Wed Feb 22 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศเทศบาลตำบลด่านเกวียน เรื่อง โครงสร้างอำนาจหน้าที่ วิธีการดำเนินการ และสถานที่ติดต่อเพื่อรับข้อมูลข่าวสารของเทศบาลตำบลด่านเกวียน


ประกาศเทศบาลตำบลด่านเกวียน เรื่อง โครงสร้างอำนาจหน้าที่ วิธีการดำเนินการ และสถานที่ติดต่อเพื่อรับข้อมูลข่าวสารของเทศบาลตำบลด่านเกวียน

ประกาศเทศบาลตําบลด่านเกวียน เรื่อง โครงสร้างอํานาจหน้าที่ วิธีการดําเนินการ และสถานที่ติดต่อเพื่อรับข้อมูลข่าวสารของเทศบาลตําบลด่านเกวียน ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ . ศ . 2540 มาตรา 7 ( 1 ) ( 2 ) และ ( 3 ) กําหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยเกี่ยวกับโครงสร้างและการจัดองค์กร ในการดําเนินงาน สรุปอํานาจหน้าที่ที่สําคัญและวิธีการการดําเนินการและสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร หรือคําแนะนําในการติดต่อกับหน่วยงาน เพื่อลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา นั้น ดังนั้น เพื่อการปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ . ศ . 2540 ที่จะให้ประชาชนรับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงสร้างอํานาจหน้าที่ วิธีการดําเนินการ และสถานที่ติดต่อ เพื่อรับข้อมูลข่าวสารของเทศบาลตําบลด่านเกวียน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 7 ( 1 ) ( 2 ) และ ( 3 ) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ . ศ . 2540 จึงประกาศให้ทราบ ดังนี้ ก . โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดําเนินงาน และสรุปอํานาจหน้าที่ที่สําคัญตามโครงสร้าง ขององค์กรเทศบาลตําบลด่านเกวียน ประกอบด้วย ( 1 ) สภาเทศบาลตําบลด่านเกวียน ประกอบด้วย สมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง โดยตรงของประชาชน จํานวน 12 คน มีหน้าที่เป็นผู้แทนของปวงชนในเขตเทศบาลซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ตามระเบียบหรือกฎหมายกําหนดโดยมีประธานสภาเทศบาลตําบลด่านเกวียน จํานวน 1 คน และรองประธาน สภาเทศบาลตําบลด่านเกวียน จํานวน 1 คน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากสมาชิกสภาเทศบาล ตามมติของสภาเทศบาลตําบลด่านเกวียน ( 1 . 1 ) ประธานสภาเทศบาลตําบลด่านเกวียน มีหน้าที่ดําเนินกิจการของสภาเทศบาล ตําบลด่านเกวียนให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับการประชุมสภาเทศบาลและมีหน้าที่อื่นตามที่กฎหมาย ที่กําหนด ( 1 . 2 ) รองประธานสภาเทศบาลตําบลด่านเกวียน มีหน้าที่กระทําการแทนประธาน สภาเทศบาล ในกรณีที่ประธานสภาเทศบาลไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ( 2 ) นายกเทศมนตรีตําบลด่านเกวียน จํานวน 1 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีอํานาจหน้าที่ ดังนี้ ้ หนา 111 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566

( 2 . 1 ) กําหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ของเทศบาล ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เทศบัญญัติและนโยบาย ( 2 . 2 ) สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการเทศบาล ( 2 . 3 ) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และเลขานุการ นายกเทศมนตรี ( 2 . 4 ) วางระเบียบเพื่อให้งานของเทศบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ( 2 . 5 ) รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัติ ( 2 . 6 ) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายเทศบาลและกฎหมายอื่นบัญญัติไว้ ( 2 . 7 ) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลและผู้บังคับบัญชาพนักงาน เทศบาลและลูกจ้างเทศบาล ( 3 ) รองนายกเทศมนตรีตําบลด่านเกวียน จํานวน 2 คน ซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดย นายกเทศมนตรีตําบลด่านเกวียน ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลตําบลด่านเกวียน มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ ในการบริหารราชการของเทศบาลตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย ( 4 ) เลขานุการนายกเทศมนตรีตําบลด่านเกวียน จํานวน 1 คน ซึ่งมาจากการแต่งตั้ง โดยนายกเทศมนตรีตําบลด่านเกวียน และมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลตําบลด่านเกวียน มีหน้าที่ตามที่ นายกเทศมนตรีตําบลด่านเกวียนมอบหมาย ( 5 ) ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีตําบลด่านเกวียน จํานวน 1 คน ซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดย นายกเทศมนตรีตําบลด่านเกวียนและมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลตําบลด่านเกวียน มีหน้าที่ให้คําปรึกษาแก่ นายกเทศมนตรีตําบลด่านเกวียนตามที่นายกเทศมนตรีหารือ ( 6 ) สํานักงานเทศบาลตําบลด่านเกวียน แบ่งส่วนราชการ ดังนี้ ( 6 . 1 ) สํานักปลัดเทศบาล สํานักปลัดเทศบาล มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ งานราชการทั่วไปของเทศบาล งานเลขานุการของนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และเลขานุการนายกเทศมนตรี งานกิจการสภาเทศบาล งานบริหารงานบุคคลของพนักงานเทศบาล ลูกจ้างประจํา และพนักงานจ้าง งานกิจการขนส่ง งานส่งเสริมการท่องเที่ยว งานส่งเสริมการเกษตร งานการพาณิชย์ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานเทศกิจ งานรักษาความสงบเรียบร้อย ้ หนา 112 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566

งานจราจร งานวิเทศสัมพันธ์ งานนิติการ งานทะเบียนราษฎรและบัตรประจําตัวประชาชน งานเลือกตั้ง งานคุ้มครอง ดูแลและบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ งานการเจ้าหน้าที่ และราชการ ที่มิได้กําหนดให้เป็นหน้าที่ของกอง สํานัก หรือส่วนราชการใดในเทศบาลเป็นการเฉพาะ รวมทั้งกํากับ และเร่งรัดการปฏิบัติราชการของเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการ ของเทศบาล งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คําแนะนําทางวิชาการ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 2 ฝ่าย 9 งาน ดังนี้ ( 6 . 1 . 1 ) ฝ่ายอํานวยการ ( 1 ) งานการเจ้าหน้าที่ ( 2 ) งานบริหารงานทั่วไป ( 3 ) งานนิติการ ( 4 ) งานกิจการพาณิชย์ ( 5 ) งานรักษาความสงบ ( 6 ) งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( 7 ) งานทะเบียนราษฎรและบัตรประจําตัวประชาชน ( 6 . 1 . 2 ) ฝ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยว ( 1 ) งานส่งเสริมการท่องเที่ยว ( 2 ) งานส่งเสริมสนับสนุนการประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยวของประชาชนในพื้นที่ ( 6 . 2 ) กองคลัง มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานการจ่ายเงิน การรับเงิน การจัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียม และการพัฒนารายได้ งานสรุปผล สถิติการจัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียม งานนําส่งเงิน การเก็บรักษาเงินและเอกสารทางการเงิน งานการตรวจสอบใบสําคัญ ฎีกาทุกประเภท งานการจัดทําบัญชี งานตรวจสอบบัญชีทุกประเภท งานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบําเหน็จ บํานาญ และเงินอื่น ๆ งานจัดทําหรือช่วยจัดทํางบประมาณและเงินนอกงบประมาณ งานเกี่ยวกับสถานะการเงินการคลัง งานการจัดสรรเงินต่าง ๆ งานทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่าง ๆ งานควบคุมการเบิกจ่ายเงิน งานทํางบทดลองประจําเดือนและประจําปี งานเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้าง จัดหา งานทะเบียนคุม ้ หนา 113 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566

งานการจําหน่าย พัสดุ ครุภัณฑ์ และทรัพย์สินต่าง ๆ งานเกี่ยวกับเงินประกันสัญญาทุกประเภท งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คําแนะนําทางวิชาการด้านการเงินการคลัง การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สิน งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 1 ฝ่าย 5 งาน ดังนี้ ( 6 . 2 . 1 ) ฝ่ายพัฒนารายได้ ( 1 ) งานพัสดุและทรัพย์สิน ( 2 ) งานการเงินและบัญชี ( 3 ) งานบริหารงานทั่วไป ( 4 ) งานพัฒนารายได้ ( 5 ) งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน ( 6 . 3 ) กองช่าง มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสํารวจ งานออกแบบและเขียนแบบงาน ประมาณราคา งานจัดทําทะเบียนประวัติโครงสร้างพื้นฐาน อาคาร สะพาน คลอง แหล่งน้ํา งานติดตั้ง ซ่อมบํารุงระบบไฟส่องสว่างและไฟสัญญาณจราจร งานปรับปรุงภูมิทัศน์ งานผังเมืองตามพระราชบัญญัติ การผังเมือง งานการควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย งานตรวจสอบการก่อสร้าง งานจัดทํา แผนปฏิบัติงานการก่อสร้างและซ่อมบํารุงประจําปี งานควบคุมการก่อสร้างและซ่อมบํารุง งานจัดทําประวัติ ติดตาม ควบคุมการปฏิบัติงานเครื่องจักรกล งานจัดทํา ทะเบียนควบคุมการจัดซื้อ เก็บรักษา การเบิกจ่ายวัสดุ อุปกรณ์ อะไหล่ น้ํามันเชื้อเพลิง งานบริการข้อมูล สถิติช่วยเหลือให้คําแนะนําทางวิชาการด้านวิศวกรรมต่าง ๆ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 1 ฝ่าย 5 งาน ดังนี้ ( 6 . 3 . 1 ) ฝ่ายแบบแผนและก่อสร้าง ( 1 ) งานสาธารณูปโภค ( 2 ) งานบริหารงานทั่วไป ( 3 ) งานวิศวกรรมโยธา ( 4 ) งานติดตั้งซ่อมบํารุงไฟส่องสว่างและไฟสัญญาณจราจร ( 5 ) งานผังเมือง ้ หนา 114 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566

( 6 . 4 ) กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานการศึกษา ค้นคว้า วิจัย วิเคราะห์และจัดทําแผนงานด้านสาธารณสุข งานส่งเสริมสุขภาพ งานป้องกันเฝ้าระวัง และควบคุมโรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่อ งานสุขาภิบาลในสถานประกอบการ งานสุขาภิบาลชุมชน งานอนามัยสิ่งแวดล้อม งานคุ้มครองผู้บริโภค งานให้บริการด้านสาธารณสุข งานเภสัชกรรม งานพยาธิวิทยา งานรังสีวิทยา งานวิชาการทางการแพทย์ งานวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ งานการแพทย์ งานการแพทย์ฉุกเฉิน งานรักษาพยาบาล งานศูนย์บริการสาธารณสุข งานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล งานบริหารสาธารณสุข งานส่งเสริมป้องกันควบคุมโรค งานเวชปฏิบัติครอบครัว งานหลักประกันสุขภาพตําบล งานมาตรฐานและคุณภาพหน่วยบริการ งานยุทธศาสตร์สาธารณสุข งานกฎหมายสาธารณสุข งานแพทย์แผนไทย งานส่งเสริมสนับสนุนการแพทย์แผนไทย งานกายภาพและอาชีวบําบัด งานฟื้นฟูสมรรถภาพและจิตใจผู้ป่วย งานทันตสาธารณสุข งานบริการรักษาความสะอาด งานบริการและพัฒนาระบบจัดการมูลฝอย งานบริหารจัดการสิ่งปฏิกูล งานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส งานอาสาสมัครสาธารณสุข งานป้องกันและบําบัดการติดสารเสพติด งานสัตวแพทย์ งานศึกษา ค้นคว้า วิจัย วิเคราะห์ กําหนดมาตรการและแผนดําเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม งานส่งเสริมสนับสนุน ด้านสิ่งแวดล้อม งานจัดทําและพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม งานรณรงค์และการฝึกอบรม สร้างจิตสํานึกด้านสิ่งแวดล้อม งานวางแผนและจัดทําแผนดําเนินงานด้านการเฝ้าระวัง ควบคุมมลพิษทางน้ํา อากาศและเสียง งานเฝ้าระวัง บําบัด ตรวจสอบคุณภาพน้ํา อากาศ ของเสียและสารอันตรายต่าง ๆ งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คําแนะนําทางวิชาการ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับ มอบหมายแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 1 ฝ่าย 7 งาน ดังนี้ ( 6 . 4 . 1 ) ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข ( 1 ) งานส่งเสริมสุขภาพ ( 2 ) งานควบคุมและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ( 3 ) งานส่งเสริมสาธารณสุข ( 4 ) งานป้องกันและควบคุมโรค ( 5 ) งานรักษาความสะอาด ( 6 ) งานบริหารงานทั่วไป ( 7 ) งานสัตวแพทย์ ้ หนา 115 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566

( 6 . 5 ) กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานวิเคราะห์ นโยบายและแผน งานยุทธศาสตร์ของเทศบาล งานจัดทําแผนพัฒนาเทศบาล งานส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น งานจัดทําแผนพัฒนาจังหวัด งานคณะกรรมการพัฒนาเทศบาล งานคณะกรรมการจัดทําแผนพัฒนาเทศบาล งานงบประมาณ งานเสนอแนะขอรับการจัดสรรเงินอุดหนุน ของเทศบาล งานจัดทําเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี และฉบับเพิ่มเติม ( ถ้ามี ) งานตรวจติดตาม และประเมินผลแผนงานและโครงการ งานประชาสัมพันธ์ งานบริการและเผยแพร่วิชาการ งานสถิติข้อมูล งานสารสนเทศ งานจัดทําและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ งานจัดทําและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ ของเทศบาล งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คําแนะนําทางวิชาการ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 1 ฝ่าย 7 งาน ดังนี้ ( 6 . 5 . 1 ) ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ ( 1 ) งานวิเคราะห์นโยบายและแผน ( 2 ) งานงบประมาณ ( 3 ) งานวิจัยและประเมินผล ( 4 ) งานงบประมาณและเงินอุดหนุน ( 5 ) งานตราเทศบัญญัติ ( 6 ) งานบริการและเผยแพร่วิชาการ ( 7 ) งานประชาสัมพันธ์ ( 6 . 6 ) กองการศึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบริหารการศึกษางานพัฒนาการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบการศึกษา การศึกษานอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น การจัดการศึกษาปฐมวัย อนุบาลศึกษา ปฐมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา งานบริหารวิชาการ ด้านการศึกษา งานโรงเรียน งานกิจการนักเรียน งานการศึกษาปฐมวัย งานขยายโอกาสทางการศึกษา งานฝึกและส่งเสริมอาชีพ งานห้องสมุด งานพิพิธภัณฑ์ งานเครือข่ายทางการศึกษา งานศึกษานิเทศก์ งานส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานหลักสูตร งานพัฒนาสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา งานการศาสนา งานบํารุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น งานการกีฬาและสวัสดิภาพและกองทุนเพื่อการศึกษา งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือ ให้คําแนะนําทางวิชาการ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 1 ฝ่าย 6 งาน ดังนี้ ้ หนา 116 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566

( 6 . 6 . 1 ) ฝ่ายบริหารการศึกษา ( 1 ) งานกิจกรรมเด็กและเยาวชน ( 2 ) งานส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ ( 3 ) งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ( 4 ) งานบริหารงานทั่วไป ( 5 ) งานโรงเรียน ( 6 ) งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ( 6 . 7 ) กองสวัสดิการสังคม มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการจัดทําแผนงาน ด้านการพัฒนาสังคม ด้านสวัสดิการสังคม และด้านสังคมสงเคราะห์ งานพัฒนาระบบ รูปแบบมาตรการ และวิธีการพัฒนาสังคม การจัดสวัสดิการสังคม และการสังคมสงเคราะห์ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของประชาชน งานพัฒนาชุมชน งานสํารวจและจัดตั้งคณะกรรมการชุมชน งานจัดระเบียบชุมชน งานส่งเสริมสนับสนุนการจัดสวัสดิการสังคมแก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส งานฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน งานสังคมสงเคราะห์เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ทุพพลภาพ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ไร้ที่พึ่ง ผู้ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ งานสงเคราะห์เด็กและเยาวชน ผู้พิการทางร่างกาย และสมอง งานสงเคราะห์เด็กและเยาวชนผู้ถูกทอดทิ้ง เร่ร่อน ไร้ที่พึ่ง ถูกทําร้ายร่างกาย งานส่งเสริมสวัสดิภาพเด็ก และเยาวชนที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมแก่วัย งานสงเคราะห์ครอบครัวที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดําเนินชีวิตในครอบครัว งานด้านจิตวิทยา งานจ่ายเงิน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ฯลฯ งานบริการข้อมูล สถิติช่วยเหลือให้คําแนะนําทางวิชาการ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 1 ฝ่าย 4 งาน ดังนี้ ( 6 . 7 . 1 ) ฝ่ายพัฒนาชุมชน ( 1 ) งานพัฒนาชุมชน ( 2 ) งานสังคมสงเคราะห์ ( 3 ) งานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ( 4 ) งานสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน ้ หนา 117 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566

( 6 . 8 ) หน่วยตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานจัดทําแผนการ ตรวจสอบภายในประจําปี งานการตรวจสอบความถูกต้องและเชื่อถือได้ ของเอกสารการเงิน การบัญชี เอกสารการรับ การจ่ายเงินทุกประเภท ตรวจสอบการเก็บรักษา หลักฐานการเงิน การบัญชี งานตรวจสอบการสรรหาพัสดุและทรัพย์สิน การเก็บรักษาพัสดุและทรัพย์สิน งานตรวจสอบการทําประโยชน์ จากทรัพย์สินของเทศบาล งานตรวจสอบติดตามและประเมินผล การดําเนินงานตามแผนงาน โครงการให้เป็นไป ตามนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กําหนดอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประหยัด คุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรของส่วนราชการต่าง ๆ งานประเมินการควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจ งานรายงานผลการตรวจสอบภายใน งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คําแนะนําแนวทางแก้ไข ปรับปรุงการปฏิบัติงานแก่หน่วยรับตรวจ และผู้เกี่ยวข้อง งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 1 งาน ดังนี้ ( 6 . 8 . 1 ) งานตรวจสอบภายใน ข . อํานาจหน้าที่ที่สําคัญของเทศบาลตําบลด่านเกวียน ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ . ศ . 2496 สรุปได้ ดังนี้ ( 1 ) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ( 2 ) ให้มีและบํารุงรักษาทางบกและทางน้ํา ( 3 ) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกําจัดขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล ( 4 ) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ( 5 ) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง ( 6 ) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม ( 7 ) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ( 8 ) บํารุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ( 9 ) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล อีกทั้งเทศบาลตําบลด่านเกวียนอาจจัดทํากิจการใด ๆ ในเขตเทศบาลตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ . ศ . 2496 ดังต่อไปนี้ ้ หนา 118 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566

( 1 ) ให้มีน้ําสะอาดหรือการประปา ( 2 ) ให้มีโรงฆ่าสัตว์ ( 3 ) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม ( 4 ) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน ( 5 ) บํารุงและส่งเสริมการทํามาหากินของราษฎร ( 6 ) ให้มีและบํารุงสถานที่ทําการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้ ( 7 ) ให้มีและบํารุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น ( 8 ) ให้มีและบํารุงทางระบายน้ํา ( 9 ) เทศพาณิชย์ การปฏิบัติงานตามอํานาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คํานึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทํา แผนพัฒนาเทศบาล การจัดทํางบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด นอกจากอํานาจหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นแล้ว เทศบาลตําบลด่านเกวียนมีอํานาจและหน้าที่ ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติ กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 ดังนี้ ( 1 ) การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ( 2 ) การจัดให้มีและบํารุงรักษาทางบก ทางน้ํา และทางระบายน้ํา ( 3 ) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ ( 4 ) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ ( 5 ) การสาธารณูปการ ( 6 ) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ ( 7 ) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน ( 8 ) การส่งเสริมการท่องเที่ยว ( 9 ) การจัดการศึกษา ้ หนา 119 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566

( 10 ) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ( 11 ) การบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ( 12 ) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ( 13 ) การจัดให้มีและบํารุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ( 14 ) การส่งเสริมกีฬา ( 15 ) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน ( 16 ) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น ( 17 ) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ( 18 ) การกําจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ําเสีย ( 19 ) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ( 20 ) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน ( 21 ) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ ( 22 ) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ ( 23 ) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และการสาธารณสถานอื่น ๆ ( 24 ) การจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ ( 25 ) การผังเมือง ( 26 ) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร ( 27 ) การดูแลรักษาที่สาธารณะ ( 28 ) การควบคุมอาคาร ( 29 ) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( 30 ) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ( 31 ) กิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด ้ หนา 120 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566

ค . วิธีการดําเนินงานของเทศบาลตําบลด่านเกวียน การบริหารราชการของเทศบาลตําบลด่านเกวียน จะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ในท้องถิ่นเกิดผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามภารกิจอํานาจหน้าที่ของเทศบาลตําบลด่านเกวียน ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การอํานวยความสะดวก และการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ โดยมีผู้รับผิดชอบของงาน ในการปฏิบัติหน้าที่ส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คํานึงถึง ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ ง . สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของเทศบาลตําบลด่านเกวียน สามารถติดต่อได้ ณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเทศบาลตําบลด่านเกวียน ตั้งอยู่เลขที่ 222 หมู่ที่ 7 ตําบลด่านเกวียน อําเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30190 หมายเลขโทรศัพท์ 0 - 4433 - 8105 โทรสาร 0 - 4433 - 8369 และทางเว็บไซต์ https://www.dankwiancity.go.th จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ . ศ . 2565 ชรินทร์ เปลี่ยนกระโทก นายกเทศมนตรีตําบลด่านเกวียน ้ หนา 121 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 43 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 กุมภาพันธ์ 2566