Mon Feb 27 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง โครงสร้าง การจัดหน่วยงาน อำนาจหน้าที่ และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน


ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง โครงสร้าง การจัดหน่วยงาน อำนาจหน้าที่ และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง โครงสร้าง การจัดหน่วยงาน อำนาจหน้าที่ และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการดาเนินการต่าง ๆ ของกรมสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงานเป็นไปตามมาตรา 7 (1) (2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของ ทางราชการ พ.ศ. 2540 และสอดคล้องกับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงาน กระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2559 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงประกาศโครงสร้าง การจัดหน่วยงาน อานาจหน้าที่ และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของกรมสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงาน อาศัยอานาจตามความในมาตรา 32 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริ หารราชการ แผ่นดิน พ.ศ 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงประกาศโครงสร้าง การจัดหน่วยงาน อำนาจหน้าที่ และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของกรมสวัสดิการแล ะคุ้มครองแรงงาน ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีภารกิจเกี่ยวกับการกาหนดมาตรฐานแรงงาน การคุ้มครองแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน การแรงงานสัมพันธ์ การแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และการสวัสดิการแรงงาน โดยการพัฒนามาตรฐานรูปแบบ กลไก มาตรการ ส่งเสริม สนับสนุน และแก้ไขปัญหา เพื่อเพิ่มโอกาส ในการแข่งขันทางการค้าและพัฒนาแรงงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยให้มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ ( 1 ) กาหนดและพัฒนามาตรฐานแรงงาน รวมทั้งการส่งเสริ ม กากับ ดูแลให้การรับรอง สถานประกอบกิจการที่มีการบริหารจัดการตามมาตรฐานแรงงานที่สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานสากล ( 2 ) คุ้มครองและดูแลแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบให้ได้รับสิทธิประโยชน์ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ( 3 ) ดาเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงาน สัมพันธ์กฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้รับงานไปทาที่บ้าน กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน กฎหมายว่าด้วย แรงงานทางทะเล และกฎห มายอื่นที่เกี่ยวข้อง ( 4 ) พัฒนาระบบ และสนับสนุนการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงานเอกชน ภาครัฐ และองค์กรที่มีอยู่ในกากับของรัฐ ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 47 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 กุมภาพันธ์ 2566

( 5 ) ส่งเสริม พัฒนา และเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจด้านมาตรฐานแรงงาน การคุ้มครองแ รงงานทั้งในระบบและนอกระบบ ความปลอดภัยในการทำงาน แรงงานสัมพันธ์ แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน ( 6 ) ส่งเสริมและดาเนินการให้มีการจัดสวัสดิการแรงงาน ( 7 ) ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ข้อพิพาทแรงงาน และ ความไม่สงบด้านแรงงาน ( 8 ) พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จัดทาแผนงาน และประสานแผนปฏิบัติงานของกรมให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านแรงงานของกระทรวง ( 9 ) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่ รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมา ย ข้อ 2 ส่วนราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีโครงสร้าง หน้าที่ และอานาจ ดังนี้ 2.1 สำนักงานเลขานุการกรม ประกอบด้วย กลุ่มงานช่วยอำนวยการและประสานราชการ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ และงานบริหารทั่วไป มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ ( 1 ) ปฏิบัติงานสารบรรณของกรม ( 2 ) ดาเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการของกรม ( 3 ) ประสานราชการกับหน่วยงานของกรมในส่วนภูมิภาคและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ( 4 ) ดาเนินการเกี่ยวกับงานสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่กิจกรรม ความรู้ ความก้าวหน้า และผลงานของกรม ( 5 ) ดาเนินการเกี่ยวกับงานอาคารสถานที่และยานพาหนะ รวมทั้งการบริหาร จัดการงานด้านสาธารณูปโภคของกรม ( 6 ) ดำเนินการเกี่ยวกับราชการทั่วไปของกรมและราชการอื่นที่มิได้แยกให้ เป็นหน้าที่ของกรมหรือส่วนราชการใดโดยเฉพาะ ( 7 ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรื อสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย 2.2 กองคุ้มครองแรงงาน ประกอบด้วย กลุ่มงานยุทธศาสตร์การคุ้มครองแรงงาน กลุ่มงานแรงงานหญิง เด็ก และเครือข่ายการคุ้มครองแรงงาน กลุ่มงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง กลุ่มงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการคุ้มครองแรงงาน กลุ่มงานคุ้มครองแรงงานทางทะเล และงานบริหารทั่วไป มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ ( 1 ) พัฒนาระบบการคุ้มครองแรงงานและกาหนดแนวทาง มาตรการ และวิธีการปฏิบัติ ด้านการคุ้มครองแรงงานในระบบ แรงงานทางทะเล รวมทั้งแรงงา นหญิงและเด็กในระบบ ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 47 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 กุมภาพันธ์ 2566

( 2 ) ควบคุมดูแลนายจ้างและลูกจ้างให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ( 3 ) ควบคุมดูแลคนประจาเรือ เจ้าของเรือ และนายเรือให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยแรงงานทางทะเล และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ( 4 ) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพการจ้าง สภาพการทางาน และพัฒนามาตรฐานแรงงาน ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ( 5 ) บริหารกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ( 6 ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย 2.3 กองคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ประกอบ ด้วย กลุ่มงานยุทธศาสตร์ การคุ้มครองแรงงานนอกระบบ กลุ่มงานส่งเสริมการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ กลุ่มงานป้องกันและ แก้ไขปัญหาการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ และงานบริหารทั่วไป มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ ( 1 ) พัฒนาระบบการคุ้มครองแรงงานและกำหนดแนวทาง มาตรการ และ วิธีปฏิบัติด้านการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ( 2 ) ควบคุมดูแลผู้จ้างงานและผู้รับงานไปทาที่บ้านให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย การคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านและควบคุมดูแลแรงงานนอกระบบอื่นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ( 3 ) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพการจ้าง สภาพการทางาน และพัฒนามาตรฐาน แรงงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง ( 4 ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย 2.4 กองความปลอดภัยแรงงาน ประกอบด้วย กลุ่มงานยุทธศาสตร์ความปลอดภัย ในการทางานกลุ่มงานมาตรฐานความปลอดภัยในการทางาน กลุ่มงานเครือข่ายความปลอดภัยในการทำงาน กลุ่มงานพัฒนาองค์ความรู้และสารสนเทศความปลอดภัยในการทางาน กลุ่มงานกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน กลุ่มงานทะเบียนความปลอดภัยในการทำงาน ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 1 - 12 และงานบริหารทั่ว ไป มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ ( 1 ) กำหนดและพัฒนามาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานทั้งแรงงานในระบบและนอกระบบ รวมทั้งแรงงานทางทะเล ( 2 ) ควบคุมดูแลนายจ้าง ลูกจ้าง และพนักงาน รวมทั้งบุคคล นิติบุคคล หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 47 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 กุมภาพันธ์ 2566

( 3 ) ควบคุมดูแลประจำเรือ เจ้าของเรือ และนายเรือให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย แรงงานทางทะเล และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ( 4 ) ดาเ นินการเกี่ยวกับการอนุญาต การขึ้นทะเบียน และกากับดูแลมาตรฐาน การให้บริการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับ ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ( 5 ) พัฒนาระบบการคุ้มครองความปลอดภัยในการทำงาน มาตรการ และ วิธีปฏิบัติด้านการตรวจความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ( 6 ) พัฒนาองค์ความรู้และระบบสารสนเทศความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ( 7 ) สร้างเสริมและพัฒนาเครือข่ายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ( 8 ) บริหารกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ( 9 ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย 2.5 กองนิติการ ประกอบด้วย กลุ่มงานพัฒนากฎหมาย กลุ่มงานที่ปรึกษา กฎหมายนิติกรรมและสัญญา กลุ่ มงานคดีแพ่ง กลุ่มงานคดีอาญา กลุ่มงานอุทธรณ์และยึด อายัด ขายทอดตลาดทรัพย์สิน และงานบริหารทั่วไป มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ ( 1 ) ดาเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมายและระเบียบในความรับผิดชอบของกรมและ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง งานนิติกรรมและสัญญา งานยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินงาน เกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและอาญา ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ งานคดีปกครอง งานคดีแรงงาน และงานคดีอื่นที่อยู่ในอานาจหน้าที่ของกรม รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือคดีแก่ลูกจ้างและ ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ( 2 ) ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ในความรับผิดชอบของกรม ( 3 ) พิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งหรือคาวินิจฉัยตามกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง ผู้รับงานไปทำที่บ้าน กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล ( 4 ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 47 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 กุมภาพันธ์ 2566

2.6 กองบริหารการคลัง ประกอบด้วย กลุ่มงานบัญชี กลุ่มงานพัสดุ กลุ่มงานการเงิน กลุ่มงานงบประมาณ กลุ่มงานพัฒนาระบบงานคลัง และงานบริหารทั่วไป มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ ( 1 ) ดาเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ และการพัสดุของกรม ( 2 ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบั ติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย 2.7 กองการเจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย กลุ่มงานพัฒนาระบบงานและอัตรากาลัง กลุ่มงานสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง กลุ่มงานสวัสดิการและบาเหน็จความชอบ กลุ่มงานวินัยและทะเบียนประวัติ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล กลุ่ม งานจริยธรรม และงานบริหารทั่วไป มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ ( 1 ) จัดระบบงานและบริหารงานบุคคลของกรม ( 2 ) ดาเนินการเกี่ยวกับการเสริมสร้างวินัย คุณธรรม และจริยธรรมของบุคลากรของกรม ( 3 ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย 2.8 กองสวัสดิการแรงงาน ประกอบด้วย กลุ่มงานส่งเสริมสวัสดิการแรงงาน กลุ่มงานคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน กลุ่มงานยุทธศาสตร์สวัสดิการแรงงาน กลุ่มงานกองทุน เพื่อผู้ ใช้แรงงาน และงานบริหารทั่วไป มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ ( 1 ) ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการแรงงาน ( 2 ) ส่งเสริม สนับสนุน และดาเนินการให้สถานประกอบกิจการจัดสวัสดิการแรงงาน ( 3 ) กำหนดและพัฒนามาตรฐานการจัดสวัสดิการ ( 4 ) ดาเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายว่าด้วย แรงงานทางทะเลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการ ( 5 ) บริหารกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน ( 6 ) พัฒนารูปแบบตัวอย่างการจัดสวัสดิการดูแลบุตรผู้ใช้แรงงาน ( 7 ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่ วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย 2.9 สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน ประกอบด้วย กลุ่มงานรับรองมาตรฐาน แรงงาน กลุ่มงานพัฒนาระบบมาตรฐานแรงงาน กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรแรงงาน กลุ่มงานมาตรฐาน แรงงานระหว่างประเทศ กลุ่มงานนโยบายและแผน กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ และงานบริหารทั่วไป ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 47 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 กุมภาพันธ์ 2566

มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ ( 1 ) พัฒนามาตรฐานแรงงานและบริหารจัดการมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดระบบรับรองมาตรฐานแรงงานและส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงาน เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางการค้า ( 2 ) ส่งเสริมและพัฒนาความรู้แก่นายจ้างและลูกจ้างด้านมาตรฐานแรงงานคุ้มครอง แรงงาน แรงงานสัมพันธ์ แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน รวมถึงสวัสดิการแรงงาน ( 3 ) ดำเนินการและสนับสนุนงานด้านต่างประเทศของกรมเกี่ยวกับมาตรฐาน แรงงานระหว่างประเทศ พิธีสารและข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีประเด็นแรงงาน ความร่วมมือระหว่าง ประเทศด้านแรงงานการประชุม การเจรจาระหว่างประเทศ และการปฏิบัติตามพันธกรณี ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ( 4 ) จัดทำและประสานแผนการปฏิบัติงานของกรมให้สอดคล้องกับนโยบาย ของกระทรวง รวมทั้งการวิเคราะห์สถิติข้อมูลด้านแรงงาน และงานห้องสมุดของกรม ( 6 ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย 2.10 สานักแรงงานสัมพันธ์ ประกอบด้วย กลุ่มงานยุทธศาสตร์แรงงานสัมพันธ์ กลุ่มงานทะเบียนกลาง กลุ่มงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและข้อขัดแย้ง กลุ่มงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กลุ่มงานส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ กลุ่มงานคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และงานบริหารทั่วไป มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ ( 1 ) ส่งเสริมและพัฒนาระบบแรงงานสัมพันธ์และแรงงานวิสาหกิจสัมพันธ์ ( 2 ) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยแรงงาน รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเลในส่วนที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับ ความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ( 3 ) กาหนดแนวทาง มาตรการ และวิธีปฏิบัติด้านแรงงานสัมพันธ์และแรงงาน รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ( 4 ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย 2.11 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุง เทพมหานครพื้นที่ 1 - 10 ประกอบด้วย กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 1 - 2 และงานบริหารทั่วไป มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ ( 1 ) ดาเนินการตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรม และกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้อง ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 47 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 กุมภาพันธ์ 2566

( 2 ) ให้บริการงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ( 3 ) รายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบาย แผนงาน และโครงการต่อกรม ( 4 ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย 2. 1 2 สานักงานสวัสดิการและคุ้มค รองแรงงานจังหวัด จานวน 76 จังหวัด ประกอบด้วย กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และงานบริหารทั่วไป มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ ( 1 ) ดำเนินการตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมและกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้อง ( 2 ) ให้บริการงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมในเขตพื้นที่จังหวัด ( 3 ) รายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบาย แผนงาน และโครงการต่อกรมและกระทรวง ( 4 ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย 2.13 กลุ่มตรวจสอบภายใน มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ ( 1 ) ดาเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของกรม ( 2 ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย 2.14 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ ( 1 ) เสนอแนะและให้คาปรึกษาแก่อธิบดีเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ ภายในกรม ( 2 ) ติดตาม ประเมินผล และจัดทารายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ ภายในกรม ( 3 ) ประสานและดาเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ และหน่วยงานภายในกรม ( 4 ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 3 สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีดังนี้ ( 1 ) ส่วนกลาง ติดต่อขอรับข้อมูลข่าวสาร ณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ตั้งอยู่ภายในที่ทาการห้องสมุดกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ชั้น 15 อาคารกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ถนนมิตรไมตรี แขวง/เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 47 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 กุมภาพันธ์ 2566

10400 โทรศัพท์ 0 2660 2148 e - mail : tls@labour . mail . go . th เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร อิเล็กทรอนิกส์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ( http :// www . oic . go . th / infocenter 3/304 / ) หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 - 10 หรือตามช่องทางติดต่อ ในเว็บไซต์ ( https :// www . labour . go . th / index . php / contact / contact - m 1 ) ( 2 ) ส่วนภูมิภาค ติดต่อขอรับข้อมูลข่าวสารเฉพาะในความรับผิดชอบของ หน่วยงานนั้น ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด จำนวน 76 จังหวัด หรือ ตามช่องทางติดต่อในเว็บไซต์ ( https :// www . labour . go . th / index . php / contact / contact - m 2 ) ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 256 6 นิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 47 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 กุมภาพันธ์ 2566