ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลฉลุง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2563
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลฉลุง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2563
ขอบัญญัติองคการบริหารสวนตําบลฉลุง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปลอยสัตว พ.ศ. 2563 โดยที่เป็นการสมควรตราขอบัญญัติองคการบริหารองคการบริหารสวนตําบลฉลุง วาด้วยการควบคุม การเลี้ยงหรือปลอยสัตว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติสภาตําบลและองคการบริหารสวนตําบล พ.ศ. 2537 และที่แกไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แกไขเพิ่มเติม องคการบริหารสวนตําบลฉลุง โดยความเห็นชอบของสภาองคการบริหารสวนตําบลฉลุง และนายอําเภอเมืองสตูล จึงตราขอบัญญัติไว ดังต่อไปนี้ ขอ 1 ขอบัญญัตินี้เรียกวา “ ขอบัญญัติองคการบริหารสวนตําบลฉลุง เรื่อง การควบคุม การเลี้ยงหรือปลอยสัตว พ.ศ. 2563 ” ขอ 2 ขอบัญญัตินี้ให้ใชบังคับในเขตองคการบริหารสวนตําบลฉลุง ตั้งแต่วันถัดจาก วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นตนไป ขอ 3 บรรดาขอบัญญัติ กฎ ระเบียบ ขอบังคับ ประกาศ หรือคําสั่งอื่นใดในสวนที่ได้ตราไวแล้ว ซึ่งขัดหรือแยงกับขอบัญญัตินี้ ให้ใชขอบัญญัตินี้แทน ขอ 4 ในขอบัญญัตินี้ “ การเลี้ยงสัตว ” หมายความวา การเลี้ยงสัตวในสถานที่เลี้ยงสัตว “ การปลอยสัตว ” หมายความวา การเลี้ยงสัตวในลักษณะที่มีการปลอยให้อยู่ นอกสถานที่เลี้ยงสัตว รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว “ สถานที่เลี้ยงสัตว ” หมายความวา คอกสัตว กรงสัตว ที่ขังสัตว หรือสถานที่ในลักษณะอื่น ที่ใชในการควบคุมสัตวที่เลี้ยง “ เจ้าของสัตว ” หมายความวา ผู้มีสิทธิเป็นเจ้าของสัตวนั้นรวมถึงผู้ครอบครองสัตวนั้นด้วย “ ที่หรือทางสาธารณะ ” หมายความวา สถานที่หรือทางซึ่งมิใชเป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใชประโยชนหรือใชสัญจรได้ “ ราชการสวนทองถิ่น ” หมายความวา องคการบริหารสวนตําบลฉลุง ้ หนา 80 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 52 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มีนาคม 2566
“ เจ้าพนักงานทองถิ่น ” หมายความวา นายกองคการบริหารสวนตําบลฉลุง “ เจ้าพนักงานสาธารณสุข ” หมายความวา เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก รัฐมนตรีวาการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ขอ 5 เพื่อประโยชนในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดํารงชีพของประชาชน ในทองถิ่นหรือเพื่อปองกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตวให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตหามเลี้ยง หรือปลอยสัตวประเภทชาง ม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ สุนัข หรือสัตวอื่น ๆ โดยเด็ดขาด (1) สถานที่ราชการในการดูแลของราชการสวนทองถิ่น เชน ที่ทําการองคการบริหาร สวนตําบลฉลุง ศูนยพัฒนาเด็กเล็ก เป็นตน (2) สถานที่ราชการหรือหนวยงานราชการอื่นในเขตราชการสวนทองถิ่น เชน โรงเรียน สถานศึกษาของเอกชน โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตําบล เป็นตน (3) ถนนสาธารณะในเขตราชการสวนทองถิ่น (4) ที่สาธารณะ เชน มัสยิด สุเหรา ปาชา กุโบร สุสาน เป็นตน ขอ 6 ให้เขตราชการสวนทองถิ่นเป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปลอยสัตวต้องอยู่ภายใตมาตรการ ดังนี้ (1) สําหรับการเลี้ยงนอยกวา 50 ตัว ต้องมีระยะหางในระยะที่ไม่กอให้เกิดความรําคาญ ต่อชุมชนใกลเคียง (2) สําหรับการเลี้ยงสัตวตั้งแต่ 50 - 500 ตัว ต้องมีระยะหางไม่นอยกวา 500 เมตร จากชุมชนอันเป็นที่อยู่อาศัยและไม่กอให้เกิดความรําคาญต่อชุมชนใกลเคียง (3) สําหรับการเลี้ยงสัตวกวา 500 - 1 , 000 ตัว ต้องมีระยะหางไม่นอยกวา 1 กิโลเมตร จากชุมชนอันเป็นที่อยู่อาศัยและไม่กอให้เกิดความรําคาญต่อชุมชนใกลเคียง (4) สําหรับการเลี้ยงสัตวกวา 1 , 000 ตัวขึ้นไป ต้องมีระยะหางไม่นอยกวา 2 กิโลเมตร จากชุมชนอันเป็นที่อยู่อาศัย และไม่กอให้เกิดความรําคาญต่อชุมชนใกลเคียง ขอ 7 นอกจากการเลี้ยงสัตวตามปกติวิสัยแล้ว เจ้าของสัตวจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตวที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมกับประเภทและชนิดของสัตว และขนาดเพียงพอแกการดํารงชีวิตของสัตว มีแสงสวางและการระบายอากาศที่เพียงพอ มีระบบการระบายน้ํา และบําบัดของเสียที่เกิดขึ้นอยางถูกสุขลักษณะ ้ หนา 81 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 52 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มีนาคม 2566
(2) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตวให้สะอาดอยู่เสมอ โดยจัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ เป็นประจําไม่ปลอยให้เป็นที่สะสมหรือหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกลเคียง (3) เมื่อสัตวตายลงเจ้าของสัตวจะต้องกําจัดซากสัตวและมูลสัตวให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อปองกันมิให้เป็นแหลงเพาะพันธุแมลงหรือสัตวนําโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่กอเหตุรําคาญจากกลิ่น ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปอนของแหลงน้ํา (4) จัดให้มีการสรางเสริมภูมิคุมกันโรคในสัตวเพื่อปองกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว (5) ให้เลี้ยงสัตวภายในสถานที่เลี้ยงสัตวของตน ไม่ปลอยให้สัตวอยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว โดยปราศจากการควบคุม กรณีเป็นสัตวดุรายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเขาไปไม่ถึงตัวสัตว และปายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อยางชัดเจน (6) ไม่นําสัตวเลี้ยงออกนอกสถานที่เลี้ยงสัตวของตน เวนแต่เฉพาะเพื่อการเคลื่อนยาย และได้ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานทองถิ่น (7) ควบคุมดูแลสัตวของตนมิให้กออันตรายหรือเหตุรําคาญแกผู้อื่นหรือไม่กอให้เกิด มลพิษต่อสิ่งแวดลอม (8) ปฏิบัติการอื่นใดตามคําแนะนําของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คําสั่งเจ้าพนักงานทองถิ่น รวมทั้งขอบังคับ ระเบียบ และคําสั่งขององคการบริหารสวนตําบลฉลุง ขอ 8 ในกรณีที่เจ้าพนักงานทองถิ่นพบสัตวในที่หรือทางสาธารณะซึ่งอยู่ในเขตราชการสวนทองถิ่น หรือเขตหามเลี้ยงหรือปลอยสัตวโดยไม่ปรากฏเจ้าของให้เจ้าพนักงานทองถิ่นมีอํานาจกักสัตวดังกลาวไว เป็นเวลาอยางนอยสามสิบวันเมื่อพนกําหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตวคืน ให้สัตวนั้นตกเป็นของราชการสวนทองถิ่นแต่ถาการกักสัตวไวอาจกอให้เกิดอันตรายแกสัตวนั้นหรือสัตวอื่น หรือต้องเสียคาใชจายเกินสมควร เจ้าพนักงานทองถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตวนั้นได้ ตามควรแกกรณีกอนถึงกําหนดเวลาดังกลาวก็ได้เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักคาใชจาย ในการขายหรือขายทอดตลาดและคาเลี้ยงดูสัตวแล้วให้เก็บรักษาไวแทนสัตว ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตวตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตวมาขอรับสัตวคืน ภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตวต้องเป็นผู้เสียคาใชจายสําหรับการเลี้ยงดูสัตว ให้แกราชการสวนทองถิ่น ตามจํานวนที่ได้จายจริงด้วย ้ หนา 82 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 52 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มีนาคม 2566
ในกรณีที่ปรากฏวาสัตวที่เจ้าพนักงานทองถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานทองถิ่นมีอํานาจทําลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ขอ 9 ผู้ใดฝาฝนคําสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามขอบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กําหนดไว ในบทกําหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แกไขเพิ่มเติม ขอ 10 ให้นายกองคการบริหารสวนตําบลฉลุงรักษาการให้เป็นไปตามขอบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจ ออกระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามขอบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ชนะ ยากะจิ นายกองคการบริหารสวนตําบลฉลุง ้ หนา 83 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 52 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มีนาคม 2566