ประกาศกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยง ตามกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ พ.ศ. 2565
ประกาศกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยง ตามกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ พ.ศ. 2565
ประกาศกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยง ตามกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงตามกรอบนโยบาย และแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว อาศัยอานาจตามความในข้อ 3.3 (3) ของประกาศกระทร วงอุตสาหกรรม เรื่อง กรอบนโยบาย และแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคา ลงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เรื่อง การจัดตั้ง กองทุนประกันความเสี่ยง ตามกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากร แร่ทองคำ พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกประกาศกรมอุตสาห กรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เรื่อง หลักเกณฑ์ ในการบริหารจัดการกองทุนประกันความเสี่ยง ตามกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหาร จัดการทรัพยากรแร่ทองคำ ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560 ข้อ 4 ในประกาศนี้ “ กองทุน ” หมายความว่า กองทุนประกันความเสี่ยงที่ผู้ปร ะกอบกิจการได้จัดตั้งขึ้นและนาเงิน เข้ากองทุน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นจาก การอนุญาตให้ประกอบกิจการทาเหมืองแร่ทองคาหรือการอนุญาตให้ประกอบกิจการที่เกี่ยวเนื่อง เฉพาะที่ใช้สินแร่ทองคำเป็นวัตถุดิบตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ “ ผู้ประกอบกิจการ ” หมายความว่า ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการทาเหมืองแร่ทองคา หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการที่เกี่ยวเนื่องเฉพาะที่ใช้สินแร่ทองคำเป็นวัตถุดิบ “ คณะกรรมการ ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารจัดการกองทุนประกันความเสี่ยง “ ผู้จัดการกองทุน ” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนประกันความเสี่ยงซึ่งได้รับการแต่งตั้ง ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการกองทุนประกันความเสี่ยง “ ปี ” หมายความว่า ปีปฏิทิน ้ หนา 35 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 53 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 มีนาคม 2566
หมวด 1 การจัดตั้งกองทุน ข้อ 5 ผู้ประกอบกิจการต้องจัดตั้งกองทุนตามประกาศนี้ให้แล้วเสร็จก่อนได้รับอนุญาตให้เปิด การทำเหมืองหรือก่อนได้รับอนุญาตให้เริ่มประกอบกิจการที่เกี่ยวเนื่องเฉพาะที่ใช้สินแร่ทองคำเป็นวัตถุดิบ วิธีการจัดตั้งกองทุน ให้ดาเนินการโดยการเปิดบัญชีเงินฝากตามข้อ 17 ที่ตั้ง สำนักงานกองทุน ให้มีที่ตั้งตามที่อยู่ของสำนักงานผู้ประกอบกิจการนั้น ข้อ 6 เงินจากกองทุนให้ใช้เป็นงบประมาณในการดาเนินการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) แก้ไขปัญหาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ( 2 ) จัดทำแผนป้องกันความเสี่ยง ( 3 ) การติดตามตรวจสอบพื้นที่ซึ่ งได้รับผลกระทบหรืออาจจะได้รับผลกระทบจากการอนุญาต หมวด 2 ทุนและการนาเงินเข้ากองทุน ข้อ 7 ทุนที่ใช้สำหรับการดาเนินการของกองทุน ประกอบด้วย ( 1 ) เงินที่จัดเก็บตามข้อ 8 ( 2 ) ดอกผลอันเกิดจากเงินตาม (1) ข้อ 8 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการนาเงินเข้ากองทุน ( 1 ) เมื่อมีการชาระค่าภาคหลวงแร่ทองคา แร่ที่ระบุไว้ในประทานบัตร และแร่อื่นที่เป็น ผลพลอยได้จากการทาเหมืองแร่ทองคาครั้งใด ให้นาเงินเข้ากองทุนในอัตราร้อยละสามของค่าภาคหลวงแร่ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้ชำระค่าภาคหลวงแร่ครั้งนั้น ทั้งนี้ จำนวนเงินขั้นต่าต้ องไม่น้อยกว่าสิบล้านบาทต่อปี หากปีใดมีเงินเข้ากองทุนน้อยกว่าจานวนเงินขั้นต่า จะต้องเพิ่มเงินเข้ากองทุนให้ได้ตามจานวนเงินขั้นต่า ภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป ( 2 ) ให้นาเงินเข้ากองทุนตลอดระยะเวลาที่มีการประกอบกิจการนั้น ทั้งนี้ ปีแรกของการนาเงิน เข้าก องทุน ให้เริ่มนับตั้งแต่ปีที่ได้รับอนุญาตให้เปิดการทำเหมืองหรือได้รับอนุญาตให้เริ่มประกอบกิจการ ที่เกี่ยวเนื่อง แล้วแต่กรณี ( 3 ) กรณีปีใดที่เปิดการทาเหมืองหรือประกอบกิจการที่เกี่ยวเนื่องมีระยะเวลาในการประกอบ กิจการไม่ครบปี ให้นำเงินเข้ากองทุนในอัตราร้อยล ะสามของค่าภาคหลวงแร่ที่ชำระในแต่ละครั้ง แต่ต้องไม่น้อยกว่าจานวนเงินขั้นต่า ทั้งนี้ จานวนเงินขั้นต่าให้คิดตามสัดส่วนจานวนวันที่เปิดการทาเหมือง หรือประกอบกิจการที่เกี่ยวเนื่องในปีนั้น โดยใช้สูตรคำนวณ ดังนี้ ้ หนา 36 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 53 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 มีนาคม 2566
จำนวนวันที่ ประกอบกิจการมากที่สุด ในปีนั้น X สิบล้านบาท จำนวนวันตามปีในปีนั้น และถ้ามีเงินเข้ากองทุนน้อยกว่าจานวนเงินขั้นต่า จะต้องเพิ่มเงินเข้ากองทุนให้ได้ตามจานวนเงินขั้นต่า ภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป ( 4 ) กรณีที่สิทธิตามประทานบัตรสิ้นสุดลง หากมีแร่คงเหลืออยู่ในเขตเหมืองแร่และได้รับ อนุญาตให้ครอบครองแร่คงเหลือนั้น ให้ผู้รับใบอนุญาตครอบครองแร่ชาระค่าภาคหลวงแร่ตามที่ประเมินได้ และให้นาเงินเข้ากองทุนในอัตราร้อยละสามของค่าภาคหลวงแร่ที่ประเมินได้ในคราวเดียวกัน ( 5 ) กรณีที่สิทธิตามประทานบัตรสิ้นสุดลง แต่ยังประกอบกิจการที่เกี่ยวเนื่องและได้ นำสินแร่ ทองคาที่ได้รับอนุญาตให้ครอบครองตาม (4) มาเป็นวัตถุดิบ ให้นาจานวนเงินที่ได้นาเข้ากองทุน ตาม (4) ไปหักลบออกจากจานวนเงินที่จะต้องนาเข้ากองทุนตามหลักเกณฑ์ (1) ตามจานวนแร่ ที่ใช้จริงในปีนั้นหรือแต่ละปี และหากปีใดได้นำเงินเข้ากองทุนตามจำนวนแร่ที่ ใช้จริงน้อยกว่าสิบล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินขั้นต่า จะต้องเพิ่มเงินเข้ากองทุนให้ได้ตามจำนวนเงินขั้นต่าภายในวันที่ 31 มกราคม ของปีถัดไป ข้อ 9 ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้ยกเว้นไม่ต้องนาเงินเข้ากองทุน ( 1 ) อยู่ในระหว่างการฟื้นฟูพื้นที่ตามแผนการฟื้นฟูพื้นที่เหมืองแ ร่และพื้นที่ประกอบกิจการ ที่เกี่ยวเนื่อง โดยต้องมีความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าผู้ประกอบกิจการได้หยุดการผลิตแร่และ หยุดการประกอบกิจการที่เกี่ยวเนื่องแล้ว ( 2 ) ขอคืนสิทธิตามประทานบัตรทั้งหมดและแจ้งเลิกการประกอบกิจการที่เกี่ยวเนื่อง โดยต้อง มีความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าผู้ประกอบกิจการได้หยุดการผลิตแร่และหยุดการประกอบกิจการ ที่เกี่ยวเนื่องแล้ว (3) ได้รับอนุญาตให้หยุดการทำเหมืองและได้รับอนุญาตให้หยุดการประกอบกิจการ ที่เกี่ยวเนื่องชั่วคราว หมวด 3 คณะกรรมการ ข้อ 10 ให้มีคณะกรรมกา รคณะหนึ่ง เรียกว่า “ คณะกรรมการบริหารจัดการกองทุน ประกันความเสี่ยง ” ซึ่งแต่งตั้งโดยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ประกอบด้วย ( 1 ) อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เป็นประธานกรรมการ ( 2 ) ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทน กรมควบคุมมลพิษ ผู้แทนกรมควบคุมโรค ผู้แทนกรมอนามัย ผู้แทนกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ผู้แทนกรมป่าไม้ ผู้แทนกรมเจ้าท่า ผู้แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นกรรมการ ้ หนา 37 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 53 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 มีนาคม 2566
( 3 ) อุตสาหกรรมจังหวัด ผู้อานวยการสานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด นายแพท ย์สาธารณสุขจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนตาบลหรือนายกเทศมนตรี และกานัน หรือ ผู้ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวมอบหมาย ในท้องที่ที่การประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่ เป็นกรรมการ ( 4 ) ผู้อานวยการสานักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เขตในพื้นที่ ผู้อานวยการ กองวิศวกรรมบริ การ ผู้อานวยการกองบริการงานอนุญาต ผู้อานวยการกองบริหารจัดการวัตถุดิบ อุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือผู้ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวมอบหมาย เป็นกรรมการ ( 5 ) ผู้แทนผู้ประกอบกิจการ จำนวน 1 คน เป็นกรรมการ ( 6 ) ผู้อำนวยการกองบริหารสิ่งแวดล้อม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เป็นกรรมการและเลขานุการ ( 7 ) หัวหน้ากลุ่มประเมินและเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม กองบริหารสิ่งแวดล้อม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ( 8 ) ผู้จัดการกองทุน เป็ นผู้ช่วยเลขานุการ ข้อ 11 ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) บริหารจัดการกองทุน ควบคุม ดูแลการเบิกจ่ายเงิน และอนุมัติโครงการหรือแผนงาน และการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุน ( 2 ) กากับดูแลการจัดทาบัญชีแสดงสถานการณ์รับ - จ่ายเงิน ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งกองทุน ( 3 ) แต่งตั้งผู้จัดการกองทุน ( 4 ) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการมอบหมาย ( 5 ) เชิญบุคคลใดเข้าร่วมประชุม เพื่อให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการประก อบการพิจารณาของคณะกรรมการ ( 6 ) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนตามประกาศนี้ ข้อ 12 ในกรณีที่คณะกรรมการมีความเห็นว่าจำเป็นต้องให้มีผู้ตรวจสอบบัญชีประจำปี เพื่อตรวจสอบบัญชีค่าใช้จ่ายของกองทุน ก็อาจดาเนินการจัดจ้างได้ โดยให้ได้รั บค่าตอบแทนจากเงินกองทุน ทั้งนี้ อัตราค่าตอบแทนให้เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ ข้อ 13 ให้ประธานกรรมการเป็นผู้สั่งเรียกประชุมคณะกรรมการ โดยให้มีการประชุม คณะกรรมการอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี ข้อ 14 ในการประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจานวน กรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่ง ในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอี กหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด ้ หนา 38 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 53 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 มีนาคม 2566
ข้อ 15 ค่าใช้จ่ายในการดาเนินการดังนี้ ให้เบิกจ่ายจากกองทุน ( 1 ) ค่าตอบแทนผู้จัดการกองทุน โดยอัตราค่าตอบแทนให้เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ ( 2 ) ค่าตอบแทนในการประชุมคณะกรรมการ ( 2.1 ) ประธานกรรมการ ครั้งละ 2,000 บาท ( 2.2 ) กรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ ครั้งละ 1,600 บาท ( 3 ) ค่าตอบแทนในการประชุมคณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน ( 3.1 ) ประธานอนุกรรมการ และหัวหน้าคณะทำงาน ครั้งละ 1,250 บาท ( 3.2 ) อนุกรรมการ คณะทำงาน เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ ครั้งละ 1,000 บาท ( 4 ) ค่าอาหาร อาหารว่าง และเครื่องดื่ม รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ในการดาเนินการจัดประชุม ( 5 ) ค่าใช้จ่ายในการเดินทางเข้าร่วมประชุม การเดินทางไปตรวจสอบพื้นที่ที่อนุมัติตามโครงการ หรือแผนงาน หรือเดินทางไปตรวจสอบพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบหรืออาจจะได้รับผลกร ะทบ จากการประกอบกิจการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน (ถ้ามี) ( 6 ) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทุน ทั้งนี้ อัตราค่าใช้จ่ายตาม (4) (5) และ (6) ให้เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ ข้อ 16 ให้ผู้จัดการกองทุนมีหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) ประสานงานทั่วไปและเป็นผู้แทนของกองทุนในการติดต่อประสานงานกับบุคคลภายนอก ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย ( 2 ) จัดการประชุมคณะกรรมการ และจัดทำรายงานการประชุม ( 3 ) จัดทำรายงานสรุปรายรับ - รายจ่ายในการดาเนินงานของกองทุน และจัดทำบัญชีรายงาน สถานะทางการเงินของกองทุน เสนอให้คณะกรรมการและกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ทราบภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป ( 4 ) รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องและรายงานการรับเงินและการจ่ายเงินของกองทุนให้ผู้ตรวจ สอบบัญชีประจำปีในกรณีที่คณะกรรมการมีค วามเห็นให้มีผู้ตรวจสอบบัญชีประจำปี ( 5 ) กรณีที่ผู้ประกอบกิจการไม่นาเงินเข้ากองทุนหรือนาเงินเข้าไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ที่กาหนดไว้ในประกาศนี้ ให้รายงานกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ทราบภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้ตรวจพบ ( 6 ) อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการ มอบหมาย หมวด 4 การเงิน ข้อ 17 ในการจัดตั้งกองทุนให้ผู้ประกอบกิจการเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือ สถาบันการเงินที่จดทะเบียนในประเทศไทยเพื่อเก็บรักษาเงินของกองทุนตามประกาศนี้ ้ หนา 39 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 53 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 มีนาคม 2566
การเปิดบัญชีครั้งแรกต้องไม่ต่ากว่าหนึ่งแสนบาท เพื่อสารองเป็นค่าใช้จ่า ยในการดาเนินการ จัดประชุมของคณะกรรมการ และให้นาไปหักลบกับเงินที่ได้นำเข้ากองทุนในงวดแรกได้ ข้อ 18 ให้ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ที่ได้รับมอบหมายจากประธานกรรมการร่วมกับ กรรมการที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมคณะกรรมการอีก 1 คน เป็นผู้ลงนามร่วมกันในการสั่งจ่ำยเงิน ตามข้อ 15 และตามโครงการหรือแผนงานที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการ หมวด 5 การเลิกกองทุน ข้อ 19 กองทุนจะเลิกได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการในกรณี ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ได้ดาเนินการตามแผนงานบรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุน หรือ ( 2 ) ไม่มีเงินคงเหลือในบัญชีกองทุน แต่ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติตามแผนงานครบถ้วนแล้ว กรณีเลิกกองทุนตาม (1) หากกองทุนยังมีเงินคงเหลือ ให้คณะกรรมการพิจารณานาเงิน ไปสมทบกับกองทุนอื่นตามที่กาหนดไว้ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วยกรอบนโยบายและ แผนยุทธศาสตร์ในการบริ หารจัดการทรัพยากรแร่ทองคาหรือนาเงินมอบให้ชุมชน เพื่อใช้ในกิจกรรม การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เช่น สนับสนุนการศึกษา การสาธารณสุข กิจกรรมเยาวชน การกีฬา การพัฒนาสังคม ตลอดจนการส่งเสริมอาชีพต่าง ๆ เป็นต้น หมวด 6 บทเฉพาะกาล ข้อ 20 บรรดำกองทุนหรือการดาเนินการใดที่มีลักษณะเป็นการจัดตั้งกองทุนซึ่งได้ดาเนินการ มาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนประกาศนี้มีผลใช้บังคับ โดยมีวัตถุประสงค์ในทำนองเดียวกันหรือสอดคล้อง กันกับการจัดตั้งกองทุนตามประกาศนี้ ให้ถือว่ากองทุนหรือการดาเนินการดังกล่าวนั้นเป็นการจั ดตั้ง กองทุนตามประกาศนี้ เมื่อได้รับความเห็นชอบตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ และให้ดาเนินการ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการบริหารจัดการกองทุนตามที่กาหนดไว้ในประกาศนี้ ให้โอนเงินของกองทุนตามวรรคหนึ่งไปเป็นของกองทุนตามประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวา ค ม พ.ศ. 25 6 5 นิรันดร์ ยิ่งมหิศรานนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ้ หนา 40 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 53 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 มีนาคม 2566