ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 10
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 10
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 10 เพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรา 16 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามมติเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 อาศัยอานาจตามความในมาตรา 7 มาตรา 14 มาตรา 20 (3) และมาตรา 24 (1) และมาตรำ 24/1 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ได้ดาเนินการกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ในประเทศของรัฐบาลที่ครบกาหนดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยการจาหน่ายพันธบัตรรัฐบาล เพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 10 ซึ่งมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ 1 . กระทรวงการคลังได้ดาเนินการจาหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 10 ( LB 336 A ) วงเงิน 25,000 ล้านบาท (สองหมื่นห้าพันล้านบาทถ้วน) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1.1 พันธบัตรที่ออกจาหน่ายเป็นพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 10 ( LB 336 A ) ที่ ออกจาหน่ายเพิ่มเติม ( Reopened bond ) ส่งผลให้ยอดคงค้าง ของพันธบัตรรัฐบาล รุ่นนี้ ณ 20 มกราคม 2566 มีจานวนทั้งสิ้น 80,875 ล้านบาท (แปดหมื่น แปดร้อยเจ็ดสิบห้าล้านบาทถ้วน) 1.2 พันธบัตรมีอายุคงเหลือ 10.41 ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจำนวน ในวันที่ 17 มิถุนายน 2576 และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุดธนาคาร แห่งประเทศไทยให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป 1.3 พันธบัตรมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.350 ต่อปี ชาระปีละ 2 ครั้ง ในวันที่ 17 มิถุนายน และ 17 ธันวาคม ของทุกปี สาหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะจ่าย ณ วันไถ่ถอนพันธบัต รรัฐบาล หากวันครบกาหนดจ่ายดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ให้เลื่อนไปจ่ายในวันทาการถัดไป โดยไม่นับวันหยุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวเข้ารวมเพื่อคำนวณดอกเบี้ย ในงวดที่ถึงกำหนดจ่ายดอกเบี้ย ยกเว้นการจ่ายดอกเบี้ยงวดสุดท้ายให้คำนวณดอกเบี้ ยจนถึงวัน ก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลที่เลื่อนออกไป 2 . วิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ 2.1 การจาหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ( Competitive Bidding : CB ) ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน และ Contractual Savings Funds ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 66 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 มีนาคม 2566
2.2 การจาหน่ายโดยวิธีการเสนอซื้อ ( Non - Competitive Bidding : NCB ) ในวงเงิน ไม่เกินร้อยละ 20 ของวงเงินจำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรร พันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ สหกรณ์ 3 . การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ 2 ได้ดาเนินการเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2566 วงเงิน 25 , 000 ล้านบาท (สองหมื่นห้าพันล้านบาทถ้วน) โดยมีรายละเอียดผลการจาหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ดังนี้ วันที่ จำหน่าย วันที่ ชำระเงิน วิธีการ จำหน่าย วงเงินที่ จำหน่ายได้ (ล้านบาท) จำนวนเงินที่ได้รับ (บาท) ส่วนเพิ่ม/(ส่วนลด) (บาท) ดอกเบี้ยจ่าย รับส่วนหน้า (บาท) อัตรา ผลตอบแทนเฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) 1 8 ม.ค. 6 6 20 ม.ค. 6 6 CB 24 , 950 26,959,355,872.10 1,931,498,149 . 60 77,857,722.50 2.5007 NCB 50 54,026,965.00 3,870,937.50 156,027.50 รวม 25,000 27 , 013 , 382 , 837.10 1,935,369,087 . 10 78 , 013 , 750.00 4 . กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจาหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาล โดยกาหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราร้อยละ 0.03 (ศูนย์จุดศูนย์สาม) ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่จ่ายและเงินต้นพันธบัตรที่จ่ายคืน ประกาศ ณ วันที่ 2 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25 6 6 บุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 66 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 มีนาคม 2566