ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการร่วมดำเนินโครงการของการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2565
ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการร่วมดำเนินโครงการของการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2565
ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการร่วมดาเนินโครงการของการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรมีข้อบังคับสาหรับการร่วมดาเนินโครงการของการกีฬาแห่งประเทศไทย ที่จะพัฒนารูปแบบการให้บริการ โดยให้เอกชนที่มีความพร้อมทั้งความรู้ความสามารถและประสบการณ์ เข้ามาร่วมดาเนินโครงการ และช่วยเหลือกิจการทางการกีฬาของรัฐในด้านโครงสร้างพื้นฐานและการบริการ สาธารณะ พร้อมทั้งการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับสนามกีฬา ซึ่งเป็นการดาเนินกำรที่สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19 (1) ประกอบกับมาตรา 8 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ 12/ 2565 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 จึงวางข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการร่วมดาเนินโครงการ ของการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในข้อบังคับนี้ “ กกท. ” หมายความว่า การกีฬาแห่งประเทศไทย “ คณะกรรมการ ” หมายความว่า คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย “ ผู้ว่าการ ” หมายความว่า ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย “ โครงการ ” หมายความว่า โครงการของ กกท. หรือที่ กกท. ร่วมกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่และอานาจต้องทาตามกฎหมาย หรือกฎ หรือที่มีหน้าที่และอำนาจต้องทำตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง “ ร่วมดำเนินโครงการ ” หมายความว่า การร่วมดำเนินโครงการกับเอกชนไม่ว่าโดยวิธีใด หรือโดยวิธีการอนุญาตหรือให้สิทธิไม่ว่าในลักษณะใดในที่ดินหรือทรัพย์สิน อันเป็นกรรมสิทธิ์หรือ อยู่ในความครอบครองของ กกท. ในการร่วมดาเนินโครงการดังกล่าว “ ผู้รับผิดชอบโครงการ ” หมายความว่า หน่วยงาน ระดับฝ่ายหรือเทียบเท่าตามโครงสร้างของ กกท. ที่รับผิดชอบการร่วมดาเนินโครงการ “ เอกชน ” หมายความว่า นิติบุคคลที่มิใช่หน่วยงานของรัฐ และให้หมายความรวมถึง บุคคลธรรมดาด้วย ข้อ 4 ให้ผู้ว่าการเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอานาจออกประกาศ คาสั่งเพื่อให้ การปฏิบัติเป็นไปตามข้อบังคับนี้ ทั้งนี้ การปฏิบัตินอกเหนือข้อบังคับนี้ ให้ผู้ว่าการเสนอคณะกรรมการ เพื่อพิจารณา ้ หนา 78 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566
หมวด 1 บททั่วไป ข้อ 5 การให้เอกชนร่วมดาเนินโครงการของ กกท. ต้องพิจารณาถึงความสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาการกีฬาแห่ งชาติ และแผนวิสาหกิจการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการดำเนินกิจการ และการใช้ทรัพยากรหรือทรัพย์สินของ กกท. รวมถึงประโยชน์ที่จะได้จากการดาเนินโครงการ ข้อ 6 กิจการอันเกี่ยวแก่หรือเพื่อประโยชน์ของการกีฬา ที่ กกท. จะให้เอกชนร่วมดาเนิน โครงการ ได้แก่ (1) กิจการด้านการกีฬา ด้านการฝึกซ้อม การจัดกิจกรรมและการแข่งขันกีฬา ด้านอานวย ความสะดวกในการให้บริการทางการกีฬา (2) กิจการเชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรมการกีฬาและนันทนาการ ที่เกี่ยวเนื่องและสนับสนุน ต่อการกีฬา (3) กิจการเพื่ อส่งเสริม พัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์การกีฬา นวัตกรรม และเทคโนโลยี ด้านการศึกษาและพัฒนาบุคลากรทางการกีฬา (4) กิจการตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของ กกท. ข้อ 7 กรณีการดำเนินโครงการใดมีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือข้อบังคับ กาหนดให้ต้องดาเนินการในเรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นการดาเนินการในขั้นตอนใดก็ตาม ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือข้อบังคับดังกล่าว หมวด 2 การดาเนินการ ข้อ 8 ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่วมดำเนินโครงการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย (1) ผู้ว่าการ เป็นประธานอนุกรรมการ (2) ผู้แทนสานักงบประมาณ ผู้แทนสานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสานักงานสภา พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนกรมธนารักษ์ ผู้แทนสานักงานคณะกรรมการนโยบาย รัฐวิสาหกิจ และผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นอนุ กรรมการ (3) ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจำนวนไม่เกินสามคน โดยให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ ด้านการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ด้านเศรษฐศาสตร์ หรือการเงินหรือการบัญชี ด้านวิศวกรรม ด้านการจัดการกีฬาหรือวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นอนุกรรมการ ้ หนา 79 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566
(4) รองผู้ว่าการฝ่ายบริหาร รองผู้ว่าการฝ่ายยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นอนุกรรมการ (5) รองผู้ว่าการฝ่ายส่งเสริมกีฬา เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้อำนวยการ ฝ่ายธุรกิจกีฬา ผู้อำนวยกา รฝ่ายกีฬาภูมิภาค และผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย เป็นผู้ช่วยเลขานุการ อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดารงตาแหน่งคราวละสี่ปี โดยอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งพ้นจากตาแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งอีกได้ แต่จะดารงตาแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ ในกรณีอนุ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตาแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งตั้งอนุกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ ให้อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปก่อนจนกว่าจะได้แต่งตั้งอนุกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ข้อ 9 ให้คณะอนุกรรมการร่วมดาเนินโครงการ มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) จัดทำนโยบายและทิศทางการร่วมดาเนินโครงการของ กกท. เพื่อเสนอคณะกรรมการ (2) พิจารณาให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการร่วมดาเนินโครงการ ก่อนนาเสนอ ผู้มีอำนาจอนุมัติโครงการเพื่อให้ความ เห็นชอบ (3) พิจารณาให้คาปรึกษาในการดาเนินโครงการตามที่คณะอนุกรรมการกากับดูแลรายโครงการ ร้องขอ (4) เสนอความเห็นต่อปัญหาที่เกิดจากการร่วมดาเนินโครงการต่อคณะกรรมการ (5) ให้ความเห็นประกอบการพิจารณาของผู้มีอำนาจอนุมัติโครงการในการดาเนินการ ดังต่อไปนี้ (ก) การร่วมดาเนินโครงการ (ข) การมอบให้ผู้อื่นร่วมดาเนินโครงการชั่วคราวตามระยะเวลาที่คณะอนุกรรมการร่วม ดาเนินโครงการกำหนด (ค) การแก้ไขสัญญาร่วมดาเนินโครงการ (ง) การบอกเลิกสัญญาร่วมดาเนินโครงการ (6) ดาเนินการเกี่ยวกับการร่วมดาเนินโครงการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (7) แต่งตั้งคณะทางาน หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทาหน้าที่พิจารณาตรวจสอบหรือให้ความเห็น ในการร่วมดาเนินโครงการแต่ละโครงการ หมวด 3 การเสนอการร่วมดาเนินโครงการ ข้อ 10 ในการเสนอการร่วมดำเนินโครงการให้ผู้รับผิดชอบโครงการจัดทำเอกสารเสนอ คณะอนุกรรมการร่วมดำเนินโครงการ เพื่อเสนอต่อผู้มีอานาจอนุมัติโครงการตามลำดับ อย่างน้อย เอกสารต้องประกอบด้วย (1) เหตุผลและความจำเป็นในการร่วมดาเนินโครงการ ้ หนา 80 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566
(2) ขอบเขตของงานหรือรายละเอียดของกา รร่วมดาเนินโครงการ (3) มูลค่าการร่วมดาเนินโครงการโดยประมาณ (4) กำหนดเวลาของการร่วมดาเนินโครงการ (5) วิธีการได้มาซึ่งผู้ร่วมดาเนินโครงการ (6) หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ โดยใช้หลักเกณฑ์ประเมินค่าประสิทธิภาพ ต่อราคา ( Price Performance ) หรือใช้เกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่น หรือใช้เกณฑ์ราคาในการพิจารณา (7) การวิเคราะห์ความคุ้มค่า ความเสี่ยงของโครงการ ทางเลือกและรูปแบบการร่วมดาเนิน โครงการ การจัดสรรหน้าที่และความรับผิดชอบ การแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนที่ กกท. จะได้รับ และผลกระทบต่อความสำเร็จขอ งโครงการ ต้นทุน ประมาณการรายได้ (8) ข้อเสนออื่น ๆ (ถ้ามี) (9) ร่างสัญญาร่วมดาเนินโครงการ ทั้งนี้ อาจส่งร่างสัญญาร่วมดาเนินโครงการที่จะนาไปประกาศให้สานักงานอัยการสูงสุดตรวจ พิจารณาก่อนอนุมัติการร่วมดาเนินโครงการก็ได้ ข้อ 11 กกท. อาจว่าจ้างที่ปรึกษาการร่วมดาเนินโครงการ เพื่อจัดทารายงานการศึกษาและ วิเคราะห์การร่วมดาเนินโครงการตามข้อ 10 (1) ในกรณีที่โครงการมีมูลค่าเกินกว่าหนึ่งพันล้านบาท ต้องว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อสนับสนุน การร่วมดาเนินโครงการของ กกท. (2) ในกรณีที่โครงการมีมูลค่าต่า กว่าหนึ่งพันล้านบาท อาจว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อสนับสนุน การร่วมดาเนินโครงการของ กกท. ก็ได้ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของที่ปรึกษาการร่วมดาเนินโครงการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ข้อ 12 เมื่อคณะอนุกรรมการร่วมดำเนินโครงการ ได้ ให้ความเห็นแล้ว ให้ผู้รับผิดชอบ โครงการนำเสนอเอกสารต่อผู้มีอำนาจอนุมัติโครงการ เพื่ออนุมัติโครงการ ดังนี้ (1) กรณีมูลค่าการร่วมดาเนินโครงการไม่เกินหนึ่งพันล้านบาท ให้ผู้ว่าการมีอำนาจอนุมัติ (2) กรณีมูลค่าการร่วมดาเนินโครงการเกินหนึ่งพันล้านบาท ให้คณะกรรมการมีอำนาจอนุมัติ การคานวณมูลค่าการร่วมดาเนินโครงการ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐ และเอกชน ข้อ 13 เมื่อผู้มีอานาจอนุมัติโครงการได้อนุมัติการร่วมดาเนินโครงการแล้ว ให้ผู้รับผิดชอบ โครงการดาเนินการให้ได้มาซึ่งผู้ร่วมดาเนินโครงการ และให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการคัดเลือก ขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย รองผู้ว่าการที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนหน่วยงาน ระดับฝ่ายหรือเทียบเท่าที่เกี่ยวข้อง จานวนสองคน เป็นอนุกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ ด้านการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ด้านกฎหมาย ด้านการเงินการบัญชี ด้านวิศวกรรม จำนวนสามคน เป็นอนุกรรมการ และให้มีผู้แทนผู้รับผิดชอบโครงการหนึ่งคน เป็นอนุกรรมการ และเลขานุการ ้ หนา 81 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566
กกท. อาจว่าจ้างที่ปรึกษาการคัดเลือก เพื่อให้คาปรึกษากับคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของ กกท. และคณะอนุกรรมการคัดเลือก คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของที่ปรึกษาการคัดเลือก ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการร่วมลงทุน ระหว่างรัฐและเอกชน ข้อ 14 ในระหว่างการดารงตาแหน่งและภาย ในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ กกท. ลงนาม สัญญาร่วมดาเนินโครงการกับเอกชนที่ได้รับการคัดเลือก ห้ามมิให้อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการ คัดเลือก กระทำการดังต่อไปนี้ (1) เป็นกรรมการ ผู้มีอานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาในเอกชนที่ได้รับคัดเลือกให้ร่วม ดาเนินโครงการที่ ตนเป็นอนุกรรมการคัดเลือก (2) ถือหุ้นในเอกชนที่ได้รับคัดเลือก เป็นจานวนเกินร้อยละศูนย์จุดห้าของทุนที่ชาระแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการถือหุ้นด้วยตนเอง หรือโดยคู่สมรสหรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ การกระทาตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการเป็นกรรมการ ผู้มีอานาจในการจัดการหรือ ที่ปรึกษาหรือถือหุ้นเกินร้อยละศูนย์จุดห้าของทุนที่ชาระแล้ว ในนิติบุคคลที่เอกชนได้รับคัดเลือกถือหุ้น อยู่เกินร้อยละยี่สิบห้า หรือในนิติบุคคลที่ถือหุ้นในเอกชนที่ได้รับคัดเลือกเกินร้อยละยี่สิบห้า รวมถึง มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ว่ากรณี ใด ๆ กับเอกชนที่เข้าคัดเลือก ข้อ 15 ให้คณะอนุกรรมการคัดเลือกมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสาหรับการคัดเลือกเอกชนและ ร่างสัญญาร่วมดาเนินโครงการ (2) เสนออัตราค่าธรรมเนียมการขายเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกช น ค่าธรรมเนียม การประเมินข้อเสนอ และค่าธรรมเนียมการลงนามในสัญญาร่วมดาเนินโครงการ ต่อผู้มีอำนาจอนุมัติโครงการ (3) กำหนดหลักประกันซองและหลักประกันสัญญาร่วมดาเนินโครงการ เพื่อให้ผู้มีอำนาจอนุมัติ โครงการพิจารณา (4) เจรจาและพิจารณาคัดเลือกเอกชนให้เข้าร่วมดาเนินโครงการ (5) เจรจาร่างสัญญาร่วมดาเนินโครงการ (6) พิจารณาดาเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกเอกชนในการร่วมดาเนินโครงการ ตามที่เห็นสมควร ในการดาเนินการตามวรรคหนึ่ง คณะอนุกรรมการคัดเลือกอาจขอให้ กกท. และผู้ รับผิดชอบ โครงการ เอกชนหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ชี้แจง แสดงความคิดเห็น หรือจัดส่งข้อมูล เอกสารที่เกี่ยวข้องก็ได้ ข้อ 16 เมื่อคณะอนุกรรมการคัดเลือกให้ความเห็นชอบร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสาร สำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมดำเนิน โครงการแล้ว ให้ผู้รับผิดชอบโครงการและ คณะอนุกรรมการคัดเลือก ดาเนินการคัดเลือกเอกชนโดยใช้วิธีประมูลตามข้อ 17 หรือวิธีคัดเลือก ตามข้อ 18 หรือวิธีเฉพาะเจาะจงตามข้อ 19 ้ หนา 82 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566
ข้อ 17 วิธีการประมูล (1) วิธีประมูล ใช้สาหรับกรณีที่ กกท. ต้องการให้แข่งขันในการเสนอผลตอบแทนสูงสุด โดยเปิดเผย ทั่วไปต่อสาธารณชนเพื่อประโยชน์ของ กกท. (2) การคัดเลือกด้วยวิธีประมูล ให้ผู้รับผิดชอบโครงการดาเนินการ ดังนี้ (ก) จัดทำร่างข้อกำหนดและรายละเอียดในการให้เอกชนเข้าร่วมดาเนินโครงการ (ข) จัดทำเอกสารการประมูล (ค) ควบคุมดูแลและจัดทาหลักฐานการเผยแพร่และประกาศการประมูลภายในระยะเวลา ที่กำหนด โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1) จัดทาเอกสารการประมูลในรูปแบบของประกาศของ กกท. ซึ่งต้องมีสาระสาคัญ ไม่น้อยกว่าที่กำหนด ดังนี้ ก) ลักษณะโครงการที่ให้เอกชนร่วมดาเนินโครงการ ข) ระยะเวลาดาเนินโครงการ ค) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าร่วมประมูล ง) กำหนดวันและเวลาชี้แจงเงื่อนไขการยื่นและเปิดซองเสนอผลตอบแทน เว้นแต่กรณีที่เป็นการประมูลซึ่งต้องยื่นข้อเสนอทางเทคนิคไม่จาเป็นต้องกาหนดวันและเวลาเปิดซอง สามารถเสนอผลตอบแทน ไว้ในคราวเดียวกันก็ได้ จ) สถานที่และระยะเวลาในการแจกเอกสารการประมูล 2) ประกาศเชิญชวนอย่างเปิดเผยไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันเปิดการรับซองข้อเ สนอ โดยให้ปฏิบัติอย่างน้อย ดังนี้ ก) ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา การกีฬาแห่งประเทศไทย ข) ประกาศลงในเว็บไซต์ของ กกท. ค) ประกาศตามช่องทางอื่น ง) การแจกจ่ายหรือจาหน่ายเอกสารการประมูลให้กระทา ณ สถานที่ซึ่งติดต่อได้ สะดวก โดยต้องกำหนดช่วงเวลาแจกจ่ายไม่น้อยกว่าห้าวัน (ง) ให้คณะอนุกรรมการคัดเลือกตามข้อ 13 ดาเนินการ ดังนี้ 1) ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิยื่นเอกสารการประมูล คุณสมบัติและเอกสารหลักฐาน ผู้ยื่นเสนอผลตอบแทน 2) ให้พิจารณาคัดเลือกผู้เสนอผลตอบแทนสูงสุดเป็นผู้ร่วมดาเนินโครงการกับ กกท. สาหรับกรณีมีผู้เสนอผลตอบแทนสูงสุดเท่ากันหลายราย ให้เรียกผู้เสนอผลตอบแทนดังกล่าวมาเสนอ ผลตอบแทนใหม่พร้อมกันโดยวิธีการยื่นซองเสนอผลตอบแทน แต่ทั้งนี้ผลตอบแทนที่เสนอใหม่ จะต้องไม่ต่ากว่ำที่เสนอไว้ในครั้งแรก ้ หนา 83 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566
- จัดทำรายงานสรุปผลการพิจารณาคัดเลือกเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติโครงการ เพื่อพิจารณาอนุมัติและประกาศผลการคัดเลือก 4) กรณีที่มีผู้เสนอผลตอบแทนเพียงรายเดียวหรือมีผู้เสนอผลตอบแทนหลายราย แต่เสนอเงื่อนไขถูกต้องตามที่กาหนดไว้ในเอกสารการประ มูลเพียงรายเดียว ให้ยกเลิกการประมูลเสนอ ผลตอบแทนในครั้งนั้น 5) กรณีผู้ได้รับคัดเลือกไม่เข้าทำสัญญาตามระยะเวลาที่ กกท. กำหนด ให้เรียกผู้เสนอ ผลตอบแทนสูงในลำดับถัดไป เพื่อเจรจาผลตอบแทนให้ได้ไม่ต่ากว่าที่ผู้ได้รับคัดเลือกที่ไม่เข้าทำสัญญาดังกล่าว ข้อ 18 วิธีคัดเลือก โดยเชิญชวนเฉพาะเอกชนที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่ กกท. กาหนด ดังต่อไปนี้ (1) จัดทำหนังสือเชิญชวนเอกชนที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่ กกท. กำหนดไม่น้อยกว่าสามราย ให้เข้ายื่นข้อเสนอ เว้นแต่ในงานนั้นมีเอกชนที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดน้อยกว่าสามราย (2) เมื่อถึงกาหนดวันและเวลาการรับซองข้อเสนอ ให้รับซองข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอเฉพาะราย ที่ได้มีการทาหนังสือเชิญชวนเท่านั้น โดยรับเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่กาหนดไว้ในหนังสือ เชิญชวน และรายละเอียดข้อกำหนด (ถ้ามี) เมื่อพ้นกาหนดเวลารับซองข้อเสนอ ห้ามรับเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่กาหนด ในหนังสือเชิญชวนเพิ่มเติมจากผู้ยื่นข้อเสนอ (3) เมื่อถึงกาหนดวันและเวลาการเปิดซองข้อเสนอ ให้คณะอนุกรรมการคัดเลือกเปิดซอง ข้อเสนอและตรวจสอบเอกสาร หลักฐานต่าง ๆ ของผู้ยื่นข้อเสนอทุกราย แล้วให้ผู้รับผิดชอบโครงการ ลงลายมือชื่อกำกับไว้ในเอกสารประกอบของผู้ยื่นข้อเสนอทุกแผ่น กรณีเอกชนรายใดรายหนึ่งหรือหลายรายเป็นผู้นำเสนอโครงการตามข้อบังคับฉบับนี้ ให้คณะอนุกรรมการคัดเลือกใช้ดุลพินิจพิจารณาเพื่อประโยชน์สูงสุดของ กกท. เป็นสาคัญ โดยอาจ นำหลักเกณฑ์การพิจารณาตามข้อ 10 มาใช้บังคับได้โดยอนุโลม ข้อ 19 ให้ใช้วิธีเฉพาะเจาะจง กรณีใช้ทั้งวิธีประมูลและวิธีคัดเลือก หรือใช้วิธีคัดเลือกแล้ว แต่ไม่มีผู้ยื่นข้ อเสนอ หรือข้อเสนอนั้นไม่ได้รับการคัดเลือก โดยเชิญชวนเอกชนที่มีคุณสมบัติตรงตาม เงื่อนไขที่ กกท. กาหนดให้เข้ายื่นข้อเสนอ หรือให้เข้ามาเจรจาต่อรองเงื่อนไขการร่วมดาเนินโครงการ ระหว่างกัน ในกรณีที่เห็นว่าข้อกาหนดเงื่อนไขหรือผลประโยชน์ตอบแทนที่เอกชนเสนอนั้นไม่ สอดคล้องกับ ข้อกาหนดเงื่อนไขหรือผลประโยชน์ตอบแทนในท้องถิ่น หรือข้อกาหนดเงื่อนไขหรือผลประโยชน์ตอบแทน ที่ กกท. ประมาณการได้ หรือไม่เป็นไปตามข้อกาหนดเงื่อนไขหรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นใดที่ผู้รับผิดชอบ โครงการเห็นสมควร ให้ต่อรองเพื่อประโยชน์ของ กกท. เป็นสำคัญ เมื่อได้ดาเนินการไปแล้วได้ผลประการใดให้เสนอรายงานพร้อมด้วยความเห็นต่อผู้มีอานาจ อนุมัติโครงการ เพื่อดาเนินการต่อไป ้ หนา 84 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566
ข้อ 20 เอกชนที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ถือเป็นเอกชนที่มีลักษณะไม่สมควรให้ร่วมดาเนินโครงการ (1) เป็นผู้ถูกแจ้งเวียนชื่อให้เป็นผู้ทิ้งงาน ของหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อ จัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ หรือตามระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศของ กกท. (2) เป็นผู้ที่ยื่นคาร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ หรือถูกศาลมีคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการหรือถูกศาลสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ หรือเป็นบุคคลล้มละลาย หรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (3) เป็นผู้เคยได้รับโทษจาคุกโดยคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุก เว้นแต่เป็นโทษสาหรับความผิด ที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (4) เป็นผู้ถูกหรือเคยถูกหน่วยงานของรัฐหรือ กกท. บอกเลิกสัญญาเนื่องจากผิดสัญญา ในกรณีที่เอกชนตามวรร คหนึ่งเป็นนิติบุคคล คณะกรรมการหรือผู้มีอานาจในการจัดการของ นิติบุคคลจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งด้วย ในกรณีที่เอกชนผู้ยื่นข้อเสนอเป็นกลุ่มนิติบุคคล ให้นาข้อกาหนดในวรรคหนึ่งและวรรคสอง มาปรับใช้แก่นิติบุคคลแต่ละรายที่อยู่ภายใต้กลุ่ม นิติบุคคลที่ยื่นข้อเสนอด้วย ข้อ 21 เมื่อดำเนินการให้ได้มาซึ่งเอกชนในการร่วมดำเนินโครงการแล้ว ให้ผู้รับผิดชอบ โครงการรายงานผลการได้มาให้คณะอนุกรรมการร่วมดาเนินโครงการทราบ และดาเนินการ ดังนี้ (1) กรณีมูลค่าโครงการไม่เกินหนึ่งพันล้านบาท ให้จัดทารายงานผลการได้มาและความเห็น ร่างสัญญาร่วมดาเนินโครงการพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดเสนอผู้ว่าการเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ (2) กรณีมูลค่าโครงการเกินหนึ่งพันล้านบาท ให้จัดทารายงานผลการได้มาและความเห็น ร่างสัญญาร่วมดาเนินโครงการพร้อมด้วยเอกสา รที่ได้รับไว้ทั้งหมดเสนอผู้ว่าการเพื่อทราบ และคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ร่างสัญญาร่วมดาเนินโครงการที่ผ่านการเจรจากับเอกชนแล้ว ต้องส่งให้สานักงานอัยการสูงสุด ตรวจพิจารณาก่อนลงนามสัญญา ข้อ 22 สัญญาร่วมดาเนินโครงการและเอกสารอื่นที่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาร่วมดาเนินโครงการนั้น จะต้องจัดทาขึ้นเป็นภาษาไทย แต่อาจจัดทาเป็นภาษาอังกฤษได้เฉพาะในส่วนที่จาเป็น ซึ่งผู้รับผิดชอบ โครงการได้แสดงเหตุผลและความจาเป็นอันเนื่องมาจากทางปฏิบัติโดยปกติทั่วไปของสัญญา ประเภทนั้น ๆ หรือเหตุอื่นใดอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ในกรณีที่มีการจัดทาเนื้อหาส่วนใดของสัญญาร่วมดาเนินโครงการเป็นภาษาอังกฤษตามวรรคหนึ่ง ให้ระบุในสัญญาร่วมดาเนินโครงการว่า ในกรณีที่ปรากฏข้อความภาษาอังกฤษมีเนื้อหาขัดหรือแย้งกัน กับข้อความภาษาไทย ให้คู่สัญญาถือปฏิบัติตามข้อความภาษาไทย ในกรณีที่มีการจัดทาคำแปลของสัญญาร่วมดาเนินโครงการเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ระบุในสัญญา ร่วมดาเนินโครงการว่าไม่ให้มีการนำเนื้อหาในคำแปลของสัญญาร่วมดาเนินโครงการที่เป็นภาษาต่างประเทศ มาปรับใช้และตีความกับสัญญาร่วมดาเนินโคร งการฉบับดังกล่าว ้ หนา 85 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566
ข้อ 23 การทำสัญญาร่วมดำเนินโครงการของ กกท. อาจพิจารณาจัดทำสัญญาโดยนำ ข้อกำหนดมาตรฐานของสัญญาร่วมลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน มาใช้บังคับตามที่เห็นสมควรก็ได้ ข้อ 24 เมื่อคณะกรรมการหรือผู้ว่าการพิจารณาให้ความเห็นชอบและอนุมัติการร่วมดาเนิน โครงการแล้ว ให้ กกท. หรือผู้รับผิดชอบโครงการดาเนินการเพื่อจัดให้มีการลงนามในสัญญาร่วมดาเนิน โครงการกับเอกชนที่ได้รับความเห็นชอบและรายงานผลการดาเนินงานต่อรัฐมนตรีเพื่อทราบ ให้ผู้ว่าการหรือผู้ได้รับมอบอำนาจเป็นผู้แทน กกท. ในการลงนามในสัญญาร่วมดาเนินโครงการ หมวด 4 การกำกับดูแลการร่วมดาเนินโครงการ ข้อ 25 เมื่อได้มีการลงนามในสัญญาร่วมดำเนินโครงการแล้ว ให้คณะกรรมการแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการกากับดูแลรายโครงการขึ้นคณะหนึ่ง ประก อบด้วยผู้มีตาแหน่งไม่ต่ากว่ารองผู้ว่าการ ซึ่งกากับดูแลผู้รับผิดชอบโครงการดังกล่าว เป็นประธานอนุกรรมการ และให้มีผู้อานวยการฝ่ายหรือ เทียบเท่า ซึ่งมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่าสองคน เป็นอนุกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประ สบการณ์ ด้านการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ด้านกฎหมาย ด้านการเงิน หรือการบัญชีหรือด้านวิศวกรรม จานวนสามคน เป็นอนุกรรมการ โดยให้ผู้อานวยการระดับฝ่ายหรือ เทียบเท่าของผู้รับผิดชอบโครงการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับแต่งตั้งให้มีวาระการดารงตาแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับ แต่งตั้งอีกได้ แต่จะดารงตาแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ ในกรณีอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตาแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งตั้งอนุกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ ให้อนุกรรม การผู้ทรงคุณวุฒินั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปก่อนจนกว่าจะได้แต่งตั้งอนุกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ข้อ 26 ให้คณะอนุกรรมการกำกับดูแลรายโครงการมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) กำกับดูแลและติดตามการร่วมดาเ นินโครงการ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในสัญญาร่วม ดาเนินโครงการ (2) พิจารณาเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการร่วมดาเนินโครงการ ตามที่กำหนดในสัญญาร่วมดาเนินโครงการต่อคณะอนุกรรมการร่วมดาเนินโครงการ (3) สั่งการให้ผู้รับผิดชอบโครงการ ฝ่ายหรือสำนักที่เกี่ยวข้อง คู่สัญญา ชี้แจง แสดงความเห็น หรือจัดส่งข้อมูลหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง (4) รายงานผลการดาเนินงาน ความคืบหน้า ปัญหา และแนวทางการแก้ไขในการร่วมดาเนิน โครงการตามที่กำหนดในสัญญาร่วมดาเนินโครงการต่อคณะอนุกรรมการร่วมดาเนินโครงการและ ผู้มีอานาจ อนุมัติเพื่อทราบ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ้ หนา 86 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566
(5) พิจารณาให้ความเห็นประกอบการแก้ไขสัญญาร่วมดาเนินโครงการ กกท. หรือคณะอนุกรรมการกากับดูแลรายโครงการอาจกาหนดให้ว่าจ้างที่ปรึกษาการกากับดูแล รายโครงการ เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาในการร่วมดำเนินโครงการ ให้ความเห็นต่อ การแก้ไขสัญญาร่วมดาเนินโครงการ หรือสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการกากับดูแล รายโครงการได้ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของที่ปรึกษาการกากับดูแลรายโครงการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ข้อ 27 ในกรณีที่ต้องมีการแก้ไขสัญญาร่วมดาเนินโครงการ ให้คณะอนุกรรมการกากับดูแล รายโครงการจัดทาร่างสัญญาฉบับแก้ไขพร้อมเหตุผลและความจาเป็น ประเด็นที่ขอแก้ไข ผลกระทบจาก การแก้ไขและข้อมูลอื่น ๆ ที่จาเป็ นเสนอต่อคณะอนุกรรมการร่วมดาเนินโครงการ เพื่อพิจารณาให้ ความเห็นก่อนนำส่งร่างสัญญาโครงการฉบับแก้ไขที่ได้เจรจากับเอกชนซึ่งเป็นคู่สัญญาแล้วให้สำนักกฎหมาย และฝ่ายหรือสำนักอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตรวจพิจารณาก่อนเสนอไปยังผู้มีอานาจอนุมัติโครงการ เพื่อพิจารณา ให้ค วามเห็นชอบ ทั้งนี้ ต้องส่งร่างแก้ไขสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อนลงนามสัญญา ข้อ 28 ในกรณีที่มีเหตุผลความจาเป็นเพื่อประโยชน์ของ กกท. ให้ผู้ว่าการโดยความเห็นชอบ จากคณะกรรมการมีอำนาจพิจารณาดาเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เพื่อแก้ไขปัญ หาที่เกิดขึ้น (1) เข้าร่วมดาเนินโครงการนั้นเอง ถ้าผู้ร่วมดาเนินโครงการไม่สามารถดาเนินการต่อไปได้หรือ มอบให้ผู้อื่นเข้าร่วมดาเนินโครงการเป็นระยะเวลาชั่วคราว (2) บอกเลิกสัญญาร่วมดาเนินโครงการ ในกรณีที่เหตุเกิดจากการใช้อำนาจตามวรรคหนึ่งไม่ได้มาจากความผิดของเอกชนคู่สัญญา ให้ กกท. จ่ายค่าชดเชยแก่เอกชนคู่สัญญาอย่างเป็นธรรม บทเฉพาะกาล ข้อ 29 โครงการใดของ กกท. ที่มีลักษณะเป็นการให้เอกชนเข้าร่วมดาเนินโครงการและ อยู่ระหว่างการดาเนินการในวันที่ข้ อบังคับนี้ใช้บังคับ หากโครงการนั้นเป็นโครงการภายใต้บังคับของข้อบังคับนี้ ให้การดาเนินการในส่วนที่กระทาไปแล้วยังคงมีผลใช้ได้ต่อไป และให้ผู้รับผิดชอบโครงการนั้นดาเนินการ ในขั้นตอนต่อไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ ผลการศึกษาใด ๆ ที่ได้ดาเนินการไว้ก่อนข้อบังคับนี้ใช้บังคับ หาก กกท. จะดาเนินโครงการ ตามผลการศึกษานั้น ก็ให้ใช้ผลการศึกษานั้นต่อไปได้ ทั้งนี้ ต้องสอดคล้องกับขอบวัตถุประสงค์ของ กกท. และกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ประกาศ ณ วันที่ 2 5 ธันวาคม พ.ศ. 256 5 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ้ หนา 87 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566