ระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2565
ระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2565
ระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (9) และมาตรา 41 (9) แห่งพระราชบัญญัติ สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 และมาตรา 13 วรรคสี่ และมาตรา 20 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 ประกอบกับมติที่ประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2565 สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมแห่งชาติ และคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงวางระเ บียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมแห่งชาติ และคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ว่าด้วยการอุทธรณ์ และการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2565 ” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในระเบียบนี้ “ ผู้อุทธรณ์ ” ให้หมายความรวมถึงบุคคลผู้บรรลุนิติภาวะซึ่งได้รับมอบหมายให้อุทธรณ์ แทนผู้มีสิทธิอุทธรณ์ “ ผู้มีอานาจวินิจฉัยอุทธรณ์ ” หมายความว่า ผู้อานวยการสานักงาน คณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ แล้วแต่กรณี “ สำนักงาน ” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม “ สำนักงานสภานโยบาย ” หมายความว่า สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 50 ง ราชกิจจานุเบกษา 3 มีนาคม 2566
ข้อ 4 ผู้มีสิทธิอุทธรณ์อาจอุทธรณ์ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคาสั่งหรือได้รับการแจ้ง เป็นลายลักษณ์อักษร กรณีอันเป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์ ข้อ 5 ในกรณีที่ผู้มีสิทธิอุทธรณ์ถึงแก่ความตายก่อนใช้สิทธิอุทธรณ์ ทายาทของผู้มีสิทธิอุทธรณ์ มีสิทธิอุทธรณ์แทนได้ ข้อ 6 การอุทธรณ์ให้อุทธรณ์ต่อผู้มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ ดังต่อไปนี้ (1) ผู้อำนวยการสำนักงาน สำหรับการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองที่ออกโดยพนักงานสำนักงาน (2) คณะกรรมการ สำหรับการอุทธรณ์เกี่ยวกับการขอขยายระยะเวลาการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย และนวัตกรรมตามมาตรา 13 หรือคำ สั่งทางปกครองที่ออกโดยผู้อำนวยการสำนักงาน (3) สภานโยบาย สาหรับการอุทธรณ์เกี่ยวกับการขออนุญาตใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและ นวัตกรรมโดยบุคคลภายนอกตามมาตรา 20 ในกรณีอุทธรณ์ต่อผู้อานวยการสานักงานและคณะกรรมการ ให้ยื่นคาอุทธรณ์ต่อสานักงาน และในกรณีอุทธรณ์ต่อสภานโยบาย ให้ยื่นต่อสำนักงานสภานโยบาย ข้อ 7 คำอุทธรณ์ต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร ใช้ถ้อยคำสุภาพ และอย่างน้อยต้องมี รายละเอียด ดังต่อไปนี้ (1) วัน เดือน ปี ที่ยื่นอุทธรณ์ (2) ชื่อและที่อยู่ของผู้อุทธรณ์ (3) คำสั่ง คำวินิจฉัย หรือการกระทำอื่นใด ที่เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์ พร้อมทั้งข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้งหรือข้อกฎหมาย และเหตุผลที่ยกขึ้นอ้างอิง (4) ความประสงค์หรือคาขอของผู้อุทธรณ์ (5) ลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์ ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ประสงค์จะยื่นเอกสารหรือหลักฐานประกอบการพิจารณาคำอุทธ รณ์ ให้ผู้อุทธรณ์ ยื่นพร้อมคำอุทธรณ์ ข้อ 8 การยื่นคาอุทธรณ์จะยื่นโดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ตอบรับหรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามที่สานักงานและสานักงานสภานโยบายร่วมกันกาหนดก็ได้ และให้ถือว่าวันที่ที่ทาการไปรษณีย์รับฝากส่ง หรือวันที่คาขออุทธรณ์ได้เข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงาน เป็นวันยื่นอุทธรณ์ เว้นแต่ในกรณี ที่วันที่คาขออุทธรณ์ได้เข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวเป็นวันนอกเวลาทาการตามปกติ ให้ถือว่าวันทำการ ถัดไปเป็นวันยื่นอุทธรณ์ ให้นาความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่ การยื่นเอกสารหรือหลักฐานประกอบการพิจารณาอุทธรณ์ การแก้ไขเพิ่มเติมคาอุทธรณ์ การถอนคาอุทธรณ์ หรือการแจ้งเหตุแห่งการไม่มาชี้แจงหรือไม่ส่งเอกสาร หลักฐาน หรือสิ่งอื่นที่จำเป็น รวมทั้งการดาเนินการอื่น ด้วยโดยอนุโลม ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 50 ง ราชกิจจานุเบกษา 3 มีนาคม 2566
ข้อ 9 ในกรณีที่หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ไ ด้รับคำอุทธรณ์แต่เป็นเรื่องที่ตนไม่มีหน้าที่หรืออำนาจ ให้หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวส่งต่อคำอุทธรณ์นั้นไปยังหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ รับคำอุทธรณ์ตามข้อ 6 พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบด้วย ห้ามมิให้ผู้มีอานาจวินิจฉัยอุทธรณ์ปฏิเสธไม่รับคาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ซึ่งได้ยื่นภายใน กำหนดเวลาตามข้อ 4 ข้อ 10 เมื่อได้รับคาอุทธรณ์แล้ว ให้สำนักงานหรือสำนักงานสภานโยบาย ซึ่งเป็นผู้รับ คาอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี ออกใบรับคาอุทธรณ์ให้แก่ผู้อุทธรณ์ไว้เป็นหลักฐา น และให้ตรวจคาอุทธรณ์ หากเห็นว่าคาอุทธรณ์สมบูรณ์ตามข้อ 7 ให้ทาความเห็นเบื้องต้นส่งพร้อมคาอุทธรณ์ไปยังผู้มีอานาจ วินิจฉัยอุทธรณ์ หากเห็นว่าคาอุทธรณ์นั้นไม่สมบูรณ์ให้แจ้งผู้อุทธรณ์เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อแก้ไข คาอุทธรณ์ให้สมบูรณ์ภายในสิบห้าวัน พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบด้วยว่า หากไม่แก้ไขคาอุทธรณ์ ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์อาจมีคำสั่งไม่รับคำอุทธรณ์ไว้พิจารณา และหากผู้อุทธรณ์ไม่แก้ไขคาอุทธรณ์ให้สมบูรณ์ภายในระยะเวลาที่กาหนด ให้บันทึกไว้แล้วเสนอ คำอุทธรณ์ต่อผู้มีอำนาจ วินิจฉัยอุทธรณ์ต่อไป เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาในการวินิจฉัยคาอุทธรณ์ตามมาตรา 13 หรือมาตรา 20 ในกรณีที่คาอุทธรณ์ซึ่งผู้อุทธรณ์ยื่นไม่สมบูรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้วันรับคาอุทธรณ์ตามมาตรา 13 หรือมาตรา 20 หมายถึงวันที่ผู้อุทธรณ์ได้แก้ไขคาอุทธรณ์ให้สมบู รณ์ หรือวันที่ครบระยะเวลาที่กาหนด ให้ ผู้อุทธรณ์แก้ไขคำอุทธรณ์ ข้อ 11 ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่อาจยื่นเอกสารหรือหลักฐานประกอบการพิจารณาอุทธรณ์ พร้อมคาอุทธรณ์ตามข้อ 7 วรรคสอง ผู้อุทธรณ์อาจยื่นเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมภายในกาหนด ระยะเวลาอุทธรณ์ได้ ในกรณีที่พ้นกาหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว หากผู้อุทธรณ์ประสงค์จะยื่นเอกสาร หรือหลักฐานเพิ่มเติม ต้องแสดงเหตุผลอันสมควรที่ตนไม่อาจยื่นเอกสารหรือหลักฐานภายในกาหนด เวลา ดังกล่าว และต้องยื่นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ระยะเวลาอุทธรณ์สิ้นสุดลง การยื่นเอกสารหลักฐานเพิ่ มเติมตามวรรคหนึ่ง ให้ทาเป็นลายลักษณ์อักษรยื่นที่สานักงานหรือ สำนักงานสภานโยบาย ซึ่งเป็นผู้รับคาอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี ข้อ 12 ภายในกาหนดเวลาการยื่นอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์อาจขอแก้ไขเพิ่มเติมคาอุทธรณ์ได้ โดยให้ทาเป็นลายลักษณ์อักษรและลงลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์ พ ร้อมทั้งชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผล ของการแก้ไขเพิ่มเติม ยื่นที่สำนักงานหรือสำนักงานสภานโยบาย ซึ่งเป็นผู้รับคาอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี ข้อ 13 การประชุมของผู้มีอานาจวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เป็นไปตามระเบียบการที่ผู้มีอานาจ วินิจฉัยอุทธรณ์กำหนด ข้อ 14 ในการวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องใด ห้ามมิให้กรรมการในคณะกรรมการหรือในสภานโยบาย ผู้มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ ซึ่งมีส่วนได้เสียเป็นส่วนตัวในเรื่องที่อุทธรณ์นั้นเข้าร่วมประชุม ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 50 ง ราชกิจจานุเบกษา 3 มีนาคม 2566
ข้อ 15 ในการวินิจฉัยอุทธรณ์ กรรมการซึ่งเข้าร่วมประชุมมีหน้าที่ต้องออกเสียงลงคะแนน ห้าม มิให้กรรมการงดออกเสียง ในกรณีที่คะแนนเสียงกรรมการในการวินิจฉัยอุทธรณ์เท่ากัน ประธานมีหน้าที่ต้องออกเสียงชี้ขาด จะงดออกเสียงหรือเลื่อนการประชุมมิได้ ข้อ 16 ในการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ผู้มีอานาจวินิจฉัยอุทธรณ์ พิจารณาทบทวนคำสั่งทางปกครอง ที่เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์ได้ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย หรือความเหมาะสมของ การทาคาสั่งทางปกครอง และอาจมีคาสั่งเพิกถอนคาสั่งทางปกครองเดิม หรือเปลี่ยนแปลงคาสั่งทางปกครองนั้น ไปในทางใด หรือดาเนินการอื่นใดเสียใหม่ให้ถูกต้อง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็ นการเพิ่มภาระหรือลดภาระ หรือใช้ดุลยพินิจแทนในเรื่องความเหมาะสมของการทาคาสั่งทางปกครอง หรือมีข้อกาหนดเป็นเงื่อนไข อย่างใดก็ได้ ข้อ 17 ผู้มีอานาจวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคณะบุคคลซึ่งผู้มีอานาจวินิจฉัยอุทธรณ์มอบหมาย จะเรียกผู้อุทธรณ์หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง นำเอกสาร หลักฐาน หรือสิ่งอื่นที่จำเป็นมาเพิ่มเติม เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยอุทธรณ์ก็ได้ ข้อ 18 การวินิจฉัยอุทธรณ์ให้พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกาหนดเวลา ดังต่อไปนี้ (1) การวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการและ ของผู้อำนวยการ ให้วินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ (2) การวินิจฉัยอุทธรณ์ของสภานโยบาย ให้วินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ ได้รับคำอุทธรณ์ ข้อ 19 เมื่อผู้มีอานาจวินิจฉัยอุทธรณ์มีคาวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ให้แจ้งคาวินิ จฉัยพร้อมด้วย เหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังผู้อุทธรณ์ และให้แจ้งให้ผู้รับทุน ผู้ให้ทุน หรือเจ้าของผลงานวิจัย ทราบด้วย ในการแจ้งคาวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์ทราบตามวรรคหนึ่งให้แจ้งสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาล ให้ผู้อุทธรณ์ทราบไปพร้อมกันด้วย ในกรณีที่ผู้มีอำนำจวินิจฉัยอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์ไม่แล้วเสร็จภายในกาหนดเวลาตามข้อ 18 ให้ถือว่าผู้มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์และให้ผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล เมื่อพ้นกาหนดเวลาดังกล่าว ข้อ 20 คาวินิจฉัยอุทธรณ์ ของผู้มีอานาจวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ทาเป็นลายลักษณ์อักษรและ อย่างน้อยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ (1) วัน เดือน ปี ที่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ (2) ข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์ (3) ความประสงค์หรือคาขอของผู้อุทธรณ์ (4) ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่นำมาใช้ประก อบคาวินิจฉัย ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 50 ง ราชกิจจานุเบกษา 3 มีนาคม 2566
(5) เหตุผลในการวินิจฉัย (6) คำวินิจฉัยในประเด็นที่มีการอุทธรณ์ (7) ชื่อและลายมือชื่อของกรรมการซึ่งวินิจฉัยอุทธรณ์ ข้อ 21 ผู้อุทธรณ์อาจขอถอนคำอุทธรณ์ในเวลาใด ๆ ก่อนที่ผู้มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ จะมีคาวินิจฉัยก็ได้ การขอถอนคาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งใ ห้ทาเป็นลายลักษณ์อักษรและลงลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์ ยื่นที่สำนักงานหรือสำนักงานสภานโยบาย ซึ่งเป็นผู้รับคาอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี อานาจพิจารณาคำขอถอนอุทธรณ์เป็นของผู้มีอานาจวินิจฉัยอุทธรณ์ซึ่งอาจไม่ให้ถอนอุทธรณ์ก็ได้ ในกรณีที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม เมื่อถอนอุทธรณ์แล้ว การพิจารณาอุทธรณ์เป็นอันระงับ และให้สานักงานหรือสานักงาน สภานโยบายจำหน่ายคำอุทธรณ์นั้น ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 256 5 ดอน ปรมัตถ์วินัย ศาสตราจา รย์กิตติคุณสุทธิพร จิตต์มิตรภาพ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ ประธานสภานโยบายการอุดมศึกษา ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 50 ง ราชกิจจานุเบกษา 3 มีนาคม 2566