Wed Feb 15 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 46/2566 เรื่อง มาตรการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานบนเรือเรื่องการเข้ายาม การกำหนดชั่วโมงการพักผ่อน และความเหนื่อยล้าจากการทำงาน ของคนประจำเรือ


ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 46/2566 เรื่อง มาตรการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานบนเรือเรื่องการเข้ายาม การกำหนดชั่วโมงการพักผ่อน และความเหนื่อยล้าจากการทำงาน ของคนประจำเรือ

ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 46/ 2566 เรื่อง มาตรการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานบนเรือเรื่องการเข้ายาม การกำหนดชั่วโมงการพักผ่อน และความเหนื่อยล้าจากการทางาน ของคนประจาเรือ ตามที่อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานการฝึกอบรม การออกประกาศนียบัตร และ การเข้ายามสาหรับคนประจาเรือ ค.ศ. 1978 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( International Convention on Standards of Training, Certification and Watchkeeping for Seafarers 1 9 7 8 , a s amended ) และอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล ค.ศ. 2006 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( Maritime Labour Convention 2006 , as amended ) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี กำหนดมาตรการ เพื่อความปลอดภัยในการทางานบนเรือเรื่องการเข้ายาม การกาหนดชั่วโมงการพักผ่อน และความเหนื่อยล้า จากการทำงาน ของคนประจำเรือ ให้เป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนดระหว่างประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การกาหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการทางานบนเรือเรื่องการเข้ายาม การกาหนดชั่วโมงการพักผ่อน และความเหนื่อยล้าจากการทางาน ของคนประจาเรือ ตลอดจนปฏิบั ติ ตามกฎหมายหรือข้อบังคับเกี่ยวแก่การเดินเรือหรือหน้าที่ที่พึงปฏิบัติของตน ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสอดคล้องกับมาตรฐานและข้อกาหนดระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากการทางานบนเรือ อาศัยอำนาจตามความในข้อ 2/1 ของ กฎกระทรวงกาหนดมาตรฐานเครื่องมื อหรืออุปกรณ์และมาตรการ เพื่อความปลอดภัยในการทำงานบนเรือ พ.ศ. 2561 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติม โดย กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน เครื่องมือหรืออุปกรณ์และมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการทางานบนเรือ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 อธิบดีกรมเจ้าท่า ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้การกาหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของคนประจาเรือเป็นไปตามอนุสัญญา ระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานการฝึกอบรม การออกประกาศนียบัตร และการเข้ายามสาหรับ คนประจาเรือ ค.ศ. 1978 และที่แก้ไข เพิ่มเติม อนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล ค.ศ. 2006 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และประมวลข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานการฝึกอบรม การออกประกาศนียบัตร และการเข้ายามของคนประจำเรือ ข้อ 3 ให้เรือจัดให้คนประจำเรือทุกคนมีชั่วโมงการพักผ่อน ดังต่อไปนี้ (1) ภายใน 1 วั น ต้องมีเวลาพักผ่อนไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง หรือภายใน 1 สัปดาห์ ต้องมีเวลาพักผ่อนอย่างน้อย 77 ชั่วโมง ทั้งนี้ อาจแบ่งแต่ละช่วงเวลาของการพักผ่อนได้ ดังนี้ (1.1) แบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา โดยแต่ละช่วงเวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อเนื่องกัน และ เมื่ อรวมแต่ละช่วงเวลาแล้วต้องไม่เกินกว่า 14 ชั่วโมง ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 กุมภาพันธ์ 2566

(1.2) แบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา โดยในช่วงเวลาหนึ่งจะต้องไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง และ อีกสองช่วงเวลาที่เหลือต้องไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง และเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 14 ชั่วโมง ข้อ 4 ให้เรือจัดทาประกาศตาราง การเข้ายามเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยติดไว้บนเรือ ในบริเวณที่สังเกตเห็นได้ง่าย ข้อ 5 ให้เรือจัดทาบันทึกชั่วโมงการพักผ่อนของคนประจาเรือเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และให้สาเนาบันทึกชั่วโมงการพักผ่อนให้แก่คนประจาเรือทุกนาย ทั้งนี้ ให้นายเรือหรือบุคคลที่ได้รับ มอบหมายจากนายเรือ และคนประจำเรือลงนามในบันทึกชั่วโมงการพักผ่อนด้วย ข้อ 6 ในกรณีจาเป็นหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินต่อคน สินค้า หรือได้ให้การค้นหาและช่วยเหลือ เรือลำอื่ นหรือบุคคลอื่นซึ่งประสบภัยในทะเล เรืออาจได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามชั่วโมง การพักผ่อนตามประกาศนี้ โดยนายเรืออาจเลื่อนตารางชั่วโมงการพักผ่อนและชั่วโมงการปฏิบัติงาน ของคนประจำเรือ จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ภายใต้การยกเว้นตามวรรคแรก นาย เรือต้องจัดให้คนประจาเรือมีชั่วโมงการพักผ่อนภายใน 7 วัน ต้องไม่น้อยกว่า 70 ชั่วโมง และการยกเว้นชั่วโมงการพักผ่อนนั้นต้องไม่ติดต่อกันนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ ในสองช่วงเวลาของการยกเว้นจะต้องไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของระยะเวลาการยกเว้น ข้อ 7 นายเรือหรือค นประจาเรือต้องห้ามปฏิบัติหน้าที่ หากพบว่าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยระดับปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดจะต้องมีปริมาณไม่เกินกว่า 0.05 เปอร์เซ็นต์ หรือหากเป็น แอลกอฮอล์ทางลมหายใจจะต้องมีปริมาณไม่เกินกว่า 0.25 เปอร์เซ็นต์ หรือในระดับปริมาณที่ส่งผล ต่อการปฏิบั ติงานของนายเรือ นายประจาเรือ ลูกเรือ ในขณะที่ได้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับความปลอดภัย ของเรือ การรักษาความปลอดภัยของเรือ และการป้องกันสิ่งแวดล้อมทางทะเล ข้อ 8 นายประจาเรือซึ่งมีหน้าที่ในการเข้ายามขณะเรือเดินและเรือจอด ต้องมีคุณสมบัติ ตามที่กาหนดไว้สำหรับการปฏิ บัติหน้าที่การเข้ายามฝ่ายเดินเรือทั้งขณะที่เรือเดินและเรือจอด นายประจาเรือซึ่งมีหน้าที่ในการเข้ายามในห้องเครื่อง ต้องมีคุณสมบัติตามที่กาหนดไว้สำหรับ การปฏิบัติหน้าที่การเข้ายามฝ่ายช่างกลทั้งขณะที่เรือเดินและเรือจอด ข้อ 9 ให้เรือจัดเตรียมแผนเส้นทางการเดินเ รืออันประกอบด้วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และ ให้ตรวจสอบทิศทางที่วางแผนไว้ในแผนที่ในเส้นทางการเดินเรือนั้น ข้อ 10 ให้ต้นกลเรือปรึกษาร่วมกันกับนายเรือ ในเรื่องสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ระหว่างการเดินเรือ ได้แก่ น้ามันเชื้อเพลิง น้ามันหล่อลื่น สารเคมี อะไหล่ อะ ไหล่สารอง อาหาร น้าดื่ม และสิ่งอื่นใด ที่จำเป็น ข้อ 11 ก่อนการออกเดินทาง นายเรือต้องวางแผนและตรวจสอบรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดเกี่ยวกับเส้นทางการเดินเรือจากเมืองท่าต้นทางถึงเมืองท่าปลายทาง รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้อง กับการเดินเรือให้ครบถ้วน ทั้งนี้ ให้ทาการแก้ไข ปรับปรุง ข้อมูล และข้อจากัดหรือคาเตือนใด ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่การเดินเรือ ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 12 เมื่อได้วางแผนเส้นทางการเดินเรือ และได้มีการตรวจสอบตามข้อ 11 แล้ว ให้แสดงแผนการเดินเรือนั้นบนแผนที่ และนายยามที่ปฏิบัติหน้าที่เข้ายามบนสะพานเดิ นเรือนั้น จะต้องรับทราบและพร้อมปฏิบัติตามเส้นทางที่กำหนดไว้ก่อนการเดินทางในแต่ละเที่ยว ข้อ 13 เรือต้องมีการวางแผนก่อนในกรณีแก้ไขเปลี่ยนแปลงเส้นทางในระหว่างการเดินเรือ และกรณีเกิดการเปลี่ยนเมืองท่าปลายทาง หรือมีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางจากที่วางแผนไว้ด้วยเหตุผลใด ก็ตาม ข้อ 14 ให้เรือจัดให้มีระบบการจัดการเข้ายามบนสะพานเดินเรือและการเข้ายามในห้องเครื่อง ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ให้บุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่เข้ายาม ต้องมีความพร้อมสำหรับปฏิบัติหน้าที่ในสถำนการณ์ต่าง ๆ (2) การกาหนดบุคคลที่เข้ายาม ต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติตามความเหมาะสมพื้นฐานเฉพาะ ของแต่ละบุคคลด้วย (3) ให้คำนึงถึงข้อแตกต่างของแต่ละบุคคลที่เข้ายาม (4) ให้นายเรือ ต้นกลเรือ และนายยาม ต้องดูแลการเข้ายามอย่างต่อเนื่อง เอกสารประกอบ ข้อมูลการเดินทาง การติดตั้งอุปกรณ์การใช้งานบนเรือ รวมถึงเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวด้วย (5) บุคคลที่เข้ายามต้องมีความรู้ความเข้าใจและคุ้นเคยกับระบบและการใช้งานอุปกรณ์บนเรือ (6) บุคคลที่เข้ายามต้องมีความรู้ความเข้าใจในข้อมูลและการสนองตอบต่ อข้อมูลดังกล่าว ให้กับสถานีและอุปกรณ์บนเรือ (7) บุคคลที่เข้ายามควรกำกับดูแลการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ ให้เหมาะสม ในทุกสถานการณ์ (8) หากมีข้อสงสัยใดในเรื่องการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ให้บุคคลที่เข้ายาม แจ้งแก่นายเรือ ต้นกลเรือ และนายยามโดยทัน ที ข้อ 15 เพื่อความปลอดภัยของการเดินเรือเมื่ออยู่กลางทะเล ให้บุคลากรบนเรือปฏิบัติหน้าที่ ตามข้อกำหนดการเข้ายาม ดังต่อไปนี้ (1) ให้นายเรือกาหนดอัตรากาลังที่เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงการโดนกันหรือการเกยตื้นของเรือ (2) ต้นกลเรือมีหน้าที่ให้คาปรึกษาแก่นายเรือเพื่อให้การเข้ายามเป็นไปอย่างเหมาะสมและ ปลอดภัยในการเข้ายามฝ่ายช่างกล (3) นายเรือ นายประจาเรือ และลูกเรือ ควรใช้ความระมัดระวังต่อผลกระทบที่ร้ายแรง ที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน หรืออุบัติการณ์ที่อาจก่อให้เกิดมลพิ ษทางทะเลต่าง ๆ และออกคำเตือน เพื่อหลีกเลี่ยงมลพิษทางทะเลเท่าที่จะทำได้ ข้อ 16 ขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ นายยามฝ่ายเดินเรือถือเป็นตัวแทนนายเรือ และเป็นบุคคลแรก ที่ต้องรับผิดชอบตลอดระยะเวลา รวมถึงต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับระหว่างประเทศสาหรับป้องกัน เรือโดนกันในทะเล ค.ศ. 1972 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยต้องมีการเฝ้าระวังเหตุ ได้แก่ ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 กุมภาพันธ์ 2566

(1) ปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจตรา เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องโดยวิธีสังเกตและการเฝ้าฟัง หรือ ทุกวิธีการที่จะมีการเปลี่ยนแปลงขณะปฏิบัติหน้าที่ (2) ปฏิบัติหน้าที่ในการประเมินควา มเสี่ยงในการโดนกัน การเกยตื้น และอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินเรือ ข้อ 17 ขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ นายยามฝ่ายเดินเรือต้องหมั่นตรวจตรา เฝ้าระวังเหตุอย่างดีที่สุด และไม่ปฏิบัติหน้าที่อื่นหรือกระทำการอื่นใดที่เป็นการรบกวน ข้อ 18 หน้าที่ความรับผิดชอบในการเฝ้าระวังเหตุและถือท้าย ไม่ควรเป็นของบุคคลเดียวกัน โดยคนถือท้ายต้องไม่ปฏิบัติหน้าที่เป็นนายยามฝ่ายเดินเรือในขณะถือท้าย เว้นแต่ เป็นเรือขนาดเล็ก ที่ไม่มีสิ่งกีดขวางทัศนวิสัยการมองเห็นโดยรอบ อย่างไรก็ดี นายยามฝ่ายเดินเรือซึ่งปฏิ บัติหน้าที่ ขณะเรือเดินอาจเข้ายามเฝ้าระวังเหตุด้วยตนเองในเวลากลางวันได้เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ได้ประเมินสถานการณ์อย่างระมัดระวังแล้วว่ามีความปลอดภัย โดยปราศจากข้อสงสัย ( 2 ) ต้องนาปัจจัยอื่น ๆ มาพิจารณาร่วมด้วย ไม่เฉพาะแต่สภาพอากาศ ทัศนวิสัยการมองเห็ น ความหนาแน่นของการจราจร จุดที่เป็นอันตรายต่อการเดินเรือ บริเวณที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ในขณะเดินเรือหรือใกล้กับบริเวณแผนแบ่งแนวจราจร ทั้งนี้ ในการปฏิบัติหน้าที่ต้องสามารถให้การช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีเมื่อถูกร้องขอ จากสะพานเดินเรือในกรณีที่สถานการ ณ์เปลี่ยนแปลง ข้อ 19 ให้นายเรือพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ให้ครบถ้วนในการกำหนดองค์ประกอบของ การเข้ายามฝ่ายเดินเรือให้เหมาะสมเพียงพอเพื่อให้แน่ใจว่ามีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ นายเรือ ต้องมีส่วนในการตัดสินใจสถานการณ์ต่าง ๆ ที่สำคัญ รวมถึง ปัจจัยต่า ง ๆ ต่อไปนี้ด้วย ( 1 ) ทัศนวิสัยการมองเห็น สภาพอากาศ และสภาพท้องทะเล ( 2 ) ความหนาแน่นของการจราจร และกิจกรรมอื่นใดที่เกิดขึ้นในบริเวณที่เรือเดิน ( 3 ) บริเวณที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในขณะเดินเรือหรือใกล้กับบริเวณแผนแบ่งแนวจราจร หรือเส้นทางอื่นใด ( 4 ) ภาระงานที่เพิ่มมากขึ้นจากการปฏิบัติงานของเรือ ข้อกาหนดในการปฏิบัติงานอย่างฉับพลัน รวมถึงการนาเรือให้เป็นไปตามความคาดหมาย ( 5 ) ความเหมาะสมของคนประจำเรือในการปฏิบัติหน้าที่เข้ายาม ( 6 ) ความรู้ความเข้าใจ ความเชื่อมั่น และประสบการณ์ ต่อนายประจำเรือและลูกเรื อ ( 7 ) ประสบการณ์ของนายประจาเรือแต่ละนายในการเข้ายามฝ่ายเดินเรือ และความคุ้นเคย ที่มีต่ออุปกรณ์บนเรือ ลักษณะของการปฏิบัติงาน และขีดความสามารถในการนำเรือ ( 8 ) กิจกรรมใด ๆ ที่ได้กระทาบนเรือในทุกสภาวการณ์ รวมไปถึงติดต่อสื่อสารทางวิทยุ และ ความพร้อมในกา รให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที เมื่อได้รับการร้องขอจากบนสะพานเดินเรือ ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 กุมภาพันธ์ 2566

( 9 ) สถานะของเครื่องมือ อุปกรณ์ และแผงควบคุมบนสะพานเดินเรือ รวมทั้ง ระบบสัญญาณ แจ้งเตือนภัยต่าง ๆ ( 10 ) ลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ของการควบคุมหางเสือ การควบคุมใบจักรเรือ และการนาเรือ ( 11 ) ขนาดของเรือ รวมทั้งทัศนวิสัยการมองเห็นจากจุดสั่งการเรือ ( 12 ) การกาหนดตั้งค่าต่าง ๆ บนสะพานเดินเรือที่ต้องไม่กระทบถึงการปฏิบัติงานของนายยาม ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ผ่านการมองเห็นหรือการได้ยินโดยอุปกรณ์อื่นใด ( 13 ) มาตรฐาน ขั้นตอน หรือข้อแนะนาอื่นใด อันเกี่ ยวกับการจัดการเข้ายามและความเหมาะสม ตามภาระหน้าที่ ซึ่งองค์การทางทะเลระหว่างประเทศกาหนด ข้อ 20 ในการพิจารณากาหนดบุคลากรในการเข้ายามบนสะพานเดินเรือ นอกเหนือจาก การพิจารณาคุณสมบัติที่เหมาะสมของลูกเรือแล้ว ยังต้องคานึงถึงปัจจัย ดังต่อไปนี้ (1) ต้องมีกา รปฏิบัติหน้าที่บนสะพานเดินเรือตลอดเวลา (2) สภาพอากาศ และทัศนวิสัยการมองเห็น ทั้งในเวลากลางวันหรือกลางคืน (3) สถานการณ์ความเสี่ยงภัยที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งอาจมีความจาเป็นต้องพิจารณาเพิ่มหน้าที่ ในการเดินเรือให้แก่นายยามเพิ่มเติม (4) การใช้งานและสภาพการใช้งานของอุปกรณ์ช่วยนาเรือต่าง ๆ อาทิเช่น แผนที่เดินเรือ อิเล็กทรอนิกส์ และสารสนเทศเพื่อการเดินเรือ ( ECDIS ) เรดาร์ หรืออุปกรณ์ระบุตาแหน่งอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งอุปกรณ์อื่นใดซึ่งมีผลกระทบกับการเดินเรืออย่างปลอดภัย ( 5 ) มีระบบการถือท้าย เรือแบบอัตโนมัติ ( 6 ) หน้าที่เกี่ยวกับวิทยุของเรือ ( 7 ) การควบคุม สัญญาณเตือนภัย และหน่วยชี้วัด พื้นที่ห้องเครื่องที่ไม่ต้องมีการเข้ายาม ( UMS ) บนสะพานเดินเรือ รวมถึงขั้นตอนการใช้งานและข้อจำกัดของอุปกรณ์ ( 8 ) การเพิ่มขึ้นของหน้าที่เข้ายามฝ่ายเดินเรือซึ่ง อาจเป็นผลมาจากสถานการณ์พิเศษ ข้อ 21 นายยามฝ่ายเดินเรือต้องไม่ส่งมอบการเข้ายามของตนให้กับนายยามผลัดถัดไป หากเชื่อได้ว่านายยามดังกล่าวไม่มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่เข้ายามได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งต้องแจ้งเหตุดังกล่าวให้แก่นายเรือทราบทันที ข้อ 22 นายยามผลัดถัดไปต้องแน่ใจว่าลูกยามสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มความสามารถ โดยเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ในเวลากลางคืน ทั้งนี้ นายยามผลัดถัดไปต้องไม่รับยามจนกว่าสามารถ ปรับสภาพการมองเห็นได้อย่างชัดเจนในเวลากลางคืน ข้อ 23 ก่อนการเข้ายาม นายยามผลัดถัดไปต้องทราบตาแหน่งโดยประมาณหรือตาแหน่ง ที่แท้จริงของเรือ ตรวจสอบเส้นทางการเดินเรือ ทิศทางและความเร็วของเรือ รวมทั้งตรวจสอบ ความเหมาะสมของระบบควบคุมพื้นที่ห้องเครื่องที่ไม่ต้องมีการเข้ายาม ( UMS ) และต้องเตรียมรับมือ ต่อสถานการณ์อันตรายที่อาจ เกิดขึ้นระหว่างการเดินเรือ ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 24 นายยามผลัดถัดไปต้องทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ ( 1 ) คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อแนะนำต่าง ๆ ของนายเรืออันเกี่ยวกับการเดินเรือ ( 2 ) ตาแหน่งของเรือ เส้นทางการเดินเรือ ความเร็วของเรือ และอัตรากินน้าลึกของเรือ ( 3 ) คลื่นล ม กระแสน้า สภาพภูมิอากาศ และทัศนวิสัยการมองเห็น ในขณะปัจจุบันหรือ ตามที่คาดการณ์ รวมทั้งผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าวต่อทิศทางและความเร็วเรือ ( 4 ) ขั้นตอนในการใช้งานเครื่องยนต์ในการนาเรือ เมื่อเครื่องยนต์อยู่ภายใต้การควบคุม ของสะพานเดินเรือ ( 5 ) สถานการณ์ในกำรเดินเรือรวมถึง แต่ไม่จำกัดเฉพาะ ( 5.1 ) สภาพการใช้งานของอุปกรณ์เดินเรือและอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่ใช้งาน หรืออาจใช้งานในขณะเข้ายาม ( 5.2 ) ความผิดพลาดของเข็มทิศไยโรหรือเข็มทิศแม่เหล็ก ( 5.3 ) พิกัดและการเคลื่อนที่ของเรือลำอื่นที่มองเห็นได้หรืออยู่ในบริเวณใกล้เคียง ( 5.4 ) สภาพการณ์และภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อเรือขณะเข้ายาม ( 5.5 ) ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับการเอียงของเรือ การจมหัวหรือจมท้ายของเรือ ( Trim by head or trim by stern ) ความหนาแน่ นของน้ำ หรือการยกตัวขึ้นหรือลงบริเวณ ด้านท้ายของเรือ ( Squat ) ในขณะเรือเดิน ข้อ 25 เมื่อใดก็ตามที่จะส่งมอบการเข้ายาม หากนายยามอยู่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่การนำเรือ หรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ให้งดการส่งมอบการเข้ายาม ทั้ งนี้ ให้นายยามที่อยู่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่เข้ายามจนกว่าเหตุการณ์อันตรายดังกล่าวผ่านพ้นไป ข้อ 26 นายยามฝ่ายเดินเรือต้องปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) เข้ายามบนสะพานเดินเรือตลอดเวลา ( 2 ) ไม่ลงจากสะพานเดินเรือจนกว่าออกยาม ไม่ว่ากรณีใด ( 3 ) นาเรืออย่างปลอดภัย แม้ว่านายเรืออยู่บนสะพานเดินเรือก็ตาม เว้นแต่ ได้รับแจ้งจาก นายเรืออย่างเป็นการเฉพาะว่านายเรือจะปฏิบัติหน้าที่เอง และรับทราบตรงกันทั้งสองฝ่ายแล้ว ข้อ 27 ในระหว่างการเข้ายามต้องมีการตรวจสอบเข็ม ตาแหน่ง และความเร็ว ของเรือ ตามระยะเวลาที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งใช้อุปกรณ์ช่วยการนาทางอื่นที่จำเป็น เพื่อให้ การเดินเรือเป็นไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้ ข้อ 28 นายยามฝ่ายเดินเรือต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับพิกัดของเรือ และวิธีการใช้งานของอุปกรณ์การเดินเรือและอุปกรณ์ เพื่อความปลอดภัยที่อยู่บนเรือ โดยคานึงถึง ข้อจำกัดในการใช้งานของอุปกรณ์ดังกล่าว ข้อ 29 นายยามฝ่ายเดินเรือต้องไม่ปฏิบัติหน้าที่อื่นซึ่งอาจกระทบความปลอดภัยในการเดินเรือ ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 30 เมื่อใช้งานเรดาร์ ให้นายยามฝ่ายเดินเรือคำนึงถึงการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับระหว่าง ประเทศสำหรับป้องกันเรือโดนกันในทะเล ค.ศ. 1972 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ว่าด้วยการใช้งานเรดาร์ ข้อ 31 ในกรณีจาเป็น นายยามฝ่ายเดินเรือต้องไม่ลังเลที่จะเข้าบังคับหางเสือ เครื่ องยนต์ และอุปกรณ์ส่งสัญญาณเสียงของเรือ อย่างไรก็ตาม ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าเท่าที่กระทาได้ก่อน การเปลี่ยนแปลงรอบความเร็วเครื่องยนต์ รวมทั้งการใช้งานระบบควบคุมพื้นที่ห้องเครื่องที่ไม่ต้องมี การเข้ายาม ( UMS ) อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องปฏิบัติตามขั้นตอ นที่กาหนดโดยสะพานเดินเรือ ข้อ 32 ในการจัดการเข้ายามฝ่ายเดินเรือ นายยามฝ่ายเดินเรือต้องมีความรู้ความเข้าใจ ลักษณะการควบคุมเรือ รวมถึงระยะทางหยุดเรือ และควรตระหนักว่าเรือลำอื่นอาจมีลักษณะ การควบคุมเรือที่แตกต่างกันออกไป ข้อ 33 เรือต้องมีการเก็บบันทึกการเ คลื่อนตัวของเรือและกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเดินเรือ ข้อ 34 นายยามฝ่ายเดินเรือต้องแน่ใจว่ามีการเฝ้าระวังอย่างเหมาะสมสาหรับเรือที่มีห้องแผนที่ แยกจากสะพานเดินเรือ นายยามฝ่ายเดินเรืออาจใช้ห้องแผนที่ได้โดยใช้ระยะเวลาอันสั้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งจาเป็นแก่การเดิ นเรือ ทั้งนี้ ต้องแน่ใจก่อนว่ามีความปลอดภัยที่จะใช้ห้องแผนที่ดังกล่าว และ มีการดาเนินการเฝ้าระวังเหตุอย่างเหมาะสมแล้ว ข้อ 35 การทดสอบอุปกรณ์สาหรับใช้งานเพื่อการเดินเรือต้องกระทาอย่างสม่าเสมอเท่าที่ กระทาได้ และเป็นไปตามความเหมาะสมของสถานการณ์ โดยเฉพา ะก่อนที่ความเสี่ยงภัยซึ่งกระทบต่อ การเดินเรืออาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ ให้บันทึกการทดสอบอุปกรณ์ด้วยในกรณีที่เหมาะสม โดยการทดสอบนี้ ต้องกระทำขึ้นก่อนเข้าท่าเรือหรือออกจากท่าเรือ ข้อ 36 นายยามฝ่ายเดินเรือต้องตรวจสอบตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้แน่ใจ ดังนี้ ( 1 ) บุคคลที่ทำหน้าที่ถือท้ายเรือหรือระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติเป็นไปตามทิศทางที่ถูกต้อง ( 2 ) คำนวณอัตราผิดของเข็มทิศบนเรืออย่างน้อย 1 ครั้งต่อผลัด และหากเหมาะสม หลังจากมีการเปลี่ยนทิศทางอย่างมีนัยยะสาคัญ ให้เปรียบเทียบระหว่างเข็มทิศแม่เหล็กและเข็มทิศ ไยโรหลัก ( Gyro - master ) รวมทั้งเข็มทิศไยโรรอง ( Gyro - repeater ) ให้สอดคล้องอย่างสม่าเสมอ ( 3 ) มีการทดสอบระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ อย่างน้อย 1 ครั้งต่อผลัด ( 4 ) ไฟเรือเดินและไฟสัญญาณ รวมถึงอุปกรณ์การเดินเรือทำงานได้อย่างเป็นปกติ ( 5 ) อุปกรณ์วิทยุทำงานได้อย่างเป็นปก ติ ( 6 ) การควบคุม สัญญาณเตือนภัย และหน่วยชี้วัด พื้นที่ห้องเครื่องที่ไม่ต้องมีการเข้ายาม ( UMS ) ทำงานได้อย่างเป็นปกติ ข้อ 37 นายยามฝ่ายเดินเรือต้องปฏิบัติตามข้อกาหนดของอนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัย แห่งชีวิตในทะเล ทั้งนี้ นายยามฝ่ายเดินเรือต้องให้ความสำคั ญ ดังนี้ ( 1 ) ความจำเป็นให้มีผู้ถือท้ายเรือบังคับทิศทางและเปลี่ยนเป็นการควบคุมด้วยมือตาม ความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่อาจเป็นอันตรายได้อย่างปลอดภัย ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 กุมภาพันธ์ 2566

( 2 ) ภายใต้การถือท้ายเรือแบบอัตโนมัติ นายยามฝ่ายเดินเรือต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ฉุกเฉินซึ่งจะไม่ได้รับการช่วยเหลืออันเกิดจากขาดการเฝ้าระวังเหตุ ข้อ 38 นายยามฝ่ายเดินเรือต้องมีความคุ้นเคยกับการใช้งานเครื่องช่วยการเดินเรือ ที่เป็นระบบ อิเล็กทรอนิกส์ ขีดความสามารถและข้อจากัด รวมถึงต้องใช้งานเครื่องช่วยเหล่านี้ได้ตาม ความเหมาะสม ตลอดจนต้องคานึงว่าเครื่องหยั่งน้า ( Echo - sounder ) เป็นเครื่องช่วยการเดินเรือ ที่มีประโยชน์ ข้อ 39 นายยามฝ่ายเดินเรือต้องใช้งานเรดาร์ในเวลาที่พบกับหรือคาดการณ์ ได้ว่าทัศนวิสัย การมองเห็นจำกัด รวมถึงในเวลาที่การจราจรหนาแน่น โดยคำนึงถึงข้อจำกัดด้วย ข้อ 40 นายยามฝ่ายเดินเรือต้องแน่ใจว่าระยะการตรวจจับ ( Range scale ) ที่ใช้สามารถ เปลี่ยนแปลงได้ให้มีระยะที่ถี่เพียงพอเพื่อตรวจสอบการสะท้อนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภ ำพ เท่าที่เป็นได้ ข้อ 41 กรณีที่ใช้งานเรดาร์ นายยามฝ่ายเดินเรือต้องเลือกระยะการตรวจจับ ( Range scale ) ที่เหมาะสมและสังเกตุการณ์การแสดงผลอย่างระมัดระวัง โดยต้องแน่ใจว่าได้เริ่มการวางแผนหรือ การวิเคราะห์อย่างเป็นระบบในเวลาที่เพียงพอ ข้อ 42 นายยามฝ่ายเดินเรือต้องแจ้งให้นายเรือทราบทันที กรณีดังนี้ ( 1 ) หากพบว่าหรือคาดการณ์ว่าอาจพบข้อจำกัดทัศนวิสัยการมองเห็น ( 2 ) หากสภาพการจราจรหรือการเคลื่อนตัวของเรือทำให้เกิดข้อกังวล ( 3 ) หากประสบความยากในการรักษาเส้นทางการเดินเรือ ( 4 ) เมื่อมองไม่เห็นชายฝั่ง เครื่องหมายการเดินเรือ หรือไม่ได้รับเสียงสะท้อนกลับตามกาหนด ( 5 ) หากเห็นชายฝั่ง เครื่องหมายการเดินเรือ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงเสียงสะท้อน โดยไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ( 6 ) เมื่อมีการชารุดเสียหายของเครื่องยนต์ ระบบการควบคุมเครื่องจักรขับเคลื่อน เครื่อ งถือท้าย หรืออุปกรณ์การเดินเรือที่จำเป็น รวมทั้ง สัญญาณเตือน หรือหน่วยชี้วัด ( 7 ) หากอุปกรณ์วิทยุทำงานผิดปกติ ( 8 ) ในสภาพอากาศรุนแรง หากมีข้อสงสัยว่ามีโอกาสที่อาจเกิดความเสียหาย ( 9 ) หากเรือพบกับเหตุอันตรายในการเดินเรือ เช่น ทะเลน้าแข็ง หรือซากเรือที่ ถูกทิ้ง ( 10 ) ในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือหากมีข้อสงสัย ข้อ 42 นอกเหนือจากข้อกาหนดให้แจ้งนายเรือทราบในทันทีเมื่อเกิดเหตุข้างต้น นายยาม ฝ่ายเดินเรือต้องไม่ลังเลที่จะปฏิบัติการแก้ไขเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่เรือ ตามสมควรกับสถานการณ์ ข้อ 43 นายยามฝ่ายเดินเรือต้ องให้คำแนะนำและข้อมูลที่เหมาะสมซึ่งแน่ใจได้ว่าการเข้ายาม เป็นไปอย่างปลอดภัย รวมถึงมีการเฝ้าระวังอย่างเหมาะสม ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 44 นายยามฝ่ายเดินเรือต้องวัดระยะเข็มทิศ ( Compass bearing ) อย่างสม่ำเสมอและ ถูกต้องในขณะเรือเข้าใกล้กันเพื่อตรวจสอบความเสี่ยงต่อการโดนกัน และคานึงว่าความเสี่ยงอาจคงอยู่ แม้ว่าได้เปลี่ยนการวัดระยะเข็มทิศ ( Compass bearing ) แล้ว โดยเฉพาะในกรณีที่เรือแล่นเข้าใกล้เรือ ขนาดใหญ่ เรือมีการลากจูง หรือเมื่อแล่นเข้าใกล้เรือในระยะประชิด ทั้งนี้ นายยามฝ่ายเดินเรือ ต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับระหว่างปร ะเทศสำหรับป้องกันเรือโดนกันในทะเล ค.ศ. 1972 และที่แก้ไข เพิ่มเติม โดยเร็วอย่างมั่นใจ ทั้งนี้ ต้องตรวจสอบว่าการปฏิบัตินั้นเป็นไปตามความต้องการ ข้อ 45 กรณีสภาพอากาศแจ่มใส ให้นายยามฝ่ายเดินเรือเข้ายามโดยใช้งานเรดาร์เท่าที่ กระทำได้ ข้อ 46 กรณีพบหรือคาด การณ์ได้ว่าทัศนวิสัยการมองเห็นจำกัด ความรับผิดชอบแรก ของนายยามฝ่ายเดินเรือคือการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับระหว่างประเทศสำหรับป้องกันเรือโดนกันในทะเล ค.ศ. 1972 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาณเสียง สัญญาณหมอก การเดินเรือด้วยความเร็วที่ ปลอดภัย และเครื่องยนต์มีความพร้อมนาเรือได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ นายยามฝ่ายเดินเรือต้อง (1) แจ้งให้นายเรือทราบ (2) ประจำตาแหน่งเพื่อเฝ้าระวังอย่างเหมาะสม (3) แสดงสัญญาณไฟเรือเดิน (4) ปฏิบัติหน้าที่และใช้งานเรดาร์ ข้อ 47 ในการจัดการเข้ายาม นายเรือแ ละนายยามฝ่ายเดินเรือต้องคานึงถึงความพร้อม ของอุปกรณ์บนสะพานเดินเรือและเครื่องช่วยการเดินเรือสาหรับใช้งาน ข้อจากัด ขั้นตอนการใช้งาน และมาตรการป้องกัน ข้อ 48 นายยามฝ่ายเดินเรือต้องใช้แผนที่เดินเรือในมาตราส่วนซึ่งละเอียดตามความเหมาะสม กับพื้นที่และได้รับกา รแก้ไขปรับปรุงล่าสุด โดยการระบุตาแหน่งเรือ ( Fixes ) ต้องทำเป็นระยะ ๆ และ ดาเนินการมากกว่า 1 รูปแบบ แล้วแต่สถานการณ์เอื้ออานวย ทั้งนี้ กรณีที่ใช้ระบบแสดงแผนที่ เดินเรืออิเล็กทรอนิกส์ และสารสนเทศเพื่อการเดินเรือ ( ECDIS ) ให้ใช้งานแผนที่เดินเรืออิเล็กท รอนิกส์ มาตราส่วนซึ่งละเอียดอย่างเหมาะสม และตรวจสอบตาแหน่งของเรือด้วยรูปแบบที่เหมาะสม ข้อ 49 นายยามฝ่ายเดินเรือต้องสามารถแยกแยะเครื่องหมายการเดินเรือได้อย่างมั่นใจ ข้อ 50 นอกเหนือจากหน้าที่ของเจ้าพนักงานนาร่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน นาร่องบนเรือมิได้ทาให้นายเรือหรือนายยามฝ่ายเดินเรือหลุดพ้นจากหน้าที่ซึ่งต้องปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ในการเดินเรือ นายเรือและเจ้าพนักงานนาร่องต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวิธีการเดินเรือ สภาพการณ์ในท้องที่ และลักษณะของเรือ ทั้งนี้ นายเรือและนายยำมฝ่ายเดินเรือต้องร่วมมือกัน อย่างใกล้ชิดกับเจ้าพนักงานนาร่อง และดาเนินการตรวจสอบตาแหน่งและความเร็วของเรือให้เป็นไป อย่างถูกต้อง ้ หนา 20 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 51 หากมีข้อสงสัยต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือความประสงค์ของเจ้าพนักงานนำร่อง นายยามฝ่ายเดินเรือต้องขอคำชี้แจงจากเจ้าพนักงานนา ร่อง และหากยังมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ต้องแจ้งให้ นายเรือทราบทันที และดาเนินการที่จำเป็นก่อนเบื้องต้น ข้อ 52 หากนายเรือพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจาเป็น ให้คงไว้ซึ่งการเข้ายามฝ่ายเดินเรือ ขณะเรือทอดสมอ ทั้งนี้ ขณะเรือทอดสมอ ให้นายยามฝ่ายเดินเรือดาเนินการ ดั งนี้ ( 1 ) กำหนดและบันทึกตาแหน่งของเรือบนแผนที่เดินเรือในทันทีที่เหมาะสม ( 2 ) หากสถานการณ์เอื้ออานวย ให้ตรวจสอบเป็นระยะ ๆ ว่าเรือจอดทอดสมออย่างมั่นคง โดยเทียบกับเครื่องหมายการเดินเรือคงที่หรือวัตถุชายฝั่งที่ระบุได้ง่าย ( 3 ) ต้องแน่ใจว่ามีการเข้ายามเฝ้าระวั งเหตุอย่างเหมาะสม ( 4 ) ต้องแน่ใจว่าเรือได้รับการตรวจสอบตามรอบเวลา ( 5 ) สังเกตสถานะทางอุทกศาสตร์และน้าขึ้น - น้ำลง รวมทั้งสภาพคลื่นลมทะเล ( 6 ) แจ้งนายเรือและดาเนินการตามความจำเป็น กรณีที่เรือเกิดอาการสมอเกา ( 7 ) ต้องแน่ใจว่าเครื่องยนต์และเครื่องจักรอื่นมีสภาพความพร้อมและเป็นไปตามข้อสั่งการนายเรือ ( 8 ) แจ้งนายเรือ หากทัศนวิสัยการมองเห็นลดลง ( 9 ) ต้องแน่ใจว่าเรือแสดงไฟและสัญลักษณ์อย่างเหมาะสม รวมทั้งความเหมาะสม ของสัญญาณเสียงต่าง ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับ ( 10 ) ดาเนิน มาตรการเพื่อคุ้มครองรักษาสิ่งแวดล้อมจากมลพิษของเรือและปฏิบัติตามข้อบังคับ เกี่ยวกับมลพิษ ข้อ 53 การจัดการเข้ายามฝ่ายช่างกลต้องมีความเพียงพอต่อการปฏิบัติงานกับเครื่องจักร ซึ่งกระทบกับการปฏิบัติงานของเรืออย่างปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบอัตโนมัติหรือแบบควบคุมด้วยมือ รวมถึงต้องมีความเหมาะสมกับสถานการณ์และบริบท ข้อ 54 ในการตัดสินใจเพื่อจัดการเข้ายามฝ่ายช่างกล อันอาจรวมถึงความเหมาะสม ของคุณสมบัติของบุคลากร ให้พิจารณาหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้ ( 1 ) ประเภทเรือ ประเภทและสถานะ ความพร้อมของเครื่องจักร ( 2 ) มีการดูแลรักษาเครื่องจักรที่ส่งผลกระทบกับการปฏิบัติงานของเรืออย่างปลอดภัย ( 3 ) มีการปฏิบัติงานในรูปแบบพิเศษซึ่งถูกกาหนดโดยสภาวะแวดล้อม เช่น สภาพอากาศ ทะเลน้ำแข็ง น้ำที่มีการปนเปื้อน พื้นที่น้ำตื้น สถานการณ์ฉุกเฉิน การควบคุ มความเสียหาย หรือการบรรเทามลพิษ ( 4 ) คุณสมบัติและประสบการณ์ของฝ่ายช่างกล ( 5 ) ความปลอดภัยของชีวิต เรือ สินค้า ท่าเรือ และการปกป้องสิ่งแวดล้อม ( 6 ) การปฏิบัติตามกฎระเบียบระหว่างประเทศ ระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ( 7 ) การปฏิบัติงานในการเดินเรือตามปกติ ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 55 นายยามฝ่ายช่างกลต้องไม่ส่งมอบการเข้ายามให้กับนายยามผลัดถัดไป หากมีเหตุ อันเชื่อได้ว่านายยามผลัดถัดไปไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เข้ายามได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ให้รายงาน ต้นกลเรือทราบ ข้อ 56 นายยามผลัดถัดไปต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกยามฝ่ายช่างกลสามา รถปฏิบัติหน้าที่ ให้เกิดประสิทธิผลได้อย่างเต็มความสามารถ ข้อ 57 ก่อนเข้ายามฝ่ายช่างกล นายยามผลัดถัดไปต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามอย่างน้อย ดังนี้ ( 1 ) ข้อสั่งการและข้อแนะนำพิเศษของต้นกลเรือที่เกี่ยวข้องกับการทางานของระบบและ เครื่องจักรของเรือ ( 2 ) ลักษณะของงานที่ทำต่อเครื่องจักรและระบบ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง และอันตราย ที่อาจเกิดขึ้น ( 3 ) ระดับและสภาพของน้าหรือสิ่งตกค้างในท้องเรือ ถังอับเฉา ถังพัก ( Slop ) ถังสารอง ถังน้ำจืด ถังบาบัด และข้อกำหนดพิเศษอื่น สำหรับการใช้งานหรือกำจัดน้ำหรือสิ่งตกค้ำงดังกล่าว ( 4 ) สภาพและระดับของเชื้อเพลิงในถังสารอง ถังที่ใช้เตรียมน้ามัน ถังน้ามันที่ใช้ประจาวัน และแหล่งเก็บเชื้อเพลิงอื่น ๆ ( 5 ) ข้อกาหนดพิเศษที่เกี่ยวข้องกับการกาจัดในระบบสุขาภิบาล ( 6 ) สภาพและรูปแบบการทำงานของระบบหลักและระบบเสริม รวมถึงระบบจ่ายพลังงา นไฟฟ้า ( 7 ) สภาพอุปกรณ์แผงควบคุมที่ใช้ในการณ์สังเกตการณ์และควบคุม และอุปกรณ์ที่ควบคุม ด้วยมือ ( 8 ) สภาพและรูปแบบการทางานของระบบควบคุมหม้อน้าอัตโนมัติ เช่น ระบบควบคุม ป้องกันเปลวเพลิง ระบบควบคุมขีดจากัด ระบบควบคุมการเผาไหม้ ระบบควบคุมการจ่ายเชื้อเพลิง และอุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวกับการทำงานของหม้อไอน้ำ ( 9 ) สภาวะที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพอากาศแปรปรวน ทะเลน้าแข็ง หรือน้า ที่มีการปนเปื้อนหรือพื้นที่น้าตื้น ( 10 ) รูปแบบการปฏิบัติงานพิเศษจากการอุปกรณ์ทำงานผิดพลาดหรือความไม่พร้อมของเรือ ( 11 ) รายงานผลการปฏิบัติงานของลูกเรือฝ่ายช่างกลอันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ ( 12 ) ความพร้อมของอุปกรณ์ดับเพลิง ( 13 ) สถานะความเรียบร้อยของปูมเรือ ข้อ 58 นายยามฝ่ายช่างกลต้องแน่ใจว่าการจัดการเข้ายามได้รับการปฏิบัติตามและเป็นไป ตามข้อสั่งการ ทั้งนี้ นายช่างกลเรือฝ่ำยช่างกลต้องให้การช่วยเหลือเพื่อให้การปฏิบัติงานของเครื่องจักร ขับเคลื่อนและอุปกรณ์เสริมเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ หากการปฏิบัติงานดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการเข้ายามของฝ่ายช่างกล ้ หนา 22 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 59 นายยามฝ่ายช่างกลต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ห้ องเครื่องอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าต้นกลเรืออยู่หรือไม่ก็ตาม เว้นแต่ ได้รับแจ้งจากต้นกลเรืออย่างเป็นการเฉพาะว่าต้นกลเรือ จะปฏิบัติหน้าที่เอง และรับทราบตรงกันทั้งสองฝ่ายแล้ว ข้อ 60 ลูกยามฝ่ายช่างกลต้องคุ้นเคยกับหน้าที่ที่ปฏิบัติ นอกจากนี้ ต้องมีความรู้ควา มเข้าใจ ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่ตนปฏิบัติงาน ดังนี้ ( 1 ) การใช้ระบบการสื่อสารภายในเรืออย่างเหมาะสม ( 2 ) เส้นทางหนีออกจากพื้นที่ห้องเครื่อง ( 3 ) ระบบสัญญาณเตือนภัยห้องเครื่องและสามารถแยกแยะสัญญาณเตือนต่าง ๆ โดยเฉพาะ สัญญาณดับเพลิง ( 4 ) จานวน บริเวณสถานที่ และประเภทของอุปกรณ์ดับเพลิง รวมถึงวิธีการใช้งานและ ข้อควรระวังด้านความปลอดภัยต่าง ๆ ข้อ 61 เครื่องจักรที่ทำงานผิดปกติหรืออาจทำงานผิดปกติ หรือซ่อมบำรุงเป็นพิเศษ ต้องมีการบันทึกการดาเนินการ ทั้งนี้ อาจมีการจัดทำแผนสำหรับการซ่อมบารุงในเบื้องต้นด้วย ข้อ 62 ในการเข้ายามห้องเครื่อง นายยามฝ่ายช่างกลต้องพร้อมปฏิบัติงานตลอดเวลา เพื่อควบคุมอุปกรณ์ขับเคลื่อนสนองตอบต่อการเปลี่ยนทิศทาง หรือความเร็วของเรือ ข้อ 63 ในกรณีที่การเข้ายามห้องเครื่องไม่เป็นไปตามระยะเวลานั้น นายประจาเรือซึ่งได้รับ มอบหมายให้เข้ายามฝ่า ยช่างกลต้องสามารถเข้าพื้นที่ห้องเครื่องได้ทันที่มีการร้องขอ ข้อ 64 การสั่งการจากสะพานเดินเรือต้องได้รับการสนองตอบต่อการเปลี่ยนทิศทางหรือ ความเร็วของเครื่องยนต์ต้องมีการบันทึกไว้ เว้นแต่ มีข้อจำกัดตามขนาดหรือลักษณะของเรือ ที่ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ทั้ง นี้ นายยามฝ่ายช่างกลต้องแน่ใจว่าการควบคุมเครื่องยนต์มีการเข้ายาม อย่างต่อเนื่องในกรณีการเตรียมความพร้อม ( Stand - by ) หรือการนำเรือ เมื่ออยู่ในรูปแบบการควบคุมด้วยมือ ข้อ 65 เรือต้องดาเนินการบารุงรักษาเครื่องจักรอย่างเหมาะสม ทั้งระบบไฟฟ้า เครื่องกล อิเล็ กทรอนิกส์ ไฮดรอลิก และนิวเมติกส์ เครื่องมือควบคุมและอุปกรณ์ความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับที่พักอาศัยทั้งหมด รวมทั้งการบันทึกจำนวนเครื่องมืออุปกรณ์ ข้อ 66 ต้นกลเรือต้องแน่ใจว่านายยามฝ่ายช่างกลได้รับแจ้งข้อมูลการบารุงรักษาการป้องกัน การควบคุมความเสียหาย หรือการปฏิบัติงานซ่อมบารุง ซึ่งจะต้องดาเนินการระหว่างการเข้ายาม ฝ่ายช่างกล ทั้งนี้ นายยามฝ่ายช่างกลต้องรับผิดชอบในการแยก ( Isolation ) การเชื่อมต่อ ( Bypass ) และการปรับเปลี่ยน ( Adjustment ) ในส่วนเครื่องจักรทั้งหมดที่อยู่ภายใต้ควำมรับผิดชอบของฝ่ายช่างกล ที่ต้องดาเนินการ และบันทึกการซ่อมบารุง ข้อ 67 นายยามฝ่ายช่างกลต้องแน่ใจว่าเครื่องจักรและอุปกรณ์อยู่ในสถานะเตรียมความพร้อม ( Standby ) ที่อาจนามาใช้งานขณะเรือเปลี่ยนทิศทาง และมีพลังงานสารองเพียงพอสาหรับเครื่องถือท้าย รวมทั้งเครื่ องจักรและอุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง ้ หนา 23 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 68 นายยามฝ่ายช่างกลต้องไม่ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดซึ่งจะกระทบกับหน้าที่ในการ ควบคุมดูแลระบบขับเคลื่อนของเรือ ทั้งนี้ นายยามฝ่ายช่างกลต้องแน่ใจว่าระบบไฟฟ้าและ ระบบขับเคลื่อนอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลจนกว่าจะออกยาม รวมถึงตรวจสอบเครื่องจักร พื้นที่ในส่วน ระบบถือท้ายว่าเพียงพอตามรอบระยะเวลา ควบคุมดูแล ตรวจสอบ ตลอดจนรายงานการทางาน ที่ผิดปกติหรือการชำรุดของอุปกรณ์ ให้แก้ไขหรือปรับเปลี่ยนให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ ข้อ 69 นายยามฝ่ายช่างกลต้องแจ้งให้ลูกยามทราบถึงสภาพการ ณ์ที่อาจเป็นอันตราย ซึ่งส่งผลกระทบต่อเครื่องจักร หรือเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของชีวิตและความปลอดภัยของเรือ ข้อ 70 นายยามฝ่ายช่างกลต้องแน่ใจว่ามีการควบคุมดูแลห้องเครื่องและมีผู้ปฏิบัติงานแทน ในกรณีที่นายยามไม่สามารถปฏิบัติงานได้ ทั้งนี้ นายยามฝ่ายช่างกล ต้องไม่ปล่อยให้พื้นที่ห้องเครื่อง ปราศจากการควบคุมดูแลอันอาจส่งผลกระทบกับระบบไฟฟ้าหรือระบบส่งกาลังที่ควบคุมด้วยมือ ข้อ 71 นายยามฝ่ายช่างกลต้องดาเนินการที่จาเป็นเพื่อควบคุมผลกระทบจากความเสียหาย อันเกิดจากอุปกรณ์ชำรุด เสียหาย หรือสาเหตุอื่น อาทิเช่น เพลิง ไหม้ น้าท่วม เรือโดนกัน เกยตื้น ข้อ 72 ก่อนการออกยาม นายยามฝ่ายช่างกลต้องแน่ใจว่าได้บันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับ เครื่องจักรและอุปกรณ์เรือ ระหว่างที่เข้ายามอย่างเหมาะสม ข้อ 73 นายยามฝ่ายช่างกลต้องให้ความร่วมมือกับนายช่างกลเรือที่ปฏิบัติหน้าที่ระหว่าง การบำรุงรักษา รวมทั้งการควบคุมความเสียหายหรือซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์เรือ โดยให้รวมถึง แต่ไม่จำกัดเฉพาะ ดังนี้ ( 1 ) การแยก ( Isolation ) และการเชื่อมต่อ ( Bypass ) เครื่องจักรที่ทำงานอยู่ ( 2 ) การปรับเปลี่ยน ( Adjustment ) อุปกรณ์ให้สามารถทำงานได้อย่ำงเพียงพอและปลอดภัย ระหว่างการบารุงรักษา ( 3 ) การบันทึกในปูมเรือหรือเอกสารอื่นที่เหมาะสม สาหรับอุปกรณ์ที่อยู่ระหว่างซ่อมบารุง และผู้ที่ซ่อมบารุง การดาเนินการและผู้ที่ดาเนินการตามมาตรการเพื่อความปลอดภัย เพื่อประโยชน์ แก่นายยามผลัดถัดไป และการบันทึกการซ่อมบา รุง ( 4 ) ในกรณีจำเป็น ให้ทดสอบเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ผ่านการซ่อมบารุงแล้ว ข้อ 74 นายยามฝ่ายช่างกลต้องแน่ใจว่าลูกเรือประจาห้องเครื่องซึ่งปฏิบัติหน้าที่บารุงรักษา มีความพร้อมในการช่วยเหลือโดยควบคุมด้วยมือในกรณีที่อุปกรณ์อัตโนมัติขัดข้อง ข้อ 75 นายยามฝ่ำยช่างกลต้องคำนึงว่าการเปลี่ยนแปลงความเร็วซึ่งเป็นผลมาจาก การทางานผิดปกติของเครื่องจักรหรือการสูญเสียการควบคุมอาจเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของเรือ และชีวิตในทะเล สะพานเดินเรือต้องได้รับแจ้งเหตุในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้และเหตุการณ์อื่นใด ที่เกิดขึ้น ในพื้นที่ห้ องเครื่องซึ่งอาจก่อให้เกิดการลดความเร็ว ไม่สามารถควบคุมทิศทางอย่างฉับพลัน ระบบขับเคลื่อนเรือหยุดทางาน การเปลี่ยนแปลงแหล่งกาเนิดพลังงานไฟฟ้า หรือเหตุอื่นซึ่งส่งผลกระทบ ้ หนา 24 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 กุมภาพันธ์ 2566

ต่อความปลอดภัย ทั้งนี้ การแจ้งต้องแล้วเสร็จก่อนทาการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทางสะพานเดินเรือ มีเวลามากเพียงพอเพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ข้อ 76 นายยามฝ่ายช่างกลต้องแจ้งให้ต้นกลเรือทราบโดยพลัน ดังนี้ ( 1 ) ในกรณีที่เครื่องยนต์เสียหายหรือชารุดบกพร่องซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรา ยต่อการเดินเรือ อย่างปลอดภัย ( 2 ) ในกรณีที่เกิดความผิดปกติซึ่งเชื่อได้ว่าอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือชารุดบกพร่อง ของเครื่องจักรขับเคลื่อน เครื่องจักรอื่นใด หรือระบบควบคุมและสั่งการของเรือ ( 3 ) ในกรณีฉุกเฉินหรือมีเหตุสงสัย ที่ต้องตัดสินใจหรือดาเนินมาตรการอ ย่างใด ข้อ 77 นอกเหนือจากข้อ 76 นายยามฝ่ายช่างกลต้องไม่ลังเลที่จะดาเนินการแก้ไขโดยพลัน เพื่อความปลอดภัยของเรือ เครื่องจักรของเรือ รวมถึงลูกเรือ แล้วแต่กรณี ข้อ 78 นายยามฝ่ายช่างกลต้องแจ้งวิธีการและข้อมูลให้ลูกยามทราบเพื่อความปลอดภัยต่อ การเข้ายามฝ่ายช่ำงกล การบำรุงรักษาเครื่องจักร โดยเป็นส่วนหนึ่งของการเข้ายามอย่างปลอดภัย และ เป็นส่วนสำคัญของการปฏิบัติงาน ถึงรายละเอียดการซ่อมบารุง รวมทั้งการซ่อมระบบไฟฟ้า เครื่องกล ไฮดรอลิก นิวเมติกส์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานบนเรือ ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติ ด้วยความรู้ ความเข้าใจของนายยามฝ่ายช่างกลและต้นกลเรือ และต้องมีการบันทึกการซ่อมบารุง ข้อ 79 นายยามฝ่ายช่างกล ต้องแน่ใจว่าระบบกาลังดันหรือระบบไอน้ามีการส่งสัญญาณเสียง และข้อสั่งการจากสะพานเดินเรือที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความเร็วหรือทิศทางในการเดินเรือ จะได้รับ การปฏิบัติตามในทันที นอกจากนี้เครื่องจักรที่ใช้สาหรับควบคุมทิศทางต้องพร้อมใช้งาน ข้อ 80 นายยามฝ่ายช่างกล ต้องแน่ใจว่าเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมทิศทางเรือ สามารถควบคุมด้วยมือได้ เมื่อได้รับแจ้งว่าเรืออยู่ในเขตการจราจรหนาแน่น นายยามฝ่ ำยช่างกล ต้องแน่ใจว่ามีพลังงานสารองเพียงพอสาหรับการบังคับทิศทางและการนาเรือ ทั้งนี้ อุปกรณ์ถือท้ายฉุกเฉิน และอุปกรณ์อื่นต้องมีความพร้อมใช้งานได้ทันท่วงที ข้อ 81 ในจุดทอดสมอที่ไม่มีที่กำบังคลื่นลม ต้นกลเรือต้องให้คำปรึกษากับนายเรือถึง ความเหมาะสมในการเข้ายามฝ่ายช่างกลเช่นเดียวกับในขณะที่เรือเดิน ข้อ 82 กรณีเรือจอดทอดสมอในบริเวณพื้นที่เปิดโล่งหรือเสมือนในทะเล นายยามฝ่ายช่างกล ต้องแน่ใจ ดังนี้ ( 1 ) มีการเข้ายามฝ่ายช่างกลอย่างมีประสิทธิภาพ ( 2 ) มีการตรวจสอบเครื่องจักรที่ใช้งานอยู่และเตรียม พร้อมเพื่อใช้งานได้ตามรอบระยะเวลา ( 3 ) มีการซ่อมบารุงเครื่องจักรให้พร้อมใช้งานตามข้อสั่งการจากสะพานเดินเรือ ( 4 ) มีมาตรการสำหรับการปกป้องสิ่งแวดล้อมจากมลพิษทางเรือและมีการปฏิบัติตามข้อบังคับ ว่าด้วยการป้องกันมลพิษที่เกี่ยวข้อง ( 5 ) มีระบบควบคุมความเสียหายและระ บบดับเพลิงพร้อมใช้งาน ้ หนา 25 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 83 บริษัทเรือ นายเรือ และบุคลากรเข้ายามทางวิทยุ ต้องแน่ใจว่าได้ปฏิบัติตาม ประกาศฉบับนี้เพื่อให้แน่ใจว่ามีการเข้ายามเฝ้าฟังเหตุทางวิทยุในขณะที่เรืออยู่ในทะเล ทั้งนี้ ให้เป็นไป ตามข้อบังคับวิทยุและอนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชี วิตในทะเล ข้อ 84 ในการจัดการเข้ายามทางวิทยุ ให้นายเรือต้องดาเนินการให้มั่นใจ ดังนี้ ( 1 ) มีการเฝ้าฟังเหตุทางวิทยุให้เป็นไปตามข้อบังคับวิทยุและอนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัย แห่งชีวิตในทะเล ( 2 ) มีการปฏิบัติหน้าที่หลักสำหรับการเข้ายามทางวิทยุ ( 3 ) ให้พิจารณาอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเรือและสถานการณ์ทำงานของอุปกรณ์ ข้อ 8 5 ให้นายยามเฝ้าฟังเหตุทางวิทยุปฏิบัติหน้าที่ให้มั่นใจ ดังนี้ ( 1 ) ต้องใช้คลื่นความถี่เป็นไปตามข้อกำหนดในข้อบังคับวิทยุและตามอนุสัญญาว่าด้วย ความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ( 2 ) ขณะปฏิบัติหน้าที่ ต้องตรวจสอบสถานะการทางานของอุปกรณ์วิทยุและแหล่งกาเนิด พลังงานอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงรายงานให้นายเรือทราบถึงการชารุดของอุปกรณ์ ข้อ 8 6 เรือต้องปฏิบัติตามข้อกาหนดในข้อบังคับวิทยุและตามอนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัย แห่งชีวิตในทะเลในส่วนที่เกี่ยวกับวิทยุสื่อสารและกำรบันทึกข้อมูลวิทยุให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ข้อ 8 7 การเก็บรักษาบันทึกข้อมูลวิทยุให้เป็นไปตามข้อบังคับวิทยุและอนุสัญญาว่าด้วย ความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล โดยเป็นความรับผิดชอบของนายยามเฝ้าฟังเหตุทางวิทยุในการปฏิบัติ หน้าที่หลักสาหรับวิทยุสื่อสารในขณะที่เกิดเหตุ การณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ ให้บันทึกข้อมูลพร้อมกับเวลา ที่เกิดเหตุ ดังนี้ ( 1 ) สรุปข้อมูลการสื่อสารเหตุการณ์เร่งด่วนและฉุกเฉิน รวมถึงการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย ( 2 ) เหตุที่ต้องรายงานตามข้อกำหนดว่าด้วยการบริการวิทยุ ( 3 ) พิกัดและตาแหน่งของเรือ อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง หรือตามความเหมาะสม ( 4 ) สรุปภาพรวมสถานะของอุปกรณ์วิทยุ และแหล่งกำเนิดพลังงาน ข้อ 8 8 ให้เก็บรักษาบันทึกข้อมูลวิทยุ ณ จุดตาแหน่งที่เกิดเหตุฉุกเฉิน และพร้อมสาหรับ การตรวจสอบโดยนายเรือ การตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเจ้าหน้าที่อื่นซึ่งได้รับมอ บหมาย ข้อ 8 9 ในสถานการณ์ปกติ เมื่อเรือจอดเทียบท่าหรือทอดสมอ นายเรือต้องจัดให้มี การเข้ายามอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้ อาจมีข้อกาหนดพิเศษที่จาเป็น สาหรับเรือที่มีระบบขับเคลื่อนหรือมีอุปกรณ์เสริมเป็นพิเศษ รวมถึงสาหรับเรือที่บรร ทุกสินค้าอันตราย สารพิษ วัตถุไวไฟ หรือสินค้าพิเศษประเภทอื่นใด ข้อ 9 0 ในการจัดให้มีการเข้ายามฝ่ายเดินเรือ ( Deck watch ) ระหว่างเรือเทียบท่า ให้เป็นไป เพื่อวัตถุประสงค์ ดังนี้ ้ หนา 26 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 กุมภาพันธ์ 2566

(1) รับรองความปลอดภัยของชีวิต ตัวเรือ ท่าเรือ และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการดาเนินการ อย่างปลอดภัยของการใช้งานเครื่องจักรที่ใช้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสินค้า ( 2 ) ปฏิบัติตามกฎระเบียบระหว่างประเทศ ระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ( 3 ) จัดการให้เป็นระเบียบและเป็นไปตามปกติของเรือ ข้อ 9 1 นายเรือต้องตัดสินใจเกี่ยวกับองค์ประกอบและระยะเวลา การเข้ายามฝ่ายเดินเรือ ( Deck watch ) โดยให้คานึงถึงสภาพของการเทียบท่า ประเภทของเรือ และลักษณะการปฏิบัติหน้าที่ ข้อ 9 2 หากนายเรือพิจารณาแล้วว่ามีความจาเป็น ให้นายประจาเรือที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ปฏิบัติหน้าที่การเข้ายามฝ่ายเดินเรือ ( Deck watch ) ข้อ 9 3 ให้เรือจัดให้มีอุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อให้การเข้ายามเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ 9 4 ภายหลังการปรึกษากับนายเรือ ให้ต้นกลเรือจัดให้มีการเข้ายามของนายยามฝ่ายช่างกล ที่เพียงพอเพื่อให้มีความปลอดภัยของเครื่องกลในขณะที่เรืออยู่ในท่าเรือ โดยให้คานึงถึงประเด็น ดังต่อไปนี้เพื่อกำหนดองค์ประกอบของการเข้ายามฝ่ายช่างกล ซึ่งอาจรวมถึงลูกเรือฝ่ายช่างกล อย่างเหมาะสม (1) เรือกลเดินทะเลซึ่งมีกำลังขับเคลื่อน 3 , 000 กิโลวัตต์หรือมากกว่า ให้มีนายยาม ฝ่ายช่างกลเข้ายามตลอดเวลา (2) เรือกลเดินทะเลซึ่งมีกา ลังขับเคลื่อนน้อยกว่า 3 , 000 กิโลวัตต์ อาจไม่ให้มีนายยาม ฝ่ายช่างกลเข้ายามได้ ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อสั่งการของนายเรือซึ่งได้ปรึกษากับต้นกลเรือแล้ว ( 3 ) ต้องไม่มอบหมายให้นายยามฝ่ายช่างกลปฏิบัติหน้าที่อื่นใดซึ่งมีผลกระทบกับการควบคุมดูแล ระบบเครื่องจักร ข้อ 9 5 นายประจาเรือที่เข้ายามฝ่ายเดินเรือ ( Deck officer ) หรือฝ่ายช่างกล ต้องไม่ส่งมอบ การเข้ายามให้กับนายยามผลัดถัดไป หากมีเหตุอันเชื่อได้ว่านายยามขาดความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ เข้ายามได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งต้องแจ้งเหตุดังกล่าวให้แก่นายเรือหรื อต้นกลเรือทราบโดยพลัน ทั้งนี้ นายประจาเรือที่เข้ายามฝ่ายเดินเรือ ( Deck officer ) หรือฝ่ายช่างกลผลัดถัดไปต้องมั่นใจว่า ลูกยามสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ 9 6 ในระหว่างการส่งมอบการเข้ายามฝ่ายเดินเรือ ( Deck watch ) หรือฝ่ายช่างกล แต่ นายยามอยู่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งสาคัญ ให้นายยามยังคงปฏิบัติหน้าที่สาคัญให้แล้วเสร็จก่อน เว้นแต่ มีข้อสั่งการเป็นอย่างอื่นจากนายเรือหรือต้นกลเรือ ข้อ 97 ก่อนส่งมอบการเข้ายามฝ่ายเดินเรือ ( Deck watch ) นายยามผลัดถัดไปต้องได้รับแจ้ง จากนายยามฝ่ายเดินเรือ ( Deck watch ) ผลัดก่อนหน้า ซึ่งมีข้อมูล ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ความลึกของน้าบริเวณท่าเทียบเรือ อัตรากินน้าลึกของเรือ ระดับและเวลาน้าขึ้น - น้าลง ความปลอดภัยของการผูกจอดเรือ การจัดการสมอเรือและอัตราส่วนความยาวโซ่สมอเรือที่ปล่อยออกไป ้ หนา 27 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 กุมภาพันธ์ 2566

เ ทียบกับความลึกที่แท้จริงของน้ำ และคุณลักษณะสาคัญในการผูกจอดเรืออย่างปลอดภัย รวมถึง สภาพของเครื่องยนต์เรือ ตลอดจนความพร้อมสำหรับใช้งานในกรณีฉุกเฉิน ( 2 ) การปฏิบัติงานที่จะกระทาบนเรือ ลักษณะ ปริมาณ และการเคลื่อนย้ายสินค้าที่บรรทุก ขึ้นเรือหรือปริมาณคงเหลือ รวมถึงสิ่งที่ตกค้างภายหลังการขนถ่ายสินค้าลงจากเรือ ( 3 ) ระดับน้าท้องเรือและถังอับเฉา ( 4 ) สัญญาณหรือไฟ สำหรับแสดงหรือส่งสัญญาณเสียง ( 5 ) จำนวนลูกเรือและบุคคลอื่นใดซึ่งขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่บนเรือ ( 6 ) สถานะของอุปกรณ์ดับเพลิง ( 7 ) กฎระเบียบหรือข้อบังคับพิเศษของท่าเรือ ( 8 ) ข้อสั่งการทั่วไปและข้อสั่งการพิเศษของนายเรือ ( 9 ) ช่องทางการติดต่อสื่อสารที่สามารถใช้งานได้ระหว่างเรือและเจ้าหน้าที่ชายฝั่ง รวมถึง หน่วยงานประจำท่าเรือ ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินหรือต้องกา รความช่วยเหลือ ( 10 ) สถานการณ์อื่นใดที่สาคัญต่อความปลอดภัยของเรือ ลูกเรือ สินค้า หรือการปกป้อง สิ่งแวดล้อมจากมลพิษ ( 11 ) ขั้นตอนการแจ้งรายงานต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมอันเกิดขึ้นจากเรือ ข้อ 98 นายยามผลัดถัดไปต้องตรวจสอบความถูกต้องก่อนการปฏิบัติ หน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) อุปกรณ์ผูกจอดเรือและโซ่สมอเรือมีความมั่นคงเพียงพอ ( 2 ) สัญญาณหรือไฟ ได้แสดงหรือส่งสัญญาณเสียงอย่างถูกต้อง ( 3 ) มาตรการเพื่อความปลอดภัยและกฎระเบียบสำหรับป้องกันเพลิงไหม้มีความพร้อม ( 4 ) มีการระมัดระวังภัยที่อาจเกิดขึ้นจากสินค้าอันตรายที่ข นถ่ายขึ้นหรือลงจากเรือ และมีการ เตรียมมาตรการในกรณีที่เกิดการรั่วไหลหรือเกิดเพลิงไหม้ ( 5 ) ไม่มีสถานการณ์หรือบริบทอื่นใดซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ตัวเรือและสิ่งอื่นใด ข้อ 99 ก่อนส่งมอบการเข้ายามฝ่ายช่างกล นายยามผลัดถัดไปต้องได้รับแจ้งจากนายยาม ฝ่ายช่างกลผ ลัดก่อนหน้า ซึ่งข้อมูล ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ข้อสั่งการประจาวัน และข้อสั่งการพิเศษเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเรือ ภารกิจในการ ซ่อมบารุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ควบคุมเรือ ( 2 ) ลักษณะการปฏิบัติงานทั่วไปกับเครื่องจักรและระบบต่าง ๆ ของเรือ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง และอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ( 3 ) ระดับและสภาพของน้ำหรือสิ่งตกค้างในถังน้ำท้องเรือ ถังอับเฉา ถังพัก ( Slop ) ถังสำรอง ถังบำบัด และข้อกำหนดพิเศษอื่นใด สำหรับการใช้งานหรือกาจัดน้ำหรือสิ่งตกค้างดังกล่าว ( 4 ) ข้อกาหนดพิเศษที่เกี่ยวข้องกับ การกำจัดในระบบสุขาภิบาล ้ หนา 28 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 กุมภาพันธ์ 2566

( 5 ) สภาพและสถานะความพร้อมของอุปกรณ์ดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้และการติดตั้ง อุปกรณ์ดับเพลิงแบบยึดติดกับที่ รวมทั้งระบบตรวจจับอัคคีภัย ( 6 ) ข้อมูลของผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ซ่อมบำรุงเกี่ยวกับเครื่องกล สถานที่ ปฏิบัติงาน และ ภารกิจการซ่อมบารุง รวมถึงผู้เกี่ยวข้อง ( 7 ) กฎระเบียบหรือข้อบังคับประจำท่าเรือเกี่ยวกับน้าทิ้ง ข้อกำหนดการดับเพลิง และ ความพร้อมของเรือโดยเฉพาะระหว่างที่สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ( 8 ) ช่องทางการติดต่อสื่อสารที่สามารถใช้งานได้ระหว่างเรือและเจ้าหน้าที่ชายฝั่ง รวมถึง หน่วยงานประจำท่าเรือในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินหรือต้องการความช่วยเหลือ ( 9 ) สถานการณ์อื่นใดที่สาคัญต่อความปลอดภัยของเรือ ลูกเรือ สินค้า หรือการปกป้อง สิ่งแวดล้อมจากมลพิษ ( 10 ) ขั้นตอนการแจ้งรายงานต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากเครื่องกลเรือ ข้อ 100 นอกเหนือจากข้อ 99 นายยามผลัดถัดไปต้องตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนการปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) มีความคุ้นเคยกับแหล่งกาเนิดพลังงานไฟฟ้า ความร้อน และแสงสว่าง รวมทั้งระ บบ การจ่ายพลังงานที่ใช้ภายในเรือ ( 2 ) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานะของเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น และน้าจืดสำหรับใช้งาน ภายในเรือ ( 3 ) มีความพร้อมในการเตรียมเรือและเครื่องจักรของเรือให้พร้อมใช้งาน หรือใช้งานในกรณีฉุกเฉิน ตามคาร้องขอ เท่าที่สามารถกระทำได้ ข้อ 101 นายประจำเรือฝ่ายเดินเรือ ( Deck officer ) ต้องปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) ตรวจสอบเรือตามรอบระยะเวลาที่เหมาะสม ( 2 ) ให้ความสำคัญในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (2.1) สภาพและความปลอดภัยของบันไดขึ้นลงเรือ ( Gangway ) โซ่สมอ และอุปกรณ์ ผูก จอดเรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่ระดับน้าขึ้นสูงสุดและลงต่าสุด รวมทั้งตรวจสอบให้แน่ใจว่า อุปกรณ์ดังกล่าวสามารถใช้งานได้ตามปกติ (2.2) อัตรากินน้ำลึก พื้นที่ว่างระหว่างพื้นทะเลกับท้องเรือ ( Under - keel clearance ) และสภาพเรือโดยทั่วไปเพื่อหลีกเลี่ยงอันต รายที่เกิดจากการเอียงของเรือ การจมหัวหรือจมท้ายของเรือ ( Trim by head or trim by stern ) ในระหว่างการขนถ่ายสินค้าหรือเปลี่ยนถ่ายน้ำอับเฉา เพื่อรักษาสภาพการลอยตัวของเรือ (2.3) สภาพอากาศ และสภาพท้องทะเล (2.4) การปฏิบัติตามกฎระเบียบเกี่ยวกับความปลอดภัยและป้องกันเพลิงไหม้ (2.5) ระดับน้าในถังท้องเรือและถังอื่นใดของเรือ ้ หนา 29 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 กุมภาพันธ์ 2566

(2.6) บุคคลบนเรือ และสถานที่ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่อยู่ในบริเวณ ห่างไกลสายตาหรือในพื้นที่ปิด (2.7) การแสดงและส่งสัญญาณเสียง ซึ่งไ ฟและสัญญาณตามความเหมาะสม (3) กรณีสภาพอากาศเลวร้ายหรือเมื่อได้รับการแจ้งเตือนพายุ นายยามต้องจัดให้มีมาตรการ ที่จำเป็นเพื่อปกป้องเรือ บุคคล และสินค้าบนเรือ (4) ดาเนินการอย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันมลพิษทางสิ่งแวดล้อมจากเรือ (5) กรณีฉุกเฉินอันกระทบต่อความปล อดภัยของเรือ ให้นายยามส่งสัญญาณแจ้งเตือนภัย พร้อมแจ้งให้นายเรือทราบเพื่อดาเนินมาตรการทุกประการเท่าที่กระทาได้ในการป้องกันความเสียหายต่อเรือ สินค้า และบุคคลบนเรือ ในกรณีจาเป็นให้ทาการร้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานชายฝั่งหรือ จากเรือที่อยู่ใกล้เคียง (6) ตระหนักถึงสภาพการทรงตัวของเรือกรณีมีเหตุเพลิงไหม้ โดยต้องให้ข้อแนะนำแก่ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงถึงปริมาณน้าที่เหมาะสมซึ่งสามารถนำมาใช้ได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่เรือ (7) ให้การช่วยเหลือแก่เรือหรือบุคคลที่ประสบภัย (8) ดำเนินมาตรการตามจำเป็นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจาก การเตรียมการหมุนของเครื่องจักร (9) บันทึกเหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบกับเรือลงในปูมเรือ ข้อ 102 ให้นายยามฝ่ายช่างกลให้ความสำคัญกับเรื่อง ดังต่อไปนี้ ( 1 ) การปฏิบัติตามข้อสั่งการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานพิเศษ กฎระเบียบหรือข้อบังคับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสภาพความอันตราย และการป้องกันอันตราย ( 2 ) เครื่องมืออุปกรณ์ และระบบการควบคุม การควบคุมดูแลแหล่งจ่ายพลังงาน และ ระบบที่ใช้งาน ( 3 ) ข้อพึงปฏิบัติ วิธีการ และขั้นตอน ที่จาเป็นสาหรับป้องกั นการละเมิดกฎระเบียบหรือ ข้อบังคับเกี่ยวกับมลพิษของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ( 4 ) สถานะของน้าท้องเรือ ข้อ 103 นายยามฝ่ายช่างกลต้องปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้ (1) กรณีฉุกเฉิน ให้ส่งสัญญาณเตือนภัยตามที่เห็นควรว่าสถานการณ์จาเป็น และดาเนิน มาตรการทุกประการเท่าที่กระทำได้ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อเรือ บุคคล และสินค้าบนเรือ (2) ตระหนักถึงความต้องการของนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือ ( Deck officer ) ที่เกี่ยวข้องกับ การใช้งานอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าขึ้นหรือลงจากเรือ และระบบควบคุมการปรับแต่งน้าอับเฉา รวมถึง ระบบควบคุมการทรงตัวของเรื อ ้ หนา 30 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 กุมภาพันธ์ 2566

(3) ตรวจสอบอุปกรณ์อย่างสม่าเสมอเพื่อทราบการทางานที่ผิดปกติหรือการชารุด และ ดาเนินการซ่อมบารุงโดยพลันเพื่อรักษาความปลอดภัยของเรือ ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานสินค้า และความปลอดภัยของท่าเรือ รวมถึงความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม (4) ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีมาตการป้ องกันที่จาเป็นตามความรับผิดชอบ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ หรือความเสียหายอันอาจเกิดจากระบบไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ไฮดรอลิก นิวเมติกส์ หรือเครื่องกลเรือ (5) ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้มีการบันทึกเหตุการณ์สาคัญที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน การปรับเปลี่ยน หรือการซ่ อมบารุง ข้อ 104 นายเรือของเรือที่บรรทุกสินค้าอันตราย อาทิเช่น วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ สารพิษ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ต้องแน่ใจว่ามีการจัดการเข้ายามเพื่อ ความปลอดภัย ทั้งนี้ กรณีเรือสินค้าที่บรรทุกสินค้าอันตรายในระวางสินค้า ( In bulk ) ให้พิจารณาคุณสมบัติ ของนายยาม นายประจาเรือ ลูกเรือ หรือลูกยาม ให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ แม้ในขณะที่เรือผูกจอดเทียบท่าหรือทอดสมอในเขตท่าเรือ ข้อ 105 สำหรับเรือที่บรรทุกสินค้ำอันตรายแต่มิได้บรรทุกในระวางสินค้า ( In bulk ) นายเรือต้องตระหนักถึงลักษณะของสินค้า ปริมาณ การบรรจุหีบห่อ และการจัดวางสินค้าอันตราย รวมถึงคุณลักษณะพิเศษอื่นใด ข้อ 106 นายประจำเรือที่รับผิดชอบในการจัดทำแผนและดาเนินการในการปฏิบัติงานสินค้า ต้องดำเนิน การอย่างปลอดภัย โดยมีการควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งกรณีที่เกิดอันตราย แก่บุคคลอื่นใดซึ่งมิใช่คนประจำเรือ ประกาศ ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25 6 6 สรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมเจ้าท่า ้ หนา 31 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 กุมภาพันธ์ 2566