ประกาศเทศบาลตำบลปัว เรื่อง โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ วิธีการดำเนินงาน สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร หรือคำแนะนำในการติดต่อกับเทศบาลตำบลปัว
ประกาศเทศบาลตำบลปัว เรื่อง โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ วิธีการดำเนินงาน สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร หรือคำแนะนำในการติดต่อกับเทศบาลตำบลปัว
ประกาศเทศบาลตําบลปัว เรื่อง โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดําเนินงาน สรุปอํานาจหน้าที่ที่สําคัญ วิธีการดําเนินงาน สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร หรือคําแนะนําในการติดต่อกับเทศบาลตําบลปัว ตามที่พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ . ศ . 2540 มาตรา 7 ( 1 ) ( 2 ) และ ( 3 ) ได้กําหนดให้หน่วยงานของรัฐ ต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยเกี่ยวกับโครงสร้างและการจัดองค์กร ในการดําเนินงาน สรุปอํานาจหน้าที่ที่สําคัญ วิธีการดําเนินงาน สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร หรือคําแนะนําในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา นั้น ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ . ศ . 2540 ที่จะให้ประชาชนรับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงสร้างและการจัดองค์กรในการดําเนินงาน สรุปอํานาจหน้าที่ ที่สําคัญ วิธีการดําเนินงาน สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร หรือคําแนะนําในการติดต่อกับ เทศบาลตําบลปัว จึงประกาศให้ทราบ ดังต่อไปนี้ 1 . โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดําเนินงานของเทศบาลตําบลปัว มีดังนี้ 1 . 1 สภาเทศบาลตําบลปัว ประกอบด้วย สมาชิกสภาเทศบาล ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ของประชาชน ตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น จํานวน 12 คน โดยมีประธานสภาเทศบาลตําบลปัว จํานวน 1 คน มีหน้าที่ดําเนินกิจการของสภาเทศบาลให้เป็นไป ตามระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาเทศบาล รวมทั้งมีหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกําหนด และรองประธาน สภาเทศบาลตําบลปัว จํานวน 1 คน มีหน้าที่กระทํากิจการแทนประธานสภาเทศบาล ในเมื่อประธาน สภาเทศบาลไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน มอบอํานาจให้นายอําเภอปัว แต่งตั้งจากสมาชิกสภาเทศบาลตําบลปัว ตามมติของสภาเทศบาลตําบลปัว ทั้งนี้ สมาชิกสภาเทศบาล มีอํานาจหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างเทศบัญญัติเทศบาล ร่างเทศบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจําปีหรือ / และเพิ่มเติม และอนุมัติโอนงบประมาณรายจ่ายประจําปีหรือ / และเพิ่มเติม ( 2 ) ควบคุมการปฏิบัติงานของนายกเทศมนตรี ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาท้องถิ่น ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ ้ หนา 122 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
( 3 ) ตั้งกระทู้ถาม เพื่อสอบถามผู้บริหารท้องถิ่นเกี่ยวกับข้อเท็จจริง หรือนโยบายอันเกี่ยวกับ งานในหน้าที่ของผู้บริหาร ( 4 ) เสนอญัตติเกี่ยวกับกิจการของสภาท้องถิ่น หรือญัตติร่างข้อบัญญัติ เพื่อให้สภาเทศบาล พิจารณามีมติ ( 5 ) เป็นคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการสภาเทศบาลตามที่สภามีมติ ( 6 ) นําปัญหาความต้องการ ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ไปประชุมปรึกษาหารือ ในสภาเทศบาล 1 . 2 นายกเทศมนตรีตําบลปัว มีจํานวน 1 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีอํานาจหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) กําหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาล ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เทศบัญญัติ และนโยบาย ( 2 ) สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาล ( 3 ) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และเลขานุการ นายกเทศมนตรี ( 4 ) วางระเบียบเพื่อให้งานของเทศบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ( 5 ) รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัติ ( 6 ) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และกฎหมายอื่น ( 7 ) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาล และเป็นผู้บังคับบัญชา ของพนักงานเทศบาล และพนักงานจ้างเทศบาล 1 . 3 รองนายกเทศมนตรีตําบลปัว มีจํานวน 2 คน ที่มาจากการแต่งตั้งโดยนายกเทศมนตรี ตําบลปัว ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลตําบลปัว มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของเทศบาล ตามที่นายกเทศมนตรีตําบลปัวมอบหมาย 1 . 4 เลขานุการนายกเทศมนตรีตําบลปัว มีจํานวน 1 คน ที่มาจากการแต่งตั้ง โดยนายกเทศมนตรีตําบลปัว ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลตําบลปัว มีหน้าที่ตามที่นายกเทศมนตรี ตําบลปัวมอบหมาย ้ หนา 123 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
1 . 5 ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีตําบลปัว ที่มาจากการแต่งตั้งโดยนายกเทศมนตรีตําบลปัว ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลตําบลปัว มีหน้าที่ให้คําปรึกษาแก่นายกเทศมนตรีตําบลปัว ตามที่นายกเทศมนตรีหารือ 1 . 6 สํานักงานเทศบาลตําบลปัว แบ่งส่วนราชการออกเป็น 7 ส่วนราชการ ดังนี้ ( 1 ) สํานักปลัดเทศบาล มีงานในหน้าที่ทั้งหมด จํานวน 4 ฝ่าย ได้แก่ ( 1 . 1 ) ฝ่ายอํานวยการ ประกอบด้วย งานธุรการ งานกิจการสภา งานการเจ้าหน้าที่ และงานส่งเสริมการท่องเที่ยว ( 1 . 2 ) ฝ่ายปกครอง ประกอบด้วย งานทะเบียนราษฎร งานเทศกิจ และงานนิติการ ( 1 . 3 ) ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประกอบด้วย งานป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย งานคุ้มครอง ดูแล และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ( 1 . 4 ) ฝ่ายสวัสดิการสังคม ประกอบด้วย งานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ งานส่งเสริมการเกษตร และงานสังคมสงเคราะห์ มีหน้าที่ในความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานราชการทั่วไปของเทศบาล งานเลขานุการ ของนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และเลขานุการนายกเทศมนตรี งานกิจการสภาเทศบาล การบริหารงานบุคคลของพนักงานเทศบาล ลูกจ้างประจํา และพนักงานจ้าง งานสวัสดิการสังคม งานสังคมสงเคราะห์ งานพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส งานกิจการขนส่ง งานส่งเสริมการท่องเที่ยว งานส่งเสริมการเกษตร งานการพาณิชย์ งานส่งเสริม และพัฒนาอาชีพ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานเทศกิจ งานรักษาความสงบเรียบร้อย งานจราจร งานวิเทศสัมพันธ์ งานประชาสัมพันธ์ งานส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ งานนิติการ งานคุ้มครอง ดูแล และบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ งานสิ่งแวดล้อม และราชการ ที่มิได้กําหนดให้เป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดในเทศบาลเป็นการเฉพาะ รวมทั้งกํากับและเร่งรัด การปฏิบัติราชการของส่วนราชการในเทศบาล ให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติ ราชการของเทศบาล งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คําแนะนําทางวิชาการ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และที่ได้รับมอบหมาย ( 2 ) กองคลัง มีงานในหน้าที่ทั้งหมด จํานวน 2 ฝ่าย ได้แก่ ( 2 . 1 ) ฝ่ายบริหารงานคลัง ประกอบด้วย งานธุรการ งานการเงินและบัญชี งานระเบียบการคลัง งานสถิติการคลัง และงานพัสดุและทรัพย์สิน ้ หนา 124 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
( 2 . 2 ) ฝ่ายพัฒนารายได้ ประกอบด้วย งานพัฒนารายได้ งานผลประโยชน์ และกิจการพาณิชย์ งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน และงานบริการข้อมูลแผนที่ภาษี และทะเบียนทรัพย์สิน มีหน้าที่ในความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการจ่ายเงิน การรับเงิน การจัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียม และการพัฒนารายได้ งานสรุปผลสถิติการจัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียม งานนําส่งเงิน การเก็บรักษาเงินและเอกสารทางการเงิน งานการตรวจสอบใบสําคัญ ฎีกาทุกประเภท งานการจัดทําบัญชี งานตรวจสอบบัญชีทุกประเภท งานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบําเหน็จ บํานาญ และเงินอื่น ๆ งานจัดทําหรือช่วยจัดทํางบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ งานเกี่ยวกับสถานะ การเงินการคลัง งานการจัดสรรเงินต่าง ๆ งานทะเบียนคุมเงินรายได้ และรายจ่ายต่าง ๆ งานควบคุม การเบิกจ่ายเงิน งานทํางบทดลองประจําเดือนและประจําปี งานเกี่ยวกับเงินประกันสัญญาทุกประเภท งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คําแนะนําทางวิชาการด้านการเงิน การคลัง การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สิน งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย ( 3 ) กองช่าง มีงานในหน้าที่ทั้งหมด จํานวน 1 ฝ่าย และงานอื่น ๆ ได้แก่ ( 5 . 1 ) ฝ่ายแบบแผนและก่อสร้าง ประกอบด้วย งานวิศวกรรม งานสถาปัตยกรรม และงานผังเมือง ( 5 . 2 ) งานอื่น ๆ ประกอบด้วย งานธุรการ งานสาธารณูปโภค งานสวนสาธารณะ และงานจัดสถานที่ และการไฟฟ้าสาธารณะ มีหน้าที่ในความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานสํารวจ งานออกแบบและเขียนแบบ งานประมาณราคา งานจัดทําราคากลาง งานจัดทําข้อมูลทางด้านวิศวกรรมต่าง ๆ งานจัดเก็บ และทดสอบคุณภาพวัสดุ งานจัดทําทะเบียนประวัติโครงสร้างพื้นฐาน อาคาร สะพาน คลอง แหล่งน้ํา งานติดตั้ง ซ่อมบํารุงระบบไฟส่องสว่าง และไฟสัญญาณจราจร งานปรับปรุงภูมิทัศน์ งานผังเมือง ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง งานการควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย งานตรวจสอบการก่อสร้าง งานจัดทําแผนปฏิบัติงานการก่อสร้าง และซ่อมบํารุงประจําปี งานควบคุมการก่อสร้าง และซ่อมบํารุง งานจัดทําประวัติ ติดตาม ควบคุมการปฏิบัติงานเครื่องจักรกล งานจัดทําทะเบียนประวัติการใช้เครื่องจักรกล และยานพาหนะ งานแผนการบํารุงรักษาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ งานเกี่ยวกับการประปา ้ หนา 125 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
งานเกี่ยวกับการช่างสุขาภิบาล งานช่วยเหลือ สนับสนุนเครื่องจักรกล งานช่วยเหลือ สนับสนุนการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย งานช่วยเหลือ สนับสนุนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งานจัดทําทะเบียน ควบคุมการจัดซื้อ เก็บรักษา การเบิกจ่ายวัสดุ อุปกรณ์ อะไหล่ น้ํามันเชื้อเพลิง งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คําแนะนําทางวิชาการด้านวิศวกรรมต่าง ๆ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย ( 4 ) กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีงานในหน้าที่ทั้งหมด จํานวน 2 ฝ่าย ได้แก่ ( 4 . 1 ) ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข ประกอบด้วย งานธุรการ งานวางแผนสาธารณสุข งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม งานรักษาความสะอาด และงานสัตวแพทย์ ( 4 . 2 ) ฝ่ายบริการสาธารณสุข ประกอบด้วย งานเผยแพร่และฝึกอบรม งานส่งเสริมสุขภาพ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ และงานบริการการแพทย์ฉุกเฉิน มีหน้าที่ในความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการศึกษา ค้นคว้า วิจัย วิเคราะห์ และจัดทําแผนงานด้านสาธารณสุข งานส่งเสริมสุขภาพ งานป้องกัน เฝ้าระวัง และควบคุมโรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่อ งานสุขาภิบาลในสถานประกอบการ งานสุขาภิบาลชุมชน งานอนามัยสิ่งแวดล้อม งานคุ้มครองผู้บริโภค งานให้บริการด้านสาธารณสุข งานเภสัชกรรม งานพยาธิวิทยา งานรังสีวิทยา งานวิชาการทางการแพทย์ งานวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ งานการแพทย์ งานการแพทย์ฉุกเฉิน งานรักษาพยาบาล งานศูนย์บริการสาธารณสุข งานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล งานบริหารสาธารณสุข งานส่งเสริม ป้องกัน ควบคุมโรค งานเวชปฏิบัติครอบครัว งานหลักประกันสุขภาพ งานมาตรฐาน และคุณภาพหน่วยบริการ งานยุทธศาสตร์สาธารณสุข งานกฎหมายสาธารณสุข งานแพทย์แผนไทย งานส่งเสริม สนับสนุนการแพทย์แผนไทย งานกายภาพและอาชีวบําบัด งานฟื้นฟูสมรรถภาพและจิตใจผู้ป่วย งานทันตสาธารณสุข งานบริการรักษาความสะอาด งานบริการและพัฒนาระบบจัดการมูลฝอย งานบริหารจัดการสิ่งปฏิกูล งานส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส งานอาสาสมัครสาธารณสุข งานป้องกันและบําบัดการติดสารเสพติด งานสัตวแพทย์ งานศึกษา ค้นคว้า วิจัย วิเคราะห์ กําหนดมาตรการ และแผนดําเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม งานจัดทํา และพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม งานรณรงค์และฝึกอบรม สร้างจิตสํานึก ด้านสิ่งแวดล้อม งานวางแผนและจัดทําแผนดําเนินงานด้านการเฝ้าระวัง ควบคุมมลพิษทางน้ํา อากาศ และเสียง งานเฝ้าระวัง บําบัด ตรวจสอบคุณภาพน้ํา อากาศ ของเสีย และสารอันตรายต่าง ๆ งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คําแนะนําทางวิชาการ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย ้ หนา 126 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
( 5 ) กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ มีงานในหน้าที่ทั้งหมด จํานวน 2 ฝ่าย ได้แก่ ( 5 . 1 ) ฝ่ายบริการและเผยแพร่วิชาการ ประกอบด้วย งานธุรการ งานประชาสัมพันธ์ และงานสถิติข้อมูลและสารสนเทศ ( 5 . 2 ) ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ ประกอบด้วย งานวิเคราะห์นโยบาย และแผน งานงบประมาณ และงานตรวจติดตามและประเมินผล มีหน้าที่ในความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานวิเคราะห์นโยบายและแผน งานยุทธศาสตร์ ของเทศบาล งานจัดทําแผนพัฒนาเทศบาล งานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น งานประสานการจัดทําแผนพัฒนาจังหวัด งานคณะกรรมการพัฒนาเทศบาล งานคณะกรรมการจัดทํา แผนพัฒนาเทศบาล งานงบประมาณ งานเสนอแนะขอรับการจัดสรรเงินอุดหนุนของเทศบาล งานจัดทําข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจํา และฉบับเพิ่มเติม ( ถ้ามี ) งานตรวจติดตาม และประเมินผลแผนงานและโครงการ งานจัดทําและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของเทศบาล งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คําแนะนําทางวิชาการ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย ( 6 ) กองการศึกษา มีงานในหน้าที่ทั้งหมด จํานวน 1 ฝ่าย ได้แก่ ( 6 . 1 ) ฝ่ายบริหารการศึกษา ประกอบด้วย งานธุรการ งานพัฒนาการศึกษา งานกีฬาและนันทนาการ และงานส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรม มีหน้าที่ในความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานบริหารการศึกษา งานพัฒนาการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบการศึกษา การศึกษานอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น การจัดการศึกษาปฐมวัย อนุบาลศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา งานบริหารวิชาการ ด้านการศึกษา งานโรงเรียน งานกิจการนักเรียน งานการศึกษาปฐมวัย งานขยายโอกาสทางการศึกษา งานฝึกและส่งเสริมอาชีพ งานห้องสมุด งานพิพิธภัณฑ์ งานเครือข่ายทางการศึกษา งานศึกษานิเทศก์ งานส่งเสริมคุณภาพ และมาตรฐานหลักสูตร งานพัฒนาสื่อเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการศึกษา งานการศาสนา งานบํารุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น งานการกีฬาและนันทนาการ งานกิจกรรมเด็ก เยาวชน และการศึกษานอกโรงเรียน งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก งานส่งเสริมสวัสดิการสวัสดิภาพ และกองทุนเพื่อการศึกษา งานบริหารงานบุคคลของพนักงานครู บุคลากรทางการศึกษา ลูกจ้าง และพนักงานจ้าง สังกัดสถานศึกษา และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กรณียังไม่จัดตั้งกองการเจ้าหน้าที่ งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คําแนะนําทางวิชาการ และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย ้ หนา 127 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
( 7 ) หน่วยตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ในความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานจัดทําแผนการตรวจสอบภายในประจําปี งานการตรวจสอบความถูกต้อง และเชื่อถือได้ของเอกสารการเงิน การบัญชี เอกสารการรับ การจ่ายเงินทุกประเภท ตรวจสอบการเก็บรักษาหลักฐานการเงิน การบัญชี งานตรวจสอบการสรรหาพัสดุ และทรัพย์สิน การเก็บรักษาพัสดุและทรัพย์สิน งานตรวจสอบการทําประโยชน์จากทรัพย์สิน ของเทศบาล งานตรวจสอบ ติดตาม และการประเมินผลการดําเนินงานตามแผน โครงการให้เป็นไป ตามนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กําหนดอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประหยัด งานวิเคราะห์และประเมินความมีประสิทธิภาพ ประหยัด คุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรของส่วนราชการต่าง ๆ งานประเมินการควบคุมภายในของหน่วยตรวจรับ งานรายงานผลการตรวจสอบภายใน งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คําแนะนําแนวทางแก้ไข ปรับปรุงการปฏิบัติงานแก่หน่วยรับตรวจและผู้เกี่ยวข้อง และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย 2 . อํานาจหน้าที่ที่สําคัญตามกฎหมายของเทศบาลตําบล ประกอบด้วย 2 . 1 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ . ศ . 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เทศบาลตําบลมีหน้าที่ต้องทําในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้ ( 1 ) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ( 2 ) ให้มีและบํารุงทางบกและทางน้ํา ( 2 / 1 ) รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริม สนับสนุน หน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ( 3 ) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกําจัดมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล ( 4 ) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ( 5 ) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง ( 6 ) จัดการ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา และการฝึกอบรม ให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการ หรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก ( 7 ) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ( 8 ) บํารุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนาธรรมอันดีของท้องถิ่น ( 9 ) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล ้ หนา 128 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
การปฏิบัติงานตามอํานาจหน้าที่ของเทศบาล ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และคํานึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดทําแผนพัฒนาเทศบาล การจัดทํางบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผย ข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด 2 . 2 เทศบาลตําบลอาจจัดทํากิจการใด ๆ ในเขตเทศบาล ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ . ศ . 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ให้มีน้ําสะอาดหรือน้ําประปา ( 2 ) ให้มีโรงฆ่าสัตว์ ( 3 ) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม ( 4 ) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน ( 5 ) บํารุงและส่งเสริมการทํามาหากินของราษฎร ( 6 ) ให้มีและบํารุงสถานที่ทําการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้ ( 7 ) ให้มีและบํารุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น ( 8 ) ให้มีและบํารุงทางระบายน้ํา ( 9 ) เทศพาณิชย์ 2 . 3 อีกทั้งตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้เทศบาลเมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตําบล มีอํานาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ ( 1 ) การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ( 2 ) การจัดให้มีและบํารุงรักษาทางบก ทางน้ํา และทางระบายน้ํา ( 3 ) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ ( 4 ) การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น ๆ ( 5 ) การสาธารณูปการ ( 6 ) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ ้ หนา 129 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
( 7 ) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน ( 8 ) การส่งเสริมการท่องเที่ยว ( 9 ) การจัดการศึกษา ( 10 ) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ( 11 ) การบํารุง รักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดี ของท้องถิ่น ( 12 ) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ( 13 ) การจัดให้มี และบํารุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ( 14 ) การส่งเสริมกีฬา ( 15 ) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน ( 16 ) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น ( 17 ) การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ( 18 ) การกําจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ําเสีย ( 19 ) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ( 20 ) การจัดให้มีและควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน ( 21 ) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ ( 22 ) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ ( 23 ) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ ( 24 ) การจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ( 25 ) การผังเมือง ( 26 ) การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร ( 27 ) การดูแลรักษาที่สาธารณะ ( 28 ) การควบคุมอาคาร ( 29 ) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ้ หนา 130 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566
( 30 ) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริม และสนับสนุนการป้องกัน และรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ( 31 ) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น ตามที่คณะกรรมการ ประกาศกําหนด 3 . วิธีการดําเนินงานของเทศบาลตําบลปัว การบริหารราชการของเทศบาลตําบลปัว จะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนในท้องถิ่น เกิดผลสัมฤทธิ์ เป็นไปตามภารกิจ อํานาจหน้าที่ของเทศบาลตําบลปัว ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า ในเชิงภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การอํานวยความสะดวก และการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ โดยผู้รับผิดชอบผลงานของงาน ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้คํานึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ กรณีเป็นอํานาจหน้าที่ของเทศบาลตําบลปัว ประชาชนสามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่ สํานักงานเทศบาลตําบลปัว ตั้งอยู่บนเลขที่ 400 หมู่ที่ 8 ถนนสนามบินเก่า ตําบลปัว อําเภอปัว จังหวัดน่าน 55120 4 . สถานที่ติดต่อ เพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของราชการ หรือคําแนะนําในการติดต่อกับส่วนราชการ ภายในเทศบาลตําบลปัว สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ เทศบาลตําบลปัว ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 400 หมู่ที่ 8 ถนนสนามบินเก่า ตําบลปัว อําเภอปัว จังหวัดน่าน 55120 หมายเลขโทรศัพท์ 0 - 5479 - 1400 , 0 - 5479 - 1247 หมายเลขโทรสาร 0 - 5479 - 1527 เว็บไซต์ www.tessabanpua.com จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ tessabanpua@gmail.com จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ . ศ . 2565 ธวัช พรหมรักษ์ รองนายกเทศมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ นายกเทศมนตรีตําบลปัว ้ หนา 131 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566