Thu Mar 09 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม (ฉบับที่ 2)


ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม (ฉบับที่ 2)

ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม (ฉบับที่ 2) ตามที่กระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ลงวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563 กาหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม สาหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกส ร้าง ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 โดยกาหนดการใช้ประโยชน์ในการ ประกอบเกษตรกรรมที่มีชนิดพืช ชนิดสัตว์ หรือลักษณะการใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ตามที่ปรากฏในบัญชีแนบท้ายประกาศ ให้มีอัตราขั้นต่าของการประกอบการเกษตรต่อไร่ อั ตราพื้นที่ คอกหรือโรงเรือน อัตราการใช้ที่ดินหรือมีลักษณะการใช้ประโยชน์ตามที่ระบุไว้ในบัญชีแนบท้าย นั้น เพื่อให้อัตราขั้นต่าของการประกอบการเกษตรต่อไร่มีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในการ ประกอบเกษตรกรรมมากยิ่งขึ้น ฉะนั้น อาศัยอานาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ ง และมาตรา 37 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกบัญชีแนบท้าย ก ของประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ลงวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้บัญชีแนบท้าย ก ตามประกาศฉบับนี้แทน ข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 3 1 มกราคม พ.ศ . 25 6 6 อาคม เติมพิทยาไพสิฐ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ้ หนา 28 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 55 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 มีนาคม 2566

บัญชีแนบท้าย ก การประกอบการเกษตรที่เป็นการทาไร่ การปลูกผัก การปลูกไม้ผลยืนต้น การปลูกสวนป่า การปลูกป่าเศรษฐกิจ แบบสวนเฉพาะ หรือการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นแบบสวนผสมที่มีชนิดพืชดังต่อไปนี้ จะต้องประกอบการเกษตร ให้ได้อัตราขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในตาราง จึงจะถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ชนิด อัตราขั้นต ่าของการประกอบการเกษตรต่อไร่ 1. กล้วยหอม 200 ต้น/ไร่ 2. กล้วยไข่ 200 ต้น/ไร่ 3. กล้วยน้ำว้า 200 ต้น/ไร่ 4. กระท้อนเปรี้ยว 25 ต้น/ไร่ พันธุ์ทับทิม 25 ต้น/ไร่ พันธุ์ปุยฝ้าย 25 ต้น/ไร่ 5. กาแฟ 170 ต้น/ไร่ พันธุ์โรบัสต้า 170 ต้น/ไร่ พันธุ์อราบิก้า 400 ต้น/ไร่ 6. กานพลู 20 ต้น/ไร่ 7. กระวาน 100 ต้น/ไร่ 8. โกโก้ 150 - 170 ต้น/ไร่ 9. ขนุน 25 ต้น/ไร่ 10. เงาะ 20 ต้น/ไร่ 11. จาปาดะ 25 ต้น/ไร่ 12. จันทร์เทศ 25 ต้น/ไร่ 13. ชมพู่ 45 ต้น/ไร่ 14. ทุเรียน 20 ต้น/ไร่ 15. ท้อ 45 ต้น/ไร่ 16. น้อยหน่า 170 ต้น/ไร่ 17. นุ่น 25 ต้น/ไร่ 18. บ๊วย 45 ต้น/ไร่ 19. ปาล์มน้ำมัน 22 ต้น/ไร่ 20. ฝรั่ง 45 ต้น/ไร่ 21. พุทรา 80 ต้น/ไร่ 22. เสาวรส 400 ต้น/ไร่ 23. พริกไทย 400 ต้น/ไร่ 24. พลู 100 ต้น/ไร่ 25. มะม่วง 20 ต้น/ไร่ 26. มะพร้าวแก่ 20 ต้น/ไร่ 27. มะพร้าวอ่อน 20 ต้น/ไร่ 28. มะม่วงหิมพานต์ 45 ต้น/ไร่

2 ชนิด อัตราขั้นต ่าของการประกอบการเกษตรต่อไร่ 29. มะละกอ (ยกร่อง) 100 ต้น/ไร่ (ไม่ยกร่อง) 175 ต้น/ไร่ 30. มะนาว 50 ต้น/ไร่ 31. มะปราง 25 ต้น/ไร่ 32. มะขามเปรี้ยว 25 ต้น/ไร่ 33. มะขามหวาน 25 ต้น/ไร่ 34. มังคุด 16 ต้น/ไร่ 35. ยางพารา 80 ต้น/ไร่ 36. ลิ้นจี่ 20 ต้น/ไร่ 37. ลาไย 20 ต้น/ไร่ 38. ละมุด 45 ต้น/ไร่ 39. ลางสาด 45 ต้น/ไร่ 40. ลองกอง 45 ต้น/ไร่ 41. ส้มโอ 45 ต้น/ไร่ 42. ส้มเกลี้ยง 45 ต้น/ไร่ 43. ส้มตรา 45 ต้น/ไร่ 44. ส้มเขียวหวาน 45 ต้น/ไร่ 45. ส้มจุก 45 ต้น/ไร่ 4 6 . สาลี่ 45 ต้น/ไร่ 4 7 . สะตอ 25 ต้น/ไร่ 4 8 . หน่อไม้ไผ่ตง 25 ต้น/ไร่ 49 . หมาก 100 - 170 ต้น/ไร่ 5 0 . หม่อน 35 ต้น/ไร่ 5 1 . องุ่น 35 ต้น/ไร่ 5 2 . แก้วมังกร 35 ต้น/ไร่ 5 3 . แอปเปิล 35 ต้น/ไร่ 5 4 . อะโวคาโด 35 ต้น/ไร่ 5 5 . อินทผลัม 35 ต้น/ไร่ 5 6 . ยูคาลิปตัส 35 ต้น/ไร่ 5 7 . พืชกลุ่มให้เนื้อไม้ 30 ต้น/ไร่ หมายเหตุ : ( 1 ) กรณีที่ไม่ปรากฏชนิดพืชตามบัญชีแนบท้ายนี้ ให้ใช้อัตราขั้นต่าของการประกอบการเกษตรต่อไร่ โดยเทียบเคียงจากชนิดพืชที่มีลักษณะใกล้เคียงที่สุด ( 2 ) กรณีที่ไม่สามารถเทียบเคียงจากชนิดพืชที่มีลักษณะใกล้เคียงตาม (1) ได้ ให้พิจารณาตาม ลักษณะการประกอบการเกษตรในแต่ละท้องถิ่น