Thu Feb 16 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. 2565


ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. 2565

ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับ ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ เพื่อส่งเสริมให้ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 มาตรา 18 (4) และ (14) มาตรา 41 มาตรา 46 วรรคหนึ่ง และมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุ ขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และ คาสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 37/2559 เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจาเป็นต่อ การสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่นตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พุทธศักราช 2559 คาสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 41/2560 เรื่อง การบริหารจัดการยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตามโครงการพิเศษของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ลงวันที่ 13 กันยายน พุทธศักราช 2560 คาสั่งหัวหน้าคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ ที่ 58/2559 เรื่อง การรับบริการสาธารณสุขของคนพิการ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ลงวันที่ 14 กันยายน พุทธศักราช 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติมตามคาสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 45/2 560 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 58/2559 ลงวันที่ 25 ตุลาคม พุทธศักราช 2560 ประกอบมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในการประชุม ครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 และในการประชุมครั้งที่ 12/2565 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมา ณ พ.ศ. 2566 และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. 2565 ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ข้อ 3 หลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (กองทุน) และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ ้ หนา 31 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กำหนดไว้สำหรับปีงบประมาณที่ผ่านมา ให้คงใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีการกำหนดขึ้นใหม่ตามประกาศนี้ ข้อ 4 ให้ สปสช. ออกประกาศ แนวทางปฏิบัติเพื่อปฏิบัติการตามประกาศนี้ ข้อ 5 การจ่ายเงินกองทุนเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริม การจัดบริ การสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่นให้แก่หน่วยบริการ เครือข่ายหน่วยบริการ หน่วยบริการที่รับ การส่งต่อ ผู้รับบริการ องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อดาเนินการ แสวงหาผลกาไร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานของรัฐที่ได้รับมอบหมาย ให้ทากิจการ ในอานาจหน้าที่ของ สปสช. ให้เป็นไปตามคาสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 37/2559 เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและ ค่าใช้จ่ายอื่นตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พุทธศักราช 2559 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การรับเงิน การจ่ายเงิน การรักษาเงิน และรายการของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริม การจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่น ข้อ 6 ให้ป ระธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรักษาการตามประกาศนี้ หมวด 1 การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติภาพรวม ข้อ 7 กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประกอบด้วยรายการต่าง ๆ จำนวน 10 รายการ ดังนี้ รายการ จำนวนเงิน (ล้านบาท) 1. บริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว 161 , 602.6675 2. บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ 3 , 978.4785 3. บริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 9 , 952.1756 4. บริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง 1 , 071.4748 5. ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสาหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร พื้นที่เสี่ยงภัย และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 1,490.2880 6. ค่าบริการสาธารณสุขสาหรับผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน 1 , 265.6460 7. ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ 188.8543 8. ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 , 772.0000 ้ หนา 32 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

รายการ จำนวนเงิน (ล้านบาท) 9. เงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้รับบริการและผู้ให้บริการ 437.3360 10. ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 21 , 381.1071 รวมรายการ 1 ถึง 10 ทั้งสิ้น (รวมค่าแรงหน่วยบริการของรัฐ) 204 , 140.0278 ค่าแรงของหน่วยบริการของรัฐในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 61 , 842.0911 รวมกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ไม่รวมค่าแรงหน่วยบริการของรัฐ) 142 , 297.9367 ข้อ 8 เพื่อให้มีแรงจูงใจด้านการเงินที่เหมาะสมแก่ผู้ให้บริการในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการที่มีคุณภาพ ทาให้ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเข้าถึงบริการสาธารณสุข ที่จาเป็น และมีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียมกัน การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กำหนดภายใต้แนวคิดหลักการ ดังนี้ 8.1 การสร้างความ เป็นธรรมต่อผู้มีสิทธิและผู้ป่วยที่จะได้รับบริการสาธารณสุข 8.2 การเพิ่มประสิทธิผลและคุณภาพผลงานบริการสาธารณสุข 8.3 การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการร่วมดาเนินงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติและการบริการสาธารณสุข 8.4 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเงินกองทุน โดย 8.4.1 ให้มีการบริหารเป็นวงเงินแบบมีเพดานระดับเขตพื้นที่ ( Global budget ระดับเขตพื้นที่) ตามเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของ สปสช. เขต ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้มีสิทธิ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยคานึงถึงการพัฒนาบริการสาธารณสุข ในเขตพื้นที่ที่ไม่มีหน่วยบริการเพียงพอหรือมีการกระจายหน่วยบริการอย่างไม่เหมาะสม 8.4.2 แนวทางการจ่ายค่าใช้จ่ายเงินกองทุนเป็นการจ่ายสาหรับการบริการ สาธารณสุข ทั้งนี้ การจ่ายเป็นเงินจะจ่ายแบบเหมาจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กาหนด จ่ายตามปริมาณงาน ที่เรียกเก็บภายหลังการให้บริการ จ่ายตามราคาของรายการที่กำหนด ( Fee Schedule ) และจ่ายตาม โครงการที่กาหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ ทั้งนี้ ให้ สปสช. จัดให้มีกลไกการติดตาม กากับ ตรวจสอบ เพื่อป้องกันการทุจริตทั้งก่อนและหลังการจ่ายชดเชย 8. 4.3 กรณีค่าใช้จ่ายสาหรับยา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม อุปกรณ์ ทางการแพทย์และชุดตรวจทางห้องปฏิบัติการ ให้สามารถดาเนินการจัดหาและสนับสนุนเป็นยา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม อุปกรณ์ทางการแพทย์และชุดตรวจทางห้องปฏิบัติการตามโครงการพิเศษ และหรือจ่ายเป็ นค่าใช้จ่ายตามผลงานบริการ ทั้งนี้ อาจมีการเพิ่มเติม หรือปรับเปลี่ยนรายการได้ ในระหว่างปีงบประมาณภายใต้วงเงินที่มีอยู่ โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้ ้ หนา 33 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

(1) จ่ายชดเชยเป็นยา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม อุปกรณ์ ทางการแพทย์และชุดตรวจทางห้องปฏิบัติการตามโครงกา รพิเศษ ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (ก) เพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมป้องกันโรคและลดอัตรา สูญเสียชีวิตและทุพพลภาพ (ข) บริหารความเสี่ยง ( Risk pooling ) เพื่อประกันการเข้าถึง และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากร ( Central bargaining or central procure ment ) (ค) สนับสนุนเพื่อสร้างความมั่นคงด้านยา นวัตกรรมที่จาเป็น ซึ่งมีผลกระทบต่อประเทศในภาพรวม เช่น ยาราคาแพงที่ผลิตโดยหน่วยงานของรัฐ (2) กรณีจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายตามผลงานบริการ ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (ก) มีผู้จำหน่ายซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเป็นการเฉพาะ เช่น องค์การเภสัชกรรม (ข) สามารถดาเนินการต่อรอง เพื่อกำหนดราคากลางระดับประเทศ ( Central bargaining ) ผ่านกลไกคณะทำงานภายใต้คณะอนุกรรมการกาหนดหลักเกณฑ์การดาเนินงาน และการบริหารจัดการกอง ทุน โดยผู้จำหน่ายยินยอมจำหน่ายในราคาเดียวกันสำหรับทุกสิทธิหลักประกันสุขภาพ และประกันการจำหน่ายให้หน่วยบริการทุกพื้นที่ (ค) มีการแข่งขันด้านราคาในระบบตลาดมากขึ้นหรือมีผู้จำหน่าย มากกว่า 3 รายขึ้นไป 8.4.4 เพื่อให้การบริหารจัดการยา เวชภัณฑ์ อวัยวะ เทียม อุปกรณ์ทางการแพทย์ และชุดตรวจทางห้องปฏิบัติการตามโครงการพิเศษ ภายใต้คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 41/2560 เรื่อง การบริหารจัดการยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตามโครงการพิเศษของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ลงวันที่ 13 กันยายน พุทธศักราช 2560 สามารถทาให้ผู้ป่วยกลุ่มต่าง ๆ เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้มากขึ้น จึงกาหนดให้มีเครือข่ายหน่วยบริการ ด้านยาและเวชภัณฑ์ เพื่อให้โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ซึ่งเป็นหน่วยบริการประจาที่เป็น แกนกลางหรือเป็นแม่ข่าย ดาเนินการจัดหาและสนับสนุน ยา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม อุปกรณ์ ทางการแพทย์ และชุดตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จาเป็นตามโครงการพิเศษ ให้แก่หน่วยบริการอื่น ในเครือข่ายนำไปให้บริการสาธารณสุขแก่ผู้มีสิทธิได้ ตามแผนและวงเงินการจัดหายา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวั ยวะเทียม อุปกรณ์ทางการแพทย์ และชุดตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จาเป็นตามโครงการพิเศษ ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเห็นชอบ โดยให้เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนเพื่อจัดหายา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม อุปกรณ์ ทางการแพทย์ และชุดตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นตามโครงการพิเศษตามแผนและวงเงินการจัดหา 8.4.5 การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีการส่งเสริมและ สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมความต้องการของภาครัฐและแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย ้ หนา 34 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริการสาธารณสุข ภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนา นวัตกรรมตามความต้องการของภาครัฐ พ.ศ. 2562 ให้ สปสช. บริหารจัดการกองทุนโดยจ่ายเป็น ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขให้แก่หน่วยบริการสำหรับรายการนวัตกรรมและหรือสิ่งประดิ ษฐ์และหรือ ผลงานจากการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทยที่ใช้ในการให้บริการสาธารณสุข ทั้งนี้ ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กาหนด โดยคาแนะนาหรือความเห็นของคณะอนุกรรมการ กำหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุข 8.4.6 เพื่อให้การบ ริหารกองทุนดาเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจ่าย ค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนจ่ายตามปริมาณงานที่เรียกเก็บภายหลังการให้บริการตามข้อมูลที่ส่งมา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมาตรการเพื่อรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐ 8.4.7 การให้บริการสาธาร ณสุขที่เป็นโครงการเฉพาะหรือโครงการพิเศษ อาจให้หน่วยบริการ เครือข่ายหน่วยบริการ หน่วยบริการที่รับการส่งต่อ ผู้รับบริการ องค์กรชุมชน องค์กรเอกชนและภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อดาเนินการแสวงหาผลกาไร องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานของรัฐที่ได้ รับมอบหมายให้ทำกิจการในอำนาจหน้าที่ของ สปสช. ตามแนวทางที่ สปสช. กาหนด โดยให้ทำสัญญาหรือข้อตกลงหรือโครงการดาเนินงานและผลผลิตหรือ ผลลัพธ์ที่จะส่งมอบกับ สปสช. 8.4.8 ให้มีมาตรการกากับและเร่งรัดการใช้เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติทุกระดับ รวมทั้ งเงินกองทุนที่สนับสนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติให้กับบุคคลในพื้นที่ ตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 8.4.9 สำหรับรายการบริการที่มีการจ่ายแบบระบบปลายเปิด เช่น รายการบริการ ทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว เฉพาะประเภทบริการกรณีเฉพาะ และบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ ( Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP ) และรายการค่าบริการ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังให้ สปสช. ติดตาม กากับ และควบคุมประสิทธิภาพการดาเนินงาน และหากมีผลงาน บริการมากกว่าเป้าหมายที่ได้รับงบประมาณหรือเงินงบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไม่เพียงพอ ภายหลังจากปรับประสิทธิภาพอย่างเต็มที่แล้ว ให้ สปสช. รวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอขอ งบประมาณเพิ่มเติมตามความเหมาะสมต่อไป หรืออาจใช้เงินกองทุนรายกำรรายได้สูง (ต่า) กว่า ค่าใช้จ่ายสะสมคงเหลือที่ไม่มีภาระผูกพันก็ได้ ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ 8.4.10 ในระหว่างปีงบประมาณหากเงินที่กาหนดในรายการและประเภท บริการใดไม่เพียงพอเนื่องจากผลงานบริการมากกว่าเป้าหมายที่ได้รับ งบประมาณหรือกรณีจาเป็นอื่นให้ สปสช. ใช้เงินกองทุนจากรายการและประเภทบริการอื่นจ่ายไปก่อน และในช่วงปลายปีงบประมาณ หากจ่ายหรือประมาณการจ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในหมวด 2 ถึงหมวด 12 เสร็จสิ้น ้ หนา 35 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

ตามเป้าหมายของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แล้ว ให้ สปสช. จ่ายเงินที่อาจเหลือในภาพรวม ทุกรายการและประเภทบริการคืนเข้ารายการและประเภทบริการอื่นที่ยืมจ่ายในระหว่างปีงบประมาณก่อน และหากไม่เพียงพอให้ของบประมาณทดแทนในปีถัดไป 8.4.11 เมื่อสิ้นรอบการบริหารการจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามประกาศนี้แล้วหากมีเงินเหลือหรือได้รับคืนมาไม่ว่ากรณีใดให้ถือปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยการงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หมวด 2 รายการบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว ข้อ 9 อัตราเหมาจ่ายรายหัวปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จานวน 3 , 385.9800 บาท ต่อผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จานวน 47.7270 ล้านคน โดยจัดสรรเป็นประเภทบริการ ค่าใช้จ่าย หรือเงินต่าง ๆ ดังนี้ ประเภทบริการ จำนวนบาทต่อผู้มีสิทธิ 1. บริการผู้ป่วยนอกทั่วไป 1 , 344.4000 2. บริการผู้ป่วยในทั่วไป 1 , 477.0100 3. บริการกรณีเฉพาะ 399.4900 4. บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ 17.2300 5. บริการการแพทย์แผนไทย 19.1600 6. ค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน (ค่าบริการ ทางการแพทย์สำหรับผู้มีสิทธิเพื่อสนับสนุนเป็นค่าเสื่อมราคา ของหน่วยบริการ) 128.6900 รวม (บาทต่อผู้มีสิทธิ) 3 , 385.9800 ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนในรายการบริการทางการแพทย์ เหมาจ่ายรายหัว ที่แบ่งเป็นประเภทบริการ 6 บริการ ให้เป็นไปตามส่วนที่ 1 ถึง 6 ในหมวดนี้ ส่วนที่ 1 บริการผู้ป่วยนอกทั่วไป ข้อ 10 เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีบริการผู้ป่วยนอกทั่วไป ทุกรายการยกเว้นที่กาหนดให้จ่ายจากประเภทบริการอื่น โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวมค่า ้ หนา 36 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า บริการตรวจคัดกรองยีนส์ HLA - B * 5801 ก่อนเริ่มยา Allopurinol สาหรับผู้ป่วยโรคเกาต์ บริการรักษาเนื้อเยื่อในแบบคงความมีชีวิต ( Vital Pulp Therapy ) ของฟันถาวร และบริการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19 ข้อ 11 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการผู้ป่วยนอกทั่วไป จ่ายแบบเหมาจ่ายต่อ ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 1 , 344.4000 บาทต่อผู้มีสิทธิ จ่ายให้กับหน่วยบริการ ประจาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้วยอัตราเหมาจ่ายที่คานวณระดับจังหวัดโดยคานวณอัตรา เห มาจ่าย ดังนี้ 11.1 ร้อยละ 80 ของเงินบริการผู้ป่วยนอกทั่วไป จ่ายแบบเหมาจ่ายรายหัว ตามจานวนผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียนในแต่ละหน่วยบริการประจา โดยปรับอัตราตามโครงสร้างอายุของ ผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียนในระดับจังหวัด และให้อัตราเหมาจ่ายรายหัวสาหรับบริการผู้ป่ว ยนอกทั่วไปของ แต่ละจังหวัดต่างจากค่าเฉลี่ยเพิ่มหรือลดไม่เกินร้อยละ 10 โดยดัชนีค่าใช้จ่ายบริการผู้ป่วยนอกตามกลุ่มอายุ ( Age adjusted cost index of outpatient care ) ที่ใช้ในการปรับอัตราจ่ายตามโครงสร้างอายุ ของผู้มีสิทธิ เป็นดังนี้ ประเภท กลุ่มอายุ (ปี) < 3 3 - 10 11 - 20 21 - 40 41 - 50 51 - 60 61 - 70 > 70 บริการผู้ป่วยนอก 0.4640 0.3640 0.3060 0.4070 0.7890 1.3480 1.9720 2.3510 ที่มา คานวณจากข้อมูลการใช้บริการผู้ป่วยนอกและค่าใช้จ่ายตามอายุปี 2557 11.2 ร้อยละ 20 ของเงินบริการผู้ป่วยนอกทั่วไป จ่ายแบบเหมาจ่ายรายหัว ตามจำนวนผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียนในอัตราต่อผู้มีสิทธิเท่ากันทุกกลุ่มอายุ 11.3 สาหรับหน่วยบริการสังกัดสานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ให้ใช้จานวนผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียน ณ วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นตัวแทนในการจ่ายค่าใช้จ่าย แบบเหมาจ่ายทั้งปี สาหรับกรณีหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนใหม่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 หรือ กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงจานวนผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียนของหน่วยบริการ สปสช. จะปรับการจ่ายให้แก่ หน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง ภายใต้จานวนผู้มีสิท ธิที่ลงทะเบียน ณ วันที่ 1 เมษายน 2565 ทั้งนี้ จะดาเนินการให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2565 และสาหรับหน่วยบริการสังกัดอื่นให้เป็นไป ตามจานวนผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ทั้งนี้ โดยคาแนะนาหรือความเห็น ของคณะอนุกรรมการกาหนดห ลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน 11.4 สำหรับการบริหารเงินค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจากกองทุนประกันสังคม กรณีคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมที่เลือกรับบริการสาธารณสุขตามกฎหมายว่าด้วย หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามคาสั่งหัวหน้าคณะรัก ษาความสงบแห่งชาติ ที่ 58/2559 เรื่อง การรับบริการสาธารณสุขของคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกฎหมาย ้ หนา 37 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

ว่าด้วยการประกันสังคม ลงวันที่ 14 กันยายน พุทธศักราช 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติมตามคาสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 45/ 2560 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคาสั่งหัวหน้าคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ ที่ 58/2559 ลงวันที่ 25 ตุลาคม พุทธศักราช 2560 ให้การจ่ายค่าใช้จ่ายบริการ ผู้ป่วยนอกแบบเหมาจ่ายต่อคนพิการนี้ให้กับหน่วยบริการทุกสังกัด ตามจานวนคนพิการที่ลงทะเบียน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ข้อ 12 การจ่ายค่าใช้จ่ายตามข้อ 11 กรณี สปสช. เขต 13 กรุงเทพมหานคร อาจปรับ การจ่ายตามโครงสร้างอายุและหรือปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งอาจกาหนดให้จ่ายตามรายการบริการและหรือ ตามผลงานบริการ และอาจบูรณาการไปกับการจ่ายค่าใช้จ่ายในรายการบริการประเภทต่าง ๆ ได้ตามที่ สปสช. กำหนด โดยคำแนะนำหรือความเห็นจากคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระดับเขตพื้นที่ (อปสข.) ตามบริบทซึ่งเป็นปัญหาในพื้นที่ และอาจกันเงินค่าบริการผู้ป่วยนอกทั่วไปไว้ จำนวนหนึ่งแบบบัญชีเสมือน ( Virtual account ) สำหรับหน่วยบริการอื่นห รือหน่วยบริการในเครือข่ายของ หน่วยบริการประจำ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการผู้ป่วยนอกทั่วไป และให้ สปสช. ทำหน้าที่หักชำระบัญชี ระหว่างกัน ( Clearing house ) แทนหน่วยบริการประจำ ข้อ 13 การบริหารการจ่ายสาหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ลงทะเบียนกับ กรมแพทย์ทหารเรือและกรมแพทย์ทหารอากาศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด ข้อ 14 การบริหารการจ่ายเพื่อให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงบริการสาธารณสุขมากขึ้น เช่ น ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เป็นผู้ต้องขัง ผู้ไร้บ้าน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด ข้อ 15 สำหรับบริการผู้ป่วยนอกรับส่งต่อในและนอกจังหวัด และบริการผู้ป่วยนอก กรณีอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉินในจังหวัด ให้ หน่วยบริการที่ให้บริการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการ สาธารณสุขจากหน่วยบริการประจาตามอัตราที่มีการเห็นชอบร่วมกันระหว่างหน่วยบริการที่ให้บริการ กับหน่วยบริการประจา โดยอาจให้ สปสช. เขต ร่วมบริหารจัดการ และอาจกันเงินค่าบริการผู้ป่วยนอก ทั่วไปไว้จำนวนหนึ่ง แบบบัญชีเสมือน ( Virtual account ) รายจังหวัดสำหรับการหักชำระบัญชี ระหว่างกัน ( Clearing house ) แทนหน่วยบริการประจำตามข้อเสนอของ สปสช. เขต ทั้งนี้ สำหรับ บางจังหวัดที่ไม่มีการกันเงินไว้สาหรับหักชาระบัญชีระหว่างกัน ( Clearing house ) หน่วยบริการ สามาร ถแจ้งความประสงค์ที่ยินยอมให้ สปสช. หักรายรับจากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อชาระค่าบริการผู้ป่วยนอกรับส่งต่อในจังหวัดและหรือค่าบริการผู้ป่วยนอกกรณีอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉิน ในจังหวัดแทนได้ ข้อ 16 กรณีค่าบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ สาหรับการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วย บริการประจาหรือหน่วยบริการรับส่งต่อ ร่วมกับหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านเภสัชกรรม อาจให้ สปสช. ทาหน้าที่หักชาระบัญชีระหว่างกัน ( Clearing house ) แทนหน่วยบริการประจา ้ หนา 38 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

เพื่อชาระค่ำบริการด้านยา และเวชภัณฑ์หรือบริการอื่นตามที่หน่วยบริการประจาตกลงกับหน่วยบริการ ที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านเภสัชกรรม ส่วนที่ 2 บริการผู้ป่วยในทั่วไป ข้อ 17 เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีบริการผู้ป่วยในทั่วไป ทุกรายการ รวมบริการตามนโยบายการรับบริการผู้ป่วยในทั้งในเขตพื้นที่และข้ามเขตพื้นที่โดยไม่ต้องใช้ ใบส่งตัว บริการตรวจยืนยันการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ผ่านกล้องและกรณีผ่าตัดมะเร็งลำไ ส้ใหญ่ ( CA Colon ) บริการกึ่งเฉียบพลัน ( Intermediate care ) ในหน่วยบริการ บริการรักษาโรคความดันเลือด ในปอดสูง ( Persistent pulmonary hypertension of the newborn : PPHN ) ด้วยก๊าซไนตริกออกไซด์ ( Inhaled nitric oxide : iNO ) บริการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง ( Continuous renal replacement therapy : CRRT ) สาหรับผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน ( Acute Kidney Injury : AKI ) ในระยะวิกฤต บริการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน ( Home Ward ) และบริการฉุกเฉินภาครัฐ ยกเว้นที่กำหนด ให้จ่ายจากประเภ ทบริการอื่น ข้อ 18 การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการผู้ป่วยในทั่วไป แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ 18.1 กันไว้สำหรับบริหารจัดการระดับประเทศ จำนวนไม่เกิน 100 ล้านบาท 18.2 ส่วนที่เหลือให้บริหารจัดการเป็นระดับเขตพื้นที่ โดยจัดสรรเงินเป็นวงเงิน แบบมีเพดานระดับเขตพื้นที่ ( Global budget ระดับเขตพื้นที่) (รวมทั้งผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติที่ลงทะเบียนกับกรมแพทย์ทหารเรือและกรมแพทย์ทหารอากาศ) เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อบริการ ผู้ป่วยในทั่วไปตามข้อ 17 สาหรับผู้มีสิทธิหลักประ กันสุขภาพแห่งชาติที่ลงทะเบียนกับหน่วยบริการ ประจำที่ตั้งอยู่ในแต่ละเขตพื้นที่ของ สปสช. เขต ข้อ 19 การกาหนดการบริหารเป็นวงเงินแบบมีเพดานระดับเขตพื้นที่ ( Global budget ระดับเขตพื้นที่) ของบริการผู้ป่วยในทั่วไป โดยใช้ข้อมูลผลการบริการตั้งแต่เดือนมกราค ม 2562 ถึงเดือนธันวาคม 2562 เป็นตัวแทนในการคาดการณ์ผลงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยให้ คำนวณตามแนวทาง ดังนี้ 19.1 คาดการณ์ผลการบริการจำนวนผลรวมน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) ที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยเป็นผลการบริการของผู้มีสิ ทธิหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติที่ลงทะเบียนกับหน่วยบริการประจาที่ตั้งอยู่ในแต่ละเขตพื้นที่ของ สปสช. เขต สำหรับ ผลงานบริการเด็กแรกเกิดให้ใช้ผลงานบริการตามที่หน่วยบริการที่ตั้งอยู่ในแต่ละเขตพื้นที่ของ สปสช. เขต ให้บริการทุกราย 19.2 กรณีการเข้ารับบริการ ผู้ป่วยในตามมาตรา 7 ที่เข้ารับบริการที่สถานบริการอื่น (หน่วยบริการนอกระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ยกเว้นกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติตามระบบบริการ ้ หนา 39 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่ ( Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP ) ตามจานวนผลรวมน้า หนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) ที่คาดการณ์คูณด้วยอัตรา 9 , 600 บาท ต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) 19.3 กรณีบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ให้คาดการณ์จานวนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น ตามหลักเกณฑ์การจ่ายในระบบบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่ ( Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP ) และคำนวณเป็นวงเงินของแต่ละเขตพื้นที่ 19.4 กรณีบริการฉุกเฉินภาครัฐ ให้คาดการณ์จานวนค่าใช้จ่ำยที่จะเกิดขึ้นจาก ส่วนต่างค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้งของบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่ ( Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP ) ภาคเอกชนกับโรงพยาบาลรัฐ และคำนวณเป็นวงเงินของแต่ละเขตพื้นที่ 19.5 กรณีสารองเตียงและกรณีใช้บริการนอก เขตพื้นที่ ให้ใช้ค่าผลรวมน้าหนัก สัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) ที่คาดการณ์คูณด้วยอัตรา 9 , 600 บาทต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) 19.6 กรณีเด็กแรกเกิดที่น้าหนักน้อยกว่า 1 , 500 กรัม หรือเด็กแรกเกิดที่ป่วย ตามเงื่อนไขที่ สปสช. กาหนด ให้ใช้ค่าผลรวมน้าหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) ที่คาดการณ์ คูณด้วยอัตรา 9 , 000 บาทต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) ทั้งนี้ หากเด็กแรกเกิดที่น้าหนัก น้อยกว่า 1 , 500 กรัม ได้รับหัตถการเพื่อการรักษาที่จาเป็นและราคาแพงตามเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนดเพิ่มเติม (รวมบริการรักษาโรคความดันเลือดในปอดสูง ( Persistent pulmonary hypertension of the newborn : PPHN ) ด้วยก๊าซไนตริกออกไซด์ ( Inhaled nitric oxide : iNO ) ให้ใช้ค่าผลรวมน้าหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) ที่คาดการณ์คูณด้วยอั ตรา 12 , 000 บาท ต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) 19.7 กรณีใช้บริการในเขตพื้นที่และบริการเด็กแรกเกิดปกติที่น้ำหนักตั้งแต่ 1 , 500 กรัมขึ้นไป ให้ใช้ค่าผลรวมน้าหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) ที่คาดการณ์คูณด้วยอัตรา จ่ายต่อน้าหนักสัมพัทธ์ที่เท่ากันทุกเขตพื้นที่ 19.8 ให้คำนวณการบริหารเป็นวงเงินแบบมีเพดานระดับเขตพื้นที่ ( Global budget ระดับเขตพื้นที่) แต่ละเขตพื้นที่ประจำปีทั้งปีตั้งแต่เริ่มต้นปีงบประมาณ โดยใช้ข้อมูล ที่เป็นปัจจุบัน และคำนวณจนหมดวงเงินตามข้อ 18 .2 ข้อ 20 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการผู้ป่วยในทั่วไปจากการบริหารเป็นวงเงิน แบบมีเพดานระดับเขตพื้นที่ ( Global budget ระดับเขตพื้นที่) ตามข้อ 18.2 ให้จ่ายด้วยระบบ การวินิจฉัยโรคร่วม ( Diagnostic Related Groups : DRGs ) รุ่นที่ 5 ตามเงื่ อนไขบริการและ ไม่เกินอัตรากลางที่กำหนด ดังนี้ 20.1 การใช้บริการนอกเขตพื้นที่ ให้จ่ายที่อัตรา 9 , 600 บาทต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) สาหรับหน่วยบริการทุกระดับโดยไม่ปรับลดค่าแรงสาหรับหน่วยบริการของรัฐ ้ หนา 40 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

และสาหรับหน่วยบริการที่มีที่ตั้งอยู่ในเ ขตพื้นที่ใกล้กับพื้นที่ สปสช. เขตอื่น ให้สามารถกาหนดอัตรา ตามข้อตกลงระหว่างหน่วยบริการได้แต่อัตราจ่ายต้องไม่เกิน 9 , 600 บาทต่อน้าหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) 20.2 การใช้บริการนอกเขตพื้นที่ กรณีการบริการผ่าตัดแบบไม่ค้างคืน ( One day surgery : ODS ) ตามรายการที่ สปสช. กาหนด ให้จ่ายตามค่าน้าหนักสัมพัทธ์ ( RW ) ที่อัตรา 9 , 600 บาท ต่อค่าน้าหนักสัมพัทธ์ ( RW ) 20.3 การใช้บริการนอกเขตพื้นที่ กรณีบริการรักษาผู้ป่วยมะเร็งลาไส้ใหญ่ด้วย ยาเคมีบาบัดสาหรับที่บ้าน ( Home Chemotherapy for CA Colon ) จ่ายให้เฉพาะหน่วยบริการ ที่มีศักยภาพการบริการต้องเป็นไปตามมาตรฐานบริการหรือแนวทางปฏิบัติการของวิชาชีพ ตามค่าน้าหนัก สัมพัทธ์ ( RW ) เสมือนกรณีการบริการผ่าตัดแบบไม่ค้างคืน ( One Day Surgery : ODS ) ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้เป็นไปตามที่ สปสช. กำหนด 20.4 การใช้บริการนอกเขตพื้นที่ กรณีการบริการผ่าตัดผ่านกล้อง ( Minimally Invasive Surgery : MIS ) ตามที่ สปสช. กำหนด ให้จ่ายตามค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) ตามแนวทาง และเงื่อนไข โดยคำแนะนาหรื อความเห็นของคณะอนุกรรมการกาหนด หลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน ที่อัตรา 9 , 600 บาทต่อน้าหนักสัมพัทธ์ ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) 20.5 การใช้บริการกรณีสารองเตียงตามเงื่อนไขที่ สปสช. กาหนด ให้เป็นไป ตามอัตราที่มีการเห็นชอบร่วมกันระหว่างสถานบ ริการอื่นกับ สปสช. โดยกาหนดอัตราจ่ายไม่เกิน 15 , 000 บาท ต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) ทั้งนี้ ในบริการเดียวกันอัตรา ต้องไม่แตกต่างกัน 20.6 การใช้บริการกรณีมาตรา 7 ที่เข้ารับบริการที่สถานบริการอื่น ให้เป็นไป ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุ ขภาพแห่งชาติกาหนด ทั้งนี้ กรณีที่มีเหตุสมควร ต้องมีข้อบ่งชี้ ทางการแพทย์ซึ่งเกินศักยภาพหน่วยบริการประจำหรือหน่วยบริการที่ทำการรักษาและจำเป็น ต้องส่งต่อไปยังสถานบริการอื่นที่หน่วยบริการประจาหรือ สปสช. และผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติเห็นชอบร่วมกั นในการเข้ารับบริการที่สถานบริการอื่นโดยหน่วยบริการประจาหรือ สปสช. ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขตามอัตราที่ตกลงกับสถานบริการอื่น หรือตามจานวน ที่จ่ายจริง และให้หน่วยบริการประจาได้รับการชดเชยค่าใช้จ่ายเสมือนหน่วยบริการประจำให้การรักษาเอง จากการบริหารเป็นวงเงินแบบมีเพดานระดับเขตพื้นที่ ( Global budget ระดับเขตพื้นที่) 20.7 การใช้บริการรักษาผู้ป่วยโรคนิ่วเพื่อนานิ่วออกจากระบบทางเดินปัสสาวะ ด้วยเครื่องสลายนิ่วทั้งกรณีผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่ สปสช. กำหนด ้ หนา 41 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

20.8 กรณีเด็กแรกเกิดที่น้าหนักน้อยกว่า 1 , 500 กรัม หรือเด็กแรกเกิดที่ป่วย ตามเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด ให้จ่ายในอัตรา 9 , 000 บาทต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) ทั้งนี้ หากได้รับหัตถการเพื่อการรักษาที่จาเป็นและราคาแพงตามเงื่อ นไขที่ สปสช. กาหนด เพิ่มเติม ให้ใช้ค่าผลรวมของน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) ที่คาดการณ์คูณด้วยอัตรา 12 , 000 บาทต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) 20.9 การใช้บริการรักษาโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินปกติ ( Outlier Reimbursement Schedule : ORS ) เพื่อสะท้อนต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ามาตรฐานการจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมของระบบ การวินิจฉัยโรคร่วม ( Diagnostic Related Groups : DRGs ) รุ่นที่ 5 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 20.10 การใช้บริการผู้ป่วยในอื่น ๆ 20.10.1 การใช้บริการในเขตพื้นที่ ให้จ่ายเบื้องต้นที่อัตรา 8 , 350 บาท ต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) 20.10.2 การใช้บริการในเขตพื้นที่ กรณีการบริการผ่าตัดแบบไม่ค้างคืน ( One day surgery : ODS ) ตามรายการที่ สปสช. กาหนด ให้จ่ายตามค่าน้าหนักสัมพัทธ์ ( RW ) เบื้องต้นที่อัตรา 8 , 350 บาทต่อค่าน้าหนักสัมพัทธ์ ( RW ) 20.10.3 การใช้บริการในเขตพื้นที่ กรณีบริการรักษาผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยยาเคมีบาบัดสาหรับที่บ้าน ( Home Chemotherapy for CA Colon ) จ่ายให้เฉพาะหน่วยบ ริการ ที่มีศักยภาพการบริการต้องเป็นไปตามมาตรฐานบริการหรือแนวทางปฏิบัติการของวิชาชีพ ตามค่าน้าหนักสัมพัทธ์ ( RW ) เบื้องต้นที่อัตรา 8 , 350 บาทต่อค่าน้าหนักสัมพัทธ์ ( RW ) 20.10.4 การใช้บริการในเขตพื้นที่ กรณีการบริการผ่าตัดผ่านกล้อง ( Minimally Invas ive Surgery : MIS ) ตามรายการที่ สปสช. กำหนด ให้จ่ายตามค่าน้าหนัก สัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) ตามแนวทางและเงื่อนไขโดยคำแนะนำหรือความเห็นของ คณะอนุกรรมการกาหนดหลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน ให้จ่ายเบื้องต้นที่อัตรา 8 , 350 บาทต่อน้ำ หนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) 20.10.5 การใช้บริการในเขตพื้นที่ กรณีบริการดูแลแบบประคับประคอง สำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 20.10.6 การใช้บริการในเขตพื้นที่ กรณีบริการกึ่งเฉียบ พลัน ( Intermediate care ) ในหน่วยบริการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 20.10.7 การใช้บริการในเขตพื้นที่ กรณีบริการบริการบาบัดทดแทนไต แบบต่อเนื่องสาหรับผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่อยู่ในภาวะวิกฤต ให้จ่ายในอัตราไม่เกิน 15 , 000 บาท สาหรับวันแรกที่เข้ารับบริการ ตั้งแต่วันที่สองเป็นต้นไป ให้จ่ายในอัตราไม่เกิน 10 , 000 บาทต่อวัน ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้เป็นไปตามที่ สปสช. กำหนด ้ หนา 42 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

20.10.8 การใช้บริการในเขตพื้นที่ กรณีบริการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ( Home Wa rd ) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 20.10.9 การใช้บริการในเขตพื้นที่อื่นที่จาเป็นเพื่อให้ผู้มีสิทธิหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติสามารถเข้ารับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อน ไขที่ สปสช. กำหนด โดยคำแนะนำหรือความเห็นของ คณะอนุกรรมการกาหนดหลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน 20.10.10 ในระหว่างปีให้ สปสช. สามารถปรับอัตราจ่ายเพิ่มจากอัตราการจ่าย ตามข้อ 20.10.1 ถึง ข้อ 20.10.9 ได้ตามประมาณผลงานบริการที่จะเกิดขึ้ นโดยไม่ถือเป็น อัตราจ่ายเบื้องต้น 20.10.11 หากจ่ายที่อัตรา 8 , 350 บาทต่อน้าหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) ไปจนถึงการบริหารเป็นวงเงินแบบมีเพดานระดับเขตพื้นที่ ( Global budget ระดับเขต พื้นที่) มีวงเงินไม่เพียงพอที่จะจ่ายที่อัตรา 8 , 350 บาทต่อน้าหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) ให้ สปสช. จ่ายเงินที่กันไว้สาหรับบริหารจัดการระดับประเทศตามข้อ 18.1 เพิ่มเติมในอัตราจ่ายเป็น 8 , 350 บาทต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) หากเงินตามข้อ 18.1 มีไม่เพียงพอ ให้จ่ายเพิ่มเติมเท่าจำ นวนที่มี ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด โดยคาแนะนาหรือความเห็นของคณะอนุกรรมการกาหนดหลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหาร จัดการกองทุน 20.11 ให้ สปสช. เขต สามารถกาหนดให้มีการตรวจสอบการเรียกเก็บค่าบริการ ก่อนการจ่ายค่า บริการให้หน่วยบริการ ( Pre - audit ) ในบางบริการที่พบว่าในปีที่ผ่านมามีการเรียกเก็บ ค่าบริการมีแนวโน้มไม่เป็นไปตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ หรือตามแนวทางเวชปฏิบัติ หรือคุณภาพการรักษา หรือเงื่อนไขบริการที่กาหนดในการจ่ายค่าใช้จ่ายโดยต้องกาหนดเกณฑ์การตรวจสอบการเ รียกเก็บ ค่าบริการก่อนการจ่ายค่าบริการให้หน่วยบริการ ( Pre - audit ) โดยคำแนะนำหรือความเห็นจาก อปสข. ตามบริบทซึ่งเป็นปัญหาในพื้นที่และให้ชะลอการจ่ายจนกว่าจะมีผลการตรวจสอบการเรียกเก็บค่าบริการ ก่อนการจ่ายค่าบริการให้หน่วยบริการ ( Pre - audit ) และไม่จ่ายค่าบริ การกรณีผลการตรวจสอบ การเรียกเก็บค่าบริการก่อนการจ่ายค่าบริการให้หน่วยบริการ ( Pre - audit ) ไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด ข้อ 21 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการผู้ป่วยในทั่วไปที่กันไว้สาหรับบริหารจัดการ ระดับประเทศตามข้อ 18.1 ให้จ่ายตามข้อ 20.10.11 ข้อ 22 จ่ายค่าใช้จ่ายตามข้อมูลที่ส่งมาตามรอบการบริหารการจ่ายของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยให้จ่ายตามข้อมูลที่ส่งมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ข้อ 23 การบริหารการจ่ายค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ลงทะเบียน กับกรมแพทย์ทหารเ รือและกรมแพทย์ทหารอากาศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่ สปสช. กำหนด ้ หนา 43 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 24 การบริหารจัดการเพื่อให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงบริการสาธารณสุขมากขึ้น เช่น ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เป็นผู้ต้องขัง ผู้ไร้บ้าน ให้เป็นไปตามหลักเ กณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด ข้อ 25 ให้ สปสช. กากับ ติดตาม ผลงานบริการที่เกิดขึ้นจริงเปรียบเทียบกับการคาดการณ์ ที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และการตรวจสอบการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย เพื่อบริการสาธารณสุข ( Medical audit ) และให้มีกำรเสนอข้อมูลการใช้บริการผู้ป่วยในและ การตรวจสอบการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขให้ทราบทั่วกัน ข้อ 26 ให้ สปสช. เขต จัดให้มีกลไกที่หน่วยบริการทุกสังกัดมาร่วมกันกากับ ติดตาม ตรวจสอบ พัฒนาระบบการจัดบริการและพัฒนาให้มีต้นทุนบริการที่เหมาะสม โด ยคำนึงถึง ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร คุณภาพผลงานบริการ และการเข้าถึงบริการของผู้มีสิทธิหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ ข้อ 27 ให้หน่วยบริการทุกแห่งส่งข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยในให้ สปสช. ด้วยระบบบันทึกข้อมูล และประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ ( e - Claim ) หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์อื่นที่มี การตกลงกันระหว่าง สปสช. กับหน่วยบริการ เพื่อประมวลข้อมูลตามระบบการวินิจฉัยโรคร่วม ( Diagnostic Related Groups : DRGs ) รายละเอียดตามประกาศสานักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่า ยค่าใช้จ่ายสำหรับบริการผู้ป่วยในทั่วไป ข้อ 28 การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีผู้ป่วยในรับส่งต่อให้จ่ายจากการบริหาร เป็นวงเงินแบบมีเพดานระดับเขตพื้นที่ ( Global budget ระดับเขตพื้นที่) แต่ละเขตพื้นที่ที่ผู้มีสิทธิ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำ ตามแนวทางข้อ 20 ส่วนที่ 3 บริการกรณีเฉพาะ ข้อ 29 เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขสาหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ บริหารจัดการเป็นการเฉพำะภาพรวมระดับประเทศภายใต้หลักการ “ เป็นบริการที่การจ่ายค่าใช้จ่าย ในระบบปกติจะทาให้เกิดผลกระทบที่สาคัญต่อผู้รับบริการไม่สามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ และ ผู้ให้บริการต้องรับภาระค่าใช้จ่ายสูง รวมทั้งความเป็นธรรมและประสิทธิภาพของระบบหลักประกัน สุขภาพแห่งชา ติ ” และตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8/2559 วันที่ 1 สิงหาคม 2559 กาหนดหลักเกณฑ์และวงเงินที่จะบริหารแบบ “ บริการกรณีเฉพาะ ” ไม่เกิน ร้อยละ 12 ของงบค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้ 29.1 การรวมความเสี่ยง ( Risk pooling ) เพื่อประกันการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง และหรือมีผู้ป่วยไม่มาก ้ หนา 44 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

29.2 ประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากร การต่อรองราคาหรือการจัดซื้อร่วม ( Central bargaining or central procurement ) 29.3 ประกันการได้รับบริการบางรายการที่มีความจำเป็น เช่น บริการเจ็บป่วยฉุกเฉิน นอกเครือข่าย บริการที่เป็นนโยบายสำคัญ 29.4 การคำนึงถึงความแตกต่างของปัญหาระดับพื้นที่ ข้อ 30 บริการกรณีเฉพาะในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีจำนวน 5 กลุ่ม ดังนี้ 30.1 กรณีปกป้ องการได้รับบริการนอกเครือข่ายกรณีจำเป็น 30.2 กรณีเพิ่มความมั่นใจเรื่องคุณภาพบริการ 30.3 กรณีเพื่อลดความเสี่ยงด้านการเงินของหน่วยบริการ 30.4 กรณีจำเป็นต้องกากับการใช้บริการอย่างใกล้ชิด 30.5 กรณีที่ต้องบริหารแบบเฉพาะโรค ข้อ 31 แนวทางและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขโดยภาพรวม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กาหนด และให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการงบประมาณผ่านกลไกคณะทางานภายใต้คณะอนุกรรมการกาหนดหลักเกณฑ์ การดาเนินงานและการบริหาร จัดการกองทุน พัฒนาและทบทวนรายการและอัตราจ่ายที่เหมาะสม และกาหนดให้รายการที่มีการจ่ายตามรายการบริการ ( Fee Schedule ) มีระบบการพิสูจน์ตัวตน และการตรวจสอบก่อนจ่าย ข้อ 32 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีปกป้องการได้รับบริการ นอกเครื อข่ายกรณีจำเป็น เป็นการจ่ายเพิ่มเติมสำหรับ 32.1 การบริการผู้ป่วยนอกกรณีอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินข้ามจังหวัด จ่ายด้วยระบบคะแนน ( Point system ) ของราคาเรียกเก็บหรือราคาที่ สปสช. กำหนด 32.2 การใช้บริการผู้ป่วยนอกกรณีมาตรา 7 ที่สถานบริการอื่น ให้เป็นไป ตามแนวทาง เงื่อนไข และอัตราที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด 32.3 การบริการผู้ป่วยนอกรับส่งต่อข้ามจังหวัด และบริการผู้ป่วยนอกรับส่งต่อ ภายในจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ สปสช. เขต 1 ถึงเขต 12 เฉพาะกรณีจาเป็นต้องส่งต่อจากโรงพยาบาลทั่ วไป โรงพยาบาลศูนย์ไปรับบริการที่เครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ( University Hospital Network : UHosNet ) ที่ตั้งอยู่ในจังหวัด ให้จ่ายแบบร่วมจ่ายกับหน่วย บริการประจา โดยหน่วยบริการประจาจ่ายตามจริงไม่เกินเพดานที่ สปสช. กาหนดต่อครั้งบริการ ส่วนเกินเพดานที่กาหนดจ่ายจากกองทุนกลาง และให้ สปสช. ทาหน้าที่ในการหักชาระบัญชีระหว่างกัน ( Clearing house ) แทนห น่วยบริการประจำ ทั้งนี้ อาจมีการพัฒนาระบบบริหารจัดการกรณี หน่วยบริการมีการให้บริการด้วยหัตถการที่เทียบเคียงกับรายการที่ สปสช. กาหนดราคาการจ่าย ้ หนา 45 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

ตามรายการบริการ ( Fee schedule ) ไว้แล้ว ให้จ่ายค่าใช้จ่ายตามรายการบริการ ( Fee schedule ) ได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 32.4 กรณีผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไปรับบริการในหน่วยบริการอื่น กรณีที่มีเหตุสมควร นอกจากการใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการประจาของตนหรือหน่วย บริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง จ่า ยให้หน่วยบริการด้วยระบบคะแนน ( Point system ) ของราคาตามรายการที่กาหนดการจ่ายตามรายการบริการ ( Fee schedule ) หรือตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 32.5 ค่าพาหนะรับส่งต่อระหว่างหน่วยบริการ สำหรับการส่งต่อผู้ป่วย ที่จาเป็นต้องไปรับบริการที่หน่วยบริการอื่น ให้จ่ายตามค่าใช้จ่ายจริงแต่ไม่เกินราคากลางที่กาหนด ในแต่ละประเภทพาหนะและระยะทาง 32.6 ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการ ประจำ (ยกเว้นเด็กแรกเกิด) เมื่อเข้ารับบริการครั้งแรก จนกว่าจะปรากฏสิทธิให้หน่วยบริการ ที่ให้บริการแก่บุคคลดังกล่าวมีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการบริการโดยอัตราการจ่ายสาหรับบริการผู้ป่วยใน ให้จ่ายตามระบบการวินิจฉัยโรคร่วม ( Diagnostic Related Groups : DRGs ) ด้วยอัตราจ่าย ต่อน้าหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) ตามเงื่อนไขบริการที่กาหนด และอัตราการจ่ายสาหรับบริการ ผู้ป่วยนอกให้จ่ายด้วยระบบคะแนน ( Point system ) ของราคาเรียกเก็บหรือราคาที่กาหนด 32.7 การบริการกรณีเฉพาะอื่น ๆ เช่น ผู้รับบริการสิทธิประกันสังคมส่งเงินสมทบ ไม่ครบ 5 เดือนมาใช้บริการคลอด หรือผู้รับบริการสิทธิประกันสังคมส่งเงินสมทบไม่ครบ 3 เดือน มาใช้บริการทางการแพทย์ อัตราการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขสาหรับบริการผู้ป่วยในให้จ่าย ตามระบบการวินิจฉัยโรคร่วม ( Diagnostic Related Groups : DRGs ) ด้วยอัตราจ่ายต่อน้าหนัก สัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) ตามเงื่อนไขบริการที่กาหนด และอัตราการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการ สาธารณสุขสำหรับบริการผู้ป่วยนอกให้จ่ายด้วยระบบคะแนน ( Point system ) ของราคาเรียกเก็บหรือ ราคาที่กำหนด ข้อ 33 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเ พื่อบริการสาธารณสุข กรณีเพิ่มความมั่นใจเรื่อง คุณภาพบริการ เป็นการจ่ายเพิ่มเติมสำหรับ 33.1 โ ร คห ลอด เลือด สมองตีบห รืออุด ตัน ( Stroke fast track ) แ ละ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดที่มีการยกขึ้นของคลื่นไฟฟ้าหัวใจส่วน ST ( ST - elevated myocardia l infarction fast track หรือ STEMI fast track ) จัดให้มีการบริหารยาละลายลิ่มเลือด เพื่อการรักษาเร่งด่วนในโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ( Stroke fast track ) ลดภาวะทุพพลภาพ ของผู้ป่วย ทาให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาดารงชีวิตได้ตามปกติหรือใกล้เคียงปกติ และ การรักษาเร่งด่วน ในโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดที่มีการยกขึ้นของคลื่นไฟฟ้าหัวใจส่วน ST ( STEMI fast track ) เพื่อลดอัตราตายของผู้ป่วยจึงมีการสนับสนุนให้หน่วยบริการให้การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด ้ หนา 46 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

ในเวลาที่กาหนดตามแผนการรักษา ทั้งนี้ ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 33.2 การให้เคมีบำบัดหรือฮอร์โมนหรือรังสีรักษา สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ทั้งบริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน รวมบริการผู้ป่วยนอกสาหรับผู้ป่วยมะเร็งกรณีที่มีเหตุสมควร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีกำร และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 33.3 การให้บริการรักษาผ่าตัดต้อกระจกพร้อมเลนส์แก้วตาเทียม จ่ายเฉพาะ หน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการที่รับการส่งต่อที่มีศักยภาพการให้บริการผ่าตัดต้อกระจก ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 33.3.1 เป็นการใช้บริการภายในเขตพื้นที่เป็นหลัก และหากจาเป็นต้อง จัดหาหน่วยบริการนอกเขตพื้นที่มาดาเนินการต้องเป็นไปตามข้อตกลงระหว่าง สปสช. เขต และ หน่วยบริการ โดยคำแนะนำหรือความเห็นจาก อปสข. ตามบริบทซึ่งเป็นปัญหาในพื้นที่ 33.3.2 สปสช. กาหนดเป็นเป้าหมายระดับเขตพื้นที่เบื้องต้นตั้งแต่ต้นปี และให้ สปสช. เขต จัดให้มีกลไกที่หน่วยบริการทุกสังกัดมาร่วมกันวางแผนการให้บริการเป็นไป ตามเป้าหมายที่กาหนด รวมทั้งกากับ ติดตาม ตรวจสอบการให้บริการ พัฒนาคุณภาพการบริการ และสนับสนุนระบบการคัดกรองเพื่อวางแผนการจัดบริการ ทั้งนี้ สปสช. จะปรับเกลี่ยเป้าหมาย ภายหลังดาเนินการไป 6 เดือน 33.3.3 การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข เป็นดังนี้ (1) การผ่าตัดในรายที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สาหรับการผ่าตัดผู้ป่วย ระดับสายตามองไ ม่เห็น และภาวะสายตาเลือนรางรุนแรง ( Blinding & Severe low vision ) จ่ายอัตราข้างละ 7 , 000 บาท สำหรับผ่าตัดผู้ป่วยระดับสายตาอื่น ๆ ข้างละ 5 , 000 บาท และสำหรับการผ่าตัดที่มีภาวะแทรกซ้อน จ่ายอัตราข้างละ 9 , 000 บาท (2) ค่าเลนส์แก้วตาเทียม กรณีเลนส์พับได้อัตราข้างละ 2 , 800 บาท และเลนส์แข็งอัตราข้างละ 700 บาท เฉพาะเลนส์แก้วตาเทียมตามประกาศสำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยรายการอุปกรณ์ อวัยวะเทียม และข้อบ่งชี้ในการบำบัดรักษาโรค 33.4 บริการทันตกรรมจัดฟันและฝึกพูด สำหรับผู้ป่ว ยที่ผ่าตัดเพื่อรักษาปากแหว่ง เพดานโหว่ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 33.5 บริการสาธารณสุขนอกเวลาราชการกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง กรณีที่มี เหตุสมควร และกรณีเจ็บป่วยทั่วไปที่เป็นความจาเป็นของผู้มีสิทธิหลักประกั นสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด ข้อ 34 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีเพื่อลดความเสี่ยง ด้านการเงินของหน่วยบริการ เป็นการจ่ายเพิ่มเติมสำหรับ ้ หนา 47 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

34.1 รายการอุปกรณ์และอวัยวะเทียมในการบาบัดรักษาโรค ( Instruments ) จ่ายเพิ่มเติมตามระบบคะแนนภายใต้การบริหารวงเงินแบบมีเพดาน ( Point system within Global budget ) สาหรับบริการผู้ป่วยนอกและบริการผู้ป่วยในที่หน่วยบริการใช้หรือพิจารณาเป็นกรณี หรือ ขอทำความตกลง กับ สปสช. เป็นการเฉพาะตามความจำเป็น รวมชุดอุปกรณ์รากฟันเทียม อุปกรณ์ประสาทหูเทียม และรวมกรณีรายการในบัญชีนวัตกรรมไทยและหรือสิ่งประดิษฐ์ไทย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 34.1.1 จ่ายตามราคาที่หน่วยบริการซื้อหรือจัดหาได้จริงบวกค่าดาเนินการ ตามควรแก่กรณีและไม่เกินเพดานราคาชดเชยของรายการอุปกรณ์และอวัยวะเทียมในการบำบัดรักษาโรค ตามที่ สปสช. ประกาศกำหนด ซึ่งเป็นราคาชดเชยที่กำหนดภายใต้เงื่อนไขเกณฑ์คุณภาพ ของอุปกรณ์และอวัยวะเทียมนั้น ๆ 34.1.2 กร ณีรำยการ ที่กำห น ด อยู่ใน แ ผน แ ละ ว ง เงิน การ จั ด หำ ให้หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นไปตามหมวด 10 34.1.3 การจ่ายสำหรับการบริการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีผ่าน สายสวน ( Percutaneous Coronary Intervention : PCI ) และการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดด้ว ย วิธีการผ่าตัด (ทั้งค่าบริการผู้ป่วยในทั่วไป และรายการอุปกรณ์และอวัยวะเทียมในการบาบัดรักษาโรค) จ่ายให้หน่วยบริการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กาหนด ทั้งนี้ กรณีการรักษา โรคหัวใจและหลอดเลือดที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน ซึ่งการส่งต่อผู้ป่ว ยอาจทาให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย ให้หน่วยบริการที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์การขึ้นทะเบียนรับส่งต่อเฉพาะด้านการทาหัตถการรักษาโรคหลอดเลือด โคโรนารีผ่านสายสวนและหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด ด้วยวิธีการผ่าตัดให้บริการผู้ป่วยได้โดยขอทำความตกลงกับ สปสช. เป็นรายกรณีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 34.1.4 การจ่ายสำหรับบริการผ่าตัดข้อเข่าเทียม (ทั้งค่าบริการผู้ป่วย ในทั่วไปและรายการอุปกรณ์และอวัยวะเทียมในการบำบัดรักษาโรค) ให้จ่ายเฉพาะหน่วยบริการ ที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการรับส่งต่อที่มีศักยภาพการให้บริการผ่าตัดข้อเข่าเทียม ทั้งนี้ ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 34.1.5 การจ่ายสาหรับบริการผ่าตัดใส่รากฟันเทียม (ทั้งค่าบริการผ่าตัด แบบผู้ ป่วยนอก ค่าบารุงรักษา และรายการอุปกรณ์และอวัยวะเทียมในการบำบัดรักษาโรค) ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 34.2 การรักษาด้วยออกซิเจนความกดดันสูง ( Hyperbaric oxygen therapy ) เฉพาะการรักษาโรคที่เกิดจากการดาน้า ( Decompress ion sickness ) สาหรับบริการผู้ป่วยนอกและ ผู้ป่วยใน จ่ายตามค่าใช้จ่ายจริงไม่เกินราคาที่กำหนด ้ หนา 48 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

34.3 การจัดหากระจกตาสาหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเป็นการจัดหาและ บริการกระจกตาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้การบริหารจัดการของศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย จ่ายให้หน่ วยบริการที่ดาเนินการผ่าตัดและหน่วยบริการจ่ายต่อให้ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทยในอัตราที่ตกลง ระหว่างกัน 34.4 การผ่าตัดปลูกถ่ายเปลี่ยนอวัยวะ จ่ายตามราคาที่กำหนด สำหรับ 34.4.1 การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ และการปลูกถ่ายตับในเด็กกรณีท่อน้ำดีตีบตัน แต่กาเนิด หรือตับวายจากสาเหตุอื่น ๆ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการให้บริการสำหรับผู้บริจาคและผู้รับบริจาค โดยเป็นค่าเตรียมการและค่าผ่าตัดนำหัวใจและตับมาจากผู้บริจาค ค่าเตรียมการและค่าผ่าตัด ผู้รับบริจาค ค่าใช้จ่ายกรณีมีภาวะแทรกซ้อน รวมถึงค่ายากดภูมิคุ้มกันหลังการผ่าตั ดและค่าใช้จ่ายในการ ติดตามผลภายหลังการผ่าตัดทั้งผู้ป่วยรายเก่าและรายใหม่ ตามข้อกาหนดของสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะ แห่งประเทศไทย 34.4.2 การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกาเนิดเม็ดโลหิต ( Hematopoietic stem cell transplantation ) สาหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่ อมน้าเหลือง ผู้ป่วยธาลัสซีเมีย และโรคอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ทั้งนี้ ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 34.4.3 การปลูกถ่ายตับสำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะกลางและระยะสุดท้ำย ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการบริการสาหรับผู้บริจาค และผู้รับบริจาค โดยเป็นค่าเตรียมการและค่าผ่าตัด นาตับมาจากผู้บริจาค ค่าเตรียมการและค่าผ่าตัดผู้รับบริจาค ค่าใช้จ่ายกรณีมีภาวะแทรกซ้อน รวมถึง ค่ายากดภูมิคุ้มกันหลังการผ่าตัดและค่าใช้จ่ายในการติดตามผลภายหลังการผ่าตัด ทั้งนี้ ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขใที่ สปสช. กำหนด ข้อ 35 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีที่จาเป็นต้องกากับการใช้บริการ อย่างใกล้ชิด เป็นการจ่ำยเพิ่มเติมสำหรับ 35.1 ค่าสารเมทาโดน ( Methadone ) สำหรับการให้สารเมทาโดนระยะยาว ( Methadone maintenance treatment : MMT ) ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่ติดสารเสพติดในกลุ่มฝิ่น และอนุพันธ์ของฝิ่นที่สมัครใจโดยจ่ายตามค่าใช้จ่ายจริงแต่ไม่เกินราคาที่กำหนด 35.2 การจ่ายกรณียาจำเป็นและยาที่มีปัญหาการเข้าถึง ได้แก่ ยาที่มี การประกาศใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ ( Compulsory Licensing : CL ) ยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ เช่น ยาบัญชี จ (2) ซึ่งครอบคลุมถึงส่วนประกอบของเลือดที่ให้แก่ผู้ป่วยโรคเลือดออกง่าย ( Hem ophilia ) และโรคเลือดออกง่ายวอนวิลลิแบรนด์ ชนิดรุนแรงมาก ( Type 3 von Willebrand ’ s disease ) ยาจาเป็นและยาที่มีปัญหาการเข้าถึงอื่น ๆ เช่น ยากาพร้า ยาต้านพิษ สาหรับรายการ ที่กาหนดอยู่ในแผนและวงเงินการจัดหา ให้หลักเกณฑ์การจ่ายเป็นไปตามหมวด 10 หรือจ่ายให้ หน่วยบริการเป็นค่าชดเชยค่ายาและหรือค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยเพื่อใช้ยานั้น ๆ ้ หนา 49 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

และหรือค่าบริการให้คาปรึกษา วินิจฉัย และกากับติดตามการใช้ยาต้านพิษและเซรุ่มแก้พิษงู ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด ข้อ 36 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีโรคที่ต้องบริหารแบบเฉพาะโรค เป็นการจ่ายเพิ่มเติมสำหรับ 36.1 การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการ ดูแลผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงอย่างต่อเนื่อง 36.2 การดูแลผู้ป่วยวัณโรครวมทั้งการรักษาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง ในกลุ่มเป้าหมายที่ สปสช. กาหนด ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564 ( National Tuberculosis Control Programme Guideline, Thailand 2021 : NTP 2021 ) และที่แก้ไขเพิ่มเติม ครอบคลุมค่ายา ค่าชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ การติดตามดูแล การรักษาต่อเนื่อง และค่าบริการดูแลรักษาและติดตามการรักษาผู้ป่วย โดยจ่ายเป็นค่าชดเชยค่ายา และค่าบริการต่าง ๆ จ่ายตามผลงานบริการ สาหรับรายการที่กาหนดอยู่ในแผนและวงเงินการจั ดหา ให้หลักเกณฑ์การจ่ายเป็นไปตามหมวด 10 36.3 การดูแลแบบประคับประคอง เพื่อให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้รับการดูแลที่บ้าน อย่างเหมาะสม สามารถเผชิญกับความเจ็บป่วยที่คุกคาม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีจนวาระสุดท้าย โดยเป็นการดูแลร่วมกันของหน่วยบริการ ครอบครัว ผู้ดูแล และชุมชน ตามแนวทางการดูแลผู้ป่วย แบบประคับประคอง 36.4 การดูแลผู้ป่วยโรคหายาก สาหรับโรคที่มีความผิดปกติของสารโมเลกุลเล็ก ( Disorders of small molecules ) เป็นค่าใช้จ่ายครอบคลุม การตรวจวินิจฉัยกลุ่มเสี่ยงตามเงื่อนไข การตรวจยืนยัน การรักษาพ ยาบาล การติดตามผลการรักษา ค่าพาหนะส่งต่อและส่งกลับไประหว่าง หน่วยบริการและชุมชนที่มีการจัดระบบเป็นการเฉพาะ โดยจ่ายแบบเหมาจ่ายและหรือตามรายการบริการ ให้กับหน่วยบริการที่มีศักยภาพในการให้บริการ ข้อ 37 ในระหว่างปีงบประมาณ กรณีมีความจาเป็นเพื่อให้ผู้มีสิทธิ หลักประกันสุขภาพ แห่งชาติสามารถเข้ารับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ อาจกาหนดรายการบริการ และการจ่ายค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด โดยคาแนะนาหรือความเห็นของคณะอนุกรรมการกาหนดหลักเก ณฑ์การดาเนินงานและการบริหาร จัดการกองทุน ข้อ 38 ให้ สปสช. สามารถปรับเกลี่ยเงินระหว่างประเภทบริการข้อ 32 ถึงข้อ 36 ได้ ตามผลงานบริการที่เกิดขึ้นจริง ส่วนที่ 4 บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ ้ หนา 50 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 39 เป็นค่าใช้จ่ายบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ สาหรับผู้มีสิทธิหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ โดยครอบคลุมบริการฟื้นฟูสมรรถภาพสาหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู สมรรถภาพด้านการแพทย์ คนพิการ ผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ ข้ อ 40 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ จานวนเงิน 17.2300 บาทต่อผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่ สปสช. กำหนด ดังนี้ 40.1 จานวนไม่เกิน 8.0000 บาทต่อผู้มีสิทธิ เป็นค่าใช้จ่ายสาหรับดาเนินการ ฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ในรูปแบบความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามประกาศ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการ กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ ระดับจังหวัด ที่ออกตามความในมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 40.2 ส่วนที่เหลือ จ่ายให้กับหน่วยบริการโดยครอบคลุม 40.2.1 ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ สำหรับผู้ป่วย ที่จาเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภำพด้านการแพทย์ คนพิการ ผู้สูงอายุที่จาเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู สมรรถภาพด้านการแพทย์ โดยหน่วยบริการจัดบริการแบบผู้ป่วยนอกของหน่วยบริการ รวมบริการ ในคลินิกกายภาพบำบัด สำหรับกรณีผู้ป่วยในรวมอยู่ในรายการค่าบริการผู้ป่วยในทั่วไป ดังนี้ (1) บริ การ ฟื้น ฟู สมร ร ถภาพด้านการแ พทย์ระ ยะกลาง สาหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ( Stroke ) หรือกรณีสมองบาดเจ็บ ( Traumatic brain injury ) หรือการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ( Spinal cord injury ) หรือกระดูกสะโพกหัก ( Fragility fracture hip ) บริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการเห็น การสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว และ บริการฝึกทักษะการดำรงชีวิตอิสระสำหรับคนพิการ จ่ายตามรายการบริการ ( Fee schedule ) ให้กับหน่วยบริการ (2) บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์อื่น ๆ จ่ายตามระบบ คะแนนภายใต้การบริหารวงเงินแบบมีเพดาน ( Point system within Global budget ) ของรายการบริการ ( Fee schedule ) ให้กับหน่วยบริการ 40.2.2 กรณีพื้นที่ที่ไม่มีการดาเนินการตาม 40.1 ให้จ่ายเพิ่มเติมให้แก่ หน่วยบริการ สำหรับค่าอุปกรณ์เครื่องช่วยสำหรับคนพิการ ตามรายการที่ สปสช. กาหนดในประกาศ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการ กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ ระดับจังหวัด ที่ออกตามความในมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 สาหรับค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางการเห็น การสร้างความคุ้นเคยกับ สภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว และค่าบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ที่ให้บริการในชุมชน ้ หนา 51 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

40.3 กรณีหากจ่ายค่าบริการตามข้อ 40.1 แล้วมีเงินเหลือให้ สปสช. จัดสรร เป็นค่าบริการตามข้อ 40.2 ส่วนที่ 5 บริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ข้อ 41 เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสาหรับบริการการแพทย์แผนไทย สาหรับผู้มีสิทธิหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวมบริการฝังเข็มหรือบริการฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้า สาหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง ( Stroke ) รายใหม่ ที่ต้องฟื้นฟูสมรรถภาพทางการ แพทย์ ในระยะกลาง การใช้น้ามันกัญชาสาหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง พาร์กินสัน ไมเกรน และสารสกัดกัญชา สำหรับผู้ป่วยโรคลมชัก และมะเร็งระยะสุดท้าย ยาสมุนไพรที่มีส่วนผสมของกัญชา และยาสมุนไพรอื่น ๆ ข้อ 42 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการการแพทย์แผนไทยและบริการฝังเข็ม หรือบริการฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้า จำนวน 19.1600 บาทต่อผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่ สปสช. กำหนด ดังนี้ 42.1 จำนวนไม่น้อยก ว่า 16.7100 บาทต่อผู้มีสิทธิ จ่ายแบบเหมาจ่าย ตามจานวนผลงานบริการแพทย์แผนไทย กรณียาสมุนไพร จ่ายตามรายการบริการ ( Fee Schedule ) ตามระบบคะแนนภายใต้การบริหารวงเงินแบบมีเพดาน ( Point system within Global budget ) ให้กับหน่วยบริการ โดยเน้นกลุ่มที่มี ประสิทธิผลชัดเจนและกลุ่มที่ต้องสนับสนุนให้ใช้ทดแทนยา แผนปัจจุบัน 42.2 จานวนไม่เกิน 1.6000 บาทต่อผู้มีสิทธิ สาหรับบริการฝังเข็มหรือบริการ ฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้าสำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง ( Stroke ) รายใหม่ที่ต้องฟื้นฟู สมรรถภาพทางการแพทย์ใน ระยะกลาง จ่ายให้หน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการที่มีศักยภาพ การให้บริการฝังเข็มหรือบริการฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้าสาหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง ตามรายการบริการ ( Fee schedule ) และหรือเหมาจ่าย 42.3 จำนวนไม่เกิน 0.8500 บาทต่อผู้มีสิท ธิ สำหรับบริการน้ามันกัญชาสำหรับ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง พาร์กินสัน ไมเกรน สารสกัดกัญชาสาหรับผู้ป่วยโรคลมชัก และมะเร็งระยะสุดท้าย และยาสมุนไพรที่มีส่วนผสมของกัญชา และยาสมุนไพรอื่น ๆ ที่ได้รับการบรรจุเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ ด้านสมุนไพร จ่ายให้หน่วยบริการตาม รายการบริการ ( Fee schedule ) 42.4 ให้ สปสช. สามารถปรับเกลี่ยระหว่างประเภทบริการย่อยข้อ 42.1 ถึงข้อ 42.3 ได้ตามผลงานบริการที่เกิดขึ้นจริง ้ หนา 52 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

ส่วนที่ 6 ค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน (ค่าบริการทางการแพทย์สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุ ขภาพแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนเป็นค่าเสื่อมราคาของหน่วยบริการ) ข้อ 43 เป็นค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นการเบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน โดยขอบเขตบริการเป็นไป ตามคาสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 37/2559 เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจาเป็น ต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่นตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พุทธศักราช 2559 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การรับเงิน การ จ่ายเงิน การรักษาเงิน และรายการของค่าใช้จ่าย ที่เกี่ยวข้อง และจาเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่น และ ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด ข้อ 44 การจ่ายเพื่อชดเชยค่าเสื่อมราคาของหน่วยบริการ ให้แบ่งสัดส่วนค่าบ ริการ ทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุนระหว่างบริการผู้ป่วยนอก บริการผู้ป่วยใน และบริการสร้างเสริม สุขภาพและป้องกันโรค ด้วยสัดส่วนเงินอัตราต่อหัวผู้มีสิทธิของแต่ละประเภทบริการ ข้อ 45 หลักเกณฑ์การจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน ดังนี้ 45.1 การจ่ายเงินตรงให้หน่วยบริการ 45.1.1 ให้คานวณจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะ งบลงทุนเป็นรายหน่วยบริการ ดังนี้ (1) สาหรับบริการผู้ป่วยนอกและบริการสร้างเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรค แยกวงเงินเป็น 2 กลุ่มตามจานวนผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียน ณ วันที่ 1 เมษายน 2565 คือ กลุ่มหน่วยบริการสังกัด สป.สธ. และกลุ่มหน่วยบริการอื่น ๆ ที่เหลือ สาหรับกลุ่มหน่วยบริการ สังกัด สป.สธ. ใช้จานวนผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียน ณ วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นตัวแทนในการจ่าย ค่าใช้จ่ายทั้งปี สาหรับกรณีหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนใหม่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 หรือกรณี ที่มีการเปลี่ยนแปลงจานวนผู้มีสิทธิที่ ลงทะเบียนของหน่วยบริการ สปสช. จะปรับการจ่ายให้แก่ หน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง ภายใต้จำนวนผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียน ณ วันที่ 1 เมษายน 2565 ทั้งนี้ จะดาเนินการให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2565 สาหรับกลุ่มหน่วยบริการอื่น ๆ ที่เหลือใช้ข้อมูล จำน วนผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียน ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 เป็นตัวแทนในการจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งปี (2) สาหรับบริการผู้ป่วยใน ใช้จานวนผลงานที่คิดเป็นค่าน้าหนัก สัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) ตามระบบการวินิจฉัยโรคร่วม ( Diagnostic Related Groups : DRGs ) ให้กับหน่วยบริการที่ให้บริการ โดยให้ใช้ข้อมูลผลงานบริการผู้ป่วยในที่ส่งมาในแต่ละเดือนของ ้ หนา 53 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จานวน 6 เดือน (ตุลาคม 2564 ถึงมีนาคม 2565) เป็นตัวแทน ในการจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งปี 45.1.2 สาหรับหน่วยบริการสังกัด สป.สธ. หลังคานวณไ ด้จานวนเงิน ค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุนระดับหน่วยบริการแล้ว (1) กรณีหน่วยบริการในพื้นที่ สปสช. เขต 2 3 5 6 7 8 10 และ 11 (ก) ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินค่าบริการทางการแพทย์ ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุนของหน่วยบริการตามข้อ 45.1.1 สำหรับบริหารระดับเขตพื้นที่ (ข) ไม่เกินร้อยละ 20 ของเงินค่าบริการทางการแพทย์ ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุนของหน่วยบริการตามข้อ 45.1.1 สำหรับบริหารระดับจังหวัด (ค) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของเงินค่าบริการทางการแพทย์ ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบล งทุนของหน่วยบริการตามข้อ 45.1.1 ให้จ่ายตรงให้หน่วยบริการ (ง) สำหรับการบริหารระดับเขตพื้นที่และระดับจังหวัด ให้จัดสรรให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล และโรงพยาบาลชุมชน (2) กรณีหน่วยบริการในพื้นที่ สปสช. เขต 1 4 9 และ 12 (ก) ร้อยละ 100 ของเงินค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่าย ในลักษณะงบลงทุนของหน่วยบริการตามข้อ 44.1.1 สำหรับบริหารระดับเขตพื้นที่ (ข) ให้กลไกเขตสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขพิจารณา จัดสรรให้กับหน่วยบริการตามความเหมาะสม โดยจัดให้มีมาตรการ กากับ ติดตามการใช้จ่ายในเชิ ง ประสิทธิภาพและประสิทธิผล และรายงานต่อคณะกรรมการกาหนดแนวทางการใช้จ่ายเงินกองทุน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ของหน่วยบริการสังกัด สป.สธ. ระดับประเทศ และคณะอนุกรรมการ กำหนดหลักเกณฑ์การดาเนินงานและบริหารจัดการกองทุนทราบ 45.1.3 สาหรับหน่วยบริการสังกัดอื่น ๆ ที่เหลือ ค่าบริการทางการแพทย์ ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุนของหน่วยบริการตามข้อ 45.1.1 ให้จ่ายตรงให้หน่วยบริการทั้งหมด 45.1.4 สาหรับ สปสช. เขต 13 กรุงเทพมหานคร กรณีศูนย์บริการ สาธารณสุข สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่เป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภำพแห่งชาติ ให้จ่ายตรงให้หน่วยบริการปฐมภูมิ และจ่ายตามแผนการดาเนินการของสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร 45.2 หน่วยบริการที่ได้รับค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน ให้ดาเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 37/2559 เรื่อง ค่าใช้ จ่ายที่เกี่ยวข้อง และจาเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่นตามกฎหมายว่าด้วย หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พุทธศักราช 2559 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ้ หนา 54 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การรับเงิน การจ่ำยเงิน การรักษาเงิน และรายการของ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง และจำเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่น 45.3 กรณีที่มีหน่วยบริการลาออก และมีการโอนย้ายผู้มีสิทธิระหว่างกัน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้โอนเงินค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุนให้กับ หน่วยบริการที่รับดูแลผู้มีสิทธิจริงตามสัดส่วนที่ให้บริการ 45.4 หน่วยบริการที่ไม่สามารถให้บริการสาธารณสุขจนครบปีงบประมาณของ สัญญาการให้บริการสาธารณสุขจะถูกเรียกคืนเงิ นตามสัดส่วนที่อยู่ไม่ครบปีงบประมาณ 45.5 การบริหารจัดการและการติดตามผลการดาเนินงาน ให้เป็นไปตามแนวทาง ที่ สปสช. กำหนด ส่วนที่ 7 การปรับลดค่าแรงหน่วยบริการของรัฐในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ข้อ 46 ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 กำหนดให้ค่าใช้จ่าย ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นค่าใช้จ่ายที่รวมเงินเดือนและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของบุคลากรที่ใช้ ในการดาเนินการให้บริการ แต่ด้วยข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจาตาแหน่ง ของข้าราชการ พ.ศ. 2538 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทำ ให้เงินที่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้รับเฉพาะเงินส่วนที่ไม่รวมเงินเดือนและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรของหน่วยบริการของรัฐ ที่ได้รับจากเงินงบประมาณโดยตรง (ค่าแรงในระบบ) ดังนั้น จึงต้องมีการปรับลดค่าแรงในระบบสำหรับ หน่วยบริการของรัฐออกจากเงินที่จ่ายตามแนวทางที่กาหนดก่อนที่จะจ่ายจริงให้กับหน่วยบริการของรัฐต่าง ๆ โดยให้ภาพรวมจานวนค่าแรงในระบบที่ต้องปรับลดเท่ากับจานวนที่ระบุในพระราชบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปี ข้อ 47 แนวทางการปรับลดค่าแรงในระบบสาหรับหน่วยบริการของรั ฐที่ให้บริการผู้มีสิทธิ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีดังนี้ 47.1 แยกเพดานค่าแรงในระบบที่ต้องปรับลดจากหน่วยบริการของรัฐต่าง ๆ เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มหน่วยบริการของรัฐสังกัด สป.สธ. และกลุ่มหน่วยบริการของรัฐอื่น ๆ โดยการปรับลด ค่าแรงในระบบสำหรับหน่วยบริการของรัฐจะใช้วิธีการเฉพาะของแต่ละกลุ่ม 47.2 ให้ปรับลดค่าแรงในระบบสำหรับหน่วยบริการของรัฐจากงบประมาณที่ หน่วยบริการได้รับจากรายการค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว โดยให้ได้จานวนเงินค่าแรงในระบบ รวมตามการคานวณของสานักงบประมาณ และให้มีการปรับเกลี่ยระหว่างหน่วยบริการภายในกลุ่ม เดียวกันได้ 47.3 วิธีการปรับลดค่าแรงในระบบสำหรับหน่วยบริการของรัฐในระบบ ้ หนา 55 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

47.3.1 สาหรับหน่วยบริการของรัฐอื่นในระบบ (ยกเว้นสังกัด สป.สธ.) ในพื้นที่ สปสช. เขต 1 ถึงเขต 12 ให้ปรับลดค่าแรงในระบบที่ร ะดับหน่วยบริการประจา โดยให้ ปรับลดจากรายรับที่ได้จากค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกทั่วไปและการบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สาหรับบริการพื้นฐานที่จ่ายแบบเหมาจ่าย และจากรายรับที่ได้จากค่าใช้จ่ายผู้ป่วยในซึ่งได้ตามจานวน น้าหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว ( AdjRW ) ที่ ให้บริการเฉพาะการใช้บริการผู้ป่วยในที่หน่วยบริการที่ตั้ง ในเขตพื้นที่เดียวกับเขตพื้นที่ของหน่วยบริการประจาไม่รวมกรณีการใช้บริการผู้ป่วยในข้ามเขตพื้นที่ โดยให้ได้จำนวนเงินค่าแรงในระบบรวมตามการคานวณของสำนักงบประมาณ 47.3.2 สาหรับหน่วยบริการของรัฐอื่นในระบบ (ยกเว้นสังกัด สป.สธ.) ในพื้นที่ สปสช. เขต 13 กรุงเทพมหานคร แนวทางการปรับลดค่าแรง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 47.3.3 สำหรับหน่วยบริการของรัฐสังกัด สป.สธ. ให้ปรับลดค่าแรง ในระบบที่ระดับหน่วยบริการประจา โดยปรั บลดจากรายรับที่ได้จากบริการผู้ป่วยนอกทั่วไป บริการ สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และบริการผู้ป่วยในทั่วไปให้ได้จานวนเงินค่าแรงในระบบรวม ตามการคำนวณของสำนักงบประมาณ โดยใช้ตัวเลขการเบิกจ่ายงบบุคลากรจากระบบของ กรมบัญชีกลางและระบบการบริหารการเงินการคลังภาครั ฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ ( Government Fiscal Management Information System : GFMIS ) แยกรายการค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐในระบบ ประกันสุขภาพด้วยข้อมูลบัญชีถือจ่ายเงินเดือนเป็นตัวเลขอ้างอิงระดับจังหวัด และสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดปรับเกลี่ยกระจายเป็นรายหน่วยบริกำรประจา ด้วยข้อมูลงบบุคลากรที่ปฏิบัติงานจริงจาก กระทรวงสาธารณสุขซึ่ง สป.สธ. จะส่งให้ สปสช. ภายในเดือนกรกฎาคม 2565 ส่วนที่ 8 การบริหารจัดการค่าบริการผู้ป่วยนอกทั่วไป ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน และค่าบริการผู้ป่วยในทั่ว ไปสำหรับหน่วยบริการสังกัดสานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ข้อ 48 ให้สามารถกันเงินไว้ปรับเกลี่ยจากรายรับค่าบริการผู้ป่วยนอกทั่วไป ค่าบริการ สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสาหรับบริการพื้นฐาน และค่าบริการผู้ป่วยในทั่วไป สาหรับหน่วยบริการ สังกัด สป.สธ. ได้ดังนี้ 48.1 ไม่เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณการรายรับที่หน่วยบริการสังกัด สป.สธ. จะได้รับปี พ.ศ. 2566 สาหรับบริหารจัดการระดับประเทศ เขต จังหวัดและสาหรับการปรับเกลี่ย รายรับของแต่ละหน่วยบริการประจำ ภายใต้เงื่อนไขการจ่ายแบบขั้นบันได ( Step ladder ) ตามจานวนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาหรับบริการผู้ป่วยนอกทั่วไปและค่าบริการสร้างเสริม ้ หนา 56 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

สุขภาพและป้องกันโรคสาหรับบริการพื้นฐานและการเพิ่มค่าถ่วงน้าหนักบริการผู้ป่วยใน (กาหนดค่า K ) ตามกลุ่มระดับหน่วยบริการ 48.2 กรณีเขตพื้นที่ที่มีความพร้อมสามา รถใช้เงินที่กันไว้ตามข้อ 48 ได้โดยผ่าน กลไกการพิจารณาในระดับเขตพื้นที่ 48.3 หลักเกณฑ์และแนวทางการปรับเกลี่ย ต้องให้ความสาคัญกับการสนับสนุน การปฏิบัติงานของหน่วยบริการและไม่กระทบต่อการใช้บริการของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยเฉพาะหน่วยบริการที่ จาเป็นต้องให้บริการผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในพื้นที่กันดารและ พื้นที่เสี่ยงภัย หน่วยบริการที่จาเป็นต้องติดตามสถานะทางการเงินอย่างใกล้ชิดต้องใช้ข้อมูลรายรับ รายจ่ายจากทุกแหล่งมาประกอบการพิจารณา และ สป.สธ. จะดาเนินการติดตามกากับการพัฒนา ประสิทธิ ภาพการบริหารจัดการของหน่วยบริการอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และแนวทางการปรับเกลี่ยโดยคำแนะนำหรือความเห็นของ คณะกรรมการกาหนดแนวทางการใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของหน่วยบริการ สังกัด สป.สธ. ระดับประเทศ (คณะกรรมการร่วมระหว่าง สป.สธ. แ ละ สปสช.) และให้เสนอ คณะอนุกรรมการกาหนดหลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน พิจารณาภายใน เดือนสิงหาคม 2565 หมวด 3 รายการบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ข้อ 49 เงินบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จานวน 3 , 978.4785 ล้านบาท โดยจัดสรรเป็นประเภทบริการต่าง ๆ ดังนี้ ประเภทบริการ จำนวนเงิน (ล้านบาท) 1. บริการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัสและบริการที่เกี่ยวข้อง 3 , 402.7750 2. บริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี 575.7035 รวม 3 , 978.4785 ทั้งนี้ ให้ สปสช. สามารถปรับเกลี่ยเงินระหว่างประเภทบริการได้ตามศักยภาพของระบบบริการ หรือผลงานบริการ โดยหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ในแต่ละประเภทบริการ ให้เป็นไปตามส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ในหมวดนี้ ส่วนที่ 1 บริการดู แลรักษาด้วยยาต้านไวรัสและบริการที่เกี่ยวข้อง ้ หนา 57 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 50 เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สาหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือประชากรกลุ่มเฉพาะตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด ที่เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ โดยครอบคลุมบริการการรักษาด้วยยาต้านไวรัส การตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ การตรวจคัดกรองและการตรวจยืนยันไวรัสตับอักเสบซี ข้อ 51 หลักเกณฑ์การจ่ายเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัสและบริการ ที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้ 51. 1 กรณีบริการการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัส เช่น ยาต้านไวรัสสูตรพื้นฐาน และสูตรดื้อยา ยารักษาภาวะไขมันในเลือดสูงจากการรับประทานยาต้านไวรัส ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารก และยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีภายหลังสัมผัสโรค ในกรณีสัมผัสเชื้อเอชไอวีจากการทางานให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือเป็นผู้ถูก ล่วงละเมิดทางเพศ หรือเป็นทารกซึ่งคลอดจากมารดาติดเชื้อเอชไอวี สาหรับรายการที่กาหนดอยู่ในแผน และวงเงินการจัดหา ให้หลักเกณฑ์การจ่ายเป็นไปตามหมวด 10 51.2 กรณีบริ การการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ จ่ายให้หน่วยบริการ ตามผลงานการให้บริการที่ส่งข้อมูลมาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 51.3 กรณีบริการการตรวจคัดกรองและการตรวจยืนยันไวรัสตับอักเสบซีในผู้ติด เชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์และกลุ่มเสี่ยงการติดเชื้อเอชไอวี ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด ส่วนที่ 2 การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ข้อ 52 เป็นค่าใช้ จ่าย สนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุข ในการสร้างเสริม สุขภาพและป้องกันโรค ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี สาหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด รวมการนาร่องบริการยาป้องกันก่อนการสัมผัส เชื้อ เอชไอวี ( Pre - Exposure Prophylaxis : PrEP ) บริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังการสัมผัสเชื้อ ( Post - Exposure Prophylaxis : PEP ) บริการให้การปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี โดยสมัครใจ ( Voluntary counseling and testing : VCT ) และบริการถุงยางอนามัย ข้อ 53 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข 53.1 จานวนไม่น้อยกว่า 182.2524 ล้านบาท สาหรับการบริการเพื่อให้มี การเข้าถึงและชักนาผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่มีความเสี่ยงให้เข้ารับบริการ การสร้างความต้องกา ร ในการรับบริการผ่านเครือข่ายสังคมและเครือข่ายสุขภาพ การขยายบริการเชิงรุกการตรวจเอชไอวี การดาเนินการให้ผู้ติดเชื้อรับการรักษาต่อเนื่องตามแผนการรักษา และดาเนินการให้ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ ้ หนา 58 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

ยังคงภาวะการไม่ติดเชื้อ การตรวจการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ในผู้ มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติกลุ่มเสี่ยงร่วมกับการตรวจการติดเชื้อเอชไอวี และถุงยางอนามัยสำหรับใช้ในการป้องกันการติด เชื้อเอชไอวี กลุ่มเป้าหมายในการดาเนินการ เช่น ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย สตรีข้ามเพศ พนักงาน บริการ ผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีด ผู้ต้อง ขังหญิงตั้งครรภ์ เยาวชน พนักงานในสถานประกอบการ ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในชุมชนที่มีความเสี่ยง (พ่อบ้านแม่บ้าน) ทั้งนี้ ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด ตามคาสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 37/2559 เ รื่อง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจาเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการ สาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่นตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พุทธศักราช 2559 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การรั บเงิน การจ่ายเงิน การรักษาเงินและรายการของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจาเป็นต่อการสนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่น สำหรับรายการที่กำหนดอยู่ในแผนและ วงเงินการจัดหา ให้หลักเกณฑ์การจ่ายเป็นไปตามหมวด 10 53.2 จานวนไม่เกิน 51.1715 ล้านบาท สาหรับการสร้างเสริมสุขภาพและ ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี และบริการติดตามผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีตามรายการ เช่น การให้คาปรึกษา การคัดกรอง การค้นหา ผู้มีภาวะเสี่ยง กา รใช้ยาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่ปฏิบัติงานในศูนย์องค์รวมร่วมกับหน่วยบริการ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่ สปสช. กาหนด ตามคาสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 37/2559 เรื่อง ค่าใช้จ่าย ที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่น ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พุทธศักราช 2559 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การรับเงิน การจ่ายเงิน การรักษาเงิน และรายการของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริม การจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่น 53.3 จำนวนไม่เกิน 196.7798 ล้านบาท สำหรับบริการให้การปรึกษา และตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ ( Voluntary counseling and testing : VCT ) จ่ายให้ หน่วยบริการตามผลงานที่ส่งข้อมูลมาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สาหรับการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี ( Anti - HIV antibody testing ) และการให้บริการให้คาปรึกษาแก่ผู้ที่มารับบริการการให้การปรึกษา และตรวจหาการติด เชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ ( Voluntary counseling ) 53.4 จำนวนไม่เกิน 103.0000 ล้านบาท สนับสนุนถุงยางอนามัยแก่ผู้ที่เข้ารับ การบริการ ให้การปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ โดยผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอาจรับบริการถุงยางอนามัยได้ที่ร้านขายยา หรือคลินิกการพยาบาล ้ หนา 59 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

และการผดุงครรภ์ที่เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการรับส่งต่อเฉพาะด้านตามที่ สปสช. กาหนด สำหรับรายการ ที่กำหนดอยู่ในแผนและวงเงินการจัดหา ให้หลักเกณฑ์การจ่ายเป็นไปตา มหมวด 10 53.5 จานวนไม่เกิน 6.4548 ล้านบาท สาหรับนาร่องบริการยาป้องกันก่อน การสัมผัสเชื้อเอชไอวี ( Pre - Exposure Prophylaxis : PrEP ) ซึ่งเป็นการให้ยาป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กาหนด สาหรับรายการที่กาหนดอยู่ในแผน และวงเงินการจัดหา ให้หลักเกณฑ์การจ่ายเป็นไปตามหมวด 10 53.6 จานวนไม่เกิน 36.0450 ล้านบาท สาหรับบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี หลังการสัมผัสเชื้อ ( Post - Exposure Prophylaxis : PEP ) ในกลุ่มผู้สัมผัสที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เอชไอวี ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด หมวด 4 รายการบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ข้อ 54 เป็นค่าใช้จ่ายบริการทดแทนไตสาหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จานวน 9 , 952 .1756 ล้านบาท ครอบคลุมค่าใช้จ่าย ค่ายา ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ บริการที่เกี่ยวข้อง ในการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การปลูกถ่ายไตสาหรับ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง และบริการล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ ( Aut omated peritoneal dialysis : APD ) หากไม่มีปัญหาค่าใช้จ่ายเรื่องเครื่องอัตโนมัติที่จะทาให้ราคาค่าบริการเพิ่มขึ้น โดยใน ปี 2566 มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพบริการล้างไต เพิ่มความสะดวกกับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังให้สามารถ เข้ารับบริการที่หน่วยบริการในระบบหลักปร ะกันสุขภาพแห่งชาติที่ใดก็ได้ คานึงถึงประโยชน์ผู้ป่วย เป็นศูนย์กลาง ( Patient - centered care ) ให้ผู้ป่วยสามารถร่วมตัดสินใจเลือกวิธีการล้างไตกับแพทย์ โดยคานึงถึงฐานะทางเศรษฐกิจ พยาธิสภาพของโรค ปัจจัยทางสังคม ความเหมาะสม เพิ่มมาตรการ ป้องกันและชะลอจานวนผู้ ป่วยโรคไตรายใหม่ รวมถึงเพิ่มจานวนหน่วยบริการรับส่งต่อเฉพาะด้านบริการล้างไต ให้เพียงพอ ข้อ 55 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีบริการทดแทนไต จ่ายตามผลงานการให้บริการตามข้อมูลที่ส่งมาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด ดังนี้ 55.1 บริการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง โดยครอบคลุมค่าใช้จ่าย การบริการล้างไตผ่านทางช่องท้อง การผ่า ตัดวางสายล้างช่องท้อง การนัดและดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงค่าน้ายาล้างไตทางช่องท้องพร้อมอุปกรณ์ การให้ยาพื้นฐาน ยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ยารักษาโรคอื่นที่จาเป็น และการรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการใช้บริการล้างไตผ่านทางช่องท้อง อย่างต่ อเนื่องโดยตรงเฉพาะกรณีใช้บริการแบบผู้ป่วยนอก (สาหรับกรณีบริการแบบผู้ป่วยในใช้ค่าใช้จ่ายบริการ ผู้ป่วยในทั่วไป) ้ หนา 60 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

55.2 บริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมสาหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย รวมบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมสาหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่ว ยเอดส์ และผู้ป่วยโรคติดต่อ ที่สามารถแพร่กระจายเชื้อติดเชื้อผ่านทางเลือดและสารคัดหลั่ง โดยครอบคลุมค่าใช้จ่ายฟอกเลือดด้วย เครื่องไตเทียม ค่าการเตรียมเส้นเลือด การให้ยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง อุปกรณ์ทางการแพทย์ และการรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่ำงที่ผู้ป่วยรับบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมโดยตรง เฉพาะกรณีใช้บริการแบบผู้ป่วยนอก (สำหรับกรณีบริการแบบผู้ป่วยในใช้ค่าใช้จ่ายบริการผู้ป่วยในทั่วไป) การนัดและดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง อุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมทั้งการให้ยาที่จาเป็นตามแนว เวชปฏิบัติที่ สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยกำหนด 55.3 การปลูกถ่ายไตครอบคลุมค่าใช้จ่ายสำหรับบริการผู้บริจาคไตและผู้รับบริจาค โดยเป็นค่าเตรียมการและผ่าตัดนาไตมาจากผู้บริจาค ค่าเตรียมการผู้รับบริจาค ค่าผ่าตัดผู้บริจาคและ ผู้รับบริจาค ค่าใช้จ่ายกรณีมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะส ลัดไต ( Graft rejection ) รวมถึงค่ายากดภูมิคุ้มกัน หลังการผ่าตัดและการติดตามผลภายหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไตตามข้อกำหนดของสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะ แห่งประเทศไทย 55.4 บริการการล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ ( Automated peritoneal dialysis : APD ) สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่เป็นกลุ่มเปราะบาง หรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกล เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยให้คานึงถึงประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และให้ปรับเพิ่ม จานวนเป้าหมายในระหว่างปีได้ภายใต้วงเงินงบประมาณที่มีอยู่ โดยครอบคลุมค่าใช้จ่ายเพิ่มเ ติมจากข้อ 55.1 เป็นค่าน้ำยาล้างไตผ่านทางช่องท้องพร้อมอุปกรณ์สาหรับบริการการล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วย เครื่องอัตโนมัติ ( Automated peritoneal dialysis : APD ) ค่ายาที่เกี่ยวข้องกับบริการการล้างไต ผ่านทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ ( Automated peritone al dialysis : APD ) และให้ สปสช. ประสานให้มีระบบสนับสนุนการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพโดยการเตรียมระบบบริหารจัดการในส่วน ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 55.4.1 บุคลากรทางการแพทย์ เช่น อายุรแพทย์โรคไต พยาบาลที่ผ่าน การอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางต้นแบบ สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต ทางช่องท้อง ( Peritoneal dialysis nurse : PD nurse ) และทีมสหวิชาชีพ (นักกาหนดอาหาร เภสัชกร ศัลยแพทย์วางสาย อาสาสมัครสาธารณสุข ฯลฯ) 55.4.2 การให้บริการ เช่น การอบรมผู้ป่วยและผู้ดูแลให้สามารถล้างไต แบบบริการการล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ ( Automated peritoneal dialysis : APD ) ที่บ้านด้วยตนเอง เช่น ระบบ Call center ความรู้ด้าน Clinic หรือ Technique การเยี่ยมบ้านผู้ป่วย ช่างเทคนิค เพื่อให้บริการ 55.4.3 ระบบการจัดส่งน้ายาล้างไตและเครื่องล้างไตผ่านทางช่องท้อง อัตโนมัติไปที่บ้านผู้ป่วย ้ หนา 61 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

55.4.4 ระบบการติดตามผลการรักษาและประเมินผล ข้อ 56 สาหรับรายการที่กาหนดอยู่ในแผนและวงเงินการจัดหา ให้หลักเกณฑ์การจ่าย เป็นไปตามหมวด 10 หมวด 5 รายการบริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง ข้อ 57 ค่าบริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 1 , 071.4748 ล้านบาท จัดสรรเป็นประเภทบริการต่าง ๆ ดังนี้ ประเภทบริการ จำนวนเงิน (ล้านบาท) 1 การบริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและ ความดันโลหิตสูง โดยเน้นการควบคุมป้องกันระดับทุติยภูมิ ( Secondary prevention ) 997.8488 2 การบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน 73.6260 รวม 1 , 071.4748 ส่วนที่ 1 บริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ข้อ 58 ค่าบริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง จานวน 997.8488 ล้านบาท เป็นเงินเพิ่มเติมจากเงินเหมาจ่ายรายหัว เป็นค่าใช้จ่ายสาหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในการบริการควบคุมป้องกันความรุนแรงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งมีเป้าหมายในการ เพิ่ม การเข้าถึงบริการส่งเสริมป้องกันและยกระดับการบริการให้ได้ตามมาตรฐาน โดยในปี พ.ศ. 2566 ยังคงเน้นการควบคุม ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานก่อ นตั้งครรภ์ ( Pregestational ( preexisting ) diabetes mellitus ) ซึ่งจะช่วยชะลอไม่ให้เป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ข้อ 59 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการควบคุม ป้องกัน และรักษาผู้ป่วย โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ดังนี้ 59.1 ไม่เกิน 90.8800 ล้านบำท บริหารจัดการภาพรวมระดับประเทศ โดยจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายให้หน่วยบริการที่ดูแลผู้ป่วยแบบเหมาจ่ายตามจานวนผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จานวนหญิงตั้งครรภ์ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน ( Gestational diabetes mellitus : GDM ) และ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานก่อนตั้งครรภ์ ( Pregestational ( preexisting ) diabetes ้ หนา 62 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

mellitus ) ทั้งนี้ อาจจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับค่าวัสดุ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 59 .2 ไม่น้อยกว่า 906.9688 ล้านบาท บริหารจัดการภาพรวมระดับประเทศ โดยจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายให้หน่วยบริการที่ดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 59.3 ให้ สปสช. สามารถปรับ เกลี่ยค่าใช้จ่ายตามข้อ 59.1 และข้อ 59.2 ได้ ตามผลงานบริการที่เกิดขึ้นจริง ข้อ 60 การบริหารการจ่ายสาหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ลงทะเบียนกับ กรมแพทย์ทหารเรือและกรมแพทย์ทหารอากาศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่ สปสช. กำหนด ข้อ 61 ให้ สปสช. จัดระบบการกำกับติดตามให้เน้นการบริการควบคุมป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 บริการดูแลกรณีหญิงตั้งครรภ์ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็น เบาหวาน ( Gestational diabetes mellitus : GDM ) ในระหว่างตั้งครรภ์และการตรวจหลังคลอด แล ะกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานก่อนตั้งครรภ์ ( Pregestational ( preexisting ) diabetes mellitus ) ตามแนวทางราชวิทยาลัย สมาคมที่เกี่ยวข้อง และให้มีกลไกการมีส่วนร่วม ของหน่วยบริการและภาคประชาชน ส่วนที่ 2 การบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุ มชน ข้อ 62 ค่าใช้จ่ายบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน จำนวน 73.6260 ล้านบาท เป็นเงินเพิ่มเติมจากเงินเหมาจ่ายรายหัว เป็นค่าใช้จ่าย สนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุข สาหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เป็นผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังที่จาเป็นต้องดูแลใกล้ชิดต่อเนื่อง ซึ่งมีเป้าหมายในการเพิ่มการเข้าถึงบริการให้ได้รับการดูแลต่อเนื่องในชุมชน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้เป็นไปตามที่ สปสช. กำหนด ข้อ 63 การจ่ายค่ำใช้จ่ายบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน ตามผลงานบริการ ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด หมวด 6 ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร พื้นที่เสี่ยงภัย และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ข้อ 64 เงินค่าใช้จ่าย จานวน 1 , 490.2880 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขเพิ่มเติม สำหรับหน่วยบริการที่จำเป็นต้องให้บริการผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในพื้นที่กันดาร ้ หนา 63 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

และพื้นที่เสี่ยงภัย พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา และสตูล) โดยเป็นหน่วยบริการสังกัด สป.สธ. ข้อ 65 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายต้องให้ความสาคัญกับการสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยบริการและไม่กระทบต่อการใช้บริการของผู้ มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยหลักเกณฑ์ การจ่ายค่าใช้จ่ายต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการร่วมระหว่าง สป.สธ. และ สปสช. และ ให้เสนอคณะอนุกรรมการกาหนดหลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน ภายใต้ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อพิจาร ณาภายในเดือนสิงหาคม 2565 หมวด 7 ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ข้อ 66 ค่าบริการสาธารณสุขสาหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน จานวน 1 , 265.6460 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพในชุมชนสาหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่เป็นผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้สามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขที่เชื่อมโยงบริการทางสังคมโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงการเชื่อมต่อระหว่างบ้าน ชุมชน หน่วยบริการ สถานบริกา ร ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อย่างเป็นระบบจ่ายแบบเหมาจ่าย 6 , 000 บาทต่อคนต่อปี โดยโอนค่าบริการสาธารณสุขสาหรับ ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ตามจำนวนผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่ได้รับการอนุมัติแผนการดูแลรายบุคคล ดังนี้ 66.1 พื้นที่ สปสช. เขต 1 ถึง เขต 12 เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สาหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วย หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดาเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกัน สุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 66.2 พื้นที่ สปสช. เขต 13 กรุงเทพมหานคร เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อบริการ สาธารณสุขสาหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยการกาหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้กรุงเทพมหานครดาเนินงานและบริหารจัดการระบบ หลักประกันสุขภาพกรุงเท พมหานคร หมวด 8 ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ ข้อ 67 ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสาหรับการบริการระดับปฐมภูมิ จะเป็นการสนับสนุน ให้มีการดาเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 258 ช. (5) “ ให้มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม ” และตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 โดยจะทาให้เกิดการเข้าถึงบริการระดับปฐมภูมิ เพิ่มมากขึ้นในหน่วยบริการและในชุมชนทั้งในเขตพื้นที่และนอกเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ้ หนา 64 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

จากหน่วยบริการและแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวร่วมกับคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ เพื่อสนับสนุน การจัดบริการให้สอดคล้องกับนโยบายการรักษาระยะห่างทางสังคม ( Social distancing ) และ ลดความแออัดในหน่วยบริการ ข้อ 68 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการ ระดับปฐมภูมิ ดังนี้ 68.1 จำนวน 127.2600 ล้านบาท สำหรับบริการระดับปฐมภูมิ 68.1.1 จ่ายให้หน่วยบริการที่มีศักยภาพบริการระดับปฐมภูมิที่มีแพทย์ ประจำค รอบครัว ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนดโดยคำแนะนา หรือความเห็นของคณะอนุกรรมการกาหนดหลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน 68.1.2 จ่ายให้หน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ตามพระราชบัญญัติระบบสุ ขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 ที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการตามพระราชบัญญัติ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ที่มีศักยภาพบริการระดับปฐมภูมิที่มีแพทย์ประจำครอบครัว ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 68.2 จำนวน 10.2400 ล้านบาท จ่ายให้หน่วยบริการ เป็นค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ที่ไม่ใช่ยา และค่าบริการด้านยาและเวชภัณฑ์สาหรับการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการร่วมกับ หน่วยบริการรับส่งต่อเฉพาะด้านเภสัชกรรม รวมทั้งรูปแบบที่หน่วยบริการรับส่งต่อเฉพาะด้านเภสัชกรรม จัดการด้านยาและเว ชภัณฑ์ด้วยตนเอง ตามรายการบริการและหรือเหมาจ่าย หรือจ่ายเป็นยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 68.3 จานวน 32.8600 ล้านบาท จ่ายให้หน่วยบริการเป็นค่าบริการด้านยา และเวชภัณฑ์สาหรับการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปยังผู้ป่วยที่บ้าน ตามจานวนผลงานบริการ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 68.4 จำนวน 14.4743 ล้านบาท จ่ายให้ห น่วยบริการเป็นค่าบริการสาธารณสุข ระบบทางไกล ( Telehealth หรือ Telemedicine ) ซึ่งเป็นบริการสาธารณสุขตามมาตรฐานการบริการ ที่สภาวิชาชีพหรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกาหนด โดยหน่วยบริการมีระบบในการพิสูจน์ตัวตน โดยจ่ายตามรายการบริการ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลั กเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 68.5 จานวน 2.0000 ล้านบาท จ่ายให้หน่วยบริการเป็นค่าบริการสาธารณสุข สาหรับหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการ ให้แก่ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โด ยจ่ายตามรายการบริการ หรือจ่ายเป็นยา อุปกรณ์ ทางการแพทย์ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด 68.6 จำนวน 2.0200 ล้านบาท จ่ายให้หน่วยบริการเป็นค่าบริการตรวจ ทางห้องปฏิบัติการนอกหน่วยบริการ ครอบคลุมบริการเจาะเลือด การเก็บตัวอย่าง การขนส่งตัวอย่าง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด ้ หนา 65 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 69 ให้ สปสช. เขต อาจจัดให้มีกลไกที่ให้หน่วยบริการ มีการบูรณาการกลไก การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิที่มีอยู่ เช่น คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร (พชข.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการบูรณาการงบประมาณประเภทบริการต่าง ๆ หรือจากหน่วยงานต่าง ๆ อย่างเป็ นระบบ เพื่อพัฒนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยคานึงถึงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร คุณภาพผลงานบริการ และการเข้าถึงบริการ ข้อ 70 ให้ สปสช. สามารถปรับเกลี่ยเงินระหว่างประเภทบริ การข้อ 68.1 ถึงข้อ 68.6 ได้ตามผลงานบริการที่เกิดขึ้นจริง หมวด 9 ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อ 71 ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จานวน 2 , 772.0000 ล้านบาท สำหรับการดาเนินงานด้านสาธารณสุขให้กับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในรูปแบบความร่วมมือ กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่มีความพร้อมในการเข้าร่วมดาเนินงาน โดยเน้นการบูรณาการ ร่วมกับกลไกต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น พชอ. หรือ พชข. เพื่อให้เกิดการขั บเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชนในระดับพื้นที่ ตามประเด็นสุขภาพกลุ่มเน้นหนัก และตามกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ซึ่งการ ดาเนินงานและบริหารจัดการให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วย หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดาเ นินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ข้อ 72 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นไปตามความในมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 สปสช. สนับส นุนค่าใช้จ่ายให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามเป้าหมายผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ ที่ได้รับงบประมาณบริหารเป็นการบริหารเป็นวงเงินแบบมีเพดานระดับเขตพื้นที่ ( Global budget ระดับเขตพื้นที่) โดยใช้จานวนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ณ วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นตัวแทนในการคำนวนจัดสรร ทั้งนี้ สปสช. จะจัดสรรเมื่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้อนุมัติแผนการเงินประจาปี โดยคาแนะนาหรือความเห็นจาก อปสข. ตามบริบทซึ่งเป็นปัญหาในพื้นที่ ดังนี้ 72.1 พื้นที่ สปส ช. เขต 1 ถึงเขต 12 เป็นค่าใช้จ่ายสาหรับการดาเนินงาน ด้านสาธารณสุขในรูปแบบความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามประกาศคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดาเนินงาน และบริหารจัดการระบบหลักประ กันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ้ หนา 66 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

72.2 พื้นที่ สปสช. เขต 13 กรุงเทพมหานคร เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับ การดำเนินงานด้านสาธารณสุขในรูปแบบความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร ตามประกาศคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยการกาหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้กรุ งเทพมหานครดาเนินงาน และบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ข้อ 73 เมื่อจัดสรรงบประมาณตามข้อ 72 แล้วหากมีเงินเหลือ และพบว่าองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นได้รับเงินสนับสนุนในการดาเนินงานไม่เพียงพอและมีความประสงค์ขอรับค่าบริการเพิ่มเติม ตามแผนงาน โค รงการ หรือกิจกรรมที่เป็นปัญหาในระดับพื้นที่หรือตามมติของคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช. เขต อาจพิจารณาจัดสรรเพิ่มให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ได้ โดยคำแนะนำหรือความเห็นจาก อปสข. ตามบริบทซึ่งเป็นปัญหาในพื้นที่ หมวด 10 ค่ายา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม อุปกรณ์ทางการแพทย์ และชุดตรวจทางห้องปฏิบัติการ ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ ข้อ 74 ค่ายา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม อุปกรณ์ทางการแพทย์ และชุดตรวจ ทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ เป็นไปตามแผนและวงเงินการจัดหายา วัคซี น เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ และชุดตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จาเป็นตามโครงการพิเศษ ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้ความเห็นชอบ ข้อ 75 บริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรังตามข้อ 56 ให้เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ มีสิทธิได้รับค่ำใช้จ่ายจากกองทุนเพื่อดาเนินการจัดหายา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม อุปกรณ์ ทางการแพทย์ และชุดตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นตามโครงการพิเศษให้แก่หน่วยบริการ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด ข้อ 76 การจ่ายค่าใช้จ่ายที่เป็นค่ายา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ และชุดตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ ดังนี้ 76.1 จ่ายให้แก่เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ตามแผนและวงเงิน การจัดหา เพื่อสนับสนุนให้กับหน่วยบริการที่อยู่ในเครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ 76.2 จ่ายให้แก่หน่วยบริการที่ไม่อยู่ในเครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ เป็นค่าชดเชยค่ายา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จาเป็นตามโครงการพิเศษ ตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด โดยต้องมีกลไกกำกับหน่วยบริการ ไม่ให้มีการเก็บเงินเพิ่มจากผู้ป่วย ข้อ 77 เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ดาเนินการจัดหาตามแผนและวงเงิน การจัดหา ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยให้มีกลไกร่วมระหว่าง องค์การเภสัชกรรม และคณะทำงานกาหนดอัตราค่าบริการสาธารณสุขภายใต้คณะอนุกรรมการกาหนด ้ หนา 67 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

หลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน ในการพิจารณาราคาที่เหมาะสม ก่อนเสนอ แผนการจัดหาต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้ความเห็นชอบ ข้ อ 78 กรณีที่เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ดาเนินการจัดหาแล้วเสร็จ 78.1 หากมีเงินเหลือหรือได้รับคืนมาไม่ว่ากรณีใดให้ถือปฏิบัติตามระเบียบ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยการงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 78.2 หากไม่มีการจัดหาอีก ให้ส่งเงินคืนกองทุนพร้อมดอกผล (ถ้ามี) 78.3 หากมีผลงานบริการมากกว่าเป้าหมายที่ได้รับงบประมาณห รือ เงินงบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไม่เพียงพอ ภายหลังจากปรับประสิทธิภาพ อย่างเต็มที่แล้ว ให้แจ้งต่อคณะอนุกรรมการกาหนดหลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน เพื่อให้ สปสช. รวบรวมข้อมูลเสนอของบประมาณเพิ่มเติมตามความเหมาะสมต่อไป ข้อ 79 ให้เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ รายงานผลการดาเนินการและบริหาร จัดการคลังยาและเวชภัณฑ์ต่อคณะ อนุกรรมการจัดทำแผนการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษอย่างน้อยทุกไตรมาส หมวด 11 เงินช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ข้อ 80 เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการตามมาตรา 41 สำหรับผู้มีสิทธิ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รวมกรณีผลกระทบจากการรับบริการวัคซีนเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 โดยหลักเกณฑ์การจ่ายเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่คณะกรรมการหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติกำหนด ข้อ 81 เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการ ผู้รับบริการสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รวมกรณีผู้ให้บริการติดเชื้อโควิ ด 19 จากการให้บริการ ผู้ป่วย โดยหลักเกณฑ์การจ่ายเป็นไปตามคาสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 37/2559 เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและ ค่าใช้จ่ายอื่นตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พุทธศักราช 2559 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไ ข การรับเงิน การจ่ายเงิน การรักษาเงิน และรายการของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง และจำเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริม การจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่น และตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด หมวด 12 บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ้ หนา 68 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 82 เป็นค่าใช้จ่ายการจัดบริการสาธารณสุขด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ที่ให้โดยตรงแก่ บุคคล กลุ่มบุคคล หรือครอบครัว สาหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้ประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขด้านสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสาหรับผู้มีสิ ทธิ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 322.5600 บาทต่อผู้มีสิทธิ (บาทต่อคน) ข้อ 83 การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค แบ่งเป็น ประเภทบริการย่อย 3 รายการ ดังนี้ 83.1 บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับประเทศ 83.2 บริกำรสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เป็นปัญหาพื้นที่ระดับเขตพื้นที่ หรือจังหวัด 83.3 บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน ข้อ 84 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับประเทศ จานวน 26.7500 บาทต่อคน บริหารจัด การระดับประเทศ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด ดังนี้ 84.1 ค่าวัคซีนต่าง ๆ ดังนี้ 84.1.1 ค่าวัคซีนป้องกันโรคพื้นฐานตามแผนการให้วัคซีนของประเทศ 84.1.2 ค่าวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลสาหรับกลุ่มเป้าหมาย เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกกลุ่มอายุ (หืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ไตวายเรื้อรัง หัวใจ เบาหวาน หลอดเลือดสมอง และผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบาบัด) ผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ มากกว่า 4 เดือนขึ้นไป เด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี ผู้พิการทางสมองช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติด เชื้อเอชไอวีที่มีอาการ) และผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัม หรือดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร 84.1.3 ค่าวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก สาหรับกลุ่มเป้าหมายตามที่ สปสช. กำหนด 84.1.4 ค่าวัคซีนป้องกันโรคท้องร่วง สำหรับกลุ่มเป้าห มายตามที่ สปสช. กำหนด 84.2 ค่าสมุดบันทึกสุขภาพ คู่มือเฝ้าระวัง ประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โดยจ่ายให้หน่วยบริการที่กรมอนามัยหรือกรมสุขภาพจิตมอบหมายให้ดาเนินการจัดพิมพ์ จัดหา หรือ อาจทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อจ่ายให้หน่วยบริการตามจำนวนที่มีการให้บริการ 84.3 ค่ายาสำหรั บบริการป้องกันการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย 84.4 โครงการเพิ่มความสะดวกและการเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยหน่วยบริการ ได้แก่ บริการถุงยางอนามัย บริการสายด่วนสุขภาพจิต บริการสายด่วนเลิกบุหรี่ ้ หนา 69 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

84.5 สำหรับรายการที่กำหนดอยู่ในแผน และวงเงินการจัดหา ให้หลักเกณฑ์ การจ่ายเป็นไปตามหมวด 10 ข้อ 85 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เป็นปัญหา พื้นที่ระดับเขตพื้นที่หรือจังหวัด จานวนไม่เกิน 4 บาทต่อคน จ่ายตามโครงการบริการสร้างเสริม สุขภาพและป้องกันโรคที่ต้องกำรเร่งรัดการเข้าถึงบริการตามนโยบายหรือแก้ไขปัญหาพื้นที่ระดับเขต พื้นที่หรือจังหวัดตามความจาเป็นทางสุขภาพภายใต้ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข ทั้งนี้ การดำเนินงานจัดบริการให้คำนึงถึงการเข้าถึงบริการของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ยังเข้าไม่ถึงบริ การ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. 85.1 จ่ายให้หน่วยบริการและหรือจ่ายได้ตามคาสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 37/2559 เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจาเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการ สาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่นตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พุทธศักราช 2559 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การรับเงินการจ่ายเงิน การรักษาเงิน และรายการของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจาเป็ นต่อการสนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่น 85.2 ให้ สปสช. เขต จัดให้มีกลไกการอนุมัติ กากับ ติดตาม ประเมินผล การดาเนินงานของทุกโครงการให้ได้ผลผลิต ผลลัพธ์ตามเป้าหมายและการใช้จ่ายงบประมาณตามที่กาหนด โดยให้มีกระบวนการมีส่วน ร่วมรับผิดชอบในระดับเขตพื้นที่ ข้อ 86 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสาหรับบริการ พื้นฐาน จำนวน 291.8100 บาทต่อคน เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ภายใต้ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข แก่ผู้มีสิทธิ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ได้รับบริการ ในหน่วยบริการ และหรือนอกหน่วยบริการ โดยปี พ.ศ. 2566 จ่ายให้หน่วยบริการ ดังนี้ 86.1 จำนวน 59.4900 บาทต่อคน จ่ายตามรายการบริการ ( Fee schedule ) โดยกำหนดรายการบริการ ( Fee Schedule ) และอัตราการจ่ายในแต่ล ะรายการให้เป็นมาตรฐานเดียว ทั้งประเทศ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กาหนด โดยคำแนะนาหรือ ความเห็นของคณะอนุกรรมการกาหนดหลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน 86.2 จำนวน 232.3200 บาทต่อคน เป็นการจ่ายสำหรับบริการพื้นฐาน รวมบริการตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กแรกเกิดทุกราย บริการทันตกรรมป้องกันในเด็กวัยเรียน (เคลือบฟลูออไรด์ในเด็กอายุ 4 ถึง 12 ปี การเคลือบหลุมร่องฟันถาวรในเด็กอายุ 6 ถึง 12 ปี) บริการตรวจวั ดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน และบริการตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี ( Hepatitis B envelop antigen : HBeAg ) ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีไวรัสตับอักเสบบี ( Hepatitis B Surface ้ หนา 70 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

Antigen : HBsAg ) เป็นบวก และบริการคัดกรองโรคโควิด 19 และค่าบริการฉีดวัคซีนโค วิด 19 ดังนี้ 86.2.1 ร้อยละ 65 ให้จ่ายให้หน่วยบริการตามจานวนผู้มีสิทธิ โดยปรับ อัตราตามโครงสร้างกลุ่มอายุระดับจังหวัดและให้อัตราแต่ละจังหวัดต่างจากค่าเฉลี่ยเพิ่มหรือลด ไม่เกินร้อยละ 10 86.2.2 ร้อยละ 35 ให้จ่ายตามจานวนผลงานบริการ โดยจ่ายให้หน่ วย บริการที่มีผลงานบริการตามรายการบริการที่ สปสช. กาหนด โดยเป็นข้อมูลผลงานบริการตั้งแต่ เดือนเมษายน 2564 ถึงเดือนมีนาคม 2565 หรือที่เป็นปัจจุบัน 86.3 การจ่ายตามข้อ 86.2.1 สำหรับจำนวนผู้มีสิทธิ กรณีหน่วยบริการ สังกัด สป.สธ. ให้ใช้จำนวนผู้มีสิทธิ ที่ลงทะเบียน ณ วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นตัวแทนในการจ่าย ค่าใช้จ่ายทั้งปี สาหรับกรณีหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนใหม่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 หรือกรณีที่มี การเปลี่ยนแปลงจานวนผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียนของหน่วยบริการ สปสช. จะปรับการจ่ายให้แก่หน่วย บริการที่ เกี่ยวข้อง ภายใต้จำนวนผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียน ณ วันที่ 1 เมษายน 2565 ทั้งนี้ จะดาเนินการให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2565 และกรณีหน่วยบริการสังกัดอื่นให้เป็นไป ตามจานวนผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สาหรับผู้มีสิทธิในกรณีอื่ น ให้จ่าย ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กาหนด โดยคาแนะนาหรือความเห็นจาก อปสข. ตามบริบทซึ่งเป็นปัญหาในพื้นที่ ทั้งนี้ ให้ สปสช. เขต จัดให้มีกลไก มาตรการในกากับติดตาม เพื่อให้ผู้มีสิทธิเข้าถึงบริการและไม่ถูกเรียกเก็บเงิน 86.4 กรณีที่มีความจาเป็นในเขตพื้นที่ โดยคานึงถึงการส่งเสริมให้ผู้มีสิทธิสามารถ เข้าถึงการบริการสาธารณสุขด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ การจ่ายตามข้อ 86.1 และข้อ 86.2 ให้ปรับสัดส่วนจ่ายแบบเหมาจ่ายรายหัวต่อคน หรือการจ่าย ตามผลงานบริการ หรือทั้งสองกรณี รวมทั้งกาหนดให้มีการจ่ายตามรายการบริการให้แก่หน่วยบริการ ในเขตพื้นที่ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กาหนด โดยคาแนะนา หรือความเห็นจาก อปสข. ตามบริบทซึ่งเป็นปัญหาในพื้นที่ ข้อ 87 การบริหาร การจ่ายสาหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ลงทะเบียนกับ กรมแพทย์ทหารเรือและกรมแพทย์ทหารอากาศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่ สปสช. กำหนด ข้อ 88 การบริหารจัดการเพื่อให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงบริการสาธารณสุขมากขึ้น เช่น ผู้มีสิท ธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เป็นผู้ต้องขัง ผู้ไร้บ้าน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด ้ หนา 71 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 89 ให้ สปสช. สามารถปรับเกลี่ยเงินที่เหลือระหว่างประเภทบริการย่อยข้อ 84 ถึงข้อ 86 ได้ตามจำนวนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชา ติหรือผลงานบริการที่เกิดขึ้นจริง ข้อ 90 เมื่อสิ้นรอบการบริหารการจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามหมวดนี้แล้ว รายการบริการซึ่งกาหนดให้จ่ายตามผลงานบริการหรือจ่ายตามรายการบริการ หากมีเงินเหลือหรือได้รับ คืนมาไม่ว่ากรณีใด ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการหลักป ระกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วย การงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 25 6 5 อนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ้ หนา 72 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566