ งานที่ทำอยู่ เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้งานต้องการ หรือเป็นข้อมูลที่จำ เป็นต้องทราบ มีมุมมองและความละเอียด เพียงพอต่อการ นำ ไปใช้งาน “ ผู้ประเมินคุณภาพข้อมูล ” ( Data Assessment Team ) หมายความว่า คณะบุคคล/ทีมงาน ที่กำหนดขึ้นเพื่อทำหน้าที่การประเมินคุณภาพข้อมูลขององค์กร ในที่นี้อาจเป็นทีมบริกรข้อมูล ( Data Stewards Team ) หรือฝ่ายตรวจสอบภายใน หรือผู้ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการดาเนินงาน เพื่อให้ไม่เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน “ เจ้าของข้อมูล ” ( Data Owner ) หมายความว่า ผู้ที่ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติงาน ให้รับผิดชอบข้อมูลที่ระบุไว้ ซึ่งรวมถึงผู้บังคับบัญชาขอ งเจ้าของข้อมูลนั้นด้วย โดยทาหน้าที่กากับดูแล ตามธรรมาภิบาลข้อมูล และตามกฎ ระเบียบที่กาหนดไว้ (กรณีข้อมูลลับ) ตลอดวงจรชีวิตของ ข้อมูลนั้น ๆ รวมทั้งทำหน้าที่กำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลและกำหนดชั้นความลับของข้อมูล ข้อ 3 เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีกรอบและเ ครื่องมือในการประเมินคุณภาพข้อมูลของหน่วยงาน ภาครัฐในการตรวจสอบและควบคุมการบริหารจัดการข้อมูลให้เป็นไปตามกรอบแนวทางที่กาหนด ในมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ เลขที่ มรด. 5 : 2565 แนบท้ายประกาศ ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ สามารถ นาไปใช้ประกอบการวิเคราะห์และตัดสินใจในเชิงนโยบายและการดาเนินงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งสามารถนาไปใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มคุณค่าในการให้บริการภาครัฐ และต่อยอดการพัฒนาของประเทศ ในมิติต่าง ๆ ได้ ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้ข้อมูลภาครัฐ ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 69 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 มีนาคม 2566
ข้อ 4 ให้นำมาตรฐานและหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับหน่วยงานของรัฐ นับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 256 6 ดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 69 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 มีนาคม 2566