ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลตะดอบ เรื่อง โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงานสถานที่และช่องทางการติดต่อเพื่อขอข้อมูลข่าวสาร
ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลตะดอบ เรื่อง โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงานสถานที่และช่องทางการติดต่อเพื่อขอข้อมูลข่าวสาร
ประกาศองค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ เรื่อง โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดําเนินงาน สรุปอํานาจหน้าที่ที่สําคัญ และวิธีการดําเนินงานสถานที่และช่องทางการติดต่อเพื่อขอข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 7 ( 1 ) ( 2 ) และ ( 3 ) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ . ศ . 2540 ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงและได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการและหน่วยงานของรัฐ องค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ ในฐานะของหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น สังกัดกระทรวงมหาดไทย จึงออกประกาศโครงสร้างและการจัดองค์กรในการดําเนินงาน สรุปอํานาจหน้าที่ที่สําคัญและวิธีการดําเนินงาน สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ ตามความในมาตรา 7 ( 1 ) ( 2 ) และ ( 3 ) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ . ศ . 2540 ดังต่อไปนี้ 1 . โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดําเนินงาน อํานาจหน้าที่ที่สําคัญขององค์การบริหาร ส่วนตําบลตะดอบ เป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ . ศ . 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตําบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตําบล นายกองค์การบริหารส่วนตําบล เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตําบล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วน รองนายกองค์การบริหารส่วนตําบล องค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ รอ งปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล สํานักงานปลัด กองคลัง กองช่าง กองสวัสดิการ กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ้ หนา 169 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
1 . 1 สภาองค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ สภาองค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ ประกอบด้วย สมาชิกสภาองค์การบริหาร ส่วนตําบลตะดอบ จํานวน 8 คน แบ่งเป็น 8 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 คน สมาชิกสภาองค์การบริหาร ส่วนตําบลตะดอบ มาจากการเลือกตั้งโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหาร ส่วนตําบลตะดอบ หลักเกณฑ์และวิธีการรับสมัครเลือกตั้งและการเลือกตั้งเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น โดยมีประธานสภา จํานวน 1 คน และ รองประธานสภา จํานวน 1 คน ซึ่งนายอําเภอเมืองศรีสะเกษ แต่งตั้งจากสมาชิกสภาองค์การบริหาร ส่วนตําบลตะดอบ ตามมติของสภาองค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ วาระของสภาองค์การบริหาร ส่วนตําบลตะดอบมีกําหนดคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้งหรือเมื่อมีการยุบสภาองค์การบริหารส่วนตําบล มีเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ จํานวน 1 คน ซึ่งมาจากการเลือกของสมาชิก สภาองค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ และพ้นจากตําแหน่งเมื่อครบอายุของสภาองค์การบริหาร ส่วนตําบลหรือเมื่อมีการยุบสภาองค์การบริหารส่วนตําบล หรือสภาองค์การบริหารส่วนตําบลมีมติ ให้พ้นจากตําแหน่ง สภาองค์การบริหารส่วนตําบลมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตําบล เพื่อเป็นแนวทาง ในการบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตําบล ( 2 ) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบล ร่างข้อบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจําปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ( 3 ) ควบคุมการปฏิบัติงานของนายกองค์การบริหารส่วนตําบลให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตําบล ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ 1 . 2 นายกองค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ นายกองค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยราษฎรผู้มีสิทธิ เลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครรับเลือกตั้งและการเลือกตั้ง เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น วาระการดํารงตําแหน่งของ นายกองค์การบริหารส่วนตําบลกําหนดคราวละสี่ปีนับจากวันเลือกตั้ง ้ หนา 170 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
รองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ มาจากการแต่งตั้งของนายกองค์การบริหาร ส่วนตําบลตะดอบ จํานวน 2 คน ซึ่งไม่ใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบล มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ ในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ ตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ มอบหมาย เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ มาจากการแต่งตั้งของนายก องค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ จํานวน 1 คน ซึ่งไม่ใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบล มีหน้าที่ตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบมอบหมาย นายกองค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) กําหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหาร ส่วนตําบลให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตําบล ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ ( 2 ) สั่ง อนุญาตและอนุมัติเกี่ยวกับราชการขององค์การบริหารส่วนตําบล ( 3 ) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลและเลขานุการองค์การบริหารส่วนตําบล ( 4 ) วางระเบียบเพื่อให้งานขององค์การบริหารส่วนตําบลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ( 5 ) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบล ( 6 ) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ( 7 ) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตําบล ตามกฎหมาย และเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานส่วนตําบลและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตําบล สํานักงานองค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ แบ่งส่วนราชการออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ สํานักงานปลัด กองคลัง กองช่าง กองสวัสดิการสังคม และกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยมีปลัดองค์การบริหาร ส่วนตําบลเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานส่วนตําบลและลูกจ้างรองจากนายกองค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจําขององค์การบริหารส่วนตําบลให้เป็นไปตามนโยบายและ มีอํานาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกําหนดหรือตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตําบลมอบหมาย องค์การบริหาร ส่วนตําบลตะดอบ แบ่งส่วนราชการออกเป็น ดังต่อไปนี้ ( 1 ) สํานักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล รับผิดชอบงานด้าน ( 1 . 1 ) งานบริหารงานทั่วไป ( 1 . 1 . 1 ) งานสารบรรณ ้ หนา 171 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
( 1 . 1 . 2 ) งานบริหารงานบุคคล ( 1 . 1 . 3 ) งานเลือกตั้งและทะเบียนข้อมูล ( 1 . 1 . 4 ) งานตรวจสอบภายใน ( 1 . 1 . 5 ) งานอํานวยการและข้อมูลข่าวสาร ( 1 . 2 ) งานนโยบายและแผน ( 1 . 2 . 1 ) งานนโยบายและแผน ( 1 . 2 . 2 ) งานวิชาการ ( 1 . 2 . 3 ) งานข้อมูลและประชาสัมพันธ์ ( 1 . 2 . 4 ) งานงบประมาณ ( 1 . 3 ) งานกฎหมายและคดี ( 1 . 3 . 1 ) งานกฎหมายและนิติกรรม ( 1 . 3 . 2 ) งานร้องเรียนร้องทุกข์และอุทธรณ์ ( 1 . 3 . 3 ) งานข้อบัญญัติและระเบียบ ( 1 . 4 ) งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( 1 . 4 . 1 ) งานรักษาความสงบเรียบร้อย ( 1 . 4 . 2 ) งานป้องกัน ( 1 . 4 . 3 ) งานช่วยเหลือและฟื้นฟู ( 1 . 4 . 4 ) งานดับเพลิงและกู้ภัย ( 1 . 5 ) งานกิจการสภาองค์การบริหารส่วนตําบล ( 1 . 5 . 1 ) งานระเบียบข้อบังคับประชุม ( 1 . 5 . 2 ) งานประชุม ( 1 . 5 . 3 ) งานอํานวยการและประสานงาน ( 1 . 6 ) งานส่งเสริมการเกษตรและปศุสัตว์ ( 1 . 6 . 1 ) งานข้อมูลวิชาการ ( 1 . 6 . 2 ) งานเทคโนโลยีทางการเกษตร ( 1 . 6 . 3 ) งานส่งเสริมการเกษตรและปศุสัตว์ ้ หนา 172 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
( 1 . 7 ) งานสาธารณสุข ( 1 . 7 . 1 ) งานอนามัยและสิ่งแวดล้อม ( 1 . 7 . 2 ) งานกําจัดขยะและสิ่งปฏิกูล ( 1 . 7 . 3 ) การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ ( 2 ) กองคลัง รับผิดขอบงานด้าน ( 2 . 1 ) งานการเงิน ( 2 . 1 . 1 ) งานการเงิน ( 2 . 1 . 2 ) งานรับเงินเบิกจ่ายเงิน ( 2 . 1 . 3 ) งานจัดทําฎีกาเบิกจ่ายเงิน ( 2 . 1 . 4 ) งานเก็บรักษาเงิน ( 2 . 2 ) งานบัญชี ( 2 . 2 . 1 ) งานการบัญชี ( 2 . 2 . 2 ) งานทะเบียนการคุมเบิกจ่ายเงิน ( 2 . 2 . 3 ) งานงบการเงินและงบทดลอง ( 2 . 2 . 4 ) งานแสดงฐานะทางการเงิน ( 2 . 3 ) งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ ( 2 . 3 . 1 ) งานภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและค่าเช่า ( 2 . 3 . 2 ) งานพัฒนารายได้ ( 2 . 3 . 3 ) งานควบคุมกิจการค้าและค่าปรับ ( 2 . 3 . 4 ) งานทะเบียนควบคุมและเร่งรัดรายได้ ( 2 . 4 ) งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ ( 2 . 4 . 1 ) งานทะเบียนทรัพย์สินและแผนที่ภาษี ( 2 . 4 . 2 ) งานพัสดุ ( 2 . 4 . 3 ) งานทะเบียนเบิกจ่ายวัสดุครุภัณฑ์ ( 2 . 4 . 4 ) งานจัดทําระบบข้อมูล ้ หนา 173 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
( 3 ) กองช่าง รับผิดชอบงานด้าน ( 3 . 1 ) งานก่อสร้าง ( 3 . 1 . 1 ) งานก่อสร้างและบูรณะถนน ( 3 . 1 . 2 ) งานก่อสร้างสะพาน เขื่อน ทดน้ํา ( 3 . 1 . 3 ) งานข้อมูลก่อสร้าง ( 3 . 2 ) งานออกแบบและควบคุมอาคาร ( 3 . 2 . 1 ) งานประเมินราคา ( 3 . 2 . 2 ) งานควบคุมการก่อสร้างอาคาร ( 3 . 2 . 3 ) งานออกแบบและบริการข้อมูล ( 3 . 3 ) งานประสานสาธารณูปโภค ( 3 . 3 . 1 ) งานประสานกิจการประปา ( 3 . 3 . 2 ) งานไฟฟ้าสาธารณะ ( 3 . 3 . 3 ) งานระบายน้ํา ( 3 . 3 . 4 ) งานให้บริการน้ําอุปโภค บริโภค ( 3 . 4 ) งานผังเมือง ( 3 . 4 . 1 ) งานสํารวจและแผนที่ ( 3 . 4 . 2 ) งานวางผังพัฒนาเมือง ( 3 . 4 . 3 ) งานควบคุมทางผังเมือง ( 4 ) กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รับผิดชอบงานด้าน ( 4 . 1 ) งานการศึกษา ( 4 . 1 . 1 ) งานส่งเสริมกิจการโรงเรียน ( 4 . 1 . 2 ) งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ( 4 . 1 . 3 ) งานศึกษานอกระบบ ( 4 . 1 . 4 ) งานบริหารทั่วไป ้ หนา 174 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
( 4 . 2 ) งานศาสนา และวัฒนธรรม ( 4 . 2 . 1 ) งานส่งเสริมศาสนา ( 4 . 2 . 2 ) งานประเพณีวัฒนธรรม ( 4 . 2 . 3 ) งานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ( 4 . 3 ) งานกีฬาและนันทนาการ ( 4 . 3 . 1 ) งานส่งเสริมกีฬา ( 4 . 3 . 2 ) งานส่งเสริมนันทนาการ ( 4 . 3 . 3 ) งานศูนย์เยาวชน ( 5 ) กองสวัสดิการสังคม รับผิดชอบงานด้าน ( 5 . 1 ) งานสวัสดิการ และพัฒนาชุมชน ( 5 . 1 . 1 ) งานสวัสดิการสังคม ( 5 . 1 . 2 ) งานจัดระเบียบชุมชน ( 5 . 1 . 3 ) งานพัฒนาชุมชน ( 5 . 1 . 4 ) งานกิจกรรมเด็กและเยาวชน ( 5 . 1 . 5 ) งานสุสานและฌาปนสถาน ( 5 . 1 . 6 ) งานกีฬาและนันทนาการ ( 5 . 1 . 7 ) งานสวนสาธารณะ ( 5 . 1 . 8 ) งานส่งเสริมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ( 5 . 1 . 9 ) งานอื่นที่ได้รับมอบหมาย ( 5 . 2 ) งานสังคมสงเคราะห์ ( 5 . 2 . 1 ) งานสังคมสงเคราะห์ ( 5 . 2 . 2 ) งานสงเคราะห์เด็กและสตรี คนชรา คนพิการ และผู้ป่วยเอดส์ ( 5 . 2 . 3 ) งานอื่นที่ได้รับมอบหมาย ( 5 . 3 ) งานส่งเสริมอาชีพและข้อมูลแรงงาน ( 5 . 3 . 1 ) งานส่งเสริมอาชีพและข้อมูลแรงงาน ้ หนา 175 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
( 5 . 3 . 2 ) งานพัฒนาสตรีและเยาวชน ( 5 . 3 . 3 ) งานสนับสนุนกิจกรรมของเด็กและสตรี ( 5 . 3 . 4 ) งานอื่นที่ได้รับมอบหมาย 2 . สรุปอํานาจหน้าที่ที่สําคัญและวิธีการดําเนินงาน 2 . 1 อํานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบล ตามพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหาร ส่วนตําบล พ . ศ . 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( 2 . 1 . 1 ) พัฒนาตําบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ( มาตรา 66 ) ( 2 . 1 . 2 ) องค์การบริหารส่วนตําบล มีหน้าที่ต้องทําในเขตองค์การบริหารส่วนตําบล ตามมาตรา 67 ดังต่อไปนี้ ( 1 ) จัดให้มีและบํารุงรักษาทางน้ําและทางบก ( 1 / 1 ) รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริม สนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ( 2 ) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ํา ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้ง กําจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ( 3 ) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ( 4 ) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( 5 ) จัดการ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการฝึกอบรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทาง ที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ( 6 ) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ( 7 ) คุ้มครอง ดูแล และบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( 8 ) บํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดี ของท้องถิ่น ( 9 ) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณ หรือบุคลากรตามความจําเป็นและสมควร ้ หนา 176 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
( 2 . 1 . 3 ) องค์การบริหารส่วนตําบลอาจจัดทํากิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตําบล ตามมาตรา 68 ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ให้มีน้ําเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร ( 2 ) ให้มีและบํารุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น ( 3 ) ให้มีและบํารุงรักษาทางระบายน้ํา ( 4 ) ให้มีและบํารุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ ( 5 ) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์ ( 6 ) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว ( 7 ) บํารุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร ( 8 ) การคุ้มครองดูแล และรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ( 9 ) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตําบล ( 10 ) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม ( 11 ) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ ( 12 ) การท่องเที่ยว ( 13 ) การผังเมือง 2 . 2 อํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กําหนดให้องค์การบริหารส่วนตําบล มีอํานาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ตามมาตรา 16 ดังต่อไปนี้ ( 1 ) การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ( 2 ) การจัดให้มีและบํารุงรักษาทางบก ทางน้ํา และทางระบายน้ํา ( 3 ) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ ( 4 ) การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น ๆ ( 5 ) การสาธารณูปการ ( 6 ) การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ ้ หนา 177 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
( 7 ) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน ( 8 ) การส่งเสริมการท่องเที่ยว ( 9 ) การจัดการศึกษา ( 10 ) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ( 11 ) การบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ( 12 ) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ( 13 ) การจัดให้มี และบํารุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ( 14 ) การส่งเสริมกีฬา ( 15 ) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน ( 16 ) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น ( 17 ) การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ( 18 ) การกําจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ําเสีย ( 19 ) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ( 20 ) การจัดให้มี และควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน ( 21 ) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ ( 22 ) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ ( 23 ) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ ( 24 ) การจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ( 25 ) การผังเมือง ( 26 ) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร ( 27 ) การดูแลรักษาที่สาธารณะ ( 28 ) การควบคุมอาคาร ( 29 ) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ้ หนา 178 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
( 30 ) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษา ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ( 31 ) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการ ประกาศกําหนด การบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ จะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข ของประชาชนในท้องถิ่น เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามภารกิจอํานาจหน้าที่ขององค์การบริหาร ส่วนตําบลตะดอบ มีประสิทธิภาพและความคุ้มค่า ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน อํานวยความสะดวก และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ โดยมีผู้รับผิดชอบผลของงานในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คํานึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วม ของประชาชน การเปิดเผยข้อมูลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานตามความเหมาะสม ของแต่ละภารกิจ 3 . สถานที่และช่องทางการติดต่อเพื่อขอข้อมูลข่าวสาร สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคําแนะนําในการติดต่อกับส่วนราชการภายใน องค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ สามารถติดต่อได้ตามช่องทาง ดังต่อไปนี้ 3 . 1 ศูนย์ข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ ตั้งอยู่ที่ทําการองค์การบริหาร ส่วนตําบลตะดอบ หมู่ที่ 1 ตําบลตะดอบ อําเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ 3 . 2 ทางโทรศัพท์ หมายเลข 0 4596 9826 3 . 3 เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ http://www.oic.go.th/INFOCENTER 55 / 5581 / 3 . 4 เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ https://thadob.go.th/public/ 3 . 5 ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ E-mail : admin@thadob.go.th 3 . 6 สื่อสังคมออนไลน์ Facebook : องค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ 13 กันยายน พ . ศ . 2565 สุริยันต์ แก้วคํา นายกองค์การบริหารส่วนตําบลตะดอบ ้ หนา 179 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566