ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือแก่พยานในคดีอาญา พ.ศ. 2566
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือแก่พยานในคดีอาญา พ.ศ. 2566
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือแก่พยานในคดีอาญา พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรมีระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือแก่พยาน ในคดีอาญา เพื่อกำหนดวิธีการเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือแก่พยานในคดีอาญา อาศัยอานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 และมาตรา 13 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรม จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือแก่พยาน ในคดีอาญา พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในระเบียบนี้ “ พยาน ” หมายความว่า บุคคลซึ่งจะมาให้หรือได้ให้ข้อเท็จจริงต่อพนักงานผู้มีอานาจสืบสวน คดีอาญา พนักงานผู้มีอานาจสอบสวนคดีอาญา พนักงานผู้มีอานาจฟ้องคดีอาญา หรือศำลในการ ดาเนินคดีอาญา รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญ แต่มิให้หมายความรวมถึงจาเลยซึ่งศาลมีคาพิพากษาถึงที่สุด ให้ลงโทษและหลบหนี “ ให้ความช่วยเหลือ ” หมายความว่า การดำเนินการโดยสำนักงานคุ้มครองพยานเพื่อ ประสานงานด้านการศึกษา ด้านการรักษาพยาบาล ด้านการฝึกอาชีพ ด้านการจัดหางาน และการจ่ายเงิน ดารงชีพให้แก่พยาน สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดานของพยาน หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกับพยาน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการเข้าโครงการคุ้มครองพยาน เพื่อให้บุคคลดังกล่าวสามารถ ดารงชีพได้ตามความเหมาะสมเมื่อสิ้นสุดกำรคุ้มครองพยาน “ ผลกระทบ ” หมายความว่า ผลที่เกิดขึ้นภายหลังจากการที่บุคคลนั้นมาทาหน้าที่ในฐานะพยาน และไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อพยาน สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดานของพยาน หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพยาน ซึ่งอยู่ในมาตรการคุ้มครองพยาน “ เงินดารงชีพ ” หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่พยาน สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ของพยาน หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพยาน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการมาให้ข้อเท็จจริง ของพยาน เพื่อให้บุคคลดังกล่าวสามารถดารงชีพอยู่ได้เมื่อสิ้นสุดการคุ้มครองพยานตามที่จาเป็น และสมควร ้ หนา 1 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 55 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 มีนาคม 2566
“ คณะกรรมการ ” หมายความว่า คณะกรรมการพิจารณาการจ่ายเงินดารงชีพแก่พยาน สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดานของพยาน ห รือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพยาน “ สำนักงาน ” หมายความว่า สำนักงานคุ้มครองพยาน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ข้อ 4 การดาเนินการใด ๆ ตามระเบียบนี้ ให้คานึงถึงความลับ ความปลอดภัย ข้อมูล ส่วนบุคคล และข้อมูลทางคดีที่อาจส่งผลกระทบต่ อพยาน รวมถึงการกาหนดบุคคลในการเข้าถึงข้อมูล ของพยานเป็นสำคัญ หมวด 1 การให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษา ด้านการรักษาพยาบาล ด้านการฝึกอาชีพ และด้านการจัดหางาน ข้อ 5 เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า พยาน สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดานของพยาน หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพยาน มีเหตุจาเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือด้านการศึกษา เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการมาทาหน้าที่เป็นพยาน ให้สานักงานดาเนินการประสานหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือบุคคลดังกล่าวให้ได้รับการศึกษาและกำรช่วยเหลือที่จาเป็น เหมาะสมกับเพศ วัย สถานภาพ สถานะทางเศรษฐกิจ รวมทั้งความพร้อมของผู้เข้ารับการศึกษา ข้อ 6 เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า พยาน สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดานของพยาน หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพยาน มีเหตุจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือด้าน การรักษาพยาบาล เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการมาทาหน้าที่เป็นพยาน ให้สานักงานดาเนินการ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือบุคคลดังกล่าวให้ได้รับการรักษาพยาบาล ตามสมควร ข้อ 7 เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่ำ พยาน สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดานของพยาน หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพยาน มีเหตุจาเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือด้านการฝึกอาชีพ และด้านการจัดหางาน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการมาทำหน้าที่เป็นพยาน ให้สำนักงานดาเนินการ ประสานหน่วยงา นที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือบุคคลดังกล่าวให้ได้รับการพัฒนาทักษะ หรือฝึกอาชีพ รวมถึงจัดหางานรองรับตามความเหมาะสมและความสนใจของพยาน ข้อ 8 การดาเนินการตามข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 หากหน่วยงานอื่นเป็นผู้ทาหน้าที่ คุ้มครองพยาน สามี ภริยา ผู้บุ พการี ผู้สืบสันดานของพยาน หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด กับพยาน และมีเหตุจำเป็นที่บุคคลดังกล่าวต้องได้รับความช่วยเหลือด้านการศึกษา ด้านการรักษาพยาบาล หรือด้านการประกอบอาชีพ ให้หน่วยงานผู้ทาหน้าที่คุ้มครองพยานนั้น ประสานมายังสานักงานก่อน การคุ้มครองพยานสิ้นสุดลง โดยให้สานักงานประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือบุคคล ดังกล่าวต่อไป ้ หนา 2 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 55 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 มีนาคม 2566
หมวด 2 การจ่ายเงินดำรงชีพ ข้อ 9 ในกรณีที่การมาเป็นพยานเป็นเหตุให้พยาน สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ของพยาน หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพยาน ได้รับผลกระทบจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้ ตามปกติ ให้บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินดารงชีพที่เหมาะสมในอัตราคนละไม่เกินหนึ่งแสนบาท ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การจ่ายเงินดารงชีพให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ 10 ให้มีคณะกรรมการ คณะหนึ่งเรียกว่า “ คณะกรรมการพิจารณาการจ่ายเงินดารงชีพ แก่พยาน สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดานของพยาน หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ พยาน ” ประกอบด้วย อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพหรือรองอธิบดีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน กรรมการ ผู้ทรงคุ ณวุฒิที่อธิบดีมอบหมาย ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงแรงงาน ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข เป็นกรรมการ ให้ผู้อานวยการสานักงานเป็นกรรมการและเลขานุการ และเจ้า หน้าที่สำนักงานจำนวนสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ข้อ 11 คณะกรรมการมีหน้าที่และอานาจกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการ พิจารณาการจ่ายเงินดารงชีพที่เหมาะสม พิจารณาการจ่ายเงินดารงชีพแก่พยาน สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดานของพยาน หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพยาน และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณา หรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมาย ข้อ 12 การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจานวน กรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในกา รประชุมของคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการ ลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ข้อ 13 ให้บุคคลดังต่อไปนี้มีสิทธิยื่นคำขอรับเงินดำรงชีพ โดยต้องยื่นคำขอตามแบบ พร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามที่สำนักงานกาหนด ณ สานักงาน หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วั นสิ้นสุดการคุ้มครองพยาน (1) พยาน (2) สามีหรือภริยาของพยาน (3) ผู้บุพการีของพยาน (4) ผู้สืบสันดานของพยาน ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 55 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 มีนาคม 2566
(5) บุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพยาน ซึ่งได้รับผลกระทบจนไม่สามารถใช้ชีวิต ได้ตามปกติ ข้อ 14 ในกรณีที่ผู้มีสิทธิยื่นคำขอรับเงินดารงชีพไม่สามารถยื่นคาขอได้ด้วยตนเอง ให้บุคคล ดังต่อไปนี้ยื่นคำขอแทนก็ได้ (1) ผู้แทนโดยชอบธรรม ในกรณีที่ผู้มีสิทธิยื่นคาขอเป็นผู้เยาว์ (2) ผู้อนุบาล ในกรณีที่ผู้มีสิทธิยื่นคาขอเป็นคนไร้ความสามารถ (3) บุคคลอื่นที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นหนังสือจากผู้มีสิทธิยื่นคาขอ ข้อ 15 เมื่อได้รับคำขอหรือสำนักงานเห็นสมควร ให้สำนักงานตรวจสอบคำขอและ ข้อเท็จจริงให้เสร็จสิ้นโดยเร็วและเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาต่อไป ข้อ 16 ในการพิจารณาของคณะกรรมการอาจให้ผู้ยื่นคาขอมาให้ข้อเท็จ จริงเพิ่มเติมหรือ ให้มีการสอบพยานหลักฐานเพิ่มเติมด้วยก็ได้ ข้อ 17 ในการพิจารณาจ่ายเงินดำรงชีพ ให้คำนึงถึงผลกระทบที่พยาน สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดานของพยาน หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพยานได้รับ จนไม่สามารถ ใช้ชีวิตได้ตามปกติ รวม ถึงโอกาสที่จะได้รับการช่วยเหลือหรือสิทธิประโยชน์โดยทางอื่นด้วย ข้อ 18 ให้สำนักงานแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้แก่ผู้ยื่นคำขอทราบโดยเร็ว ในกรณีที่ ผู้ยื่นคำขอไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ผู้ยื่นคำขอสามารถอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการ ภายในระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่บุคคลนั้นได้ทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 25 66 สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 55 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 มีนาคม 2566