Sun Feb 26 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ มาตรฐานความปลอดภัย การทดสอบและตรวจสอบถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ส่วนควบ พ.ศ. 2565


ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ มาตรฐานความปลอดภัย การทดสอบและตรวจสอบถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ส่วนควบ พ.ศ. 2565

ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ มาตรฐานความปลอดภัย การทดสอบและตรวจสอบ ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ส่วนควบ พ.ศ. 256 6 อาศัยอานาจตามความในข้อ 6 ข้อ 10 ข้อ 16 วรรคสอง ข้อ 25 วรรคสาม ข้อ 28 วรรคสอง ข้อ 39 ข้อ 40 ข้อ 45 ข้อ 49 วรรคสอง ข้อ 52 วรรคสอง และข้อ 53 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด พ.ศ. 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ 2 ในประกาศนี้ “ มาตรฐาน EN 1968 ” หมายความว่า มาตรฐานที่ประกาศโดยคณะกรรมการกำหนด มาตรฐานแห่งสหภาพยุโรป ( European Committee for Standardization ) ลาดับที่ EN 1968 เรื่อง Transportable Gas Cylinders - Periodic Inspection and Testing of Seamless Steel Gas Cylinders “ มาตรฐาน ISO 11623 ” หมายความว่า มาตรฐานที่กำหนดโดยองค์การระหว่างประเทศ ว่าด้วยการมาตรฐาน ( International Organization for Standardization ) ลาดับที่ ISO 11623 เรื่อง Transportable Gas Cylinders - Periodic Inspection and Testing of Composite Gas Cylinders “ มาตรฐาน ASME ” หมายความว่า มาตรฐานที่ประกาศโดยสมาคมวิศวกรเครื่องกลแห่งประ เทศ สหรัฐอเมริกา ( American Society of Mechanical Engineers ) “ มาตรฐาน API ” หมายความว่า มาตรฐานที่กำหนดโดยสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศ สหรัฐอเมริกา ( American Petroleum Institute ) “ มาตรฐาน IEC ” หมายความว่า มาตรฐานที่กำหนดโดยคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศ ว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอเทคนิกส์ ( International Electrotechnical Commission ) “ มาตรฐาน NFPA ” หมายความว่า มาตรฐานที่ประกาศโดยสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ ของประเทศสหรัฐอเมริกา ( National Fire Protection Association ) “ หลักเกณฑ์ใน ADR ” หมายความว่า หลักเกณฑ์ในความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตราย ระหว่างประเทศทางถนนของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจของยุโรปแห่งสหประชาชาติ ( European Agreement Concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Road ) ้ หนา 7 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 46 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 กุมภาพันธ์ 2566

หมวด 1 บททั่วไป ข้อ 3 การบรรทุกถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดแบบยกและเคลื่อนที่ได้ต้องจัดให้มีการป้องกันมิให้ ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดเคลื่อนที่หรือล้มระหว่างการขนส่ง ด้วยอุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้า ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก หรือมาตรฐานที่กำหนดโดยกรมการขนส่งทางราง แล้วแต่กรณี หมวด 2 การออกแบบ การติดตั้ง ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ส่วนควบ ข้อ 4 ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดที่ออกแบบตามมาตรฐานซึ่งมีการกาหนดอายุการใช้งานของถัง หรือจานวนครั้งในการอัดก๊าซหรือเงื่ อนไขการใช้งานอื่น ๆ ให้อายุการใช้งานของถังหรือจานวนครั้งในการ อัดก๊าซหรือเงื่อนไขการใช้งานอื่น ๆ เป็นไปตามมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบ หรือมาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนด ทั้งนี้ อายุการใช้งานของถังหรือจานวนครั้งในการอัดก๊าซที่ผู้ผลิตกาหนด จะต้องไม่เกินกว่าอายุการใช้งาน ของถังหรือจำนวนครั้งในการอัดก๊าซตามมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบกำหนด ข้อ 5 อุปกรณ์ควบคุมความดันเกินพิกัดของถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดที่มีการติดตั้งลิ้นปิดเปิด ก๊าซที่ถัง ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) มีปลั๊กแบบหลอมละลายได้ ( fusibl e plug ) เพื่อระบายก๊าซ เมื่ออุณหภูมิเกิน 110 องศาเซลเซียส (2) มีลิ้นแบบระบาย ( relief valve ) หรือฝาครอบปะทุ ( burst disc ) เพื่อระบายก๊าซป้องกัน มิให้ความดันเกินกว่าที่ถังถูกออกแบบไว้ (3) มีอัตราการระบายเป็นไปตามมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบ ในกรณีที่เป็นถังก๊าซธรรมชาติอัดแบบยกและเคลื่อนที่ได้ จะต้องจัดให้มีอุปกรณ์ควบคุมความดัน เกินพิกัดทุกถัง ข้อ 6 ระบบท่อก๊าซ และอุปกรณ์ส่วนควบ เช่น ลิ้น อุปกรณ์ปรับความดัน อุปกรณ์ควบคุม ความดันเกินพิกัด มาตรวัดความดัน มาตรวัดอุณหภูมิ และมาตรวัดอัตราการ ไหลของก๊าซธรรมชาติ พร้อมชิ้นส่วน ตลอดจนอุปกรณ์และส่วนประกอบของท่อ ต้องเป็นชนิดที่ใช้กับก๊าซธรรมชาติอัดโดยเฉพาะ โดยการออกแบบ สร้าง ทดสอบและตรวจสอบ ให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือมาตรฐาน ASME หรือมาตรฐาน API หรือตามหลักเกณฑ์ใน ADR หรือมาตรฐานอื่นที่รัฐมนตรี ประกาศกาหนดในราชกิจจานุเบกษา ข้อ 7 ห้ามติดตั้งหัวท่อรับก๊าซและหัวท่อจ่ายก๊าซในตาแหน่งที่มีระดับต่ากว่าจุดศูนย์กลาง ของเพลาล้อ ้ หนา 8 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 46 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 กุมภาพันธ์ 2566

หมวด 3 การทดสอบและตรวจสอบ และการทำลาย ข้อ 8 วิธีการทดสอบและตรวจสอบถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดที่ผลิตตามมาตรฐานที่ใช้ในการ ออกแบบ ISO 9809 - 1 และ ISO 11120 ให้ดาเนินการทดสอบและตรวจสอบถังครบวาระด้วยวิธีการ ตามมาตรฐาน EN 1968 หรือมาตรฐานอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกาหนดในราชกิจจานุเบกษา ทุกระยะเวลา ไม่เกิ น 10 ปี อย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) การตรวจสอบพินิจภายนอก ( external visual inspection ) (2) การตรวจสอบพินิจภายใน ( internal visual inspection ) (3) การตรวจสอบความหนา ( measuring wall thickness ) (4) การทดสอบด้วยความดัน ( pressure test ) หรือทดสอบด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ( ultrasonic inspection ) (5) การตรวจสอบเกลียวคอถัง ( inspection of cylinder neck ) (6) การตรวจสอบลิ้นปิดเปิดก๊าซที่ถัง ( inspection of valve ) (7) การทดสอบการรั่วซึมของเกลียวคอถัง ( pneumatic leakage test ) หลังการติดตั้ง ต้องได้รับการตรวจสอบการรั่วซึมที่ความดันทดสอบอย่างน้อยหนึ่งจุดหนึ่งเท่าของความดันใช้งานสูงสุด ของระบบท่อก๊าซ และต้องไม่มีการรั่วซึม ข้อ 9 วิธีการทดสอบและตรวจสอบถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดที่ผลิตตามมาตรฐานที่ใช้ในการ ออกแบบ ISO 11119 - 1 , ISO 11119 - 2 , ISO 11119 - 3 และ ISO 11515 ให้ดาเนินการทดสอบและ ตรวจสอบถังครบวาระด้วยวิธีการตามมาตรฐาน ISO 11623 หรือมาตรฐานอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกาหนด ในราชกิจจานุเบกษา ทุกระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี อย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) การตรวจสอบพินิจภายนอก ( external visual inspection ) (2) การตรวจสอบพินิจภายใน ( internal visual inspection ) (3) การทดสอบด้วยความดัน ( pressure test ) (4) การทดสอบการแทรกซึม ( permeability test ) ถังทุกใบที่มีข้อสงสัยว่ามีโอกาสเกิดการรั่วซึม เฉพาะกรณีที่ตรวจพินิจภายในถังที่ ผลิตตามมาตรฐาน ISO 11119 - 3 แล้วพบว่าพื้นผิวภายใน มีความไม่สมบูรณ์ (5) การตรวจสอบเกลียวคอถัง ( inspection of cylinder neck ) (6) การตรวจสอบลิ้นปิดเปิดก๊าซที่ถัง ( inspection of valve ) ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 46 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 กุมภาพันธ์ 2566

(7) การทดสอบการรั่วซึมของเกลียวคอถัง ( pneumatic leakage test ) หลังการติดตั้ง ต้องได้รับการตรวจสอบการรั่วซึมที่ความดันทดสอบอย่างน้อยหนึ่งจุดหนึ่งเท่าของความดันใช้งานสูงสุด ของระบบท่อก๊าซ และต้องไม่มีการรั่วซึม ข้อ 10 วิธีการทดสอบและตรวจสอบถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดที่ผลิตตามมาตรฐานที่ใช้ในการ ออกแบบอื่นนอกเหนือจากข้อ 8 และข้อ 9 ต้องได้รับการทดสอบและตรวจสอบตามวาระระหว่างการใช้งาน โดยการทดสอบและตรวจสอบถังครบวาระที่ออกแบบ สร้าง และผลิตตามวิธีการที่กาหนดไว้ในหลักเกณฑ์ ใน ADR ให้ดำเนินการทดสอบและตรวจสอบ ให้เป็นไปตามวิธีการที่หลักเกณฑ์ใน ADR กำหนด หรือมาตรฐานอื่ นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ข้อ 11 หลักเกณฑ์และวิธีการทาลายถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด ให้ทาลายโดยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) ทำลายเกลียวคอถัง (2) ทำให้แบน (3) เจาะรูขนาดไม่น้อยกว่า 12.5 มิลลิเมตร อย่างน้อย 2 รู (4) ตัดขาดเป็น 2 ส่วน ก่อนการทาลายถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดตามวรรคหนึ่ง ต้องตรวจสอบว่าไม่มีก๊าซธรรมชาติ ค้างอยู่ในถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด และต้องรายงานผลให้กรมธุรกิจพลังงานทราบ หมวด 4 ระบบไฟฟ้า ข้อ 12 การติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในโกร่งป้องกัน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยในบริเวณอันตราย สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือมาตรฐาน IEC หรือมาตรฐาน NFPA หรือมาตรฐานอื่นที่รัฐมนตรีประกาศ กำหนดในราชกิจจานุเบกษา ข้อ 13 การตรวจสอบสาย ดินของรถขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดและรถบรรทุกก๊าซธรรมชาติอัด ให้ตรวจสอบความต่อเนื่องทางไฟฟ้า ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสาหรับประเทศไทยในบริเวณอันตราย สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือมาตรฐาน IEC หรือมาตรฐาน NFPA หรือมาตรฐานอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา หมวด 5 การป้องกันและระงับอัคคีภัย ข้อ 14 รถขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด รถบรรทุกก๊าซธรรมชาติอัด และรถไฟขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด ต้องมีเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 6.8 กิโลกรัม ที่มีความสามารถในการดับเพลิง ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 46 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 กุมภาพันธ์ 2566

ไม่น้อยกว่า 4 A :40 B ตามมาตรฐานระบบป้องกันอัคคีภัยของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ อย่างน้อย 2 เครื่อง ไว้ในยานพาหนะนั้น โดยติดตั้งในตาแหน่งที่สามารถนำออกมา ใช้ได้ง่าย และต้องตรวจสอบเครื่องดับเพลิงแต่ล ะเครื่องอย่างน้อย 6 เดือนต่อ 1 ครั้ง ข้อ 15 ผู้ประสงค์จะประกอบกิจการควบคุมต้องจัดให้มีการเตรียมการในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน อย่างน้อยดังต่อไปนี้ ( 1) จัดทาแผนป้องกันเหตุฉุกเฉินซึ่งครอบคลุมทั้งจากเหตุอันเกิดจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่ง และจากเหตุอันเกิดจากบุคคลทั่วไป (2) จัดทำแผนระงับเหตุฉุกเฉิน และแผนเผชิญเหตุฉุกเฉิน (3) จัดให้มีป้ายเตือนสำหรับบุคคลทั่วไป ให้ทราบถึงวิธีการปฏิบัติตนขณะเกิดเหตุฉุกเฉิน ที่เกี่ยวข้องกับถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด ผู้ประกอบกิจการ ควบคุมจะต้องดำเนินการฝึกซ้อมแผนตาม (2) อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง พร้อมทั้งจัดทำรายงานการฝึกซ้อม และเก็บรายงานการฝึกซ้อมดังกล่าวไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งปี เพื่อให้กรมธุรกิจพลังงานสามารถเรียกตรวจสอบได้ ข้อ 16 การจัดทำแผนระงับเหตุฉุกเฉินและแผนเผชิญเหตุฉุกเฉินตามข้อ 15 (2) ต้องมี รายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) สถานที่เกิดเหตุ (2) แผนรับเหตุฉุกเฉินระยะเกิดเหตุ (3) แผนรับเหตุฉุกเฉินระยะหลังเกิดเหตุ (4) บทบาทหน้าที่ของบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุ มเหตุฉุกเฉิน (5) ช่องทางการสื่อสารและข้อมูลการติดต่อประสานงานในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน หมวด 6 การรายงานอุบัติเหตุ ข้อ 17 ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและทาให้ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด ระบบท่อก๊าซ และอุปกรณ์ ชารุดเสียหายจนเป็นผลให้ก๊าซธรรมชาติรั่วไหลหรือเกิดเหตุเพลิงไหม้ ให้ผู้ประกอบกิจการควบคุมแจ้งต่อ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมายโดยพลัน และรายงานการเกิดอุบัติเหตุ เป็นลายลักษณ์อักษรภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับจากเวลาที่เ กิดอุบัติเหตุโดยแบบรายงานการเกิดอุบัติเหตุให้เป็นไป ตามแบบท้ายประกาศฉบับนี้ ให้ผู้ประกอบกิจการควบคุมจัดส่งรายงานสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ และผลกระทบต่อชีวิต และทรัพย์สินโดยละเอียดภายในสามสิบวัน ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 46 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 กุมภาพันธ์ 2566

หมวด 7 การเลิกใช้งานถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด ข้อ 18 ผู้ประก อบกิจการควบคุมที่ประสงค์จะเลิกใช้งานถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด ให้ยื่นเรื่อง แจ้งยกเลิกการใช้งาน พร้อมจัดส่งผลการทดสอบและตรวจสอบ ซึ่งรับรองโดยผู้ทดสอบและตรวจสอบ ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกาหนดคุณสมบัติของผู้ทดสอบและตรวจสอบที่ออกตามมาตรา 7 และต้นฉบับ ใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด ต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เพื่อประกอบการพิจารณา ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด ระบบท่อก๊าซ และอุปกรณ์ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับก๊าซธรรมชาติ ที่แจ้งยกเลิกการใช้งานตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยจะต้ องทดสอบและตรวจสอบว่าไม่มีก๊าซธรรมชาติค้างอยู่ เมื่อกรมธุรกิจพลังงานได้ตรวจสอบแล้ว เห็นว่ามีความปลอดภัยและถูกต้องตามที่กำหนด ให้ใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด นั้น ถือเป็นอันสิ้นสุดลง นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณา ยกเลิกจากกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศ ณ วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 256 6 สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 46 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 กุมภาพันธ์ 2566

แบบรายงานการเกิดอุบัติเหตุ ชื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 … เลขที่ใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 … วันหมดอายุ… .. … ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ เลขที่… หมู่ที่… .. ตรอก / ซอย… .. …ถนน… … … ตำบล/แขวง…อาเภอ/เขต…จังหวัด… … . … รหัสไปรษณีย์…โทรศัพท์… …โทรสาร… . … บริษัทประกันภัย…หมายเลขกรมธรรม์… . … . … ชื่อผู้ขับขี่ … … … … .ใบอนุญาตขับขี่เลขที่ … หน่วยงาน/บริษัท …หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ… … . … ประเภทยานพาหนะ… .. .ทะเบียนยานพาหนะ… … . ทะเบียนตู้ ขนส่ง… ชนิดของถัง…ขนาดความจุต่อถัง…จานวนถัง… … . วัน/เดือน/ปี ที่เกิดอุบัติเหตุ … … เวลาที่เกิดอุบัติเหตุ … …เวลาที่ใช้ในการระงับเหตุ…นาที สถานที่เกิดเหตุ (ให้ระบุชื่อเรียกบริเวณจุดเกิดเหตุ ถนน หลักกิโลเมตร ตำบล/แขวง อาเภอ/เขต จังหวัด เขตพื้นที่ สถานีตำรวจ และ/หรือ พิกัด GPS บริเวณจุดสังเกตด้วย ) … … ข้อสันนิษฐานของสาเหตุ … … รายละเอียดของเหตุการณ์ … … . วิธีการระงับเหตุและการดำเนินการที่ได้ปฏิบัติไปแล้ว … ความเสียหาย… … จำนวนผู้บาดเจ็บ  ไม่มี  มี จำนวน…คน จำนวนผู้เสียชีวิต  ไม่มี  มี จำนวน…คน แนวทางการแก้ไข และ การซ่อมแซม … อื่นๆ … … ลงลายมือชื่อ … … ผู้ประกอบกิจการควบคุม ( ) ตำแหน่ง … วันที่ … เดือน … พ.ศ. … หมายเลขโทรศัพท์… …