ประกาศกรมประมง เรื่อง มาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง และหลักเกณฑ์ในการออกหนังสือรับรอง พ.ศ. 2566
ประกาศกรมประมง เรื่อง มาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง และหลักเกณฑ์ในการออกหนังสือรับรอง พ.ศ. 2566
ประกาศกรมประมง เรื่อง มาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง และหลักเกณฑ์ในการออกหนังสือรับรอง พ.ศ. 256 6 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 98 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 อธิบดีกรมประมง ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิก ประกาศกรมประมง เรื่อง มาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง และหลักเกณฑ์ในการ ออกหนังสือรับรอง พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 256 3 ข้อ 2 ในประกาศนี้ “ มาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง ” หมายค วามว่า มาตรฐานสุขอนามัยในการดูแล และการเก็บรักษาสัตว์น้ำในเรือประมง “ คำขอ ” หมายความว่า คำขอรับหนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง ตามแบบ สร.1 แนบท้ายประกาศนี้ “ หนังสือรับรอง ” หมายความว่า หนังสือที่กรมประมงออกให้เพื่อรับรองว่าเรือประมงลา นั้น มีมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมงตามแบบ สร.3 แนบท้ายประกาศนี้ “ เจ้าของเรือ ” หมายความว่า ผู้มีกรรมสิทธิ์ในเรือประมง “ เรือประมง ” หมายความว่า เรือประมงพาณิชย์ที่ใช้เครื่องมือประมงในการจับสัตว์น้ำ และเก็บรักษาสัตว์น้ำไว้ในเรือ และให้หมายรวมถึงเรือประมงนอกน่านน้าด้วย “ ผู้มีอานาจลงนาม ” หมายความว่า ผู้อานวยการกองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล ประมงจังหวัด ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเล ภายในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบ “ ผู้ตรวจสอบประเมิน ” หมายความว่า นักวิชาการประมง เจ้าพนักงานประมง หรือ เจ้าพนักงานสื่อสาร สังกัดกองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเล สำนักงาน ประมงจังหวัด กองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้า และปัจจัยการผลิต และบุคคลอื่นที่ได้ขึ้น ทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบประเมินตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกาห นด ซึ่งผ่านการอบรมทางด้านมาตรฐาน สุขอนามัยในเรือประมง ข้อ 3 ผู้ใดจะขอรับหนังสือรับรอง ให้ยื่นคำขอพร้อมแนบและแสดงเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ ( 1 ) กรณีเป็นบุคคลธรรมดา ให้แสดงบัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ ( 2 ) กรณีเป็นนิติบุคคล (ก) ให้แสดงหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนซึ่งมีอายุไม่เกินเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ออกหนังสือรับรอง ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 51 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มีนาคม 2566
(ข) ให้แสดงบัตรประจาตัวประชาชนของกรรมการผู้จัดการ ผู้มีอานาจลงนามผูกพันบริษัท หรือของหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้แทนอื่นใดของนิติบุคคลนั้น แล้ว แต่กรณี ( 3 ) กรณีมอบอานาจให้ผู้อื่นมายื่นคาขอหรือดาเนินการแทนบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ให้แนบหนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ ( 4 ) ให้แสดงทะเบียนเรือไทย ( 5 ) ให้แสดงใบอนุญาตทาการประมงพาณิชย์ หรือใบอนุญาตทาการประมงนอกน่านน้าไทย หรือใบอ นุญาตที่เคยได้รับก่อนหน้านี้ ( 6 ) กรณีเป็นเรือประมงที่ไม่เคยได้รับเอกสารตาม (5) ให้แสดงและแนบเอกสารหลักฐาน ตาม (1) (2) (3) และ (4) ข้อ 4 ผู้ยื่นคำขอต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ต้องเป็นเจ้าของเรือหรือผู้รับมอบอำนาจ ( 2 ) ในกรณีผู้ยื่นคาขอเคยถูกเพิกถอนหนังสือรับรอง จะยื่นคำขอหนังสือรับรองได้ก็ต่อเมื่อได้ ปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง ข้อ 5 สถานที่ในการยื่นคำขอและรับหนังสือรับรอง ( 1 ) ในกรณีที่เรือประมงมีท่าเทียบเรือประมงประจาอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเ ทพมหานครให้ยื่นคาขอ และรับหนังสือรับรองกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กลุ่มตรวจสอบแหล่งประมงและสิ่งแวดล้อมทางทะเล กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กรมประมง ( 2 ) ในกรณีเรือประมงมีท่าเทียบเรือประมงประจาอยู่ท้องที่จังหวัดชายทะเล ให้ยื่นคาขอ และรับหนังสือรับรองกับพนัก งานเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเล ศูนย์บริหารจัดการ ด่านตรวจประมง หรือด่านตรวจประมง สำนักงานประมงจังหวัด หรือสำนักงานประมงอำเภอในท้องที่ ที่เรือประมงนั้นเทียบท่าอยู่ในเขตความรับผิดชอบ ข้อ 6 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคาขอแล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของคาขอ และเอกสารหลักฐานประกอบคำขอนั้น และให้ดาเนินการ ดังนี้ ( 1 ) หากเห็นว่าไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้คืนคาขอกับเอกสารหลักฐานและแจ้งให้ผู้ยื่นคาขอทราบ เพื่อทำการแก้ไขให้ถูกต้องและยื่นใหม่ต่อไป ( 2 ) หากเห็นว่าถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้กา หนดวันนัดตรวจเรือและแจ้งไปยังผู้ตรวจสอบประเมิน เพื่อตรวจประเมินเรือประมงตามแบบประเมินมาตรฐานสุขอนามัยในเรือประมง (แบบ สร. 2 - 1) แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ 7 ให้ผู้ตรวจสอบประเมินเข้าตรวจประเมินเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรฐาน ด้านสุขอนามัยในเรือประมงตามกาหนดวั นและเวลาที่นัดหมาย ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 51 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มีนาคม 2566
ข้อ 8 ในกรณีผู้ตรวจสอบประเมินพิจารณาแล้วเห็นว่าเรือประมงไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ให้ผู้ตรวจสอบประเมินแจ้งข้อบกพร่องให้ผู้ยื่นคำขอทราบตามแบบ สร. 2 - 4 และนัดตรวจใหม่ภายใน ระยะเวลาที่ผู้ตรวจประเมินกับผู้ยื่นคาขอตกลงกันไว้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินเจ็ดสิบห้าวันนับแต่วันที่ยื่นคาขอ ข้อ 9 ให้ผู้ตรวจสอบประเมินสรุปผลการตรวจสอบประเมินตามแบบ สร. 2 - 2 แนบท้าย ประกาศนี้ และเสนอต่อผู้มีอำนาจลงนามโดยเร็ว แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวันทำการนับแต่วันตรวจประเมิน แล้วเสร็จ กรณีผลการประเมินเป็นไปตามมาตรฐำน ให้ผู้ตรวจประเมินจัดทาหนังสือรับรองตามแบบ สร. 3 แนบท้ายประกาศนี้ เสนอผู้มีอำนาจลงนาม กรณีผลการประเมินไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ให้ผู้ตรวจสอบประเมินจัดทาหนังสือแจ้งผล การไม่ผ่านการประเมินเสนอผู้มีอำนาจลงนาม และแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบตามแบบ สร. 2 - 3 หนังสือรับรองที่ออกให้ตามประกาศนี้ให้สิ้นอายุพร้อมกับใบอนุญาตทาการประมงพาณิชย์ หรือใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำไทยที่ได้รับอนุญาต ข้อ 10 กรมประมงกาหนดเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ใด เพื่อติดไว้ที่เรือประมงที่ได้รับ การรับรองมาตรฐานนั้น ข้อ 11 ให้เจ้าของเรือที่ประสงค์จะขอหนังสือรับรองฉบับใหม่ยื่นคาขอรับหนังสือรับรอง ก่อนหนังสือรับรองฉบับเดิมสิ้นอายุเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน และแนบสำเนาหนังสือรับรองฉบับเดิม พร้อมนำเรือประมงมาเข้ารับการตรวจประเมิน ตามแบบ สร. 2 - 1 แนบท้ายประกาศนี้ เมื่อไ ด้ยื่นคาขอรับหนังสือรับรองภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่งแล้ว กรณีที่ผู้ตรวจสอบ ประเมินเข้าตรวจประเมินเรือประมงและผลการประเมินผ่านมาตรฐาน ให้ผู้ตรวจสอบประเมินเสนอ ผู้มีอานาจลงนามออกหนังสือรับรองฉบับใหม่ ทั้งนี้ ให้ถือว่าหนังสือรับรองฉบับเดิมยังคงมีผลใช้ได้ต่อ ไป จนกว่าหนังสือรับรองฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ ในการขอหนังสือรับรองฉบับใหม่ ให้นำความในข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9 มาใช้บังคับกับการยื่นขอหนังสือรับรองฉบับใหม่โดยอนุโลม เว้นแต่กรมประมงเห็นควร ยกเว้นวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในข้อใดเพื่อความสะดวก ข้อ 12 ให้ผู้ตรวจสอบประเมินตรวจประเมินเรือประมงที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ณ ท่าเทียบเรือประมง ทุกครั้งที่มีการสั่งตรวจเรือประมงที่มีการแจ้งเข้าออกท่าเทียบเรือประมง สำหรับเรือที่ไม่ไ ด้แจ้งเข้าออกท่าเทียบเรือประมง ให้ตรวจสอบประเมินอย่างน้อยปีละสองครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเรือประมงยังคงรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ 13 เจ้าของเรือต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ดูแลรักษาเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือปร ะมง ( 2 ) ยินยอมให้ผู้ตรวจสอบประเมินเข้าไปในเรือประมง สำหรับทำการตรวจติดตามประเมินผล เพื่อรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานของการรับรองตามประกาศนี้ ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 51 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มีนาคม 2566
( 3 ) อานวยความสะดวกแก่ผู้ตรวจสอบประเมินในการเข้าถึง อุปกรณ์ เครื่องมือประมง สัตว์น้ำ ที่เก็บสัตว์น้ำพื้นที่หรือส่วนต่าง ๆ บนเรือ เครื่องมือสื่อสารหรือวิทยุโทรคมนาคมบนเรือ ข้อมูล และเอกสารเกี่ยวกับเรือประมง ( 4 ) ไม่รบกวน ก้าวก่ายหรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบประเมิน ( 5 ) อานวยความสะดวกตามสมควรแก่ผู้ตรวจสอบประเมิน ในการติดตามต รวจสอบประเมินผล เพื่อรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานของการรับรองตามประกาศนี้ ( 6 ) ให้ข้อมูลและเอกสารเกี่ยวกับเรือประมงที่ได้รับหนังสือรับรอง เมื่อผู้ตรวจสอบประเมินร้องขอ ( 7 ) ปฏิบัติตามคาแนะนำของผู้ตรวจสอบประเมิน ( 8 ) ให้นำเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่กรมประมงออกให้เพื่ อแสดงว่าเรือผ่านการตรวจ ประเมินปิดไว้บริเวณด้านหน้าเก๋งเรือ กรณีเรือไม่มีเก๋งให้ปิดไว้ในตาแหน่งที่เหมาะสม และสามารถ มองเห็นได้ชัดเจน ข้อ 14 เมื่อผู้ตรวจสอบประเมินตรวจพบว่าเจ้าของเรือที่ได้หนังสือรับรองมิได้ปฏิบัติ ตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมงแนบท้ายประกาศนี้ ให้มีหนังสือแจ้งเตือนผู้นั้น ให้ปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง โดยกำหนดระยะเวลาในการปรับปรุงแก้ไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ กรณีเจ้าของเรือที่ได้รับหนังสือรับรองไม่ปรับปรุงแก้ไข หรือปรับปรุงไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ภำยในระยะเวลาที่กาหนด ให้ผู้ตรวจสอบประเมินรายงานต่อผู้มีอานาจลงนามเพื่อสั่งพักใช้หนังสือ รับรองเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ข้อ 15 ให้ผู้ตรวจสอบประเมินรายงานต่อผู้มีอานาจลงนามเพื่อสั่งเพิกถอนหนังสือรับรอง ในกรณี ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ผู้ได้รับหนังสือรับรองเค ยถูกพักใช้หนังสือรับรองมาแล้วหนึ่งครั้ง และยังตรวจพบว่า มิได้ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง ( 2 ) เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบภายหลังว่าเอกสารหลักฐานซึ่งผู้ได้รับหนังสือรับรองนามายื่น ตามประกาศนี้เป็นเอกสารปลอม ข้อ 16 หลักเกณฑ์การประเมินเพื่ออ อกหนังสือรับรอง เป็นไปตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ 17 ในกรณีเรือประมงที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือใบอนุญาตทาการ ประมงนอกน่านน้าไทย หรือได้รับใบอนุญาตทาการประมงแล้วแต่ไม่สามารถออกทาการประมงได้ ให้ได้รับยกเว้นการตรวจประเมินตามรายการมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมงแนบท้ายประกาศนี้ ในข้อ 3.1 ข้อ 3.2 ข้อ 3.3 ข้อ 3.4 ข้อ 3.5 ข้อ 4.1 ข้อ 4.3 ข้อ 5.2 ข้อ 5.3 ข้อ 5.4 ข้อ 5.5 ข้อ 5. 6 และข้อ 5.7 สาหรับเรือประมงที่มีเครื่องทาความเย็ น ให้ได้รับยกเว้นการตรวจประเมิน ตามรายการข้อ 6.2 เรือประมงที่ผ่านการตรวจประเมินตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับหนังสือรับรอง (สร.3 ฉบับชั่วคราว) ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 51 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มีนาคม 2566
ข้อ 18 เจ้าของเรือประมงที่ได้รับหนังสือรับรอง (สร.3 ฉบับชั่วคราว) ตามข้อ 17 ต้องนา เรือประมงที่มีสัตว์น้ามารับการตรวจประเมินมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมงอีกครั้งภายในเก้าสิบวัน หลังจากได้รับใบอนุญาตทำการประมง สำหรับเรือประมงนอกน่านน้ำไทย ให้ดำเนินการเมื่อมี การขนถ่ายสัตว์น้ำในครั้งแรกหรือเมื่อนำสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง หากไม่ นำเรือประมงมารับการตรวจประเมินภายในกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้หนังสือ รับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยฉบับชั่วคราวสิ้นสภาพ ข้อ 19 หนังสือรับรองที่ได้ออกให้ตามประกาศกรมประมง เรื่อง มาตรฐานด้านสุขอนามัย ในเรือประมง และหลักเกณฑ์ในการออกหนังสือรับรอง พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 256 3 ที่ยังไม่สิ้นอายุ ให้สิ้นอายุพร้อมกับใบอนุญาตทาการประมงพาณิชย์หรือใบอนุญาต ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย แล้วแต่กรณี ในกรณีที่หนังสือรับรองตามวรรคหนึ่งสิ้นอายุก่อน 31 มีนาคม 2567 ให้นาความในข้อ 14 และข้อ 15 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ 20 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 256 6 เฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 51 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มีนาคม 2566
แบบ สร . 1 ลําที่ …/ ปี … แบบคําขอหนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง เขียนที่ … วันที่ … เดือน … พ . ศ … ข้าพเจ้า … อายุ … ปี สัญชาติ … มีภูมิลําเนาอยู่บ้านเลขที่ … หมู่ที่ … ตําบล … อําเภอ … จังหวัด … โทร … ขอยื่นแบบคําขอในฐานะส่วนตัว หรือนิติบุคคลชื่อ … ซึ่งมีสํานักงานอยู่ ( อาคาร )… เลขที่ … หมู่ที่ … ตําบล … อําเภอ … จังหวัด … ในฐานะเจ้าของเรือ / ผู้รับมอบอํานาจ เรือประมง … เลขทะเบียนเรือ … ขอยื่นคําร้องต่อ ( ชื่อหน่วยงาน )… เพื่อขอหนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมงพร้อมนี้ได้ยื่นเอกสารหลักฐานประกอบแบบคําขอ ดังต่อไปนี้ 1. บัตรประจําตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ ในกรณีเป็นบุคคลธรรมดา 2. หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ซึ่งมีอายุไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันที่ออก หนังสือรับรอง บัตรประจําตัวประชาชนของกรรมการผู้จัดการ ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท หรือของหุ้นส่วน ผู้จัดการ หรือผู้แทนอื่นใดของนิติบุคคลนั้น แล้วแต่กรณี ในกรณีเป็นนิติบุคคล 3. ใบทะเบียนเรือไทยและใบอนุญาตใช้เรือ 4. ใบอนุญาตทําการประมงพาณิชย์ หรือใบอนุญาตทําการประมงนอกน่านน้ําไทย หรือใบอนุญาต ที่เคยได้รับก่อนหน้านี้ 5. กรณีมอบอํานาจให้ผู้อื่นมายื่นคําขอ หรือดําเนินการแทน ให้แนบเอกสารหลักฐานต่อไปนี้ด้วย 5.1 หนังสือมอบอํานาจ 5.2 สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้มอบอํานาจ 6. หนังสือรับรองฉบับเดิมในกรณีที่เรือเคยผ่านการตรวจรับรองมาแล้ว ข้าพเจ้า … หรือนิติบุคคลชื่อ … ตกลงและยินยอมปฏิบัติตามกฎหมาย กฎกระทรวง ประกาศที่เกี่ยวกับการนี้ และเงื่อนไขตามที่กําหนดไว้ในหนังสือ รับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมงอย่างถูกต้องครบถ้วนทุกประการ ( ลายมือ )… ผู้ยื่นคําขอ (…) หมายเหตุ ขีดฆ่าข้อความที่ไม่ถูกต้อง
แบบ สร . 2 - 1 ( หน้า 1/3) เลข สร .1 ลําที่ …/ ปี … แบบประเมินมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง รายการตรวจประเมิน ผ่าน ไม่ผ่าน ข้อบกพร่องที่พบ 1 ด้านโครงสร้างของเรือประมง 1.1 ห้องเก็บรักษาสัตว์น้ําต้องอยู่ในสภาพดี สะอาด มีขนาดเหมาะสม เพียงพอ ในกรณีขอรับหนังสือรับรอง ( สร . 3 ฉบับชั่วคราว ) ต้องมี เครื่องยนต์พร้อมใช้งานอยู่ในเรือประมง 1.2 มีโครงสร้างอย่างเหมาะสมโดยมีส่วนที่เป็นซอกเป็นมุมน้อยที่สุด เพื่อให้ง่ายต่อการรักษาความสะอาด 1.3 พื้นที่ปฏิบัติงานและห้องเก็บรักษาสัตว์น้ําออกแบบอย่างเหมาะสม ถูกสุขลักษณะ และไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน โดยต้องแยกจากส่วน ที่เป็นเครื่องยนต์ของเรือ และที่พักอาศัยของลูกเรืออย่างชัดเจน 1.4 มีพื้นที่เพียงพอและเหมาะสมสําหรับการรับวัตถุดิบ การคัดเลือก การขนถ่าย และเก็บรักษาสัตว์น้ํา กับทั้งสามารถเก็บอุปกรณ์ หรือ ภาชนะที่ใช้เก็บรักษาสัตว์น้ํา เพื่อมิให้สัตว์น้ําถูกเก็บอย่างทับถมกัน หนาแน่น 1.5 พื้นที่ผิวของบริเวณที่ปฏิบัติงาน และห้องเก็บรักษาสัตว์น้ํา ทําจากวัสดุผิวเรียบที่สามารถทําความสะอาดได้ง่าย กรณีทาสี ต้องดูแลไม่ให้สีหลุดร่อน สีที่ใช้ต้องคงทนและไม่เป็นพิษ 1.6 พื้นที่ปฏิบัติงานและห้องเก็บรักษาสัตว์น้ํา ต้องทําความสะอาด ทุกครั้งหลังการใช้งานด้วยน้ําสะอาด ต้องไม่มีสัตว์เลี้ยงในเรือ และมีการควบคุม ป้องกัน กําจัดหนู แมลงสาบ และสัตว์อื่น ๆ 1.7 จัดพื้นที่บริเวณเฉพาะสําหรับเก็บขยะ เศษอาหาร และเศษสัตว์น้ํา ที่เหลือให้เป็นสัดส่วนมีฝาปิดมิดชิด แยกออกจากบริเวณพื้นที่ ปฏิบัติงาน 2 ด้านวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือในเรือประมง 2.1 วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ล้างทําความสะอาดแล้วต้องมีที่เก็บ อย่างเหมาะสม สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อน โดยเฉพาะ พื้นผิวที่ต้องสัมผัสกับสัตว์น้ํา 2.2 วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือทุกชนิดที่สัมผัสกับสัตว์น้ําต้องทําจาก วัสดุที่มีผิวเรียบ ไม่มีรอยแตก ทําความสะอาดง่าย ไม่ดูดซับน้ํา และไม่เป็นสนิม 2.3 วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือทุกชนิดต้องออกแบบให้เหมาะสม กับการใช้งานและสะดวกในการรักษาความสะอาด
แบบ สร . 2 - 1 ( หน้า 2/3) เลข สร .1 ลําที่ …/ ปี … แบบประเมินมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง รายการตรวจประเมิน ผ่าน ไม่ผ่าน ข้อบกพร่องที่พบ 2.4 วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือทุกชนิดต้องล้าง ทําความสะอาด ทุกครั้งหลังการใช้งานด้วยน้ําสะอาด 2.5 ภาชนะที่บรรจุสัตว์น้ํามีสภาพแข็งแรง น้ําหนักเบา และสามารถ รับน้ําหนักได้ในกรณีที่ต้องวางภาชนะซ้อนกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ ภาชนะกดทับสัตว์น้ํา 2.6 ภาชนะที่บรรจุสัตว์น้ําควรมีรูหรือช่องระบายน้ําได้ดี เช่น ภาชนะ พลาสติก 3 ด้านบุคลากรประจําเรือ 3.1 บุคลากรที่ปฏิบัติงานในเรือต้องมีสุขภาพดี ไม่เป็นโรคติดต่อ ร้ายแรง ไม่เป็นพาหะของโรคทางเดินอาหาร และไม่มีแผลเปิดหรือ แผลติดเชื้อ 3.2 ผ่านการฝึกอบรมเรื่องสุขอนามัยที่ควรปฏิบัติในเรือประมง 3.3 ล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนและหลังการปฏิบัติงานทุกครั้ง รวมทั้ง ในระหว่างการปฏิบัติงานตามความเหมาะสม และทุกครั้งหลังการใช้สุขา 3.4 เสื้อผ้าที่ใส่ทํางานต้องสะอาด และเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน 3.5 ไม่รับประทานอาหารหรือสูบบุหรี่ขณะปฏิบัติงานไม่ไอหรือจาม ใส่สัตว์น้ํา 4 ด้านน้ําจืดที่ใช้ในเรือและน้ําแข็งสําหรับเก็บรักษาสัตว์น้ํา 4.1 น้ําจืด และน้ําแข็งที่ใช้สําหรับเก็บรักษาสัตว์น้ําต้องทําจาก น้ําที่สะอาด และเพียงพอกับการใช้งาน 4.2 สถานที่เก็บ และภาชนะที่บรรจุน้ําจืด และน้ําแข็งต้องอยู่ ในสภาพดี สะอาด ถูกสุขลักษณะ ทําด้วยวัสดุปลอดสนิม และ ทําความสะอาดได้ง่าย 4.3 มีการลําเลียง ขนถ่ายน้ําจืดและน้ําแข็งอย่างถูกสุขลักษณะ 4.4 ภาชนะที่บรรจุน้ําจืดและน้ําแข็งต้องมีฝาปิดมิดชิด 5 ด้านการเก็บรักษาสัตว์น้ํา 5.1 น้ํายาทําความสะอาด น้ํายาฆ่าเชื้อ และยาฆ่าแมลง ต้องเก็บแยก ในสถานที่ที่เป็นสัดส่วนถูกสุขลักษณะ และควบคุมไม่ให้มีโอกาส ปนเปื้อนในสัตว์น้ําได้ 5.2 เก็บ บรรจุสัตว์น้ําในภาชนะบรรจุที่แข็งแรง สะอาด และไม่ซ้อนทับ จนทําให้สัตว์น้ําเสียหาย
แบบ สร . 2 - 1 ( หน้า 3/3) เลข สร .1 ลําที่ …/ ปี … แบบประเมินมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง รายการตรวจประเมิน ผ่าน ไม่ผ่าน ข้อบกพร่องที่พบ 5.3 เก็บรักษาสัตว์น้ําหลังจากการจับด้วยวิธีการที่เหมาะสมโดยเร็ว ที่สุด หากเป็นการแช่เย็นหรือแช่แข็ง ต้องรักษาอุณหภูมิของสัตว์น้ํา ให้ได้ความเย็นอย่างสม่ําเสมอ 5.4 เก็บรักษาสัตว์น้ําอย่างถูกสุขลักษณะ และรักษาอุณหภูมิของ สัตว์น้ําให้ใกล้เคียง 0 องศาเซลเซียส สําหรับสัตว์น้ําสด และใกล้เคียง -18 องศาเซลเซียส สําหรับสัตว์น้ําแช่เยือกแข็ง 5.5 วางหรือเก็บรักษาสัตว์น้ําในที่เหมาะสม หากเป็นการแช่เย็น หรือแช่แข็ง ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสความร้อนจากแสงแดด หรือความร้อนอื่น ๆ 5.6 มีบันทึกรายละเอียดของแหล่งจับหรือแหล่งที่มาของสัตว์น้ํา พร้อมเก็บไว้เพื่อการตรวจสอบ 5.7 ขนถ่ายสัตว์น้ําอย่างถูกสุขลักษณะ โดยหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่สัตว์น้ํา 6 กรณีเรือประมงมีเครื่องทําความเย็น 6.1 ห้องเย็นเก็บรักษาสัตว์น้ําต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิไม่สูงกว่า -18 องศาเซลเซียส และติดตั้งเทอร์โมมิเตอร์ หรืออุปกรณ์บันทึก อุณหภูมิ อย่างต่อเนื่องอัตโนมัติ 6.2 กระบวนการแช่แข็งต้องมีประสิทธิภาพที่จะลดอุณหภูมิของ สัตว์น้ําได้อย่างทั่วถึง และอุณ หภูมิใจกลางสัตว์น้ําไม่สูงกว่า -18 องศาเซลเซียส
แบบ สร . 2 - 2 แบบสรุปผลการตรวจสอบประเมินมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง สถานที่ … วันที่ … เดือน … พ . ศ … หน่วยงาน : … เลข สร .1 : … ชื่อเรือ : … เลขทะเบียนเรือ : … ขนาดของเรือ : … ตันกรอส ขนาดความยาวเรือ : … เมตร เครื่องหมายประจําเรือ : … เลขที่ใบอนุญาตทําการประมง : … ชนิดเครื่องมือทําการประมง : … ชื่อเจ้าของเรือ : … ที่อยู่ : … … โทร : … ชื่อผู้ให้ข้อมูล : … ตําแหน่ง : … ที่อยู่ : … … โทร : … เวลาที่เริ่มตรวจ : … เวลาที่ตรวจเสร็จ : … หมายเลขใบแจ้งปรับปรุงที่ : … ผลการตรวจประเมินพบว่า มาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมประมง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมประมง โดยมีข้อบกพร่องที่ต้องปรับปรุงแก้ไขตามรายงานที่แนบมาพร้อม เอกสารนี้ ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมประมง โดยไม่ผ่าน … ข้อหลัก และไม่ผ่าน … ข้อย่อย ตามรายงานที่แนบมาพร้อมเอกสารนี้ ชื่อผู้ตรวจสอบประเมิน : … หน่วยงาน : … โทร : … ลายมือชื่อผู้ตรวจสอบประเมิน : … ลายมือชื่อผู้ให้ข้อมูล : … (…) (…)
แบบ สร . 2 - 3 แบบรายงานข้อบกพร่องในการตรวจประเมิน ชื่อเรือ : … เลขทะเบียนเรือ : … เครื่องหมายประจําเรือ : … ชนิดเครื่องมือทําการประมง :… ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมประมง จํานวน … ข้อหลัก และ … ข้อย่อย ดังต่อไปนี้ รายการตรวจประเมิน ข้อบกพร่องที่พบ หมายเหตุ ผู้ตรวจสอบประเมิน : … (…)
แบบ สร . 2 - 4 แบบรายงานให้แก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องในการตรวจประเมิน หน่วยงาน … ตรวจประเมินครั้งที่ … ตรวจติดตามครั้งที่ … ชื่อเรือ :… เลขทะเบียนเรือ … หมายเลขหนังสือรับรอง ( สร .3) :… วันที่ตรวจ :… ข้อบกพร่องที่ตรวจพบ การดําเนินการแก้ไขปรับปรุง กําหนดการเสร็จสิ้น ผู้ตรวจสอบ : (…) ผู้ยื่นคําขอ : (…)
แบบ สร . 3 Certification number AABBCCDDDD หนังสือรับรองเลขที่ AABBCCDDDD กรมประมง (Department of Fisheries) หนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง (Certificate of Sanitary Fishing Vessel) หนังสือรับรองฉบับนี้ให้แก่เรือ ชื่อ … ทะเบียนเรือเลขที่ … ชื่อเจ้าของเรือ … ที่อยู่เจ้าของเรือ … … เพื่อแสดงว่าเป็นเรือประมงที่ผ่านมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง (This is to certify that fishing boat mentioned above is maintained under standard on sanitary fishing vessel) (…) ตําแหน่ง … วันที่ออกใบรับรอง … มีผลตั้งแต่วันที่ … วันที่หมดอายุ …
แบบ สร . 3 Certification number AABBCCDDDD ( ช ) หนังสือรับรองเลขที่ AABBCCDDDD ( ช ) กรมประมง (Department of Fisheries) หนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง (Certificate of Sanitary Fishing Vessel) หนังสือรับรองฉบับนี้ให้แก่เรือ ชื่อ … ทะเบียนเรือเลขที่ … ชื่อเจ้าของเรือ … ที่อยู่เจ้าของเรือ … … เพื่อแสดงว่าเป็นเรือประมงที่ผ่านมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง (This is to certify that fishing boat mentioned above is maintained under standard on sanitary fishing vessel) (…) ตําแหน่ง … วันที่ออกใบรับรอง … มีผลตั้งแต่วันที่ … วันที่หมดอายุ …
หลักเกณฑ์ในการประเมินเรือประมงเพื่ออกหนังสือรับรอง กรณีเรือประมงพาณิชย์ และเรือประมงนอกน่านน้ํา รายการตรวจประเมินมีทั้งหมด 29 ข้อ โดยต้องผ่าน 5 ข้อหลัก ดังต่อไปนี้ 1. ข้อที่ 1.1 ห้องเก็บรักษาสัตว์น้ําต้องอยู่ในสภาพดี สะอาด มีขนาดเหมาะสมเพียงพอ และมีเครื่องยนต์พร้อมใช้งาน ( กรณีรับหนังสือรับรองชั่วคราว ) 2. ข้อที่ 2.1 วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ล้างทําความสะอาดแล้วต้องมีที่เก็บอย่างเหมาะสม สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อน โดยเฉพาะพื้นผิวที่ต้องสัมผัสกับสัตว์น้ํา 3. ข้อที่ 3.1 บุคลากรที่ปฏิบัติงานในเรือต้องมีสุขภาพดี ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ไม่เป็นพาหะของ โรคทางเดินอาหาร และไม่มีแผลเปิดหรือแผลติดเชื้อ 4. ข้อที่ 4.1 น้ําจืด และน้ําแข็งที่ใช้สําหรับเก็บรักษาสัตว์น้ํา ต้องทําจากน้ําสะอาด และเพียงพอกับ การใช้งาน 5. ข้อที่ 5.1 น้ํายาทําความสะอาด น้ํายาฆ่าเชื้อ และยาฆ่าแมลง ต้องเก็บแยกในสถานที่ที่เป็น สัดส่วนถูกสุขลักษณะ และควบคุมไม่ให้มีโอกาสปนเปื้อนกับสัตว์น้ําได้ ทั้งนี้ ต้องผ่านอีกอย่างน้อย 13 ข้อ จาก 24 ข้อที่เหลือ รวมทั้งหมดต้องผ่านอย่างน้อย 18 ข้อ จึงจะได้หนังสือรับรองฯ ( สร .3) กรณีเรือประมงพาณิชย์และเรือประมงนอกน่านน้ําที่มีเครื่องทําความเย็น รายการตรวจประเมินมีทั้งหมด 31 ข้อ โดยต้องผ่าน 5 ข้อหลัก ดังต่อไปนี้ 1. ข้อที่ 1.1 ห้องเก็บรักษาสัตว์น้ําต้องอยู่ในสภาพดี สะอาด มีขนาดเหมาะสมเพียงพอ และมีเครื่องยนต์พร้อมใช้งาน ( กรณีรับหนังสือรับรองชั่วคราว ) 2. ข้อที่ 2.1 วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ล้างทําความสะอาดแล้วต้องมีที่เก็บอย่างเหมาะสม สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อน โดยเฉพาะพื้นผิวที่ต้องสัมผัสกับสัตว์น้ํา 3. ข้อที่ 3.1 บุคลากรที่ปฏิบัติงานในเรือต้องมีสุขภาพดี ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ไม่เป็นพาหะของ โรคทางเดินอาหาร และไม่มีแผลเปิดหรือแผลติดเชื้อ 4. ข้อที่ 5.1 น้ํายาทําความสะอาด น้ํายาฆ่าเชื้อ และยาฆ่าแมลง ต้องเก็บแยกในสถานที่ที่เป็น สัดส่วนถูกสุขลักษณะ และควบคุมไม่ให้มีโอกาสปนเปื้อนกับสัตว์น้ําได้ 5. ข้อที่ 6.1 ห้องเย็นเก็บรักษาสัตว์น้ําต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิไม่สูงกว่า -18 องศาเซลเซียส และติดตั้งเทอร์โมมิเตอร์หรืออุปกรณ์บันทึกอุณหภูมิ อย่างต่อเนื่องอัตโนมัติ ทั้งนี้ ต้องผ่านอีกอย่างน้อย 14 ข้อ จาก 26 ข้อที่เหลือ รวมทั้งหมดต้องผ่านอย่างน้อย 19 ข้อ จึงจะได้หนังสือรับรองฯ ( สร .3) กรณีเรือประมงพาณิชย์ และเรือประมงนอกน่านน้ําที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตการประมง หรือมีใบอนุญาตแต่ ไม่สามารถออกทําการประมงได้ รายการตรวจประเมินมีทั้งหมด 16 ข้อ โดยต้องผ่าน 3 ข้อหลัก ดังต่อไปนี้ 1. ข้อที่ 1.1 ห้องเก็บรักษาสัตว์น้ําต้องอยู่ในสภาพดี สะอาด มีขนาดเหมาะสมเพียงพอ และมีเครื่องยนต์พร้อมใช้งาน ( กรณีรับหนังสือรับรองชั่วคราว ) 2. ข้อที่ 2.1 วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ล้างทําความสะอาดแล้วต้องมีที่เก็บอย่างเหมาะสม สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อน โดยเฉพาะพื้นผิวที่ต้องสัมผัสกับสัตว์น้ํา 3. ข้อที่ 5.1 น้ํายาทําความสะอาด น้ํายาฆ่าเชื้อ และยาฆ่าแมลง ต้องเก็บแยกในสถานที่ที่เป็น สัดส่วนถูกสุขลักษณะ และควบคุมไม่ให้มีโอกาสปนเปื้อนกับสัตว์น้ําได้ ทั้งนี้ ต้องผ่านอีกอย่างน้อย 7 ข้อ จาก 1 3 ข้อที่เหลือ รวมทั้งหมดต้องผ่านอย่างน้อย 10 ข้อ จึงจะได้หนังสือรับรองฯ ( สร .3 ฉบับชั่วคราว )
กรณีเรือประมงพาณิชย์และเรือประมงนอกน่านน้ําที่มีเครื่องทําความเย็นยังไม่ได้รับใบอนุญาตการประมง หรือมีใบอนุญาตแต่ไม่สามารถออกทําการประมงได้ รายการตรวจประเมินมีทั้งหมด 17 ข้อ โดยต้องผ่าน 4 ข้อหลัก ดังต่อไปนี้ 1. ข้อที่ 1.1 ห้องเก็บรักษาสัตว์น้ําต้องอยู่ในสภาพดี สะอาด มีขนาดเหมาะสมเพียงพอ และมีเครื่องยนต์พร้อมใช้งาน ( กรณีรับหนังสือรับรองชั่วคราว ) 2. ข้อที่ 2.1 วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ล้างทําความสะอาดแล้วต้องมีที่เก็บอย่างเหมาะสม สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อน โดยเฉพาะพื้นผิวที่ต้องสัมผัสกับสัตว์น้ํา 3. ข้อที่ 5.1 น้ํายาทําความสะอาด น้ํายาฆ่าเชื้อ และยาฆ่าแมลง ต้องเก็บแยกในสถานที่ที่เป็น สัดส่วนถูกสุขลักษณะ และควบคุมไม่ให้มีโอกาสปนเปื้อนกับสัตว์น้ําได้ 4. ข้อที่ 6.1 ห้องเย็นเก็บรักษาสัตว์น้ําต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิไม่สูงกว่า -18 องศาเซลเซียส และติดตั้งเทอร์โมมิเตอร์หรืออุปกรณ์บันทึกอุณหภูมิ อย่างต่อเนื่องอัตโนมัติ ทั้งนี้ ต้องผ่านอีกอย่างน้อย 7 ข้อ จาก 1 3 ข้อที่เหลือ รวมทั้งหมดต้องผ่านอย่างน้อย 11 ข้อ จึงจะได้หนังสือรับรองฯ ( สร .3 ฉบับชั่วคราว )