ประกาศ กคพ. (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2566 เรื่อง กำหนดรายละเอียดของลักษณะของการกระทำความผิดที่เป็นคดีพิเศษ ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547
ประกาศ กคพ. (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2566 เรื่อง กำหนดรายละเอียดของลักษณะของการกระทำความผิดที่เป็นคดีพิเศษ ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547
ประกาศ กคพ. (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2566 เรื่อง กำหนดรายละเอียดของลักษณะของการกระทาความผิดที่เป็นคดีพิเศษ ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 อาศัยอานาจตามความในมาตรา 10 (2) และมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติ การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 กคพ. จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศ กคพ. (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2566 เรื่อง กาหนด รายละเอียดของลักษณะของการกระทาความผิดที่เป็นคดีพิเศษ ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ 3 ให้คดีความผิดทางอาญาตามกฎหมายที่กาหนดเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกาหนด คดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) (ก) (ข) (ค) (ง) หรือ (จ) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 เฉพาะความผิดซึ่งมีรายละเอียดตามที่กาหนดไว้ในบัญชีท้ายประกาศนี้ และอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ มีคาสั่งให้ทาการสอบสวน เป็นคดีพิเศษที่ จะต้องดาเนินการสืบสวนและสอบสวนตามพระราชบัญญัติ การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ข้อ 4 เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษในกรณีที่มีข้อโต้แย้งหรือข้อสงสัย ว่าการกระทำความผิดใดตามบัญชีท้ายประกาศเป็นคดีพิเศษหรือไม่ ให้ กคพ. เป็นผู้ชี้ขาด ประกาศ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25 6 6 วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการคดีพิเศษ ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 61 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 มีนาคม 2566
บัญชีท้ายประกาศ กคพ. (ฉบับที่ 9 ) พ.ศ. 2566 ออกตามความในมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 1 . คดีความผิดตามกฎหมายว่า ด้วย อาหาร คดีความผิดที่มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 58 มาตรา 59 มาตรา 61 มาตรา 64 และมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติอาหำร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่มีหรือมีมูลน่าเชื่อว่ามีมูลค่าอาหารตั้งแต่สิบล้านบาท ขึ้นไปหรือมีจำนวนผู้เสียหายตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป 2 . คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยา คดีความผิดที่มีบทกาหนดโทษตามมาตรา 101 มาตรา 111 มาตรา 117 มาตรา 118 มาตรา 119 มาตรา 120 มาตรา 122 และมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญั ติยา พ . ศ . 2510 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่มีหรือมีมูลน่าเชื่อว่ามีมูลค่ายาตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป หรือมีจำนวนผู้เสียหาย ตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป 3 . คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง คดี ความผิดที่มีบทกาหนดโทษตามมาตรา 60 วรรคหนึ่ง มาตรา 72 วรรคหนึ่ง มาตรา 73 วรรคหนึ่ง มาตรา 74 วรรคหนึ่ง มาตรา 75 วรรคหนึ่ง มาตรา 76 วรรคหนึ่ง มาตรา 82 วรรคหนึ่ง และมาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องสาอาง พ . ศ . 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่มีหรือมีมูลน่าเชื่อว่า มีมูลค่าเครื่องสาอาง ตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป หรือมีจำนวนผู้เสียหายตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป 4 . คดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา เฉพาะที่ เกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก คดีความผิดที่มีบทกาหนดโทษตามมาตรา 287/1 และ มาตรา 287/2 แห่งประมวล กฎหมายอาญา และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดัง ต่อไปนี้ (1) มีการกระทำผ่านสื่อออนไลน์ รวมถึงสื่อดิจิทัลประเภทต่าง ๆ เชื่อมโยงระหว่างประเทศ และได้รับคาร้องขอจากหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานต่างประเทศ องค์กรระหว่างประเทศ หรือองค์กรเอกชน ที่มีวัตถุประสงค์ในกา รให้ความช่วยเหลือแก่เด็กและเยาวชน (2) มีผู้กระทำความผิดที่มีลักษณะต่อเนื่อง เป็นเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ 5 . คดีความผิดตามกฎหมาย ว่าด้วย การ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา คดีความผิดที่มีบทกาหนดโทษตามมาตรา 4 และ มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติห้ามเรียก ดอกเบี้ยเกิ นอัตรา พ.ศ. 2560 ที่มีมูลน่าเชื่อว่า มีการ ปล่อยกู้ให้แก่บุคคลตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป หรือ มี มูลค่าเงิน ปล่อยกู้ตั้งแต่สามสิบล้านบาทขึ้นไป 6 . คดีความผิด ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด คดีความผิด ที่มีบทกาหนดโทษ ตาม มาตรา 125 มาตรา 126 มาตรา 127 มาตรา 145 มาตรา 146 และ มาตรา 147 แห่ง ประมวลกฎหมายยาเสพติด ที่มี รายละเอียดอย่างหนึ่ง อย่างใด ดังต่อไปนี้ ( 1 ) มีปริมาณยาเสพติดให้โทษของกลาง ตั้งแต่ห้าร้อยกิโลกรัมขึ้นไป ( 2 ) มีมูลค่ายาเสพติดของกลางตามที่สำนักงาน ป.ป.ส. ประเมิน ตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้น ไ ป ( 3 ) มีหรือมีมูลน่าเชื่อว่ามีทรัพย์สินที่เกี่ ยวข้องกับการกระทำความผิด ตั้งแต่สามร้อยล้าน บาทขึ้นไป ( 4 ) เป็นคดีที่สำนักงาน ป.ป.ส. หรือกองบัญชาการ ตำรวจ ปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรว จ แห่งชาติ เห็นว่ามีความซับซ้อน และร้องขอให้เป็นคดีพิเศษ __________________________________