Mon Feb 27 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

คำสั่งกรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่ 42/2566 เรื่อง การจัดการกับวัตถุอันตรายกรดเปอร์ฟลูออโรออกตะโนอิค และเกลือของกรดเปอร์ฟลูออโรออกตะโนอิค และสารประกอบที่เกี่ยวข้องของกรดเปอร์ฟลูออโรออกตะโนอิค


คำสั่งกรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่ 42/2566 เรื่อง การจัดการกับวัตถุอันตรายกรดเปอร์ฟลูออโรออกตะโนอิค และเกลือของกรดเปอร์ฟลูออโรออกตะโนอิค และสารประกอบที่เกี่ยวข้องของกรดเปอร์ฟลูออโรออกตะโนอิค

ค ําสั่งกรมโรงงํานอุตสําหกรรม ที่ 42 / 2566 เรื่อง การจัดการกับวัตถุอันตรายกรดเปอร์ฟลูออโรออกตะโนอิค และเกลือของ กรดเปอร์ฟลูออโรออกตะโนอิค และสารประกอบที่เกี่ยวข้องของกรดเปอร์ฟลูออโรออกตะโนอิค เพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ( Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants : POPs ) โดยการลดและหรือเลิก การผลิต การใช้ และการปลดปล่อย รวมทั้งพยายามกาจัดสาร POPs ให้หมดไป รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรมโดยความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเมื่ อวันที่ 21 ธันวาคม 2565 ประกาศกาหนดให้กรดเปอร์ฟลูออโรออกตะโนอิค และเกลือของกรดเปอร์ฟลูออโรออกตะโนอิค ( perfluorooctanoic acid ( PFOA ) and its salts ) และสารประกอบที่เกี่ยวข้องของกรดเปอร์ฟลูออโรออกตะโนอิค ( perfluorooctanoic acid ( PFOA ) - related compounds ) จานวน 8 รายการ เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ในความรับผิดชอบ ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า หรือการมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายดังกล่าว อาศัยอานาจตามความในมาตรา 43 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 จึงออกคาสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในคำสั่งนี้ วัตถุอันตราย หมายความว่า วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ในความรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2565 บัญชี 5.1 ลำดับที่ 534 ก รดเปอร์ฟลูออโรออกตะโนอิค ( perfluorooctanoic acid ) ลาดับที่ 535 แอมโมเนียมเปอร์ฟลูออโรออกตะโนเอต ( ammonium perfluorooctanoate ) ลำดับที่ 5 3 6 โ ซ เดี ยมเปอร์ ฟลูออโ ร ออกตะ โ นเอต ( sodium perfluorooctanoate ) ลำดับที่ 537 โพแทสเซียมเปอร์ฟลูออโรออกตะโนเอ ต ( potassium perfluorooctanoate ) ลำ ดั บ ที่ 5 3 8 ซิ ล เ ว อ ร์ เ ป อ ร์ ฟ ลู อ อ โ ร อ อ ก ต ะ โ น เ อ ต ( silver perfluorooctanoate ) ลาดับที่ 539 เปอร์ฟลูออโรออกตะโนอิลฟลูออไรด์ ( perfluorooctanoyl fluoride ) ลำดับที่ 540 เมทิลเปอร์ฟลูออโรออกตะโนเอต ( methyl perfluorooctanoate ) และลำดับที่ 541 เอทิลเปอร์ฟลูออโรออกตะโนเอต ( ethyl perfluorooctanoate ) ้ หนา 64 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 47 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 2 ให้ผู้ผลิต ผู้นาเข้า หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายตามข้อ 1 แจ้งปริมาณ วัตถุอันตรายคงเหลือต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตามแบบรายงานปริมาณวัตถุอัน ตรายและ แผนการทาลายวัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (วอ./อก. 33) ท้ายคาสั่งฉบับนี้ ภายในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2566 ข้อ 3 ให้ผู้ผลิต ผู้นาเข้า หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่ได้แจ้ง ปริมาณวัตถุอันตรายคงเหลือต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามข้อ 2 จัดการเพื่อให้มีการทำลาย วัตถุอันตราย โดยการเผาทาลายในเตาเผาเฉพาะของเสียอันตรายที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน และให้ส่งหลักฐานการทาลายวัตถุอันตรายให้แก่กรมโรงงานอุตสาหกรรม ตามแบ บการส่งหลักฐาน การทำลายวัตถุอันตราย (วอ./อก. 34) ท้ายคำสั่งฉบับนี้ การดาเนินการตามวรรคหนึ่ง ต้องดาเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ข้อ 4 ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่ไม่เห็นด้วยกับ คาสั่งที่ให้ดาเนินการตามข้อ 2 และหรือข้อ 3 สามารถอุทธรณ์หรือโต้แย้งเป็นหนังสือต่ออธิบดี กรมโรงงานอุตสาหกรรม ภายในสิบห้าวันนับถัดจากวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับเป็นต้นไป โดยส่ง หนังสือได้ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม เลขที่ 75/6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 ข้อ 5 การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งตามข้อ 2 และหรือข้อ 3 ถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 43 วรรคสอง อันมีบทกาหนดโทษตามมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบั ญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 ต้องระวางโทษจาคุก ไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ข้อ 6 คาสั่งนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันพ้นกาหนดสิบห้าวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 256 6 จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอันตราย พ.ศ. 2535 ้ หนา 65 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 47 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 กุมภาพันธ์ 2566

แบบ วอ ./ อก . 33 แบบรายงานปริมาณวัตถุอันตรายและแผนการทําลายวัตถุอันตราย ในความรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม วันที่ … เดือน … พ . ศ … ข้าพเจ้า … อายุ … ปี สัญชาติ … เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากร … สถานที่ติดต่อ ตั้งอยู่เลขที่ … หมู่ … ตรอก / ซอย … ถนน … ตําบล / แขวง … อําเภอ / เขต … จังหวัด … รหัสไปรษณีย์ … โทรศัพท์ … โทรสาร … สถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายชื่อ … ตั้งอยู่เลขที่ … หมู่ที่ … ตรอก / ซอย … ถนน … ตําบล / แขวง … อําเภอ / เขต … จังหวัด … รหัสไปรษณีย์ … โทรศัพท์ … โทรสาร … มีการดําเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 โดยการ  ผลิต  นําเข้า  มีไว้ในครอบครอง ขอรายงานปริมาณวัตถุอันตรายและแผนการทําลายวัตถุอันตราย ดังนี้ รายการ ที่ ชื่อวัตถุอันตราย อัตราส่วน (%) ชื่อทางการค้า ชื่อผู้ผลิต ปริมาณ ( กิโลกรัมหรือลิตร ) หมายเหตุ จํานวนรายการสามารถเพิ่มได้ตามที่เป็นจริง ชื่อผู้รับกําจัดทําลายวัตถุอันตราย … เลขทะเบียนโรงงาน … ช่วงเวลาในการทําลายวัตถุอันตราย … พร้อมกันนี้ ข้าพเจ้าได้ส่งมอบเอกสารหลักฐานการทําลายวัตถุอันตราย ดังต่อไปนี้  1 . สําเนาบัตรประชาชน ของผู้แจ้ง  2 . สําเนาบัตรประชาชน ของผู้มีอํานาจลงนามตามหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคล ( ใช้กรณีเป็นนิติบุคคล )  3 . สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ออกไว้ไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันยื่นแบบฯ ( ใช้กรณีเป็นนิติบุคคล )  4 . หนังสือมอบอํานาจ ฉบับจริง ติดอากรแสตมป์ 30 บาท มีการลงนามรับรองเอกสารและประทับตรา บริษัท โดยผู้มีอํานาจลงนาม พร้อมสําเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอํานาจและผู้รับมอบอํานาจ ลงชื่อ … ผู้แจ้ง (…) ( บุคคลธรรมดา / นิติบุคคล )

แบบ วอ ./ อก . 34 แบบการส่งหลักฐานการทําลายวัตถุอันตราย วันที่ … เดือน … พ . ศ … ข้าพเจ้า … อายุ … ปี สัญชาติ … เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากร … สถานที่ติดต่อ ตั้งอยู่เลขที่ … หมู่ … ตรอก / ซอย … ถนน … ตําบล / แขวง … อําเภอ / เขต … จังหวัด … รหัสไปรษณีย์ … โทรศัพท์ … โทรสาร … ขอแจ้งผลการทําลายวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 โดย … เลขทะเบียนโรงงาน … ตั้งอยู่เลขที่ … หมู่ … ตรอก / ซอย … ถนน … ตําบล / แขวง … อําเภอ / เขต … จังหวัด … รหัสไปรษณีย์ … โทรศัพท์ … โทรสาร … รายการ ที่ ชื่อวัตถุอันตราย อัตราส่วน (%) ชื่อทางการค้า ปริมาณ ( กิโลกรัมหรือลิตร ) วันที่ทําลาย หมายเหตุ จํานวนรายการสามารถเพิ่มได้ตามที่เป็นจริง พร้อมกันนี้ ข้าพเจ้าได้ส่งมอบเอกสารหลักฐานการทําลายวัตถุอันตราย ดังต่อไปนี้  1 . สําเนาบัตรประชาชน ของผู้แจ้ง  2 . สําเนาบัตรประชาชน ของผู้มีอํานาจลงนามตามหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคล ( ใช้กรณีเป็นนิติบุคคล )  3 . สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลออกไว้ไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันยื่นแบบฯ ( ใช้กรณีเป็นนิติบุคคล )  4 . หนังสือมอบอํานาจ ฉบับจริง ติดอากรแสตมป์ 30 บาท มีการลงนามรับรองเอกสารและประทับตราบริษัท โดยผู้มีอํานาจลงนาม พร้อมสําเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอํานาจและผู้รับมอบอํานาจ  5 . สําเนาหนังสือสัญญาจ้างทําลายวัตถุอันตราย  6 . บันทึกการทําลายวัตถุอันตราย พร้อมลงนามรับรองจากผู้รับทําลาย  7 . ภาพถ่ายการทําลายวัตถุอันตราย  8 . สําเนาหนังสือแจ้งผลการพิจารณาการขออนุญาตให้นําสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม ( กรณีเป็นโรงงานอุตสาหกรรม ) ลงชื่อ … ผู้แจ้ง (…) ( ชื่อผู้รับกําจัดทําลาย ) ( บุคคลธรรมดา / นิติบุคคล )