Sun Mar 12 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ประเภทหาด ปะการัง กัลปังหา หรือสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังในพื้นที่เกาะราชาใหญ่ เกาะราชาน้อย ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2566


ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ประเภทหาด ปะการัง กัลปังหา หรือสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังในพื้นที่เกาะราชาใหญ่ เกาะราชาน้อย ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2566

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ประเภทหาด ปะการัง กัลปังหา หรือสิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง ในพื้นที่เกาะราชาใหญ่ เกาะราชาน้อย ตาบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2566 อาศัยอานาจตามความในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง และมาตรา 22 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 รัฐมนตรี ว่าการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “ แนวชายฝั่งทะเล ” หมายความว่า แนวที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุดตามปกติทางธรรมชาติ “ ชายหาด ” หมายความว่า พื้นที่ภายในแนวที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุดตามปกติทางธรรมชาติ จนถึงแนวที่น้าทะเลลงต่าสุดตามปกติทางธรรมชาติ และให้หมายความรวมถึงบริเวณพื้นที่ซึ่งอยู่ติดกับ ชายหาด ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะที่สงวนไว้ให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน “ บริเวณแนวปะการัง ” หมายความว่า พื้นที่ ที่มีปะการังทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ดอกไม้ทะเล และกัลปังหา พื้นทราย และพื้นหินที่แทรกอยู่ระหว่างแนวปะการัง รวมถึงปะการังเทียม “ หน่วยงานของรัฐ ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกา องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่มีกฎหมายจัดตั้ง “ กิจกรรมท่องเที่ยวดาน้า ” หมายความว่า กิจกรรมการนาบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดินทาง ไปดำน้ำลึก ดำน้ำตื้น ดำน้ำอิสระ หรือประกอบกิจกรรมใด ๆ เพื่อดูปะการัง หรือสิ่งมีชีวิต ใต้ทะเล และให้หมายความรวมถึงกิจกรรมทดลองการเรียนดาน้า การเรียนดาน้า และการสอบดาน้า ข้อ 2 ให้บริเวณหมู่เกาะราชาใหญ่ และเกาะราชาน้อย ตาบลราไวย์ อาเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ภายในแนวเขตแผนที่แนบท้ายประกาศหมายเลข 1/3 หมายเลข 2/3 และหมายเลข 3/3 เป็นพื้ นที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งประเภทหาด ปะการัง กัลปังหา หรือสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ข้อ 3 ให้จาแนกพื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งตามข้อ 2 เป็น 3 บริเวณ ดังต่อไปนี้ (1) บริเวณที่ 1 ได้แก่ พื้นที่บนแผ่นดินนับจากแนวชายฝั่งทะเลเข้าไปในแผ่นดินของ เกาะราชาใหญ่และเกาะราชาน้อย (2) บริเวณที่ 2 ได้แก่ พื้นที่ตั้งแต่แนวชายฝั่งทะเลลงมาจนถึงแนวปะการังธรรมชาติ และบริเวณต่อเนื่อง ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 58 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 มีนาคม 2566

(3) บริเวณที่ 3 ได้แก่ พื้นที่ทะเลถัดจากบริเวณ ที่ 2 ออกไปภายในบริเวณเส้นตรง ที่เชื่อมต่อจุดพิกัด ดังนี้ (ก) จุดที่ 1 ละติจูด 7 ° 38 ’ 38.000” เหนือ ลองจิจูด 98 ° 16 ’ 30.000” ตะวันออก (ข) จุดที่ 2 ละติจูด 7 ° 38 ’ 38.000” เหนือ ลองจิจูด 98 ° 24 ’ 39.000” ตะวันออก (ค) จุดที่ 3 ละติจูด 7 ° 25 ’ 04.000” เหนือ ลองจิจูด 98 ° 16 ’ 30.000” ตะวันออก (ง) จุดที่ 4 ละติจูด 7 ° 25 ’ 04.000” เหนือ ลองจิจูด 98 ° 24 ’ 39.000” ตะวันออก ข้อ 4 ภายในพื้นที่ตามข้อ 3 ห้ามกระทำการหรือประกอบกิจกรรม ดังต่อไปนี้ (1) ภายในบริเวณที่ 1 ถึงบริเวณที่ 3 การเททิ้งขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้าเสีย มลสาร หรือวัตถุอันตรายอื่นใด ซึ่งถูกปล่อยทิ้งมาจากแหล่งมลพิษ รวมทั้งกาก ตะกอน หรือสิ่งที่ตกค้าง จากสิ่งเหล่านั้นที่อยู่ในสภาพของแข็งหรือของเหลวที่เป็นการทาลาย ก่อให้เกิดความเสียหาย ตลอดจน ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของชายหาด แนวปะการัง ซากปะการัง กัลปังหา หรือสิ่งมีชีวิต ในแนวปะการัง (2) ภายในบริเวณที่ 1 (ก) การสร้างสิ่งปลูกสร้างบนชายหาดหรือการปรับปรุงพื้นที่ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สภาพพื้นที่บนชายหาด เว้นแต่การดาเนินการของหน่ว ยงานของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเอกชน ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องดาเนินการเท่าที่จาเป็น กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ไม่เป็นการทาลายสภาพทางธรรมชาติในลักษณะที่ไม่สามารถฟื้นฟูกลับมาได้ดังเดิม และต้องแจ้งแบบ โครงการและแผนงานเป็นหนังสือใ ห้อธิบดีทราบล่วงหน้าก่อนเริ่มดาเนินการเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันทาการ หากอธิบดีเห็นว่าโครงการอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่สภาพทางธรรมชาติในลักษณะที่ไม่สามารถฟื้นฟู กลับมาได้ดังเดิมหรือมีมาตรการป้องกันไม่เพียงพอ ให้แจ้งหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการโดยเร็ว เพื่อให้ระงับโครงการ ปรับปรุงแบบโครงการหรือแผนงาน หรือกำหนดมาตรการป้องกันเพิ่มเติม (ข) การกระทากิจกรรมใด ๆ ที่ก่อให้เกิดตะกอนลงสู่แนวปะการังอันส่งผลกระทบให้เกิด ความเสียหายต่อปะการัง (3) ภายในบริเวณที่ 2 (ก) การสร้างสิ่งปลูกสร้างใด ๆ เว้นแต่ได้รับอนุ ญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยให้ทา การก่อสร้างในบริเวณที่จะก่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุดแก่แนวปะการัง ซากปะการัง กัลปังหา หรือ สิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง และต้องแจ้งแบบโครงการและแผนงานเป็นหนังสือให้อธิบดีทราบล่วงหน้า ก่อนเริ่มดาเนินการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า สามสิบวันทาการ หากอธิบดีเห็นว่าโครงการอาจทาให้เกิด ความเสียหายแก่สภาพทางธรรมชาติในลักษณะที่ไม่สามารถฟื้นฟูกลับมาได้ดังเดิมหรือมีมาตรการป้องกัน ้ หนา 22 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 58 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 มีนาคม 2566

ไม่เพียงพอ ให้แจ้งเจ้าของโครงการโดยเร็ว เพื่อให้ระงับโครงการ ปรับปรุงแบบโครงการหรือแผนงาน หรือกำหนดมาตรการป้อ งกันเพิ่มเติม (ข) การทอดสมอ เว้นแต่ผู้ใดประสงค์จะจอดเรือ ให้กระทาโดยวิธีการผูกเรือกับทุ่นจอดเรือ ในบริเวณที่อธิบดีประกาศกาหนด (ค) การท่องเที่ยวดาน้าด้วยการเดินหรือลอยตัวอยู่ใต้ทะเลโดยใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่บนผิวน้า หรือใช้เครื่องยนต์ช่วยในการเคลื่อนที่ใต้น้ำ และแบบอื่น ๆ ที่มีลักษณะเดียวกัน (ง) กิจกรรมกีฬาทางน้าหรือกิจกรรมท่องเที่ยวทางน้าทุกชนิด ที่มีหรืออาจมีผลกระทบ กับบริเวณแนวปะการัง เว้นแต่การดาเนินการในบริเวณที่อธิบดีประกาศกาหนด โดยต้องไม่ก่อให้เกิด ความเสี ยหาย ตลอดจนไม่ส่งผลกระทบต่อแนวปะการังและระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง (จ) การทาการประมงทุกชนิดตามกฎหมายว่าด้วยการประมง เว้นแต่การทาการประมง ในพื้นที่และด้วยวิธีการหรือเครื่องมือการประมงที่อธิบดีประกาศกำหนด โดยผ่านความเห็นชอบ ของคณะกรรมการประมงประจาจังหวัด ภูเก็ต หรือการทาการประมงตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เรื่อง แนวนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล (ฉ) การจับ เก็บ ขัง ล่อปลา หรือครอบครองสัตว์น้ำเพื่อให้นักท่องเที่ยวดู (ช) การให้อาหารปลา ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับแก่การใช้พื้นที่บนเกาะราชาน้อยเพื่อประโยชน์ในราชการ ของกองทัพเรือ ทั้งนี้ เท่าที่จำเป็นและเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ข้อ 5 การนำเรือเข้าออกและการจอดเรือในบริเวณที่ 2 ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และวิธีการ ดังต่อไปนี้ (1) การจอดเรือเที ยบทุ่น หรือสะพานท่าเทียบเรือ หรือบริเวณโป๊ะจอดเรือ ต้องปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (ก) การจอดต้องเป็นไปเพื่อรับส่งผู้โดยสาร ห้ามจอดประจำจุดเป็นการถาวร (ข) การจอดเรือให้จอดในจุดหรือบริเวณที่อธิบดีประกาศกาหนด (ค) วิธีการจอดเรือเทียบทุ่น หรือสะพานท่ำเทียบเรือ หรือบริเวณโป๊ะจอดเรือ ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดความชำรุดแก่ทุ่น ท่าเทียบเรือ หรือโป๊ะจอดเรือ (2) การนำเรือเข้าออก ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือเป็นอันตรายต่อแนวปะการัง ซากปะการัง กัลปังหา และสิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง และเป็นไปตามเส้นทางการนาเรือเข้าออก ที่อธิบดีประกาศกาหนด ้ หนา 23 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 58 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 มีนาคม 2566

ข้อ 6 เรือท่องเที่ยวที่จะเข้าไปในบริเวณที่ 2 ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) แจ้งการเข้าไปในพื้นที่ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (2) ผู้ทาหน้าที่ควบคุมเรือ นายท้ายเรือ หรือกัปตันเรือท่ องเที่ยว ต้องผ่านการฝึกอบรม การควบคุมเรือท่องเที่ยวของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ข้อ 7 การจอดเรือกับทุ่นต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้ (1) การผูกเรือกับทุ่นจะต้องนาเชือกที่อยู่บนเรือผูกต่อกับเชือกทุ่น ห้ามนาเชือกทุ่นขึ้นไป ผูกกับเรือโดย ตรง (2) การจอดเรือโดยผูกทุ่น ให้ใช้เชือกผูกกับส่วนหัวเรือหรือบริเวณส่วนของหัวเรือเท่านั้น (3) ทุ่นแสดงแนวเขต ให้ใช้สำหรับแสดงหมายเขตแนวปะการังน้ำตื้นและเขตดำน้ำ ห้ามใช้ผูกเรือ เว้นแต่ทุ่นบางพื้นที่ที่อธิบดีประกาศกาหนด (4) ห้ามตัด ทำลาย หรือก่อให้เกิ ดความเสียหายต่อทุ่นจอดเรือหรือทุ่นแสดงแนวเขต ข้อ 8 การประกอบกิจกรรมท่องเที่ยวดาน้าในบริเวณแนวปะการังต้องปฏิบัติตามประกาศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรปะการังจากกิจกรรม ท่องเที่ยวดาน้า ข้อ 9 เพื่อประโยชน์แก่การบริหารจั ดการจานวนนักท่องเที่ยวหรือจานวนเรือท่องเที่ยว ที่เข้าไปใช้พื้นที่ชายหาดและแนวปะการัง อธิบดีอาจประกาศกาหนดจานวนนักท่องเที่ยวหรือจานวน เรือท่องเที่ยว โดยคำนึงถึงความสามารถรองรับของพื้นที่และการไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพทางธรรมชาติเดิม ข้อ 10 การดาเนินการตามประกาศนี้ มิให้ใช้บังคับกับการดาเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการดาเนินการของหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนเพื่อการศึกษาวิจัย โดยแจ้งให้อธิบดีทราบล่วงหน้าก่อนเริ่มดาเนินการศึกษาวิจัยไม่น้อยกว่ำ สามสิบวันทำการพร้อมยื่นโครงการศึกษาวิจัยประกอบการแจ้งด้วย ข้อ 11 ในกรณีที่เกิดสาธารณภัยตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหรือ มีเหตุฉุกเฉินจาเป็นเร่งด่วน ซึ่งหากไม่ยับยั้งหรือบรรเทาภัยพิบัติดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย และก่อใ ห้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือหน่วยงานของรัฐ ให้ได้รับ การยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 4 โดยให้ดาเนินการได้เท่าที่จาเป็น และให้รายงานกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่งทราบภายในสิบห้าวันทำการนับจากวันที่ได้ดาเนินการ ข้อ 12 ในพื้นที่ตามข้อ 3 หาก มีกฎหมายใดกาหนดมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งเรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะและเป็นมาตรการที่ไม่ต่ากว่ามาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเล ้ หนา 24 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 58 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 มีนาคม 2566

และชายฝั่งที่กาหนดในประกาศนี้ ให้เป็นไปตามมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น ข้อ 13 เพื่อ ประโยชน์แก่การบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งตามประกาศนี้ ให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจัดทาแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเสนอต่อ คณะกรรมการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตและคณะกรรมการนโยบายและแผนบริหาร จัดการทรัพยากรทะเลและชา ยฝั่งแห่งชาติปีละหนึ่งครั้ง รวมทั้งติดตามและประเมินผลการดาเนินงาน ตามแผนดังกล่าว ข้อ 14 ประกาศนี้ให้มีระยะเวลาบังคับใช้ห้าปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ประกาศ ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25 6 6 วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ้ หนา 25 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 58 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 มีนาคม 2566