ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว เรื่อง โครงสร้างอำนาจหน้าที่ วิธีการดำเนินงานและสถานที่ติดต่อ เพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว
ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว เรื่อง โครงสร้างอำนาจหน้าที่ วิธีการดำเนินงานและสถานที่ติดต่อ เพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว
ประกาศองค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้ว เรื่อง โครงสร้างอํานาจหน้าที่ วิธีการดําเนินงานและสถานที่ติดต่อ เพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารองค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้ว เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 7 ( 1 ) ( 2 ) และ ( 3 ) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ . ศ . 2540 ที่จะให้ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการและหน่วยงานของรัฐ อันจะนํามาซึ่งข้อเท็จจริงที่ประชาชนสามารถนําไปเพื่อแสดงความคิดเห็นและรักษาสิทธิต่าง ๆ ที่พึงมีพึงได้ องค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้วเห็นเป็นการสมควรประกาศโครงสร้างและการจัดองค์กร ในการดําเนินการ ดําเนินงานสรุปอํานาจหน้าที่ที่สําคัญและวิธีการดําเนินงาน สถานที่ติดต่อขอรับข้อมูลข่าวสาร หรือคําแนะนําในการติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้ว ดังต่อไปนี้ ( 1 ) โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดําเนินงาน 1 . 1 โครงสร้างและการจัดการองค์กรในการดําเนินงาน อํานาจหน้าที่ที่สําคัญของ องค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้ว เป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ . ศ . 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1 . 2 องค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้ว มีโครงสร้างและการจัดองค์กรในการดําเนินงาน ดังต่อไปนี้ 1 . 2 . 1 สภาองค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้ว ประกอบด้วย สมาชิกสภาองค์การบริหาร ส่วนตําบลดอนแก้ว ซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต จํานวน 10 เขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 10 คน มีประธานสภา จํานวน 1 คน และรองประธานสภา จํานวน 1 คน ซึ่งนายอําเภอแม่ริม แต่งตั้งจากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้ว ตามมติของสภาองค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้ว มีอํานาจหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตําบลเพื่อเป็นแนวทาง ในการบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตําบล ้ หนา 162 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
( 2 ) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบล ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีและร่างขอบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ( 3 ) ควบคุมการปฏิบัติงานของนายกองค์การบริหารส่วนตําบลให้เป็นไป ตามกฎหมาย นโยบายแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตําบล ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ 1 . 2 . 2 นายกองค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้ว 1 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรง ของประชาชน มีหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) กําหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ขององค์การบริหารส่วนตําบลให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตําบล ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ ( 2 ) สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการขององค์การบริหารส่วนตําบล ( 3 ) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลและเลขานุการ นายกองค์การบริหารส่วนตําบล ( 4 ) วางระเบียบเพื่อให้งานขององค์การบริหารส่วนตําบลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ( 5 ) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบล ( 6 ) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ( 7 ) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตําบล ตามกฎหมายและเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานส่วนตําบลและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตําบล 1 . 2 . 3 รองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้ว จํานวน 2 คน ซึ่งมาจาก การแต่งตั้งโดยนายกองค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้วซึ่งไม่ใช่สมาชิกองค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้ว มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้ว ตามที่นายกองค์การบริหาร ส่วนตําบลมอบหมาย 1 . 2 . 4 เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้ว จํานวน 1 คน ซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยนายกองค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้วและไม่ใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้ว มีหน้าที่ตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้วมอบหมาย ้ หนา 163 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
1 . 2 . 5 สํานักงานองค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้ว แบ่งส่วนราชการ ดังนี้ ( 1 ) สํานักปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล ( 2 ) กองคลัง ( 3 ) กองช่าง ( 4 ) กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ( 5 ) กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ( 6 ) กองสวัสดิการสังคม ( 7 ) กองส่งเสริมการเกษตร ( 8 ) หน่วยตรวจสอบภายใน ( 2 ) สรุปอํานาจหน้าที่ที่สําคัญและวิธีดําเนินงาน 2 . 1 อํานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบลตามพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหาร ส่วนตําบล พ . ศ . 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ 2 . 1 . 1 มีอํานาจหน้าที่ในการพัฒนาตําบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม 2 . 1 . 2 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตําบลมีหน้าที่ต้องทําในเขต องค์การบริหารส่วนตําบล ดังต่อไปนี้ ( 1 ) จัดให้มีและบํารุงรักษาทางน้ําและทางบก ( 2 ) รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจรและส่งเสริมสนับสนุน หน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ( 3 ) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ํา ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้ง กําจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ( 4 ) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ( 5 ) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( 6 ) จัดการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการฝึกอบรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทาง ที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ้ หนา 164 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
( 7 ) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ ( 8 ) คุ้มครองดูแลและบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( 9 ) บํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดี ของท้องถิ่น ( 10 ) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณ หรือบุคลากรให้ตามความจําเป็นและสมควร 2 . 1 . 3 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตําบลอาจจัดทํากิจการในเขต องค์การบริหารส่วนตําบล ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ให้มีน้ําเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร ( 2 ) ให้มีการบํารุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น ( 3 ) ให้มีการบํารุงรักษาทางระบายน้ํา ( 4 ) ให้มีและบํารุงสถานที่ประชุมการกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ ( 5 ) ให้มีการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์ ( 6 ) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว ( 7 ) บํารุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร ( 8 ) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ( 9 ) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตําบล ( 10 ) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม ( 11 ) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ ( 12 ) การท่องเที่ยว ( 13 ) การผังเมือง 2 . 1 . 4 อาจทํากิจการนอกเขตองค์การบริหารส่วนตําบล หรือร่วมกับสภาตําบล องค์การบริหารส่วนตําบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อกระทํากิจการร่วมกันได้ ้ หนา 165 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
2 . 2 อํานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบลตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอน การกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 16 กําหนดให้องค์การบริหารส่วนตําบล มีอํานาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ ( 1 ) การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ( 2 ) การจัดให้มีและบํารุงรักษาทางบก ทางน้ําและทางระบายน้ํา ( 3 ) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ ( 4 ) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ ( 5 ) การสาธารณูปการ ( 6 ) การส่งเสริม การฝึกและประกอบอาชีพ ( 7 ) การพาณิชย์และการส่งเสริมการลงทุน ( 8 ) การส่งเสริมการท่องเที่ยว ( 9 ) การจัดการศึกษา ( 10 ) การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส ( 11 ) การบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ( 12 ) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ( 13 ) การจัดให้มีและบํารุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ( 14 ) การส่งเสริมกีฬา ( 15 ) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน ( 16 ) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น ( 17 ) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ( 18 ) การกําจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและน้ําเสีย ( 19 ) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล ( 20 ) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน ( 21 ) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ ้ หนา 166 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
( 22 ) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ ( 23 ) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ ( 24 ) การจัดการ การบํารุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ( 25 ) การผังเมือง ( 26 ) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร ( 27 ) การดูแลรักษาที่สาธารณะ ( 28 ) การควบคุมอาคาร ( 29 ) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( 30 ) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษา ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ( 31 ) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการ ประกาศกําหนด 2 . 3 วิธีการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้ว คือ 2 . 3 . 1 การบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้ว จะต้องเป็นไป เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนในท้องถิ่น เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามภารกิจอํานาจหน้าที่ขององค์การบริหาร ส่วนตําบลดอนแก้ว ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การลดขั้นตอน การปฏิบัติงาน การอํานวยความสะดวกและการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ โดยมีผู้รับผิดชอบผลของงานในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คํานึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ 2 . 3 . 2 กรณีเป็นอํานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้ว ประชาชน สามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่สํานักงานองค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้ว เลขที่ 200 หมู่ที่ 4 ตําบลดอนแก้ว อําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180 ้ หนา 167 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
( 3 ) สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร หรือคําแนะนําในการติดต่อกับหน่วยงานรัฐ สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคําแนะนําในการติดต่อกับส่วนราชการภายใน องค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้ว สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารองค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้ว ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 200 หมู่ที่ 4 ตําบลดอนแก้ว อําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50180 หมายเลขโทรศัพท์ 0 - 5312 - 1574 , 0 - 5312 - 1585 ทางเว็บไซต์ www.donkaewlocal.go.th ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม พ . ศ . 2565 นพดล ณ เชียงใหม่ นายกองค์การบริหารส่วนตําบลดอนแก้ว ้ หนา 168 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566