Sun Feb 19 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ข้อกำหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม : กลไกและการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ


ข้อกำหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม : กลไกและการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ

ข้อก ําหนดว่ําด้วยกระบวนกํารรักษําจริยธรรม : กลไกและการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ และพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 มาตรา 19 และมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐาน ทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 และระเบียบคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ การจัดทาประมวลจริยธรรม ข้อกาหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรมของหน่วยงานและ เจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2563 ข้อ 5 และข้อ 13 (1) ซึ่งบัญญัติให้องค์กรที่มีหน้าที่จัดทาประมวล จริยธรรม จัดทาประมวลจริยธรรม และกาหนดให้มีกระบวนการรักษาจริยธรรมของหน่วย งาน และ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในความรับผิดชอบ คณะกรรมการกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่จัดทาประมวลจริยธรรมกองทุนบริหาร เงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในปร ะเทศ จึงกาหนดข้อกาหนด ว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม : กลไกและการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมกองทุนบริหารเงินกู้ เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ ดังต่อไปนี้ หมวด 1 บททั่วไป ข้อ 1 ข้อกำหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม : กลไกและการบังคับใช้ประมวล จริยธรรม กองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ในข้อกำหนดนี้ “ กองทุน ” หมายถึง กองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครง สร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาด ตราสารหนี้ในประเทศ “ ประมวลจริยธรรม ” หมายถึง ประมวลจริยธรรมกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ “ คณะกรรมการบริหาร ” หมายถึง คณะกรรมการกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ สำธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ “ กรรมการ ” หมายถึง คณะอนุกรรมการตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และคณะอนุกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ รวมถึงคณะกรรมการและคณะทางานที่กองทุนบริหารเงินกู้ เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศได้แต่งตั้งขึ้น ้ หนา 20 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 39 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 กุมภาพันธ์ 2566

“ ผู้จัดการ ” หมายถึง ผู้จัดการกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ และพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ “ บุคลากร ” ห มายถึง บุคลากร และผู้ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง “ คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม ” หมายถึง คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 หมวด 2 กระบวนการรักษาจริยธรรม ข้อ 3 ให้คณะกรรมการบริหาร ดาเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) กำกับ ติดตาม และดูแลการดาเนินการตามประมวลจริยธรรม กระบวนการรักษาจริยธรรม และการประเมินผลการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม (2) กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการนำพฤติกรรมทางจริยธรรมไปใช้ในกระบวนการ บริหารงานบุคคลให้มีผลต่อการพิจารณาให้คุณให้โทษ เช่น การประเมิ นผลการปฏิบัติงาน การเลื่อน เงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อน การโอน การย้าย หรือการให้ออก (3) กำหนดให้มีมาตรการจูงใจเพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้จัดการ กรรมการและบุคลากร มีพฤติกรรมทางจริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ดี (4) กาหนดมาตรการที่ใช้บังคับแก่ผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และระดับความร้ายแรงของโทษ ในกรณีมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม ข้อ 4 ให้กองทุน ดาเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) กำหนดให้มีผู้บริหารที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาจริยธรรม (2) กาหนดให้มีผู้รับ ผิดชอบเกี่ยวกับการดาเนินงานด้านจริยธรรม โดยมีกรอบอัตรากาลัง ผู้ปฏิบัติงานที่เหมาะสม รวมถึงการจัดสรรงบประมาณเกี่ยวกับการดาเนินงานด้านจริยธรรม (3) ให้ผู้จัดการหรือผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ในการกำกับดูแลให้บุคลากรในสังกัดปฏิบัติ ตามประมวลจริยธรรม ในกรณีผู้ใดไม่ ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม แต่มิได้เป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง หรือความผิดอาญา ให้ผู้จัดการหรือผู้บังคับบัญชาว่ากล่าวตักเตือน หรือสั่งให้ผู้นั้นได้รับการพัฒนา หรือดาเนินการตามกระบวนการบริหารงานบุคคล (4) จัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะกรรมการบริหารตา มหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมกำหนด เพื่อทราบและพิจารณาดาเนินการต่อไป หมวด 3 กลไกและการบังคับใช้ประมวลจริยธรรม ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 39 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 5 คณะกรรมการบริหาร มีหน้าที่ดำเนินการตามกระบวนการรักษาจริยธรรม ดังต่อไปนี้ (1) กาหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการ รวมถึงกลไกและการบังคับใช้ ประมวลจริยธรรม (2) กำหนดมาตรการเพื่อใช้ในการบริหารงานบุคคล (3) กำหนดให้มีมาตรการจูงใจเพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้จัดการ กรรมการและบุคลากร มีพฤติกรรมทางจริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ดี รวมทั้งมาตรการที่ใช้บังคับแก่ ผู้ที่มีพฤติกรรมที่เป็นการฝ่าฝืน มาตรฐานทางจริยธรรมหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม (4) จัดหลักสูตรการฝึกอบรม การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้กับผู้จัดการ กรรมการ และบุคลากร (5) รณรงค์ส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (6) กำกับ ติดตาม และดูแลการดาเนินการตามประมวลจริยธรรม (7) ประเมินผลการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมเสนอต่อคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม ( 8 ) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมมอบหมาย ข้อ 6 ผู้จัดการ มีหน้าที่ดำเนินการตามกระบวนการรักษาจริยธรรม ดังต่อไปนี้ (1) กำกับ ดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมและประมวลจริยธรรม (2) กาหนดให้มีการประเมินพฤติกรรมทางจริยธรรมบุคลากร และกาหนดหลักเกณฑ์การนา พฤติกรรมทางจริยธรรมไปใช้ในกระบวนการบริหารงานบุคคล (3) กาหนดนโยบายด้านจริยธรรมและแผนปฏิบัติการด้านจริยธรรมที่ สอดคล้องกับภารกิจ ของกองทุน เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงด้านจริยธรรม การกระทำผิดวินัย และปัญหาการทุจริต (4) เป็นแบบอย่างที่ดีด้านจริยธรรม ส่งเสริม สนับสนุน และยกย่องบุคลากรที่มีพฤติกรรม ทางจริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ดี รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณและอัตรากำลังเพื่อการขับเคลื่อนงาน ด้านจริยธรรมของกองทุน (5) ส่งเสริม สนับสนุน ให้ความรู้ ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร (6) จัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อเสริมสร้างให้มีการปฏิบัติตามประมวล จริยธรรม รวมทั้งกาหนดกลไกในการส่ง เสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบพฤติกรรมของ บุคลากร ตลอดจน ติดตามรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับพฤติกรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อาจขัดกับวินัย และจริยธรรมด้วย เพื่อใช้สำหรับการส่งเสริมจริยธรรมของบุคลากร (7) สร้างเครือข่ายและประสานความร่วมมือระหว่างกองทุน หน่วยงานของรัฐ ส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชน (8) รายงานและเปิดเผยข้อมูลการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม ( 9 ) รายงานผลการดาเนินการตามกระบวนการรักษาจริยธรรมให้คณะกรรมการบริหารทราบ ( 10 ) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการบริหารมอบหมาย ้ หนา 22 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 39 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 7 ให้ผู้รับผิดชอบเกี่ ยวกับการดาเนินงานด้านจริยธรรมมีหน้าที่ดำเนินการตามกระบวนการ รักษาจริยธรรม ดังต่อไปนี้ (1) พัฒนาระบบ เครื่องมือและกลไกที่จะสนับสนุนการส่งเสริมจริยธรรมในกองทุน (2) ส่งเสริม สนับสนุน ให้ความรู้ ฝึกอบรม และพัฒนากรรมการรวมถึงบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความตระหนักในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม (3) ให้คาปรึกษาแนะนา เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และการยกระดับธรรมาภิบาล การป้องกันและปราบปรามการทุจริตของกองทุน รวมถึงแนวทางการนา พฤติกรรมทางจริยธรรมไปใช้ในกระบวนการบริหารงานบุคคลของ กองทุน (4) วิเคราะห์ข้อมูลด้านจริยธรรมเพื่อจัดการความเสี่ยงในเรื่องจริยธรรม การทุจริตและ ประพฤติมิชอบ (5) จัดทาข้อกาหนดจริยธรรม หรือพฤติกรรมที่ควรกระทาและไม่ควรกระทาของบุคลากร ในส่วนที่สอดคล้องกับบทบาทภารกิจของกองทุน เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการบริหารงานบุค คล (6) ดาเนินการตามมาตรการหรือแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และต่อต้าน การทุจริต เช่น การพัฒนาองค์กรคุณธรรม การส่งเสริมจริยธรรมและการเสริมสร้างวินัย การประเมิน คุณธรรมและความโปร่งใสในการดาเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (7) รณรงค์ ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ ตลอดจนสร้างเครือข่ายและประสานความร่วมมือ ระหว่างกองทุน หน่วยงานของรัฐ ส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชน (8) รับและดาเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนกรณีมีการฝ่าฝืนจริยธรรม การปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ และกำหน ดกลไกในการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการตรวจสอบพฤติกรรมของกรรมการและบุคลากร (9) ติดตาม ประเมินผล และจัดทารายงานการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและข้อกาหนด จริยธรรมต่อคณะกรรมการ (10) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้จัดการ คณะกรรมการ หรือคณะกรรมการมาตรฐานทางจ ริยธรรม มอบหมาย ข้อ 8 ในกรณีที่กรรมการมีพฤติกรรมที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมหรือไม่ปฏิบัติ ตามประมวลจริยธรรม ให้ดำเนินการตามแนวทางการบังคับใช้ประมวลจริยธรรม ให้ครอบคลุม ถึงคณะกรรมการ ตามที่คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมกำหนด ข้อ 9 ในกรณีที่บุคลากรมีพฤติกรรมที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมหรือไม่ปฏิบัติ ตามประมวลจริยธรรม ให้ผู้จัดการดาเนินการตามประมวลจริยธรรมกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับ โครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศและข้อกาหนดว่าด้วยกระบวนการรักษา จริยธรรมฉบั บนี้ ้ หนา 23 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 39 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 10 ในกรณีที่กองทุนมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกาหนดนี้ ให้ประธานกรรมการกองทุน เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ประกาศ ณ วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 256 6 บุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้าง หนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ ้ หนา 24 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 39 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 กุมภาพันธ์ 2566