ประมวลจริยธรรมบุคลากรของสถาบันพระปกเกล้า
ประมวลจริยธรรมบุคลากรของสถาบันพระปกเกล้า
ประมวลจริยธรรม บุคลากรของสถาบันพระปกเกล้า โดยที่สถาบันพระปกเกล้าได้ประกาศใช้ประมวลจริยธรรมบุคลากรของสถาบันพระปกเกล้า มาระยะหนึ่งแล้ว เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้ถูกยกเลิก และมาตรา 76 วรรคท้าย ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กาหนดให้ หน่วยงานของรัฐมีมาตรฐานทางจริยธรรมไม่ต่ากว่า มาตรา 5 ของพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 นั้น สถาบันพระปกเกล้า ในฐานะองค์กรในกากับดูแลของประธานรัฐสภาได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เลขาธิการ รองเลขาธิการ พนักงานและลูกจ้าง ทุกตาแหน่งมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานเพื่อให้งาน ของแผ่นดินในส่วนที่ตนรับผิดชอบเกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม ดังนั้น การใช้อานาจเพื่อให้หน้าที่ ที่ตนรับผิ ดชอบลุล่วง เลขาธิการ รองเลขาธิการ พนักงานและลูกจ้าง จึงต้องมีคุณธรรม ซึ่งเป็นการอันพึงทา เพราะนำประโยชน์ให้เกิดแก่ส่วนรวมและตนเอง และศีลธรรมซึ่งเป็นการอันพึงเว้นเพราะ เป็นโทษแก่ส่วนรวม และตนเอง ประกอบกันขึ้นเป็นจริยธรรม อันเป็นความประพฤติที่ดีงามสมกับ ความเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ จริยธรรมบุคลากรของสถาบันพระปกเกล้าฉบับนี้ จึงกาหนดขึ้นเพื่อให้เกิดสานึกลึกซึ้งและ เที่ยงธรรมในหน้าที่ ผดุงเกียรติและศักดิ์ศรี ควรแก่ความไว้วางใจและเชื่อมั่นของปวงชนและดารงตน ตั้งมั่นเป็นแบบอย่างที่ ดีงาม สมกับความเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็น ตัวอย่างแห่งจริยธรรมอันสูงสุด อาศัยอานาจตามความในมาตรา 76 วรรคท้าย ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมาตรฐานทางจริยธรรม มาตรา 5 ของพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 สถาบันพระปกเกล้า จึงกาหนดมาตรฐานทางจริยธรรมขึ้น เป็นประมวลจริยธรรมของบุคลากรสถาบัน พระปกเกล้า เพื่อใช้บังคับเป็นมาตรฐานกลางไว้ ดังต่อไปนี้ หมวด 1 บททั่วไป ข้อ 1 ประมวลจริยธรรมบุคลากรของสถาบันพระปกเกล้านี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจาก วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกประมวลจริยธรรมบุคลากรของสถาบันพระปกเกล้า ลงวันที่ 28 มกราคม 2564 ข้อ 3 ในประมวลจริยธรรมบุคลากรสถาบันพระปกเกล้า นี้ ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 68 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มีนาคม 2566
“ ประมวลจริยธรรม ” หมายความว่า ประมวลจริยธรรมบุคลากรของสถาบันพระปกเกล้า และกฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือประกาศ ที่เกี่ยวกับจริยธรรมที่สถาบันพระปกเกล้ากำหนดขึ้นตามคำแนะนำ ของผู้ตรวจการแผ่นดิน และกฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือประกาศ ซึ่งประกอบด้วยจริยธรรมเฉพาะของ หน่วยงานในสถาบันพระปกเกล้า “ สถาบัน ” หมายความว่า สถาบันพระปกเกล้า “ บุคลากร ” หมายความว่า เลขาธิการ รองเลขาธิการ ผู้ช่วยเลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างทุกตาแหน่งของสถาบันพระปกเกล้า และให้หมายความรวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิที่มีสัญญา กับสถาบัน และได้รับค่าตอบแทน “ ผู้อานวยการ ” หมายความว่า ผู้อานวยการสานัก ผู้อานวยการวิทยาลัย ผู้อานวยการพิพิธภัณฑ์ หรือตาแหน่งบริหารที่เทียบเท่า “ หน่วยงาน ” หมายความว่า สานัก วิทยาลัย พิพิธภัณฑ์ และหมายความรวมถึงหน่วยงาน ขึ้นตรงของสถาบันด้วย “ คณะกรรมการจริยธรรม ” หมายความว่า คณะกรรมการจริยธรรมประจำสถาบันพระปกเกล้า “ ของขวัญ ” หมายความว่า ของขวัญตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต และกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวม หมวด 2 ค่านิยมหลักของบุคลากร ข้อ 4 บุคลากรทุกตาแหน่งมีหน้าที่ดาเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่ อรักษาประโยชน์ ส่วนรวมและประเทศชาติ เป็นกลางทางการเมือง อานวยความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชน ตามหลักธรรมาภิบาล โดยจะต้องยึดมั่นในค่านิยมหลัก ดังนี้ ( 1 ) ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ( 2 ) ต้องแยกเรื่องส่วนตัวออกจากตาแหน่งหน้าที่ และต้องยึดถือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ เหนือกว่าประโยชน์ส่วนตนหรือส่วนกลุ่ม และมีจิตสาธารณะ ( 3 ) มีจิตสำนึกที่ดี และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เสียสละ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรวดเร็วโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ( 4 ) ยึดมั่นในจริยธรรม ยืนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นธรรม ( 5 ) ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และรับผิดชอบต่อหน้าที่ ละเว้นจากการแสวงหาประโยชน์ ที่มิชอบโดยอาศัยตาแหน่งหน้าที่ และไม่กระทาการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและ ประโยชน์ส่วนรวม ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 68 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มีนาคม 2566
( 6 ) กล้าตัดสินใจ และกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม ( 7 ) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม เป็นกลางทางการเมือง และมีจิตมุ่งบริการ มีอัธยาศัยที่ดี ไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม และยึดถือ ผลประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ ( 8 ) ใช้ข้อมูลข่าวสารที่ได้มาจากการดาเนินงานเพื่อการในหน้าที่ และให้ข้อมูลข่าวสารแก่ ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง ทันการณ์ และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง ( 9 ) เคารพและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย อย่างตรงไปตรงมา ( 10 ) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน เน้นการทางานเป็นทีม และให้ความสำคัญกับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยรักษาคุณภาพ และมาตรฐานแห่งวิชาชีพอย่างเคร่งครัด ( 11 ) เป็นแบบอย่างที่ดีในการดารงตน รักษาชื่อเสียง และภาพลักษณ์ของหน่วยงานโดยรวม หมวด 3 จริยธรรมบุคลากร ข้อ 5 บุคลากรต้องยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข โดยอย่างน้อยต้องวางตน ดังนี้ ( 1 ) ไม่แสดงการต่อต้านการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือสนับสนุนให้นำการปกครองในระบอบอื่นที่ไม่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาใช้ในประเทศไทย ( 2 ) จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และไม่ละเมิดองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระรัชทายาทไม่ว่าทางกาย หรือทางวาจา ข้อ 6 บุคลากรต้องแยกเรื่องส่วนตัวออกจากตาแหน่งหน้า ที่ และยึดถือประโยชน์ส่วนรวม ของประเทศชาติ เหนือกว่าประโยชน์ส่วนตนหรือส่วนกลุ่ม และมีจิตสาธารณะ โดยอย่างน้อยต้องวางตน ดังนี้ ( 1 ) ไม่นาความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ตนมีต่อบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นญาติพี่น้อง พรรคพวกเพื่อนฝูง หรือผู้มีบุญคุณส่วนตัว มาประกอบการใช้ดุลพินิจให้เป็นคุณ หรือเป็นโทษแก่บุคคลนั้น หรือปฏิบัติต่อ บุคคลนั้นต่างจากบุคคลอื่นเพราะชอบหรือชัง ( 2 ) ไม่ใช้เวลาทางาน เงิน ทรัพย์สิน บุคลากร บริการ หรือสิ่งอานวยความสะดวกของ ทางสถาบันไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของตนเอง หรือผู้อื่นเว้นแต่ไ ด้รับอนุญาต โดยชอบด้วยกฎหมาย ตามกฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือประกาศของสถาบัน หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ( 3 ) ไม่กระทาการใด หรือดารงตาแหน่ง หรือปฏิบัติการใดในฐานะส่วนตัวซึ่งก่อให้เกิด ความเคลือบแคลง หรือสงสัยว่าจะขัดกับประโยชน์ส่วนรวมที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน้าที่ในกรณี มีความเคลือบแคลง หรือสงสัย ให้บุคลากรผู้นั้นยุติการกระทำดังกล่าวไว้ก่อน แล้วแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 68 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มีนาคม 2566
ที่บุคลากรนั้นสังกัดอยู่ และคณะกรรมการจริยธรรมพิจารณาเมื่อคณะกรรมการจริยธรรมวินิจ ฉัย เป็นประการใดแล้วจึงปฏิบัติตามนั้น ( 4 ) ในการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบในสถาบันโดยตรง หรือหน้าที่อื่นในสถาบัน รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ บุคลากรต้องยึดถือประโยชน์ของสถาบันเป็นหลักในกรณีที่มี ความขัดแย้งระหว่างประโยชน์ของสถาบัน หรือป ระโยชน์ส่วนรวมกับประโยชน์ส่วนตน หรือส่วนกลุ่ม อันจำเป็นต้องชี้ขาดหรือวินิจฉัย ต้องยึดประโยชน์ของสถาบัน และประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ ข้อ 7 บุคลากรต้องมีจิตสานึกที่ดี และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เสียสละ ปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความรวดเร็ว โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ โดยอย่างน้อยต้องวางตน ดังนี้ ( 1 ) อุทิศตนให้กับการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และเต็มกาลัง ความสามารถที่มีอยู่ ในกรณีที่ต้องไปปฏิบัติงานอื่นของรัฐด้วย จะต้องไม่ทำให้งานในหน้าที่เสียหาย ( 2 ) ไม่ละทิ้ง หรือทอดทิ้งงานในห น้าที่ ไม่ปฏิบัติงานในหน้าที่ล่าช้าเกินระยะเวลาที่กาหนด ในกฎหมาย หรือเกินสมควร ( 3 ) ละเว้นจากการกระทำทั้งปวงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อตำแหน่งหน้าที่ของตน หรือของบุคลากรอื่น ไม่ก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรอื่นโดยมิชอบ ( 4 ) ใช้ดุลพินิจ และตัดสินใจในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรู้ ความสามารถเยี่ยงที่ปฏิบัติ ในวิชาชีพ ตรงไปตรงมา ปราศจากอคติส่วนตน ตามข้อมูลพยานหลักฐาน และความเหมาะสมของ แต่ละกรณี ( 5 ) เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ ต้องรีบแก้ไขให้ถูกต้อง และแจ้งให้ ผู้อานวย การที่ตนสังกัดทราบโดยพลัน เมื่อดาเนินการแก้ไขแล้วให้รายงาน ต่อผู้อานวยการผู้รับเรื่อง ทราบโดยทันที ( 6 ) ไม่ขัดขวางการตรวจสอบของศาล หรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบตามกฎหมาย หรือประชาชน ต้องให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ และให้ข้อมูลที่เป็นจริงและครบถ้วน เมื่อได้รับคาร้องขอ ในการตรวจสอบ ( 7 ) ไม่มอบหมายงานด้วยวาจา เว้นแต่มีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปงานจะเสียหาย ใ นกรณีที่มอบหมายงานด้วยวาจา เมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาบันทึกเสนอเรื่องนั้นเป็นลายลักษณ์อักษรตามคาสั่ง ผู้มอบหมายต้องไม่มอบหมายให้ผู้อื่นตัดสินใจ หรือสั่งการแทน ข้อ 8 บุคลากรต้องยึดมั่นในจริยธรรม และยืนหยัดกระทาในสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นธรรม โดยอย่างน้อยต้องวางตน ดังนี้ ( 1 ) ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมอย่างตรงไปตรงมา และไม่กระทาการเลี่ยงประมวลจริยธรรมนี้ ใน กรณีที่มีข้อสงสัยหรือมีผู้ทักท้วงว่าการกระทาใดของบุคลากรอาจขัดประมวลจริยธรรมบุคลากร ต้องไม่กระทาการดังกล่าว หรือหากกาลังกระทาการดังกล่าว ต้องหยุดกระทาการ และส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 68 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มีนาคม 2566
จริยธรรมพิจารณาวินิจฉัย ในกรณีที่คณะกรรมการจริยธรรมวินิจฉัยว่าการกระทานั้นขัดประมวลจริยธรรม บุคลากรจะกระทำการนั้นมิได้ ( 2 ) เมื่อรู้ หรือพบเห็นการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมนี้ บุคลากรมีหน้าที่ต้องรายงานการฝ่าฝืน ดังกล่าวพร้อมพยานหลักฐานหากมีต่อผู้บังคับบัญชาที่ตนสังกัด และให้ผู้อำนวยการพิจารณาและ รายงาน ต่อเลขาธิการ ในกรณีที่เลขาธิการ รองเลขาธิการ ผู้ช่วยเลขาธิการ และผู้อำนวยการเป็นผู้ฝ่าฝืน จริยธรรมต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไป หรือคณะกรรมการจริยธรรมแล้วแต่กรณี ในระหว่างที่ยังไม่มีคาสั่งจากผู้บังคับบัญชา ผู้รับรายงาน หรือการวินิจฉัยจากคณะกรรมการ จริยธรรม บุคลากรที่ถูกรายงานว่าฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมนี้จะกระทำการที่ถูกรายงานนั้นมิได้ ความในข้อนี้ให้ใช้บังคับกับการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย และการทุจริตหรือประพฤติ มิชอบด้วย ( 3 ) ต้องรายงานการดารงตาแหน่งทั้งที่ ได้รับค่าตอบแทน และไม่ได้รับค่าตอบแทนในนิติบุคคล ซึ่งมิใช่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นของรัฐและกิจการ ที่รัฐถือหุ้นใหญ่ตามที่สถาบันกาหนดต่อเลขาธิการ และคณะกรรมการจริยธรรม ในกรณีที่การดารง ตาแหน่งนั้น ๆ อาจขัดแย้งกับการปฏิบัติหน้าที่ หรืออาจทำให้การปฏิบัติหน้าที่เสียหาย ความในข้อนี้ให้ใช้บังคับกับการเป็นลูกจ้าง การรับจ้างทาของ การเป็นตัวแทน การเป็นนายหน้า และการมีนิติสัมพันธ์อื่นในทำนองเดียวกันด้วย ( 4 ) ในกรณีที่บุคลากรเข้าร่วมประชุม และพบว่ามีการกระทาซึ่งมีลักษณะตาม (2) ของข้อนี้ หรือมีการเสนอเรื่องซึ่งมีลักษณะตาม (2) ของข้อนี้ผ่านบุคลากร บุคลากรมีหน้าที่ต้องคัดค้านการกระทำ ดังกล่าว และบันทึกการคัดค้านของตนไว้ในรายงานการประชุม หรือในเรื่องนั้น แล้วแต่กรณี หากมิได้มีการดาเนิน การตามข้อนี้ให้ถือว่าบุคลากรมีส่วนร่วมรู้เห็นในการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม นี้ด้วย ข้อ 9 บุคลากรต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ละเว้นจากการแสวงประโยชน์ที่มิชอ บ โดยอาศัย ตาแหน่งหน้าที่ และไม่กระทาการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตน และประโยชน์ส่วนรวม โดยอย่างน้อยต้องวางตน ดังนี้ ( 1 ) ไม่ใช้ตาแหน่ง อานาจ หรือหน้าที่โดยมิชอบ หรือยอมให้ผู้อื่นใช้ตาแหน่ง อานาจหรือ หน้าที่ตนโดยมิชอบ แสวงหาเงิน ทรัพย์สิน ประโยชน์ตอบแทนอื่น ทั้งที่คานวณเป็นเงินได้ หรือไม่ อาจคำนวณเป็นเงินได้ ตาแหน่งห รือสิทธิพิเศษอื่นใดเพื่อตนเอง หรือผู้อื่น การกระทำตามข้อนี้รวมถึงการกระทำซึ่งไม่ได้ใช้ตำแหน่ง อำนาจ หรือหน้าที่โดยตรง แต่กระทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีตาแหน่ง อำนาจ หรือหน้าที่นั้นด้วย ( 2 ) ไม่ใช้ตาแหน่ง อานาจหรือหน้าที่ หรือยอมให้ผู้อื่นใช้ตาแหน่ง อานาจ หรือหน้าที่ของตน ไปมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจโดยอิสระในการใช้อานาจตามตาแหน่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งดารง ตาแหน่งอื่นโดยทุจริตเพื่อตนเอง หรือผู้อื่น เว้นแต่เป็นการอันชอบด้วยกฎหมาย หรือที่สถาบันอนุญาต ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 68 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มีนาคม 2566
( 3 ) ไม่เรียก รับ หรือยอมจะรับ หรือยอมให้ผู้อื่นเรียก รับ หรือยอมจะรับซึ่งของขวัญแทนตน หรือญาติของตน ไม่ว่าก่อน หรือหลังดารงตาแหน่ง หรือปฏิบัติหน้าที่ ไม่ว่าจะเกี่ยวข้อง หรือไม่เกี่ยวข้อง กับการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ก็ตาม เว้นแต่เป็นการให้โดยธรรมจรรยา หรือเป็นการให้ตามประเพณี หรือให้แก่บุคคลทั่วไป ( 4 ) ไม่ใช้ตาแหน่ง หรือกระทาการที่เป็นคุณ หรือเป็นโทษแก่บุคคลใดเพราะชอบหรือชัง บุคคลนั้น หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น ( 5 ) ไม่รับตาแหน่ง หรือกระทาการตามที่ระบุไว้ในข้อ 6 (3) โดยมิได้รับอนุญาตจาก คณะกรรมการจริยธรรม ( 6 ) ไม่ริเริ่ม เสนอ หรืออนุมัติโครงการ การดาเนินการ หรือการทำนิติกรรมหรือสัญญาซึ่งรู้ หรือมีข้อสงสัยว่าตนเอง หรือบุคคลอื่นจะได้ประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือประมวล จริยธรรมนี้ ไม่รับเลี้ยง รับการบันเทิง หรือนันทนาการ ไปดูงานในประเทศ หรือต่าง ประเทศจาก ผู้ซึ่งมาติดต่อ หรือกำลังจะติดต่องานกับหน่วยงานนั้น เว้นแต่ที่สถาบันกาหนด ข้อ 10 บุคลากรต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม เป็นกลางทางการเมือง ให้บริการ แก่ประชาชน โดยมีอัธยาศัยที่ดี และไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม โดยอย่างน้อยต้องวางตน ดังนี้ ( 1 ) ใช้อานาจในตาแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วง โดยไม่หลีกเลี่ยง ละเลย หรือละเว้น การใช้อำนาจดังกล่าว และไม่ใช้อำนาจเกินกว่าที่มีอยู่ตามกฎหมาย ( 2 ) ใช้อานาจเพื่อปฏิบัติหน้าที่ หรือดาเนินการอื่น โดยคานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิเสรีภาพของบุคคล ไม่กระทาการให้กระทบสิทธิเสรีภาพของบุคคล หรือก่อภาระหรือหน้าที่ ให้บุคคลโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ( 3 ) ปฏิบัติตามคาสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย และประมวลจริยธรรมนี้ ( 4 ) ไม่พูดเท็จ ไม่รายงานเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ( 5 ) ให้บ ริการ และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนโดยมีอัธยาศัยที่ดี ปราศจากอคติ และไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลผู้มาติดต่อโดยไม่เป็นธรรมในเรื่องถิ่นกาเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกาย หรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ความเชื่อ ทางศาสนา การศึกษา อบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เว้นแต่ จะดาเนินการตามมาตรการที่รัฐกาหนดขึ้น เพื่อขจัดอุปสรรค หรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิ และเสรีภาพได้ เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเป็นการเลือกปฏิบัติที่มีเหตุ ผล เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับกัน ทั่วไป ( 6 ) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลางทางการเมืองตามนโยบายของสภาสถาบัน ไม่กระทำการ อันเป็นฝักฝ่ายทางการเมือง หรือกระทำการอันเป็นคุณ หรือเป็นโทษแก่พรรคการเมือง ( 7 ) ละเว้นการให้สัมภาษณ์ การอภิปราย การแสดงปาฐกถา การบรรยาย หรือการวิพากษ์วิจารณ์ อันกระทบต่อความเป็นกลางทางการเมือง เว้นแต่เป็นการแสดงความเห็นทางวิชาการตามหลักวิชา ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 68 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มีนาคม 2566
( 8 ) ไม่เอื้อประโยชน์เป็นพิเศษให้แก่ญาติพี่น้อง พรรคพวก เพื่อนฝูง หรือผู้มีบุญคุณ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรมไม่เห็นแก่หน้าผู้ ใด ( 9 ) ไม่ลอกหรือนำผลงานของผู้อื่นมาใช้เป็นของตนเองโดยมิได้ระบุแหล่งที่มาตามวิธีการ ที่สถาบันกาหนด ข้อ 11 บุคลากรต้องใช้ข้อมูลข่าวสารที่ได้มาจากการดาเนินงานเพื่อการในหน้าที่ และให้ ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง ทันการณ์ และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง โดยอย่างน้อย ต้องวางตน ดังนี้ ( 1 ) ไม่ใช้ข้อมูลที่ได้มาจากการดาเนินงานไปเพื่อการอื่น อันไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ตนเอง หรือบุคคลอื่น ( 2 ) รักษาความลับของสถาบัน และความลับอื่นที่ได้มาจากการปฏิบั ติหน้าที่ หรือจากผู้มา ติดต่องาน เว้นแต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ในกระบวนการยุติธรรม หรือการตรวจสอบ ตามที่กฎหมาย กฎ ข้อบังคับ กำหนด ( 3 ) ชี้แจง แสดงเหตุผลที่แท้จริง และครบถ้วน ในกรณีที่กระทำการอันกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ บุคคลอื่น ไม่อนุญาต หรือไม่อนุมัติตามคาขอของบุคคล หรือเมื่อบุคคลร้องขอตามกฎหมาย เว้นแต่ การอันคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ได้กำหนดยกเว้นไว้ ทั้งนี้ จะต้องดาเนินการภายในสิบห้าวันทำการนับแต่กระทำการดังกล่าว หรือได้รับ การร้ องขอ ( 4 ) ในกรณีที่ต้องประกาศการดาเนินการใดให้ทราบเป็นการทั่วไป เช่น การสอบแข่งขัน หรือคัดเลือก การประกวดราคา การเลื่อนตาแหน่ง การให้ทุน หรือสิทธิประโยชน์อื่น ต้องปิดประกาศไว้ ณ ที่ปิดประกาศของสถาบัน และลงประกาศในระบบข้อมูลทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ ( web page ) ของสถาบัน ทั้งนี้ โดยประกาศล่วงหน้าก่อนวันครบกาหนดไม่น้อยกว่าสิบห้าวันทาการ เว้นแต่กรณี ที่สถาบันกาหนด ( 5 ) ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสาร นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสถาบัน อย่างเคร่งครัด และรวดเร็ว ไม่ถ่วงเวลาให้เนิ่นช้า ข้อ 12 บุคลากรต้องเคารพ และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย อย่างตรงไปตรงมา โดยอย่างน้อยต้องวางตน ดังนี้ ( 1 ) ไม่ละเมิดรัฐธรรมนูญ กฎหมาย กฎหรือข้อบังคับที่ชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีมีข้อสงสัย หรือมีข้อทักท้วงว่าการกระทาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ กฎหมาย กฎหรือข้อบังคั บ ที่ชอบด้วยกฎหมาย บุคลากรต้องแจ้งให้ผู้อำนวยการที่ตนสังกัดอยู่ และผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น และจะดาเนินการต่อไปได้ ต่อเมื่อได้ข้อยุติจากหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่แล้ว ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 68 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มีนาคม 2566
( 2 ) ในกรณีที่เห็นว่าคำสั่ง หรือการดาเนินการใด ที่ตนมีส่วนเกี่ยวข้องไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ กฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ ต้องทักท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ ( 3 ) ไม่เลี่ยงกฎหมาย ใช้ หรือแนะนาให้ใช้ช่องว่างของกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของตน เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือผู้อื่น และต้องเร่งแก้ไขช่องว่าง ดังกล่า วโดยเร็ว ( 4 ) ไม่ยอมให้บุคคลอื่นอาศัยชื่อตนเองถือครองทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใดแทนบุคคลอื่น อันเป็นการเลี่ยงกฎหมาย หรือใช้ชื่อบุคคลอื่นถือครองสิ่งดังกล่าวแทนตน เพื่อปกปิดทรัพย์สินของตน ( 5 ) เมื่อทราบว่ามีการละเมิด หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายในสถาบัน ผู้บังคับบัญชาต้องดาเนินการ ที่ จำเป็น เพื่อให้เกิดการเคารพกฎหมายขึ้นโดยเร็ว ( 6 ) เมื่อได้รับคาร้อง หรือคาแนะนาจากผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือหน่วยงานอื่นว่ากฎหมาย กฎหรือข้อบังคับที่อยู่ในความรับผิดชอบสถาบันที่สร้างภาระเกินสมควรแก่ประชาชน หรือสร้างความไม่เป็นธรรม ให้เกิดขึ้น ให้สถาบันดาเนินการทบทวนกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ ดังกล่าวโดยเร็ว และให้จัดทา รายงานแนวทางการแก้ไขปัญหาเสนอต่อคณะกรรมการจริยธรรม ข้อ 13 บุคลากรต้องมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษาคุณภาพ และมาตรฐานแห่งวิชาชีพ โดยเคร่งครัด โดยอย่างน้อยต้องวางตน ดังนี้ ( 1 ) ปฏิบัติงานโดยมุ่งประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของงานให้เกิดผลดีที่สุดเต็มกำลังความสามารถ ( 2 ) ใช้งบประมาน ทรัพย์สิน สิทธิ และประโยชน์ที่ทางสถาบันจัดให้ด้วยความประหยัด คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ( 3 ) ใช้ความรู้ ความสามารถ ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ตามคุณภาพและมาตรฐาน วิชาชีพโดยเคร่งครัด และไม่ละเมิดจริยธรรมวิชาชีพ หรืออาชีพ ข้อ 14 บุคลากรต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการดารงตน รักษาชื่อเสียง และภาพลักษณ์ของ สถาบันโดยรวม โดยอย่างน้อยต้องวางตน ดังนี้ ( 1 ) ไม่ละเมิดหลักสาคั ญทางศีลธรรม ศาสนา และประเพณี ในกรณีที่มีข้อขัดแย้งระหว่าง ประมวลจริยธรรมนี้กับหลักสาคัญทางศีลธรรม ศาสนา หรือประเพณี บุคลากรต้องเสนอเรื่องให้ คณะกรรมการจริยธรรมพิจารณาวินิจฉัย ( 2 ) ไม่คบหาสมาคมเป็นอาจิณกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ซึ่งสังคมไม่ไว้วางใจหรือมีชื่อเสียง ในทางเสื่อมเสีย ( 3 ) ผู้บังคับบัญชาในสถาบันทุกระดับชั้นต้องปกครอง ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาด้วยความเที่ยงธรรม โดยไม่เห็นแก่ความสัมพันธ์ หรือบุญคุณส่วนตน และควบคุมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม โดยเคร่งครัด ( 4 ) ผู้บังคับบัญชาในสถาบันทุกระดับชั้นต้องสนับสนุน ส่งเสริมผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาที่ซื่อสัตย์ มีผลงานดีเด่น มีความรู้ความสามารถ และขยันขันแข็ง ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง และยึดมั่นในระบบคุณธรรม ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 68 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มีนาคม 2566
( 5 ) ไม่กระทาการใดอันอาจนาความเสื่อมเสีย และไม่ไว้วางใจให้เกิดแ ก่สถาบัน หรือสังคม และประเทศชาติ ( 6 ) ไม่กระทาการอันเป็นการล่วงละเมิด หรือคุกคามทางเพศ ลวนลาม แทะโลม หรือกระทาการใด อันไม่เหมาะสมทางเพศต่อผู้อื่น หรือต่อผู้มาติดต่องาน หมวด 4 กลไกและระบบการใช้บังคับประมวลจริยธรรม ส่วนที่ 1 คณะกรรมการจริยธรรม ข้อ 15 ให้เลขาธิการแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมขึ้น เพื่อควบคุม กากับให้มีการปฏิบัติ ตามประมวลจริยธรรม ประกอบด้วย ( 1 ) ประธานกรรมการ มาจาก รองเลขาธิการที่ได้รับการแต่งตั้งจากเลขาธิการ ( 2 ) กรรมการจำนวนสองคน ซึ่งดารงตาแหน่งผู้อำนวยการขึ้นไปที่ได้รับการแต่งตั้งจากเลขาธิการ ( 3 ) กรรมการจำนวนสองคน ซึ่งเป็นพนักงาน ลูกจ้างในสถาบันที่ได้รับการแต่งตั้งจาก เลขาธิการตามระเบียบที่สถาบันกำหนด ( 4 ) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจำนวนสองคน ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเลขาธิการ ( 5 ) ผู้อานวยการสานักงานเลขาธิการ เป็นกรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้ เลขาธิการจะแต่งตั้ง ผู้ช่วยเลขานุการจำนวนไม่เกินสองคนก็ได้ ในกรณีที่กรรมการว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด และยังมิได้ดาเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทน ตาแหน่งที่ว่าง ให้คณะกรรมการจริยธรรมประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่ ข้อ 16 ให้กรรมการจริยธรรมตามข้อ 15 (2) (3) และ (4) มีวาระในตาแหน่งคราวละสองปี ในกรณีที่กรรมการจริยธรรมพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งดารงตาแหน่งแทน อยู่ในตาแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการจริยธรรมซึ่งได้รับแต่งตั้งไว้แล้ว กรรมการจริยธรรมซึ่งพ้นจากตาแหน่งตามวาระ อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดารงตาแหน่ง เกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้ ในกรณีที่กรรมการจริยธรรมพ้นจากตาแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้มีการแต่งตั้ งกรรมการ จริยธรรมขึ้นใหม่ ให้กรรมการจริยธรรมซึ่งพ้นจากตาแหน่งปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมีการแต่งตั้ง กรรมการจริยธรรมขึ้นใหม่ ข้อ 17 นอกจากพ้นจากตาแหน่งตามวาระตามข้อ 16 กรรมการจริยธรรมพ้นจากตาแหน่งเมื่อ ( 1 ) ตาย ( 2 ) ลาออก ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 68 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มีนาคม 2566
( 3 ) เป็นบุคคลล้มละลาย ( 4 ) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ( 5 ) ได้รับโทษจาคุกโดยพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุก เว้นแต่เป็นโทษสาหรับความผิดที่ได้กระทำ โดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ( 6 ) ขาดคุณสมบัติตามลักษณะต้องห้ามตามข้อ 18 ข้อ 18 ผู้ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการจริยธรร ม ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ไม่มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี ( 2 ) ไม่เคยถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ( 3 ) ไม่อยู่ระหว่างถูกพักงาน พักราชการ หรือสั่งให้หยุดงานเป็นการชั่วคราวในลักษณะเดียวกับ การพักงาน หรือพักราชการ ( 4 ) ไม่เคยต้องคาพิพากษาถึงที่สุดให้ได้รับโทษจำคุก ( 5 ) ไม่เคยถูกลงโทษ ไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่น เพราะกระทำผิดวินัย ข้อ 19 คณะกรรมการจริยธรรมมีอำนาจ ดังนี้ ( 1 ) ควบคุม กำกับ ส่งเสริมและให้คำแนะนำในการใช้บังคับประมวลจริยธรรมนี้ในสถาบัน ( 2 ) สอดส่องดูแลให้มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมในสถาบัน ในกรณีที่มีข้อสงสัยหรือ มีข้อร้องเรียนว่ามีการฝ่าฝืนจริยธรรม จะต้องไต่สวนข้อเท็จจริง และมีคาวินิจฉัยโดยเร็ว ( 3 ) พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญ หาอันเกิดจากการใช้บังคับประมวลจริยธรรมนี้ในสถาบัน ให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการจริยธรรมเป็นที่สุด ( 4 ) คุ้มครองบุคลากรซึ่งปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้อย่างตรงไปตรงมามิให้ผู้บังคับบัญชา ใช้อำนาจ โดยไม่เป็นธรรมต่อบุคลากรผู้นั้น ( 5 ) เสนอแนะการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลจ ริยธรรมนี้ หรือการอื่นที่เห็นสมควรต่อเลขาธิการ ( 6 ) ดาเนินการอื่นตามประมวลจริยธรรมนี้ หรือตามที่สภาสถาบันมอบหมาย ส่วนที่ 2 ระบบการใช้บังคับประมวลจริยธรรม ข้อ 20 โดยที่ประมวลจริยธรรมนี้มิใช่กฎที่มีโทษทางอาญา การตีความประมวลจริยธรรมนี้ ไม่พึงคานึงถึงแต่เฉพาะถ้อยคาสานวนที่เป็นลายลักษณ์อักษร และการประพฤติผิดจริยธรรมมิได้จากัด อยู่แต่เฉพาะที่บัญญัติไว้ชัดแจ้งในประมวลจริยธรรมนี้เท่านั้น ทั้งไม่พึงตีความอย่างแคบ จนทาให้ ผู้กระทาการอันวิญญูชนเห็นว่าละเมิดจริยธรรม กลับไม่ต้องรับผิดตามประมวลจ ริยธรรมนี้ ในกรณี ที่มีข้อสงสัยต้องตีความประมวลจริยธรรมนี้ ต้องตีความให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวมเป็นสาคัญ ้ หนา 20 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 68 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มีนาคม 2566
ทั้งต้องมุ่งสร้างสานึกลึกซึ้งและเที่ยงธรรมในหน้าที่ ผดุงเกียรติ และศักดิ์ศรีบุคลากรที่สร้างความไว้วางใจ และเชื่อมั่นของปวงชน และการดารงตนเป็นแบบอย่างที่ดีงามเป็นสำคัญ ข้อ 21 ในกรณีที่มีการขัด หรือแย้งกันระหว่างประมวลจริยธรรมนี้ กับหลักศาสนา ประเพณีหรือค่านิยมของสังคม ให้วินิจฉัยกรณีนั้น ๆ ไปตามประมวลจริยธรรมนี้ แต่การลงโทษ จะลงโทษเพียงใดก็ได้ ข้อ 22 การฝ่าฝืนจริยธรรมตามควา มในประมวลจริยธรรมตามหมวด 3 นี้ เป็นความผิดวินัย ตามข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสถาบัน ส่วนจะเป็นความผิดวินัยร้ายแรง หรือไม่ร้ายแรงให้วินิจฉัยตามลักษณะการฝ่าฝืน ความจงใจ หรือเจตนา การหลีกเลี่ยงจริยธรรม หรือความสำคัญผิด มูลเหต จูงใจ ความสำคัญและระดับตาแหน่ง และหน้าที่ของผู้ฝ่าฝืน อายุ ประวัติ และความประพฤติในอดีต สภาพแวดล้อมแห่งกรณี ผลร้ายอันเกิดจากการฝ่าฝืน หรือเหตุอื่นอันควร จะนามาประกอบการพิจารณา ข้อ 23 การกระทำกรรมเดียวที่มีทั้งความผิดวินัย และเป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมให้ลงโทษวินัย ได้ครั้งเดียวในการกระทานั้น การกระทาหลายกรรมต่างกันที่มีทั้งความผิดวินัย และเป็นการฝ่าฝืนจริยธรรม ให้ลงโทษวินัยตามจำนวนกรรมที่ฝ่าฝืนนั้น ประกาศ ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 256 6 วิทวัส ชัยภาคภูมิ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 68 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มีนาคม 2566