ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลท่านา เรื่อง โครงสร้างอำนาจหน้าที่ วิธีดำเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อรับข้อมูลข่าวสารของราชการ
ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลท่านา เรื่อง โครงสร้างอำนาจหน้าที่ วิธีดำเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อรับข้อมูลข่าวสารของราชการ
ประกาศองค์การบริหารส่วนตําบลท่านา เรื่อง โครงสร้างอํานาจหน้าที่ วิธีดําเนินงาน และสถานที่ติดต่อ เพื่อรับข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 7 ( 1 ) ( 2 ) และ ( 3 ) ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ . ศ . 2540 ที่จะให้ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงและได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดําเนินการและดําเนินงานต่าง ๆ ของทางราชการและสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยถูกต้องกับสภาพความเป็นจริง จึงสมควรประกาศโครงสร้างและการจัดองค์กรในการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนตําบลท่านา และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร ดังนี้ 1 . การจัดโครงสร้างองค์กรในการดําเนินการ อํานาจหน้าที่ที่สําคัญขององค์การบริหารส่วนตําบล เป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ . ศ . 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2 . องค์การบริหารส่วนตําบลท่านา จัดโครงสร้างและองค์กรในการดําเนินการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) สํานักปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล ( 2 ) กองคลัง ( 3 ) กองช่าง ( 4 ) กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โครงสร้างการบริหารขององค์การบริหารส่วนตําบลท่านา ฝ่ายการเมือง ( 1 ) สภาองค์การบริหารส่วนตําบลท่านา ประกอบด้วย สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลท่านา ที่ได้รับการเลือกตั้งหมู่บ้านละ 1 คน โดยให้เขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง อยู่ในวาระคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง ( 2 ) คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตําบลท่านา ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตําบล 1 คน รองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลไม่เกิน 2 คน เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตําบล 1 คน อยู่ในวาระคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง ้ หนา 180 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
โครงสร้างส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนตําบลท่านา ฝ่ายประจํา ( 1 ) สํานักปลัด มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานราชการทั่วไป งานกิจการสภา งานประชาสัมพันธ์ งานส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ งานการเลือกตั้ง งานส่งเสริมการท่องเที่ยว งานวิเคราะห์นโยบายและแผน งานยุทธศาสตร์ งานจัดทําแผนพัฒนา งานส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของประชาชน งานงบประมาณ งานบริการเผยแพร่วิชาการ งานสถิติข้อมูล งานการบริหารงานบุคคล งานวิเคราะห์แผนอัตรากําลัง งานประเมินผลการปฏิบัติราชการ งานเกี่ยวกับเงินเดือน งานสิทธิสวัสดิการ ทุกประเภท งานแผนพัฒนาบุคลากร งานฝึกอบรม งานสวัสดิการสังคม งานสังคมสงเคราะห์ งานพัฒนาชุมชน งานส่งเสริมสนับสนุนการจัดสวัสดิการสังคมแก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส งานจ่ายเงินยังชีพผู้สูงอายุผู้พิการ งานฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน งานนิติการ งานนิติกรรมและสัญญา งานคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีอื่น ๆ งานตรวจสอบและดําเนินการเกี่ยวกับ ความรับผิดทางละเมิด งานติดตามสืบทรัพย์ และบังคับคดีลูกหนี้องค์กร งานดําเนินการของศูนย์ข้อมูลข่าวสาร งานรับเรื่องราว ร้องทุกข์และการอุทธรณ์ งานตรวจสอบสัญญาจ้าง ข้อตกลงที่มีผลผูกพันทางนิติกรรม งานให้คําปรึกษา แนะนําเสนอความเห็นและตอบข้อหารือทางด้านกฎหมาย งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานแผนป้องกันเฝ้าระวัง และแจ้งเตือนภัย งานแผนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเร่งด่วน งานศูนย์รับแจ้งเหตุ งานรายงานผลดําเนินงานตามแผนงานต่าง ๆ งานจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัย งานฝึกอบรม และฝึกซ้อมตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ การป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยต่าง ๆ งานสนับสนุนและประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง งานสนับสนุนน้ํา เพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร งานบริหารสาธารณสุข งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่องานหลักประกันสุขภาพ งานบริการรักษาความสะอาด งานบริการและพัฒนาระบบจัดการมูลฝอย และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย ( 2 ) กองคลัง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี งานการจ่ายเงิน การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและเอกสารทางการเงิน งานการตรวจสอบใบสําคัญทางการเงิน งานการจัดทําบัญชี งานเกี่ยวกับสถานะทางการเงินการคลัง งานการจัดสรรเงินต่าง ๆ งานทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่าง ๆ งานควบคุมการเบิกจ่ายเงิน งานทํางบทดลองประจําเดือนและประจําปี งานพัฒนารายได้ การจัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียม การพัฒนารายได้ งานนําส่งเงิน งานพัสดุและทรัพย์สิน งานเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้าง จัดหางานทะเบียนคุม งานการจําหน่ายพัสดุ ครุภัณฑ์ และทรัพย์สินต่าง ๆ งานเกี่ยวกับเงินประกันสัญญา ้ หนา 181 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
ทุกประเภทงานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน งานคัดข้อมูลที่ดิน งานสํารวจและตรวจสอบข้อมูล ภาคสนามที่ดิน โรงเรือน ป้าย งานปรับปรุงข้อมูลแผนที่ / ทะเบียนทรัพย์สิน งานประเมินภาษี และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย ( 3 ) กองช่าง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานสํารวจ งานออกแบบและเขียนแบบ งานประมาณราคา งานจัดทําราคากลาง งานจัดทําข้อมูลทางด้านวิศวกรรมต่าง ๆ งานผังเมืองตามพระราชบัญญัติ ผังเมือง งานการควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย งานควบคุมการก่อสร้างและซ่อมบํารุง งานจัดทํา ทะเบียนควบคุมการจัดซื้อ เก็บรักษา การเบิกจ่ายวัสดุ อุปกรณ์ อะไหล่ น้ํามันเชื้อเพลิง และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย ( 4 ) กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานบริหาร การศึกษา งานการจัดการศึกษาปฐมวัย งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม งานส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานหลักสูตร งานพัฒนาสื่อ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทางการศึกษา งานการศาสนา งานการบํารุง ศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดี ของท้องถิ่น งานส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ งานกิจกรรมเด็กและเยาวชน และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และได้รับมอบหมาย ( 5 ) หน่วยตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานจัดทําแผนการตรวจสอบ ภายในประจําปี งานการตรวจสอบความถูกต้องและเชื่อถือได้ของเอกสารการเงิน การบัญชี เอกสาร การรับจ่ายเงินทุกประเภท งานตรวจสอบการสรรหาพัสดุและทรัพย์สิน การเก็บรักษาพัสดุและทรัพย์สิน งานตรวจสอบการทําประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตําบล งานประเมินการควบคุมภายใน ของหน่วยรับตรวจงานรายงานผลการตรวจสอบภายใน และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย 3 . การบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตําบลท่านา จะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข ของประชาชนเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจภาครัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การอํานวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ โดยมีผู้รับผิดชอบผลของงานในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบลท่านา ต้องใช้วิธีการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คํานึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วม ของประชาชน การเปิดเผยข้อมูลการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสม ของแต่ละภารกิจและให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมายที่กําหนด ้ หนา 182 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
4 . อํานาจหน้าที่ที่สําคัญขององค์การบริหารส่วนตําบลท่านา ประกอบด้วย 4 . 1 อํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ . ศ . 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( 1 ) จัดให้มีและบํารุงรักษาทางน้ําและทางบก ( 2 ) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ํา ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกําจัดมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล ( 3 ) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ( 4 ) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( 5 ) จัดการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และฝึกอบรม ให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทางที่เสนอแนะ จากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ( 6 ) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ( 7 ) คุ้มครอง ดูแล และบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( 8 ) บํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ( 9 ) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากร ให้ตามความจําเป็นและสมควร นอกจากนั้น องค์การบริหารส่วนตําบลท่านา อาจจัดทํากิจกรรมในเขตองค์การบริหาร ส่วนตําบล ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ให้มีน้ําเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร ( 2 ) ให้มีและบํารุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น ( 3 ) ให้มีและบํารุงรักษาทางระบายน้ํา ( 4 ) ให้มีและบํารุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อยใจและสวนสาธารณะ ( 5 ) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์ ( 6 ) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว ( 7 ) บํารุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร ้ หนา 183 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
( 8 ) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ( 9 ) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตําบล ( 10 ) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม ( 11 ) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ ( 12 ) การท่องเที่ยว ( 13 ) การผังเมือง องค์การบริหารส่วนตําบลอาจทํากิจการนอกเขตองค์การบริหารส่วนตําบล หรือร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตําบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อกระทํากิจการร่วมกันได้ 4 . 2 อํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 กําหนดให้องค์การบริหารส่วนตําบล มีอํานาจและหน้าที่ ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ ( 1 ) การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของประชาชน ( 2 ) การจัดให้มี และบํารุงรักษาทางบก ทางน้ํา และทางระบายน้ํา ( 3 ) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ ( 4 ) การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น ๆ ( 5 ) การสาธารณูปการ ( 6 ) การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ ( 7 ) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน ( 8 ) การส่งเสริมการท่องเที่ยว ( 9 ) การจัดการศึกษา ( 10 ) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ( 11 ) การบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีงาม ของท้องถิ่น ( 12 ) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ้ หนา 184 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
( 13 ) การจัดให้มีและบํารุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ( 14 ) การส่งเสริมกีฬา ( 15 ) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน ( 16 ) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น ( 17 ) การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ( 18 ) การกําจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ําเสีย ( 19 ) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ( 20 ) การจัดให้มี และควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน ( 21 ) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ ( 22 ) การจัดให้มี และควบคุมการฆ่าสัตว์ ( 23 ) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ ( 24 ) การจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ( 25 ) การผังเมือง ( 26 ) การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร ( 27 ) การดูแลรักษาที่สาธารณะ ( 28 ) การควบคุมอาคาร ( 29 ) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( 30 ) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกัน และรักษา ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ( 31 ) กิจอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด 5 . วิธีการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนตําบลท่านา กรณีเป็นอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการภายในองค์การบริหารส่วนตําบลท่านา ให้ประชาชน สามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่ ที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบลท่านา เลขที่ 158 / 27 หมู่ที่ 2 ตําบลท่านา อําเภอกะปง จังหวัดพังงา 82170 โทรศัพท์ / โทรสาร 0 - 7649 - 9135 ้ หนา 185 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
6 . สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคําแนะนํา ในการติดต่อขอรับข้อมูลข่าวสาร กับส่วนราชการภายในองค์การบริหารส่วนตําบลท่านา สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารองค์การบริหาร ส่วนตําบลท่านา ตั้งอยู่ที่ ที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบลท่านา เลขที่ 158 / 27 หมู่ที่ 2 ตําบลท่านา อําเภอกะปง จังหวัดพังงา โทรศัพท์ / โทรสาร 0 - 7649 - 9135 ประกาศ ณ วันที่ 22 กันยายน พ . ศ . 2565 นพพล ประกอบแสง นายกองค์การบริหารส่วนตําบลท่านา ้ หนา 186 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566