ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน พ.ศ. 2566
ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน พ.ศ. 2566
ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้การจ่าย เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 ข้อ 62 และข้อ 63 แห่งประกาศคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่าย เพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. 2565 สำนักงานห ลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่าย ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ข้อ 3 ในประกาศนี้ “ สานักงาน ” หมายความว่า สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้ ไม่หมายความรวมถึง สำนักงานสาขา “ สำนักงานเขต ” หมายความว่า สำนักงานสาขาของสำนักงานหลักประกันสุขภำพแห่งชาติ “ หน่วยบริการ ” หมายความว่า สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามกฎหมายว่าด้วย หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ “ ผู้รับบริการ ” หมายความว่า ผู้มีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ “ ค่าใช้จ่าย ” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขที่หน่วยบริการมีสิทธิได้รับจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีการบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน ข้อ 4 ให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรักษาการตามประกาศนี้ หมวด 1 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณ สุข ข้อ 5 การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ 5.1 หน่วยบริการที่ให้บริการและมีสิทธิรับค่าใช้จ่าย ้ หนา 59 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 63 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มีนาคม 2566
5.1.1 เป็นหน่วยบริการที่มีการจัดบริการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน อย่างต่อเนื่อง โดยความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพครอบครัว องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย 5.1.2 เป็นหน่วยบริการที่มีจิตแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน สาขาสุขภาพจิต ชุมชน หรือแพทย์ที่มีคุณสมบัติตามที่กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขกาหนด ที่มีบท บาทหน้าที่ ให้คำปรึกษาแก่หน่วยบริการตามข้อ 5.1.1 5.2 เป็นการให้บริการแก่ผู้รับบริการ ดังนี้ 5.2.1 ผู้รับบริการที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคจิตเภท พฤติกรรมแบบโรคจิตเภท หรือโรคหลงผิด ( ICD - 10 : F 20 - F 29 ) หรือผู้รับบริการที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยรหัส โรค F 20 - F 29 ที่มีความซับซ้อนในการจัดการและจาเป็นต้องได้รับการสนับสนุนการดูแลจากหลายภาคส่วนในชุมชน เช่น ครอบครัวมีผู้ป่วยจิตเวชหลายคน ผู้ป่วยไม่ยอมรับการเจ็บป่วยของตัวเอง ผู้ป่วยไม่ร่วมมือ ในการรักษา ผู้ป่วยถูกล่ามขัง ผู้ป่วยขาดผู้ดูแล ผู้ดูแลไม่มีศักยภาพเพียงพอ 5.2.2 ผู้รับบริการมีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง ( Serious Mental Illness with high risk to Violence : SMI - V ) ตามหลักเกณฑ์ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข 5.3 กลุ่มเป้าหมายในข้อ 5.2 มีขั้นตอนการคานวณและจัดสร รให้แก่พื้นที่ ดังนี้ 5.3.1 สำนักงานคำนวณเป้าหมายโดยใช้ฐานข้อมูลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วย ในช่วงวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 31 มีนาคม ที่มารับบริการและถูกวินิจฉัยตามข้อมูลผู้มีสิทธิ ได้รับบริการตามข้อ 5.2 5.3.2 สำนักงานจัดสรรเป้าหมายให้สำนักงานเขตดาเนินการจัดสรรเป้าหมาย ให้หน่วยบริการภายในวันที่ 30 กันยายน ของปีงบประมาณก่อนหน้า 5.3.3 สานักงานเขตจัดทารายงานสรุปผลการจัดสรรเป้าหมายส่งกลับมายัง สำนักงานภายในวันที่ 31 ตุลาคม ของปีงบประมาณ ข้อ 6 สานักงานจะจ่ายค่า ใช้จ่ายให้แก่หน่วยบริการที่ให้บริการตามข้อ 5.1 ในอัตรา 6 , 000 บาทต่อราย โดยแบ่งการจ่าย ดังนี้ 6.1 จ่ายให้แก่หน่วยบริการตามข้อ 5.1.1 ในอัตรา 5 , 000 บาทต่อราย ตามจำนวนผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังที่ได้รับการลงทะเบียนเป็นกลุ่มเป้าหมายตามข้อ 5.2 6.1.1 งวดที่ 1 เหมาจ่ายร้อยละ 50 ของจานวนเป้าหมายที่ลงทะเบียน ในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีงบประมาณ 6.1.2 งวดที่ 2 จ่ายร้อยละ 50 เมื่อผู้ป่วยได้รับการติดตามเยี่ยม ไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง และมีผลการประเมินสุขภาพผู้ป่วยตามแบบประเมิน 10 ด้านของกรมสุขภาพจิต กระทรวง สาธารณสุข ภายในวันที่ 31 สิงหาคม ของปีงบประมาณกรณีผู้ป่วยเสียชีวิต ให้หน่วยบริการ ขออุทธรณ์ เป็นรายกรณี ้ หนา 60 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 63 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มีนาคม 2566
6.2 จ่ายให้แก่หน่วยบริการตามข้อ 5.1.2 ในอัตรา 1 , 000 บาทต่อราย ตามจำนวนผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังที่ได้รับการลงทะเบียนเป็นกลุ่มเป้าหมายตามข้อ 5.2 6.2.1 งวดที่ 1 เหมาจ่ายร้อยละ 80 ของจานวนเป้าหมายที่ลงทะเบียน ในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีงบประมาณ 6.2.2 งวดที่ 2 จ่ายร้อยละ 20 เมื่อผู้ป่ วยได้รับการติดตามเยี่ยม ไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง และมีผลการประเมินสุขภาพผู้ป่วยตามแบบประเมิน 10 ด้านของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ภายในวันที่ 31 สิงหาคม ของปีงบประมาณ หมวด 2 วิธีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ข้อ 7 ให้หน่วยบริการตามข้อ 5.1.1 บันทึกข้อมูลในระบบ care transition ที่บริหาร จัดการโดยโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบข้อมูลของหน่วยบริการกับสานักงาน หรือส่งข้อมูลตามชุดข้อมูลมาตรฐาน หรือผ่านระบบโปรแกรมอื่นตามที่สำนักงานกำหนด หมวด 3 เงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ข้อ 8 สานักงานจะประมวลผลข้อมูลการลงทะเบียนผู้ป่วย และจ่ายค่าใช้จ่ายให้หน่วยบริการ สาหรับการจ่ายค่าใช้จ่ายงวดที่ 1 ภายในไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ และจะปร ะมวลผลข้อมูล การจัดการติดตามเยี่ยมของหน่วยบริการ และจ่ายค่าใช้จ่ายให้หน่วยบริการ สาหรับการจ่ายค่าใช้จ่ายงวดที่ 2 ภายในไตรมาส 4 ของปีงบประมาณ ข้อ 9 หากพบความผิดปกติอื่นใดของข้อมูลผลงานหรือการเบิกจ่ายของหน่วยบริการนั้น ๆ สำนักงานจะตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการที่มีบริการตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย เพื่อบริการสาธารณสุข ตามหมวด 1 ข้อ 10 สานักงานจะพิจารณาปฏิเสธการจ่ายค่าใช้จ่ายการให้บริการสาธารณสุข ในกรณีที่ การให้บริการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริ การสาธารณสุข ตามหมวด 1 ประกาศ ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 256 6 จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ้ หนา 61 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 63 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มีนาคม 2566