ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการควบคุมโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็กและโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดกลาง พ.ศ. 2566
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการควบคุมโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็กและโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดกลาง พ.ศ. 2566
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการควบคุมโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็กและโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดกลาง พ.ศ. 256 6 เพื่อให้การบริหารการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้าสุรา การควบคุมและตรวจสอบการผลิตสุรา ของโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็กและโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดกลาง ตามประกาศกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการผลิตสุราเพื่อการค้า และการนาสุราออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อตรวจวิเคราะห์ในขั้นตอน การผลิต ซึ่งออกโดยอาศัยอานาจตามความในมาตรา 153 วรรคหนึ่ ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 256 0 เป็นไปโดยถูกต้อง รัดกุม มีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอานาจตามความในมาตรา 6 (2) (3) (4) และมาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพสามิต จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการควบคุมโรงอุตสาหกรรมสุรา ขนาดเล็กและโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดกลาง พ.ศ. 256 6 ” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันออกประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการควบคุมโรงอุตสาหกรรมผลิตสุราชุมชน พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560 ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “ โรงอุตสาหกรรม ” หมายความว่า โรงอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็กและโรงอุตสาหกรรมสุรา ขนาดกลาง “ โรงอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็ก ” หมำยความว่า โรงอุตสาหกรรมผลิตสุราแช่ที่ไม่ใช่สุราแช่ ชนิดเบียร์และสุรากลั่นชนิดสุราขาวที่ผลิตจากโรงอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ที่ใช้เครื่องจักรที่มีกาลังรวม หรือกำลังเทียบเท่าต่ากว่าห้าแรงม้า หรือใช้คนงานน้อยกว่าเจ็ดคน หรือกรณีใช้ทั้งเครื่องจักรและคนงาน เครื่องจั กรมีกำลังรวมหรือกาลังเทียบเท่าต่ากว่าห้าแรงม้าและคนงานมีจำนวนน้อยกว่าเจ็ดคน “ โรงอุตสาหกรรมสุราขนาดกลาง ” หมายความว่า โรงอุตสาหกรรมผลิตสุราแช่ที่ไม่ใช่สุราแช่ ชนิดเบียร์และสุรากลั่นชนิดสุราขาวที่ผลิตจากโรงอุตสาหกรรมขนาดกลาง ที่ใช้เครื่องจักรที่มีกาลังรวม หรือกาลังเทียบเท่าตั้งแต่ห้าแรงม้าแต่น้อยกว่าห้าสิบแรงม้า หรือใช้คนงานตั้งแต่เจ็ดคนแต่น้อยกว่าห้าสิบคน หรือกรณีใช้ทั้งเครื่องจักรและคนงาน เครื่องจักรมีกาลังรวมหรือกาลังเทียบเท่าตั้งแต่ห้าแรงม้าแต่น้อยกว่า ห้าสิบแรงม้าและคนงานมีจำนวนตั้งแต่เจ็ดคนแต่น้อ ยกว่าห้าสิบคน ข้อ 5 โรงอุตสาหกรรมต้องเป็นไปตามแบบแปลนแผนผังที่ยื่นพร้อมขออนุญาตก่อสร้าง และได้รับอนุญาตแล้ว หากภายหลังประสงค์จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบแปลนแผนผัง ให้ยื่นขออนุญาต ต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่เป็นการล่วงหน้า เมื่อได้รับอนุญาตเป็นห นังสือแล้ว จึงจะดาเนินการได้ ้ หนา 7 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 55 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 มีนาคม 2566
ข้อ 6 ผู้ประกอบอุตสาหกรรมสุราขนาดกลางต้องจัดให้มีอาคารและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ดังนี้ ( 1 ) โรงอุตสาหกรรมสุราขนาดกลางต้องล้อมรอบด้วยรั้วที่มั่นคงแข็งแรง และให้มีประตู เข้าออกเปิดใช้เพียงประตูเดียว ในกรณีมีความจาเป็นต้องเปิดใช้ประตูมากกว่าหนึ่งประตู ให้ยื่นคาขอ พร้อมทั้งแสดงเหตุผลความจำเป็นต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมสุราขนาดกลางตั้งอยู่ เพื่อพิจารณาอนุญาต ( 2 ) มีอาคารหรือสถานที่สาหรับเก็บวัตถุดิบ อาคารหรือสถานที่สาหรับเก็บภาชนะที่รองรับ น้าสุรำที่ได้จากการผลิต อาคารหรือสถานที่ที่ใช้สาหรับปรุงแต่งแรงแอลกอฮอล์ อาคารหรือสถานที่ ที่ใช้สาหรับเก็บสุราที่ยังมิได้เสียภาษี โดยแยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ ข้อ 7 โรงอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตสุรา ต้องติดตั้งเครื่องกลั่นสุราภายใน โรงอุตสาหกรรมอย่างมั่นคงถา วร และต้องจัดให้มีภาชนะที่ใช้รับน้าสุราที่ผลิตได้ ภาชนะที่ใช้เก็บน้ำสุรา สำเร็จรูป และภาชนะที่ใช้ปรุงแต่งแรงแอลกอฮอล์ของสุรา ภาชนะตามวรรคหนึ่งต้องมีรูปทรงถาวร และสามารถตรวจสอบปริมาตรความจุได้ โดยให้ ผู้ประกอบอุตสาหกรรมทาเครื่องหมายแสดงระดับของปริมาตร ความจุของภาชนะให้เห็นชัดเจนทุก ๆ ภาชนะ ทั้งนี้ ห้ามมิให้บรรจุน้ำสุราในถุงพลาสติก หรือภาชนะอื่นใดที่มีขนาดบรรจุต่ากว่า 2 0 ลิตร ข้อ 8 เมื่อมีการนาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสุราเข้ามาในโรงอุตสาหกรรม หรือมีการนาวัตถุดิบ ไปใช้ในการผลิตสุรา ให้ผู้ประกอบอุตสำหกรรมบันทึกบัญชีประจาวันแสดงการรับและการจ่ายวัตถุดิบ ตามแบบ ภส. 07 - 01/1 ข้อ 9 การหมักส่า การกลั่นสุราและการจ่ายสุราเพื่อบรรจุภาชนะ ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรม บันทึกรายการต่าง ๆ ดังนี้ (1) กรณีการทาสุรากลั่น ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมบันทึกบัญชีประจาวันแสดงกำรผลิตสุรากลั่น ตามแบบ ภส. 07 - 02/1 (2) กรณีการทำสุราแช่ ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมบันทึกบัญชีประจำวันแสดงการผลิตสุราแช่ ตามแบบ ภส. 07 - 0 2/1 (1) ข้อ 10 ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมบันทึกบัญชีประจาวันแสดงการรับ - จ่ายสุราที่บรรจุภาชนะ และปิดแสตมป์แล้ว ตามแบบ ภส. 0 7 - 0 2/1 (2) ข้อ 11 การทาบัญชีควบคุมการทำสุราตามแบบและขั้นตอนต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตสุรา ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องทำให้แล้วเสร็จภายในสามวันนับแต่วันที่จะต้องลงรายการนั้นเกิดขึ้น ้ หนา 8 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 55 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 มีนาคม 2566
ข้อ 12 ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมจัดทางบเดือนแสดงรายการเกี่ยวกับวัตถุดิบ การผลิต การจาหน่าย และยอดคงเหลือสินค้า ตามแบบ ภส. 0 7 - 0 4/1 ยื่นต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิต ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่ ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป บัญชีประจำวัน เอกสารการลงบัญชี สำเนางบเดือน ให้เก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่าห้าปี ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานที่อื่นใดซึ่งเจ้าพนักงานสรรพสามิตสามารถเรียกมาตรวจสอบได้ ข้อ 1 3 ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ได้ยื่นแบบรายการภาษีและชาระภาษีแล้วรับแสตมป์สุราจาก เจ้าพนักงานสรรพสามิต ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา ที่โรง อุตสาหกรรมตั้งอยู่เพื่อนำไปปิดภาชนะบรรจุสุรา โดยปฏิบัติ ดังนี้ ( 1 ) โรงอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็กให้รับแสตมป์สุราปิดภาชนะบรรจุสุราตามจำนวน ที่ใช้ปิดภาชนะบรรจุสุราได้หมดในคราวเดียว โดยไม่มีแสตมป์สุราคงเหลือเก็บไว้ในโรงอุตสาหกรรม ( 2 ) โรงอุตสาหกรรมสุราขนาดกลางใ ห้รับแสตมป์สุราปิดภาชนะบรรจุสุราตามจำนวน ที่ใช้ปิดภาชนะบรรจุสุราได้หมดในคราวเดียว โดยไม่มีแสตมป์สุราคงเหลือเก็บไว้ในโรงอุตสาหกรรม เว้นแต่มีเหตุจาเป็นที่ไม่สามารถปิดแสตมป์สรรพสามิตได้หมดในคราวเดียว ต้องแจ้งเจ้าพนักงานสรรพสามิต ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้ นที่หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขาที่โรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่ทราบ ข้อ 1 4 ในการขีดฆ่าและปิดแสตมป์สุรา ให้เป็นไปตามประกาศกรมสรรพสามิตว่าด้วยการใช้ การขีดฆ่า และการปิดแสตมป์สรรพสามิตสำหรับสินค้าสุรา ข้อ 1 5 ห้ามมิให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมนำแสตมป์สุราที่ไม่เต็ มดวงหรือมีสภาพคล้าย ผ่านการใช้แล้วมาใช้ปิดภาชนะบรรจุสุรา ข้อ 1 6 กรณีผู้ประกอบอุตสาหกรรมประสงค์จะขนย้ายสุราออกจากโรงอุตสาหกรรมสุรานั้น ต้องชำระภาษีสรรพสามิตถูกต้องครบถ้วนแล้ว และให้จัดทำใบขนย้ายสุราจากโรงอุตสาหกรรมตามแบบ ท้ายระเบียบนี้ ใบขนย้ายสุรามีสองตอน ตอนต้นให้เก็บไว้ ณ โรงอุตสาหกรรม พร้อมหลักฐานแสดง การชำระภาษีเพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตตรวจสอบ ส่วนตอนปลายให้ใช้กำกับไปกับน้ำสุราที่ขน กรณีภายหลังตรวจพบว่ามีการขนย้ายสุราออกจากโรงอุตสาหกรรมโดยไม่ชำระภาษีสรรพสามิต หรือชาระภาษีสรรพสามิตไม่ถูกต้องครบถ้วน ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีหน้าที่ต้องชาระภาษีสรรพสามิต สำหรับสุรานั้น พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามที่กฎหมายกำหนด ข้อ 1 7 ให้สรรพสามิตพื้นที่มีห น้าที่ตรวจโรงอุตสาหกรรม โดยใช้หลักการบริหารความเสี่ยง ( Risk Management ) ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 55 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 มีนาคม 2566
การตรวจโรงอุตสาหกรรมตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ตรวจบันทึกผลการตรวจไว้ในสมุดตรวจราชการ โดยให้สานักงานสรรพสามิตพื้นที่จัดทาขึ้นเป็นการเฉพาะสาหรับผู้ประกอบอุตสาหกรรมรายนั้น ๆ และให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมลงลายมือชื่อรับทราบผลการตรวจทุกครั้งด้วย ข้อ 1 8 ให้ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 1 เป็นผู้รักษาการ ตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 25 6 6 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 55 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 มีนาคม 2566
ใบขนย้ายสุรา แบบที่ 2 ( ตอนต้น ) เก็บไว้ ณ โรงอุตสาหกรรม สุรา เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตตรวจสอบ เลขที่… ชื่อผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุรา…ขนย้ายสุราจากเลขที่…ตำบล/แขวง… … … . . อาเภอ/เขต…จังหวัด…ไปยังผู้ซื้อ ( ชื่อ ) …เลขที่… … … ตำบล/แขวง…อาเภอ/เขต…จังหวัด… … … … … ใบขนย้ายสุรานี้ใช้ได้ภายใน…วัน นับแต่วันที่ออกให้… … … .. ชนิดสุรา ชื่อสุรา แรง แอลกอฮอล์ ภาชนะบรรจุสุรา ชนิด ขนาด จำนวน สุรานี้ได้เสียภาษีแล้วตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 วันที่…เดือน… …พ.ศ.. … ลงชื่อ… ( … … )
ใบขนย้ายสุรา แบบที่ 2 ( ตอน ปลาย ) เลขที่… ชื่อผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุรา…ขนย้ายสุราจากเลขที่…ตำบล/แขวง… .. … อาเภอ/เขต…จังหวัด…ไปยังผู้ซื้อ ( ชื่อ ) …เลขที่… .. … … ตำบล/แขวง…อาเภอ/เขต…จังหวัด… … . … . … ใบขนย้ายสุรานี้ใช้ได้ภายใน…วัน นับแต่วันที่ออกให้… … .. … ชนิดสุรา ชื่อสุรา แรง แอลกอฮอล์ ภาชนะบรรจุสุรา ชนิด ขนาด จำนวน สุรานี้ได้เสียภาษีแล้วตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 วันที่…เดือน… …พ.ศ… .. ลงชื่อ… ( … )