Sun Mar 19 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ข้อบังคับ ก.ต.ช. ว่าด้วยการประชุมและการลงมติของ ก.ต.ช. และของคณะอนุกรรมการ ก.ต.ช. พ.ศ. 2565


ข้อบังคับ ก.ต.ช. ว่าด้วยการประชุมและการลงมติของ ก.ต.ช. และของคณะอนุกรรมการ ก.ต.ช. พ.ศ. 2565

ข้อบังคับ ก.ต.ช. ว่าด้วยการประชุมและการลงมติของ ก.ต.ช. และของคณะอนุกรรมการ ก.ต.ช. พ.ศ. 2565 อาศัยอานาจตามความในมาตรา 21 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติตารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 และมติ ก.ต.ช. ในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565 ก.ต.ช. จึงออกข้อบังคับ ก.ต.ช. ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับ ก.ต.ช. ว่าด้วยการประชุมและการลงมติของ ก.ต.ช. และของคณะอนุกรรมการ ก.ต.ช. พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ประธาน ก.ต.ช. รักษาการตามข้อบังคับนี้ หมวด 1 อำนาจและหน้าที่ของประธาน ก.ต.ช. ประธานในที่ประชุม ก.ต.ช. รองประธาน ก.ต.ช. เลขานุการ ก.ต.ช. และผู้ช่วยเลขานุการ ก.ต.ช. ข้อ 4 ประธาน ก.ต.ช. มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ( 1) ควบคุมและดาเนินกิจการของ ก.ต.ช. ( 2) เป็นประธานในที่ประชุม ( 3) อนุมัติวันประชุม ระเบียบวาระการประชุม และระเบียบวาระเพิ่มเติม ( 4) ลงนามในกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศต่าง ๆ เพื่อดาเนินกิจการใดตาม (5 ) ( 5) ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นอานาจหน้าที่ของประธาน ก.ต.ช. หรือตามที่กาหนดไว้ ในข้อบังคับนี้ ข้อ 5 ประธานในที่ประชุม ก.ต.ช. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ควบคุมและดาเนินการในการประชุมครั้งนั้น ( 2 ) รักษาความเรียบร้อยในที่ประชุม ตลอดจนบริเวณโดยรอบที่ประชุม ( 3 ) ในกรณีที่มีการออกเสียงลงคะแนน และได้คะแนนเสียงเท่ากัน ให้ออกเสียงลงคะแนน เพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่ง เป็นเสียงชี้ขาดโดยพลัน ข้อ 6 รองประธาน ก.ต.ช. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม กรณีที่ประธาน ก.ต.ช. ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติ หน้าที่ได้ ( 2 ) ช่วยประธาน ก.ต.ช. ในกิจการอันเป็นหน้าที่ของประธาน ก.ต.ช. ( 3 ) ปฏิบัติการอื่น ตามที่ประธาน ก.ต.ช. มอบหมาย ้ หนา 32 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 66 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 มีนาคม 2566

ข้อ 7 เลขานุการ ก.ต.ช. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ( 1) แจ้งกำหนดการประชุม พร้อมระเบียบวาระและเอกสารที่เกี่ยวกับการประชุม ( 2) จัดทำรายงานการประชุม ( 3) แจ้งและยืนยันมติที่ประชุมไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง ( 4) เก็บรักษาสรรพเอกสาร ( 5) ควบคุม กำกับ ดูแล การปฏิบัติงานของข้าราชการและเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบาย ตารวจแห่งชาติให้เป็นไปตามกฎหมาย ( 6) ปฏิบัติการอื่นตามที่ประธาน หรือกรรมการ ก.ต.ช. มอบหมาย ข้อ 8 ผู้ช่วยเลขานุการ ก.ต.ช. มีอานาจหน้าที่ช่วยเลขานุการ ก.ต.ช. ในกิจการอันเป็น อำนาจหน้าที่ของเลขานุการ ก.ต.ช. หรือปฏิบัติการตามที่เลขานุการ ก.ต.ช. มอบหมา ย หมวด 2 การประชุม ก.ต.ช. ข้อ 9 ในการประชุม ก.ต.ช. ผู้ที่จะอยู่ในที่ประชุม หรือ ณ ที่ใดในระยะที่จะฟังการประชุม ได้ ก็แต่เฉพาะคณะกรรมการ หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตจากประธานในที่ประชุม ข้อ 10 ในการประชุม ถ้ากรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียเป็นการส่วนตัวในเรื่องที่พิจารณา หรือ มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวกับกรรมการผู้ใดโดยเฉพาะ หรือมีผู้คัดค้านว่ากรรมการผู้ใดมีเหตุที่ไม่สามารถ พิจารณาในเรื่องนั้นได้ หรือมีเหตุซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทาให้การพิจารณาทางปกครองในเรื่อ งนั้น ไม่เป็นกลาง ให้ประธานในที่ประชุมปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาเหตุดังกล่าว เมื่อกรรมการผู้นั้นได้ชี้แจง ข้อเท็จจริง และตอบข้อซักถามแล้ว ต้องออกจากที่ประชุม ในระหว่างที่กรรมการผู้นั้นออกจากที่ประชุม ให้ถือว่าองค์ประชุมประกอบด้วยกรรมการทุกคนที่ไม่ถูกคัดค้าน หรือไม่มีส่วนได้เสียเป็นการส่วนตัว ในเรื่องที่พิจารณา ถ้าที่ประชุมมีมติให้กรรมการที่มีเหตุตามวรรคหนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า สองในสามของกรรมการที่ไม่ถูกคัดค้าน หรือที่ไ ม่มีส่วนได้เสียเป็นการส่วนตัวในเรื่องที่พิจารณา ก็ให้กรรมการผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ มติดังกล่าวให้กระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ และให้เป็นที่สุด ในกรณีที่มีปัญหาว่าเรื่องที่มีการพิจารณาเกี่ยวกับกรรมการผู้ใดหรือไม่ ให้ประธานในที่ประชุม เป็นผู้วินิจฉัยชี้ ขาด ข้อ 1 1 ให้ประธานกรรมการเป็นผู้เรียกประชุม แต่ในกรณีที่กรรมการไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม ของจานวนกรรมการเท่าที่มีอยู่ร้องขอให้เรียกประชุม ให้ประธานกรรมการเรียกประชุมภายในเจ็ดวันนับแต่ วันที่ได้รับการร้องขอ ้ หนา 33 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 66 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 มีนาคม 2566

การนัดประชุมต้องทาเป็นหนังสือ เว้นแต่เมื่อประธำน ก.ต.ช. ได้บอกนัดไว้แล้ว จึงให้ทา หนังสือนัดเฉพาะกรรมการที่ไม่ทราบ การนัดประชุมให้นัดล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวันทาการก่อนวันประชุม แต่ประธาน ก.ต.ช. จะเรียกประชุมเร็วกว่านั้นก็ได้ เมื่อเห็นว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน เรื่องจำเป็น หรือมีเหตุสมควรประการอื่น ข้อ 1 2 ให้ส่งระเบียบวาระการประชุมและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวาระการประชุมไปพร้อมกับ หนังสือนัดประชุม แต่ประธาน ก.ต.ช. จะให้ส่งเพิ่มเติมอีกในเวลาใดก็ได้ตามที่เห็นว่าจำเป็นหรือสมควร ข้อ 1 3 การจัดระเบียบวาระการประชุม ให้บรรจุเรื่อ งเรียงตามลำดับ ดังต่อไปนี้ ( 1) เรื่องที่ประธานจะแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ( 2) รับรองรายงานการประชุม ( 3) เรื่องที่ค้างการพิจารณา ( 4) เรื่องที่เสนอเพื่อพิจารณาใหม่ ( 5) เรื่องอื่น ๆ ในกรณีมีเหตุผลและความจาเป็น ประธาน ก.ต.ช. จะให้จัดเรียงลาดับระเบียบวาระการประชุม เป็นอย่างอื่นก็ได้ ข้อ 1 4 ให้ผู้มาประชุมลงลายมือชื่อในสมุดบัญชีรายชื่อผู้มาประชุม ที่จัดเตรียมไว้สาหรับ การประชุมทุกครั้ง ข้อ 1 5 เมื่อล่วงเลยเวลาตามกาหนดประชุมไปสามสิบนาที และกรรมการมาประชุมไม่ครบ องค์ประชุม ให้ เลื่อนการประชุมครั้งนั้นออกไป ในกรณีมีการเลื่อนการประชุม หากมีการนัดประชุมครั้งใหม่ ให้นาระเบียบวาระการประชุม และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวาระการประชุม ครั้งที่เลื่อนการประชุมนั้นมาประชุมด้วย ข้อ 1 6 ในการประชุมให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องเรียงตามระเบียบวาระกา รประชุม เว้นแต่ ที่ประชุมจะมีมติเป็นอย่างอื่น ข้อ 1 7 ประธานในที่ประชุม มีอำนาจสั่งให้รวมหรือแยกประเด็นการพิจารณา หรือการลงมติก็ได้ ข้อ 1 8 ประธานในที่ประชุม มีอานาจสั่งพักการประชุม หรือสั่งเลิกการประชุมได้ตามที่ เห็นสมควร ข้อ 1 9 การเปิดเผยรายงานการประชุม ให้เป็นไปตามมติที่ประชุม ข้อ 20 ให้ ก.ต.ช. จัดให้มีการประชุมอย่างน้อยปีละสี่ครั้ง ้ หนา 34 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 66 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 มีนาคม 2566

หมวด 3 การลงมติ ข้อ 21 การออกเสียงลงคะแนนให้ถือเสียงข้างมากตามองค์ประชุมในแต่ละครั้ง เว้นแต่ กฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธาน ออกเสียงลงคะแนนเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาดโดยพลัน ข้อ 2 2 การออกเสียงลงคะแนนให้กระทาโดยเปิดเผย เว้นแต่กรณีที่กฎหมายบัญญัติหรือ กรรมการ ก.ต.ช. ไม่น้อยกว่าสามในสี่ มีม ติให้กระทำโดยวิธีลับ ข้อ 2 3 การออกเสียงลงคะแนนโดยเปิดเผยให้ใช้วิธียกมือขึ้นพ้นศีรษะ ข้อ 2 4 การออกเสียงลงคะแนนโดยวิธีลับ ให้ใช้วิธีเขียนเครื่องหมายลงบนแผ่นกระดาษใส่ซอง ที่จัดไว้ ดังนี้ ( 1) ผู้เห็นด้วย เขียนเครื่องหมายถูก ( / ) ( 2) ผู้ไม่เห็นด้วย เขียนเครื่องหมายกากบาท ( X ) ( 3) ผู้ไม่ออกเสียง เขียนเครื่องหมายวงกลม ( O ) ข้อ 2 5 เมื่อนับคะแนนเสียงเสร็จแล้วให้ประธานในที่ประชุมประกาศผลการออกเสียง ลงคะแนนโดยพลัน หมวด 4 การรักษาความเรียบร้อย ข้อ 2 6 เพื่อความเรียบร้อยของที่ประชุม ประธานในที่ประชุมมีอานาจเตือน ห้ามปราม ห้ามพูด ในเรื่องที่กาลังประชุมปรึกษาอยู่ หรือสั่งให้ออกไปจากที่ประชุม หรือ ณ ที่ใดในระยะที่จะฟัง การประชุมได้ โดยมีหรือไม่มีกำหนดเวลาในครั้งนั้นก็ได้ ในกรณีที่ประธานสั่งให้ผู้ใด ออกจากที่ประชุม หรือ ณ ที่ใดในระยะที่จะฟังการประชุมได้ หากผู้นั้นขัดขืน ประธานมีอำนาจสั่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้นำตัวออกจากที่ประชุม หรือ ณ ที่ใดในระยะที่จะฟังการประชุมได้ คำสั่งของประธานตามข้อนี้ ผู้ใดจะโต้แย้งไม่ได้ ้ หนา 35 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 66 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 มีนาคม 2566

หมวด 5 คณะอนุกรรมการ ก.ต.ช. ข้อ 2 7 ให้นาความในหมวด 1 หมวด 2 หมวด 3 และหมวด 4 มาใช้บังคับแก่การประชุม ของคณะอนุกรรมการ ก.ต.ช. และให้อำนาจหน้าที่ของประธาน ก.ต.ช. ประธานในที่ประชุม ก.ต.ช. รองประธาน ก.ต.ช. เลขานุการ ก.ต.ช. และผู้ช่วยเลขานุการ ก.ต.ช. เป็นอานาจหน้าที่ของ ประธานอนุกรรมการ ก.ต.ช. ประธานในที่ประชุมคณะอนุกรรมการ ก.ต.ช. รองประธานอนุกรรมการ ก.ต.ช. เลขานุการคณะอนุกรรมการ ก.ต.ช. และผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการ ก.ต.ช. ตามลำดับ โดยอนุโลม ข้อ 2 8 รองประธานอนุกรรมการ ก.ต.ช. มีอานาจหน้า ที่ช่วยประธานอนุกรรมการ ก.ต.ช. ในกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ของประธานอนุกรรมการ ก.ต.ช. หรือปฏิบัติการตามที่ประธาน อนุกรรมการ ก.ต.ช. มอบหมาย ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 25 6 5 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการนโยบายตารวจแห่งชาติ ้ หนา 36 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 66 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 มีนาคม 2566