Thu Mar 16 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ เรื่อง ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง พ.ศ. 2566


ประกาศคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ เรื่อง ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง พ.ศ. 2566

ประกาศคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ เรื่อง ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง พ.ศ. 2566 ตามที่มาตรา 75 (8) และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 บัญญัติให้คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติมีหน้าที่และอานาจในการจัดทาธรรมนูญว่าด้วย การผังเมืองเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อใช้เป็นหลักการพื้นฐานที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ การผังเมือง พึงปฏิบัติ นั้น บัดนี้ คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ ได้จัดทำธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง เสร็จเรียบร้อยแล้ว และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 เห็นชอบธรรมนูญว่าด้วย การผังเมืองดังกล่าว คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติจึงขอประกาศธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง ตามท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแ ต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25 6 6 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ ้ หนา 69 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 63 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มีนาคม 2566

ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง พ . ศ . 2566 ส่วนที่ 1 : ส่วนนํา 1.1 บทบาทและความสําคัญของการผังเมือง ผลสืบเนื่องจากการพัฒนาประเทศตั้งแต่การเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นแม่บทในการพัฒนาที่เน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) เป็นดัชนีชี้วัดเช่นเดียวกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศตะวันตก โดยขาดมาตรการรองรับเพื่อการถ่วงดุลระหว่างภาคส่วนของสังคมที่เหมาะสม ก่อให้เกิดปัญหา กับประเทศหลายประการ ทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม ตัวอย่างเช่น การใช้พื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ระบบการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ที่ขาดสมดุล ผลกระทบจากภัยพิบัติสาธารณะ ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมและความเหลื่อมล้ําระหว่างพื้นที่เมืองกับชนบท ด้านกายภาพ เนื่องจากความต้องการใช้พื้นที่เพื่อรองรับกิจกรรมของมนุษย์เพิ่มขึ้น อย่างก้าวกระโดด เช่น พื้นที่เพื่อการพักอาศัย พื้นที่เพื่อการลงทุนทางด้านเศรษฐกิจ พื้นที่เพื่อทําการเกษตรกรรม ความต้องการใช้พื้นที่ที่เพิ่มขึ้นนี้ก่อให้เกิดการแสวงหาที่ดินที่มีราคาถูก โดยไม่ได้คํานึงถึงความเหมาะสม ทางต้นทุนของพื้นที่ที่ธรรมชาติสรรสร้างไว้ เกิดการรุกล้ําพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่าไม้ ตลอดจนพื้นที่ ควรแก่การอนุรักษ์ ส่งผลให้เกิดการแผ่ขยายของเมืองอย่างไม่เป็นระเบียบ ด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาที่ทําให้เกิดช่องว่างระหว่างรายได้ เนื่องจากการเน้นอัตราการเติบโต ของรายได้ประชาชาติ มีการกระจายรายได้ไม่ทั่วถึง ส่งผลต่อความเหลื่อมล้ํา กล่าวคือ มีผู้ที่มีรายได้สูง จํานวนเพียงร้อยละสิบในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่ยังมีรายได้ในเกณฑ์ระดับต่ํา มีการสร้างงานเพิ่มขึ้น ในเขตเมืองทําให้ประชากรวัยแรงงานในภาคชนบทเคลื่อนย้ายเข้าสู่แหล่งงานในเมือง เกิดปัญหาแหล่งเสื่อมโทรม ปัญหาคนล้นเมือง การขยายตัวของเมืองไร้ทิศทาง การจราจรแออัด ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศเมือง เป็นต้น ด้านสังคม เกิดการอพยพของประชากรวัยแรงงานจากภาคชนบทเข้าสู่เมือง โดยทอดทิ้ง ให้ประชากรสูงอายุอยู่โดยลําพัง สร้างปัญหาครอบครัว ประกอบกับประชาชนมีอายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้น เกิดเป็นสังคมสูงวัย ซึ่งเป็นภาระที่เพิ่มขึ้นให้กับประเทศ ด้านความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม การใช้พื้นที่ไม่เหมาะสมโดยขาดระบบการควบคุมนํามา ซึ่งปัญหาและภัยพิบัติสาธารณะที่ต้องประสบเป็นประจําทุกปี ได้แก่ อุทกภัย ภัยแล้ง การพังทลายของดิน มลพิษจากภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ตลอดจนการกัดเซาะชายฝั่ง แหล่งน้ําธรรมชาติ เกิดการสะสม ของปัญหาต่อทุนทางธรรมชาติ เกิดความขัดแย้งที่แย่งชิงทรัพยากรระหว่างกลุ่มคนในสังคมที่ครอบครองทรัพยากร ไม่เท่าเทียมกัน นอกจากผลกระทบต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติของประเทศแล้ว ยังมีผล ต่อเนื่องถึงโครงสร้างทางสังคมโดยเฉพาะพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม การใช้ชีวิตที่ขาดระเบียบวินัย และกฎกติการ่วมกัน แปรเปลี่ยนสภาพสังคมไทยที่มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน การเคารพต่อธรรมชาติ ศิลปะ วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม กลายเป็นสังคมที่แก่งแย่งเพื่อความอยู่รอด ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทั้งในปัจจุบันและอนาคต รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กําหนดแนวนโยบายแห่งรัฐไว้ในมาตรา 72 (2) ดังนี้ “ จัดให้มีการวางผังเมืองทุกระดับและบังคับการให้เป็นไปตามผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ รวมตลอดทั้ง พัฒนาเมืองให้มีความเจริญโดยสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ” อันเป็นที่มาของภารกิจ ด้านการผังเมืองซึ่งบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ . ศ . 2562 เพื่อให้ “ การผังเมือง ” .

2 เป็นกรอบในการวางผังนโยบายการใช้ประโยชน์พื้นที่ตั้งแต่ระดับประเทศ ระดับภาค และระดับจังหวัด แล้วให้หน่วยงานของรัฐดําเนินการภายใต้กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศ ในด้านการใช้พื้นที่นั้น และส่งต่อไปสู่การปฏิบัติในรูปแบบของผังกําหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ประกอบด้วย ผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะ อันเป็นแนวทางและแผนงานการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใด เพื่อการพัฒนาทางด้านกายภาพและการดํารงรักษาเมืองที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สําหรับพระราชบัญญัติการผังเมือง พ . ศ . 2562 นั้น มีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนการผังเมือง ให้มีประสิทธิภาพเป็นเครื่องมือการพัฒนาเชิงพื้นที่ของประเทศให้มีความสอดคล้องกันในทุกระดับ โดยกําหนดให้ระบบการผังเมืองของประเทศต้องมีกรอบนโยบายการใช้ประโยชน์พื้นที่ตั้งแต่ระดับประเทศ ระดับภาค และระดับจังหวัด เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้ดําเนินการร่วมกันเพื่อให้การวางและจัดทําผังเมือง และการใช้ประโยชน์พื้นที่และที่ดินในทุกระดับเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นประโยชน์แก่เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประโยชน์แก่สาธารณะ “ การผังเมือง ” จึงเป็นกลไกหนึ่ง ในทางสากลที่ใช้ในการจัดการและแก้ไขปัญหาเพื่อจัดระเบียบของการใช้ประโยชน์พื้นที่ร่วมกันของสังคม ทั้งนี้ การผังเมืองไม่ได้มีความหมายเพียงเฉพาะการดําเนินการในเขตพื้นที่ชุมชนเมืองที่เป็นศูนย์รวม ของกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงพื้นที่ที่อยู่ภายในอาณาเขตการปกครอง ของประเทศโดยครอบคลุมพื้นที่ทั้งในและนอกเขตชุมชนเมือง ถึงแม้ว่าพื้นที่นั้นในปัจจุบันจะมีสภาพ การใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นอย่างไรหรือเป็นของใครก็ตาม หากจะนํามาใช้ประโยชน์ในกิจกรรมการพัฒนา ทางเศรษฐกิจในหลักสากลจะมีการพัฒนาภายใต้กฎกติกาการใช้พื้นที่ที่สังคมตกลงร่วมกัน เพื่อให้เกิด การใช้พื้นที่ที่เหมาะสม ทําให้ช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ในการใช้พื้นที่ตามกรอบที่การผังเมืองกําหนดอันจะนํามา ซึ่งความสงบสุขของสังคมที่ยั่งยืน สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของการผังเมืองที่มีจุดมุ่งหมายหลักที่ต้องการ สร้างกติกาการใช้พื้นที่ร่วมกันระหว่างกลุ่มคนในสังคม เพื่อให้สมาชิกส่วนใหญ่ดํารงชีวิตภายใต้คุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อให้ประเทศพัฒนาอย่างสมดุลสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของการพัฒนาประเทศ “ ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ” 1.2 ที่มาของธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง 1 .2.1 ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองได้ถูกกําหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ . ศ . 2562 โดยให้คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติเป็นผู้จัดทํา เพื่อใช้เป็นหลักการพื้นฐาน ที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผังเมืองพึงปฏิบัติ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วมีผลผูกพันหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องดําเนินการต่อไปตามหน้าที่และอํานาจของตน ( มาตรา 7 และมาตรา 75 ( 8 )) 1. 2 .2 รัฐบาลได้กําหนดแนวทางแก้ไขปัญหาในเรื่องการใช้พื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน โดยต้องมี การกําหนดนโยบายการตั้งถิ่นฐานและการผังเมืองให้มีหน่วยงานระดับชาติกํากับดูแล และทํางานควบคู่ ไปกับสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และให้มีธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง ในการกํากับไม่ให้หน่วยงานต่าง ๆ ละเมิด หรือปล่อยให้มีการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่ไม่เป็นไปตามหลักการ 1.2.3 ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองดําเนินการโดยยึดหลักการในการวางและจัดทําผังเมืองที่ดี ซึ่งเป็นกรอบหลักการพื้นฐานสากลที่ทุกประเทศยึดถือ ประกอบด้วยหลักการ 3 ด้าน ได้แก่

3 1) หลักแห่งความมีเอกภาพ (Solidarity) โดยมุ่งหวังให้เกิดความมั่นคงและเป็นปึกแผ่น เดียวกันในเนื้อหาเชิงพื้นที่ของการวางผังเมืองทุกระดับ ซึ่งเป็นหลักการสําคัญที่ผู้วางผังเมืองต้องคํานึงถึง แ ล ะ ยื ด ถื อ ป ฏิ บั ติ เ พื่ อ ใ ห้ กำ ร วำ ง ผั ง เ มื อ ง ทุ ก ร ะ ดั บ เ กิ ด ค วำ ม ส อ ด ค ล้ อ ง ไ ม่ ขั ด แ ย้ ง กั น ในการกําหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2) หลักแห่งความสอดคล้องเชื่อมโยง (Coherence) โดยมุ่งหวังให้เกิดความกลมกลืนกัน ในบริบทเชิงพื้นที่ของประเทศ ตั้งแต่ระดับรัฐธรรมนูญ ( แนวนโยบายแห่งรัฐ ) ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนและขั้นตอนการดําเนินการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้เกิดการบูรณาการ (Integration) ภารกิจด้านการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ ซึ่งจําแนกได้ 3 มิติ ประกอบด้วย (1) มิติเชิงพื้นที่ ในการบริหารจัดการพื้นที่ของประเทศ การจัดทําแผนงาน โครงการ และการบริหารจัดการพื้นที่พิเศษเพื่อให้เกิดความกลมกลืน ไม่ขัดแย้งกันในการกําหนดการใช้ประโยชน์พื้นที่ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่งผลทําให้เกิดความสอดคล้องเชื่อมโยงกันของการวางผังเมืองในทุกระดับ ตั้งแต่ในระดับประเทศ ภาค จังหวัด เมือง ชุมชน และพื้นที่ระดับย่าน รวมไปถึงระดับชนบท (2) มิติเชิงเวลา โดยมุ่งหวังให้เกิดความเชื่อมโยงของการจัดทําผังเมืองที่สอดคล้อง กับแผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนงาน ยุทธศาสตร์ระดับกระทรวง กรม โดยมีความสอดคล้องกันในด้านมิติของเวลา (3) มิติเชิงหน้าที่ หรือองค์กรซึ่งมีอํานาจบริหารจัดการพื้นที่ที่จะต้องสร้างให้เกิด การบูรณาการภารกิจระหว่างหน่วยงานร่วมกัน โดยหลักแห่งความสอดคล้องเชื่อมโยงดังกล่าวได้ปรากฏความเชื่อมโยงของการวาง ผังเมืองในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติการผังเมือง พ . ศ . 2562 เพื่อให้เกิด ความเป็นเอกภาพมั่นคงของระบบการผังเมืองของประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากความสอดคล้องเชื่อมโยง ของการวางผังเมืองในทุกระดับ และให้การดําเนินโครงการพัฒนาภาครัฐทางด้านกายภาพจะต้องสอดคล้อง กับนโยบายและการใช้ประโยชน์ที่ดินของผังเมือง 3) หลักแห่งความยั่งยืน (Sustainability) หรือหลักของความสมดุล ยั่งยืน โดยมุ่งหวัง ให้เกิดความสมดุลในการกําหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินระหว่างการควบคุมและการพัฒนาพื้นที่ของเมือง เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและความเสมอภาคของคนในสังคมระหว่างรุ่นในการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน การแก้ไขปัญหาของเมือง รวมทั้งการทําให้ดียิ่งขึ้นซึ่งสุขลักษณะความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งจะต้องคํานึงถึงคนทุกกลุ่มในสังคม รวมทั้งความหลากหลายของพื้นที่นําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยคํานึงถึงความสอดคล้องกับหลักการเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) แห่งองค์การสหประชาชาติ วาระใหม่แห่งการพัฒนาเมือง (New Urban Agenda) แนวทางการพัฒนา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นไปตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ . ศ . 2562 ที่กําหนดให้มีการวางกรอบและนโยบายด้านการพัฒนาพื้นที่และการใช้ประโยชน์ที่ดินในทุกระดับ ซึ่งนอกจากจะต้องวางและจัดทําผังเมืองในแต่ละระดับให้สอดคล้องกันแล้ว ยังกําหนดให้วางกรอบ และนโยบายการพัฒนาเมือง บริเวณที่เกี่ยวข้องและชนบทอย่างสมดุลและยั่งยืนอีกด้วย ทั้งนี้ หลักการทั้งสามด้านดังกล่าวเปรียบเสมือนเป็นเสาหลักในการวางผังเมืองที่สะท้อน ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของระบบการวางผังเมืองของประเทศในทุกระดับ โดยได้ระบุถึง หลักแห่งความสอดคล้องและหลักแห่งความยั่งยืนที่จะทําให้เกิดความเป็นเอกภาพในบริบทเชิงพื้นที่ ในการกําหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่ขัดแย้งกัน รวมทั้งการสร้างความสมดุลของการอนุรักษ์ .

4 และการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดขึ้นเพื่อนําไปสู่แนวทางการพัฒนาที่สมดุล มั่นคง และยั่งยืนในอนาคต ซึ่งปรากฏอยู่ในธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองโดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้จัดทําผังเมืองได้ใช้ เป็นหลักการที่ต้องยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้การวางและจัดทําผังเมืองเป็นไปตามธรรมนูญว่าด้วย การผังเมืองต่อไป 1.3 การปฏิบัติตามธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง เป็นหลักการพื้นฐานที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผังเมืองพึงปฏิบัติ โดยพระราชบัญญัติการผังเมือง พ . ศ . 2562 บัญญัติว่า เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วมีผลผูกพัน หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดําเนินการต่อไปตามหน้าที่และอํานาจของตน ดังนั้น หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องจึงต้องดําเนินงานภายใต้ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง โดยมีเจตนารมณ์และเป้าประสงค์เป็นไปตามคู่มือประกอบธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง ส่วนที่ 2 : นิยามศัพท์ 2 . 1 หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรอิสระ หน่วยงาน ของรัฐสภา ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอัยการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นตามที่กฎหมายกําหนด 2 . 2 การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หมายความว่า การนําเครื่องมือ อุปกรณ์ดิจิทัล เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โครงข่ายการสื่อสาร และสื่อดิจิทัล มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทํางานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทํางาน หรือระบบงาน ในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ โดยหมายความรวมถึงเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศด้วย 2 . 3 การวางผังเมือง หมายความว่า กระบวนการให้ได้มาซึ่งผังเมือง ประกอบด้วย ผังนโยบาย ระดับประเทศ ผังนโยบายระดับภาค ผังนโยบายระดับจังหวัด ผังเมืองรวม และผังเมืองเฉพาะ 2 . 4 สาธารณภัย หมายความว่า อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ โรคระบาดสัตว์น้ํา การระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนภัยอื่น ๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ มีผู้ทําให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ และให้หมายความรวมถึง ภัยทางอากาศและการก่อวินาศกรรมด้วย 2 . 5 การใช้ประโยชน์ที่ดิน หมายความว่า กิจกรรมทุกชนิดที่มีการกระทําในลักษณะเป็นประจํา ไม่ว่ากิจกรรมนั้นจะประกอบอยู่บน เหนือ หรือใต้พื้นดิน หรือพื้นน้ํา ไม่ว่าจะมีอาคารหรือ สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้นหรือไม่ก็ตาม

5 2 . 6 พื้นที่ที่มีความอ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม หมายความว่า พื้นที่ที่มีความอ่อนไหวหรือ มีความเปราะบาง ที่มีโอกาสเกิดความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในเชิงลบหากได้รับผลกระทบไม่ว่า จะทางตรงหรือทางอ้อมจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป 2 . 7 สภาพแวดล้อม หมายความว่า บริบท สภาวะแวดล้อมที่ล้อมรอบเหตุการณ์ สถานการณ์ สถานที่ต่าง ๆ ซึ่งสภาพแวดล้อมมีหลากหลายองค์ประกอบ เช่น สภาพแวดล้อมทางกายภาพ สภาพแวดล้อมทางสังคม และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม 2 . 8 พื้นที่สาธารณะ หมายความว่า พื้นที่ที่เปิดให้สาธารณชนเข้าใช้งานได้เอนกประสงค์สําหรับ การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ และการแสดงออกเชิงวัฒนธรรมท่ามกลาง ความหลากหลายของสังคม 2 . 9 พื้นที่เปิดโล่ง หมายความว่า พื้นที่ซึ่งไม่มีสิ่งก่อสร้างปกคลุม และช่วยทําให้บริเวณโดยรอบ เช่น ชุมชน หมู่บ้าน และเมืองมีความเบาบางลง ทั้งนี้ พื้นที่เปิดโล่งจะสร้างสุนทรียภาพให้แก่พื้นที่ และมีผลต่อความพึงพอใจของประชาชน นอกจากนี้พื้นที่เปิดโล่งยังมีประโยชน์หลายประการ เช่น เพื่อการนันทนาการ เพื่อการสัญจร และเพื่อการรักษาสภาพแวดล้อม เป็นต้น 2 . 10 พื้นที่สีเขียว หมายความว่า พื้นที่ที่ปกคลุมด้วยพืชพรรณเป็นส่วนใหญ่ทั้งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อให้เมืองหรือชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี เช่น พื้นที่ป่าไม้ สวนสาธารณะ แถบสีเขียว (Green belt) พื้นที่ที่มีต้นไม้ปกคลุมตามแนวแม่น้ํา แนวถนน และริมทางรถไฟ เป็นต้น ทั้งนี้ ไม่หมายความรวมถึง พื้นที่เกษตรกรรม 2 . 11 เมืองอัจฉริยะ หมายความว่า เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย และชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่าย และการใช้ทรัพยากรของเมืองและประชากรเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบที่ดีและการมีส่วนร่วม ของภาคธุรกิจและประชาชนในการพัฒนาเมืองภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืน 2 . 12 โครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่น หมายความว่า บริการพื้นฐานที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต ของมนุษย์ ได้แก่ สาธารณูปโภค เช่น การคมนาคมและการขนส่ง ไฟฟ้า ประปา การสื่อสาร ระบบระบายและจัดการน้ํา การกําจัดขยะ เป็นต้น และสาธารณูปการ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน ศาสนสถาน เป็นต้น ซึ่งจะต้องกําหนดตําแหน่งที่ตั้งและออกแบบให้มีความทนทานต่อภัยพิบัติ ที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่เพื่อให้บริการเหล่านี้ยังคงสามารถใช้งานได้ระหว่างเกิดภัยพิบัติ ลดอัตราการสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน ความเสียหายเชิงเศรษฐกิจ และให้ผู้คนในพื้นที่สามารถกลับมา ใช้ชีวิตปกติได้อย่างรวดเร็วหลังภัยพิบัติ โดยที่โครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้จะต้องไม่เป็นอุปสรรค ต่อกระบวนการทางธรรมชาติอันจะทําให้เกิดผลกระทบและผลเสียในระยะยาว

6 2 . 13 เขตสงวน หมายความว่า พื้นที่ที่มีคุณค่าทางธรรมชาติและระบบนิเวศ ตลอดจนห่วงโซ่อาหาร พื้นที่สงวนเป็นส่วนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ทุกคนได้รับประโยชน์ร่วมกัน จึงต้องได้รับการปกป้อง คุ้มครองและการป้องกันให้ยังคงดํารงรักษาคุณค่าทางธรรมชาติและระบบนิเวศมิให้ถูกนําไปใช้ประโยชน์ หรือได้รับผลกระทบจากการใช้ประโยชน์จนทําให้เสียคุณค่าที่ยากแก่การทํากลับคืนให้ดีดังเดิมได้ 2 . 14 เขตอนุรักษ์ หมายความว่า พื้นที่ที่ต้องการการบํารุงรักษาให้คงคุณค่าในการนํามาใช้ประโยชน์ต่อไป ในระยะยาว ได้แก่ พื้นที่ที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ ภูมิประเทศที่งดงาม พื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม พื้นที่ดังกล่าวสามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้ แต่ต้องไม่ทําให้คุณค่าเดิมที่มีอยู่เสื่อมคลายลง ซึ่งพื้นที่อนุรักษ์มีทั้งที่อยู่ในและนอกชุมชน 2 . 15 เขตพัฒนา หมายความว่า พื้นที่พัฒนาเป็นพื้นที่มีศักยภาพสําหรับนํามาใช้ประโยชน์ เป็นถิ่นฐานชุมชน ตอบสนองกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในชีวิตประจําวัน ปรากฏอาคารสิ่งก่อสร้าง เพื่อการอยู่อาศัย อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม การคมนาคมและการขนส่ง สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ 2 . 16 พื้นที่เกษตรกรรมที่มีความสมบูรณ์ หมายความว่า พื้นที่เกษตรที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําตามกฎหมายว่าด้วยการประมง ทําให้ได้ผลผลิตที่สูงหรือมีคุณภาพ 2 . 17 สิ่งแวดล้อม หมายความว่า สิ่งต่างๆ ที่มีลักษณะทางกายภาพ และชีวภาพที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์ได้ทําขึ้น 2 . 18 ทรัพยากรธรรมชาติ หมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามกระบวนการธรรมชาติที่มนุษย์ สามารถนํามาใช้ประโยชน์ในการดํารงชีวิตได้ แบ่งประเภททรัพยากรธรรมชาติได้ 2 ประเภท คือ ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป เช่น แร่ธาตุ น้ํามัน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น และทรัพยากรธรรมชาติ ที่สามารถทดแทนใหม่ได้ เช่น พืช ป่าไม้ ดิน สัตว์ป่า น้ํา เป็นต้น ทรัพยากรธรรมชาติประเภทนี้ หากมีการจัดการในการใช้อย่างถูกวิธีจะสามารถเกิดขึ้นหรือทดแทนขึ้นใหม่ได้ 2 . 19 อัตลักษณ์ หมายความว่า คุณลักษณะเฉพาะตัวซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ของลักษณะเฉพาะพืช บุคคล สังคม ชุมชนหรือประเทศนั้น ๆ อาจรวมถึงเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรมท้องถิ่น ศาสนา และอื่น ๆ ซึ่งมีคุณลักษณะที่ไม่ทั่วไปหรือสากลกับสังคมอื่น ๆ ส่วนที่ 3 : ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง โดยทั่วไปการวางผังเมืองมีกรอบหลักการพื้นฐานที่เป็นสากลซึ่งทุกประเทศจะยึดถือเป็นกฎ ที่ต้องคํานึงถึงเพื่อการวางและจัดทําผังเมืองที่ดี กล่าวคือ 1) หลักแห่งความมีเอกภาพ เพื่อความมั่นคง และเป็นปึกแผ่นเดียวกันในบริบทเชิงพื้นที่ของการวางผังเมืองทุกระดับ 2) หลักแห่งความสอดคล้อง เชื่อมโยง เพื่อความกลมกลืนกันในเชิงพื้นที่สําหรับการวางผังในแต่ละระดับ และ 3) หลักแห่งความยั่งยืน หรือหลักของความสมดุล ยั่งยืน โดยปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 72 .

7 และพระราชบัญญัติการผังเมือง พ . ศ . 2562 ตามมาตรา 6 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 11 มาตรา 25 มาตรา 36 และมาตรา 45 ซึ่งเป็นที่มาของหลักการพื้นฐานในธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง จํานวน 3 หมวด 26 ข้อ ได้แก่ หมวด 1 หลักการเชิงนโยบาย จํานวน 7 ข้อ หมวด 2 หลักการพื้นฐาน จํานวน 14 ข้อ และหมวด 3 หลักการเชิงพื้นที่ จํานวน 5 ข้อ ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง ประกอบด้วย หมวด 1 หลักการเชิงนโยบาย ข้อ 1 รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมการดําเนินงานด้านการผังเมืองให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ข้อ 2 รัฐพึงบรรจุเรื่องการผังเมืองไว้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาลและแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ให้มีผลผูกพันนําไปสู่การปฏิบัติ ข้อ 3 รัฐพึงใช้ผังเมืองเป็นกรอบนโยบายในการพัฒนาพื้นที่ของประเทศและดําเนินการ หรือสนับสนุนการพัฒนาประเทศแบบบูรณาการในทุกภาคส่วนให้เป็นไปตามที่ผังเมืองแต่ละระดับกําหนด ข้อ 4 หน่วยงานของรัฐพึงจัดทําแผนงานและโครงการให้สอดคล้องกับผังเมืองทุกระดับ ข้อ 5 หน่วยงานของรัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการดําเนินโครงการให้เป็นไป ตามผังเมืองที่กําหนด ข้อ 6 รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ด้านผังเมืองทั้งในและนอกระบบการศึกษา ให้แก่ทุกภาคส่วนในสังคมด้วยหลักสูตรต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ข้อ 7 รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลหรือเทคโนโลยีอื่นที่เหมาะสมกับ การดําเนินการในการจัดทําและปฏิบัติทางผังเมือง หมวด 2 หลักการพื้นฐาน ข้อ 8 การวางผังเมืองต้องคํานึงถึงประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นหลัก ข้อ 9 การวางผังเมืองต้องคํานึงถึงความเสมอภาคเท่าเทียมกันในการเข้าถึงสาธารณประโยชน์ ข้อ 10 การผังเมืองต้องคํานึงถึงการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมและแสดงข้อคิดเห็น ข้อ 11 การวางผังเมืองต้องคํานึงถึงการป้องกันสาธารณภัย และความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ข้อ 12 การวางผังเมืองต้องคํานึงถึงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิดจาก การใช้ประโยชน์ที่ดิน ข้อ 13 การวางผังเมืองต้องคํานึงถึงการสร้างความเชื่อมโยงในการคมนาคมและการขนส่งให้ทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ ข้อ 14 การวางและปฏิบัติตามผังเมืองต้องยึดมั่นในหลักวิชาการทางผังเมือง ข้อ 15 กำ ร วำ ง ผั ง เ มื อ ง ต้ อ ง คํำ นึ ง ถึ ง ค วำ ม สํำ คั ญ ใ น พื้ น ที่ ที่ มี ค วำ ม อ่ อ น ไ ห ว ด้านสิ่งแวดล้อม ข้อ 16 การวางผังเมืองต้องคํานึงถึงการวางแผนการตั้งถิ่นฐานให้มีความเหมาะสมกับ สภาพแวดล้อม ลดความเสี่ยงและความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ จากสาธารณภัย

8 ข้อ 17 การวางผังเมืองต้องคํานึงถึงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา ข้อ 18 การวางผังเมืองต้องคํานึงถึงการจัดหาบริการขั้นพื้นฐานและพื้นที่สาธารณะที่เพียงพอ และเหมาะสมให้แก่ประชาชน ข้อ 19 การวางผังเมืองต้องคํานึงถึงการจัดให้มีพื้นที่เปิดโล่งและพื้นที่สีเขียวที่เพียงพอ และเหมาะสม ข้อ 20 การวางผังเมืองต้องสนับสนุนแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและการพัฒนาเมือง แห่งอนาคต ข้อ 21 การวางผังเมืองต้องออกแบบวางผังพื้นที่ กลุ่มอาคาร สิ่งก่อสร้าง และโครงสร้างพื้นฐาน ที่มีความยืดหยุ่น และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม หมวด 3 หลักการเชิงพื้นที่ ข้อ 22 การวางผังเมืองต้องกําหนดเขตสงวน เขตอนุรักษ์ เขตพัฒนา ให้เหมาะสม กับสภาพพื้นที่ ข้อ 23 การวางผังเมืองต้องคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่มีความสมบูรณ์ ข้อ 24 กำ ร วำ ง ผั งเมื องต้องกํำ ห น ด พื้น ที่ สํำ ห รับ กำ ร พัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ ที่เหมาะสมโดยคํานึงถึงการพัฒนาเศรษฐกิจ และผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ข้อ 25 การวางผังเมืองและการพัฒนาพื้นที่ต้องคุ้มครองและบํารุงรักษาทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศที่งดงามหรือมีคุณค่าในทางธรรมชาติ ข้อ 26 กำ ร วำ ง ผั ง เ มื อ ง แ ล ะ กำ ร พั ฒ นำ พื้ น ที่ ต้ อ ง ดํำ ร ง รั ก ษำ ห รื อ บู ร ณ ะ ส ถำ น ที่ และวัตถุที่มีประโยชน์หรือคุณค่าในทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี โดยคํานึงถึงอัตลักษณ์และวิถีชุมชน