Mon Mar 20 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย และกรณีที่ถือว่าเป็นการประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือประวิงการคืนเบี้ยประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2566


ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย และกรณีที่ถือว่าเป็นการประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือประวิงการคืนเบี้ยประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2566

ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทน ตามสัญญาประกันภัย และกรณีที่ถือว่าเป็นการประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือประวิงการคืนเบี้ยประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2566 ด้วยพระราชบัญญัติคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 บัญญัติให้คณะกรรมการกากับและส่งเสริ มการประกอบธุรกิจประกันภัย เป็นผู้กาหนดการกระทาหรือ การปฏิบัติใด ๆ ของบริษัทประกันวินาศภัยที่จะถือว่าเป็นการประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือ ประวิงการคืนเบี้ยประกันภัย รวมทั้งการกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการชดใช้เงินหรือ ค่าสินไหมทดแทนตามสัญ ญาประกันภัย ซึ่งมีเจตนารมณ์ในการกากับดูแลเพื่อให้บริษัทประกันวินาศภัย ต้องปฏิบัติและดาเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิ เรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย ให้เป็นไปตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาประกันภัย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 36 วรรคสอง มาตรา 37 (11) และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และมาตรา 3 (1) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกากับและส่งเส ริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 13/2565 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565 คณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทน ตามสัญญาประกันภัย และกรณีที่ถือว่าเป็นการประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือประวิง การคืนเบี้ยประ กันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2566” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิก (1) ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่ถือว่าเป็นการ ประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือประวิงการคืนเบี้ยประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2549 (2) ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสั ญญาประกันภัยของบริษัทประกัน วินาศภัย พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 2 9 มกราคม พ.ศ. 2559 ้ หนา 44 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 67 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มีนาคม 2566

ข้อ 4 ในประกาศนี้ “ สานักงาน ” หมายความว่า สานักงานคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย “ บริษัท ” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัย ต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วย การประกันวินาศภัย “ สานั กงาน ใหญ่ ” หมายความรวมถึง สานักงานสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย “ นายทะเบียน ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย หรือผู้ซึ่งเลขาธิกำรคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย “ การฉ้อฉลประกันภัย ” หมายความว่า การกระทาความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 108/4 และมาตรา 108/5 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญั ติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 5 ประกาศฉบับนี้ไม่ใช้บังคับกับบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเฉพาะ ประกันภัยต่อ ข้อ 6 ให้คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลให้บริษัทปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเ วลาที่กำหนดในประกาศนี้ หมวด 1 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย ข้อ 7 สำนักงานมีอำนาจกำหนดแนวปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ ข้อ 8 บริษัทต้องจัดให้มีระบบงานจัดการการชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญา ประกันภัยที่มีความพร้อม โดยมีลักษณะอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) มีหน่วยงานรับแจ้งเหตุหรือช่องทางการสื่อสารระหว่างบริษัทกับผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธร รม์ประกันภัย และมีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบ เพื่อดำเนินการชดใช้เงินตามเงื่อนไขสัญญาประกันภัย (2) มีระบบสอบทานความถูกต้องของข้อมูลการรับประกันภัยและข้อมูลเกี่ยวกับการเรียกร้อง การชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยที่ชัดเจนสามารถติดตามตรวจสอบได้ (3) มีระบบการบันทึกข้อมูลการรับแจ้งเหตุและออกเลขรับแจ้งการเรียกร้องการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยที่เชื่อมโยงข้อมูลการบันทึกรายการกับข้อมูลประมาณการ ้ หนา 45 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 67 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มีนาคม 2566

ค่าสินไหมทดแทนและข้อมูลการอนุมัติการชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย รวมถึง มีระบบการบันทึกการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวทุกครั้ง (4) มีระบบงานสนับสนุน เพื่อสนับสนุนระบบงานจัดการการชดใช้เงินหรือค่าสินไหม ทดแทนตามสัญญาประกันภัย เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือระบบคอมพิวเตอร์ โดยบริษัท ต้องแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของระบบงานที่เกี่ ยวเนื่องกัน เช่น ข้อมูลจากการรับประกันภัย เชื่อมโยงกับระบบงานการชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย และระบบการรับ และจ่ายเงินของบริษัท (5) มีระบบเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสานักงานใหญ่และสาขาที่ทาให้เชื่อมั่นว่า ข้อมูลที่รับแจ้ง และข้อมูลเกี่ยวกับการชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยต่าง ๆ ที่สาขา ดาเนินการนั้นถูกบันทึกอย่างถูกต้องครบถ้วน ข้อ 9 บริษัทต้องกาหนดให้ผู้มีอานาจหน้าที่ในการพิจารณาเพื่ออนุมัติการชดใช้เงินหรือ ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย และผู้มีอานาจหน้าที่ ในการอนุมัติการจ่ายเงิน ให้เป็นไป ตามหลักการถ่วงดุลอำนาจภายในองค์กร ( check and balance ) ข้อ 10 เมื่อบริษัทได้รับแจ้งเหตุ หรือมีการเรียกร้องให้ชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทน ตามสัญญาประกันภัย ให้บริษัทดาเนินการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) บันทึกข้อมูลการ รับแจ้งเหตุหรือการเรียกร้อง โดยเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวไปบันทึก รายการในสมุดทะเบียนค่าสินไหมทดแทนที่เกี่ยวข้อง และสมุดบัญชีของบริษัท ภายในเจ็ดวันนับแต่วัน ได้รับข้อมูลดังกล่าว พร้อมทั้งออกเลขที่ตรวจสอบรายการความเสียหาย และประมาณการค่าสินไหม ทดแทนเบื้องต้ น (ก) กรณีที่ต้องมีการสารวจภัย ให้บริษัทแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ ไปสารวจภัย ณ ที่เกิดเหตุ หรือสถานที่ที่ผู้เอาประกันภัยนัดหมาย และออกเอกสารการรับแจ้งเหตุ หรือใบตรวจสอบรายการความเสียหายให้กับผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือ ผู้มีสิทธิเรียกร้อง ตามกรมธรรม์ประกันภัย ไว้เป็นหลักฐานเพื่อให้นามาติดต่อกับบริษัทหรือดาเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป (ข) กรณีที่ไม่ต้องมีการสารวจภัย ให้บริษัทแจ้งให้ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือ ผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย ทราบถึงเ อกสารหลักฐานทั้งหมด ที่ต้องใช้ประกอบการ เรียกร้อง ช่องทางการติดต่อกับบริษัท และระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา และชดใช้เงินหรือค่าสินไหม ทดแทนตามสัญญาประกันภัย (ค) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงประมาณการค่าสินไหมทดแทนเบื้องต้น ต้องมีการบันทึก ทุกครั้งและสามารถตรว จสอบสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงได้ (2) จัดให้มีกระบวนการในการพิจารณาความเสียหาย การประเมินความเสียหาย การทดสอบ ที่จาเป็นต่าง ๆ เพื่อให้การตีมูลค่ามีความเที่ยงตรงน่าเชื่อถือ ตลอดจนสื่อสารเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน ้ หนา 46 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 67 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มีนาคม 2566

กับผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย ที่จะทำให้ กระบวนการชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยเป็นที่ยอมรับและลดการโต้แย้ง จากผู้ที่เกี่ยวข้อง (3) ดาเนินการพิจารณาและชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาที่บริษั ทกำหนด ทั้งนี้ ไม่เกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาประกันภัย หรือ ที่กฎหมายกำหนด และแจ้งผลการพิจารณาให้แก่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้อง ตามกรมธรรม์ประกันภัย ภายในระยะเวลาข้างต้น (4) กรณีบริษัทตกลงชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตา มสัญญาประกันภัยตาม (3) แล้ว ให้บริษัทจัดให้มีกระบวนการติดตามให้ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้อง ตามกรมธรรม์ประกันภัย มารับเงินหรือค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว ในระหว่างที่สิทธิในการเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทนยังไม่ขาดอายุความ (5) ใ นกรณีที่บริษัทได้ชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยเป็นเช็ค และ ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย ยังไม่ได้ไปเรียกเก็บเงิน จากธนาคาร จนเลยระยะเวลาที่จะเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้ ให้ถือว่าเป็นค่าสินไหมท ดแทนค้างจ่าย และบริษัทต้องดาเนินกระบวนการติดตามให้บุคคลดังกล่าวมารับเงินหรือค่าสินไหมทดแทนตาม (4) (6) ในกรณีที่บริษัทปฏิเสธการชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย หรือ ไม่สามารถตกลงกำหนดจำนวนเงินหรือค่าสินไหมทดแทนได้ ให้บริษัทแจ้งแก่ผู้เอาประกั นภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย โดยระบุรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับ ข้อเท็จจริงและเหตุผลของการปฏิเสธ พร้อมข้อกฎหมายหรือเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัย หรือ ชี้แจงเหตุที่ไม่อาจชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามจานวนที่เรียกร้องได้ โดยชัดเจน และไม่ชักช้า รวมทั้งให้ระบุช่องทางและวิธีการติดต่อบริษัทไว้ด้วย โดยอย่างน้อยต้องระบุอีเมล และหมายเลข โทรศัพท์เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการพิจารณาเรื่องดังกล่าวของบริษัท (7) กรณีบริษัทปฏิเสธการชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย ตาม (6) อันเนื่องมาจากสงสัยถึงการกระทาไม่สุจริต หรือโดยทุจริต หรือการฉ้อฉลประกันภัยของผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 108/4 หรือมาตรา 108/5 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือมาตรา 341 มาตรา 342 หรือมาตรา 347 แห่งประมวลกฎหมายอาญา บริษัทต้อง ดาเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนหรือฟ้องคดีต่อศาล โดยเร็ว และเมื่อได้ดาเนินการ ดังกล่าวแล้ว ให้แจ้งรายละเอียดการดาเนินการดังกล่าวไปพร้อมกับการปฏิเสธการชดใช้เงิน หรือ ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยให้ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้อง ้ หนา 47 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 67 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มีนาคม 2566

ตามกรมธรรม์ประกันภัยทราบ และบริษัทต้องจัดให้มี กระบวนการติดตามการดาเนินคดีกับบุคคล ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบผลการดาเนินคดีและนามาประกอบการพิจารณาชดใช้เงิน หรือ ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยโดยเร็ว (8) กรณีบริษัทได้ติดตามการดาเนินคดีแล้วปรากฏว่า พนักงานอัยการยังไม่ได้สั่งคดีโดยมี คาสั่งฟ้ องหรือมีความเห็นควรสั่งฟ้องบุคคลดังกล่าวข้างต้นภายในสองปีนับแต่วันที่บริษัท ได้ดาเนินการ ร้องทุกข์กล่าวโทษตาม (7) ให้บริษัทชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับเอกสารหลักฐานการติดตามการดาเนินคดีของบริษัทจากพนักงานอัยการหรือพนักงาน สอบสวน แล้วแต่กรณี อันแสดงให้เห็นได้ว่าพนักงานอัยการยังไม่ได้สั่งคดีโดยมีคำสั่งฟ้องหรือ มีความเห็นควรสั่งฟ้อง และเอกสารหลักฐานประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนครบถ้ว น (9) การแจ้งผลการพิจารณาตาม (6) และ (7) ให้บริษัทแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ในการนี้ บริษัทอาจแจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ก็ได้ ในกรณีแจ้งด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ บริษัทต้องได้รับความยินยอม จากผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยก่อน และต้องทำตามวิธีการแบบปลอดภัย ในระดับที่กาหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ ของบริษัทที่มีลักษณะที่เชื่อถือได้ตามกฎหมายว่าด้วย ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยส่งข้อมูลการแจ้ง ผลการพิจารณาไปยังระบบข้อมูลที่ผู้เอาประกันภัยระบุไว้เท่านั้น และในกรณีที่ไม่สามารถแจ้งผล การพิจารณาไปยังระบบข้อมูลดังกล่าว ให้บริษัทแจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ตอบรับ ข้อ 11 ในกรณีที่บริษั ทมีการว่าจ้างบุคคลภายนอกเป็นผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับ การดาเนินการตามประกาศนี้ บริษัทต้องจัดให้มีสัญญาว่าจ้าง โดยสาระสาคัญในสัญญาต้องมีรายละเอียด เกี่ยวกับอัตราค่าจ้างและค่าใช้จ่ายดำเนินงาน รายละเอียดค่าใช้จ่ายประกอบการดำเนินงาน ระยะเวลาการดาเนินงา นที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่บริษัท โดยบริษัทต้องควบคุมกากับให้บุคคล ดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามสัญญาและมาให้ถ้อยคำ ความเห็น หรือส่งเอกสารหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องต่อนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ร้องขอ ความ ในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีการใช้บริการจากบุคคลภายนอกโดยได้รับอนุญาตจาก นายทะเบียนตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 12 บริษัทต้องจัดให้มีหน่วยงานรับเรื่องการขอให้ทบทวนผลการพิจารณาชดใช้เงินหรือ ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยขึ้นเป็นการเฉพาะภายในบริษัท เพื่อพิจารณาเรื่องร้องเรียน ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย ไม่เห็นด้วยกับ ผลการพิจารณาชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยของบริษัท และมีความประสงค์จะ ให้บริษัททบทวนผลการพิจารณา ให้บริษัทดาเนินการพิจารณาและดาเนินงานภายใต้หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ้ หนา 48 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 67 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มีนาคม 2566

(1) ให้ผู้บริหารที่มีอานาจตัดสินใจชี้ขาดเรื่องร้องเรียนเป็นผู้ควบคุมการดาเนินการ และ พิจารณาการชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย (2 ) ในกรณีเรื่องร้องเรียนที่มีความยุ่งยากซับซ้อนหรือมีค่าเสียหายมูลค่าสูง ให้การชี้ขาดเรื่อง ร้องเรียนดาเนินการในรูปคณะกรรมการ ประกอบด้วยผู้บริหารที่มีอานาจตัดสินใจชี้ขาดเรื่องร้องเรียน ผู้รับผิดชอบ หน่วยงานพิจารณาสินไหมทดแทน หน่วยงานรับประกันภัย หน่วย งานกฎหมาย และ หน่วยงานดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งนี้ บริษัทอาจกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการแตกต่าง ไปได้ โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท (3) ให้หน่วยงานรับเรื่องการขอให้ทบทวนผลการพิจารณาชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทน ตามสัญญาประกันภัย ทบทวนให้แล้วเ สร็จภายในระยะเวลาที่บริษัทกำหนด แต่ไม่เกินสามสิบวันนับแต่ วันที่ได้รับเรื่องขอให้ทบทวนหรือเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม (ถ้ามี) (4) กรณีบริษัทตกลงชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย ให้บริษัท ดาเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด (5) กรณีที่ห น่วยงานรับเรื่องขอให้ทบทวนผลการพิจารณาชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทน ตามสัญญาประกันภัย ยืนยันตามความเห็นของเจ้าหน้าที่ของบริษัทตามข้อ 10 (6) และ (7) ให้แจ้ง ผู้ขอให้ทบทวน โดยระบุเหตุผลแห่งการยืนยันผลของการปฏิเสธ พร้อมข้อกฎหมายหรือเงื่อนไข ตามกรมธรรม์ป ระกันภัย หรือชี้แจงเหตุที่ไม่อาจชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย ตามจำนวนที่เรียกร้องได้ให้แก่ผู้ขอให้ทบทวน (6) การแจ้งผลการพิจารณาตาม (5) ให้บริษัทแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ในการนี้บริษัท อาจแจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรั บหรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ในกรณีแจ้งด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ บริษัทต้องได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยก่อน และต้องทาตามวิธีการแบบปลอดภัยในระดับ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัท ที่มีลักษณะที่เชื่อถือได้ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยส่งข้อมูลการแจ้งผล การพิจารณาไปยังระบบข้อมูลที่ผู้เอาประกันภัยระบุไว้เท่านั้น และในกรณีที่ไม่ สามารถแจ้งผลการพิจารณา ไปยังระบบข้อมูลดังกล่าว ให้บริษัทแจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ (7) ให้บริษัทจัดเก็บข้อมูลการดาเนินการ เพื่อรายงานต่อสำนักงานเมื่อมีการร้องขอ ข้อ 1 3 บริษัทต้องมีความพร้อมด้านบุคลากรอย่างเพียงพอและมีคุณภาพ และจัดให้มีคู่มือ ระบบงานตามข้อ 8 คู่มือการดาเนินงานตามข้อ 10 และคู่มือการดาเนินงานของหน่วยงานรับเรื่อง ตามข้อ 1 2 รวมทั้งคู่มือการปฏิบัติงานของพนักงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เป็นลายลักษณ์อักษรที่เป็น ปัจจุบัน และสอดคล้องกับแนวทางการดาเนินธุรกิจของบริษั ท และสามารถให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ้ หนา 49 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 67 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มีนาคม 2566

ตรวจสอบได้เมื่อมีการร้องขอ ทั้งนี้ สานักงานอาจสั่งให้บริษัทแก้ไขเพิ่มเติมคู่มือดังกล่าว รวมถึง ระบบงานและกระบวนการดาเนินงานที่เกี่ยวข้องได้ตามสมควร ข้อ 14 บริษัทต้องเปิดเผยขั้นตอนและกระบวนการในการเรียกร้องให้ชดใช้เงิน หรื อ ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยแต่ละประเภท รวมถึงกระบวนการ ทบทวนการพิจารณาชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย ในเว็บไซต์ของบริษัท ให้ประชาชนทั่วไปทราบ ให้ระบุรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) เอกสารหลักฐานทั้งหมดที่ ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้อง ตามกรมธรรม์ประกันภัย ต้องใช้ในการเรียกร้องให้ชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย (2) ช่องทางการติดต่อกับบริษัทและหน่วยงานของบริษัทที่เกี่ยวข้อง (3) ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณาและชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย เมื่อบริษัทดาเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทนาส่งรายละเอียดดังกล่าว ให้แก่สานักงาน ตามวิธีการที่สานักงานกาหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เปิดเผยในเว็บไซต์ เว้นแต่มีเหตุผลอันควร ให้บริษัทขอขยายระยะเวลาดังกล่าวต่อสา นักงาน แต่ไม่เกินหกสิบวัน ทั้งนี้ สานักงานอาจสั่งให้บริษัท แก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดตามวรรคหนึ่งได้ตามสมควร ในกรณีที่บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดตามวรรคหนึ่งในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ ให้ดาเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงด้วย ในกร ณีที่บริษัทไม่เปิดเผยระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณาและชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทน ตามสัญญาประกันภัยประเภทใด ให้ถือว่าบริษัทมีระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณาและชดใช้เงินหรือ ค่าสินไหมทดแทนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเอกสารหลักฐานครบถ้วน เว้นแต่กรณีข้อตกลง แห่ง สัญญาประกันภัยกาหนดระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณาและชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนไว้ เป็นการเฉพาะชัดเจน ให้บริษัทมีหน้าที่ต้องชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยตามระยะเวลาที่กาหนดไว้ในกรมธรรม์ ประกันภัย หมวด 2 หลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่ถือว่าเป็นการประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือประวิงการคืนเบี้ยประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย ข้อ 15 การกระ ทำหรือการปฏิบัติใด ๆ ของบริษัท หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ ระยะเวลาข้อหนึ่งข้อใดดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าบริษัทประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือประวิงการคืนเบี้ย ประกันภัยที่ต้องจ่ายหรือคืนแก่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกร มธรรม์ ประกันภัย โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือจ่ายหรือคืนโดยไม่สุจริต ้ หนา 50 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 67 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มีนาคม 2566

(1) ในกรณีเกิดความเสียหายที่ได้รับความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยและคู่กรณีสามารถ ตกลงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยแก่กันแล้ว แต่บริษัทไม่ออกหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจก ระทำการแทนบริษัท (2) ในกรณีการตกลงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นตัวเงิน แต่บริษัทไม่ระบุจานวนเงินหรือ ไม่กาหนดวันรับเงินที่แน่นอน หรือกาหนดวันรับเงินเกินกว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่การตกลงเป็นที่ยุติ และบริษัทได้รับเอกสารครบถ้วน (3) ในกรณีการตกลงความเสียหายเป็นอย่ำงอื่น บริษัทไม่ระบุไว้ให้ชัดเจนว่าเลือกกระทำการ โดยวิธีใด ณ สถานที่แห่งใด ใช้ระยะเวลาดาเนินการเท่าใด หรือระบุระยะเวลาดาเนินการที่เกินกว่า สิบห้าวันนับแต่วันที่การตกลงเป็นที่ยุติและบริษัทได้รับเอกสารครบถ้วน เว้นแต่จะมีเหตุอันควรและได้รับ ความยินยอมจากคู่ กรณี (4) ในกรณีการตกลงเพื่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นตัวเงิน บริษัทไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่การตกลงเป็นที่ยุติและบริษัทได้รับเอกสารครบถ้วน (5) กรณีที่สั่งจ่ายเป็นเช็คไม่ระบุชื่อผู้รับเงินที่ชัดเจน หรือเป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้าเกินสิบ ห้าวัน นับแต่วันที่การตกลงเป็นที่ยุติและบริษัทได้รับเอกสารครบถ้วน หรือเช็คนั้นถูกธนาคารปฏิเสธการใช้เงิน (6) ในกรณีที่มีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับจานวนค่าสินไหมทดแทนหรือ จานวนเบี้ยประกันภัยที่จะคืนกันตามสัญญาประกันภัยแล้ว และได้มีการทาเป็นสัญญาประนีประนอม ยอมความต่อกัน ไม่ว่าสัญญานั้นจะได้ทำขึ้นในชั้นใด ๆ ก็ตาม เมื่อบริษัทไม่ปฏิบัติตามสัญญา ประนีประนอมยอมความ (7) บริษัทใดจงใจฝ่าฝืนข้อตกลงแห่งสัญญาประกันภัย หรือข้อกาหนดหรือกฎเกณฑ์ใด ๆ ที่มีความชัดเจนที่กำหนดให้บริษัทมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้ประโยชน์อื่นใด หรือ ดาเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดให้แก่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ ประกันภัย (8) บริษัทไม่ดาเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามภาระแห่งหนี้อั นเกิดขึ้นจากสัญญาประกันภัย จนเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเป็นต้อง นาเรื่องร้องเรียนต่อสำนักงาน และนายทะเบียนได้พิจารณาข้อร้องเรียน โดยมีความเห็นให้บริษัทชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภั ย ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงแห่งสัญญา หรือให้คืนเบี้ยประกันภัย ตามแต่กรณีไปแล้ว แต่บริษัทมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านความเห็นของนายทะเบียนเป็นลายลักษณ์อักษร ภายในกาหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัทได้รับทราบความเห็นของนายทะเบียน และบริษัทไม่ปฏิบัติ ตามความเห็นของนา ยทะเบียน (9) บริษัทไม่ดาเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามภาระแห่งหนี้อันเกิดขึ้นจากสัญญาประกันภัย จนเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเป็นต้อง ้ หนา 51 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 67 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มีนาคม 2566

นาเรื่องร้องเรียนต่อสำนักงาน และนายทะเบียนได้พิจารณาข้อร้องเรี ยน โดยมีความเห็นให้บริษัทชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงแห่งสัญญา หรือให้คืนเบี้ย ประกันภัย ตามแต่กรณีไปแล้ว บริษัทไม่ปฏิบัติตามความเห็นของนายทะเบียน และได้โต้แย้งหรือ คัดค้านความเห็นของนายทะเบียนเป็นลายลักษณ์อักษร ภายใ นกาหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัทได้รับ ทราบความเห็นของนายทะเบียน หากภายหลังได้นาคดีเข้าสู่การพิจารณาในชั้นศาลหรืออนุญาโตตุลาการ และศาลได้มีคาพิพากษาถึงที่สุดหรืออนุญาโตตุลาการได้มีคาชี้ขาดให้บริษัทชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงแห่งสัญญา หรือ ให้คืนเบี้ยประกันภัย (10) ในกรณีที่ศาลได้มีคาพิพากษาถึงที่สุดให้บริษัทต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ ประกันภัย ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงแห่งสัญญา หรือให้คืนเบี้ยประกันภัย ตามแต่กรณี แต่บริษัท ไม่ปฏิบัติตามคาพิพากษาของศาลจนพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำบัง คับ (11) ในกรณีที่อนุญาโตตุลาการมีคาชี้ขาดให้บริษัทต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ ประกันภัย ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงแห่งสัญญา หรือให้คืนเบี้ยประกันภัย ตามแต่กรณี แต่บริษัท ไม่ปฏิบัติตามคาชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจนพ้นระยะเวลาที่กาหนดไว้ในคาชี้ขาด เว้นแต่ บริษัทได้มีการ ยื่นคาร้องต่อศาลเพื่อคัดค้านคาชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันได้รับสาเนา คาชี้ขาด หากภายหลังศาลได้มีคาสั่งถึงที่สุดให้ยกคาร้องของบริษัท หรือศาลได้มีคำสั่งถึงที่สุดให้บริษัท ปฏิบัติตามคาชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ (12) ในกรณีช ดใช้ค่าสินไหมทดแทนด้วยการซ่อมแซม การสร้างให้ใหม่ หรือการจัดหา ทรัพย์สินมาทดแทน บริษัทไม่ดาเนินการให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่การตกลงเป็นที่ยุติและ บริษัทได้รับเอกสารครบถ้วน เว้นแต่บริษัทได้แจ้งเหตุอันสมควรให้คู่กรณีทราบ ภายในระยะเวลา ดังกล่าว โดยได้รับความยินยอมจากคู่กรณีเป็นลายลักษณ์อักษร ในกรณีไม่ได้รับความยินยอมจาก คู่กรณี บริษัทต้องแสดงหลักฐานโดยแจ้งชัดเกี่ยวกับเหตุอันสมควรและการแจ้งเหตุอันสมควรให้คู่กรณี ทราบภายในระยะเวลาข้างต้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (13) ในกรณีบริษัทเลือกวิธีการชดใช้ค่า สินไหมทดแทนด้วยการสั่งซ่อมและบริษัทจะเป็นผู้จัดส่ง อะไหล่หรืออุปกรณ์ให้ผู้รับจ้างซ่อมที่บริษัทสั่งให้จัดการซ่อม แต่บริษัทไม่เร่งดาเนินการจัดส่งอะไหล่หรือ อุปกรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้รับจ้างซ่อมได้รับมอบทรัพย์สินที่ต้องจัดซ่อมและคาสั่ง ซ่ อมจากบริษัท เว้นแต่บริษัทได้แจ้งเหตุอันสมควรให้คู่กรณีทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่การตกลง เป็นที่ยุติและบริษัทได้รับเอกสารครบถ้วน โดยได้รับความยินยอมจากคู่กรณีเป็นลายลักษณ์อักษร ในกรณีไม่ได้รับความยินยอมจากคู่กรณี บริษัทต้องแสดงหลักฐานเกี่ยวกับเหตุอั นสมควรและการแจ้งเหตุ อันสมควรให้คู่กรณีทราบภายในระยะเวลาดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีอะไหล่นั้นไม่มีขายในประเทศและจาเป็นต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ บริษัทไม่ดาเนินการ ออกใบสั่งซื้ออะไหล่ในทันที นับแต่วันที่ผู้รับจ้างซ่อมหรืออู่ซ่อมได้แจ้งให้บริษัทท ราบ ้ หนา 52 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 67 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มีนาคม 2566

(14) ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย ไม่สามารถรับทรัพย์สินที่จัดซ่อมแล้วเสร็จได้ เพราะผู้รับจ้างซ่อมใช้สิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินที่จัดซ่อมไว้ ตามกฎหมาย เนื่องจากบริษัทไม่ชาระราคาค่าซ่อมหรือชาระราคาค่ำซ่อมไม่ครบจานวนตามที่บริษัทตกลง กับผู้รับจ้างซ่อม (15) ในกรณีที่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้สูญหาย และผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ ได้เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัท โดยได้ดาเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษ ต่อพนักงานสอบสวนและ พนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์ แล้ว และบริษัทไม่ดาเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้เสร็จสิ้นภายใน สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเอกสารหลักฐานครบถ้วน ( 16 ) กรณีที่สัญญาประกันวินาศภัย ข้อกาหนด หรือกฎเกณฑ์ใด ๆ ที่ออกโดยอาศัยอานาจ ตามกฎหมาย กาหนดชัดแจ้งว่าให้บริษัทมีหน้าที่คืนเบี้ยประกันภัยเมื่ อกรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับ ให้แก่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย แต่บริษัทไม่คืนเบี้ย ประกันภัยให้แล้วเสร็จภายในกาหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับ (17) ในกรณีที่มีวินาศภัยตามสัญญาประกันภั ยเกิดขึ้น บริษัทไม่เร่งรัดตรวจสอบ และประเมิน ความเสียหายให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัทได้รับแจ้งเหตุหรือวันที่มีการเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทน เว้นแต่มีเหตุจาเป็นอันสมควรและบริษัทได้แจ้งถึงเหตุผลความจาเป็นอันสมควรนั้น ให้ผู้เอาประกันภัย ผู้รั บประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยได้ทราบแล้ว (18) กรณีบริษัทไม่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย เนื่องจากสงสัยถึงการ กระทาไม่สุจริต หรือโดยทุจริต หรือการฉ้อฉลประกันภัยของผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือ ผู้มีสิทธิเรียกร้อง ตามกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 108/4 หรือมาตรา 108/5 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือมาตรา 341 มาตรา 342 หรือมาตรา 347 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และบริษัทได้ดาเนินคดีอาญากับบุคคล ดังกล่าว แต่พนักงานอัยการมีคำสั่งให้งดการสอบสวนหรือมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง หรือ ศาลมีคาพิพากษา ถึงที่สุดให้ยกฟ้อง แล้วแต่กรณี และบริษัทไม่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยให้แล้วเสร็จ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พนักงานอัยการมีคำสั่งหรือศาลมีคำพิพากษาดังกล่าว แล้วแต่กรณี บทเฉพาะกาล ข้อ 16 บรรดาประกาศ เงื่อนไข หรือคาสั่งที่ ออกตามประกาศคณะกรรมการกากับและ ส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2559 ที่ใช้อยู่ในวันที่ ้ หนา 53 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 67 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มีนาคม 2566

ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับได้ต่อไปเท่ำที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ จนกว่าจะมีประกาศ เงื่อนไข หรือคาสั่งที่ออกตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ 17 การดาเนินการสอบสวนหรือการพิจารณาใด ๆ ที่สานักงานได้กระทาไปโดยถูกต้อง ตามกฎหมายไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันใช้ได้ ส่วนการดาเนินการส อบสวนหรือ การพิจารณาใด ๆ ที่ยังมิได้กระทาให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ก็ให้ดาเนินการต่อไป ตามประกาศนี้จนกว่าจะเสร็จ ประกาศ ณ วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 25 66 กฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ้ หนา 54 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 67 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มีนาคม 2566