ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย พ.ศ. 2565
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย พ.ศ. 2565
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างว่าด้วย การจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการจ่ายเงิน สงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง และให้การบริหารงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอานาจตามความในมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างว่าด้วย การจ่ายเงินส งเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิก ( 1 ) ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงิน ที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย พ.ศ. 2560 ( 2 ) ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงิน ที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ( 3 ) ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงิน ที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “ เงินสงเคราะห์ ” หมายความว่า เงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างที่จ่ายให้แก่ลูกจ้าง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน “ คำขอ ” หมายความว่า คำขอรับเงินสงเคราะห์ “ คณะกรรมการ ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง “ อธิบดี ” หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ข้อ 5 ให้อธิบดีรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด 1 หลักเกณฑ์การจ่ายเงินสงเคราะห์ ข้อ 6 การจ่ายเงินสงเคราะห์ตามระเบียบนี้ ให้จ่ายจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ในส่วนที่มิ ใช่เงินสะสม เงินสมทบ และดอกผลจากเงินดังกล่าว ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566
ข้อ 7 ผู้มีสิทธิขอรับเงินสงเคราะห์ต้องเป็นลูกจ้างตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ลูกจ้างตามวรรคหนึ่งที่มิได้มีสัญชาติไทยต้องเป็นผู้เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายว่าด้วย คนเข้าเมืองและได้รับอนุญาตให้ทางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทางานของคนต่างด้าว หรือกฎหมายว่าด้วยการประมง ข้อ 8 ลูกจ้างมีสิทธิขอรับเงินสงเคราะห์ได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ ( 1 ) นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย โดยพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้าง จ่ายค่าชดเชยดังกล่าว และคาสั่งนั้นเป็นที่สุด หรือนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยเพราะเหตุ ที่นายจ้างไม่สามารถดาเนินกิจการต่อไป โดยพนักงานตรวจแรงงานมีคาสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชย ดังกล่าว แม้คำสั่งนั้นไม่เป็นที่สุด ( 2 ) นายจ้างไม่จ่ายเงินอื่นนอกจาก (1) ได้แก่ ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทางานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ค่าจ้างตามกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล ค่าตอบแทนตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หลักประกันการทางานหรือหลักประกันความเสียหายในการทางาน เฉพาะที่เป็นเงินสดตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เงินตามมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามมาตรา 17/1 แห่งพระราชบั ญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยพนักงานตรวจแรงงาน มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าว และคำสั่งนั้นเป็นที่สุด ( 3 ) กรณีตาม (1) หรือ (2) นายจ้างได้นาคดีไปสู่ศาล และศาลมีคาสั่งไม่อนุญาตให้ ขยายระยะเวลาการวางเงินต่อศาลตามมาตรา 125 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไม่ว่านายจ้างจะได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว หรือไม่ก็ตาม ลูกจ้างที่ได้รับเงินสงเคราะห์ตาม (1) แล้ว ไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตาม (2) เฉพาะกรณี นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า คาสั่งเป็นที่สุ ดตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า คาสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งให้นายจ้าง จ่ายค่าชดเชยหรือเงินอื่นให้แก่ลูกจ้างโดยนายจ้างมิได้ปฏิบัติตามและไม่ได้นำคดีไปสู่ศาลภายใน ระยะเวลาที่กำหนด ข้อ 9 สิทธิในการขอรับเงินสงเคราะห์ตามข้อ 8 ย่อมสิ้นสุดลงด้วยเหตุอย่างหนึ่งอย่าง ใด ดังต่อไปนี้ ( 1 ) นายจ้างนำคดีไปสู่ศาลและได้วางเงินต่อศาลตามมาตรา 125 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ้ หนา 6 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566
( 2 ) ลูกจ้างนำคดีไปสู่ศาลตามมาตรา 125 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือลูกจ้างนาคาสั่งพนักงานตรวจแรงงานซึ่งเป็นที่สุดไปฟ้องศาลเพื่อให้นายจ้างปฏิบัติ ตามคาสั่งและได้มีการทาสัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ได้แสดงข้อความไว้ชัดแจ้งว่า ให้ถือบังคับ ตามคาฟ้องหากคู่กรณีไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ( 3 ) นายจ้างได้นาเงิ นตามคาสั่งพนักงานตรวจแรงงานมาวางต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้ว หรือนายจ้างได้จ่ายเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน หรือตามคาพิพากษาของศาล หรือตามสัญญา ประนีประนอมยอมความหรือข้อตกลงใด ๆ ให้แก่ลูกจ้างก่อนที่กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจะได้จ่ายเงิน สงเคราะห์แก่ลูกจ้าง แล ะเป็นเงินจำนวนไม่น้อยกว่าอัตราเงินสงเคราะห์ที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับ ตามระเบียบนี้ ( 4 ) ลูกจ้างเคยได้รับเงินสงเคราะห์จากกรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินอื่นนอกจากค่าชดเชย ตามข้อ 8 (2) หรือข้อ 8 ( 3) ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับเงินสงเคราะห์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณี นายจ้างรายเดิม ( 5 ) ลูกจ้างยื่นคาขอรับเงินสงเคราะห์ตามข้อ 10 ภายหลังจากกระบวนการขอรับชาระหนี้ หรือกระบวนการเฉลี่ยทรัพย์ได้เสร็จสิ้นกระบวนการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายแล้ว และลูกจ้างได้รับเงิน จากกระบวนการดังกล่าวไม่น้อยกว่าอัตราเงินสงเคราะห์ที่ลู กจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามระเบียบนี้แล้ว กรณีลูกจ้างมีสิทธิขอรับเงินสงเคราะห์จากกรณีนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามข้อ 8 (1) หรือตามข้อ 8 ( 3) และได้ยื่นคาขอตามข้อ 10 แล้ว แต่ภายหลังพนักงานตรวจแรงงานพบข้อเท็จจริงว่า สิทธิของลูกจ้างสิ้นสุดลงด้ วยเหตุตามวรรคหนึ่ง หรือมิ ใช่ผู้มีสิทธิขอรับเงินสงเคราะห ตามข้อ 7 หรือ การยื่นคำขอไม่เป็นไปตามกรณีที่กำหนดตามข้อ 8 (1) หรือข้อ 8 (3) หรือการยื่นคำขอนั้น พ้นระยะเวลาที่กาหนดตามข้อ 10 ให้พนักงานตรวจแรงงานจาหน่ายคำขอนั้นเสีย และให้รายงานต่อ ผู้มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อทราบ กรณีลูกจ้างมีสิทธิขอรับเงินสงเคราะห์จากกรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินอื่นนอกจากค่าชดเชย ตามข้อ 8 (2) หรือข้อ 8 ( 3) และได้ยื่นคำขอตามข้อ 10 แล้ว แต่ภายหลังพนักงานตรวจแรงงาน พบข้อเท็จจริงว่าสิทธิของลูกจ้างสิ้นสุ ดลงด้วยเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดตามวรรคหนึ่ง หรือมิใช่ผู้มีสิทธิ ขอรับเงินสงเคราะห์ตามข้อ 7 หรือการยื่นคำขอไม่เป็นไปตามกรณีที่กำหนดตามข้อ 8 (2) หรือข้อ 8 (3) หรือการยื่นคาขอนั้นพ้นระยะเวลาที่กาหนดตามข้อ 10 ให้พนักงานตรวจแรงงาน จำหน่ายคำขอนั้นเสีย และให้รายงานต่อผู้มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อทราบ ทั้งนี้ กรณีที่คณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้จ่ายเงินสงเคราะห์ตามคำขอนั้นแล้ว ให้รายงานคณะกรรมการทราบต่อไป ข้อ 10 ลูกจ้างที่ประสงค์จะใช้สิทธิตามข้อ 8 ให้ยื่นคำขอภายในสองปีนับแต่วันที่ คาสั่งพนั กงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด โดยยื่นคาขอต่อพนักงานตรวจแรงงานตามแบบที่อธิบดีกาหนด หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใดตามที่อธิบดีประกาศกาหนด ้ หนา 7 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566
ข้อ 11 เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้รับคาขอตามข้อ 10 แล้ว ให้ดาเนินการสอบสวน ข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้ ( 1 ) เป็นผู้มีสิทธิขอรับเงินสงเคราะห์ตามข้อ 7 ( 2 ) ลูกจ้างมีสิทธิขอรับเงินสงเคราะห์ตามข้อ 8 ( 3 ) ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อนทางการเงินจากการที่นายจ้างไม่จ่ายเงินตามคาสั่งพนักงาน ตรวจแรงงาน ให้พนักงานตรวจแรงงานบันทึกข้อมูลตาม (3) ลงในแบบแจ้งข้อมูลความเดือดร้อนใน การดารงชีพ ตามที่อธิบดีกำหนด พร้อมทั้งจัดทำสรุปความเดือดร้อนในภาพรวม หมวด 2 การพิจารณาคำขอ และอัตราการจ่ายเงินสงเคราะห์ ข้อ 12 กรณีที่ลูกจ้างใช้สิทธิขอรับเงินสงเคราะห์จากกรณีนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ตามข้อ 8 ( 1) หรือข้อ 8 ( 3) เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้ดำเนินการตามข้อ 11 แล้ว ให้พนักงานตรวจแรงงานเสนอคาขอและเอกสารที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยความเห็นต่อผู้มีอานาจอนุมัติ การจ่ายเงินสงเคราะห์ตามข้อ 1 7 ภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับคำขอดังกล่าว ข้อ 13 อัตราการจ่ายเงินสงเคราะห์จากกรณีนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามข้อ 8 ( 1) หรือข้อ 8 ( 3) ให้จ่ายในอัตรา ดังต่อไปนี้ (1) สามสิบเท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ารายวันตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเกี่ยวกับ อัตราค่าจ้างขั้นต่า สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกัน ครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันแต่ไม่ครบสามปี (2) ห้าสิบเท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเกี่ยวกับ อัตราค่าจ้างขั้นต่า สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปีแต่ไม่ครบสิบปี (3) เจ็ดสิบเท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้ำงเกี่ยวกับ อัตราค่าจ้างขั้นต่า สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายเงินสงเคราะห์แก่ลูกจ้างในคราวเดียวกันทั้งจานวน แต่ไม่เกินกว่าจานวนเงินค่าชดเชย ที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่าย กรณีลูกจ้างได้รับค่าชดเชยจากนายจ้างบางส่วนแล้ว ให้จ่ายเงินสงเคราะห์แก่ลูกจ้างเพิ่ม เฉพาะในส่วนที่ยังไม่ครบถ้วนตามที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามวรรคหนึ่ง ข้อ 14 กรณีที่ลูกจ้างใช้สิทธิขอรับเงินสงเคราะห์จากกรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินอื่นนอกจาก ค่าชดเชยตามข้อ 8 (2) หรือข้อ 8 ( 3) เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้ดาเนินการตามข้อ 11 แล้ว ให้พนักงานตรวจแรงงานส่งคำขอรับเงินสงเคราะห์และเอกสารที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยความเห็น ต่อคณะกรรมการภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับคำขอดังกล่าว เมื่อคณะกรรมการได้รับคำขอตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พิจารณาและมีม ติโดยไม่ชักช้า ้ หนา 8 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566
กรณีคณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้จ่ายเงินสงเคราะห์ ให้พนักงานตรวจแรงงานเสนอคาขอ เอกสารที่เกี่ยวข้อง และมติคณะกรรมการ พร้อมด้วยความเห็นต่อผู้มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงิน สงเคราะห์ตามข้อ 1 7 ภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่คณะกรรมการมีมติ กรณีคณะกรร มการมีมติไม่เห็นชอบให้จ่ายเงินสงเคราะห์ ให้สานักงานสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่หรือสานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดมีหนังสือแจ้งมติ ดังกล่าวแก่ลูกจ้างด้วยวิธีการที่กาหนดไว้ตามมาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ภายในห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบมติดังกล่าว ข้อ 15 อัตราการจ่ายเงินสงเคราะห์จากกรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินอื่นนอกจากค่าชดเชย ตามข้อ 8 (2) หรือข้อ 8 ( 3) ให้จ่ายในอัตราไม่เกินหกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ารายวัน ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเกี่ยวกับอั ตราค่าจ้างขั้นต่า ให้จ่ายเงินสงเคราะห์แก่ลูกจ้างในคราวเดียวกันทั้งจำนวน แต่ไม่เกินกว่าจำนวนเงินอื่นนอกจาก ค่าชดเชยที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่าย กรณีลูกจ้างได้รับเงินอื่นตามข้อ 8 (2) จากนายจ้างบางส่วนแล้ว ให้จ่ายเงินสงเคราะห์ แก่ลูกจ้างเพิ่ มเฉพาะในส่วนที่ยังไม่ครบถ้วนตามที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามวรรคหนึ่ง ข้อ 16 คณะกรรมการอาจกาหนดหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขใด ๆ ได้เท่าที่จาเป็น โดยไม่ขัดต่อ ระเบียบนี้ ให้ลูกจ้าง พนักงานตรวจแรงงาน หรือผู้มีอานาจอนุมัติ ได้ปฏิบัติ เพื่อให้การพิจารณา การจ่ายเงินสงเคราะห์มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ หมวด 3 ผู้มีอำนาจอนุมัติ และระยะเวลาการจ่ายเงินสงเคราะห์ ข้อ 17 ให้บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงินสงเคราะห์ ( 1 ) อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย สาหรับกรณีที่ลูกจ้างได้ยื่นคาขอตามข้อ 10 ต่อพนักงาน ตรวจแรงงานซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในราชการบริหารส่วนกลาง ( 2 ) ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย สำหรับกรณีที่ลูกจ้าง ได้ยื่นคำขอตามข้อ 10 ต่อพนักงานตรวจแรงงานซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในราชกา รบริหารส่วนภูมิภาค ให้ผู้มีอานาจอนุมัติการจ่ายเงินสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่งพิจารณาคาขอให้แล้วเสร็จภายใน เจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการเสนอจากพนักงานตรวจแรงงานตามข้อ 1 2 หรือข้อ 1 4 แล้วแต่กรณี ข้อ 18 ให้สานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่หรือสานักงาน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดที่ลูกจ้างได้ยื่นคาขอตามข้อ 10 แล้วแต่กรณี มีหนังสือแจ้ง ผล การพิจารณาของบุคคลตามข้อ 1 7 แก่ลูกจ้างด้วยวิธีการที่กาหนดไว้ตามมาตรา 143 แห่งพระราชบัญญั ติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ภายในห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบผลการพิจารณาดังกล่าว ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566
กรณีตามวรรคหนึ่ง หากผลการพิจารณาของบุคคลดังกล่าวอนุมัติให้จ่ายเงินสงเคราะห์แก่ลูกจ้าง ให้ลูกจ้างมารับเงินสงเคราะห์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณาดั งกล่าว กรณีลูกจ้างไม่มารับเงินสงเคราะห์ภายในระยะเวลาตามวรรคสอง ให้สิทธิในการรับเงินสงเคราะห์ ดังกล่าวระงับสิ้นไป การระงับสิ้นไปของสิทธิในการรับเงินสงเคราะห์ตามวรรคสาม ไม่เป็นการตัดสิทธิของลูกจ้าง ในการใช้สิทธิยื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์ตามข้อ 8 ใหม่ ภายในกำหนดเวลาตามข้อ 10 หมวด 4 การคืนเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ข้อ 19 กรณีลูกจ้างได้รับเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างแล้ว แต่ในภายหลัง พบว่าลูกจ้างเป็นผู้ไม่มีสิทธิตามข้อ 9 ให้พนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่มีคาสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชย หรื อเงินอื่นนอกจากค่าชดเชยมีหนังสือแจ้งให้ลูกจ้างนาเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยคืนแก่กองทุนสงเคราะห์ ลูกจ้างด้วยวิธีการที่กาหนดไว้ตามมาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือดังกล่าว บทเฉพาะกาล ข้อ 20 บรรดาประกาศที่ออกตามความแห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ใช้บังคับได้ต่อไปจนกว่าจะได้มีการออกประกาศตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 2 9 ธันวาคม พ.ศ. 256 5 บุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ประธานกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 38 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566