Sun Feb 19 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร พ.ศ. 2565


ระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร พ.ศ. 2565

ระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร พ.ศ. 2565 เพื่อให้การดาเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนาส่งภาษีอากร ที่ได้ยึดหรืออายัดตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม เป็นไปด้วยความเหมาะสมและเป็นแนวทางเดียวกัน อธิบดีกรมสรรพากร จึงกำหนดระเบียบปฏิบัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สินของ ผู้ค้างภาษีอากร พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร พ.ศ. 2553 ข้อ 4 บรรดาระเบียบ คำสั่ ง หรือแนวปฏิบัติอื่นใด ที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 5 ให้ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการจัดเก็บภาษีรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด 1 บททั่วไป ข้อ 6 ในระเบียบนี้ “ อธิบดี ” หมายความว่า อธิบดีกรมสรรพากร หรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมาย “ หน่วยจัดเก็บ ” หมายความว่า สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือหน่วยงานอื่น ที่กรมสรรพากรกำหนด “ หน่วยเร่งรัด ” หมายความว่า สานักงานสรรพากรพื้นที่ กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือหน่วยงานอื่นที่กรมสรรพากรกำหนด “ หน่วยเร่งรัดต้นทาง ” หมายความว่า หน่วยเร่งรั ดที่มีภาษีอากรค้างตั้งอยู่ในบัญชี “ หน่วยเร่งรัดปลายทาง ” หมายความว่า หน่วยเร่งรัดที่ได้รับการร้องขอให้ช่วยทาการเร่งรัด จัดเก็บภาษีอากรค้าง “ เจ้าพนักงาน ” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างสังกัดกรมสรรพากร “ ภาษีอากร ” หมายความว่า ภาษีอากรที่จัดเก็บตามประมวลรัษฎากร และจัดเก็บ ตามกฎหมายอื่น รวมทั้งรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มอบหมายให้กรมสรรพากรมีหน้าที่จัดเก็บ ้ หนา 1 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 39 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 กุมภาพันธ์ 2566

“ ภาษีอากรค้าง ” หมายความว่า ภาษีอากรซึ่งต้องเสียหรือนาส่งตามประมวลรัษฎากร เมื่อถึง กำหนดชำระแล้วมิได้เสียหรือนำส่ ง “ ผู้ค้างภาษีอากร ” หมายความว่า บุคคลผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากร “ ใบแจ้งภาษีอากร ” หมายความว่า หนังสือแจ้งการประเมิน คาสั่งให้เสียภาษีอากร และ หรือหนังสืออื่นใดที่สั่งให้เสียหรือนำส่งภาษีอากร “ ใบแจ้งการค้างชาระภาษีอากร ” หมายความว่า ใบ แจ้งการค้างชาระภาษีอากรที่เกิดจาก ผู้เสียภาษีอากรยื่นแบบแสดงรายการภาษี หรือแบบยื่นรายการหรือคาขอต่าง ๆ แล้วไม่ชาระหรือ ชำระไม่ครบถ้วน “ คณะกรรมการ ” หมายความว่า คณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร ซึ่งแต่งตั้งโดยผู้มีอำนาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร “ ผู้ทอดตลาด ” หมายความว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดในคณะกรรมการหรือบุคคลอื่น ที่คณะกรรมการแต่งตั้งให้เป็นผู้ดำเนินการขายทอดตลาด “ การขายทอดตลาด ” หมายความว่า การนาเอาทรัพย์สินของผู้ค้ำงภาษีอากรออกขายโดยวิธี ให้สู้ราคากันโดยเปิดเผย หมวด 2 การขายทอดตลาดทรัพย์สิน ส่วนที่ 1 ผู้มีอำนาจขายทอดตลาดทรัพย์สิน ข้อ 7 ผู้มีอำนาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สิน (1) อธิบดี สำหรับท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (2) รองอธิบดี ในกรณีที่อธิบดีมอบหมาย สำหรับท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (3) สรรพากรภาค ในกรณีที่อธิบดีมอบหมาย สำหรับในเขตท้องที่ของสำนักงานสรรพากรภาคนั้น ส่วนที่ 2 วิธีการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ข้อ 8 การขออนุญาตขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้หน่วยเร่งรัดทำรายงานขออนุญาต ขายทอดตลาดทรัพย์สินต่อผู้มีอานาจ สั่งขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยจัดทาประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สิน ตามแบบประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สิน (ภ.ส. 19) คาสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการขายทอดตลาด ทรัพย์สิน พร้อมทั้งแนบคำสั่งแต่งตั้งเจ้าพนักงานให้ยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร (ภ.ส. 17) ประกาศ ให้ยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร (ภ.ส. 18) หลักฐานการส่งประกาศยึดทรัพย์สินให้แก่ผู้ค้างภาษีอากร ้ หนา 2 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 39 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 กุมภาพันธ์ 2566

และผู้มีส่วนได้เสีย สาเนาคาวินิจฉัยอุทธรณ์และหรือคาพิพากษาอันถึงที่สุดของศาล (ถ้ามี) รวมถึง เอกสารอื่นใดอันเกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์สินพร้อมกับให้ แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะขาย เช่น ชื่อเจ้าของทรัพย์สิน ถ้าเป็นที่ดินให้แจ้งเลขที่เอกสารสิทธิ เนื้อที่เขตกว้างยาว ชื่อเจ้าของ ที่ดินข้างเคียงและตาบลที่ตั้งพร้อมแผนที่สังเขป ราคากลางหรือราคาประเมินตลอดจนภาระติดพันต่าง ๆ รวมทั้งเสนอความเ ห็นว่าควรขายทอดตลาดทรัพย์สินไว้ในแบบรายงานแสดงการเร่งรัดภาษีอากรค้าง (ภ.ส. 16) ไม่น้อยกว่า 60 วัน นับแต่วันที่ได้ยึดหรืออายัดหรือส่งมอบทรัพย์สินเสร็จสิ้นหรือได้รับ คาวินิจฉัยอุทธรณ์และหรือคาพิพากษาอันถึงที่สุดให้ผู้ค้างภาษีอากรชาระภาษีอากร ระยะเวลาดั งกล่าวอาจ ขยายได้ตามความจำเป็น โดยขออนุญาตผู้มีอำนาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สิน ข้อ 9 เมื่อผู้มีอานาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สิน ได้รับรายงานขออนุญาตขายทอดตลาด ทรัพย์สินแล้วพิจารณาให้ขายหรือประการใด ก็ให้สั่งการไว้ในแบบรายงานแสดงการเร่งรัดภาษีอากรค้าง (ภ.ส. 16) กรณีไม่อนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้ผู้มีอานาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินสั่งการ ตามที่เห็นสมควร ข้อ 10 กรณีอนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้ผู้มีอำนาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินลงนาม ในประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สิน (ภ.ส. 19) พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการขายทอดต ลาดทรัพย์สิน จากข้าราชการประเภทวิชาการไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญการที่สังกัดสำนักงานสรรพากรภาค หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สำหรับในเขตท้องที่ของสานักงาน สรรพากรภาค หรือสานักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ซึ่ งทาการขาย ทอดตลาดทรัพย์สินนั้น หรือท้องที่ซึ่งมีภาษีอากรค้างตั้งอยู่ในบัญชีลูกหนี้ค่าภาษีอากร หรือท้องที่ ที่ได้รับการร้องขอจากหน่วยเร่งรัดต้นทางให้ช่วยทำการเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากร แล้วแต่กรณี สาหรับผู้ค้างภาษีอากรที่อยู่ภายใต้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรข องกองบริหารภาษีธุรกิจ ขนาดใหญ่ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการจากข้าราชการประเภทวิชาการไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญการ ที่สังกัดกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ การแต่งตั้งคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน โดยกาหนดให้กรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ หากได้แต่งตั้งกรรมการมากกว่าสามคน และกรรมการคนใดไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ากรรมการที่เหลือมีจานวนไม่น้อยกว่าสามคน ให้คณะกรรมการดาเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติ หน้าที่ได้ให้กรรมการที่เหลืออยู่เลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ แต่กรรมการ ที่เหลืออยู่ต้องไม่น้อยกว่าสามคน ในกรณีจาเป็นคณะกรรมการอาจร้องขอให้ผู้มีอำนาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สิน แต่งตั้งบุคคล ที่เห็นส มควรเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการด้วยก็ได้ ข้อ 11 ให้หน่วยเร่งรัดจัดส่งประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สิน (ภ.ส. 19) ให้แก่ผู้ค้างภาษีอากร และผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นทราบก่อนวันขายทอดตลาดไม่น้อยกว่า 5 วัน ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 39 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 กุมภาพันธ์ 2566

นับแต่วันที่ได้รับแบบ ภ.ส. 19 ที่ผู้ มีอำนาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินลงนามแล้ว พร้อมทั้งปิดประกาศไว้ โดยเปิดเผยในสถานที่ต่าง ๆ เช่น สานักงานสรรพากรพื้นที่ สานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่ทรัพย์สินนั้น ตั้งอยู่ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอาเภอ หรือกิ่งอาเภอที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ องค์การบริ หารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตาบล หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ ธนาคาร อันเป็นที่ตั้ง ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่และสานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ ที่ชุมนุมชน สถานที่ ที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ และสถานที่ อื่น ๆ ตามที่ผู้มีอานาจสั่งขายทอดตลาดเห็นสมควร หรือโฆษณาทางวิทยุ หรือโฆษณาข้อความย่อในหนังสือพิมพ์ที่จำหน่ายเป็นปกติในท้องที่นั้น ก่อนวันขายทอดตลาด ไม่น้อยกว่า 5 วัน การประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินที่เป็นโบราณวัตถุ ให้ส่งประกาศขายทอดตลาด ทรัพย์สินไปยังเจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติด้วย การส่งประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้ปฏิบัติตามมาตรา 8 แห่งประมวล รัษฎากร และให้นาหลักฐานการรับมาเก็บไว้ในสำนวนเร่งรัดด้วย ข้อ 1 2 การกำหนดวันขายทอดตลาดทรัพย์สิน ( 1 ) การกาหนดวันขายทอดตลาดทรัพย์ สินครั้งแรก ให้นับแต่วันที่ผู้มีอานาจสั่งขายทอดตลาด ทรัพย์สินลงนามในประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยถือเกณฑ์ ดังนี้ (ก) กรณีที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ให้กำหนดวันขายไม่น้อยกว่า 60 วัน แต่ไม่เกิน 120 วัน (ข) กรณีโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ และทรัพย์สินอื่น ให้กาหนดวันขายไม่น้อยกว่า 60 วัน แต่ไม่เกิน 90 วัน (2) การกำหนดวันขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งต่อ ๆ ไป แต่ละครั้งให้ห่างกันไม่เกิน 25 วัน (3) ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน อาจขายทอดตลาดทรัพย์สินได้เมื่อพ้นระยะเวลาอย่างน้อย 5 วัน นับแต่วันยึดทรัพย์สินเสร็จสิ้นก็ได้ ในกรณีที่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่จะขายหรือจำหน่าย มีสภาพเป็นของสดของเสียได้ หรือ ถ้าหน่วงช้าไว้จะเป็นการเสี่ยงความเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายจะเกินส่วนแห่งค่าของทรัพย์สินหรือ สิทธิเรียกร้องนั้น ให้ขายหรือจำหน่ายได้ ทันทีโดยวิธีขายทอดตลาดหรือวิธีอื่นที่สมควร ในกรณีที่การขายหรือจาหน่ายทรัพย์สินที่ถูกยึดหรือที่ได้มีการส่งมอบตามคาสั่งอายัดกระทำได้ โดยยาก หรือการขายหรือจำหน่ายสิทธิเรียกร้องนั้นกระทำได้โดยยากเนื่องจากการชาระหนี้นั้นต้องอาศัย การชาระหนี้ตอบแทนด้วยเหตุอื่นใด และอาจล่าช้าเป็นการเสียหายแก่ผู้ค้างภาษีอากร หรือแก่บุคคล ผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อคณะกรรมการเห็นสมควรหรือบุคคลเช่นว่านั้นร้องขอ คณะกรรมการจะมีคาสั่ง กำหนดให้จำหน่ายโดยวิธีการอื่นใดที่สมควรก็ได้ ทั้งนี้ บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินอาจคัดค้านคำสั่ง ห รือการดาเนินการของคณะกรรมการ โดยยื่นคาร้องต่อผู้มีอานาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินภายใน 2 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่งหรือการดาเนินการนั้น ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 39 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 กุมภาพันธ์ 2566

(4) เมื่อประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินไปแล้ว ผู้มีอำนาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สิน อาจกำหนดวันขายทอดตลาดใหม่ได้เมื่อมีเหตุอันสมควร หรือหากคณะกรรมการเห็นว่ามีความจำเป็น ต้องเลื่อนการขายทอดตลาดออกไป ก็ให้เลื่อนการขายทอดตลาดทรัพย์สินออกไปได้ ข้อ 13 สถานที่ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้ขายทอดตลาด ณ สำนักงาน สรรพากรพื้นที่ ซึ่งทรัพย์สิ นนั้นตั้งอยู่หรือสถานที่อื่นตามที่ผู้มีอำนาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินกาหนด ข้อ 14 วิธีการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้ปฏิบัติดังนี้ (1) ก่อนเริ่มต้นขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้คณะกรรมการหรือผู้ทอดตลาดอ่านประกาศ ขายทอดตลาดทรัพย์สินตามแบบ ภ.ส. 19 ณ สถานที่ขายโดยเปิ ดเผย (2) เมื่อคณะกรรมการเห็นว่าทรัพย์สินที่ทาการขายทอดตลาดมีมูลค่าสูงมาก และมีผู้จะสู้ราคา โดยไม่สุจริตก็ดี ไม่สามารถจะชาระราคาได้ก็ดี ให้คณะกรรมการจัดให้มีการวางหลักประกันที่เชื่อถือได้ ตามที่เห็นสมควร (3) คณะกรรมการหรือผู้ทอดตลาดโดยตนเองหรือจะใช้ให้ผู้ หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคาในการขาย ทอดตลาดทรัพย์สินที่ตนเป็นผู้จัดการขายไม่ได้ (4) การขายทอดตลาดย่อมบริบูรณ์ เมื่อผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วยเคาะไม้ หรือ ด้วยกิริยาอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด ถ้ายังมิได้แสดงเช่นนั้นอยู่ตราบใด ผู้สู้ราคาจะถอนคาสู้ราคาของตนเสียก็ได้ (5) ตามปกติผู้ทอดตลาดต้องร้องขานจานวนเงินที่มีผู้สู้ราคาครั้งที่หนึ่งสามถึงสี่หน ถ้าไม่มี ผู้สู้ราคาสูงขึ้น ให้เปลี่ยนร้องขานเป็นครั้งที่สองอีกสามถึงสี่หน เมื่อไม่มีผู้สู้ราคาสูงกว่านั้นและได้ราคา เหมาะสม กับสภาพขอ งทรัพย์สินที่ขายก็ให้ลงคาว่า “ สาม ” พร้อมกับเคาะไม้หรือแสดงกิริยาอื่น อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด แต่ถ้าก่อนเคาะไม้หรือแสดงกิริยาอื่นอย่างใด อย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด มีผู้สู้ราคาสูงขึ้นไปอีก ก็ให้ร้องขานราคานั้น ตั้งต้นใหม่ ตามลำดับดังกล่าวแล้ว (6) ถ้าผู้สู้ราคาถอนคำสู้ราคาของตนก่อนที่ผู้ทอดตลาดเคาะไม้หรือแสดงกิริยาอื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด ให้ผู้ทอดตลาดตั้งต้นร้องขานราคาใหม่ (7) การขายทอดตลาดทรัพย์สินที่เป็นตู้นิรภัย หีบ หรือกำปั่นเหล็ก ถ้าปรากฏว่ายังไม่ได้เปิด ให้คณะกรรมการจัดการเปิดเสียก่อนจึงจะขายทอดตลาดได้ (8) การขายทอดตลาดทรัพย์สินประเภทซึ่งผู้ยึดถือครอบครองจะต้องได้รับอนุญาตจาก ผู้มีอานาจในเรื่องนั้น ๆ ก่อน เช่น อาวุธปืน ให้ผู้ซื้อวางเงินมัดจาร้อยละ 25 ของราคำทรัพย์สินที่ซื้อ แต่ถ้าคณะกรรมการเห็นสมควรอาจกาหนดให้วางเงินมัดจาน้อยกว่าร้อยละ 25 ของราคาทรัพย์สินที่ซื้อก็ได้ ในการวางเงินมัดจำให้ทำสัญญาขายทอดตลาดทรัพย์สิน (ภ.ส. 22) และให้ผู้ซื้อนำใบอนุญาตมาแสดง ภายใน 15 วัน นับแต่วันซื้อทรัพย์สินนั้น พร้อม ทั้งใช้เงินที่ค้างชำระให้ครบถ้วน ถ้าพ้นกำหนดนี้แล้ว ผู้ซื้อไม่สามารถนำใบอนุญาตมาแสดงได้ ก็ให้ริบเงินมัดจำนั้น เว้นแต่มีเหตุอันจำเป็นไม่สามารถ ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 39 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 กุมภาพันธ์ 2566

นาใบอนุญาตมาแสดง หรือใช้เงินที่ค้างชาระให้ครบถ้วนภายในกาหนดดังกล่าวได้ ก็ให้ขออนุญาตผู้มีอานาจ สั่งขายทอดตลาด ทรัพย์สิน เพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันที่ต้องชำระราคาส่วนที่เหลือ (9) การขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จะต้องมีใบอนุญาตกำกับ เช่น สุราตั้งแต่ 10 ลิตร ขึ้นไป ให้ขอความร่วมมือไปยังเจ้าพนักงานสรรพสามิตจัดการออกใบอนุญาตขนสุราให้แก่ผู้ซื้อด้วย (10) เมื่อใดคณะกรรมการเห็นว่าราคาซื้อมีผู้สู้สูงสุดนั้นยังไม่เพียงพอ อาจถอนทรัพย์สินจาก การขายทอดตลาดได้ แล้วดาเนินการขายหรือประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินใหม่จนกว่าจะขายได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้มีอำนาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินอีก ข้อ 15 การขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ติดจำนอง ให้มีหนังสือสอบถามผู้รับจำนองถึง รายละเอียดของภาระจานอง เช่น ต้นเงิน ดอกเบี้ยที่ค้างชาระ ตลอดจนวิธีการขายทอดตลาดว่าให้ขาย โดยติดจานองหรือปลอดจานอง ถ้าผู้ รับจานองไม่แจ้งให้ทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับ หนังสือแล้ว ก็ให้ขายทรัพย์สินโดยติดจานอง ในกรณีที่ได้รับแจ้งจากผู้รับจานองให้ขายทรัพย์สิน โดยปลอดจานอง คณะกรรมการอาจพิจารณาให้ขายทรัพย์สินโดยติดจานองก็ได้ และเมื่อได้รับอนุญาตจาก ผู้มีอานาจสั่ง ขายทอดตลาดทรัพย์สินให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้รับจานองทราบภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ ได้รับแบบ ภ.ส. 19 ที่ผู้มีอานาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินลงนามแล้ว ถึงวัน เวลา และสถานที่ ที่จะทำการขายทอดตลาด การขายทอดตลาดโดยติดจานอง ให้ประกาศแสดงรายชื่อผู้รับจานองพร้อมทั้งต้นเงินและ ดอกเบี้ยที่ยังค้างชาระจนถึงวันขาย ในการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินให้มีข้อความว่า ผู้ใดซื้อ ทรัพย์สินนั้นต้องรับภาระจำนองติดไปด้วยโดยชัดเจน การขายทอดตลาดโดยปลอดจานอง ให้พิจารณาถึงต้นเงิน ดอกเบี้ยจานองซึ่งยั งค้างชาระแก่ ผู้รับจานองจนถึงวันขาย พร้อมทั้งค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการยึดและขายทอดตลาด และเงินภาษี อากรค้าง ถ้าคาดหมายว่าเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินไม่อาจปลดเปลื้องหนี้ภาษีอากรได้ หรือหากขายทอดตลาดแล้วเจ้าหนี้จานองจะได้รับเงินจากการขายทอดตลา ดไปทั้งหมด ก็ให้รายงาน ผู้มีอำนาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินเพื่อพิจารณาชะลอการขายทอดตลาดไว้ก่อนได้ การขอรับชำระหนี้ของผู้รับจำนอง ให้ถือหนังสือตอบรับของผู้รับจำนองตามวรรคหนึ่ง เป็นคาขอรับชาระหนี้จานอง ก่อนจ่ายเงินชาระหนี้จานองพร้อมดอกเบี้ย ต้องตรวจสอบให้ แน่ชัดเสียก่อนว่า หนี้จานองและดอกเบี้ยเป็นหนี้บุริมสิทธิที่จะได้รับชาระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญหรือไม่ และผู้รับจานอง ได้ปลดหนี้จำนองให้แล้ว พร้อมทั้งให้ขอใบรับยึดถือไว้เป็นหลักฐานในการชาระหนี้จานองพร้อมดอกเบี้ยด้วย จึงจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจำนองได้ ข้อ 1 6 การขายทอดตลาดทรัพย์สินหลายสิ่งให้ปฏิบัติ ดังนี้ (1) ให้แยกขายแต่ละสิ่งต่อเนื่องกัน แต่คณะกรรมการมีอำนาจ (ก) จัดสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีราคาเล็กน้อยรวมขายเป็นกอง ๆ ได้ ้ หนา 6 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 39 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 กุมภาพันธ์ 2566

(ข) จัดสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์สองสิ่งหรือกว่านั้นขึ้นไปรวมขายไปด้วยกันได้ ในเมื่อเป็นที่คาดหมายว่าเงินรายได้จากการขายจะเพิ่มขึ้นเพราะเหตุนั้น (2) ในการขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งอาจแบ่งแยกออกได้เป็นส่วน ๆ คณะกรรมการมีอานาจ ขายทรัพย์สินนั้นเป็นส่วน ๆ ได้ ในเมื่อเป็นที่คาดหมายว่าเงินรายได้จากการขายทรัพย์สินบางส่วน จะเพียงพอแก่หนี้ ภาษีอากร รวมทั้งค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน หรือว่าเงินรายได้ทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นเพราะเหตุนั้น (3) ในการขายทรัพย์สินหลายสิ่งด้วยกัน คณะกรรมการมีอำนาจกาหนดลำดับที่จะขาย ทรัพย์สินนั้นได้ (4) บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่จะขำยทอดตลาด อาจร้องขอให้คณะกรรมการรวมหรือแยก หรือให้ขายทรัพย์สินนั้นตามลาดับที่กาหนดไว้ หรือจะร้องคัดค้านการขายของคณะกรรมการใน (1) ถึง (3) ก็ได้ การยื่นคาร้องตามข้อนี้ต้องกระทาก่อนวันขายทอดตลาด แต่ต้องไม่ช้ากว่า 3 วัน นับแต่ทราบวิธีการขาย ในกรณีที่คณะกรรมการไม่ยอมปฏิบัติตามคาร้องขอหรือคาคัดค้านเช่นว่านั้น ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นคาขอต่อผู้มีอานาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยทาเป็นคาร้องภายใน 2 วัน นับแต่วันปฏิเสธ เพื่อขอให้มีคาสั่งชี้ขาดในเรื่องนั้นก็ได้ ข้อ 17 การบันทึกเหตุการณ์การขายท อดตลาด ให้คณะกรรมการและผู้ทอดตลาดบันทึก เหตุการณ์เกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์สินไว้ทุกครั้งตามแบบท้ายระเบียบนี้ โดยให้มีข้อความอย่างน้อย ดังนี้ (1) จำนวนบุคคลซึ่งมาฟังการขายและสู้ราคา (2) ในการสู้ราคาทรัพย์สินชนิดใด มีผู้ให้ราคาสูงสุดเท่าใด และราคาลำดั บรองลงมาอีกสองราคา (ถ้ามี) (3) คณะกรรมการได้เคาะไม้ขายทอดตลาดให้เสร็จสิ้นบริบูรณ์หรือไม่ เพราะเหตุใด (4) คณะกรรมการและผู้ทอดตลาดต้องลงนาม วัน เดือน ปีไว้ด้วย ข้อ 18 การปฏิบัติเกี่ยวกับเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สิน (1) เมื่อตกลงราคาขายกันแล้ว ผู้ซื้อต้องชาระเงินทันที หรือวางเงินมัดจาไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของราคาทรัพย์สินที่ซื้อ แต่ถ้าหากเงินภาษีอากรค้างรวมค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการยึดและ ขายทอดตลาดมีจานวนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของราคาทรัพย์สินที่ซื้อ ก็ให้วางเงินมัดจาเท่ากับจานวน เงินภาษี อากรค้างรวมค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการยึดและขายทอดตลาด หากทรัพย์สินที่ซื้อมีราคาสูงคณะกรรมการอาจกาหนดให้วางเงินมัดจาน้อยกว่าร้อยละ 25 ของราคาทรัพย์สินที่ซื้อก็ได้ ในการวางเงินมัดจาให้ทาสัญญาขายทอดตลาดทรัพย์สิน (ภ.ส. 22) และ ชำระเงินส่วนที่เหลือภายใน 15 วัน นับแต่วันซื้อทรัพย์สินนั้น ถ้าพ้นกาหนดนี้แล้วก็ให้ริบเงินมัดจานั้น เว้นแต่มีเหตุอันจาเป็นไม่สามารถใช้เงินที่ค้างชาระให้ครบถ้วนภายในกาหนดดังกล่าวได้ ก็ให้ขออนุญาต ้ หนา 7 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 39 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 กุมภาพันธ์ 2566

ผู้มีอานาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินเพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปตามที่เห็น สมควร แต่ไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันที่ต้องชำระราคาส่วนที่เหลือ (2) กรณีผู้ซื้อไม่ชาระเงิน หรือไม่วางเงินมัดจา หรือวางเงินมัดจาแต่ไม่ชาระเงินส่วนที่เหลือ ตามสัญญาขายทอดตลาดทรัพย์สิน (ภ.ส. 22) หรือไม่ได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาตาม (1) ให้คณะกรรมการนาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดอีกได้เงินเท่าใดเมื่อหักค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย ในการยึดและขายทอดตลาดแล้วเหลือเป็นเงินสุทธิเท่าใด ถ้ายังไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดครั้งก่อน ให้จัดการเรียกร้องให้ผู้ซื้อเดิมนั้นชำระเงินส่วนที่ยังขาด ให้นำเงินมัด จำตาม (1) ไปหักค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการยึดและขายทอดตลาด ตลอดจน เงินภาษีอากรค้าง หากหักเงินมัดจำแล้วคุ้มจำนวนให้เสนอผู้มีอำนาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สิน เพื่อสั่งคืนทรัพย์สินที่นาออกขายทอดตลาดให้แก่เจ้าของทรัพย์สินต่อไป หากหักเงินมัดจาแล้วมีจานวนไม่ คุ้ม ให้นาทรัพย์สินออกขายทอดตลาดใหม่ เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์สินได้ให้นาเงินที่ขายได้ชาระค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการยึดและขายทอดตลาด ตลอดจนภาษีอากรค้างให้หมดสิ้นไป ถ้ามีเงินเหลือให้คืนให้แก่ เจ้าของทรัพย์สิน (3) การชาระราคาทรัพย์สินที่ขายทอดตลาดต้องชาร ะเป็นเงินสด หรือชาระด้วยเช็คธนาคาร แห่งประเทศไทย หรือเช็คที่มีธนาคารค้ำประกัน หรือเช็คที่มีธนาคารเซ็นสั่งจ่ายก็ได้ (4) กรณีผู้ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมหรือเป็น ผู้มีส่วนได้เสีย หรือเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ขายทอดตลาด การชาระราคานั้นจะขอหักส่วนได้ ของตนออกจากราคาซื้อก็ได้ (5) เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้คณะกรรมการนาส่งสานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ซึ่งมีภาษีอากรค้างตั้งอยู่ในบัญชีลูกหนี้ค่าภาษีอากร หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ที่คณะกรรมการเห็นสมควร หรือกองบริหารการคลังและรายได้ (6) เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สิน เมื่อได้หักค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการยึดและ ขายทอดตลาด และเงินภาษีอากรค้างตามลาดับแล้ว ถ้ามีเงินเหลือให้นาส่งสานักงานสรรพากรพื้ นที่ สานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือกองบริหารการคลังและรายได้ แล้วแต่กรณี เพื่อจ่ายคืนแก่เจ้าของ ทรัพย์สินต่อไป โดยเจ้าของสำนวนต้องทำหลักฐานการคืนเงินแก่ผู้ค้างภาษีอากรหรือผู้มีส่วนได้เสียติดไว้ ในสำนวนด้วย (7) เงินมัดจาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ สิน ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของเงินจากการขาย ทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร ย่อมนำไปชำระค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการยึดและ ขายทอดตลาด และเงินภาษีอากรค้างได้ (8) การขายทอดตลาดทรัพย์สินที่มีผู้อื่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วย ให้คณะกรรมการ กันเงินส่วนที่เป็นของผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมนาส่งสานักงานสรรพากรพื้นที่ สานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ้ หนา 8 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 39 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 กุมภาพันธ์ 2566

หรือกองบริหารการคลังและรายได้ แล้วแต่กรณี เพื่อจ่ายคืนให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมนั้น ๆ ต่อไป โดยเจ้าของสำนวนต้องทำหลักฐานการคืนเงินแก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมติ ดไว้ในสำนวนด้วย (9) การรับเงินมัดจาและเงินค่าขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร ให้เจ้าหน้าที่ ที่คณะกรรมการมอบหมายออกใบเสร็จรับเงินนอกงบประมาณ (ภ.ส. 1) ในนามของผู้ซื้อทอดตลาดและ ลงบัญชีเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณเมื่อได้หักค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการ ยึดและขายทอดตลาดแล้ว เหลือเท่าใดให้ออกใบเสร็จรับเงินเป็นรายได้แผ่นดิน (บ.ช. 10 หรือ ภ.ส. 1 ง) ในนามของผู้ค้างภาษีอากร เพื่อลงบัญชีเกี่ยวกับเงินรายได้แผ่นดินและลดยอดหนี้ค่าภาษีอากรโดยให้หมายเหตุในใบเสร็จรับเงินนั้นว่า “ รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาด ” ข้ อ 19 หลักเกณฑ์การซื้อทรัพย์สินเป็นของรัฐบาล ในกรณีไม่มีผู้ใดรับซื้อ ให้คณะกรรมการพิจารณาเสนอผู้มีอานาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สิน เพื่อมีหนังสือสอบถามไปยังกรมธนารักษ์ว่า มีความประสงค์จะมีไว้ใช้ในราชการหรือไม่ หากกรมธนารักษ์ มีความประสงค์จะมีไว้ใช้ในราชการ ก็ให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพื่อเข้าสู้ราคาต่อไป ข้อ 20 การรายงานการขายทอดตลาดทรัพย์สิน เมื่อคณะกรรมการดาเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินแล้ว ให้คณะกรรมการรายงานผล การขายทอดตลาดต่อผู้มีอานาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีการขายทอดตลาด ตามแบบท้ายระเบียบนี้ ในกรณีที่ไม่อาจขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดดังกล่าวได้ ก็ให้รายงาน ผู้มีอำนาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินทราบ เพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป ส่วนที่ 3 การชะลอการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ข้อ 21 การขออนุญาตชะลอการขายทอดตลาดทรัพย์สิน (1) การข ออนุญาตชะลอการขายทอดตลาดทรัพย์สินของหน่วยเร่งรัด หน่วยเร่งรัดอาจขออนุญาตชะลอการขายทอดตลาดทรัพย์สินต่อผู้มีอำนาจสั่ง ขายทอดตลาดทรัพย์สินไว้ก่อนได้ หากทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) ทรัพย์สินเป็นที่สาธารณะที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน หรื อเป็นที่ดินที่มีสภาพเป็นถนน หรือเป็นทางระบายน้ำ หรือเป็นช่องว่างระหว่างอาคาร หรือเป็นที่ดินที่เป็นสาธารณูปโภคตามกฎหมาย ว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน (ข) ทรัพย์สินที่มีภาระจานองหรือบุริมสิทธิอย่างอื่นมากกว่าราคาประเมินเพื่อใช้ในการ เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน (ค) กรณีทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไม่เข้าลักษณะดังกล่าวข้างต้น หากหน่วยเร่งรัดเห็นว่า มีเหตุสมควรชะลอการขำยทอดตลาด ก็ให้รายงานขออนุญาตชะลอการขายทอดตลาดต่อผู้มีอานาจสั่ง ขายทอดตลาดทรัพย์สินเพื่อสั่งการต่อไป ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 39 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 กุมภาพันธ์ 2566

(2) การขออนุญาตชะลอการขายทอดตลาดทรัพย์สินของคณะกรรมการ เมื่อคณะกรรมการดาเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินแล้ว แต่ไม่อาจขายทอดตลาดได้ ก็ให้รายงานผู้มีอำนาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินทราบ เพื่อพิจารณาชะลอการขายทอดตลาดทรัพย์สิน หรือสั่งการเป็นอย่างอื่นต่อไป ส่วนที่ 4 การประมาณราคาทรัพย์สิน ข้อ 22 การประมาณราคาทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาดให้เจ้าพนักงานพิจารณาตามหลักเกณฑ์ ต่อไปนี้ (1) กรณีที่ดินให้ประมาณราคาตามที่ซื้อขายกันในท้องตลาด โดยคานึงถึงสภาพและลักษณะ ของที่ดินนั้น เช่น เป็นที่บ้าน ที่สวน ที่นาหรือที่ไร่ และตั้งอยู่ในทาเลอย่างไร เช่น ทาเลค้าขาย ที่ชุมชน หรือใกล้ทางบก ทางน้า ท่าเรือ และมีประโยชน์หรือรายได้มากน้อยเพี ยงใด (2) ราคาซื้อขายหรือจำนอง หรือขายฝากครั้งสุดท้ายของที่ดินที่ยึดและที่ดินข้างเคียง (3) ราคาที่ดินข้างเคียงในตาบลนั้น หรือตาบลใกล้เคียง ซึ่งบุคคลอื่นหรือคณะกรรมการได้ขาย หรือขายทอดตลาดไปแล้ว (4) ราคาประเมินเพื่อใช้ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบี ยนสิทธิและนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายที่ดิน (5) การประมาณราคาทรัพย์สินอื่น ให้ประมาณตามราคาซื้อขายกันในท้องตลาดหรือ ตามสภาพเก่าใหม่ของทรัพย์สินนั้น (6) การประมาณราคาทรัพย์สินที่มีการจานำหรือจำนอง ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับ (1) ถึง (5) โดยให้หมายเหตุด้วยว่า จำนำ จำนอง เมื่อใด ต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยเท่าใด เพื่อประกอบการพิจารณา ในการขายทอดตลาด ส่วนที่ 5 การคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ข้อ 23 การคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สิน (1) เมื่อปรากฏว่า คณะกรรมการได้ดาเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ สินโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบนี้ เช่น มิได้ส่งประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินให้แก่ผู้ค้างภาษีอากรและหรือผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ค้างภาษีอากร และหรือผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งต้องเสียหาย อาจยื่นคำร้องต่อ ผู้มีอานาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินก่อนที่ การบังคับชำระหนี้ภาษีอากรได้เสร็จสิ้นลง แต่ต้องไม่ช้ากว่า 15 วัน นับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น แต่ทั้งนี้ผู้ยื่นคำร้องต้องมิได้ ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากได้ทราบเรื่องฝ่าฝืนระเบียบนี้แล้ว หรือต้องมิได้ให้สัตยาบันแก่ ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 39 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 กุมภาพันธ์ 2566

การกระทำนั้น เพื่อให้ผู้มีอำนาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินพิจารณาคำร้องและมีคาวินิจฉัยชี้ขาด โดยให้ คณะกรรมการชะลอการขายทอดตลาดไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับคำวินิจฉัยชี้ขาด (2) ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรนั้น เพื่อให้การขายทอดตลาดเป็นไป ด้วยความเที่ยงธรรมบุคคลผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิเต็มที่ในการเข้าสู้ราคาเองหรือหาบุคคลอื่นเข้าสู้ราคา เพื่อให้ได้ราคาตามที่ตนต้องการ และเมื่อเจ้าพนักงานเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดแล้ว ห้ามมิให้ บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการขายทอด ตลาดทรัพย์สินหยิบยกเรื่องราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดมีจานวน ต่าเกินสมควรมาเป็นเหตุขอให้มีการเพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นอีก หมวด 3 วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน ข้อ 24 การโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน (1) ในกรณีเป็นสังหาริมทรัพย์ เมื่อมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินและผู้ซื้อได้ชำระเงินครบถ้วน ตามสัญญาแล้ว กรรมสิทธิ์ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะที่สัญญาซื้อขายได้สำเร็จบริบูรณ์ (2) ในกรณีเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย เช่น เรือที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้ นไป แพ สัตว์พาหนะ หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทที่จะต้องแก้ทะเบียนชื่อ ผู้เป็นเจ้าของ เช่น อาวุธปืน รถยนต์ เป็นต้น เมื่อมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินและผู้ซื้อได้ชาระเงิน ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว ให้เสนอผู้มีอานาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรับ จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับการนั้น ๆ จัดการแก้ทะเบียนหรือโอนให้ต่อไป หมวด 4 เบ็ดเตล็ด ข้อ 2 5 ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติ หรือไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดในระเบียบนี้ หรือมีปัญหาอื่นใดที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้รายงานอธิบดีเพื่อพิจารณาสั่งการ ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 256 5 ลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากร ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 39 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 กุมภาพันธ์ 2566

ด้วยคณะกรรมการจัดการขายทอดตลาด ทรัพย์สิน จะทาการขายทรัพย์สิน ราย … … … ตามคาสั่ง กรมสรรพากร ที่ … … .. . โดยอาศัยอานาจตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎาก ร รวม 4 ครั้ง ณ … … … ดังนี้ ครั้งที่ 1 ในวันที่ … . เดือน … .. พ.ศ. … เวลา … . . นาฬิกา ครั้งที่ 2 ในวันที่ … เดือน … พ.ศ. … เวลา … นาฬิกา ครั้งที่ 3 ในวันที่ … เดือน … พ.ศ. … เวลา … นาฬิกา ครั้งที่ 4 ในวันที่ … เดือน … พ.ศ. … เวลา … นาฬิกา ทรัพย์สินที่จะขายปรากฏตามบัญชีท้ายประกาศนี้ ข้อสัญญา 1. เมื่อตกลงราคาแล้ว ผู้ซื้อต้องชาระเงินทันที หรือวางเงินมัดจาไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของราคาทรัพย์สิน ที่ซื้อนั้น ในกรณีที่มีการวางเงินมัดจำผู้ซื้อต้องทาสัญญาขายทอดตลาด ทรัพย์สิน ตามแบบ ภ.ส. 22 เพื่อใช้เงินที่เหลือให้ เสร็จสิ้น ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ซื้อ หำกทรัพย์สินที่ซื้อ เป็น ทรัพย์สินประเภทซึ่งผู้ยึดถือครอบครองจะต้องได้รับอนุญาต จากผู้มีอานาจออกใบอนุญาตในเรื่องนั้น ๆ ก่อน ผู้ซื้อต้องนาใบอนุญาตมาแสดงภายในกาหนดเวลาดังกล่าว พร้อมทั้งใช้เงิน ที่เหลือให้ครบถ้วน เว้นแต่มีเหตุอันจาเป็น ไม่สามารถใช้เงินที่ค้างชาระให้ครบถ้วนภายในกาหนดดังกล่าวได้ ก็ให้ขออนุญาต ผู้มีอานาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินเพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันที่ต้องชำระราคาส่วนที่เหลือ 2 . เงินมัดจาที่ผู้ซื้อได้วางไว้ร้อยละ 25 นั้น หากผู้ซื้อไม่นาเงินที่เหลือมาชาระให้เสร็จภายในกาหนดเวลา ตามข้อสัญ ญา 1 . ผู้ซื้อไม่มีสิทธิ ได้รับเงินมัดจำนั้นคืน 3 . ผู้ ซื้อต้องเป็นฝ่ายเสียหรือนำส่งค่าภาษีอากรใด ๆ รวมทั้งค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการโอนทรัพย์สินนั้นเอง 4 . ในกรณีที่คณะกรรมการฯ เห็นว่าทรัพย์สินที่ขายทอดตลาดได้ราคาต่าเกินสมควร คณะกรรมการฯ มีสิทธิจะยกเลิกการขายทอดตลาดนั้นได้ การคัดค้าน ถ้าผู้หนึ่งผู้ใดจะคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินรายนี้ ก็ให้ยื่นคาคัดค้านได้ ณ … … … .. … ก่อนที่การ บังคับชาระหนี้ภาษีอากรได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่า 15 วัน นับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูล แห่งข้ออ้างนั้น ประกาศ ณ วันที่…เดือน…พ.ศ… (ลงชื่อ)… (…) อธิบดีกรมสรรพากร (ประทับตราประจำตำแหน่ง) คำเตือนผู้ซื้อ การขายทอดตลาดทรัพย์สินรายนี้ ในเรื่องการรอนสิทธิก็ดี เรื่องค่าภาษีอากรต่าง ๆ ก็ดี เรื่องเนื้อที่ก็ดี เรื่องการบอก ประเภททรัพย์ก็ดี คณะกรรมการฯ ไม่รับรองและไม่รับผิดชอบ เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อจะต้องระวังและสอบสวนเอง ถ้าผู้ซื้อสงสัยประการใด ขอทราบรายละเอียดแล ะหลักฐานได้ที่ … … ในวันและเวลาราชการ ภ.ส. 1 9 ประกาศกรมสรรพากร ที่ … … … … … … … … เรื่อง ขายทอดตลาดทรัพย์สิน

บัญชีทรัพย์สินท้ายประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สิน ราย … ลำดับ ที่ รายการ จำนวน ราคาประมาณ หมายเหตุ บาท สต.

ตามที่กรมสรรพากรได้ยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร ราย … … เนื่องจากได้ค้างชาระภาษีอากรอยู่กับทางราชการเป็นจานวนเงิน … ปรากฏรายละเอียดตาม ประกาศ ที่.. .. … .. … เรื่อง ให้ยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร ลงวันที่ … และคาสั่งกรมสรรพากร ที่… … . . เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานให้ยึดทรัพย์สินของผู้ค้าง ภาษีอากร ลงวันที่ … นั้น ฉะนั้น อาศัยอานาจตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร และระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการขายทอดตลาด ทรัพย์สิน ของผู้ค้างภาษีอากร ข้อ 8 และข้อ 10 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ดังมีรายชื่อต่อไปนี้ 1 . … … … … … … … ตาแหน่ง … . … ประธานกรรมการ 2 . … … ตำแหน่ง … … … . กรรมการ 3 . … … ตำแหน่ง … … ก รรมการ เพื่อดาเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรที่ยึดไว้จนกว่าจะเสร็จสิ้น โดยถือปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบฯ โดยเคร่งครัด สั่ง ณ วันที่…เดือน…พ.ศ… (ลงชื่อ)… (…) อธิบดีกรมสรรพากร (ประทับตราประจำตำแหน่ง) คำสั่งกรมสรรพากร ที่ .. . … … … … … . … เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดทรัพย์สิน

สัญญาขายทอดตลาดทรัพย์สิน สถานที่ทาสัญญา … … .. วันที่ … เดือน … … … … … พ.ศ. … .. . ข้าพเจ้า… … … … … . อยู่บ้านเลขที่… … … … หมู่ที่ … … ถนน … … … ตาบล/แขวง … … … อาเภอ/เขต … … .......... .. จึงหวัด… เลขประจาตัวประชาชน / เลข ใบสาคัญประจาตัวคนต่างด้าว … … … … .. … … .. .. ซึ่งออกให้ ณ ที่ … .. … .. … . ได้ซื้อ … … … ซึ่งขายทอดตลาดเมื่อวันที่ … … … … เดือน … พ.ศ. … เป็นจานวนเงิน … . … … … บาท … . …สตางค์ ซึ่ง ข้าพเจ้าขอสัญญาว่า 1. ข้าพเจ้าขอวางเงินมัดจาเป็นจำนวนเงินร้อยละ … . ของราคาซื้อ เป็นจานวน … … .. บาท … สตางค์ และจะนาเงินที่เหลือมาชาระ ณ … .. … … … . ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ ทา สัญญาฉบับนี้ เว้นแต่การซื้อทรัพย์สินประเภทซึ่งผู้ยึดถือครอบครองจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอานาจออกใบอนุญาต ในเรื่องนั้น ๆ ก่อน ข้าพเจ้าจะนำใบอนุญาตมาแสดงและชำระเงินที่เหลือให้ครบถ้วนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ ทาสัญญาฉบับนี้ โดยข้าพเจ้าจะเป็นผู้เสียหรือนาส่งภาษีอากรใด ๆ รวมทั้งค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการโอน ทรัพย์สิน นั้นเอง เว้นแต่มีเหตุอันจาเป็นไม่สามารถใช้เงินที่ค้างชาระให้ครบถ้วนภายในกาหนดดังกล่าวได้ ก็ให้ขออนุญาตผู้มีอานาจสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินเพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปตามที่ เห็นสมควร แ ต่ไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันที่ต้องชำระราคาส่วนที่เหลือ 2 . ถ้าข้าพเจ้าไม่นำเงินที่ค้างชาระดังกล่าวมาชาระให้เสร็จสิ้นภายในกาหนดเวลาตามข้อ 1 . ข้าพเจ้ายอมให้ริบเงิน มัดจำ และยอมให้เจ้าพนักงานจัดการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ข้าพเจ้าได้ซื้อนี้อีกครั้งหนึ่ง ในการขายทอดตลาดครั้งหลังนี้ ถ้าได้ราคาไม่เท่าจำนวนที่ข้าพเจ้าได้ซื้อ ไว้ก็ดี หรือมีการเสียหายด้วยประการใดก็ดี ข้าพเจ้ายอมใช้ราคาที่ขาดและเสียหาย ทั้งสิ้น 3 . ถ้าเจ้าพนักงานไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญา ซื้อขาย และโอนกรรมสิทธิ์ให้ข้าพเจ้าได้ด้วยประการใด ภายหลังทาสัญญา ซื้อ ขาย นี้ ข้าพเจ้ายอมยกเลิกสัญญา ซื้อ ขาย นี้ทั้งหมด และจะไม่คิดดอกเบี้ยหรือค่าเสียหาย อย่างหนึ่งอย่างใดนอกจากให้เจ้าพนักงานคืนเงินมัดจำซึ่งข้าพเจ้าได้วางไว้เท่านั้น 4 . ในเรื่องการรอนสิทธิก็ดี เรื่องค่าภาษีอากรต่าง ๆ ก็ดี เรื่องเนื้อที่ก็ดี เรื่องการบอกประเภททรัพย์ก็ดี ข้าพเจ้ายอมให้ถือว่าเป็นการประมาณ และมีหน้าที่ที่จะต้องตรวจดูเอง แม้ว่าเนื้อที่ดินจะขาดเกินประการใดก็ดี ข้าพเจ้าไม่ถือเป็นข้อสำคัญที่ทาให้สัญญา ซื้อ ขาย นี้เสียไป ข้าพเจ้าได้อ่านและเข้าใจข้อความตามสัญญา ขายทอดตลาดทรัพย์สิน นี้แล้วทุกประการ จึงได้ลงลายมือชื่อ ไว้เป็นสาคัญ ลงชื่อ … ผู้ซื้อ ( … … .. . … . ) ลงชื่อ … … … . ประธานกรรมการ … ( … . ) ลงชื่อ … กรรมการ ( …) ลงชื่อ … กรรมการ ( … …) หมายเหตุ ผู้ซื้อต้องวางมัดจำและชาระราคาส่วนที่เหลือด้วยเงินสด หากผู้ซื้อขอชาระด้วยเช็คให้รับชาระได้เฉพาะเช็คธนาคาร แห่งประเทศไทย เช็คที่มีธนาคารค้ำประกัน เช็คที่มีธนาคารเซ็นสั่งจ่าย หรือเช็คที่ธนาคารรับรองหลังเช็ค ภ. ส . 22

บันทึกเหตุการณ์ขายทอดตลาด เขียนที่ … . … … … . … … วันที่ … เดือน … พ.ศ. … … … บันทึกไว้เพื่อแสดงว่า วันนี้เวลา … น. คณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ดังรายชื่อแนบท้ายบันทึกนี้ ไ ด้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร ราย … … … .. … . … … ตามประกาศ กรมสรรพากร ที่ … .. … … . เรื่อง ขายทอดตลาดทรัพย์สิน ลงวันที่ … … … เดือน … พ.ศ. … ณ สำนักงาน/บ้า นเลขที่ … หมู่ ที่ . … ถนน … … … .. … ตำบล/แขวง … … อาเภอ/เขต … จังหวัด … ปรากฏผลดังนี้ 1. ขณะทาการขายทอดตลาด ได้มีผู้สนใจมาดูและสังเกตการณ์ประมาณ … … คน และ เข้าร่วมสู้ราคา … คน คณะกรรมการได้ใช้วิธีเคาะไม้เป็นสัญญาณแสดงความตกลงในการขาย ทอดตลาด 2. การขายทอดตลาดตามบัญชีรายละเอียดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร ราย … มีผู้ให้ราคาสูงสุดและราคาลำดับรองลงมาคือ ลาดับที่ … ทรัพย์ที่ขายทอดตลาด ได้แก่ … มีผู้เข้าสู้ ราคา … ราย ผู้ให้ราคาสูงสุด จำนวนเงิน … … … … บาท คือ … … ผู้ให้ราคาลำดับรอง จำนวนเงิน … … .. . บาท คือ … … .. ผู้ให้ราคาลำดับรอง จำนวนเงิน … .. … บาท คือ … … . … … … ลาดับที่ … ทรัพย์ที่ขายทอดตลาด ได้แก่ … มีผู้เข้าสู้ ราคา … ราย ผู้ให้ราคาสูงสุด จำนวนเงิน … … . บาท คือ … … .. ผู้ให้ราคาลำดับรอง จำนวนเงิน … … . … บาท คือ … … ... ผู้ให้ราคาลำดับรอง จำนวนเงิน … .. … … … … บาท คือ … … … .. . ลาดับที่ … ทรัพย์ที่ขายทอดตลาด ได้แก่ … มีผู้เข้าสู้ ราคา … ราย ผู้ให้ราคาสูงสุด จำนวนเงิน … … . บาท คือ … . . … ผู้ให้ราคาลำดับรอง จำนวนเงิน … … . บาท คือ … … … . . … ผู้ให้ราคาลำดับรอง จำนวนเงิน … … … . บาท คือ … … . … 3. การขายทอดตลาดครั้งนี้ผู้สู้ราคาได้ ได้ชาระเงินไว้แล้วรวมเป็นเงิน … บาท ส่วนที่ยังค้างอยู่อีกเป็นเงิน … … บาท ผู้สู้ราคาได้จะนำมาชาระภายใน 15 วัน คณะกรรมการได้จัดให้เจ้าหน้าที่สานักงานสรรพากร … ออกใบเสร็จรับเงิน (ภ.ส.1) ให้ไว้แก่ผู้ซื้อเป็นหลักฐาน ผู้ซื้อได้ชาระราคาครบถ้วนคณะกรรมการได้ส่งมอบทรัพย์สินที่ขายโดยให้ ผู้ ซื้อลงนามรับมอบทรัพย์สินไปในทันที

  • 2 - 4. คณะกรรมการได้ทำการขายทอดตลาดโดยสุจริต และเปิดเผยต่อหน้าประชาชนและผู้สนใจ เ ข้าสู้ราคา ปรากฏว่า … … … … … … … … … … … … … … … … … … … … … … … … . … . … .. เสร็จการขายทอดตลาดเมื่อเวลา … น. จึงบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ลงชื่อ … ประธานกรรการ ( … ) ลงชื่อ … กรรมการ ( … ) ลงชื่อ … กรรมการ ( … ) ลงชื่อ … ผู้ทอดตลาด ( … ) ลงชื่อ … เจ้าของทรัพย์สิน/ ( … ) ผู้มี ส่วนได้เสีย

รายงานการขายทอดตลา ดทรัพย์สิน เรื่อง รายงานขายทอดตลาดทรัพย์สิน ราย … เ รียน … … … ด้วยคณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งประกอบด้วย 1. … ตำแหน่ง … … … … 2. … … ตาแหน่ง … … … 3. … ตำแหน่ง … … ได้ทาการขายทอดตลาดตามประกาศ กรมสรรพากร ที่ … .. … …เ รื่อง ขายทอดตลาดทรัพย์สิน ลงวันที่ … เดือน … … … พ.ศ. … .. …เมื่อวันที่ … เดือน … … … พ.ศ. … เวลา … … . น. ณ … … … … ปรากฏว่า ทรัพย์สินรวมทั้งสิ้นจานวน … … รายการ ได้แก่ … … … … … … … … เหตุผล … … … … … … … … … พร้อมนี้ได้แนบประกาศ กรมสรรพากร ที่ … … ... .. … .. . เ รื่อง ขายทอดตลาดทรัพย์สิน (ภ.ส.19) บัญชีทรัพย์สิน ท้ายประกาศ ขายทอดตลาด ทรัพย์สิน และบันทึกเหตุการณ์ขายทอดตลาดมาด้วยแล้ว จึงเรียนมาเพื่อทราบ ลงชื่อ … ประธานกรรมการ ( … . ) ลงชื่อ … กรรมการ ( .. … ) ลงชื่อ … กรรมการ ( … )