ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการผลิตสุราเพื่อการค้า และการนำสุราออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อตรวจวิเคราะห์ในขั้นตอนการผลิต
ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการผลิตสุราเพื่อการค้า และการนำสุราออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อตรวจวิเคราะห์ในขั้นตอนการผลิต
ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการผลิตสุราเพื่อการค้า และการนาสุราออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อตรวจวิเคราะห์ในขั้นตอนการผลิต อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 26 (3) และมาตรา 153 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ประกอบกับข้อ 16 (2) (ข) ข้อ 17 (1) (ข) และข้อ 19 (4) แห่งกฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. 2565 อธิบดีกรมสรรพสามิตจึงกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขในการผลิตสุราเพื่อการค้า และการนาสุราออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อตรวจวิเคราะห์ในขั้นตอน การผลิตไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิก 1.1 ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการผลิตสุรา และการนาสุราออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อตรวจวิเคราะห์ในขั้นตอนการผลิต ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560 1.2 ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการผลิตสุรา และการนาสุราออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อตรวจวิเคราะห์ในขั้นตอนการผลิต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 256 2 1.3 ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเ กณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการผลิตสุรา และการนาสุราออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อตรวจวิเคราะห์ในขั้นตอนการผลิต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563 ข้อ 2 ในประกาศนี้ “ เบียร์ ” หมายความว่า สุราแช่ที่ได้จากการหมักสารละลายที่ได้จากการต้มสกัดมอลต์ ข้ำวบาร์เลย์กับฮอป หรือผลิตภัณฑ์จากฮอป โดยอาจใช้คาร์โบไฮเดรตจากวัตถุดิบอื่น ๆ เป็นส่วนผสม ในการต้มสกัดด้วยหรือไม่ก็ได้ “ ไวน์ ” หมายความว่า สุราแช่ที่ได้จากการหมักผลไม้จำพวกองุ่นหรือผลิตภัณฑ์จากผลองุ่น “ สปาร์กลิ้งไวน์ ” หมายความว่า ไวน์ที่มีการเติมก๊าซคา ร์บอนไดออกไซด์ หรือการเกิด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการหมักครั้งที่สองในขวดหรือภาชนะที่ปิดสนิท “ สุราแช่ผลไม้ ” หมายความว่า สุราแช่ที่ได้จากการหมักผลไม้อื่นหรือผลิตภัณฑ์จากผลไม้อื่น นอกจากองุ่น “ สุราแช่ผลไม้ที่มีส่วนผสมขององุ่นหรือไวน์องุ่น ” หมายความว่า สุราแช่ที่ได้จากการหมักผลไม้ หรือผลิตภัณฑ์จากผลไม้กับองุ่นหรือไวน์องุ่น ้ หนา 38 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 55 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 มีนาคม 2566
“ สุราแช่พื้นเมือง ” หมายความว่า สุราแช่ที่ได้จากการหมักวัตถุดิบจาพวกน้าตาล เช่น กระแช่ หรือน้าตาลเมา หรือจากวัตถุดิบจาพวกข้าว เช่น อุ น้าขาว หรือสาโท หากผสมสุรากลั่นต้องมี แอลกอฮอล์ไม่เกินสิบห้าดีกรี “ สุราแช่อื่น ” หมายความว่า สุราแช่ที่ได้จากการหมักวัตถุดิบที่มิใช่ผลไม้หรือผลิตภัณฑ์ จากผลไม้ และมิใช่เบียร์และสุราแช่พื้นเมือง “ เอทาน อล ” หมายความว่า สุรากลั่นที่มีแรงแอลกอฮอล์ตั้งแต่เก้าสิบเก้าจุดห้าดีกรีขึ้นไป สำหรับนาไปใช้เป็นเชื้อเพลิง “ สุราสามทับ ” หมายความว่า สุรากลั่นที่มีแรงแอลกอฮอล์ตั้งแต่แปดสิบดีกรีขึ้นไป “ สุราขาว ” หมายความว่า สุรากลั่นที่ปราศจากเครื่องย้อมหรือสิ่งผสมปรุง แต่ง มีแรงแอลกอฮอล์ ต่ากว่าแปดสิบดีกรี “ สุราผสม ” หมายความว่า สุรากลั่นที่ใช้สุราขาวหรือสุราขาวผสมสุราสามทับมาปรุงแต่ง มีแรงแอลกอฮอล์ต่ากว่าแปดสิบดีกรี “ สุราปรุงพิเศษ ” หมายความว่า สุรากลั่นที่ใช้สุราสามทับมาปรุงแต่ง มีแรงแอลกอฮอล์ต่ากว่า แปดสิบดีกรี “ สุราพิเศษ ” หมายความว่า สุรากลั่นที่ทาขึ้นตามแบบสุราต่างประเทศโดยใช้กรรมวิธีพิเศษ มีแรงแอลกอฮอล์ต่ากว่าแปดสิบดีกรี ข้อ 3 ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุราต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับ กรรมวิธีการผลิตสุราและการใช้วัตถุดิบ ดังนี้ 3.1 ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุราสำหรับโรงอุตสาหกรรมสุราแช่ขนาดเล็กและ โรงอุตสาหกรรมสุราแช่ขนาดกลาง ต้องผลิตสุราแช่โดยนาวัตถุดิบซึ่งเป็นผลไม้ หรือน้าผลไม้ หรือ ผลผลิตทางการเกษตรใด ๆ ไปหมักกับเชื้อสุรา โดยจะมีการผสมกับสุรากลั่นด้วยหรือไม่ก็ได้ โดยให้ แจ้งชนิดแ ละสัดส่วนวัตถุดิบที่เป็นสาระสำคัญที่ใช้ผลิตสุราแช่ ให้สรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ ที่โรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่ทราบด้วย 3.2 ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุราสำหรับโรงอุตสาหกรรมสุรากลั่นขนาดเล็กและ โรงอุตสาหกรรมสุรากลั่นขนาดกลาง ต้องผลิตสุราขาว โดยนำวัตถุดิบจาพวกข้ำว หรือแป้ง หรือผลไม้ หรือน้ำผลไม้ หรือผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ ไปหมักกับเชื้อสุรา เพื่อให้เกิดมีแรงแอลกอฮอล์ ตามต้องการ จากนั้นนาไปต้มกลั่นโดยใช้เครื่องต้มกลั่นสุราที่ติดตั้งในโรงอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาต ปรุงแต่งด้วยน้า โดยให้แจ้งชนิดและสัดส่วนวั ตถุดิบที่เป็นสาระสาคัญที่ใช้ผลิตสุรากลั่น ให้สรรพสามิต พื้นที่แห่งท้องที่ที่โรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่ทราบด้วย 3.3 ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุรานอกจาก 3.1 และ 3.2 ต้องเสนอกรรมวิธี การผลิตสุรา และแจ้งชนิดและสัดส่วนวัตถุดิบที่เป็นสาระสาคัญที่ใช้ผลิตสุรา ให้อธิ บดีพิจารณาอนุญาต ก่อนผลิตสุรา หรือก่อนการเปลี่ยนแปลงกรรมวิธีการผลิตสุราหรือเปลี่ยนแปลงชนิดของวัตถุดิบ ้ หนา 39 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 55 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 มีนาคม 2566
กรรมวิธีการผลิตสุราตามวรรคก่อน ให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสุรา ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3.4 ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุราตาม 3.3 ที่ประสงค์จะผลิตสุรา โดยการเปลี่ยนแปลง ภาชนะบรรจุสุราเพื่อการค้า หรือเปลี่ยนแปลงสุราโดยนาสุราอื่นใด หรือน้า หรือของเหลวหรือวัตถุอื่นใด เจือปนลงในสุราเพื่อการค้า ต้องเสนอกรรมวิธีการผลิตสุราโดยการเปลี่ยนแปลงภาชนะและหรื อ เปลี่ยนแปลงสุราดังกล่าว และแจ้งชนิดและสัดส่วนวัตถุดิบที่เป็นสาระสาคัญที่ใช้ผลิตสุรา ให้อธิบดี พิจารณาอนุญาตก่อนผลิตสุรา หรือก่อนการเปลี่ยนแปลงกรรมวิธีการผลิตสุราหรือเปลี่ยนแปลงชนิด ของวัตถุดิบ กรรมวิธีการผลิตสุราตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภั ณฑ์อุตสาหกรรมสุรา ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ข้อ 4 ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุราต้องบรรจุสุราที่ผลิตได้ใส่ภาชนะและใช้ฉลากปิดภาชนะ บรรจุสุราโดยปฏิบัติตามวิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้ฉลากและภาชนะบรรจุสุราเพื่อขายในราชอาณาจั กร ดังนี้ 4.1 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุราแจ้งชนิดกับขนาดความจุของภาชนะและส่งตัวอย่าง ภาชนะที่จะใช้บรรจุสุราตัวอย่างละ 1 ชนิดหรือขนาด ให้อธิบดีพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน จึงจะนาไปใช้ได้ ภาชนะบรรจุสุราต้องมีความเหมาะสม สะอาด ปิดให้สนิท และไม่ทา ปฏิกิริยากับสุรา ที่บรรจุนั้น และในกรณีที่เป็นสุราชนิดที่ต้องเสียภาษีโดยการใช้แสตมป์สรรพสามิต ภาชนะที่ใช้จะต้อง สามารถปิดแสตมป์สรรพสามิตตามวิธีการที่กำหนดได้ ภาชนะบรรจุสุราตามวรรคหนึ่ง ให้มีขนาดภาชนะบรรจุไม่ต่ากว่า 0.175 ลิตร เว้นแต่สุรากลั่นชนิดสุราขาว ให้มีขนาดภาชนะบรรจุ 0.330 ลิตร หรือ 0.625 ลิตรขึ้นไป 4.2 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุราส่งตัวอย่างฉลากและเครื่องหมายต่าง ๆ ที่จะใช้ปิด ภาชนะบรรจุสุรา ตัวอย่างละ 5 แผ่น ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายพิจารณาให้ความเ ห็นชอบ ก่อนจึงจะนาไปใช้ได้ โดยฉลากดังกล่าวต้องมีข้อความอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ชื่อสุรา ( 2 ) ชนิดสุรา ( 3 ) แรงแอลกอฮอล์เป็นดีกรี หรือร้อยละโดยปริมาตร ( 4 ) ปริมาตรสุทธิ ( 5 ) วันเดือนปีที่ผลิตสุรา ( 6 ) คำเตือนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด ( 7 ) ชื่อผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุรา ( 8 ) ที่ตั้งของโรงอุตสาหกรรมสุรา ้ หนา 40 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 55 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 มีนาคม 2566
( 9 ) กรณีเป็นสุราที่ผลิตจากโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็กและโรงอุตสาหกรรม สุราขนาดกลาง ต้องระบุส่วนประกอบหลัก หรือวัตถุดิบอันเป็นสาระสำคัญที่ใช้ผลิตสุรานั้นด้วย ( 10 ) กรณีเป็นสุราขาว ให้มีข้อความภาษาไทยว่า “ สุราขาว ” ( 11 ) กรณีเป็นสุราแช่และสุรากลั่นที่ผลิตจากโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็ก และโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดกลาง ต้องระบุข้อความ “ สุราแช่ขนาดเล็ก ” “ สุราแช่ข นาดกลาง ” “ สุรากลั่นขนาดเล็ก ” หรือ “ สุรากลั่นขนาดกลาง ” แล้วแต่กรณี ( 12 ) กรณีเป็นสุราแช่ชนิดสุราแช่ผลไม้ที่มีส่วนผสมขององุ่นหรือไวน์องุ่นอื่น ๆ นอกจากที่มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 7 ดีกรี และมีขนาดบรรจุไม่เกิน 0.330 ลิตร ให้ระบุข้อความ “ สุราแช่ชนิด สุราผลไม้ ” ขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 4 มิลลิเมตร อยู่บนฉลากที่มีชื่อสุรา ทั้งนี้ ข้อความดังกล่าวต้องพิมพ์อย่างชัดเจน โดยใช้ตัวอักษรภาษาไทยและหรือ ภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นที่อธิบดีอนุญาต และชื่อสุราต้องไม่ซ้ากับชื่อสุราของผู้ได้รับใบอนุญาต ผลิตสุรารา ยอื่นที่ได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่แล้ว เว้นแต่กรณีได้รับความยินยอมจากผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุรา รายนั้น ๆ ในกรณีเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการใช้ฉลากหรือเครื่องหมายต่าง ๆ หากกรมสรรพสามิตต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายด้วยประการใด ๆ ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุรา ต้องยินยอมชดใช้ค่าเสียหายรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการนี้แทนกรมสรรพสามิตโดยสิ้นเชิง 4.3 กรณีฉลากปิดภาชนะบรรจุสุราแช่ชนิดสุราแช่ผลไม้ที่มีส่วนผสมขององุ่นหรือ ไวน์องุ่นอื่น ๆ นอกจากที่มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 7 ดีกรี และมีขนาดบรรจุไม่เกิน 0.330 ลิตร และต้องมีข้อความตามข้อ 4.2 แล้ว ต้องไม่ใช้ข้อความ รูปภาพ หรือเครื่องหมายใด ๆ ที่อาจทาให้ ผู้บริโภคเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าสุราแช่ดังกล่าว เป็นไวน์หรือสปาร์กลิ้งไวน์ที่ทำจากองุ่น ดังนี้ ( 1 ) ข้อความว่า “ Wine ” หรือ “ ไวน์ ” เว้นแต่กรณีที่ใช้ข้อความว่า “ Fruit Wine ” หรือ “ ไวน์ผลไม้อื่น ” หรือ “ ไวน์ (ระบุชนิดผลไม้ที่มิใช่องุ่น) ” ( 2 ) รูปภาพองุ่น เว้นแต่กรณีแสดงรูปภาพองุ่นพร้อมกับรูปภาพของผลไม้อื่น ที่ใช้เป็นวัตถุดิบขนาดเท่ากันและอยู่ในตาแหน่งใกล้กัน ( 3 ) ข้อความชนิดหรือพันธุ์ขององุ่น เว้นแต่กร ณีที่มีข้อความชนิดหรือพันธุ์ขององุ่น พร้อมกับมีข้อความผลไม้อื่นที่ใช้เป็นวัตถุดิบด้วยตัวอักษรขนาดเท่ากันและอยู่ในตาแหน่งใกล้กัน ( 4 ) ข้อความหรือรูปภาพแหล่งกำเนิดขององุ่น เว้นแต่กรณีที่มีข้อความ แหล่งกาเนิดขององุ่นพร้อมกับข้อความว่ามีส่วนผสมของผลไม้อื่นที่ ใช้เป็นวัตถุดิบด้วยตัวอักษรขนาดเท่ากัน และอยู่ในตาแหน่งใกล้กัน ข้อ 5 ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตเอทานอล ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การผลิตเอทานอล ดังนี้ ้ หนา 41 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 55 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 มีนาคม 2566
5.1 ต้องผลิตและขายเอทานอลที่มีแรงแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 99.5 ดีกรีขึ้นไป เพื่อนำไปใช้ผสมกับน้ามันเชื้อเพลิงเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง 5.2 กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตเอทานอลประสงค์จะส่งเอทานอลหรือสุราสามทับ ที่ผลิตได้ออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ยื่นขออนุญาตต่ออธิบดี ข้อ 6 ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ผลิตสุราทุกชนิดต้องไม่มีสุราอย่างอื่น นอกจากสุราที่ได้รับอนุญาต ให้ผลิตไว้ในโรงอุตสาหกรรม เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี ข้อ 7 ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุราต้องผลิตสุราที่มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ 7.1 ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุราแช่จากโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็กและโรงอุตสาหกรรม สุราขนาดกลางต้องผลิตสุ ราแช่ที่มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 15 ดีกรี หรือในกรณีที่นาสุราแช่ที่ผลิตได้ ไปผสมกับสุรากลั่นแล้วจะต้องมีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 15 ดีกรี 7.2 สุราขาวที่ผลิตเพื่อขายในราชอาณาจักรต้องมีแรงแอลกอฮอล์ 28 ดีกรี 30 ดีกรี 35 ดีกรี และ 40 ดีกรี เว้นแต่กรณีสุราขาวที่มิใช่สุราขาวจากโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็ก และโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดกลาง ที่ผลิตเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสุราหรือสินค้า 7.3 ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุราทุกชนิดต้องผลิตสุราที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐาน ที่กาหนดท้ายประกาศนี้ เว้นแต่เอ ทานอลและสุราสามทับให้มีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม ข้อ 8 ก่อนนาสุราออกจากโรงอุตสาหกรรมสุรา ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุราต้องมีผลการตรวจ วิเคราะห์คุณภาพสุราจากกลุ่มวิเคราะห์สินค้าและของกลาง กรมสรรพสามิต โดยในการส่งตัวอย่าง เพื่อตรวจวิเคราะห์ ให้ส่งตัวอย่างละ 3 ภาชนะบรรจุ ซึ่งมีปริมาตรรวมไม่น้อยกว่า 0.500 ลิตร ในกรณีจาเป็นจะต้องใช้ตัวอย่างสุราเพื่อตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติม ให้แจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุรา ส่งตัวอย่างสุราสาหรับตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติมได้อีกตัวอย่างละ 3 ภาชนะบรรจุ โดยมี ปริมาตรรวม ไม่น้อยกว่า 0.500 ลิตร หรือส่งตัวอย่างและมีผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพสุราจากกรมวิชาการเกษตร สถาบันราชภัฏ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ หน่วยงานของกรมหรือสถาบันดังกล่าว หน่วยงานตามบัญชีรายชื่อที่กาหนดท้ายประกาศนี้ หรือส่งตัวอย่างและมีผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพสุรา จากหน่วยงานอื่นที่มีมาตรฐานของห้องปฏิบัติการเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ของกรมสรรพสามิต ( Good Laboratory Practice / Excise Department : GLP / EXD ) หรือสูงกว่า และขึ้นทะเบียนไว้กับกรมสรรพ สามิตตามระเบียบที่อธิบดีกาหนด ทั้งนี้ อธิบดีอาจออกระเบียบ เพื่อกาหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการตรวจวิเคราะห์คุณภาพสุราของกลุ่มวิเคราะห์สินค้าและของกลาง กรมสรรพสามิต ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุราต้องชำระแก่กรมสรรพสามิต การส่งตัวอย่างให้กลุ่มวิเคราะห์สินค้า และของกลาง กรมสรรพสามิต ตรวจวิเคราะห์ หรือ การส่งผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพสุราตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งทุก 3 ปี โดยให้ส่งภายใน 3 ปี นับแต่วันที่มีรายงานผลการทดสอบ เว้นแต่กรณีมีการเปลี่ยนแปลงกรรมวิธีการผลิตสุราหรือเปลี่ยนแปลง ้ หนา 42 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 55 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 มีนาคม 2566
ชนิดวัตถุดิบให้ต่างไปจากเดิ มให้ส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ใหม่หรือส่งผลการตรวจวิเคราะห์ใหม่ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุรารายเดิมได้รับใบอนุญาตฉบับใหม่ให้นับระยะเวลาการส่งตรวจวิเคราะห์ สุรา ต่อเนื่องจากใบอนุญาตฉบับเดิม ในการส่งตัวอย่างสุราให้หน่วยงานตามวรรคหนึ่งเพื่ อตรวจวิเคราะห์ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุรา ยื่นหนังสือขอนำสุราที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อตรวจวิเคราะห์ต่อ สรรพสามิตพื้นที่ ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่โรงอุตสาหกรรมสุราตั้งอยู่ เพื่อให้ สรรพสามิตพื้นที่พิจารณาออกหนังสือนาส่งสุราที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องออกจากโรงอุตสาหกรรม เพื่อตรวจวิเคราะห์ไปยังหน่วยงานตรวจวิเคราะห์ต่อไป ข้อ 9 การตรวจวิเคราะห์คุณภาพสุรา ให้กลุ่มวิเคราะห์สินค้าและของกลาง ดาเนินการ ให้แล้วเสร็จภายในสิบสองวัน แล้วแจ้งผลการวิเคราะห์ตัวอย่างน้าสุราให้สรรพสามิตพื้นที่ทราบต่อไป ข้อ 10 การใดอยู่ระหว่างขั้นตอนการดาเนินการตามประกาศกรมสรรพสามิตที่ถูกยกเลิก ตามข้อ 1 ให้ดาเนินการให้แล้วเสร็จ สำหรับการดาเนินการต่อไปให้เป็นไปตามที่กาหนดในประกาศนี้ การดาเนินการใด ๆ ตาม ประกาศกรมสรรพสามิตที่ถูกยกเลิกตามข้อ 1 ให้เป็นอันใช้ได้ต่อไป จนกว่าจะสิ้นสุดไปโดยเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ หรือจนกว่าจะมีคำสั่งยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง ข้อ 11 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันออกประกาศเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 25 6 6 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต ้ หนา 43 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 55 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 มีนาคม 2566
มาตรฐานคุณภาพเบียร์ -------------------------- ให้เบียร์มีมาตรฐานเกี่ยวกับแรงแอลกอฮอล์ คุณสมบัติทางเคมี วัตถุเจือปนอาหาร และ สารปนเปื้อน ตามที่กำหนดดังต่อไปนี้ โดยให้ใช้วิธีทดสอบตามมาตรฐาน AOAC ( Association of Official Analytical Chemists ) หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า 1. แรงแอลกอฮอล์ ให้ เป็นไปตามที่ระบุไว้ที่ฉลาก โดยมีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนได้ ± 1 ดีกรี ร้อยละโดยปริมาตร วิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC 982 . 10 หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้ง เรื่องวิธีทดสอบให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC เป็นวิธีตัดสิน 2. คุณสมบัติ ทางเคมี ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำ หนดในตารางและวิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้งเรื่องวิธีทดสอบให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC เป็นวิธีตัดสิน ลำดับที่ รายการทดสอบ ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด วิธีทดสอบตาม 1 เมทิลแอลกอฮอล์ 50 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 972 . 11 2 เอทิลคาร์บาเมต 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 994 . 07 3. วัตถุเจือ ปนอาหาร ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กา หนดในตารางและวิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้งเรื่องวิ ธีทดสอบให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC เป็นวิธีตัดสิน ลำดับที่ รายการทดสอบ ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด วิธีทดสอบตาม 1 ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ทั้งหมด 2 0 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 963.11 4. สารป นเปื้อน ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำ หนดในตารางและวิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC หรือ วิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้งเรื่องวิธีทดสอบให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC เป็นวิธีตัดสิน ลำดับที่ รายการทดสอบ ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด วิธีทดสอบตาม 1 สารหนู 0.1 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 986 . 15 2 ตะกั่ว 0. 1 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 972.25 3 ทองแดง 1.5 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 970 . 18 4 เหล็ก 1.5 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 970 . 19
-
2 - มาตรฐานคุณภาพไวน์ สปาร์กลิ้งไวน์ และสุราแช่ -------------------------- ให้ไวน์ สปาร์กลิ้งไวน์ และสุราแช่ มีมาตรฐานเกี่ยวกับแรงแอลกอฮอล์ คุณสมบัติทางเคมี วัตถุเจือปน อาหาร และสารปนเปื้อน ตามที่กาหนดดังต่อไปนี้ โดยให้ใช้วิธีทดสอบตามมาตรฐาน AOAC ( Association of Official Analytical Chemists ) และ ASTM ( American Society of Testing and Materials ) หรือวิธีทดสอบ ที่เทียบเท่า 1. สุราที่จะใช้มาตรฐานนี้ ได้แก่ ไวน์ สปาร์กลิ้งไวน์ สุราแช่ผลไม้ สุราแช่ผลไม้ที่มีส่วนผสมขององุ่น หรือไวน์องุ่น สุราแช่พื้นเมือง และ สุราแช่อื่น 2. แรงแอลกอฮอล์ ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ที่ฉลาก โดยมีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนได้ ± 1 ดีกรี ร้อยละโดยปริ มาตรวิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC 982 . 10 หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้ง เรื่องวิธีทดสอบให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC เป็นวิธีตัดสิน 3. คุณสมบัติ ทางเคมี ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำ หนดในตารางและวิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้งเรื่องวิธีทดสอบให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC เป็นวิธีตัดสิน ลำดับที่ รายการทดสอบ ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด วิธีทดสอบตาม 1 แอลดีไฮด์ (คิดเป็นแอซิทัลดีไฮด์) 160 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 950 . 05 2 เมทิลแอลกอฮอล์ 420 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 972 . 11 3 เอทิลคาร์บาเมต 200 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 994 . 07 4. วัตถุเจือปนอาหาร ต้องเป็นไปตามเกณ ฑ์ที่กา หนดในตารางและวิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้งเรื่องวิธีทดสอบให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC เป็นวิธีตัดสิน ลำดับที่ รายการทดสอบ ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด วิธีทดสอบตาม 1 ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ทั้งหมด 400 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 963 . 11 2 กรดเบนโซอิกหรือเกลือของกรดนี้ คำนวณเป็นกรดเบนโซอิก 250 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 994 . 11 3 กรดซอร์บิกหรือเกลือของกรดนี้ คำนวณเป็นกรดซอร์บิก 200 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 974 . 08 5. สารปนเปื้อน ต้องเป็นไปตำมเกณฑ์ที่กำ หนดในตารางและวิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC และ ASTM หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้งเรื่องวิธีทดสอบให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC และ ASTM เป็นวิธีตัดสิน ลำดับที่ รายการทดสอบ ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด วิธีทดสอบตาม 1 สารหนู 0.1 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 986 . 15 2 ตะกั่ว 0. 1 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 972.25 3 เฟอร์โรไซยาไนด์ ต้องไม่พบ ASTM D 4374
-
3 - มาตรฐานคุณภาพสุรากลั่น -------------------------- ให้สุรากลั่นมีมาตรฐานเกี่ยวกับแรงแอลกอฮอล์ คุณสมบัติทางเคมี วัตถุเจือปนอาหาร และ สารปนเปื้อน ตามที่กำหนดดังต่อไปนี้ โดยให้ใช้วิธีทดสอบตามมาตรฐาน AOAC ( Association of Official Analytical Chemists ) หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า 1. สุราที่จะใช้มาตรฐานนี้ ได้แก่ สุราขาว สุราผสม สุราปรุงพิเศษ และ สุราพิเศษ 2. แรงแอลกอฮอล์ ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ ที่ฉลาก โดยมีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนได้ ± 1 ดีกรี ร้อยละโดยปริมาตร วิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC 982 . 10 หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้งเรื่องวิธี ทดสอบ ให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC เป็นวิธีตัดสิน 3. คุณสมบัติ ทางเคมี ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำ หนดในตารางและวิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้งเรื่องวิธีทดสอบให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC เป็นวิธีตัดสิน ลำดับที่ รายการทดสอบ ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด วิธีทดสอบตาม 1 ฟูเซลออยล์ 5,500 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 959 . 05 2 เฟ อร์ฟิวรัล 50 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 960 . 16 3 แอลดีไฮด์ (คิดเป็นแอซิทัลดีไฮด์) 3.1 สุรากลั่นที่มีแรง แอลกอฮอล์ไม่เกิน 40 ดีกรี 3.2 สุรากลั่นที่มีแรง แอลกอฮอล์ เกิน 40 ดีกรี 160 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร 220 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 950 . 05 4 เมทิลแอลกอฮอล์ 1,000 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์ เดซิเมตร AOAC 972 . 11 5 เอทิลคาร์บาเมต 400 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 994 . 07 หมายเหตุ : เกณฑ์การตรวจวิเคราะห์ของสารแอลดีไฮด์ (แอซีทัลดีไฮด์) จะพิจารณาแรงแอลกอฮอล์จากฉลากของ ผลิตภัณฑ์ 4. วัตถุเจือปนอาหาร ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กาหนดในตารางและวิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้งเรื่องวิธีทดสอบให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC เป็นวิธีตัดสิน ลำดับที่ รายการทดสอบ ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด วิธีทดสอบตาม 1 กรดเบนโซอิกหรือเกลือของกรดนี้ คำนวณเป็นกรดเบนโซอิก 200 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 994 . 11 2 กรดซอร์บิกหรือเกลือของกรดนี้ คำนวณเป็นกรดซอร์บิก 200 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 974 . 08
-
4 - 5. สารปนเปื้อน ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดในตารางและวิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC หรือ วิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้งเรื่องวิธีทดสอบให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC เป็นวิธีตัดสิน ลำดับที่ รายการทดสอบ ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด วิธีทดสอบตาม 1 สารหนู 0.1 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 986 . 15 2 ตะกั่ว 0.2 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 972.25
-
5 - บัญชีรายชื่อหน่วยงานตรวจวิเคราะห์คุณภาพสุรา ____________________ รายชื่อหน่วยงานตรวจวิเคราะห์คุณภาพสุรา 1 . สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้แก่ (1) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เลขที่ 196 ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร (2) ศูนย์ทดสอบและมาตรฐานวิทยา นิคมอุตสาหกรรมบางปู ซอย 1 อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 2 . มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ คณะเทคโนโลยีชีวภาพ เลขที่ 862 ซอยรามคำแหง 24 ถนนรามคำแหง เขตหัวหมาก กรุงเทพมหานคร 3. สถาบันอาหาร ฝ่ายบริการทดสอบ เลขที่ 2008 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 40 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 4. หน่วยงานในสังกัดสถาบันเทคโนโลยี ราชมงคล ได้แก่ สถาบันวิจัยเคมี ตาบลคลองหก อาเภอธัญบุรี จังหวัด ปทุมธานี 5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สานักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร เลขที่ 111 ถนนมหาวิทยาลัย ตาบลสุรนารี อาเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 6. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ สถานบริการวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เลขที่ 239 ถนนห้วยแก้ว อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 7. มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์วิจัยการหมักเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร คณะเทคโนโลยี เลขที่ 123 ถนนมิตรภาพ อาเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 8. มหาวิทยาลัยรามคาแหง คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยี อาหาร (ชั้น 4 อาคารคีรีมาศ) ถนนรามคำแหง เขตหัวหมาก กรุงเทพ มหานคร 9 . สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ตาบลหนองหาร อาเภอ สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 11 . บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จากัด สาขากรุงเทพฯ เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ในการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างสุราของหน่วยงานดังกล่าวข้างต้น ให้ขึ้นอยู่กับความสามารถ ใน การตรวจวิเคราะห์ตามมาตรฐานคุณภาพสุราที่กรมสรรพสามิตประกาศกาหนด