ระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการเกี่ยวกับสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่า ตามมาตรา 73 (1) แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2566
ระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการเกี่ยวกับสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่า ตามมาตรา 73 (1) แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2566
ระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการเกี่ยวกับสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่า ตามมาตรา 73 (1) แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาต การดำเนินการเกี่ยวกับสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่าแก่หน่วยงานของรัฐตามภารกิจของ หน่วยงานของรัฐนั้น เพื่อประโยชน์ในการสารวจ การศึกษา การวิจัย หรือการทดลองทางวิชาการ การคุ้มครองสัตว์ป่า การบาบัดเยียวยาสัตว์ป่า การป้องกันหรือแก้ไขภยันตรายแก่ประชาชนหรือสัตว์ หรือเพื่อส่งเสริมการเพาะพันธุ์สัตว์ป่า หรือเพื่อส่งเสริมกิจการสวนสัตว์ ตามมาตรา 73 (1) แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ซึ่งหน่วยงานของรัฐจะต้องได้รับอนุญาต เป็นหนังสือจากอธิบดี และเมื่อผู้ได้รับอนุญาตได้กระทาการตามที่ได้รับอนุญาตนั้น จะไม่มีความผิด ตามมาตรา 12 มาตรา 14 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มาตรา 15 มาตรา 17 มา ตรา 18 มาตรา 19 มาตรา 28 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 73 (1) แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วย การขออนุญาตและการอนุญาตให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการเกี่ยวกับสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังข องสัตว์ป่า ตามมาตรา 73 (1) แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2566” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในระเบียบนี้ “ หน่วยงานของรัฐ ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วน ภูมิภาค และราชการ ส่วนท้องถิ่น และให้หมายความรวมถึงรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน สถาบันทางวิชาการของรัฐ มหาวิทยาลัยในกากับของรัฐ หรือสภากาชาดไทย หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เว้นแต่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช “ สัตว์ป่า ” หมายความว่า สัตว์ป่าสงว น สัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าควบคุม หรือซากสัตว์ป่า ดังกล่าว รังของสัตว์ป่า สัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ สัตว์ป่าควบคุมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ให้แจ้งการครอบครอง หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว สัตว์ป่าควบคุมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้ เพาะพันธุ์ได้ และสัตว์ป่าอันตราย ทั้งนี้ ที่ไม่ใช่สัตว์น้า “ คำขอ ” หมายความว่า คำขออนุญาตตามระเบียบนี้ “ คณะกรรมการ ” หมายความว่า คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ้ หนา 24 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 45 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 กุมภาพันธ์ 2566
“ อธิบดี ” หมายความว่า อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช “ กรม ” หมายความว่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ข้อ 4 เพื่อให้การบังคับใช้ระเบียบนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกต่อเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ให้บรรดาแบบคำขออนุญาต ใบรับคำขออนุญาต แบบเสนอโครงการ หนังสืออนุญาต เป็นไปตามแบบที่กาหนดท้ายระเบียบนี้ ข้อ 5 ให้อธิบดีรักษาการตามระเบียบนี้ ในกรณีที่มีปัญหาการตีความ ให้อธิบดีเสนอแนวทาง การตีความต่อคณะกรรมการ และให้ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการดังกล่าว หมวด 1 การขออนุญาต ข้อ 6 ผู้ขออนุญาตต้องเป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีอานำจ หน้าที่ หรือภารกิจที่เกี่ยวข้อง ในการสารวจ การศึกษา การวิจัย หรือการทดลองทางวิชาการ การคุ้มครองสัตว์ป่า การบาบัดเยียวยา สัตว์ป่า การป้องกันหรือแก้ไขภยันตรายแก่ประชาชนหรือสัตว์ หรือเพื่อส่งเสริมการเพาะพันธุ์สัตว์ป่า หรือเพื่อส่งเสริมกิจการสวนสัตว์ โครงการขออนุญาตที่หน่วยงานของรัฐตามวรรคหนึ่ง ประสงค์ที่จะดำเนินการกับสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าควบคุม หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว รังของสัตว์ป่าสงวน รังของสัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพัน ธุ์ สัตว์ป่าควบคุมที่รัฐมนตรีประกาศกาหนดให้แจ้งการครอบครอง หรือ ซากสัตว์ป่าดังกล่าว สัตว์ป่าควบคุมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เพาะพันธุ์ได้ และสัตว์ป่าอันตราย ต้องระบุจานวน ชนิด เพศ ขนาด ปริมาณ ให้ชัดเจน และกระทาการได้ในพื้นที่หรือในกรณี ดังต่อไปนี้ (1) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า พื้นที่เตรียมการกาหนดเป็นเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่า พื้นที่เตรียมการกาหนดเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ และสวนรุกขชาติ หรือพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐแห่ งอื่นที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่ใน พื้นที่ เช่น ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าไม้ถาวร ป่าชุมชน พื้นที่คุ้มครองทางสิ่งแวดล้อม พื้นที่ป่าชายเลน โดยไม่นาสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่าออกนอกพื้นที่ (2) ในเขตพื้นที่ตาม (1) โดยจะนาสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรั งของสัตว์ป่าออกไปกระทาการ ตามภารกิจของหน่วยงานของรัฐนอกพื้นที่ดังกล่าว (3) กระทำการกับสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่า ซึ่งอยู่ในความครอบครอง โดยไม่ได้กระทาการในเขตพื้นที่ตาม (1) โครงการต้องระบุคณะผู้ดำเนินโครงการ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ควบคุมหรื อหัวหน้าโครงการ ผู้ร่วมโครงการ รวมทั้งคณะผู้รับจ้างหรือผู้ช่วยเหลือในโครงการ ้ หนา 25 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 45 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 กุมภาพันธ์ 2566
หมวด 2 การรับคำขอและการพิจารณาคำขอ ข้อ 7 หน่วยงานของรัฐแห่งใดที่ประสงค์จะขออนุญาตกระทำการใด ๆ แก่สัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่า ตามมาตรา 12 มาตรา 14 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มาตรา 15 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 มาตรา 28 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 เพื่อวัตถุประสงค์ในการสำรวจ การศึกษา การวิจัย หรือการทดลองทางวิช ำการ การคุ้มครองสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่า การบาบัดเยียวยาสัตว์ป่า การป้องกันหรือแก้ไขภยันตราย แก่ประชาชนหรือสัตว์ หรือเพื่อส่งเสริมการเพาะพันธุ์สัตว์ป่า หรือเพื่อส่งเสริมกิจการสวนสัตว์ ให้ยื่นคำขอพร้อมเอกสาร หลักฐาน และแบบเสนอโครงการเพื่อขออนุ ญาตต่ออธิบดี โครงการตามวรรคหนึ่งจะต้องมีสาระสาคัญ ดังนี้ (1) ชื่อโครงการ (2) ชื่อหน่วยงานและสังกัดของรัฐ ( 3 ) ชื่อผู้ควบคุมหรือหัวหน้าโครงการและผู้ร่วมโครงการ และลงลายมือชื่อผู้ควบคุมหรือ หัวหน้าโครงการและผู้ร่วมโครงการ ( 4 ) หน้าที่ ภารกิจ หรือความรับ ผิดชอบ ของหน่วยงานของรัฐ ( 5 ) เหตุผลความจาเป็นที่จะขออนุญาตกระทาการใด ๆ แก่สัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่า ( 6 ) สถานที่ดำเนินโครงการ ( 7 ) วิธีการกระทาการใด ๆ แก่สัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่า โดยละเอียด ( 8 ) ระยะเวลาดำเนินโครงการ ข้อ 8 ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐยื่นคำขอต่ออธิบดี โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ที่สานักบริหารงานกลางของกรม หรือที่สานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์หรือสานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์สาขา การแจ้งผลการขออนุญาตตามระเบียบนี้ หากผู้ขออนุญาตได้แจ้งความประสงค์หรือยินยอม ให้แ จ้งผลการพิจารณาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจแจ้งโดยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ข้อ 9 เมื่อได้รับคำขอแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ที่รับเรื่องออกใบรับคำขอให้แก่หน่วยงานของรัฐ ผู้ขออนุญาตไว้เป็นหลักฐาน และตรวจสอบคำขอและเอกสารหรือหลักฐานที่แน บมาพร้อมแบบคำขอ กรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่าคำขอไม่ถูกต้อง หรือเอกสารหรือหลักฐานไม่ครบถ้วน ให้แจ้งให้หน่วยงานของรัฐผู้ขออนุญาตทราบพร้อมด้วยเหตุผล เพื่อแก้ไขคำขอหรือเอกสาร หลักฐาน ประกอบคำขอให้ถูกต้องหรือจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ กาหนด ้ หนา 26 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 45 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 กุมภาพันธ์ 2566
หากผู้ขออนุญาตไม่แก้ไขคำขอหรือเอกสาร หลักฐานประกอบคำขอให้ถูกต้อง หรือไม่จัดส่ง เอกสารหรือหลักฐานให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กาหนดในวรรคสอง ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตทิ้งคำขอให้ พนักงานเจ้าหน้าที่จาหน่ายเรื่องออกจากสารบบ และแจ้งเป็นหนังสือพร้อมเหตุผลให้ ผู้ขออนุญาตทราบ หากผู้ขออนุญาตได้แก้ไขคำขอ หรือส่งเอกสารหรือหลักฐานแล้ว แต่ยังไม่ถูกต้อง หรือ ยังไม่ครบถ้วน แล้วแต่กรณี ให้ดำเนินการตามวรรคสอง ข้อ 10 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาแบบเสนอโครงการแล้วเสนอความเห็นเพื่อประกอบ การพิจารณาของอธิบดี โดยโครงการที่ขออนุญาตต้องไม่รบกวนการดำรงชีวิตตามธรรมชาติของสัตว์ป่า เกินสมควรและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านั้น การพิจารณาตามวรรคหนึ่งอธิบดีอาจแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาให้ความเห็นประกอบ การพิจารณาอนุญาตก็ได้ ข้อ 11 เมื่ออธิ บดีพิจารณาคำขอประกอบความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือคณะกรรมการ เกี่ยวกับการขออนุญาตนั้นแล้ว เห็นว่าถูกต้องและเหมาะสม ให้อธิบดีออกหนังสืออนุญาตให้หน่วยงาน ของรัฐดำเนินการตามโครงการได้ โดยอาจวางข้อกาหนดในหนังสืออนุญาตหรือเงื่อนไขท้ายหนังสือ อนุญาตก็ได้ หา กเป็นกรณีดำเนินโครงการในพื้นที่ของหน่วยงานของรัฐอื่นซึ่งมิใช่ในพื้นที่ที่หน่วยงานของกรม ผู้ได้รับอนุญาตต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐที่มีอานาจหน้าที่ในการดูแลพื้นที่ดังกล่าวด้วย หนังสืออนุญาตให้มีอายุตามความจาเป็นของโครงการ แต่ไม่เกินสองปีและไม่เกินคำขอ ข้อ 12 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งผลการอนุญาตหรือไม่อนุญาต ให้ผู้ขออนุญาตทราบเป็นหนังสือ พร้อมด้วยเหตุผลโดยไม่ชักช้า การพิจารณาคำขอตามข้อ 11 ให้พิจารณาตามวัตถุประสงค์การขออนุญาต โดยคำนึงถึง มาตรการการดำเนินการที่เหมาะสมเพีย งพอและภารกิจของหน่วยงานของรัฐนั้น รวมถึงหลักเกณฑ์ ประกอบการพิจารณา ดังต่อไปนี้ (1) เหตุผลความจาเป็นของโครงการ (2) ภาระที่จะตกแก่ทางราชการหากไม่กระทาการใด ๆ (3) ความเสียหายหรือความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการกระทาการนั้น (4) ความเหมาะสมตามหลักวิชาการของวิธีการ ที่ขอกระทาการตามโครงการ (5) พฤติการณ์อื่น ๆ ตามที่เห็นสมควร ข้อ 13 เมื่อหน่วยงานของรัฐได้รับหนังสืออนุญาตจากอธิบดี หากเป็นกรณีการดำเนิน โครงการในพื้นที่ของหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นที่มิใช่พื้นที่ในความรับผิดชอบดูแลของกรม หน่วยงานของรัฐ ที่ได้รับหนังสืออนุญำต ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ดังกล่าว ให้เข้าดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าวด้วย ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาตนั้น ไม่ได้รับอนุญาต จากหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ ให้หนังสืออนุญาตของอธิบดีนั้นเป็นอันสิ้นผล ้ หนา 27 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 45 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 กุมภาพันธ์ 2566
ห มวด 3 การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐตามที่ได้รับอนุญาต ข้อ 14 หน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาตและคณะผู้ดำเนินโครงการ ต้องดำเนินการ ตามหนังสืออนุญาต โครงการ และเงื่อนไขในการอนุญาต โดยเคร่งครัด ระหว่างดำเนินการตามโครงการ หากพบว่าสัตว์ป่าได้รับบาดเจ็บ เจ็บป่วย อ่อนแอ หรือ เป็นโรคติดต่อ หน่วยงานของรัฐผู้ได้รับอนุญาตหรือคณะผู้ดำเนินโครงการต้องรักษาพยาบาล และ ฟื้นฟูสุขภาพสัตว์ป่านั้นให้แข็งแรง หากสัตว์ป่านั้นตายลง จะต้องแจ้งสาเหตุการตายให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ทราบโดยเร็ว พร้อมเสนอวิธีการจัดการแก่ซากสัต ว์ป่านั้นด้วย และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ตรวจสอบสาเหตุการตาย และพิจารณาดำเนินการแก่ซากสัตว์ป่านั้นตามกฎหมายและระเบียบ แล้วแต่กรณี ต่อไป ข้อ 15 หากหน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาตมีความจาเป็นที่จะเปลี่ยนแปลงโครงการ ที่ได้รับอนุญาต ให้ยื่นขอเปลี่ยนแปลงรายละ เอียดโครงการเป็นหนังสือต่ออธิบดีพร้อมชี้แจงเหตุผล ของการขอเปลี่ยนแปลง พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และให้นาความในหมวด 2 มาใช้บังคับแก่การขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการโดยอนุโลม การขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการตามวรรคหนึ่ง โดยให้กระทาได้ เฉพาะเรื่อง ดังต่อไปนี้ ( 1 ) การเปลี่ยนแปลงพื้นที่หรือขอขยายพื้นที่ในการดำเนินการ ( 2 ) การเพิ่มผู้ร่วมโครงการ ( 3 ) การเปลี่ยนแปลงวิธีการล่าสัตว์ป่า ( 4 ) การเปลี่ยนแปลงจานวนของสัตว์ป่า ทั้งนี้ ต้องไม่เกินกว่าที่เคยได้รับอนุญาต ในกรณีที่มีคำสั่งอนุญาตให้แก้ไขรายการในหนังสืออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีออกหนังสือ อนุญาตฉบับใหม่แทนหนังสืออนุญาตฉบับเดิม และแจ้งให้หน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาตทราบ เมื่อได้ออกหนังสืออนุญาตฉบับใหม่แล้วให้หนังสืออนุญาตฉบับเดิมเป็นอันสิ้นผลบังคับ ข้อ 16 ในกรณีที่ผู้ควบคุมหรือหัวหน้าโครงการหรือผู้ร่วมโครงการผู้ใดพ้นจากคณะผู้ดำเนิน โครงการ ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาตแจ้งต่ออธิบดีให้ทราบโดยเร็ว แต่ไม่เกินสิบห้าวัน หากมีผลกระทบต่อการดำเนินการของโครงการที่ไม่อาจดำเนินโครงการต่อไปได้ ให้หัวหน้ำหน่วยงาน ของรัฐดังกล่าว แจ้งการล้มเลิกโครงการนั้นต่ออธิบดี ในกรณีเช่นว่านี้ให้หนังสืออนุญาตเป็นอันสิ้นผล ข้อ 17 ให้หน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาตส่งรายงานโครงการฉบับสมบูรณ์เมื่อสิ้นสุดโครงการ หากโครงการมีระยะเวลามากกว่าหกเดือนให้ส่งรายงานความก้าวหน้าโคร งการทุกหกเดือน ข้อ 18 เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ หรืออธิบดีมีคำสั่งเพิกถอนการอนุญาต หรือหนังสือ อนุญาตสิ้นผลตามระเบียบนี้ ให้หน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาตสรุปชนิดและจานวนสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่าที่คงเหลืออยู่จากการดำเนินโครงการ และเสน อแนวทางการดำเนินการต่อไปแก่สัตว์ป่า ้ หนา 28 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 45 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 กุมภาพันธ์ 2566
ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่านั้น ต่ออธิบดีเพื่อพิจารณาสั่งดำเนินการ หากเห็นชอบให้สั่งดำเนินการ ตามที่เสนอหรือสั่งดำเนินการเป็นอย่างอื่นต่อไป กรณีสิ้นสุดระยะเวลาโครงการปกติ และการดำเนินโครงการเป็นการกระทากับสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่าในพื้นที่ตามข้อ 6 (1) และ (2) หากหน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาต ประสงค์จะครอบครองสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่าตามหนังสืออนุญาตที่สิ้น สุดนั้น เปลี่ยนแปลงไปจากรายละเอียดในโครงการที่ได้รับอนุญาต ให้เสนอเป็นหนังสือต่ออธิบดี ในกรณีเช่นว่านี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่าที่คงเหลือเท่าใด ถูกต้องตามรายงาน ตามวรรคหนึ่งหรือไม่ และพิจารณาความเหมาะสมดังกล่ำว โดยเสนอความเห็นประกอบการพิจารณา ต่ออธิบดี ในการออกหนังสืออนุญาตให้ครอบครองซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่านั้นได้ ข้อ 19 หากสิ้นสุดระยะเวลาตามหนังสืออนุญาตแล้ว หน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาต ยังดำเนินโครงการไม่แล้วเสร็จ ให้แจ้งเหตุผลควา มจาเป็นที่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จ ได้เป็นหนังสือ พร้อมเสนอขอขยายระยะเวลาหรือยุติโครงการ และรายงานผลการดำเนินโครงการต่ออธิบดี และหากต้องการขยายระยะเวลาให้นาความในหมวด 2 มาใช้ในการพิจารณาการขอขยายระยะเวลา หรือการดำเนินการใด ๆ ในโครงการต่อไป โดยอ นุโลม หากอธิบดีพิจารณาแล้ว เห็นว่าหน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาตมีความจาเป็นต้องดำเนินการ โครงการให้แล้วเสร็จสมบูรณ์อันเป็นประโยชน์ต่อวัตถุประสงค์ของโครงการ อธิบดีอาจขยายระยะเวลา การดำเนินการตามโครงการได้แต่ไม่เกินหนึ่งปี หมวด 4 การกากับดูแล และการควบคุม ข้อ 20 โครงการที่ดำเนินการในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า พื้นที่เตรียมการ กำหนดเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พื้นที่เตรียมการกำหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ และสวนรุกขชาติ ให้ดำเนินการตามระเบียบที่เกี่ยวข้ องกับการเข้าไป ในพื้นที่หรือการกระทาการใด ๆ ในพื้นที่ดังกล่าวด้วย ข้อ 21 พนักงานเจ้าหน้าที่มีอานาจในการเข้าตรวจสอบ ควบคุมการดำเนินการใด ๆ ได้ โดยคณะผู้ดำเนินโครงการต้องอานวยความสะดวกในการตรวจสอบแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งในพื้นที่ ตามข้อ 6 (1) และ (2) หากเป็นในพื้นที่ตามข้อ 6 (3) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบสัตว์ป่า ในพื้นที่ดังกล่าวได้ในเวลากลางวันหรือต่อเนื่องไปในเวลากลางคืน เพียงเท่าที่จาเป็น กรณีพื้นที่ตามวรรคหนึ่งอยู่ในพื้นที่ของหน่วยงานอื่นให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานหน่วยงาน เจ้าของพื้นที่ก่อนเข้าตรวจสอบ ควบคุมการดำเนินการของคณะผู้ดำเนินโครงการ ข้อ 22 ระหว่างดำเนินโครงการ หากหน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาต ไม่อานวยความสะดวก ในการตรวจสอบการดำ เนินโครงการ หรือมีเหตุอันควรสงสัยได้ว่า หน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาต ้ หนา 29 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 45 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 กุมภาพันธ์ 2566
หรือผู้ควบคุมหรือหัวหน้าโครงการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกาหนดในหนังสืออนุญาตหรือเงื่อนไข ท้ายหนังสืออนุญาต หรือดำเนินโครงการไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาต ให้พนักงาน เจ้ำหน้าที่สั่งระงับการดำเนินการแก่สัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่าที่ได้รับอนุญาตหรือ ที่มีผลกระทบแก่สัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่า เป็นการชั่วคราวไม่เกินสามสิบวัน เพื่อเข้าตรวจสอบโครงการและสั่งการให้หน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาตปรับปรุง แก้ไข ให้เหมาะสม หรือถูกต้องภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กาหนด เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว หากหน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาต หรือผู้ควบคุมหรือ หัวหน้าโครงการ ไม่ยินยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ หรือไม่ปฏิบัติคำสั่งของพนักงาน เจ้าหน้าที่ ใ ห้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอข้อเท็จจริงพร้อมความเห็นรายงานต่ออธิบดี เพื่อมีคำสั่งให้คณะ ผู้ดำเนินโครงการระงับการดำเนินการแก่สัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่าจนกว่าจะมีการแก้ไข ให้ถูกต้อง ในกรณีที่อธิบดีเห็นว่าการดำเนินการของคณะผู้ดำเนินโครงการแก่สัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือ รังของสัตว์ป่านั้น เป็นการดำเนินการที่นอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาตและเป็นความผิดอย่างร้ายแ รง ให้อธิบดีมีคำสั่งเพิกถอนหนังสืออนุญาต คำสั่งระงับการดำเนินโครง การหรือคำสั่งเพิกถอนหนังสืออนุญาต ให้อธิบดีแจ้งเป็นหนังสือ พร้อมแสดงเหตุผลแก่หน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาตทราบ ข้อ 23 สัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่าที่คงเหลือจากโครงการเฉพาะในส่วนของสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่าตามข้อ 6 (1) และ (2) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับคืนหรือให้หน่วยงาน ของรัฐที่ได้รับอนุญาตส่งคืนให้แก่กรมภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สิ้นสุดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต หากไม่สามารถส่งคืนได้ให้ชาระเป็นเงินแทน โดยเทียบเคียงกับราคาสัตว์ป่าที่กาหนดในระเบียบ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่ำ และพันธุ์พืช ที่ออกตามความในมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ข้อ 24 เมื่อหน่วยงานของรัฐได้รับอนุญาตประสงค์จะนาบุคคลอื่นนอกเหนือจากรายชื่อที่ระบุ ในโครงการตามหนังสืออนุญาต นามาช่วยเหลือในการดำเนินโครงการ ให้บุคคลเหล่า นั้นดำเนินการ ได้เฉพาะในกรอบของโครงการที่ได้รับหนังสืออนุญาตภายใต้การกากับดูแลของผู้ควบคุมหรือหัวหน้า โครงการของหน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาตและหน่วยงานเจ้าของพื้นที่โครงการเท่านั้น โดยผู้ควบคุม หรือหัวหน้าโครงการของหน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาต ต้องรายงาน หน่วยงานของรัฐที่มีอานาจหน้าที่ กากับดูแลพื้นที่เพื่อทราบและดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องตามที่หน่วยงานของรัฐนั้น ได้แจ้งหรือออกคำสั่งให้ปฏิบัติด้วย ในการดำเนินโครงการของบุคคลอื่นตามวรรคหนึ่ง ซึ่งปฏิบัติตามคำสั่งของหน่วยงานของรัฐ ที่ได้รับอนุญาต หรือคำสั่งของผู้ควบคุมหรือหัวหน้าโครงการโดยสุจริต บุคคลนั้นย่อมไม่มีความผิด ข้อ 25 ความรับผิดทางอาญา ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาต ผู้ควบคุมหรือ หัวหน้าโครงการ ผู้ร่วมโครงการ กระทาการไม่เป็นไปตามโครงการ ที่ได้รับอนุญาต ข้อกาหนด ้ หนา 30 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 45 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 กุมภาพันธ์ 2566
ในหนังสืออนุ ญาตหรือเงื่อนไขท้ายหนังสืออนุญาต อันเป็นการกระทาผิดตามมาตรา 12 มาตรา 14 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มาตรา 15 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 มาตรา 28 และมาตรา 32 ซึ่งมีโทษตามมาตรา 89 มาตรา 90 มาตรา 91 มาตรา 92 มาตรา 93 และมาตรา 95 แห่งพระ ราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 แล้วแต่กรณี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ แจ้งความดำเนินคดีแก่หน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาต ผู้ควบคุมหรือหัวหน้าโครงการ ผู้ร่วมโครงการ และดำเนินการตามมาตรา 81 (4) แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ต่อไป ข้อ 26 ความรับผิดทางแพ่ง ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาต ผู้ควบคุมหรือหัวหน้า โครงการ ผู้ร่วมโครงการ กระทำการอันเป็นความผิดตามข้อ 24 ซึ่งมีความรับผิดทางแพ่งด้วย ให้หน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาต ผู้ควบคุมหรือหัวหน้าโครงการ ผู้ร่วมโครงการต้องรับผิดชอบ ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กรม โดยต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หากบุคคลตามวรรคหนึ่งที่กระทาความผิดจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กรมตามระเบียบ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชอื่น ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ ป่า พ.ศ. 2562 ก็ให้เรียกชดใช้ค่าเสียหายตามระเบียบดังกล่าวมาในคราวเดียวกันกับการเรียกค่าเสียหาย ตามวรรคหนึ่ง ข้อ 27 กรณีหนังสืออนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดเสียหายในสาระสำคัญ ให้หน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาตยื่นหนังสือต่ออธิบดี พร้อมด้วยหนังสืออ นุญาตที่ชำรุดเสียหาย หรือสำเนาหนังสืออนุญาต หรือหลักฐานบันทึกประจาวันแจ้งหนังสืออนุญาตสูญหาย แล้วแต่กรณี เพื่อขอให้อธิบดีออกหนังสืออนุญาตฉบับใหม่แทนหนังสืออนุญาตฉบับเดิม เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและหลักฐานตามวรรคหนึ่งแล้ว เห็นว่าถูกต้อง และครบถ้วน และหนังสืออนุญาตสูญหาย ถูกทาลาย หรือชารุดเสียหายในสาระสาคัญจริง ให้เสนอ ความเห็นประกอบการพิจารณาต่ออธิบดีเพื่อออกหนังสือฉบับใหม่แทนหนังสืออนุญาตฉบับเดิม และ ให้หนังสืออนุญาตฉบับเดิมเป็นอันสิ้นผลบังคับ หมวด 5 บทเฉพาะกาล ข้อ 28 บรรดาการใดที่หน่วยงานของรัฐกระทำเพื่อประโยชน์ในการสำรวจ การศึกษา การวิจัย หรือการทดลองทางวิชาการ การคุ้มครองสัตว์ป่า การบาบัดเยียวยาสัตว์ป่า การป้องกันหรือ แก้ไขภยันตรายแก่ประชาชนหรือสัตว์ หรือเพื่อส่งเสริมการเพาะพันธุ์สัตว์ป่า หรือเพื่อส่งเสริมกิจ การ สวนสัตว์ ก่อนระเบียบนี้มีผลใช้บังคับซึ่งเป็นการได้รับอนุญาตตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และได้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยการอนุญาตให้ทางราชการกระทาการล่า เพาะพันธุ์ ครอบครอง นาเข้า ส่งออก หรือนาผ่าน ้ หนา 31 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 45 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 กุมภาพันธ์ 2566
ซึ่งสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่า การเก็บ ทาอันตราย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งรังของสัตว์ป่า และการเรียกเก็บ และชาระค่าใช้จ่าย ค่าบริการ หรือค่าตอบแทนและราคาสัตว์ป่า พ.ศ. 2540 และได้กระทาต่อเนื่อง จนกว่าการได้รับอนุญาตสิ้นสุดลง ให้ถือเสมือนว่าเ ป็นการกระทาที่ได้รับอนุญาตตามระเบียบนี้ด้วย ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 25 6 6 อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทน อธิบดี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ้ หนา 32 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 45 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 กุมภาพันธ์ 2566
แบบ สป . ม .73 ( ก )-1 คําขออนุญาต กระทําการกับสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่า ตามมาตรา 73 (1) แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ . ศ . 2562 เขียนที่ … วันที่ … เดือน … พ . ศ . … 1 . ข้าพเจ้า ( หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ )… ตําแหน่งทางวิชาการ ( ถ้ามี )… บัตรประจําตัวประชาชน / บัตรประจําตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ เลขที่ … ออกโดย … อายุ … ปี สัญชาติ … วุฒิการศึกษาสูงสุด … จากสถาบันการศึกษา … สาขาวิจัยที่ชํานาญ … สถานที่ทํางาน … เลขที่ … หมู่ที่ … ถนน … ตําบล / แขวง … อําเภอ / เขต … จังหวัด … รหัสไปรษณีย์ … ที่อยู่ปัจจุบัน เลขที่ … หมู่ที่ … ถนน … ตําบล / แขวง … อําเภอ / เขต … จังหวัด … รหัสไปรษณีย์ … โทรศัพท์ … โทรสาร … ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)… เป็นหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ชื่อ … สังกัด ( กระทรวง / กรม )… 2 . มีภารกิจของหน่วยงานของรัฐ ( ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ ) การสํารวจ การศึกษา การวิจัย หรือการทดลองทางวิชาการ การคุ้มครองสัตว์ป่า การบําบัดเยียวยาสัตว์ป่า การป้องกันหรือแก้ไขภยันตรายแก่ประชาชนหรือสัตว์ การส่งเสริมการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าหรือส่งเสริมกิจการสวนสัตว์ 3 . ขอยื่นคําขอต่ออธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยข้าพเจ้ามีความประสงค์ให้คณะผู้ดําเนินโครงการ จํานวน … คน มีรายชื่อดังนี้ ( 1 ) … ผู้ควบคุมหรือหัวหน้าโครงการ ( 2 ) … ผู้ร่วมโครงการ ( 3 ) … ผู้ร่วมโครงการ ( 4 ) … ผู้ร่วมโครงการ ( 5 ) … ผู้ร่วมโครงการ 4. ขอกระทําการ …
- 2 - 4 . ขอกระทําการกับสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่า ตามมาตราดังนี้ ( ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ ) มาตรา 12 ล่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง มาตรา 14 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เก็บ ทําอันตราย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งรังของสัตว์ป่าสงวน หรือรังของสัตว์ป่าคุ้มครอง มาตรา 15 ทิ้งหรือปล่อยเป็นอิสระ หรือกระทําการใด ๆ ให้สัตว์ป่าพ้นจากการดูแลของตน ซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือสัตว์ป่าควบคุม มาตรา 17 มีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว มาตรา 18 มีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว มาตรา 19 มีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าควบคุม เฉพาะชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดให้แจ้ง การครอบครองและซากสัตว์ป่าดังกล่าว มาตรา 28 เพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ หรือสัตว์ป่าควบคุมที่รัฐมนตรีประกาศ ให้เพาะพันธุ์ได้ มาตรา 32 มีไว้ในครอบครองหรือดําเนินการใด ๆ แก่สัตว์ป่าอันตรายที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด เพื่อวัตถุประสงค์ตามภารกิจของหน่วยงานตามข้อ 2 ในพื้นที่ / ท้องที่ … … ชื่อโครงการ … มีกําหนดเวลา … ปี … เดือน … วัน ตั้งแต่วันที่ … เดือน … พ . ศ . … ถึงวันที่ … เดือน … พ . ศ . … ( หมายเหตุ : อนุญาตได้คราวละไม่เกิน 2 ปี ) 5 . โดยจะกระทําการตามข้อ 4 กับสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่า ดังต่อไปนี้ 1 . … จํานวน … 2 . … จํานวน … 3 . … จํานวน … 4 . … จํานวน … 5 . … จํานวน … รายละเอียดการกระทําการใด ๆ กับสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่า เป็นไปตามแบบ เสนอโครงการที่แนบมาพร้อมนี้ 6 . พร้อมกับคําขอนี้ ข้าพเจ้าได้แนบเอกสาร หลักฐานต่าง ๆ มาด้วย ดังนี้ กรณีมีพื้นที่ดําเนินโครงการอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้ใช้เอกสาร หลักฐานประกอบโครงการที่ยื่นขออนุญาตตามระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการอนุญาตให้กระทําการในอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ และสวนรุกขชาติ ตามมาตรา 22 วรรคสอง มาตรา 27 วรรคสาม และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ . ศ . 256 2 พ . ศ . 2564 หรือระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการอนุญาต ให้กระทําการในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ตามมาตรา 53 วรรคสาม มาตรา 54 วรรคสอง มาตรา 55 วรรคสาม มาตรา 67 วรรคสอง และมาตรา 71 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครอง สัตว์ป่า พ . ศ . 2562 พ . ศ . 2565 โดยอนุโลม กรณีพื้นที่ …
-3- กรณีพื้นที่ดําเนินโครงการทั้งหมดอยู่นอกพื้นที่รับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 1 . แสดงบัตรประจําตัวประชาชนหรือบัตรประจําตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือแนบสําเนาบัตรดังกล่าว 2 . แบบเสนอโครงการ 3 . ประวัติคณะผู้ดําเนินโครงการ 4 . หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐหรือสถาบันการศึกษาของไทย 5 . เอกสารหรือหลักฐานอื่น ๆ ตามที่ทางราชการแจ้งให้นําส่ง ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ข้อความที่ได้แสดงไว้ข้างต้นเป็นความจริงทุกประการ และข้าพเจ้ายินดี จะปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกําหนด ประกาศ คําสั่ง วิธีการ ตลอดจนเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง และจะปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทําหน้าที่ควบคุม ดูแล และรับผิดชอบพื้นที่โดยเคร่งครัด โดยมอบหมายให้ … เบอร์โทร … ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)… เป็นผู้ประสานงาน กรณีคําขอฯ ไม่ถูกต้อง เอกสารหรือหลักฐานประกอบคําขอฯ ไม่ครบถ้วน หรือรายละเอียด แบบเสนอโครงการยังไม่เหมาะสมเพียงพอต่อการพิจารณา ทั้งนี้ ยินยอม ไม่ยินยอม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานหรือแจ้งผลการพิจารณา ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)… ( ลงชื่อ )… ผู้ขออนุญาต (…) ตําแหน่ง …
แบบ สป . ม .73 ( ก )- 2 ประวัติผู้ควบคุมหรือหัวหน้าโครงการ ข้าพเจ้า ( ภาษาไทย )… ตําแหน่งทางวิชาการ ( ถ้ามี )… บัตรประจําตัวประชาชน / บัตรประจําตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ เลขที่ … อายุ … ปี สัญชาติ … วุฒิการศึกษาสูงสุด … จากสถาบันการศึกษา … สาขาวิจัยที่ชํานาญ … สถานที่ทํางาน … เลขที่ … หมู่ที่ … ถนน … ตําบล / แขวง … อําเภอ / เขต … จังหวัด … รหัสไปรษณีย์ … ที่อยู่ปัจจุบัน เลขที่ … หมู่ที่ … ถนน … ตําบล / แขวง … อําเภอ / เขต … จังหวัด … รหัสไปรษณีย์ … โทรศัพท์ … โทรสาร … ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)… เป็นผู้ควบคุมหรือหัวหน้าโครงการ เรื่อง … … ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ข้อความที่ได้แสดงไว้ข้างต้นเป็นความจริงทุกประการ ( ลงชื่อ )… ผู้ควบคุมหรือหัวหน้าโครงการ (…) ตําแหน่ง … หมายเหตุ เอกสารประกอบ - แสดงบัตรประจําตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ (Smart Card) หรือ แนบสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนหรือบัตรประจําตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหนังสือเดินทาง
แบบ สป . ม .73 ( ก )- 3 ประวัติผู้ร่วมโครงการ ข้าพเจ้า ( ภาษาไทย )… ( ภาษาอังกฤษ )… ตําแหน่งทางวิชาการ ( ถ้ามี )… บัตรประจําตัวประชาชน / บัตรประจําตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ เลขที่ … อายุ … ปี สัญชาติ … วุฒิการศึกษาสูงสุด … จากสถาบันการศึกษา … สาขาวิจัยที่ชํานาญ … สถานที่ทํางาน … เลขที่ … หมู่ที่ … ถนน … ตําบล / แขวง … อําเภอ / เขต … จังหวัด … รหัสไปรษณีย์ … ที่อยู่ปัจจุบัน เลขที่ … หมู่ที่ … ถนน … ตําบล / แขวง … อําเภอ / เขต … จังหวัด … รหัสไปรษณีย์ … โทรศัพท์ … โทรสาร … ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)… ร่วมดําเนินงานในโครงการ เรื่อง … … ( ลงชื่อ )… ผู้ร่วมโครงการ (…) ตําแหน่ง … ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ข้อความที่ได้แสดงไว้ข้างต้นเป็นความจริงทุกประการ ( ลงชื่อ )… ผู้ควบคุมหรือหัวหน้าโครงการ (…) ตําแหน่ง … หมายเหตุ เอกสารประกอบ - แสดงบัตรประจําตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ (Smart Card) หรือ แนบสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนหรือบัตรประจําตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหนังสือเดินทาง
แบบ สป . ม .73 ( ก )- 4 แบบเสนอโครงการ เพื่อกระทําการกับสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่า ตามมาตรา 73 (1) แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ . ศ . 2562 1 . ชื่อโครงการ ( ภาษาไทย )… ( ภาษาอังกฤษ )… 2. คณะผู้ดําเนินโครงการ คํานําหน้าชื่อ / ตําแหน่ง ชื่อ - นามสกุล หน่วยงาน บทบาทในโครงการ ทางวิชาการ ผู้ควบคุม / หัวหน้าโครงการ … … … … ผู้ร่วมโครงการ 1. … … … … 2. … … … … 3 . ชื่อหน่วยงานของรัฐที่ให้การรับรอง … สังกัด ( กระทรวง / กรม )… หน้าที่และภารกิจของหน่วยงานรัฐ … 4. หลักการและเหตุผล ความจําเป็นที่ต้องดําเนินโครงการ … 5. วัตถุประสงค์โครงการ … 6. สถานที่ดําเนินโครงการ … 7. วิธีการดําเนินงานและแผนการปฏิบัติงาน … 8. ระยะเวลาดําเนินโครงการ … 9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ … 10. งบประมาณ / แหล่งทุน ในการดําเนินโครงการ … 11. เอกสารอ้างอิง … ( ลงชื่อ )… ผู้ควบคุมหรือหัวหน้าโครงการ (…) ตําแหน่ง … ( ลงชื่อ )… ผู้ร่วมโครงการ (…) ตําแหน่ง …
คําอธิบายรายละเอียดแบบเสนอโครงการ หัวข้อ คําอธิบายรายละเอียด 1 . ชื่อโครงการ ให้ระบุชื่อโครงการเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2 . คณะผู้ดําเนินโครงการ ให้ระบุชื่อหัวหน้าโครงการและผู้ร่วมโครงการทุกคน พร้อมทั้งระบุตําแหน่ง และชื่อหน่วยงานหรือสถานที่ทํางาน 3 . ชื่อหน่วยงาน สังกัด ของรัฐ รวมถึงหน้าที่ ภารกิจ หรือความรับผิดชอบ ของหน่วยงานของรัฐ 3 . 1 ให้ระบุชื่อหน่วยงานและสังกัดที่ดําเนินโครงการ 3 . 2 หน้าที่ ภารกิจ หรือความรับผิดชอบของหน่วยงานข้อ 3 . 1 3 . 3 ให้ระบุชื่อหน่วยงานที่ร่วมโครงการ 3 . 4 ให้ระบุชื่อหน่วยงานราชการไทยหรือสถาบันทางวิชาการของรัฐที่ให้การรับรอง โครงการ 4 . หลักการและเหตุผล ให้ชี้แจงหลักการและเหตุผลของโครงการโดยละเอียด ซึ่งสื่อให้เห็นถึงเหตุผล ความจําเป็นที่จะขออนุญาตกระทําการใด ๆ แก่สัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่า 5 . วัตถุประสงค์โครงการ ให้ระบุวัตถุประสงค์โครงการที่สําคัญเป็นข้อ ๆ 6 . สถานที่ดําเนินการ โครงการ ให้ระบุชื่อพื้นที่หรือบริเวณที่เข้าไปดําเนินโครงการให้ชัดเจน เพื่อสะดวกต่อการควบคุม ของพนักงานเจ้าหน้าที่ 7 . วิธีการดําเนินงาน และแผนการปฏิบัติงาน ให้บรรยายวิธีการและขั้นตอนการดําเนินโครงการ ตารางเวลาดําเนินการ ตลอดจน ขอบเขตและสถานที่ดําเนินโครงการโดยละเอียด หากผู้ขออนุญาตประสงค์ จะขอเก็บตัวอย่างทรัพยากรธรรมชาติ จะต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้ ( 1 ) ให้ระบุจํานวน ชนิด เพศ ขนาด ปริมาณ สัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่า ที่จะดําเนินโครงการให้ชัดเจน ( 2 ) ให้ระบุเหตุผลความจําเป็นในการจัดเก็บตัวอย่าง และวิธีการจัดการตัวอย่าง ( 3 ) หากประสงค์จะนําตัวอย่างออกนอกประเทศต้องระบุชนิด จํานวน รูปแบบ ตัวอย่าง เหตุผลความจําเป็น วิธีการปฏิบัติต่อตัวอย่าง และสถานที่ที่จะนําไป ดําเนินโครงการโดยละเอียด ( 4 ) ให้ระบุวิธีการจัดการกับตัวอย่างเมื่อเสร็จสิ้นโครงการหรือคงเหลือจาก การดําเนินโครงการ หากมีโครงการหรือกิจกรรมย่อยภายใต้ชื่อโครงการ ที่เสนอ ต้องแยกอธิบายวิธีการและสถานที่ ตลอดจนขั้นตอนการดําเนินการ โดยละเอียด เสมือนหนึ่งเป็นโครงการเอกเทศในแต่ละโครงการ ทั้งนี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ขอสงวนสิทธิที่จะพิจารณา จํานวนตัวอย่างที่ขอเก็บตามความเหมาะสม ( 5 ) กรณีมีแบบสอบถามประกอบโครงการ ให้แนบแบบสอบถามมาเพื่อประกอบ การพิจารณาด้วย 8 . ระยะเวลาดําเนินการ โครงการ ให้ระบุระยะเวลาในการดําเนินโครงการตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดโครงการ ในกรณี ที่ขออนุญาตเข้าไปดําเนินโครงการในพื้นที่หลายแห่ง จะต้องระบุช่วงเวลา ที่ขอเข้าพื้นที่แต่ละแห่งด้วย ทั้งนี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ขอสงวนสิทธิที่จะพิจารณาระยะเวลาที่เข้าไปดําเนินโครงการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ตามความเหมาะสม 9. ผลที่คาดว่า …
-2- หัวข้อ คําอธิบายรายละเอียด 9 . ผลที่คาดว่าจะได้รับ ให้ระบุประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดําเนินโครงการนี้ 10 . งบประมาณหรือแหล่งทุน ในการดําเนินโครงการ ให้แจ้งรายละเอียดงบประมาณตามหมวดรายจ่ายแยกแต่ละกิจกรรม / โครงการ เป็นรายปี จนเสร็จสิ้นโครงการ หรือแหล่งทุนเพื่อใช้ในการดําเนิน โครงการในครั้งนี้ และแจ้งสถานภาพเพื่อให้ทราบว่าได้รับการอนุมัติเงินทุน แล้วหรือไม่ ประการใด 11 . เอกสารอ้างอิง ให้ระบุทุกประเภทเอกสารที่มีการอ้างอิงที่ไว้ในโครงการ โดยการอ้างอิงนั้น ให้เป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล 12 . ลงลายมือชื่อผู้ควบคุม หรือหัวหน้าโครงการ และผู้ร่วมโครงการ ให้ลงลายมือชื่อคณะผู้ดําเนินโครงการทุกคน
แบบ สป . ม .73 ( ข ) หนังสืออนุญาตให้หน่วยงานของรัฐดําเนินการเกี่ยวกับสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่า ตามมาตรา 73 (1) แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ . ศ . 2562 เลขที่ …/… ส่วนราชการ … วันที่ … เดือน … พ . ศ . … อนุญาตให้ … สังกัด … เลขที่ … หมู่ที่ … ถนน … ตําบล / แขวง … อําเภอ / เขต … จังหวัด … รหัสไปรษณีย์ … กระทําการกับสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่า ตามมาตรา 73 (1) แห่งพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ . ศ . 2562 ภายใต้โครงการ … … เพื่อประโยชน์ตามภารกิจของหน่วยงานของรัฐในการ … โดยมี … เป็นผู้ควบคุมหรือหัวหน้าโครงการ พร้อมด้วยผู้ร่วมโครงการ จํานวน … คน ดังนี้ ( 1 ) … (2) … (3) … (4) … (5) … ในท้องที่ / พื้นที่ จํานวน … แห่ง คือ ( 1 ) … หน่วยงาน … (2) … หน่วยงาน … ( 3 ) … หน่วยงาน … ตั้งแต่วันที่ … เดือน … พ . ศ . … ถึงวันที่ … เดือน … พ . ศ . … ทั้งนี้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขแนบท้ายหนังสืออนุญาตนี้ ( ลงชื่อ )… ผู้อนุญาต (…) ตําแหน่ง …
เงื่อนไขแนบท้ายหนังสืออนุญาต ให้ผู้รับหนังสืออนุญาตดําเนินการเกี่ยวกับสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามระเบียบ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้หน่วยงานของรัฐดําเนินการ เกี่ยวกับสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือรังของสัตว์ป่า ตามมาตรา 73 (1) แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ . ศ . 2562 พ . ศ . 2566 ตามหนังสืออนุญาตฯ เลขที่ …/… ลงวันที่ … ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ 1 . กรณีดําเนินโครงการในพื้นที่อนุรักษ์ที่อยู่ในกํากับดูแลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้ผู้รับหนังสืออนุญาตปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และเงื่อนไขในการอนุญาตที่เกี่ยวข้อง กับการดําเนินโครงการในพื้นที่อนุรักษ์ดังกล่าวด้วย โดยหากเงื่อนไขแนบท้ายหนังสืออนุญาตนี้เป็นการซ้ําซ้อน กับเงื่อนไขในการอนุญาตให้ดําเนินโครงการในพื้นที่อนุรักษ์ ให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการอนุญาตให้ดําเนิน โครงการในพื้นที่อนุรักษ์เป็นหลัก กรณีดําเนินการในพื้นที่อื่นต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ตลอดจน ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อกําหนด ประกาศ คําสั่ง วิธีการ และเงื่อนไขที่ที่พื้นที่นั้นกําหนด กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งการตามอํานาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องปฏิบัติ ตามอย่างเคร่งครัด 2 . ต้องรายงานความก้าวหน้าโครงการให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จํานวน 3 ชุด ทุก 6 เดือน และสําเนาข้อมูลดิบ หรือสรุปผลงานสะสมตั้งแต่เริ่มโครงการหากได้รับการร้องขอจากกรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 3. เมื่อสิ้นสุดโครงการให้ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์และเอกสารที่นําไปเผยแพร่ในวารสารต่าง ๆ จํานวนอย่างละ 5 ชุด พร้อมอุปกรณ์บันทึกไฟล์ข้อมูลดังกล่าว 1 ชุด ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทั้งนี้ ให้ถือว่าผลงานดังกล่าวเป็นสิทธิร่วมกันระหว่างผู้ควบคุมหรือหัวหน้าโครงการ หรือผู้ร่วมโครงการ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 4. ต้องปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ แผนงาน วิธีการ และเงื่อนไขอื่นที่ระบุไว้ในข้อตกลง ของโครงการที่กําหนดไว้เท่านั้น 5. กรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือเงื่อนไข หรือทําให้เกิดความเสียหาย หรือเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม ต่อชนิดพันธุ์และต่อพันธุกรรมแห่งพืช สัตว์ จุลินทรีย์ หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช อาจระงับ การอนุญาต และดําเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 6. หากความจําเป็นต้องขยายระยะเวลาดําเนินโครงการหรือเปลี่ยนแปลงโครงการที่ได้รับ อนุญาต ให้ยื่นเป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อชี้แจงเหตุผลความจําเป็น กรณีขอขยายระยะเวลาให้ยื่นหนังสือก่อนหนังสืออนุญาตเดิมสิ้นสุดและให้แนบรายงานความก้าวหน้า ของโครงการที่ทํามาแล้วเป็นภาษาไทย จํานวน 5 ชุด 7. โครงการ …
-2- 7. โครงการที่ดําเนินการเพื่อประโยชน์ในการสํารวจ การศึกษา การวิจัย หรือการทดลอง ทางวิชาการ 7.1 ต้องนําผลการศึกษาในโครงการดังกล่าว มาเสนอในการประชุม / สัมมนา / ฝึกอบรม ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จัดขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี จากการดําเนินโครงการให้เจ้าหน้าที่และสาธารณชนนําไปใช้ประโยชน์ในการคุ้มครองรักษาทรัพยากรต่อไป 7.2 กรณีที่มีการเก็บตัวอย่างจะต้องส่งตัวอย่างมาเก็บรักษาไว้ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือเก็บในสถานที่ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เห็นชอบ ทั้งนี้ กรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าของในตัวอย่างนั้น ๆ และการนําตัวอย่างไปใช้ประโยชน์อื่นใด นอกเหนือจากที่ระบุในหนังสืออนุญาต ต้องได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ก่อน 7.3 ในกรณีผู้รับหนังสืออนุญาตให้ร่วมศึกษาหรือวิจัยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้ สถาบัน ทางวิชาการหรือหน่วยงานราชการในประเทศไทยที่รับรองและร่วมรับผิดชอบโครงการ หรือหน่วยงานต้นสังกัด ต้องรับผิดชอบให้มีการปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้ 7.4 กรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาต ประสงค์จะนําผลการศึกษาหรือวิจัยไปจดทะเบียนตาม กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ (Copy Right) หรือทะเบียนสิทธิบัตร (Patent) หรือเครื่องหมาย การค้า (Trade Mark) หรือทะเบียนตามกฎหมายอื่น เพื่อผลิตเป็นอุตสาหกรรมหรือทางการค้า หรือพิมพ์ ผลงานเพื่อจําหน่าย ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ก่อน จึงจะดําเนินการได้ และให้ถือว่า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และสิทธิตามกฎหมายอื่นนั้น เป็นสมบัติ ร่วมกันกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และต้องทําความตกลงการแบ่งปันผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น ในภายหน้าให้กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นกรณี ๆ ไป 8. เงื่อนไขอื่น ๆ ( ถ้ามี ) ( ลงชื่อ )… ผู้อนุญาต (…) ตําแหน่ง …