ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย และวิธีการป้องกันอันตราย ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ พ.ศ. 2566
ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย และวิธีการป้องกันอันตราย ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ พ.ศ. 2566
ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกาหนดที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ที่นั่งพิเศษสาหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย และวิธีการป้องกันอันตราย ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดที่นั่งนิรภัยสาหรับเด็ก ที่นั่งพิเศษสาหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย และวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของคนโดยสารที่เป็นเด็ก อายุไม่เกินหกปี คนโดยสารที่มีความสูงไม่เกินหนึ่งร้อยสามสิบห้าเซนติเมต ร และผู้ขับขี่หรือคนโดยสาร ที่มีเหตุผลทางสุขภาพอันไม่สามารถรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการขับขี่ และการโดยสาร อาศัยอานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 ผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศสานักงานตารวจแห่งชาติ เรื่อง การกาหนดที่นั่งนิรภัย สำหรับเด็ก ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย และวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิ ดอุบัติเหตุ พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในประกาศนี้ “ รถกระบะ ” หมายถึง รถบรรทุกตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และให้รวม ถึงรถยนต์กระบะสี่ประตู “ รถกึ่งกระบะ ” หมายถึง รถกระบะที่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ ( Space Cab ) ข้อ 4 ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ต้องมีลักษณะและมาตรฐาน ดังต่อไปนี้ 4.1 ลักษณะของที่นั่งนิรภัยสาหรับเด็ก ได้แก่ (ก) ที่นั่งนิรภัยชนิดนั่งหันไปทางด้านหลังรถ (ข) ที่นั่งนิรภัยชนิดนั่งหันไปทางด้านหน้ารถ 4.2 ในกรณีที่ได้มีการกาหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสาหรับที่นั่งนิรภัย สาหรับเด็กแบบใดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว ที่นั่งนิรภัยสาหรับเด็ก ที่จะใช้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้น ข้อ 5 ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย ต้องมีลักษณะและมาตรฐาน ดังต่อไปนี้ 5.1 ลักษณะของที่นั่งพิเศษสาหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย ได้แก่ ที่นั่งพิเศษแบบ ที่นั่งเสริมที่ไม่มีพนักพิง ( Boost er Seat ) ้ หนา 32 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 กุมภาพันธ์ 2566
5.2 ในกรณีที่ได้มีการกาหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสาหรับที่นั่งพิเศษ สาหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตรายแบบใดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตรายที่จะใช้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกร รมนั้น ข้อ 6 ที่นั่งนิรภัยสาหรับเด็กตามข้อ 4 และที่นั่งพิเศษสาหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย ตามข้อ 5 ให้หมายความรวมถึง ระบบยึดเหนี่ยวผู้โดยสารเด็กตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมด้วย ข้อ 7 วิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ แบ่งเป็น 7.1 ในกรณีที่ไม่สามารถจัดให้คนโดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกินหกปีนั่งในที่นั่งตามข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 ได้ ให้ถือปฏิบัติตามที่กาหนด ดังนี้ ( 1 ) ต้องขับรถด้วยความเร็วช้าโดยคานึงถึงความปลอดภัย และต้องขับให้ใกล้ ขอบทางเดินรถด้านซ้าย เว้นแต่ - ในช่อ งเดินรถนั้นมีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดการจราจร - จะต้องเข้าช่องทางให้ถูกต้องเมื่อเข้าบริเวณใกล้ทางร่วมทางแยก - เมื่อจะแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น ( 2 ) ต้องจัดให้เด็กนั้นนั่งในที่นั่งโดยสารตอนหลัง เว้นแต่เป็นรถกระบะหรือ รถกึ่งกระบะ ให้นั่งโดยสารที่นั่ง ตอนหน้าได้ ทั้งนี้ ห้ามมิให้นั่งตอนท้ายกระบะ ( 3 ) ต้องจัดให้มีผู้ดูแลเด็กในขณะโดยสาร หรือให้เด็กรัดเฉพาะเข็มขัดรัดหน้าตัก 7.2 ในกรณีที่คนโดยสารที่มีความสูงไม่เกินหนึ่งร้อยสามสิบห้าเซนติเมตร ไม่สามารถ รัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งได้ ให้ ปฏิบัติตามที่กาหนด ดังนี้ ( 1 ) ต้องขับรถด้วยความเร็วช้าโดยคานึงถึงความปลอดภัย และต้องขับให้ใกล้ ขอบทางเดินรถด้านซ้าย เว้นแต่ - ในช่องเดินรถนั้นมีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดการจราจร - จะต้องเข้าช่องทางให้ถูกต้องเมื่อเข้าบริเวณใกล้ทางร่วมทางแยก - เมื่อจะแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น ( 2 ) ต้องจัดให้ผู้นั้นนั่งในที่นั่งโดยสารตอนหลัง เว้นแต่เป็นรถกระบะหรือ รถกึ่งกระบะ ให้นั่งโดยสารที่นั่งตอนหน้าได้ ทั้งนี้ ห้ามมิให้นั่งตอนท้ายกระบะ 7.3 ผู้ ขับขี่หรือคนโดยสารที่มีเหตุผลทางสุขภาพอันไม่สามารถรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย ไว้กับที่นั่งได้ ต้องขับรถด้วยความเร็วช้าโดยคานึงถึงความปลอดภัย และต้องขับให้ใกล้ขอบทางเดินรถ ด้านซ้าย เว้นแต่ - ในช่องเดินรถนั้นมีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดการจราจร - จะต้องเข้าช่องทางให้ถูกต้องเมื่อเข้าบริเวณใกล้ทางร่วมทางแยก - เมื่อจะแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น ้ หนา 33 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 กุมภาพันธ์ 2566
ข้อ 8 ในการโดยสารรถยนต์สาธารณะ หรือรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารเพื่อสินจ้าง ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 แต่ให้ถือปฏิบัติตามข้อ 7 ของประกาศฉบับนี้โดยอนุโลม ประกาศ ณ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 25 6 6 พลตำรวจเอก ดา รงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ้ หนา 34 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 กุมภาพันธ์ 2566