Mon Feb 13 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการคัดเลือกเอกชนเพื่อจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุที่มีราคาไม่เกินห้าร้อยล้านบาท พ.ศ. 2566


ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการคัดเลือกเอกชนเพื่อจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุที่มีราคาไม่เกินห้าร้อยล้านบาท พ.ศ. 2566

ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการคัดเลือกเอกชนเพื่อจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุที่มีราคาไม่เกินห้าร้อยล้านบาท พ.ศ. 2566 อาศัยอานาจตามความในข้อ 15 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงกำหนดระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดหาประโยชน์ ในที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2552 ข้อ 3 ระเบียบนี้ใช้บังคับกับการคัดเลือกเอกชนในการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุที่มีราคา ไม่เกินห้าร้อยล้านบาท ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “ การคัดเลือก ” หมายความว่า การดาเนินการเพื่อให้ได้เอกชนในการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุ “ กฎกระทรวง ” หมายความว่า กฎกระทรวงการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2564 “ หน่วยงานคัดเลือก ” หมายความว่า หน่วยงานภายในกรมธนารักษ์ที่ได้รับมอบหมาย หรือ ส่วนราชการที่ได้รับมอบอำนาจให้นำที่ราชพัสดุไปจัดหาประโยชน์ “ ผู้มีอานาจจัดหาประโยชน์ ” หมายความว่า อธิบดีกรมธนารั กษ์ หรือผู้ที่อธิบดีกรมธนารักษ์ มอบอำนาจ “ วิธีประมูล ” หมายความว่า การที่ผู้มีอานาจจัดหาประโยชน์ประกาศเชิญชวนเอกชนทั่วไป ที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่ผู้มีอำนาจจัดหาประโยชน์กำหนดให้เข้ายื่นข้อเสนอ “ วิธีคัดเลือก ” หมายความว่า การที่คณะกรรมการคัดเลือกแจ้งเชิญชวนเฉพาะเอกชน ที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่ผู้มีอานาจจัดหาประโยชน์กาหนดให้เข้ายื่นข้อเสนอซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสามราย เว้นแต่มีเอกชนซึ่งมีคุณสมบัติตรงตามที่กาหนดน้อยกว่าสามราย “ วิธีเฉพาะเจาะจง ” หมายความว่า การที่ผู้มีอานาจจัดหาประโยชน์แจ้งเชิญชวนเอกชน ที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กาหนดรายใดรายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอหรือให้เข้าเจรจาต่อรองค่าเช่า หรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นที่จะได้รับโดยตรง “ หลักประกันการยื่นข้อเสนอ ” หมายความว่า หลักประกันเพื่อประกันความเสี ยหายที่อาจเกิดขึ้น จากการที่มีผู้ยื่นข้อเสนอไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ผู้มีอำนาจจัดหาประโยชน์กำหนดในการเข้ายื่นข้อเสนอ “ ค่าแรกเข้าเพื่อทาสัญญา ” หมายความว่า เงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นที่ผู้ยื่นข้อเสนอ จะต้องชำระให้กับทางราชการเพื่อให้ได้รับสิทธิในการจัดทำ สัญญา ้ หนา 1 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 34 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กุมภาพันธ์ 2566

“ อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้องยกกรรมสิทธิ์ ” หมายความว่า อาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ที่มีลักษณะหรือที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในกิจการหนึ่งหรือกิจการใดที่ต้องยกกรรมสิทธิ์ให้กระทรวงการคลัง ตามคาสั่งกรมธนารักษ์ “ แบบรูป ” หมายความว่า แบบแสดงรายละเอียดของอาคา รหรือสิ่งปลูกสร้างในที่ดิน เช่น แบบผังบริเวณ แบบแปลนรูปด้าน หรืออื่น ๆ ที่สามารถนามาพิจารณามูลค่าอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างได้ “ มูลค่า ” หมายความว่า คุณค่าของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นหรือจะได้รับประโยชน์ ที่คำนวณออกมาในรูปของตัวเงินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมธนารักษ์กำหนด “ การเกษตร ” หมายความว่า การทำไร่ ทำนา ปลูกพืชสวน พืชผัก เลี้ยงสัตว์ และ การเกษตรอื่น ส่วนความหมายของการทาไร่ ทำนา ปลูกพืชสวน พืชผัก เลี้ยงสัตว์ และการเกษตรอื่น รวมทั้งกาหนด เวลาให้ผลผลิตของพืชสวนให้เป็นไปตามคาสั่งกรมธนารักษ์ “ อธิบดี ” หมายความว่า อธิบดีกรมธนารักษ์ ข้อ 5 ในกรณีที่มีปัญหาหรือไม่อาจปฏิบัติได้ตามระเบียบนี้ ให้ปลัดกระทรวงการคลัง วินิจฉัยชี้ขาด หรือพิจารณาสั่งการ และเมื่อวินิจฉัยชี้ขาดหรือพิจารณาสั่งการเป็นประการใดแล้ว ให้ปฏิบัติไปตามนั้น ข้อ 6 ให้อธิบดีกรมธนารักษ์รักษาการตามระเบียบนี้ หมวด 1 บททั่วไป ข้อ 7 ในการคัดเลือกเอกชนเพื่อจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุ ให้ผู้มีอานาจจัดหาประโยชน์ ใช้วิธีประมูลตามหมวด 2 การคัดเลือกเอกชนโดยใช้วิธีประมูล เว้นแต่เป็นกรณีที่กาหนดไว้ในกฎกระทรวง ข้อ 16 และข้อ 17 จะกระทำโดยไม่ใช้วิธีประมูลก็ได้ การคัดเลือกเอกชนโดยไม่ใช้วิธีประมูลตามวรรคหนึ่ง ให้คัดเลือกเอกชนโดยวิธีคัดเลือกหรือ วิธีเฉพาะเจาะจงตามหมวด 3 การคัดเลือกเอกชนโดยไม่ใช้วิธีประมูล ข้อ 8 ในกรณีที่ได้ดำเนินการคัดเลือกเอกชนโดยใช้วิธีประมูลแล้วอย่างน้อยสองครั้ง และไม่ได้ผู้ที่จะได้รับการคัดเลือก หากหน่วยงานคัดเลือกเห็นสมควรให้มีการคัดเลือกเอกชนต่อไป ให้ตรวจสอบพิจารณาถึงสาเหตุและปัจจัยที่มีผลทาให้ การคัดเลือกเอกชนโดยใช้วิธีประมูลในครั้งที่ผ่านมาไม่ได้ ผู้ที่จะได้รับการคัดเลือก รวมทั้งวิธีการที่ควรจะนามาดาเนินการว่าจะใช้วิธีประมูลตามหมวด 2 การคัดเลือกเอกชนโดยใช้วิธีประมูล หรือไม่ใช้วิธีประมูลตามหมวด 3 การคัดเลือกเอกชนโดยไม่ใช้ วิธีประมูล เพื่อให้ได้ผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกที่เหมาะสม โดยคานึงถึงความเป็นไปได้และประโยชน์ ที่ทางราชการจะได้รับจากการใช้วิธีการดังกล่าว เพื่อเสนอต่อผู้มีอานาจจัดหาประโยชน์สั่งการ ทั้งนี้ ผลประโยชน์ตอบแทนต้องไม่น้อยกว่าอัตราตามคาสั่งกรมธนารักษ์ ้ หนา 2 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 34 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กุมภาพันธ์ 2566

กรณีที่เห็นสมควร คัดเลือกเอกชนโดยไม่ใช้วิธีประมูล นอกเหนือจากกฎกระทรวง ข้อ 16 (1) ถึง (7) หรือข้อ 17 (1) ถึง (2) ให้เสนอปลัดกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาวิธีการว่าจะใช้ วิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจงต่อไป ข้อ 9 ในการคัดเลือกเอกชน ให้หน่วยงานคัดเลือกดาเนินการรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชนหรือชุมชนท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขในคาสั่งกรมธนารักษ์ ข้อ 10 หลักประกันการยื่นข้อเสนอหรือหลักประกันสัญญา ให้ใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่ อไปนี้ ( 1 ) เงินสด ( 2 ) เช็คหรือดราฟท์ที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คหรือดราฟท์ลงวันที่ที่ใช้เช็คหรือดราฟท์นั้น ชำระต่อเจ้าหน้าที่ หรือก่อนวันนั้นไม่เกินสามวันทำการ ( 3 ) หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศตามแบบที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ( 4 ) พันธบัตรรัฐบาลไทยหรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจไทย ข้อ 11 การเรียกเก็บหลักประกันการยื่นข้อเสนอและหลักประกันสัญญา ให้กำหนด หลักประกันดังกล่าวในอัตรา ดังต่อไปนี้ ( 1 ) หลักประกันการยื่นข้อเสนอ ให้กาหนดเป็นจานว นเต็มไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของค่าแรกเข้า เพื่อทำสัญญาขั้นต่า เศษของสิบบาทให้ปัดเป็นสิบบาท ( 2 ) หลักประกันสัญญาเช่าที่ดิน ให้กำหนดเท่ากับค่าเช่าหนึ่งปี ( 3 ) หลักประกันสัญญาเช่าอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ให้กำหนดเท่ากับค่าเช่าหกเดือน ( 4 ) หลักประกันสัญญาต่าง ตอบแทนอื่นซึ่งเป็นการปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้อง ยกกรรมสิทธิ์ (ก) ระหว่างก่อสร้าง ให้กาหนดหลักประกันการก่อสร้างเป็นจำนวนเต็มไม่น้อยกว่าร้อยละสิบ ของมูลค่าค่าก่อสร้างอาคาร เศษของสิบบาทให้ปัดเป็นสิบบาท (ข) เมื่อทางราชการได้รับมอบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ให้กาหนดหลักประกันสัญญาเท่ากับค่าตอบแทนหกเดือน เว้นแต่กรณีที่สัญญากาหนดให้มีการบริหาร จัดการด้วย ให้กาหนดหลักประกันสัญญาเป็นจานวนเต็มไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของค่าตอบแทนที่เรียกเก็บ เ ศษของสิบบาทให้ปัดเป็นสิบบาท (ค) การเรียกเก็บหลักประกันสัญญาต่างตอบแทนอื่นตาม (ข) ในกรณีที่สัญญากาหนด ให้สิทธิคู่สัญญาสามารถส่งมอบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างบางส่วนได้และมีการรับมอบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง นั้นแล้ว ให้กำหนดหลักประกันสัญญาตามสัดส่วนที่รับมอบ ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 34 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กุมภาพันธ์ 2566

( 5 ) หลักประกันสัญญาต่างตอบแทนอื่นซึ่งเป็นการปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ต้อง ยกกรรมสิทธิ์ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด ข้อ 12 หลักประกันการยื่นข้อเสนอหรือหลักประกันสัญญาในการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุ จากเอกชน ไม่เรียกเก็บกรณี ดังต่อไปนี้ ( 1 ) หลักประกันการยื่นข้อเสนอ (ก) กรณีการจัดให้เอกชนทาสัญญาเช่าที่ดินที่เป็นที่ราชพัสดุเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย หรือ เพื่อใช้ประกอบการเกษตร โดยวิธีเฉพาะเจาะจง (ข) กรณีการจัดให้เช่าที่ราชพัสดุ เพื่อใช้จัดงานต่าง ๆ ไม่เกินสามสิบวัน (ค) กรณีการจัดให้เอกช นทาสัญญาต่างตอบแทนอื่นเพื่อก่อสร้างสะพาน ทางเชื่อม ปักเสา พาดสายไฟฟ้า วางท่อประปา ท่อระบายน้า วางสายโทรศัพท์ ปรับปรุงภูมิทัศน์ (ง) กรณีการจัดหาประโยชน์จากคณะกรรมการสวัสดิการภายในส่วนราชการ ( 2 ) หลักประกันสัญญา (ก) กรณีการจัดให้เอกชนทำสัญญาต่าง ตอบแทนอื่นเพื่อปักเสา พาดสายไฟฟ้า วางท่อประปา ท่อระบายน้า วางสายโทรศัพท์ และสะพานภายหลังจากคู่สัญญาได้ส่งมอบหนังสือค้ำประกันของวิศวกร ผู้ควบคุมการก่อสร้างรับรองการก่อสร้างว่ามีความมั่นคงแข็งแรงและถูกต้องตามแบบแปลนแล้ว (ข) กรณีการจัดหาประโยชน์จากคณะกรรมการสวัสดิการภายในส่วนราชการ ( 3 ) กรณีนอกจาก (1) (ก) (ข) (ค) (ง) และ (2) (ก) (ข) ให้เป็นไปตามประกาศกรมธนารักษ์ ข้อ 13 ให้แจ้งคืนหลักประกันตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) หลักประกันการยื่นข้อเสนอ ให้ผู้มีอานาจจัดหา ประโยชน์แจ้งคืนแก่ผู้ยื่นข้อเสนอหรือ คู่สัญญา (ก) กรณีผู้ยื่นข้อเสนอที่ไม่ได้รับการคัดเลือก ให้แจ้งคืนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ คณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาคัดเลือกผู้ได้รับการคัดเลือกเบื้องต้นไม่เกินสามรายแล้ว (ข) กรณีผู้ได้รับการคัดเลือกเบื้องต้นซึ่งมิได้รับเลือกให้เป็นผู้ได้รับการคัดเลือก ให้แจ้งคืน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้แจ้งให้ผู้ได้รับการคัดเลือกทราบผลการคัดเลือก (ค) กรณีผู้ได้รับการคัดเลือก ให้แจ้งคืนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการลงนามในสัญญา และส่งม อบหลักประกันสัญญาแล้ว (ง) กรณีที่มีการยกเลิกการประกาศเชิญชวน ให้แจ้งคืนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่แจ้งให้ ผู้ยื่นข้อเสนอทราบว่ามีการยกเลิกการประกาศเชิญชวนและพ้นจากข้อผูกพันแล้ว ( 2 ) หลักประกันสัญญา ให้แจ้งคืนแก่คู่สัญญา (ก) กรณีสัญญาเช่า ให้แจ้งคืน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คู่สัญญาพ้นจากข้อผูกพัน ตามสัญญาแล้ว ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 34 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กุมภาพันธ์ 2566

(ข) กรณีสัญญาต่างตอบแทนอื่นซึ่งเป็นการปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้อง ยกกรรมสิทธิ์ ให้แจ้งคืนหลักประกันการก่อสร้างตามข้อ 11 (4) (ก) ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบ กาหนดหนึ่งปี ภา ยหลังจากวันที่ทางราชการได้รับมอบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดถูกต้องและ พ้นจากข้อผูกพันแล้ว สาหรับกรณีที่สัญญากำหนดให้สิทธิคู่สัญญาสามารถส่งมอบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง บางส่วนได้และมีการรับมอบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นแล้ว ให้แจ้งคืนหลักประกันการก่อสร้างตามสัดส่วน ที่รับมอบ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกาหนดหนึ่งปีและพ้นจากข้อผูกพันแล้ว ส่วนหลักประกันสัญญา ให้แจ้งคืนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คู่สัญญาพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว (ค) กรณีการขอก่อสร้างสะพาน เมื่อก่อสร้างแล้ว เสร็จ ให้แจ้งคืนหลักประกันการก่อสร้าง ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คู่สัญญาได้ส่งมอบหนังสือค้ำประกันของวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้าง รับรองการก่อสร้างว่ามีความมั่นคงแข็งแรงและถูกต้องตามแบบแปลน (ง) กรณีสัญญาต่างตอบแทนอื่นนอกจาก (ข) และ (ค) ให้แจ้งคืนภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่คู่สัญญาพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว การคืนหลักประกันที่เป็นหนังสือค้าประกันของธนาคาร ในกรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญา ไม่มารับภายในกำหนดเวลาที่แจ้งให้มารับ ให้รีบส่งต้นฉบับหนังสือค้าประกันคืนให้แก่ผู้ยื่นข้อเสนอห รือ คู่สัญญาโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนโดยเร็วพร้อมกับแจ้งให้ธนาคาร ผู้ค้ำประกันทราบด้วย ข้อ 14 ในการทาสัญญา หากมีการแก้ไขสัญญาและมีผลทาให้คู่สัญญาต้องวางหลักประกัน สัญญาเพิ่มเติม คู่สัญญาต้องนาหลักประกันสัญญามาวางเพิ่มเติมให้ครบถ้วนให้แก่หน่วยงานคัดเลือก ภายใ นสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากหน่วยงานคัดเลือก ถ้าหลักประกันสัญญาที่นำมาวางไว้เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาลดลงหรือเสื่อมค่าลง หรือมีอายุไม่ครอบคลุมถึงความรับผิดของคู่สัญญาตลอดอายุสัญญา ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม คู่สัญญา ต้องวางหลักประกัน ใหม่หรือหลักประกันเพิ่มเติมให้ครบถ้วนตามที่กาหนดในสัญญาให้แก่หน่วยงานคัดเลือก ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากหน่วยงานคัดเลือก ข้อ 15 ในการเก็บรักษาหลักประกันตามระเบียบนี้ ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้ (1) เงินสด เช็คหรือดราฟท์ ที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ให้นำส่งคลังเป็นประเภทเงินฝาก (2) พันธบัตรหรือหนังสือค้าประกันให้เก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย ในกรุงเทพมหานครให้เก็บ รักษาไว้ ณ กรมธนารักษ์ ส่วนจังหวัดอื่นให้เก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ หมวด 2 การคัดเลือกเอกชนโดยใช้วิธีประมูล ส่วนที่ 1 บททั่วไป ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 34 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 16 ให้หน่วยงานคัดเลือกจัดทาประกาศเชิญชวน เอกสารสาหรับการคัดเลือกเอกชน และแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกให้เป็นไปตามหมวดนี้ และเสนอผู้มีอำนาจจัดหาประโยชน์พิจารณา ข้อ 17 ร่างเอกสารการกาหนดขอบเขตและรายละเอียดมาตรฐานของการจัดหาประโยชน์ ที่ราชพั สดุ หรือร่างสัญญาเช่าหรือร่างสัญญาต่างตอบแทนอื่น ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกำหนดซึ่งผ่าน การตรวจพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุดและได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวงการคลังแล้ว ในกรณีใดที่ขอบเขตและรายละเอียดมาตรฐานของการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุ หรือ ร่างสัญญำเช่าหรือร่างสัญญาต่างตอบแทนอื่น แตกต่างไปในสาระสำคัญจากมาตรฐานหรือแบบที่อธิบดี กาหนดตามวรรคหนึ่ง ให้กรมธนารักษ์ส่งขอบเขตและรายละเอียดมาตรฐานของการจัดหาประโยชน์ ที่ราชพัสดุ หรือร่างสัญญาเช่าหรือร่างสัญญาต่างตอบแทนอื่น ในกรณีนั้นให้สานักงานอัยการสูงสุด ตรวจพิจารณาก่อนเสนอปลัดกระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ แล้วจึงนำไปประกาศเชิญชวน ส่วนที่ 2 การจัดทำประกาศเชิญชวน ข้อ 18 ประกาศเชิญชวน อย่างน้อยต้องแสดงรายการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับที่ราชพัสดุที่ต้องการจัดหาประโยชน์จากเอกชน (2) รายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ และลักษณะของเอกชนที่ไม่สมควร ให้เข้ายื่นข้อเสนอ ( 3 ) การจัดทำข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอ ( 4 ) หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือก ( 5 ) ค่าเช่า ค่าแรกเข้าเพื่อทาสัญญาขั้นต่า และผลประโยชน์ตอบแทนอื่น (ถ้ามี) ที่ทางราชการ จะได้รับ ( 6 ) สถานที่ วัน เวลา ที่เปิดและปิดการขายหรือให้เอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน ( 7 ) สถานที่ วัน เวลา ที่เปิดและปิดการรับซอง และการเปิดซองเอกสารข้อเสนอ ( 8 ) ค่าธรรมเนียมการขายเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (ถ้ามี) ( 9 ) กาหนดให้ ผู้ยื่นข้อเสนอวางหลักประกันการยื่นข้อเสนอ ตามชนิดและจานวนในข้อ 10 และข้อ 11 พร้อมกับการยื่นซองเอกสารข้อเสนอต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งหน่วยงานคัดเลือกมอบหมาย (1 0 ) การสงวนสิทธิ์ ( 11 ) รายการอื่นตามที่ได้รับความเห็นชอบจากอธิบดี การประกาศเชิญชวนตามวรรคหนึ่ง ต้องประกอบด้วยเอกสารการกำหนดขอบเขตและ รายละเอียดมาตรฐานของการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุ และร่างแบบสัญญาตามข้อ 17 ส่วนที่ 3 การจัดทำร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพื่อจัดทำสัญญาเช่า ้ หนา 6 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 34 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 19 การจัดทาร่างเอกสารสาหรับการคัดเลือกเอกชนเพื่อจัดทาสัญญาเช่า อย่ำงน้อย ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับที่ราชพัสดุที่ต้องการจัดหาประโยชน์ คุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ การจัดทา ข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอ หลักเกณฑ์และวิธีการในการพิจารณาคัดเลือกเอกชน กาหนดการที่เกี่ยวกับ การคัดเลือกเอกชน ค่าเช่าหรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่น ค่าธรรมเ นียมการขายเอกสารสาหรับ การคัดเลือกเอกชน (ถ้ามี) หลักประกันการยื่นข้อเสนอ หลักประกันสัญญา หน้าที่ของผู้ได้รับการคัดเลือก ระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา การสงวนสิทธิ์ และรายการอื่นตามที่ได้รับความเห็นชอบจากอธิบดี ข้อ 20 ในการกาหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการคัดเลือกเอกชนเพื่อจัดทาสัญญาเช่าที่ดินที่เป็น ที่ราชพัสดุ อย่างน้อยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่า ให้มีกาหนดไม่เกินสามสิบปี นับแต่วันลงนาม ในสัญญาเช่า โดยหลักเกณฑ์การให้สิทธิกา รเช่าให้เป็นไปตามคาสั่งกรมธนารักษ์ เว้นแต่ในกรณีที่เป็น สัญญาเช่าเพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรม และอุตสาหกรรมที่จะกำหนดระยะเวลาเช่าไว้เกินสามสิบปี ต้องได้รับความเห็นชอบจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก่อน ( 2 ) คุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ ซึ่งจะต้องไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกันจากอานาจ ศาลไทยทาให้ไม่ต้องขึ้นศาลไทย เว้นแต่รัฐบาลของผู้ยื่นข้อเสนอซึ่งเป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน ดังกล่าวมีหนังสือแสดงเจตนาการสละสิทธิ์และความคุ้มกันจากอำนาจศาลไทยนั้น ( 3 ) ใบยื่นข้อเสนอค่าแรกเข้าเพื่อทาสัญญา โดยให้มีการยื่นข้อเสนอเป็นภาษาไทย ในการ ยื่นข้อเสนอที่เป็นตัวเลข ต้อง มีตัวหนังสือกากับ ถ้าตัวเลขและตัวหนังสือไม่ตรงกันให้ถือตัวหนังสือ เป็นสำคัญ ( 4 ) ซองเอกสารข้อเสนอต้องผนึกให้เรียบร้อยก่อนยื่นต่อทางราชการ และผู้ยื่นข้อเสนอจะต้อง จัดทาบัญชีแสดงรายการเอกสารซึ่งประกอบด้วยรายการซองเอกสารข้อเสนอที่ยื่นและเอกสารหลักฐาน ภายในซอ งเอกสารข้อเสนอพร้อมกับการยื่นซองเอกสารข้อเสนอ ( 5 ) ค่าเช่า ค่าแรกเข้าเพื่อทาสัญญา ผลประโยชน์ตอบแทนอื่น (ถ้ามี) ซึ่งจะต้องไม่น้อยกว่า อัตราที่ได้รับความเห็นชอบจากอธิบดี ( 6 ) ระยะเวลาให้ผู้ได้รับการคัดเลือกได้ชาระค่าแรกเข้าเพื่อทาสัญญาที่เสนอให้ทางราชกา ร ให้เสร็จสิ้นภายในสี่สิบห้าวัน นับตั้งแต่วันที่ทางราชการได้แจ้งให้ทราบว่าเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก หากไม่ชาระ ภายในกำหนด ให้ริบหลักประกันการยื่นข้อเสนอ ทั้งนี้ หากมีเหตุผลสมควรอธิบดีอาจกำหนดระยะเวลา เกินกว่าสี่สิบห้าวันก็ได้ ( 7 ) ผู้ได้รับการคัดเลือกต้องชาระค่าธรรมเนียม ค่าภาษี และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรืออากร หรือเงินอื่นใด ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน หรือที่จะใช้บังคับในอนาคต รวมถึงการชาระเงินดังกล่าวแทนกรมธนารักษ์หรือกระทรวงการคลังอันเนื่องมาจากกำรจัดหาประโยชน์ ที่ราชพัสดุนั้น ้ หนา 7 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 34 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กุมภาพันธ์ 2566

( 8 ) การนำสิทธิแห่งสัญญาไปเป็นหลักประกันทางการเงิน ผู้ได้รับการคัดเลือกจะดาเนินการได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากกรมธนารักษ์ โดยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้เป็นไปตามที่อธิบดี กำหนด ( 9 ) การสงวนสิทธิ์ว่าผู้มีอานาจจัดหาประโยชน์ ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะงดหรือเลือกผู้ยื่นข้อเสนอ โดยไม่จาต้องเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่เสนอราคาหรือผลประโยชน์สูงสุดเสมอไป รวมทั้งจะพิจารณายกเลิก การคัดเลือก หากมีเหตุที่เชื่อได้ว่ากระทาไปโดยไม่สุจริตหรือมีการสมยอมกันในการเสนอราคา หรือ เหตุอื่นใดตามที่ทางราชการเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ( 10 ) หลักเกณฑ์อื่นเพื่อประโยชน์ในการคัดเลือกเอกชนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากอธิบดี ข้อ 21 ในการกาหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการคัดเลือกเอกชนเพื่อจัดทาสัญญาเช่าอาคารหรือ สิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่ราชพัสดุ อย่ำงน้อยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) หลักเกณฑ์ตามข้อ 20 ( 2 ) จะต้องประกันอัคคีภัยอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างในอัตราไม่ต่ากว่ามูลค่าอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ในนามกระทรวงการคลังเป็นผู้เอาประกันและเป็นผู้รับประโยชน์ตลอดอายุสัญญากับบริษัท ประกันภัยที่ได้รั บความเห็นชอบจากกรมธนารักษ์ โดยผู้ได้รับสิทธิเป็นผู้ชาระเบี้ยประกันภัยแทน กระทรวงการคลังทั้งสิ้น ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของทางราชการอธิบดีจะให้ผู้ได้รับสิทธิประกันวินาศภัย อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างก็ได้ ( 3 ) กรณีผู้ได้รับสิทธิต้องซ่อมแซมปรับปรุงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตามเงื่อนไขในสัญญาเช่า หรือผู้ได้รับสิทธิขออนุญาตเปลี่ยนแปลง รื้อถอน ดัดแปลงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ให้นำมูลค่า ของรายการปรับปรุงที่เพิ่มขึ้นและลดลงในคราวเดียวกันหักลบกันได้ แต่หากมูลค่าอาคารหรื อสิ่งปลูกสร้าง ลดลงให้เรียกเก็บเงินทดแทนมูลค่าที่ลดลงนั้นด้วย ( 4 ) กรณีผู้ได้รับสิทธิได้รับอนุญาตให้รื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่เช่าทั้งหลังโดยไม่ได้ ปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใหม่ทดแทนเนื่องจากเหตุที่อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่เช่าชารุดเสื่อมโทรม จนไม่สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ หรืออาจเกิดภยันตรายจากอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น หรือมีเหตุอื่น ๆ ที่จาเป็นต้องรื้อถอนโดยเหตุนั้นมิได้เกิดจากผู้เช่าหรือบริวาร กรณีเช่นนี้ไม่เรียกเก็บค่าชดเชยอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างที่รื้อถอนดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ผู้เช่ำจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีเห็นสมควรกาหนด เพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ ส่วนที่ 4 การจัดทำร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพื่อจัดทำสัญญาต่างตอบแทนอื่น ข้อ 22 การจัดทาร่างเอกสารสาหรับการคัดเลือกเอกชนเพื่อจัดทาสัญญาต่างตอบแทนอื่น ให้เป็นไปตามส่วนที่ 3 การจัดทำร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพื่อจัดทำสัญญาเช่า ข้อ 19 ้ หนา 8 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 34 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 23 ในการกาหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการคัดเลือกเอกชนเพื่อจัดทาสัญญาต่างตอบแทนอื่น อย่างน้อยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) หลักเกณฑ์ตามส่วนที่ 3 การจัดทาร่างเอกสารสาหรับการคัดเลือกเอกชนเพื่อจัดทา สัญญาเช่า ข้อ 20 (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) (9) และ (10) ( 2 ) ระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทนอื่น ให้มีกาหนดไม่เกินสามสิบปี นับแต่ วันลงนามในสัญญาต่างตอบแทนอื่น โดยหลักเกณฑ์การให้สิ ทธิการใช้ประโยชน์ตามสัญญาให้เป็นไป ตามคาสั่งกรมธนารักษ์ ( 3 ) กรรมสิทธิ์อาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ให้เป็นไปตามคาสั่งกรมธนารักษ์ ( 4 ) ในกรณีที่เป็นการประกาศเชิญชวนที่กำหนดให้มีข้อเสนอเทคนิคหรือข้อเสนออื่น ๆ ที่แยกจากข้อเสนอด้านราคา หากมีความจาเป็นให้ผู้ยื่ นข้อเสนอส่งแบบรูปเพื่อประกอบการพิจารณา ให้กำหนดเงื่อนไขในการส่งแบบรูปและรายการละเอียดไปพร้อมในการยื่นข้อเสนอ ( 5 ) ในกรณีที่เป็นการปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้องยกกรรมสิทธิ์ ให้กาหนดเงื่อนไข เพิ่มเติม อย่างน้อยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (ก) หลักเกณฑ์ตามข้อ 21 (3) และ (4) (ข) การขออนุญาตเปลี่ยนแปลงรายการก่อสร้างในระหว่างการก่อสร้าง ให้นามูลค่า ของรายการปรับปรุงที่เพิ่มขึ้นและลดลงในคราวเดียวกันหักลบกันได้ หากมูลค่าของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ลดลงให้เรียกเก็บเงินทดแทนมูลค่ำที่ลดลงนั้นด้วย (ค) ในระหว่างก่อสร้างกระทรวงการคลังจะประกันวินาศภัยการก่อสร้างในอัตราไม่ต่ากว่า มูลค่าอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาในนามกระทรวงการคลังเป็นผู้เอาประกันและเป็นผู้รับประโยชน์ กับบริษัทประกันภัยที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมธนารักษ์ โดยผู้ได้ รับสิทธิเป็นผู้ชาระเบี้ยประกันภัย แทนกระทรวงการคลังทั้งสิ้น และเมื่อก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างแล้วเสร็จ การประกันภัยให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ ตามส่วนที่ 3 การจัดทาร่างเอกสารสาหรับการคัดเลือกเอกชนเพื่อจัดทาสัญญาเช่า ข้อ 21 (2) ส่วนที่ 5 คณะกรรมการคัดเลือก ข้อ 24 คณะกรรมการคัดเลือก ประกอบด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการ อย่างน้อยสองคน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการในสังกัดกรมธนารักษ์โดยคานึงถึงลักษณะงาน หน้าที่ และ ความรับผิดชอบของผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นสาคัญ ในกรณีจาเป็นหรือเพื่อปร ะโยชน์ของทางราชการจะ แต่งตั้งข้าราชการจากส่วนราชการอื่นร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้โดยจะต้องแต่งตั้งจากข้าราชการในสังกัด กรมธนารักษ์ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งร่วมเป็นกรรมการด้วย ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 34 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กุมภาพันธ์ 2566

องค์ประกอบของคณะกรรมการคัดเลือกตามวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับกับหน่วยงานคัดเลือก ที่ไม่ใช่กร มธนารักษ์ แต่ทั้งนี้ ส่วนราชการนั้นจะต้องแต่งตั้งข้าราชการในสังกัดไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งร่วมเป็น กรรมการ การแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง อาจแต่งตั้งผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้ ข้อ 25 ให้คณะกรรมการคัดเลือกมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) พิจารณาคัดเลือกเอกชนผู้ยื่นข้อเสนอ ( 2 ) เจรจาเงื่อนไขในร่างสัญญากับผู้ได้รับการคัดเลือก ( 3 ) พิจารณาดาเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกเอกชนตามที่เห็นสมควร ข้อ 26 การประชุมคณะกรรมการคัดเลือกต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุมคณะกรรมการคัดเลือก ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติ หน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ในการวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่ง เป็นเสียงชี้ขาด ในการประชุม ถ้ามีการพิจาร ณาเรื่องที่กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้กรรมการผู้นั้นแจ้งคณะกรรมการคัดเลือกทราบ และไม่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมในเรื่องนั้น ส่วนที่ 6 การดำเนินการ ข้อ 27 การประกาศเชิญชวนต้องกระทาอย่างเปิดเผยไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันเปิดรับ ซองเ อกสารข้อเสนอของเอกชน การประกาศเชิญชวนดังกล่าวอย่างน้อยต้องเผยแพร่ด้วยวิธีการ ดังต่อไปนี้ (1) ปิดประกาศ ณ ที่ทำการของหน่วยงานคัดเลือก กรมธนารักษ์ และที่ที่ราชพัสดุนั้นตั้งอยู่ สาหรับกรณีที่ราชพัสดุตั้งอยู่ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ปิดประกาศเพิ่ม ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ที่ราชพัสดุนั้นตั้งอยู่ด้วย (2) เผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของหน่วยงานคัดเลือกและกรมธนารักษ์ ข้อ 28 การให้หรือขายเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน ให้กระทำ ณ หน่วยงานคัดเลือก และจะต้องจัดเตรียมไว้ให้มากพอสาหรั บความต้องการของผู้มาขอรับหรือขอซื้อรายละหนึ่งชุด โดยไม่มี เงื่อนไขในการให้หรือขาย ในกรณีที่มีการขาย ให้กาหนดราคาพอสมควรกับค่าใช้จ่ายที่ทางราชการ ต้องเสียไปในการจัดทาสาเนาเอกสารสาหรับการคัดเลือกเอกชน ทั้งนี้ ให้กาหนดเวลาที่เหมาะสมสาหรับ ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 34 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กุมภาพันธ์ 2566

การคานวณราคาของผู้ ประสงค์จะยื่นซองเอกสารข้อเสนอ โดยอย่างน้อยให้มีขั้นตอนและกาหนดเวลา ในการดาเนินการ ดังนี้ (1) การให้หรือขายเอกสารสาหรับการคัดเลือกเอกชน ให้ดาเนินการพร้อมกับวันประกาศเชิญชวน และให้มีช่วงเวลาในการให้หรือขายไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน (2) เมื่อปิดการให้หรือขายตาม (1) แล้ว หน่วยงานคัดเลือกจะจัดให้ผู้ประสงค์จะยื่นซอง เอกสารข้อเสนอไปดูสถานที่หรือจัดให้มีการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุก็ได้ ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ให้ดาเนินการก่อนวันเปิดรับซองเอกสารข้อเสนอของเอกชนไม่น้ อยกว่าสิบห้าวัน ในกรณีที่มีการยกเลิกการประกาศเชิญชวนครั้งนั้นและมีการประกาศเชิญชวนใหม่ ให้ผู้รับหรือ ซื้อเอกสารสาหรับการคัดเลือกเอกชนครั้งก่อนมีสิทธิใช้เอกสารสาหรับการคัดเลือกเอกชนนั้นหรือได้รับ เอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนใหม่โดยไม่ต้องเสียค่าซื้อเอกสารสำ หรับการคัดเลือกเอกชนอีก ข้อ 29 ก่อนวันเปิดรับซองเอกสารข้อเสนอของเอกชน หากมีความจาเป็นต้องชี้แจงหรือ ให้รายละเอียดเพิ่มเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ หรือมีความจำเป็นต้องแก้ไขรายละเอียดที่เป็นสาระสาคัญ ให้หน่วยงานคัดเลือกจัดทาเป็นประกาศเชิญชวนเพิ่มเติม โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอานาจจัดหา ประโยชน์ และให้ดาเนินการตามข้อ 27 โดยอนุโลม กับแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ที่ขอรับหรือซื้อเอกสาร สำหรับการคัดเลือกเอกชนไปแล้วทุกรายด้วย การดาเนินการตามวรรคหนึ่ง หากจะเป็นเหตุให้ผู้ที่ขอรับหรือซื้อเอกสารสาหรับการคัดเลื อกเอกชน ไม่สามารถยื่นซองเอกสารข้อเสนอได้ทันตามกาหนดเดิม ให้เลื่อนวัน เวลารับซอง ปิดการรับซอง และเปิดซองเอกสารข้อเสนอตามความจำเป็นด้วย เมื่อถึงกาหนดวันเปิดรับซองเอกสารข้อเสนอของเอกชน ห้ามมิให้เปลี่ยนแปลงกาหนดเวลารับซอง เว้นแต่เป็นกรณีที่กาหนดไว้ตาม วรรคสอง หรือกรณีเนื่องจากมีการกาหนดให้เป็นวันหยุดราชการ ให้เลื่อนเป็นวันแรกที่มีการเปิดทำการ ข้อ 30 ให้หน่วยงานคัดเลือกมอบหมายเจ้าหน้าที่คนหนึ่งหรือหลายคนรับผิดชอบในการ ดาเนินการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) รับซองเอกสารข้อเสนอ หลักประกันการยื่นข้อเสนอ แบบรูปและรายการละเอียด (ถ้ามี) เอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามบัญชีแสดงรายการเอกสาร ลงทะเบียนรับไว้เป็นหลักฐาน ลงชื่อกากับ และบันทึกไว้ว่าเป็นของผู้ใด ทั้งนี้ หากไม่ถูกต้องให้บันทึกในรายงานไว้ด้วย ( 2 ) ซองเอกสารข้อเสนอและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ยื่นต่อทางรำชการและลงทะเบียน รับซองแล้ว จะคืนให้แก่ผู้ขอถอนคืนหรือขอยกเลิกมิได้ ( 3 ) ตรวจสอบหลักประกันการยื่นข้อเสนอร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการเงิน และ ให้ออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นข้อเสนอไว้เป็นหลักฐาน หากไม่ถูกต้องให้หมายเหตุในใบรับและบันทึกในรายงานด้วย ทั้งนี้ กรณีหลักประกันตามข้อ 10 (2) (3) และ (4) ให้ส่งสำเนาเพื่อทำการตรวจสอบ ความถูกต้องกับผู้ออกหลักประกันดังกล่าวโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 34 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กุมภาพันธ์ 2566

( 4 ) เมื่อพ้นกาหนดเวลารับซองเอกสารข้อเสนอแล้ว ห้ามมิให้รับซองเอกสารข้อเสนอหรือ เอกสารหลักฐานต่าง ๆ ( 5 ) เปิดซองข้อเสนอค่าแรกเข้าเพื่อทำสัญญาและอ่านแจ้งราคาหรือรายการที่เสนอ รวมทั้งรายการต่าง ๆ ในบัญชีแสดงรายการเอกสารของผู้ยื่นข้อเสนอทุกราย โดยเปิดเผยตามเวลา ที่กาหนด ณ สถานที่รับซองเอกสารข้อเสนอ และให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการมอบหมาย ลงลายมือชื่อ กากั บไว้ในเอกสารข้อเสนอค่าแรกเข้าเพื่อทาสัญญาและเอกสารประกอบทุกแผ่น แล้วจดราคาหรือ ผลประโยชน์จากเอกสารข้อเสนอค่าแรกเข้าเพื่อทำสัญญาทุกฉบับลงไว้ในบัญชีเปรียบเทียบราคา ( 6 ) เมื่อได้ดำเนินการตาม (1) (2) (3) (4) และ (5) แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับ การมอบหมายส่งมอบเอกสารทั้งหมด สาเนาการส่งตรวจสอบหลักประกัน และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ พร้อมด้วยบันทึกรายงานผลการดำเนินการต่อคณะกรรมการคัดเลือกในวันเดียวกันเพื่อพิจารณา ดาเนินการต่อไป เว้นแต่กรณีที่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ ให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการมอบหมายบันทึ กรายงานผล ต่อคณะกรรมการคัดเลือก ในกรณีที่เป็นการประกาศเชิญชวนที่มีข้อเสนอเทคนิคหรือข้อเสนออื่น ๆ ที่แยกจากข้อเสนอ ค่าแรกเข้าเพื่อทาสัญญา ซึ่งต้องพิจารณาทางเทคนิคและอื่น ๆ ก่อนตามเงื่อนไขที่กาหนดไว้ เจ้าหน้าที่ ที่ได้รับการมอบหมายไม่ต้องดาเนินการตาม (5) ส่วนที่ 7 วิธีการคัดเลือกเอกชน ข้อ 31 ให้คณะกรรมการคัดเลือกดาเนินการคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอ ให้ถูกต้องตามประกาศ เชิญชวน และเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน ดังนี้ ( 1 ) กรณีการประกาศเชิญชวนที่กาหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอจาก การเสนอค่าแรกเข้าเพื่อทำสัญญาให้เป็นผู้ได้รับการคัดเลือก (ก) เปิดซองข้อมูลทั่วไป เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ เอกสารข้อเสนอ ค่าแรกเข้าเพื่อทาสัญญา ผลการตรวจสอบหลักประ กัน เอกสารหลักฐานต่าง ๆ แล้วคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอ ที่ถูกต้อง (ข) พิจารณาคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านการตรวจสอบตาม (ก) ซึ่งยื่นข้อเสนอค่าแรกเข้า เพื่อทำสัญญาสูงสุดและเป็นประโยชน์ต่อทางราชการเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก ( 2 ) กรณีการประกาศเชิญชวนที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอ นอกเหนือจากการเสนอค่าแรกเข้าเพื่อทำสัญญาให้เป็นผู้ได้รับการคัดเลือก (ก) เปิดซองข้อมูลทั่วไป เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ ผลการตรวจสอบ หลักประกัน เอกสารหลักฐานต่าง ๆ แล้วคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ถูกต้อง หากคุณสมบัติไม่ถูกต้อง จะไม่เปิดซองข้อเสนอเทคนิค ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 34 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กุมภาพันธ์ 2566

(ข) เปิดซองข้อเสนอเทคนิค แล้วคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ถูกต้อง หากข้อเสนอเทคนิค ไม่ถูกต้องจะไม่เปิดซองข้อเสนอค่าแรกเข้าเพื่อทำสัญญาและผลประโยชน์ตอบแทนอื่น (ค) เปิ ดซองข้อเสนอค่าแรกเข้าเพื่อทำสัญญาและผลประโยชน์ตอบแทนอื่น (ง) พิจารณาคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านการตรวจสอบตาม (ก) (ข) (ค) ซึ่งยื่นข้อเสนอสูงสุด และเป็นประโยชน์ต่อทางราชการเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก ( 3 ) กรณีการประกาศเชิญชวนตาม (2) ซึ่งกาหนดให้มีกา รยกกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างชดเชย (ก) เปิดซองข้อมูลทั่วไป เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ ผลการตรวจสอบ หลักประกัน เอกสารหลักฐานต่าง ๆ แล้วคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ถูกต้อง หากคุณสมบัติไม่ถูกต้อง จะไม่เปิดซองข้อเสนอผลประโยชน์ตอบแทนอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอยกกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างชดเชย (ข) เปิดซองข้อเสนอผลประโยชน์ตอบแทนอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอยกกรรมสิทธิ์ ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือก่อสร้างอำคารหรือสิ่งปลูกสร้างชดเชย แล้วคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ถูกต้อง หากซองข้อเสนอผลประโยชน์ตอบแทนอื่นดังกล่าวไม่ถูกต้องจะไม่เปิดซองข้อเสนอเทคนิค (ค) เปิดซองข้อเสนอเทคนิค แล้วคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ถูกต้อง หากซองข้อเสนอเทคนิค ไม่ถูกต้องจะไม่เปิดซองข้อเ สนอค่าแรกเข้าเพื่อทำสัญญาและผลประโยชน์ตอบแทนอื่น (ง) เปิดซองข้อเสนอค่าแรกเข้าเพื่อทำสัญญาและผลประโยชน์ตอบแทนอื่น (จ) พิจารณาคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านการตรวจสอบตาม (ก) (ข) (ค) (ง) ซึ่งยื่นข้อเสนอสูงสุดและเป็นประโยชน์ต่อทางราชการเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก การดาเนินการตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการคัดเลือกอาจสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้ยื่นข้อเสนอ รายใดเพิ่มเติมเพื่อนามาประกอบการพิจารณาก็ได้ แต่จะให้เปลี่ยนแปลงสาระสาคัญที่เสนอไว้แล้วมิได้ และใน กรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอรายใดเสนอรายละเอียดแตกต่างไปจากที่กาหนดในเงื่อนไขประกาศเชิญชวน ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ และความแตกต่างนั้นไม่มีผลทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบต่อผู้ยื่นข้อเสนอ รายอื่น หรือเป็นการผิดพลาดเล็กน้อย คณะกรรมการคัดเลือกอาจพิจารณาผ่อนปรนให้ ยื่นข้อเสนอ โดยไม่ตัดผู้ยื่นข้อเสนอรายนั้นออก ทั้งนี้ ให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในเอกสารข้อเสนอทุกแผ่น หากผลการพิจารณาคัดเลือกมีผู้ยื่นข้อเสนอที่มีคะแนนสูงสุดเท่ากันหลายราย ให้เรียกผู้ยื่น ข้อเสนอดังกล่าวมาให้เสนอราคาใหม่พร้อมกันด้วยวิธียื่นซอ งข้อเสนอค่าแรกเข้าเพื่อทาสัญญาหรือ ผลประโยชน์ตอบแทนอื่นซึ่งสูงกว่าเดิม รายใดไม่มายื่นซองให้ถือว่ารายนั้นยื่นตามราคาหรือผลประโยชน์ ที่เสนอไว้เดิม ข้อ 32 การประกาศเชิญชวนครั้งใด ถ้ามีเอกชนยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียวหรือมีเอกชน ยื่นข้อเสนอหลายรายแต่ยื่นข้อเสนอ ถูกต้องตามรายการในเอกสารสาหรับการคัดเลือกเอกชนเพียงรายเดียว ให้ผู้มีอำนาจจัดหาประโยชน์พิจารณายกเลิกการประกาศเชิญชวนครั้งนั้น เว้นแต่คณะกรรมการคัดเลือก ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 34 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กุมภาพันธ์ 2566

เห็นว่าการดำเนินการต่อไปทางราชการจะได้ประโยชน์มากกว่าก็ให้เจรจากับเอกชนรายนั้นแล้ว ดาเนินการตามขั้นตอนที่กาหนดไว้ในข้อ 34 ต่อไป ข้อ 33 ในกรณีที่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ หรือมีแต่ไม่ถูกต้องตรงตามรายการละเอียดและเงื่อนไข ที่กำหนด ให้ผู้มีอำนาจจัดหาประโยชน์พิจา รณายกเลิกการประกาศเชิญชวนครั้งนั้น ข้อ 34 เมื่อได้ผลการคัดเลือกเอกชนแล้ว ให้เสนอความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมด ต่อผู้มีอำนาจจัดหาประโยชน์ ข้อ 35 เมื่อผู้มีอานาจจัดหาประโยชน์ได้รับความเห็นและเอกสารจากคณะกรรมการคัดเลือกแล้ว หากเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน ให้หน่วยงานคัดเลือกพิจารณาจัดทำสัญญาต่อไป ข้อ 3 6 ในกรณีที่ได้ผู้ได้รับการคัดเลือกแล้ว แต่ยังไม่ได้จัดทาสัญญาหรือตกลงกับผู้ได้รับ การคัดเลือกรายใด ถ้ามีความจาเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงสาระสาคัญ ใน รายละเอียดหรือเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศเชิญชวน ซึ่งทาให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่าง ผู้ยื่นข้อเสนอด้วยกัน ให้ผู้มีอำนาจจัดหาประโยชน์พิจารณายกเลิกการประกาศเชิญชวนครั้งนั้น หมวด 3 การคัดเลือกเอกชนโดยไม่ใช้วิธีประมูล ส่วนที่ 1 บททั่วไป ข้อ 37 เมื่อผู้มีอานาจจัดหาประโยชน์ให้ความเห็นชอบให้คัดเลือกเอกชนโดยไม่ใช้วิธีประมูล ให้กระทำได้โดยวิธี ดังต่อไปนี้ ( 1 ) วิธีคัดเลือก ( 2 ) วิธีเฉพาะเจาะจง ข้อ 38 การคัดเลือกเอกชนโดยไม่ใช้วิธีประมูล ให้ผู้มีอำนาจจัดหาประโยชน์พิจารณา คัดเลือกเอกชนโดยวิธีคัดเลื อก เว้นแต่เป็นกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ ให้ผู้มีอานาจจัดหาประโยชน์ พิจารณาคัดเลือกเอกชนโดยวิธีเฉพาะเจาะจงก็ได้ ( 1 ) กรณีวัตถุประสงค์ของการจัดหาประโยชน์ หรือสภาพและที่ตั้งของที่ราชพัสดุ มีเอกชน ซึ่งมีคุณสมบัติหรือลักษณะที่สมควรจะจัดหาประโยชน์เพียงรายเดียว ( 2 ) กรณีนโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรี ( 3 ) กรณีตามกฎกระทรวง ข้อ 16 หรือข้อ 17 ให้กระทาโดยไม่ใช้วิธีประมูล ซึ่งลักษณะ ของการไม่ใช้วิธีประมูลนั้นจะต้องกระทำโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ข้อ 39 ใน การคัดเลือกเอกชนโดยวิธีคัดเลือกเพื่อจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุโดยการทำสัญญา เช่าที่ดินที่เป็นที่ราชพัสดุเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ให้พิจารณาตามลำดับ ดังนี้ ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 34 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กุมภาพันธ์ 2566

( 1 ) ผู้ที่อยู่อาศัยในที่ดินแปลงที่จะจัดให้เช่ามาแต่เดิมโดยชอบหรือสุจริต ( 2 ) ผู้เดือดร้อนที่อยู่อาศั ยเพราะถูกขับไล่หรือถูกไฟไหม้ที่อยู่อาศัย ( 3 ) ผู้ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง หรือผู้ที่รัฐมีนโยบายให้ความช่วยเหลือในเรื่องที่อยู่อาศัย ( 4 ) ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการของส่วนราชการ ( 5 ) พนักงาน ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ( 6 ) เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ ( 7 ) บุคคลที่มีคุณสมบัติหรือลักษณะอื่นตามประกาศกรมธนารักษ์ ข้อ 40 ในการคัดเลือกเอกชนโดยวิธีคัดเลือกเพื่อจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุโดยการทำสัญญา เช่าที่ดินที่เป็นที่ราชพัสดุเพื่อ ใช้ประกอบการเกษตร ให้พิจารณาตามลำดับ ดังนี้ ( 1 ) ผู้ที่ประกอบการเกษตรในที่ดินแปลงที่จะจัดให้เช่ามาแต่เดิมโดยชอบหรือสุจริต (2) ผู้ที่รัฐมีนโยบายให้ความช่วยเหลือในเรื่องที่ดินทำกิน (3) ผู้มีอาชีพเกษตรกรซึ่งยากจนไม่มีที่ดินทำกิน ( 4 ) ผู้มีอาชีพเกษตรกร ซึ่งมีที่ดินไม่พอทำกิน ( 5 ) บุคคลที่มีคุณสมบัติหรือลักษณะอื่นตามประกาศกรมธนารักษ์ ส่วนที่ 2 การคัดเลือกเอกชนโดยวิธีคัดเลือก ข้อ 41 การคัดเลือกเอกชนโดยวิธีคัดเลือก การจัดทาประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสาหรับ การคัดเลือกเอกชน คณะกรรมการคัดเลือก การดาเนินการและวิธีการคัดเลือกเอกชน ให้นาความ ในหมวด 2 การคัดเลือกเอกชนโดยใช้วิธีประมูล ส่วนที่ 1 บททั่วไป ส่วนที่ 2 การจัดทาประกาศเชิญชวน ส่วนที่ 3 การจัดทำร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพื่อจัดทำสัญญาเช่า ส่วนที่ 4 การจัดทำร่างเอกสารสำ หรับการคัดเลือกเอกชนเพื่อจัดทำสัญญาต่างตอบแทนอื่น ส่วนที่ 5 คณะกรรมการคัดเลือก ส่วนที่ 6 การดาเนินการข้อ 28 (2) ข้อ 29 และข้อ 30 และส่วนที่ 7 วิธีการคัดเลือกเอกชน มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม ข้อ 42 ให้คณะกรรมการคัดเลือกจัดทำหนังสือและแจ้งเชิญชวนเอกชนซึ่งมีคุณสมบัติ ตรงตามเงื่อนไขที่ผู้มีอานาจจัดหาประโยชน์กาหนด เพื่อให้เข้ายื่นข้อเสนอ โดยต้องไม่น้อยกว่าสามราย เว้นแต่มีเอกชนซึ่งมีคุณสมบัติตรงตามที่กาหนดน้อยกว่าสามราย หนังสือเชิญชวนเอกชนตามวรรคหนึ่ ง ต้องประกอบด้วยประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับ การคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญา โดยต้องแจ้งเชิญชวนไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันเปิดรับซองเอกสาร ข้อเสนอ ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 34 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 43 เมื่อถึงกาหนดวัน เวลา การรับซองเอกสารข้อเสนอ ให้รับซองเอกสารข้อเสนอ ของผู้ยื่นข้อเสนอเฉพาะรายที่ได้มีการทำหนังสือเชิญชวนเท่านั้น โดยรับเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสือเชิญชวน และรายละเอียดอื่นที่กาหนด ส่วนที่ 3 การคัดเลือกเอกชนโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ข้อ 44 การจัดทาร่างเอกสารสาหรับการคัดเลือกเอกชน การดาเนินการและวิธีการคัดเลือกเอกชน ให้นำความในหมวด 2 การคัดเลือกเอกชนโดยใช้วิธีประมูล ส่วนที่ 1 บททั่วไป ส่วนที่ 3 การจัดทาร่างเอกสารสาหรับการคัดเลือกเอกชนเพื่อจัดทาสัญญาเช่า ส่วนที่ 4 การจัดทาร่างเอ กสาร สาหรับการคัดเลือกเอกชนเพื่อจัดทำสัญญาต่างตอบแทนอื่น ส่วนที่ 6 การดาเนินการ ข้อ 29 และ ข้อ 30 (1) (2) (3) (4) (5) และวรรคสอง และหมวด 3 การคัดเลือกเอกชนโดยไม่ใช้วิธีประมูล ส่วนที่ 2 การคัดเลือกเอกชนโดยวิธีคัดเลือก ข้อ 43 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม การกาหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทนอื่น ไม่ใช้บังคับกับ กรณีการก่อสร้างสะพาน หรือทางเชื่อม โดยระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาให้เป็นไปตามคาสั่ง กรมธนารักษ์ ข้อ 45 ให้หน่วยงานคัดเลือกจัดทำหนังสือและแจ้ งเชิญชวนเอกชนรายใดรายหนึ่งซึ่งมี คุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่ผู้มีอานาจจัดหาประโยชน์กาหนดเพื่อให้ยื่นข้อเสนอหรือให้เข้ามาเจรจา ต่อรองค่าเช่าหรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นที่ทางราชการจะได้รับโดยตรง พร้อมทั้งประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ตามข้อ 27 (1) ไม่น้อยกว่าสา มสิบวัน เพื่อให้ทราบว่าจะมีการคัดเลือกเอกชน โดยวิธีเฉพาะเจาะจงรายใดรายหนึ่ง หนังสือเชิญชวนเอกชนตามวรรคหนึ่ง ต้องประกอบด้วยร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญา ข้อ 46 การประกาศตามข้อ 45 ไม่ใช้บังคับกับกรณี ดังต่อไปนี้ ( 1 ) กรณีการทาสัญญาต่างตอบแทนอื่นที่ได้รับอนุญาตจากส่วนราชการที่มีอานาจพิจารณา เบื้องต้นตามกฎหมายของส่วนราชการนั้น ( 2 ) กรณีการจัดสวัสดิการในเชิงธุรกิจ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ ( 3 ) กรณีอื่นตามประกาศกรมธนารักษ์ ข้อ 47 เมื่อเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการมอบหมายได้ดำเนินการตามข้อ 44 เรียบร้อยแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ส่งมอบเอกสารทั้งหมด สาเนาการส่งตรวจสอบหนังสือค้าประกันกรณีที่มีการกาหนด ให้วางหลักประกันการยื่นข้อเสนอ และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ พร้อมด้วยบันทึกรายงานผลการดาเนินการต่อ หน่วยงานคัดเลือกในวันเดียวกัน ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 34 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กุมภาพันธ์ 2566

ให้หน่วยงานคัดเลือกดาเนินการคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอให้ถูกต้องตามเอกสารสาหรับการคัดเลือกเอกชน และเจรจาต่อรองค่าเช่าหรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นที่ทางราชการจะได้รับโดยจะต้องไม่น้อยกว่า อัตราตามคาสั่งกรมธนารักษ์ ข้อ 48 การเจรจาต่ อรองค่าเช่าหรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นตามข้อ 47 ไม่ใช้บังคับกรณี ดังต่อไปนี้ ( 1 ) กรณีการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุโดยการทาสัญญาเช่าที่ดินที่เป็นที่ราชพัสดุเพื่อใช้เป็น ที่อยู่อาศัย หรือเพื่อใช้ประกอบการเกษตร ( 2 ) กรณีการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุจากคณะกรรมการสวั สดิการภายในส่วนราชการ ( 3 ) กรณีอื่นตามประกาศกรมธนารักษ์ ข้อ 49 เมื่อครบกาหนดระยะเวลาปิดประกาศตามข้อ 45 แล้ว ให้หน่วยงานคัดเลือก ดาเนินการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) กรณีที่ไม่มีการคัดค้าน ให้เสนอความเห็นพร้อมเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้มีอานาจ จัดหาประโยชน์เพื่อให้ความเห็นชอบ ( 2 ) กรณีที่มีการคัดค้าน ให้พิจารณาคาคัดค้านว่ามีข้อเท็จจริงและเหตุผลที่จะยกเลิกการจัดหา ประโยชน์รายนั้น หรือสมควรที่จะดาเนินการจัดหาประโยชน์ต่อไปแล้วเสนอผู้มีอานา จจัดหาประโยชน์ พิจารณาสั่งการ ในกรณีที่ผู้มีอานาจจัดหาประโยชน์ให้ความเห็นชอบในการจัดหาประโยชน์จากเอกชนที่ได้แจ้ง เชิญชวนแล้ว ให้หน่วยงานคัดเลือกพิจารณาจัดทำสัญญาต่อไป ข้อ 50 การจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุตามส่วนนี้ หากเป็นการปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้า ง ที่คาบเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ให้เป็นดุลพินิจของอธิบดีที่จะพิจารณาเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์อาคารที่ปลูกสร้าง และกำหนดเงื่อนไขอื่นตามที่เห็นสมควร โดยคำนึงถึงสภาพทำเลและประโยชน์ที่ทางราชการ จะได้รับเป็นสำคัญ ข้อ 51 กรณีสัญญาเช่าที่ดินที่เป็นที่ราชพัสดุเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยระงับเพราะอาคารหรือ สิ่งปลูกสร้างใด ๆ ของผู้เช่าถูกเพลิงไหม้ ถ้าผู้เช่าเดิมประสงค์จะขอเช่าที่ดินที่เป็นที่ราชพัสดุเพื่อใช้เป็น ที่อยู่อาศัยต่อไป ให้ผู้มีอานาจจัดหาประโยชน์พิจารณาจัดให้เช่าที่ดิ นดังกล่าวเนื้อที่ไม่เกินหนึ่งร้อยตารางวา และมีราคาที่ดินไม่เกินตารางวาละห้าหมื่นบาท หากเนื้อที่และราคาที่ดินเกินจำนวนดังกล่าว ให้เสนอปลัดกระทรวงการคลังพิจารณาตามกฎกระทรวง ข้อ 16 (8) แต่ถ้าสภาพหรือทำเลของที่ดิน ดังกล่าวสมควรที่จะดาเนินการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุโดยการปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ยกกรรมสิทธิ์ ให้ผู้มีอำนาจจัดหาประโยชน์ดาเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) ถ้าผู้เช่าเดิมประสงค์จะขอปลูกสร้างและยินยอมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ที่กำหนด ให้เสนอปลัดกระทรวงการคลังพิจารณาตามกฎกระทรวง ข้อ 17 (3) ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 34 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กุมภาพันธ์ 2566

(2) ถ้าผู้เช่าเดิมไม่สามารถปลูกสร้างหรือไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กาหนด ให้ดาเนินการคัดเลือกเอกชนเพื่อลงทุนปลูกสร้างอาคารโดยวิธีประมูล และให้ผู้เช่าเดิมได้รับสิทธิกา รเช่าอาคาร ก่อนบุคคลอื่นรายละหนึ่งคูหา โดยผู้เช่าเดิมต้องเสียเงินชดเชยค่าก่อสร้างอาคารราคาปานกลาง ให้ผู้ประมูลได้ตามที่กรมธนารักษ์จะกำหนด หมวด 4 บทเบ็ดเตล็ด ข้อ 52 ในกรณีที่กรมธนารักษ์จะนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ใน การคัดเลือกเอกชน ไม่ว่าขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใด ให้ผู้มีอานาจจัดหาประโยชน์ดาเนินการคัดเลือกเอกชน โดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก็ได้ การคัดเลือกเอกชนโดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไป ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้ จะต้องไม่ขัดหรือแย้งกั บระเบียบนี้ บทเฉพาะกาล ข้อ 53 ในระหว่างที่ยังไม่มีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารสัญญาเช่า หรือสัญญาต่างตอบแทนอื่นที่ออกโดยอาศัยอานาจตามกฎกระทรวงการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2564 ให้บรรดาหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารสัญญาตามที่กาหนดไว้ ในระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2552 มีผลใช้บังคับต่อไปได้ จนกว่าจะมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังกล่าว ข้อ 54 ในระหว่างที่ยังมิได้ออกหลักเกณฑ์และวิธีการ ข้อกาหนด ประกาศ คาสั่ง ตามที่ กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้บรรดาหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข อัตราค่าเช่า ค่าธรรมเนียม แบบสัญญา เอกสารการกาหนดขอบเขตและรายละเอียดมาตรฐานของการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุ และคำสั่งใด ๆ ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้ว ยการจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุ พ.ศ. 25 52 มีผลใช้บังคับต่อไปได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบฉบับนี้ ข้อ 55 ในระหว่างที่ยังไม่มีเอกสารการกำหนดขอบเขตและรายละเอียดมาตรฐานของ การจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุ หรือร่างสัญญาเช่าหรือร่างสัญญาต่างตอบแทนอื่นตามข้อ 17 ให้นาเอกสาร การกาหนดขอบเขตและรายละเอียดมาตรฐานของการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุ หรือแบบสัญญาเช่า หรือแบบบันทึกคำยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไข ซึ่งใช้อยู่ในวันก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ มาใช้ไปพลางก่อน จ นกว่าจะมีเอกสารการกาหนดขอบเขตและรายละเอียดมาตรฐานของการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุ หรือร่างสัญญาเช่าหรือร่างสัญญาต่างตอบแทนอื่นตามข้อ 17 ใช้บังคับ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 34 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อ 56 การคัดเลือกเอกชนที่อยู่ระหว่างการดาเ นินการในวันก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ดาเนินการต่อไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2552 จนกว่าจะได้ลงนามในสัญญา ประกาศ ณ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 256 6 อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 34 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กุมภาพันธ์ 2566