Thu Mar 09 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตและการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจวิเคราะห์และทดสอบสินค้าสรรพสามิต พ.ศ. 2566


ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตและการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจวิเคราะห์และทดสอบสินค้าสรรพสามิต พ.ศ. 2566

ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตและ การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจวิเคราะห์และทดสอบสินค้าสรรพสามิต พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ สินค้าสรรพสามิตกับกรมสรรพสามิต เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ในส่วนที่เกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิต เพื่อให้การวิเคราะห์ กำรทดสอบ ตัวอย่างสินค้า และการรายงานผลการวิเคราะห์ทดสอบสินค้าของห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้า สรรพสามิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งเพื่อให้การเรียกเก็บค่าธรรมเนียม การตรวจวิเคราะห์และทดสอบสินค้าสรรพสามิตมีความเหมาะสมและไม่สูงเกินสมควร อาศัยอานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ประกอบกับข้อ 6 วรรคสาม แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลั ง พ.ศ. 2551 และประกาศกรมสรรพสามิตว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการผลิตสุราเพื่อการค้า และการนาสุราออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อตรวจวิเคราะห์ในขั้นตอนการผลิต ประกาศกรมสรรพสามิต ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการผลิตสุราที่มิใช่เพื่อการค้า และการนาสุราออกจาก โรงอุตสาหกรรมเพื่อตรวจวิเคราะห์ในขั้นตอนการผลิต ประกาศกรมสรรพสามิตว่าด้วยการกา หนด มาตรฐานคุณภาพสุราที่นาเข้ามาในราชอาณาจักร และประกาศกรมสรรพสามิตว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจวัดปริมาณน้าตาล อธิบดีกรมสรรพสามิต จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเป็นห้ องปฏิบัติการ วิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตและการกาหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจวิเคราะห์และทดสอบสินค้า สรรพสามิต พ.ศ. 2566” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันออกประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิก ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการวิเครา ะห์ สินค้าสรรพสามิตและการกาหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจวิเคราะห์และทดสอบสินค้าสรรพสามิต พ.ศ. 2563 ลง วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563 ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิต ” หมายความว่า อาคารสถานที่ที่ตั้งเป็นการถาวร สาหรับให้บริการวิเคราะห์และทดสอบสินค้าสรรพสามิต และมีมาตรฐานเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ของกรมสรรพสามิต ( Good Laboratory Practice / Excise Department : GLP / EXD ) ที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้ ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 55 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 มีนาคม 2566

“ ผู้ควบคุมดูแ ลห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิต ” หมายความว่า ผู้ดาเนินการ วางแผนกาหนดการควบคุม ดาเนินการเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์และทดสอบตามวิธีมาตรฐาน คัดเลือกเครื่องมืออุปกรณ์วิเคราะห์และทดสอบให้ถูกต้องเหมาะสม และรับผิดชอบในการบริหารงาน ที่เกี่ยวข้องกับคุณภำพของห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตให้เป็นไปตามระเบียบนี้ เช่น การจัดให้มีการสอบเทียบเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ การจัดให้มี การควบคุมภาวะแวดล้อมการวิเคราะห์ทดสอบให้เหมาะสม การรับรองรายงานผลการวิเคราะห์ทดสอบ เป็น ต้น “ เจ้าหน้าที่ประจาห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิต ” หมายความว่า ผู้ดาเนินการตรวจ วิเคราะห์และทดสอบตามวิธีมาตรฐาน ควบคุมคุณภาพและรักษาสภาพตัวอย่าง เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ บันทึกข้อมูลผลการวิเคราะห์และทดสอบ และจัดทารายงานผลการวิ เคราะห์ และทดสอบ ให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ข้อ 5 ให้อธิบดีกรมสรรพสามิตเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ หมวด 1 ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิต ส่วนที่ 1 บททั่วไป ข้อ 6 ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้า สรรพสามิตได้ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ 6 .1 เจ้าของหรือผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ต้องเป็นนิติบุคคล หรือเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานที่เป็นนิติบุคคล หรือเป็นหน่วยงานขอ งรัฐ 6 .2 ต้องมีผู้ควบคุมดูแลห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตซึ่งมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ 6 .2.1 ผู้มีคุณวุฒิวิทยาศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาศาสตร ดุษฎีบัณฑิต หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มีวิชาเรียนทางด้านเคมีตั้งแต่ 40 หน่วยกิตขึ้นไป และมีประสบการณ์วิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการในรายการที่เกี่ยวข้องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี กรณีที่มีวิชาเรียนทางด้านเคมีตั้งแต่ 15 หน่วยกิต แต่ไม่ถึง 40 หน่วยกิต ต้องมีประสบการณ์วิเคราะห์ ในห้องปฏิบัติการในรายการที่เกี่ยวข้องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่ำ 5 ปี 6 .2.2 ผ่านการฝึกอบรมในเรื่องการควบคุมคุณภาพการวิเคราะห์ทดสอบ ( QA / QC ) และข้อ กา หนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ ( ISO / IEC 17025) จากหน่วยฝึกอบรมภายนอกที่เชื่อถือได้ ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 55 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 มีนาคม 2566

6 .3 ต้องมีเจ้าหน้าที่ประ จำ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตซึ่งมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ 6 .3.1 ผู้มีคุณวุฒิอนุปริญญาด้านเคมีปฏิบัติ ประกาศนียบัตรวิชาชีพเคมีเทคนิค ประกาศนียบัตรวิชาชีพเคมีอุตสาหการ ประกาศนียบัตรวิชาชีพเคมีปฏิบัติการหรือปิโตรเคมี วิทยาศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ที่มีวิชาเรียนทางด้านเคมีตั้งแต่ 15 หน่วยกิตขึ้นไป หรือผู้มีคุณวุฒิมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ที่มีประสบการณ์วิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเป็นระยะเวลำไม่น้อยกว่า 5 ปี 6 .3.2 ผ่านการฝึกอบรมในเรื่องการควบคุมคุณภาพการวิเคราะห์ทดสอบ ( QA / QC ) และข้อ กา หนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ ( ISO / IEC 17025) จากหน่วยฝึกอบรมภายนอกที่เชื่อถือได้ และผ่านการประเมินสมรรถนะการตรวจวิเคราะห์ 6 .4 ต้อง มีระบบคุณภาพภายในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ได้แก่ วิธีปฏิบัติสาหรับ การวิเคราะห์ทดสอบและวิธีปฏิบัติสาหรับการชักตัวอย่าง การควบคุมเอกสารและประกันคุณภาพ การวิเคราะห์ โดยวิธีการต้องเชื่อถือได้และได้รับการยอมรับในระดับประเทศหรือนานาชาติและอ้างอิงได้ 6 .5 ต้อ งมีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย เช่น การจัดการสารเคมี ในห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล มีระบบระบายอากาศเสีย ตู้ดูดควัน อุปกรณ์ชะล้าง ร่างกายแบบฉุกเฉิน เครื่องมือปฐมพยาบาลและเครื่องดับเพลิง เป็นต้น 6 .6 ต้องมีการจัดการของเสียที่เกิดจากการวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการที่เหมาะสม และถูกต้องตามหลักวิชาการ 6.7 ต้องมีความสามารถในการดาเนินการอย่างน้อยให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ของกรมสรรพสามิต ( Good Laboratory Practice / Excise Departmen t : GLP / EXD ) ท้ายระเบียบนี้ ข้อ 7 บุคคลตามข้อ 6. 2 และข้อ 6. 3 ต้องประจำห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ขึ้นทะเบียน เป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตเพียงหนึ่งแห่งเท่านั้น ข้อ 8 บุคคลผู้มีคุณวุฒินอกเหนือจากที่กาหนดไว้ในข้อ 6. 2 และข้อ 6. 3 ให้อยู่ใน ดุลยพินิจของกรมสรรพสามิตที่จะพิจารณาจากวิชาเรียนและให้ความเห็นชอบเป็นราย ๆ ไป ข้อ 9 ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้า สรรพสามิตได้ ต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่สามารถใช้ในการตรวจวิเคราะห์และทดสอบสินค้าตามวิธี ทดส อบสินค้าแต่ละประเภทที่กรมสรรพสามิตกำหนดไว้ในมาตรฐานการทดสอบสินค้าท้ายระเบียบนี้ ส่วนที่ 2 การขึ้นทะเบียนและการต่ออายุหนังสือรับขึ้นทะเบียน ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 55 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 มีนาคม 2566

ข้อ 10 นิติบุคคลซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่มีคุณสมบัติตามที่กาหนดไว้ในข้อ 6 และมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในข้อ 9 หากประสงค์จะขึ้นทะเบียน เป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตตามระเบียบนี้ ให้ยื่นคำขอพร้อมเอกสารประกอบ ณ กลุ่มวิเคราะห์สินค้าและของกลาง กรมสรรพสามิต ดังนี้ 10.1 แบบคำขอขึ้นทะเบียน คำ ขอต่ออายุ และคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง การดาเนินการเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิต (แบบ ปว. 1 - 1) 10.2 แบบแสดงรายการสินค้าและวิธีทดสอบสินค้า (แบบ ปว. 1 - 2) 10.3 แบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ควบคุมดูแลและเจ้ ำหน้ ำที่ประจำ ห้ องปฏิบัติการวิเคราะห์ สินค้าสรรพสามิต (แบบ ปว. 1 - 3) 10.4 แบบแสดงรายละเอียดสภาพความปลอดภัยภายในห้ องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ (แบบ ปว. 1 - 4) 10.5 แบบแสดงรายละเอียดเครื่องมือ อุปกรณ์ หลัก และมาตรฐานอ้างอิงที่ใช้ ในการตรวจวิเคราะห์ (แบบ ปว. 1 - 5) ข้อ 11 เมื่อกรมสรรพสามิตพิจารณาคาขอและเอกสารประกอบแล้ว เห็นว่าผู้ยื่นคาขอ มีคุณสมบัติครบถ้วน และมีเครื่องมือและอุปกรณ์เป็นไปตามที่กำหนด กรมสรรพสามิตจะรับขึ้นทะเบียน เป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิต โดยออกหนังสือรับขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบั ติการ วิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตให้แก่ผู้ยื่นคำขอ กรณีที่กรมสรรพสามิตมีความจาเป็นต้องส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ ผู้ยื่นคาขอจะต้องเป็น ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ข้อ 1 2 หนังสือรับขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิต ให้มีอายุ 3 ปี นับจากวันที่ออกหนังสือ ข้อ 1 3 ผู้ที่ประสงค์จะต่ออายุหนังสือรับขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้า สรรพสามิต ให้ยื่นคาขอต่ออายุตามแบบ ปว. 1 - 1 พร้อมเอกสารประกอบตามที่กำหนดไว้ในข้อ 10 ต่อกรมสรรพสามิตก่อนวันสิ้นอายุของหนังสือรับขึ้นทะเบียนเป็น ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้า สรรพสามิต และเมื่อได้ยื่นคาขอต่ออายุแล้ว ให้ถือว่าผู้ยื่นคาขอต่ออายุอยู่ในฐานะผู้ได้รับขึ้นทะเบียน เป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตจนกว่ากรมสรรพสามิตจะพิจารณาไม่ต่ออายุให้ ข้อ 1 4 ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่กรมสรรพสำมิตรับขึ้นทะเบียนแล้ว หากประสงค์ จะเปลี่ยนแปลงบุคคลตามข้อ 6. 2 หรือข้อ 6. 3 หรือประสงค์จะเปลี่ยนแปลงสินค้าที่จะทดสอบ ให้ยื่นคาขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามแบบ ปว. 1 - 1 พร้อมแบบ แบบ ปว. 1 - 2 หรือแบบ ปว. 1 - 3 แล้วแต่กรณี ต่อกรมสรรพสามิตก่อนจึงจะดาเนินกำรต่อไปได้ ผลการวิเคราะห์ที่ออกโดยฝ่าฝืนความในวรรคหนึ่ง ไม่ถือว่าเป็นผลการวิเคราะห์และทดสอบ ตัวอย่างสินค้าตามระเบียบนี้ ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 55 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 มีนาคม 2566

ข้อ 1 5 การย้ายห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่กรมสรรพสามิตรับขึ้นทะเบียนแล้วไปยังสถานที่อื่น นอกเหนือจากที่ขึ้นทะเบียนไว้ ให้ดาเนินการเสมือนกำรขอขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้า สรรพสามิตใหม่ กรณีที่ไม่ดาเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้หนังสือรับขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้า สรรพสามิตที่กรมสรรพสามิตรับขึ้นทะเบียนไว้ตามข้อ 11 เป็นอันสิ้นผลไป ข้อ 1 6 การเลิกดาเนินการห้องปฏิบัติการวิ เคราะห์ที่กรมสรรพสามิตรับขึ้นทะเบียนแล้ว ให้ยื่นคำขอยกเลิกห้องปฏิบัติการต่อกรมสรรพสามิตไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนเลิกดาเนินการ ข้อ 1 7 คาขอขึ้นทะเบียน คาขอต่ออายุ คาขอยกเลิกห้องปฏิบัติการ คาขอเปลี่ยนแปลง บุคลากรและรายการวิธีการทดสอบสารของห้องปฏิบัติ การวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิต ให้เป็นไป ตามแบบท้ายระเบียบนี้ ส่วนที่ 3 การวิเคราะห์ การทดสอบตัวอย่างสินค้า และการรายงานผลการวิเคราะห์ทดสอบสินค้า ข้อ 1 8 ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิต ต้องทำการวิเคราะห์และทดสอบตัวอย่างสินค้า ให้เป็นไปตามมาตรฐานการทดสอบสินค้าประเภทต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้ ข้อ 19 ในกรณีที่มาตรฐานการทดสอบสินค้าประเภทต่าง ๆ ท้ายระเบียบนี้ กาหนดให้ใช้วิธีทดสอบ ที่เทียบเท่าในการวิเคราะห์และทดสอบตัวอย่างสินค้าได้นอกเหนือไปจากวิธีที่กาหนด วิธีทดสอบ ที่เ ทียบเท่าดังกล่าวจะต้องเข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 19.1 เป็นวิธีทดสอบในแต่ละรายการทดสอบที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO / IEC 17025 19.2 เป็นวิธีทดสอบในแต่ละรายการทดสอบตามมาตรฐานการตรวจวิเคราะห์ ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ( International Organization Standard ) หรือระดับภูมิภาค ( Regional Organization Standard ) 19.3 กรณีที่เป็นวิธีทดสอบอื่น ๆ ให้เสนอคณะกรรมการพิจารณาเกี่ยวกับ การพัฒนามาตรฐานในการตรวจวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตเป็นผู้พิจารณาเห็นชอบว่าเป็นวิธีทดสอบ ที่เทียบ เท่าจึงจะสามารถใช้วิธีดังกล่าวในการวิเคราะห์และทดสอบตัวอย่างสินค้าได้ ข้อ 20 ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิต ต้องรายงานผลการวิเคราะห์และทดสอบ ตัวอย่างสินค้าที่มาจากสินค้าในรอบการผลิตเดียวกันเท่านั้น ข้อ 21 ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิต ต้องจัดให้มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ งานที่ปฏิบัติ ข้อมูลดิบการวิเคราะห์และการคานวณ และข้อมูลบุคคลที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์ โดยจะต้องเก็บข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย 3 ปี เพื่อให้กรมสรรพสามิตตรวจสอบได้ ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 55 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 มีนาคม 2566

ข้อ 22 ในการรายงานผลการวิเคราะห์ และทดสอบตัวอย่างสินค้า ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ที่ขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตจะต้องจัดพิมพ์ใบรายงานผลการวิเคราะห์ ทดสอบ ซึ่งอย่างน้อยจะต้องประกอบไปด้วยรายละเอียดตามที่กาหนดไว้ในข้อ 8.2 ของหมวดที่ 8 การรายงานผลในเกณฑ์มาตรฐานห้ องปฏิบัติการวิเคราะห์ของกรมสรรพสามิตท้ายระเบียบนี้ ข้อ 23 กรณีมีเหตุที่ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตไม่สามารถวิเคราะห์ทดสอบ ตัวอย่างสินค้าบางรายการได้และจำเป็นต้องมีการจ้างเหมาช่วง ผู้รับจ้างเหมาช่วงต้องเป็นห้องปฏิบัติการ วิเคราะห์ที่ขึ้นทะเบียนเป็ นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตตามระเบียบนี้ การรายงานผลการวิเคราะห์ทดสอบที่ได้รวมผลของการวิเคราะห์ทดสอบที่ดาเนินการโดย ผู้รับจ้างเหมาช่วง ต้องระบุถึงการจ้างเหมาช่วงและชื่อผู้รับจ้างเหมาช่วงให้ชัดเจนไว้ในรายงานด้วย ข้อ 24 ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ สินค้าสรรพสามิต ต้องเก็บสาเนาใบรับรองผลการวิเคราะห์ หรือรายงานผลการวิเคราะห์ไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย 3 ปี เพื่อให้กรมสรรพสามิตตรวจสอบ ข้อ 25 ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิต ต้องยินยอมให้กรมสรรพสามิต เข้าตรวจสอบการดาเนินการของห้องปฏิบัติการวิเค ราะห์ได้ หมวด 2 อัตราค่าธรรมเนียมการตรวจวิเคราะห์และทดสอบสินค้าสรรพสามิต ข้อ 26 ให้ผู้ที่ทาการตรวจวิเคราะห์และทดสอบสินค้าสรรพสามิตเรียกเก็บอัตราค่าธรรมเนียม สำหรับการวิเคราะห์และทดสอบตัวอย่างสินค้าได้ไม่เกินอัตราที่กาหนดไว้ในบัญชีท้ายระเบียบนี้ หมวด 3 มาตรการทางปกครอง ข้อ 27 ในกรณีที่ปรากฏว่าห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งตามข้อ 6 หรือข้อ 7 หรือมีเครื่องมือและอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามข้อ 9 หรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 14 หรือไม่ดาเนินการให้เป็นไป ตามที่กาหนดไว้ในหมวด 1 ส่วนที่ 3 ให้อธิบดี กรมสรรพสามิตมีอำนาจตักเตือนเป็นหนังสือ หรือมีคำสั่งให้ดาเนินการหรือแก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่กำหนด ข้อ 28 ในกรณีที่ปรากฏว่าห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ไม่ดาเ นินการตามหนังสือตักเตือนหรือคาสั่งที่ออกตามข้อ 27 หรือเคยถูกดาเนินการตามข้อ 27 มาแล้วครั้งหนึ่งแต่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ 27 อีกภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิดในครั้งก่อน ให้อธิบดีกรมสรรพสามิตมีอานาจออกคาสั่งให้พักใช้หนังสือ รับขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตเป็นการชั่วคราว เพื่อให้ดาเนินการปรับปรุง หรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดในคำสั่ง ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 55 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 มีนาคม 2566

ข้อ 29 ในกรณีที่ปรากฏว่าห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ไม่ปฏิบัติตามข้อ 26 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 28 โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือเจตนารายงาน ผลวิเคราะห์ทดสอบอันเป็นเท็จ ให้อธิบดีกรมสรรพสามิตมีอานาจเพิกถอนหนังสือรับขึ้นทะเบียน ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิต กรณีนี้กรมสรรพสามิตจะไม่รับขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการ ดังกล่ำวเป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตอีกจนกว่าจะพ้นกาหนด 3 ปี นับแต่วันที่ เพิกถอนหนังสือรับขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิต หมวด 4 บทเฉพาะกาล ข้อ 30 การตรวจวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตที่ได้ดาเนินการไปก่อนวันที่ระเบียบฉบับนี้ ใช้บังคับ หรือผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างสินค้าสรรพสามิตที่ได้ออกให้แก่ผู้ขอรับการตรวจก่อนวันที่ ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีผลใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดลงด้วยเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา การใดอยู่ระหว่างการดำเนินการตามระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการขึ้นทะเบียน เป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตและการกาหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจวิเคราะห์ และทดสอบสินค้าสรรพสามิต พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563 ให้ดาเนินการ ให้แล้วเสร็จ สำหรับการดาเนินการต่อไปให้เป็นตามที่กาหนดไว้ในระ เบียบนี้ หนังสือรับขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิต ที่ออกให้ตามระเบียบ กรมสรรพสามิต ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตและการกาหนด อัตราค่าธรรมเนียมการตรวจวิเคราะห์และทดสอบสินค้าสรรพสามิต พ.ศ. 2563 ลงวั นที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563 ให้เป็นอันใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดไปโดยเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ หรือจนกว่าจะมีคำสั่งยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง ประกาศ ณ วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 25 6 6 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 55 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 มีนาคม 2566

แบบคําขอขึ้นทะเบียน คําขอต่ออายุ และคําขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงการดําเนินการ เกี่ยวกับห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิต วันที่ … เดือน … พ . ศ … เรียน … ข้าพเจ้า บริษัท / ห้างหุ้นส่วนจํากัด /… ตั้งอยู่ที่เลขที่ … หมู่ที่ … ตรอก / ซอย … ถนน … ตําบล / แขวง … อําเภอ / เขต … จังหวัด … รหัสไปรษณีย์ … โทรศัพท์ … โทรสาร … มีห้องปฏิบัติการตั้งอยู่เลขที่ … หมู่ที่ … ตรอก / ซอย … ถนน … ตําบล / แขวง … อําเภอ / เขต … จังหวัด … รหัสไปรษณีย์ … โทรศัพท์ … โทรสาร … ได้้รับทราบระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตและการกําหนด อัตราค่าธรรมเนียมการตรวจวิเคราะห์และทดสอบสินค้าสรรพสามิต พ . ศ . 2566 โดยตลอดแล้วและยินยอมปฏิบัติตาม ระเบียบฯ ทุกประการ โดยข้าพเจ้าได้แนบเอกสารต่าง ๆ ตามรายการเอกสารประกอบการพิจารณามาพร้อมนี้ รายการขอดําเนินการ การดําเนินการ รายละเอียด ( รายการ ) สุรา เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นเครื่องดื่ม ที่มีลักษณะผง เกล็ด หรือ เครื่องดื่มเข้มข้น อื่น ๆ [ ] ขอขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการ ตรวจวิเคราะห์ [ ] ต่ออายุห้องปฏิบัติการตรวจ วิเคราะห์ [ ] เปลี่ยนแปลงรายการทดสอบหรือ วิธีการทดสอบ ( ) เพิ่ม ( ) ยกเลิก รายการทดสอบ ( ) เพิ่ม ( ) ยกเลิก วิธีการทดสอบ [ ] เปลี่ยนแปลงบุคลากร ( ) เพิ่มบุคลากร จํานวน … ราย ( รายละเอียดตาม แบบ ปว . 1-3) ( ) ยกเลิกบุคลากร จํานวน … ราย ( รายละเอียดตาม แบบ ปว . 1-3) [ ] ยกเลิกห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ [ ] อื่นๆ โปรดระบุ … จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา ลงชื่อ … ( ) ผู้มีอํานาจลงนาม ประทับตรา ( ถ้ามี ) แบบ ปว . 1-1

แบบแสดงรายการสินค้าและวิธีทดสอบสินค้า ข้าพเจ้า ( ) บริษัท / ห้างหุ้นส่วนจํากัด /… ( ) ขึ้นทะเบียน ( ) ต่ออายุ ( ) เปลี่ยนแปลงรายการทดสอบหรือวิธีการทดสอบ สินค้า … โปรดระบุรายการที่ต้องการทดสอบและวิธีทดสอบที่เป็นไปตามมาตรฐานการทดสอบสินค้าที่กําหนด ท้ายระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิตและการกําหนดอัตรา ค่าธรรมเนียมการตรวจวิเคราะห์และทดสอบสินค้าสรรพสามิต ลําดับที่ รายการทดสอบ วิธีการทดสอบ หมายเหตุ แบบ ปว . 1-2

แบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ควบคุมดูแลและเจ้าหน้าที่ประจําห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิต 1. ผู้ควบคุมดูแลห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ จํานวน … ราย ลําดับที่ ชื่อ - สกุล ทะเบียนเลขที่ 1 2 3 4 5 2. เจ้าหน้าที่ประจําห้องวิเคราะห์ จํานวน … ราย หมายเหตุ รายการเอกสารแนบ ดังนี้ 1. หนังสือรับรองนิติบุคคล 2. รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ควบคุมดูแลและเจ้าหน้าที่ประจําห้องปฏิบัติการวิเคราะห์พร้อมเอกสาร แสดงคุณสมบัติ และความสามารถของผู้ควบคุมดูแลและเจ้าหน้าที่ประจําฯ ที่เกี่ยวข้อง 2.1 บัตรประจําตัวประชาชน 2.2 ระเบียนผลการศึกษา (Transcript) 2.3 หนังสือรับรองประสบการณ์ในการวิเคราะห์ 2.4 หลักฐานแสดงความสามารถในการวิเคราะห์ เช่น ผลการประเมินสมรรถนะการวิเคราะห์ทดสอบ ประวัติการฝึกอบรม ลงชื่อ … ( ) ผู้มีอํานาจลงนาม ประทับตรา ( ถ้ามี ) ลําดับที่ ชื่อ - สกุล ทะเบียนเลขที่ 1 2 3 4 5 แบบ ปว . 1-3

แบบแสดงรายละเอียดสภาพความปลอดภัยภายในห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ ( ) ขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการ ( ) ต่ออายุรับรองการขึ้นทะเบียน ( ) เปลี่ยนแปลงรายการทดสอบหรือวิธีการทดสอบ 1. การระบายอากาศเสียจากการวิเคราะห์์ ( พร้อมรูปถ่าย ) … … … 2. เครื่องมือปฐมพยาบาล ( พร้อมรูปถ่าย ) … … … 3. อุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย ( พร้อมรูปถ่าย ) … … … 4. การจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ … … … 5. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ( พร้อมรูปถ่าย ) … … … 6. การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ( แนบเอกสารการจัดการมลพิษ ) … … … 7. อื่น ๆ … … … ลงชื่อ … ( ) ผู้มีอํานาจลงนาม ประทับตรา ( ถ้ามี ) แบบ ปว . 1-4

แบบแสดงรายละเอียดเครื่องมือ อุปกรณ์หลัก และมาตรฐานอ้างอิงที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ ( ) ขึ้นทะเบียน ( ) ต่ออายุ ( ) เปลี่ยนแปลงรายการทดสอบหรือวิธีการทดสอบ สินค้า … ลําดับ ที่ รายการทดสอบ (parameter) มาตรฐาน หมายเลขและชื่อวิธี ตรวจวัดวิเคราะห์ (Reference, Method Number Edition, Year & Method Name) ชื่อเครื่องมือหลัก ยี่ห้อ และหมายเลขเครื่อง (Instrument, Model, S/N) ใบรับรองการสอบ เทียบ / ทวนสอบ เอกสารวิธี วิเคราะห์ หมายเลข ( มี / ไม่ มี ) วันหมดอายุ ลงชื่อ … ( ) ผู้มีอํานาจลงนาม ประทับตรา ( ถ้ามี ) แบบ ปว . 1-5

เกณฑ์มาตรฐานห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ของกรมสรรพสามิต (Good Laboratory Practice/Excise Department, GLP/EXD)

-1- 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อพิจารณาเกณฑ์มาตรฐานห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้า ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ . ศ . 2560 ให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ 1.2 ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้า ตามพระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ . ศ . 2560 ที่ตระหนักถึงความสําคัญของการประกันและควบคุมคุณภาพผลการทดสอบ รวมทั้งการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 2. ขอบข่าย เกณฑ์นี้ใช้กับห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สินค้า ที่ตรวจวิเคราะห์สินค้า ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ . ศ . 2560 3. เกณฑ์มาตรฐานห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ของกรมสรรพสามิต (Good Laboratory Practice / Excise Department, GLP/EXD) ประกอบไปด้วย 9 หมวด ดังต่อไปนี้ หมวดที่ 1 องค์การและบุคลากร 1.1 มีนโยบายหรือวิสัยทัศน์ชัดเจนในการสนับสนุนห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ให้มีระบบบริหารงานคุณภาพ 1.2 ระบุหน้าที่ อํานาจ และความรับผิดชอบของบุคลากรต่อห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ 1.3 มีการบันทึกประวัติ การศึกษา ประสบการณ์ การฝึกอบรม และ / หรือความชํานาญที่แสดงให้เห็น ตามความเหมาะสมของบุคลากรที่ปฏิบัติงาน 1.4 กําหนดเป้าหมาย หรือแผนในการพัฒนาบุคลากร โดยจัดให้มีการฝึกอบรมของบุคลากรภายใน ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้ (1) การกําหนดความต้องการการฝึกอบรม (Training Need) (2) การกําหนดแผนการฝึกอบรมประจําปี (3) การประเมินผลการฝึกอบรม (4) การบันทึกประวัติการฝึกอบรมในงาน (On the job training) การฝึกอบรมภายใน และการ ฝึกอบรมภายนอก 1.5 มีการประเมินผลความสามารถด้านวิชาการของบุคลากร รวมถึงประเมินก่อนมอบหมายงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หมวดที่ 2 การประกันคุณภาพผลการทดสอบ 2.1 มีขั้นตอนการดําเนินงานในการควบคุมคุณภาพ และการตรวจความถูกต้องของผลการทดสอบ ทั้งนี้ การควบคุมคุณภาพผลการทดสอบ อย่างน้อยประกอบด้วยวิธีต่อไปนี้หรือวิธีอื่นที่เหมาะสม (1) การควบคุมโดยใช้แผนภูมิควบคุม (Control Chart) ก . ด้านเครื่องมือ ข . ด้านผลทดสอบ

-2- (2) การวิเคราะห์แบลงค์ (Blank) (3) การวิเคราะห์ซ้ํา (Replicate) (4) การกลับคืนของสารที่ทราบปริมาณ (Recovery of QC Standard) 2.2 มีการกําหนดความถี่ และเกณฑ์การยอมรับในการควบคุมคุณภาพในวิธีทดสอบ และมีการบันทึก ผลการปฏิบัติงานตามแผนการควบคุมคุณภาพ ที่กําหนดไว้ 2.3 มีการตรวจสอบผลการควบคุมคุณภาพ 2.4 มีการควบคุมคุณภาพภายนอก โดยการเข้าร่วมในการเปรียบเทียบผลระหว่างห้องปฏิบัติการ (Interlaboratory Comparison/Correlation Study) หรือกิจกรรมทดสอบความชํานาญ (Proficiency Testing) หมวดที่ 3 สถานที่และภาวะแวดล้อม 3.1 มีมาตรการ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการดูแลรักษาความสะอาดเป็นอย่างดีในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด 3.2 มีการควบคุมการเข้า - ออก ของบุคคลภายนอก และการใช้พื้นที่ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพ ทดสอบ 3.3 มีการเฝ้าระวัง ควบคุมและบันทึกภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ตามเกณฑ์ที่กําหนดในวิธีทดสอบ เช่น อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ เป็นต้น 3.4 มีการแบ่งพื้นที่ภายในห้องปฏิบัติการ หากมีกิจกรรมที่เข้ากันไม่ได้ และมีมาตรการป้องกันการ ปนเปื้อน หรือรบกวนซึ่งกันและกัน (Cross contamination) 3.5 มีสิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ รวมถึงแหล่งพลังงาน ไฟฟ้า แสงสว่าง เพียงพอ และภาวะแวดล้อม ต้องอยู่ในสภาพที่เอื้ออํานวยให้เกิดการทําการทดสอบได้อย่าง ถูกต้องปลอดภัย หมวดที่ 4 สารเคมี อุปกรณ์ และเครื่องมือ 4.1 มีขั้นตอนดําเนินงานในการจัดซื้อสารเคมี อุปกรณ์ และเครื่องมือ ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพงาน ของห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ 4.2 มีการตรวจสอบสารเคมี อุปกรณ์และเครื่องมือ ที่สั่งซื้อว่าเป็นไปตามกําหนดที่ระบุไว้ เช่น มีเอกสาร แสดงคุณภาพ (Certificate of Analysis) เอกสารความปลอดภัย (Material Safety Data Sheet; MSDS) เป็นต้น 4.3 มีสารเคมี อุปกรณ์ และเครื่องมือ ที่จําเป็น เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน 4.4 มีการจัดทําบัญชีรายชื่อสารเคมี อุปกรณ์ และเครื่องมือ 4.5 มีขั้นตอนการดําเนินการเกี่ยวกับสารเคมีที่จําเป็นต่อการทดสอบ เช่น การจัดเก็บสารเคมี การ เตรียมสารละลาย การเก็บรักษาสารละลาย เป็นต้น 4.6 มีการจัดทําบันทึกประวัติเครื่องมือ การสอบเทียบและหรือทวนสอบ รอบการสอบเทียบและหรือ ทวนสอบ การซ่อม วิธีการใช้งาน การบํารุงรักษา และคู่มือของเครื่องมือ

-3- 4.7 มีการใช้งานเครื่องมือทดสอบโดยบุคลากรที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น ( หมายเหตุ ต้องมีการมอบหมายผู้มีสิทธิ์ในการใช้เครื่องมือและมีการบันทึกการใช้เครื่องมือ ) 4.8 มีการสอบเทียบและ / หรือทวนสอบเครื่องมือโดยห้องปฏิบัติการสอบเทียบ หรือหน่วยงานที่เป็นที่ ยอมรับ สามารถสอบกลับได้ไปยังหน่วยตามระบบสากล (International System of Unit, SI) และตรวจสอบว่าผลการสอบเทียบและ / หรือทวนสอบเครื่องมือเป็นไปตามเกณฑ์กําหนดที่ต้องการ ของห้องปฏิบัติการ ก่อนนําไปใช้งาน 4.9 มีการกําหนดแผนการสอบเทียบ การบํารุงรักษา เครื่องมือหลักและอุปกรณ์ที่มีผลต่อการทดสอบ และมีการปฏิบัติงานตามแผนที่กําหนดไว้อย่างเคร่งครัด 4.10 มีการพิจารณาผลการสอบเทียบเครื่องมือตามเกณฑ์กําหนดที่ต้องการของห้องปฏิบัติการ กรณีห้องปฏิบัติการวิเคราะห์นําชุดค่าแก้ ( ถ้ามี ) มาใช้งาน ต้องมีขั้นตอนดําเนินงานให้ถูกต้อง ตามหลักวิชาการ และมีการปรับให้เป็นปัจจุบันอย่างถูกต้องก่อนนําไปใช้งานต่อไป หมวดที่ 5 วิธีทดสอบ 5.1 มีขั้นตอนการดําเนินงานสําหรับการทดสอบ ทั้งนี้ วิธีการเหล่านี้ รวมถึงการจัดการตัวอย่าง การเก็บรักษา การเตรียมตัวอย่างที่จะทดสอบ ภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมและอื่น ๆ ตลอดจน จัดให้มีแบบบันทึกต่าง ๆ ที่จําเป็นสําหรับการทดสอบนั้น 5.2 มีการดําเนินการตามขั้นตอนวิธีการทดสอบที่ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์จัดทําขึ้น และบันทึกข้อมูล ในแบบบันทึกที่กําหนดขึ้น 5.3 มีการเลือกใช้วิธีวิเคราะห์ทดสอบที่มีการตีพิมพ์ในมาตรฐานระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับประเทศที่เป็นที่ยอมรับ โดยต้องมีการทดสอบประสิทธิภาพของวิธีการตรวจวิเคราะห์ ในห้องปฏิบัติการนั้น ( หมายเหตุ วิธีวิเคราะห์ทดสอบมีการอ้างอิงถึงวิธีที่เป็นมาตรฐาน เช่น ASTM AOAC เป็นต้น หรือวิธีที่ได้รับการรับรองโดยสถาบันที่เป็นมาตรฐานระดับประเทศ ) หมวดที่ 6 มาตรฐานวิธีปฏิบัติงาน และระบบเอกสาร 6.1 มีการจัดทําเอกสาร มาตรฐานวิธีการปฏิบัติงานที่จําเป็น ( เช่น วิธีปฏิบัติการในการจัดเก็บสารเคมี การเตรียมสารละลาย รวมถึงการควบคุมเอกสารต่าง ๆ ที่จําเป็นต้องใช้งาน เป็นต้น ) ตลอดจน เอกสารที่ใช้ดําเนินการทั่วไป วิธีการทดสอบ และคู่มือการใช้งานต่าง ๆ 6.2 มีเอกสารต่าง ๆ ฉบับที่เป็นปัจจุบัน และพร้อมใช้งานในทุกพื้นที่ที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงาน เอกสารฉบับที่ไม่ใช้แล้วหรือที่ยกเลิกแล้วต้องนําออกจากจุดใช้งานโดยทันที 6.3 มีขั้นตอนในการดําเนินงานการจัดเก็บเอกสาร บันทึกข้อมูล และการทําลายเอกสารอย่างเป็น ระบบ

  • 4 - หมวดที่ 7 การจัดการตัวอย่างทดสอบ 7.1 มีขั้นตอนการดําเนินงานการจัดการตัวอย่าง เช่น การรับ การรักษาสภาพ การจัดเก็บตาม ระยะเวลาที่กําหนด การจําหน่ายตัวอย่าง เป็นต้น 7.2 มีระบบในการบ่งชี้ตัวอย่าง เช่น รหัสตัวอย่าง ชื่อตัวอย่าง เป็นต้น ทั้งนี้ ขั้นตอนการดําเนินการ บ่งชี้ต้องมั่นใจว่า จะต้องไม่เกิดความสับสนของตัวอย่างที่จะนํามาวิเคราะห์ 7.3 มีขั้นตอนการดําเนินงานบันทึกสภาพตัวอย่างหรือข้อบกพร่องของตัวอย่างที่ได้รับ ทั้งนี้ กรณีที่ ตัวอย่างมีความผิดปกติใด ๆ หรือมีความแตกต่างจากสภาพปกติ หรือสภาวะที่ระบุตามที่อธิบาย ในวิธีทดสอบ รวมทั้งมีการบันทึกและดําเนินการแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป หมวดที่ 8 การรายงานผล 8.1 มีการรายงานผลการทดสอบอย่างถูกต้อง ชัดเจน ไม่คลุมเครือและตรงตามวัตถุประสงค์และ เป็นไปตามคําแนะนําที่ระบุใด ๆ ในวิธีการทดสอบ ซึ่งจะรายงานในรูปของใบรายงานผลการทดสอบ 8.2 มีใบรายงานผลการทดสอบมีรายละเอียดครบถ้วน อย่างน้อยจะต้องประกอบด้วยข้อมูล ดังต่อไปนี้ (1) ประเภทของใบรายงานผล เช่น รายงานผลการทดสอบ เป็นต้น (2) ชื่อและที่อยู่ของห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ และสถานที่ที่ทําการทดสอบ ( ในกรณีที่อยู่คนละ ที่กับห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ) (3) การบ่งชี้เฉพาะของรายงานผลการทดสอบ ( เช่น หมายเลขลําดับที่ ) และมีการบ่งชี้แต่ละ หน้าและมีการบ่งชี้อย่างชัดเจนถึงการสิ้นสุดรายงานผลการทดสอบ (4) ชื่อของลูกค้า หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (5) ชื่อตัวอย่าง วันที่ผลิตหรือรอบการผลิต (6) ระบุวิธีทดสอบและอ้างอิง (7) รายละเอียดลักษณะ สภาพ และการบ่งชี้อย่างไม่คลุมเครือของตัวอย่างที่ทดสอบ (8) วัน เดือน ปี ที่รับตัวอย่างทดสอบ วัน เดือน ปี ที่ทําการทดสอบ และวัน เดือน ปี ที่รายงาน ผลการทดสอบ (8) รายการทดสอบที่ทําการทดสอบ ผลการทดสอบเป็นตัวเลข พร้อมกับหน่วยของการวัดตาม ความเหมาะสม (9) ชื่อ ตําแหน่ง และลายมือชื่อของผู้ทดสอบ หรือผู้ควบคุม หรือผู้รับรองผลการทดสอบ (10) ข้อความที่ระบุว่า “ รายงานนี้รับรองเฉพาะตัวอย่างที่นํามาทดสอบเท่านั้น ห้ามทํา สําเนารายงานนี้เฉพาะบางส่วนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรและห้ามนํา รายงานนี้ไปประกาศโฆษณา ” 8.3 มีการจัดเก็บใบรายงานผลการทดสอบไว้ในที่ปลอดภัย เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้

-5- หมวดที่ 9 ความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ 9.1 มีนโยบายด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์หรือองค์การ 9.2 มีการจัดการและการกําจัดของเสีย (Waste) ที่เกิดจากการทดสอบของห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ซึ่งวิธีการจัดการนี้รวมถึงการรวบรวม จัดเก็บ เคลื่อนย้าย และกําจัดของเสีย ทั้งนี้ของเสียที่เกิดจาก การทดสอบต้องมีการจัดแบ่งประเภทต่าง ๆ เช่น ของเสียทั่วไป ของเสียอันตราย เป็นต้น 9.3 มีขั้นตอนการดําเนินการด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย ให้สอดคล้องกับงานที่ปฏิบัติ ตลอดจนควบคุมภาวะแวดล้อมในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ให้ปลอดภัย ทั้งนี้ควรจัดให้มีสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ (1) อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล เช่น หน้ากาก ถุงมือ แว่นตา เสื้อกราวน์ เป็นต้น (2) ระบบระบายอากาศเสีย เช่น พัดลมดูดอากาศ ตู้ดูดควัน เป็นต้น (3) เครื่องมือเพื่อความปลอดภัยจากเหตุฉุกเฉิน เช่น ฝักบัวอาบน้ําฉุกเฉิน น้ําสําหรับ ล้างตา เครื่องดับเพลิง เป็นต้น 9.4 มีการจัดหาอุปกรณ์การปฐมพยาบาลเบื้องต้นไว้ภายในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ หากเกิดอุบัติเหตุ เล็กน้อย ให้สามารถทําการปฐมพยาบาลได้ เช่น การทําความสะอาดแผล เป็นต้น รวมทั้งมีการ จัดให้มียารักษาโรคที่จําเป็นและให้มีการตรวจสอบยา ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพให้พร้อม ใช้งานอย่างสม่ําเสมอ 9.5 มีขั้นตอนการดําเนินการด้านความปลอดภัยในขณะปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ พร้อมทั้งจัดให้มีป้ายคําเตือนต่าง ๆ และอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ระงับภัยฉุกเฉิน ตลอดจน ข้อบังคับหรือวิธีการในการรักษาความปลอดภัยโดยทั่วไปภายในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์

มาตรฐานการทดสอบสินค้า

มาตรฐานการทดสอบสินค้าเบียร์ ให้เบียร์มีมาตรฐานเกี่ยวกับแรงแอลกอฮอล์ คุณสมบัติทางเคมี วัตถุเจือปนอาหาร และสารปนเปื้อน ตามที่กําหนดดังต่อไปนี้ โดยให้ใช้วิธีทดสอบตามมาตรฐาน AOAC (Association of Official Analytical Chemists) หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า 1. แรงแอลกอฮอล์ ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ที่ฉลาก โดยมีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนได้ ± 1 ดีกรี ร้อยละโดยปริมาตร วิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC 982.10 หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้งเรื่อง วิธีทดสอบให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC เป็นวิธีตัดสิน 2. คุณสมบัติทางเคมี ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดในตารางและวิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้งเรื่องวิธีทดสอบให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC เป็นวิธีตัดสิน ลําดับที่ รายการทดสอบ ไม่เกินเกณฑ์ที่กําหนด วิธีทดสอบตาม 1 เมทิลแอลกอฮอล์ 50 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 972.11 2 เอทิลคาร์บาเมต 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 994.07 3. วัตถุเจือปนอาหาร ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดในตารางและวิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้งเรื่องวิธีทดสอบให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC เป็นวิธีตัดสิน ลําดับที่ รายการทดสอบ ไม่เกินเกณฑ์ที่กําหนด วิธีทดสอบตาม 1 ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ทั้งหมด 20 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 963.11 4. สารปนเปื้อน ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดในตารางและวิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC หรือ วิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้งเรื่องวิธีทดสอบให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC เป็นวิธีตัดสิน ลําดับที่ รายการทดสอบ ไม่เกินเกณฑ์ที่กําหนด วิธีทดสอบตาม 1 สารหนู 0.1 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 986.15 2 ตะกั่ว 0.1 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 972.25 3 ทองแดง 1.5 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 970.18 4 เหล็ก 1.5 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 970.19

มาตรฐานการทดสอบสินค้าไวน์และสปาร์กลิ้งไวน์ที่ทําจากองุ่น และสุราแช่ ให้ไวน์ สปาร์กลิ้งไวน์ และสุราแช่ มีมาตรฐานเกี่ยวกับแรงแอลกอฮอล์ คุณสมบัติทางเคมี วัตถุเจือปน อาหาร และสารปนเปื้อน ตามที่กําหนดดังต่อไปนี้ โดยให้ใช้วิธีทดสอบตามมาตรฐาน AOAC (Association of Official Analytical Chemists) และ ASTM (American Society of Testing and Materials) หรือวิธีทดสอบ ที่เทียบเท่า 1. แรงแอลกอฮอล์ ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ที่ฉลาก โดยมีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนได้ ± 1 ดีกรี ร้อยละโดยปริมาตร วิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC 982.10 หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้งเรื่อง วิธีทดสอบให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC เป็นวิธีตัดสิน 2. คุณสมบัติทางเคมี ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดในตารางและวิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้งเรื่องวิธีทดสอบให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC เป็นวิธีตัดสิน ลําดับที่ รายการทดสอบ ไม่เกินเกณฑ์ที่กําหนด วิธีทดสอบตาม 1 แอลดีไฮด์ ( คิดเป็นแอซิทัลดีไฮด์ ) 160 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 950.05 2 เมทิลแอลกอฮอล์ 420 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์ เดซิเมตร AOAC 972.11 3 เอทิลคาร์บาเมต 200 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์ เดซิเมตร AOAC 994.07 3. วัตถุเจือปนอาหาร ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดในตารางและวิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้งเรื่องวิธีทดสอบให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC เป็นวิธีตัดสิน ลําดับที่ รายการทดสอบ ไม่เกินเกณฑ์ที่กําหนด วิธีทดสอบตาม 1 ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ทั้งหมด 400 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 963.11 2 กรดเบนโซอิกหรือเกลือของกรดนี้ คํานวณเป็นกรดเบนโซอิก 250 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 994.11 3 กรดซอร์บิกหรือเกลือของกรดนี้ คํานวณเป็นกรดซอร์บิก 200 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์ เดซิเมตร AOAC 974.08 4. สารปนเปื้อน ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดในตารางและวิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC และ ASTM หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้งเรื่องวิธีทดสอบให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC และ ASTM เป็นวิธีตัดสิน ลําดับที่ รายการทดสอบ ไม่เกินเกณฑ์ที่กําหนด วิธีทดสอบตาม 1 สารหนู 0.1 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 986.15 2 ตะกั่ว 0.1 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 972.25 3 เฟอร์โรไซยาไนด์ ต้องไม่พบ ASTM D 4374

มาตรฐานการทดสอบสินค้าสุรากลั่น ให้สุรากลั่นมีมาตรฐานเกี่ยวกับแรงแอลกอฮอล์ คุณสมบัติทางเคมี วัตถุเจือปนอาหาร และสาร ปนเปื้อน ตามที่กําหนดดังต่อไปนี้ โดยให้ใช้วิธีทดสอบตามมาตรฐาน AOAC (Association of Official Analytical Chemists) หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า 1. แรงแอลกอฮอล์ ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ที่ฉลาก โดยมีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนได้ ± 1 ดีกรี ร้อยละโดยปริมาตร วิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC 982.10 หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้งเรื่อง วิธีทดสอบ ให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC เป็นวิธีตัดสิน 2. คุณสมบัติทางเคมี ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดในตารางและวิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้งเรื่องวิธีทดสอบให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC เป็นวิธีตัดสิน ลําดับที่ รายการทดสอบ ไม่เกินเกณฑ์ที่กําหนด วิธีทดสอบตาม 1 ฟูเซลออยล์ 5,500 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์ เดซิเมตร AOAC 959.05 2 เฟอร์ฟิวรัล 50 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 960.16 3 แอลดีไฮด์ ( คิดเป็นแอซิทัลดีไฮด์ ) 3.1 สุรากลั่นที่มีแรง แอลกอฮอล์ไม่เกิน 40 ดีกรี 3.2 สุรากลั่นที่มีแรง แอลกอฮอล์เกิน 40 ดีกรี 160 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์ เดซิเมตร 220 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์ เดซิเมตร AOAC 950.05 4 เมทิลแอลกอฮอล์ 1,000 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์ เดซิเมตร AOAC 972.11 5 เอทิลคาร์บาเมต 400 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์ เดซิเมตร AOAC 994.07 หมายเหตุ : เกณฑ์การตรวจวิเคราะห์ของสารแอลดีไฮด์ ( แอซีทัลดีไฮด์ ) จะพิจารณาแรงแอลกอฮอล์จากฉลากของผลิตภัณฑ์ 3. วัตถุเจือปนอาหาร ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดในตารางและวิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC หรือวิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้งเรื่องวิธีทดสอบให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC เป็นวิธีตัดสิน ลําดับที่ รายการทดสอบ ไม่เกินเกณฑ์ที่กําหนด วิธีทดสอบตาม 1 กรดเบนโซอิกหรือเกลือของกรดนี้ คํานวณเป็นกรดเบนโซอิก 200 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 994.11 2 กรดซอร์บิกหรือเกลือของกรดนี้ คํานวณเป็นกรดซอร์บิก 200 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 974.08

  1. สารปนเปื้อน ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดในตารางและวิธีทดสอบให้ปฏิบัติตาม AOAC หรือ วิธีทดสอบที่เทียบเท่า กรณีมีข้อโต้แย้งเรื่องวิธีทดสอบให้ใช้วิธีทดสอบ AOAC เป็นวิธีตัดสิน ลําดับที่ รายการทดสอบ ไม่เกินเกณฑ์ที่กําหนด วิธีทดสอบตาม 1 สารหนู 0.1 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 986.15 2 ตะกั่ว 0.2 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร AOAC 972.25

มาตรฐานการทดสอบสินค้าเครื่องดื่ม และสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ ที่ใช้เป็นเครื่องดื่มที่มีลักษณะผง เกล็ด หรือเครื่องดื่มเข้มข้น ที่มีส่วนผสมของน้ําตาลและสามารถละลายน้ําได้ ให้ใช้วิธีการตรวจวัดตามมาตรฐาน AOAC (Official Methods of Analysis of AOAC International) หรือวิธีที่เทียบเท่าที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 เป็นวิธีการตรวจวัดปริมาณน้ําตาล ในรายการ ทดสอบน้ําตาลทั้งหมด (Total Sugar) ของสินค้าประเภทที่ 02.02 ประเภทที่ 02.03 ประเภทที่ 02.04 และประเภทที่ 16.90 (1) กรณีมีข้อโต้แย้งเรื่องวิธีทดสอบให้ใช้วิธีทดสอบที่กรมสรรพสามิตใช้เป็นวิธีตัดสิน ลําดับที่ รายการทดสอบ เกณฑ์กําหนด วิธีทดสอบ 1 ปริมาณน้ําตาล ( กรัม /100 มิลลิลิตร ) เป็นไปตามประกาศกรมสรรพสามิต ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการตรวจวัดปริมาณน้ําตาล In House Method Reference : - AOAC Official Method 980.13

บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจวิเคราะห์และ ทดสอบสินค้าสรรพสามิต

บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจวิเคราะห์และทดสอบสินค้า เบียร์ ลําดับ รายการทดสอบ ราคา ( บาท ) 1 แรงแอลกอฮอล์ ( ดีกรีหรือร้อยละโดยปริมาตร ) 1,500 2 เมทิลแอลกอฮอล์ ( มก ./ ลบ . ดม .) 1,500 3 เอทิลคาร์บาเมต ( มคก ./ ลบ . ดม .) 2,000 4 ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ( มก ./ ลบ . ดม .) 600 5 สารหนู ( มก ./ ลบ . ดม .) 1,000 6 ตะกั่ว ( มก ./ ลบ . ดม .) 1,000 7 ทองแดง ( มก ./ ลบ . ดม .) 1,000 8 เหล็ก ( มก ./ ลบ . ดม .) 1,000 9 สารแปลงสภาพแอลกอฮอล์ 1,200 10 การทดสอบแอลกอฮอล์มิเตอร์ 350 บาท ต่อ 1 จุด

บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจวิเคราะห์และทดสอบสินค้า ไวน์และสปาร์กลิ้งไวน์ที่ทําจากองุ่นและสุราแช่ ลําดับ รายการทดสอบ ราคา ( บาท ) 1 แรงแอลกอฮอล์ ( ดีกรีหรือร้อยละโดยปริมาตร ) 1,500 2 แอลดีไฮด์ คิดเป็นแอซีทัลดีไฮด์ ( มก ./ ลบ . ดม .) 1,000 3 เมทิลแอลกอฮอล์ ( มก ./ ลบ . ดม .) 1,500 4 เอทิลคาร์บาเมต ( มคก ./ ลบ . ดม .) 2,000 5 ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ( มก ./ ลบ . ดม .) 600 6 กรดเบนโซอิกหรือเกลือของกรด ( มก ./ ลบ . ดม .) 1,600 7 กรดซอร์บิกหรือเกลือของกรด ( มก ./ ลบ . ดม .) 1,600 8 สารหนู ( มก ./ ลบ . ดม .) 1,000 9 ตะกั่ว ( มก ./ ลบ . ดม .) 1,000 10 เฟอร์โรไซยาไนด์ คิดเป็นไซยาไนด์ทั้งหมด ( มคก ./ ลบ . ดม .) 2,200 11 สารแปลงสภาพแอลกอฮอล์ 1,200 12 การทดสอบแอลกอฮอล์มิเตอร์ 350 บาท ต่อ 1 จุด

บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจวิเคราะห์และทดสอบสินค้า สุรากลั่น ลําดับ รายการทดสอบ ราคา ( บาท ) 1 แรงแอลกอฮอล์ ( ดีกรีหรือร้อยละโดยปริมาตร ) 1,500 2 ฟูเซลออยล์ ( มก ./ ลบ . ดม .) 1,000 3 เฟอร์ฟิวรัล ( มก ./ ลบ . ดม .) 1,000 4 แอลดีไฮด์ คิดเป็นแอซีทัลดีไฮด์ ( มก ./ ลบ . ดม .) 1,000 5 เมทิลแอลกอฮอล์ ( มก ./ ลบ . ดม .) 1,500 6 เอทิลคาร์บาเมต ( มคก ./ ลบ . ดม .) 2,000 7 กรดเบนโซอิกหรือเกลือของกรด ( มก ./ ลบ . ดม .) 1,600 8 กรดซอร์บิกหรือเกลือของกรด ( มก ./ ลบ . ดม .) 1,600 9 สารหนู ( มก ./ ลบ . ดม .) 1,000 10 ตะกั่ว ( มก ./ ลบ . ดม .) 1,000 11 สารแปลงสภาพแอลกอฮอล์ 1,200 12 การทดสอบแอลกอฮอล์มิเตอร์ 350 บาท ต่อ 1 จุด

บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจวิเคราะห์และทดสอบสินค้าเครื่องดื่ม และสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ ที่ใช้เป็นเครื่องดื่มที่มีลักษณะผง เกล็ด หรือเครื่องดื่มเข้มข้น ที่มีส่วนผสมของน้ําตาลและสามารถละลายน้ําได้ ลําดับ รายการทดสอบ ราคา ( บาท ) 1 ปริมาณน้ําตาล ( กรัม /100 มิลลิลิตร ) 4,000