ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามจุดเน้นและนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่กำหนดให้สถานศึกษาจัดโครงสร้าง หลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ เพื่อบ่มเพาะ ให้นักเรียนภาคภูมิใจ รักความเป็นไทย หวงแหนในสิ่งที่บรรพชนให้ไว้เป็นมรดกทางปัญญา รักษา สืบสานและต่อยอด และนามาปรับประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาศัยอานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ประกอบกับมติ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้ง ที่ 11/2565 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 จึงกาหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ 1 รายวิชา โดยจัดเวลาเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ ระดับประถมศึกษา 40 ชั่วโมงต่อปี ระดั บมัธยมศึกษาตอนต้น 40 ชั่วโมงต่อปี (1 หน่วยกิตต่อปี) และระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย รวม 3 ปี 80 ชั่วโมง (2 หน่วยกิต) ตามแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนรายวิชา ประวัติศาสตร์ แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 256 5 ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 39 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 กุมภาพันธ์ 2566
(ร่าง) แนวปฏิบัติ การจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ แนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เรื่อง การบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ----------------------------------- เพื่อให้ การบริหาร จัดการ หลักสูตรสถานศึกษา ตาม โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นไปด้วย ความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน รวมทั้ง บ่มเพาะให้ ผู้เรียน ภาคภูมิใจในความเป็นชาติ ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์วิเคราะห์ เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ เข้าใจการดำรงชีวิตของมนุษย์และการอยู่ร่วมกัน ในสังคม การเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย กาลเวลา ตามเหตุปัจจัยต่าง ๆ ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี มีคุณธรรม ธารงรักษา ประเพณีและวัฒนธรรมไทย และ ส่งเสริม การเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ จึง กำหนด แนวปฏิบัติ แนบท้าย ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เรื่อง การบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตร สถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ดัง ต่อไปนี้ 1 . การ บริหารจัดการ หลักสูตรสถานศึกษา ตาม โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระ การเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ของสถานศึกษาขั้ นพื้นฐาน ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา โดยให้มีรายวิชาพื้นฐานตาม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และรายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ 1 ราย วิชา ทั้งนี้ ให้มี โครงสร้างเวลาเรียน สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ดังนี้ 1.1 ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6) ให้จัด เวลาเรียน รายวิชา พื้นฐาน ประวัติศาสตร์ 40 ชั่วโมงต่อปี 1.2 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3) ให้จัดเวลาเรียนรายวิชา พื้นฐาน ประวัติศาสตร์ 40 ชั่วโมงต่อปี (1 หน่วยกิตต่อปี) 1.3 ระดับมัธยม ศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6) ให้ จัดเวลาเรียน รายวิชา พื้นฐาน ประวัติศาสตร์ รวม 3 ปี 80 ชั่วโมง (2 หน่วยกิต) 2. การส่งเสริม การ จัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ ให้ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานทุกแห่ง ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ ทั้งด้านหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การเลือกใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และอื่น ๆ ดังนี้ 2.1 ด้านหลักสูตร ให้สถานศึกษาทบทวนหลักสูตร สถานศึกษาให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน ประวัติศาสตร์ ทั้งด้าน การจัดการเรียนการสอน และการวัดประเมินผลการเรียนรู้ ดังนี้ 1) กำหนดวิสัยทัศน์ของหลักสูตร ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ให้ สัมพันธ์เชื่อมโยงกับ เป้าหมายของ การเรียนกา ร สอนประวัติศาสตร์ - สำเนา -
- 2 - 2 ) กาหนดนโยบายการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในเชิงของการบูรณาการ ให้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ใช้ประวัติศาสตร์เป็นบริบท ( Contexts ) และ บูรณาการประวัติศาสตร์กับหน้าที่พลเมือง ศีลธรรม เพื่อให้ เกิดเป็นจริยธรรมของผู้เรียน สำหรับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน 3) สร้างนิเวศการเรียนรู้ให้ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ เช่น พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ ห้องเกียรติยศ ป้ายนิเทศ มุมประวัติศาสตร์ 2 . 2 ด้านการจัดการเรียน รู้ ให้ออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดกา รเรียนรู้เชิงรุก ( Active Learning ) ให้ผู้เรียนสามารถนาองค์ความรู้ที่ได้จาก การ เรียนรู้ไปต่อยอด และ ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวัน ดังนี้ 1) ใช้ แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ เช่น อุทยานประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ แ หล่ ง เรียนรู้ชุมชน 2 ) สอดแทรกแนวคิดเกี่ยวกับการเป็นพลเมือง และศีลธรรมของผู้เรียนตามความเหมาะสม 3) จัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน โดย ให้ ผู้ เรียน ได้ศึกษา วิเคราะห์ ถกแถลง และ แลกเปลี่ยนความเห็นผ่านสถานการณ์ทางประวัติศาสตร์ 4) ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ประเมินหลักฐาน ความคิดผ่านหลักฐานทางประวัติศาสตร์ 2. 3 ด้าน การเลือกใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 1) ใช้สื่อร่วมสมัยที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน เช่น สื่อดิจิทัล การ์ตูนแอนิเมชัน 2) ใช้สื่อที่ส่งเสริมกระบวนการคิด เช่น สื่อเกม สื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง ( AR ) 3) ใช้สื่อจากแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี บุคค ลสาคัญ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน 2. 4 ด้าน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 1) ใช้วิธีการประเมินตามสภาพจริง โดยเน้นการประเมินกระบวนการคิดมากกว่า การประเมินความจำ 2) ใช้การประเมินระหว่างเรียน เป็นกระบวนการพัฒนาผู้เรียน 3) ใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย เช่น การสัมภาษณ์ การสำรวจ การสอบถาม ทั้งนี้ ให้สถานศึกษา ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ร่วมกันจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ อย่างหลากหลาย